..เพื่อความรู้ทางกฎหมาย และ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม..

anyway justice
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สมาคมหมอความยุติธรรม

เพื่อความรู้ทางกฎหมาย
และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

รับให้คำปรึกษากฎหมายและอรรถคดี
ว่าความดำเนินคดีทุกประเภทในศาล
ทั่วราชอาญาจักร

รับตรวจร่างสัญญาและจัดทำเอกสารทางกฎหมาย

ให้คำปรึกษาในการทำนิติกรรมสัญญา
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

รับจดทะเบียนหุ้นส่วน บริษัท
เครื่องหมายการค้าและบริการ ฯลฯ

โดย ทีมงานที่ปรึกษา
และทนายความผู้เชี่ยวชาญ
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add anyway justice's blog to your web]
Links
 

 
จากที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสมัย ร.5

รากฐานแห่งการจัดตั้งศาลปกครองในปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า 135 ปีที่ผ่านมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริ ให้จัดตั้ง เคาน์ซิลออฟสเตด หรือ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ไทย ในปี พ.ศ. 2417 โดยทรงตรา “พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตด” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับองค์กรที่จัดตั้งขึ้นในประเทศฝรั่งเศส และประเทศในแถบยุโรปในสมัยนั้นที่เรียกกันว่า สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ

องค์กรนี้มีภารกิจหน้าที่ 2 ประการ คือ เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดทำกฎหมายและที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และเป็นผู้พิจารณาเรื่องที่ชาวบ้านร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ถูกต้องของข้าราชบริพารของพระองค์ด้วย หรือหน้าที่ในลักษณะเดียวกับศาล คือ ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ในคดีปกครอง แต่เนื่องจากข้าราชการในสมัยนั้นไม่เข้าใจวัตถุประสงค์แท้จริงของเคาน์ซิลออฟสเตด การดำเนินงานจึงไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์ องค์กรนี้จึงได้ถูกยกเลิกไปในที่สุด ทำให้เรื่องเกี่ยวกับความเดือดร้อนหรือความเสียหายของราษฎร จึงต้องร้องเรียน หรือว่ากล่าวกันเองในกระทรวงนั้น ๆ

ต่อมาใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดตั้งองค์กร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย “คดีปกครอง” หรือข้อพิพาททางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชน ในลักษณะเดียวกับ “สภาแห่งรัฐ” อีกครั้งหนึ่ง คือ คณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ยังไม่ได้ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาด คดีปกครอง เป็นแต่เพียงมีหน้าที่จัดทำร่างกฎหมายหรือกฎข้อบังคับตามคำสั่งของสภาผู้แทนราษฎร หรือคณะรัฐมนตรี รับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมืองของรัฐบาล คือ กรรมการร่างกฎหมาย เพียงประเภทเดียว

หลังจากนั้นได้มีความพยายามในการตรากฎหมายว่าด้วยอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองและการจัดตั้งศาลปกครองอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่เป็นผล จนกระทั่งต้องมีการตราพระราชบัญญัติเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2492 จัดตั้ง “คณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์” แยกต่างหากจากคณะกรรมการกฤษฎีกา มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง แต่ยังไม่มีการจัดองค์กรและไม่ได้มีวิธี พิจารณาคดีอย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง อย่างไรก็ตามอาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งของการมีองค์กรทำหน้าที่ วินิจฉัยเยียวยาข้อพิพาททางปกครอง

ในช่วงปี พ.ศ. 2522 มีการรวมกรรมการร่างกฎ หมาย และกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์เข้าด้วยกัน โดยตราเป็นพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 และจัดตั้งคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ควบคู่กับคณะกรรมการร่างกฎหมายขึ้น เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทในคดีปกครอง โดยใช้ “ระบบร้องทุกข์” เป็นพื้นฐานในการสร้างหลักกฎหมายปกครองและมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ พัฒนาสถาบันการร้องทุกข์ไปสู่การจัดตั้งองค์กรชี้ขาดคดีปกครอง อันเป็นองค์กรที่แก้ไขปัญหาในการบริหารราชการของประเทศ วิธีพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์นี้ก็เป็นไปตามแนวทางการพิจารณาคดีปกครองในระบบสากล เพียงแต่ยังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นศาลปกครองอย่าง เต็มรูปแบบ กล่าวคือ ยังไม่ได้กำหนดให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีผลบังคับกับหน่วยงานของรัฐโดยตรง

หากแต่ต้องเสนอคำ วินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีสั่งการในขั้นสุดท้าย แต่ทั้งนี้กฎหมายก็บังคับไว้ว่า หากนายกรัฐมนตรีจะสั่งการเป็นอย่างอื่นที่แตกต่างจากคำวินิจฉัยก็ต้องให้เหตุผลไว้ด้วย ซึ่งแนวความคิดในการพัฒนาคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ไปสู่การจัดตั้งศาลปกครองนี้ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลต่อ ๆ มาเป็นลำดับ

กระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ได้มีการดำเนินการ จัดตั้งศาลปกครองอย่างเป็นผลสำเร็จภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยให้มีการจัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม ในลักษณะของศาลคู่ ให้มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครอง และเป็นผลให้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในเวลา ต่อมา โดยให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

“ศาลปกครอง” เปิดทำ การอย่างเป็นทางการวันแรก เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ได้แก่ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลาง และต่อมาได้ทยอยเปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาคขึ้นจนถึงปัจจุบันมีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา ศาลปก ครองนครราชสีมา ศาลปกครองขอนแก่น ศาลปกครองพิษณุ โลก ศาลปกครองระยอง และศาลปกครองนครศรีธรรมราช และในอนาคตจะมีการจัดตั้งศาลปกครองในภูมิภาคเพิ่มขึ้นอีก 6 แห่งในช่วงปี 2553-2555 เพื่อรองรับปริมาณคดีที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการเข้า ถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองอีกด้วย ได้แก่ ศาลปกครองอุดรธานี ศาลปก ครองอุบลราชธานี ศาลปก ครองภูเก็ต ศาลปกครองเพชรบุรี ศาลปกครองสุพรรณบุรี และศาลปกครองนครสวรรค์

โดยระยะแรกของการดำเนินงานของศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองกลาง และสำนักงานศาลปกครอง ได้ดำเนินการอยู่ ณ ที่ทำการชั่วคราวอาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร ควบคู่ไปกับการก่อสร้างที่ทำการถาวรไปพร้อมกัน เมื่ออาคารที่ทำการถาวรแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จึงได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราวมาทำการยังที่ทำการถาวร ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์และเปิดอาคารที่ทำการศาลปกครอง ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2552 เวลา 14.00 น. อันเป็นวันสำคัญวันเดียวกับการเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ทรงให้กำเนิดองค์กรที่รู้จักกันในชื่อของเคาน์ซิลออฟ สเตด ต้นกำเนิดแห่งศาลปกครองในปัจจุบัน อันนำความปีติปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นมายังตุลาการศาลปกครอง ตลอดจนข้าราชการฝ่ายศาลปกครองโดยทั่วหน้า

ศ.ดร.อักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด ในนามของตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายศาลปกครองทุกคน จึงมีความยินดีขอเชิญประชาชนเฝ้าทูลละอองพระบาท ณ อาคารที่ทำการศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อร่วมกันถวายความจงรักภักดีให้ปรากฏสืบไป กว่าจะมาเป็น “ศาลปกครอง” ตราบเท่าทุกวันนี้ ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ต่าง ๆ มากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่เคยรับรู้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญในความพยายามของบรรพบุรุษของไทยที่ได้ผลักดันให้เกิดองค์กรแห่งนี้ขึ้นมาในประเทศไทย

ณ วันนี้ “ศาลปกครอง” ได้เป็นสถาบันหลักของประเทศที่ใช้อำนาจตุลาการในการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองของประเทศไทย สมดังเจตนารมณ์ของบรรพ บุรุษในหลายยุคหลายสมัยอย่างแท้จริง และทุกก้าวที่จะก้าวเดินต่อไปก็จะเป็นก้าว ที่จะสร้างเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ ที่ทรงคุณค่าในการทำหน้าที่สร้างความเป็นธรรม ในสังคมไทยให้แก่อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเรียนรู้สืบต่อไป.



Create Date : 26 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2552 15:30:42 น. 0 comments
Counter : 408 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.