*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

ศาลยุติธรรม ยกฟ้องคดียาเสพติดเพราะไม่มีสายลับมาสืบ..... ?

มีคำพิพากษาคดีหนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ จับกุมผู้ต้องหาได้ พร้อมเงินประมาณ ๒ ล้านบาท โดยในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวน ได้ส่งเงินไปตรวจพิสูจน์ พบเฮโรอีนจำนวนพอสมควรปนเปื้อนบนเงินนั้น จึงได้ดำเนินคดีตาม กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ทั้งตาม พ.ร.บ.มาตราการฯ และ กม. ฟอกเงิน เพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ผู้ต้องหา

ทางการสืบสวนสอบสวน ได้ความจากสายลับว่า ได้ทำการสืบสวนสอบสวนมาโดยตลอด มีหลักฐานเรื่องวันเวลานัดหมายในการซื้อยาเสพติดครั้งนี้ พร้อมหลักฐานว่า ผู้ถูกจับรายนี้ มีพฤติการณ์ในการซื้อขายยาเสพติดมาอย่างโชกโชน แต่มีวิธีการที่ทำให้ไม่สามารถพบพยานหลักฐานใด ๆ บนตัวและที่พักของผู้ต้องหาได้ คราวนี้ ก็ไม่สามารถจับกุม ผู้ซื้อยาเสพติดจากผู้ต้องหาได้อีก จับได้เพียงผู้ต้องหาพร้อมเงินจำนวนมากดังกล่าว

ในเบื้องต้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง แต่ผู้เขียนในสมัยเป็น สว.งาน ๖ ฝ่ายตรวจสอบสำนวน กองคดี ได้พิจารณาพยานหลักฐาน พร้อมทั้งรายงานสืบสวน และหลักฐานพยานแวดล้อม เพราะเงินจำนวนมากที่เปอะเปื้อน สารเสพติดจำนวนมาก ประกอบกับความแม่นยำ เที่ยงตรง ของข้อมูลฝ่ายสืบสวนในคดีก่อน ๆ จึงได้ทำความเห็นแย้ง และ อัยการสูงสุดได้ชี้ขาดให้ฟ้องตามที่ผู้เขียนแย้งไป

ศาลพิพากษาหักดิบ ตรงที่ว่า พนักงานโจทก์ไม่ได้นำสายลับมาสืบให้ปรากฎชัดเจนว่า สืบสวนได้อย่างไร จึงยกประโยชน์ความสงสัยให้จำเลย ยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา พนักงานอัยการอุทธรณ์ หลายประเด็น รวมถึงประเด็นที่ผู้เขียนร่างแย้งไปด้วย ศาลอุทธรณ์ ไม่ได้หยิบยก ประเด็นที่พนักงานอัยการโจทก์โต้แย้งมากล่าวถึง และอธิบายหักล้างเลย ผู้เขียน จึงงงงวยกับวิธีการพิพากษาของศาลอุทธรณ์อย่างมาก

ผู้เขียนคิดว่า การพิพากษาคดีนั้นควรจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของ ศ.จิตติ ติงศภัทย์ ที่เขียนไว้นมนานเกี่ยวกับการชั่งน้ำพยานหลักฐานและการทำพิพากษา หากความสงสัยนั้น ไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดแล้ว ศาลก็ไม่ควรยกฟ้อง เพราะ เป็นธรรมดา คดีย่อมเป็นที่สงสัยอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการยกฟ้อง เพราะไม่นำสายลับมาสืบ ยิ่งไม่ควรจะกล่าวอ้าง เพราะสายลับ ถ้าเปิดแล้ว ก็จะกลายเป็นสายไม่ลับ ........เป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของเขารวมถึงญาติพี่น้อง ทางปฏิบัติในโลกนี้ จึงไม่มีการนำสายลับมาสืบในชั้นพิจารณาเป็นอันขาด





คดีนี้ จึงเป็นบทเรียนให้ พนักงานสอบสวน จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานอื่น ๆ ให้ชัดเจน โดยใช้เทคนิควิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการส่งยาเสพติด หรือ Control Delivery หรือ การดักฟัง ฯลฯ เพื่อให้หลักฐานทางคดีมีความมั่นคงยิ่งขึ้น แม้ตอนนี้ กฎกระทรวง เรื่อง Control Delivery ยังไม่ออกมาใช้บังคับก็ตาม แต่การรวบรวมพยานหลักฐานเป็นดุลพินิจของตำรวจ ย่อมสามารถดำเนินการได้ เช่น ยังไม่จับกุมผู้ต้องหารายย่อย หรือ รอจนกว่าจะมีการส่งของรอบใหม่ ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนจะต้องกระทำโดยระมัดระวัง จะต้องมีการประสานงานกับตำรวจท้องที่ หากมีการปฏิบัติงานข้ามเขตสอบสวน เพราะหากไม่มีการประสานงานที่ดี อาจจะมีการจับกุม หรือยิงพวกเดียวกันเองก็เป็นไปได้




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:13:28 น.
Counter : 5763 Pageviews.  

ยักยอก...กับ ผิดสัญญาซิ้อขาย

คดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ประเภท ฉ้อโกง หรือ ยักยอก นั้น มักจะมีข้อโต้แย้ง ว่าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง โดยปกติ คดีประเภทนี้ มักจะเริ่มต้นจากการที่ผู้ต้องหา ได้เริ่มต้นทำสัญญาทางแพ่ง เช่น ขอซื้อรถยนต์ ฯลฯ แล้วก็ไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญากำหนด ภายหลังผู้เสียหาย จึงได้บอกเลิกสัญญา และขอให้ส่งมอบรถยนต์คืนแก่ผู้เสียหาย โดยร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีในข้อหา "ยักยอก"

คดีนี้ พนักงานสอบสวน สน.โชคชัย ได้เสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง เพราะ เห็นว่าเป็นเพียงการผิดสัญญาทางแพ่งทางแพ่งเท่านั้น และพนักงานอัยการ สั่งไม่ฟ้อง เช่นเดียวกันกับพนักงานสอบสวน

คดีนี้ พนักงานสอบสวน (พงส.) จะต้องทำการรวบรวมพยานหลักฐาน ให้ครบถ้วน ไม่ใช่ว่า สอบผู้กล่าวหา ปากเดียวแล้วมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องในทันทีทันใด หากกระทำการดังกล่าว ย่อมแสดงถึงความไม่ใส่ใจและไม่สำนึกในหน้าที่ของ พงส. ที่จะต้องขวนขวายหาพยานหลักฐานให้ครบถ้วนและมีความชัดแจ้งเสียก่อนที่จะมีความเห็นทางคดี

ตัวอย่างคดี เช่น ถ้าผู้เสียหาย ประสงค์ขายรถยนต์ของตน ต่อมาผู้ต้องหาที่ ๑ และ ที่ ๒ ได้ติดต่อซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย แต่ไม่ชำระเงินให้ครบถ้วน ผู้เสียหายจึงบอกเลิกสัญญา พร้อมให้ส่งมอบรถยนต์คืน แต่ผู้ต้องหาที่ ๑ และ ที่ ๒ ไม่ส่งมอบ พร้อมหลบหนีไป

ปัญหาทางกฎหมาย คือ ความผิดฐานยักยอก กับ ผิดสัญญาซื้อขายใกล้เคียงกันมาก โดยความผิดฐานยักยอก จะเกิดขึ้นได้ ๒ ช่วงระยะเวลา ได้แก่

๑) ผู้ต้องหา มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ต้น การทำสัญญาทางแพ่งเพียงแต่เป็นวิธีการให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินเท่านั้น หากพฤติการณ์ชัดแจ้งว่า ผู้ต้องหาไม่ได้มีเจตนาจะซื้อรถยนต์จากผู้เสียหายตั้งแต่ต้น เช่น ใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม ไม่ยอมมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียน ฯลฯ หรือ เอกสารใด ๆ ของตนเอง ให้กับผู้เสียหาย หลังจากได้รถยนต์ไป ก็หลบหนีหายไปในทันทีทันใด หรือ การทำสัญญาซื้อขายโดยจ้างบุคคลอื่นมาทำสัญญาแทนตน เมื่อทำสัญญาเสร็จ ได้รถยนต์ไป ผู้ที่เป็นคู่สัญญา ก็กลับบ้านไป โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์นั้น แต่ผู้ที่จ้างทำสัญญา ได้รถยนต์ไป แล้วก็ขาดการติดต่อโดยไม่ยอมชำระราคาที่เหลือ ฯลฯ และ

๒) ผู้ต้องหา ไม่มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ต้น แต่ภายหลังมีเจตนาทุจริต หลังจากที่ผู้เสียหาย ได้ยกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นย่อมหมดไป เมื่อบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้ต้องหา ไม่ส่งมอบคืน กรรมย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาทุจริตของผู้ต้องหานั่น จึงผิดยักยอกได้




โดยสรุป พนักงานสอบสวน จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้ชัดเจนทั้งหมด ไม่ใช่การสอบปากเดียว แล้วสั่งไม่ฟ้องในทันทีทันใด ..... ดังนี้ ก็จะไม่ถือว่า พนักงานสอบสวน ได้ปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติ ในการอำนวยความยุติธรรม ให้แก่ประชาชน ซึ่ง พนักงานสอบสวนเท่านั้น ที่สามารถกระทำได้ คนอื่น ๆ ไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่เข้าไปก้าวก่าย ... แม้กระทั่งโอกาสยังไม่มี แต่ถ้าไม่ทำให้ดี ก็ถือว่าเสียหายและทรยศต่อหน้าที่ของตนเอง




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:13:13 น.
Counter : 2967 Pageviews.  

ถ้าทำผิดจำหน่าย ดีวีดี ละเมิดลิขสิทธิ์ .... จะผิดข้อหา จำหน่ายฯ โดยไม่ผ่านการตรวจจากเจ้าพนักงานไหม

คดี้นี้ เป็นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ และ ความผิดตาม พ.ร.บ.ภาพยนต์ฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยในคีดนี้ ผู้ต้องหา ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายรายย่อย ได้ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า โดยการขาย เสนอขาย มีไว้เพื่อขาย
ซึ่งงานดนตรีฯ และประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือ จำหน่ายซึ่งเทป หรือวัสดุโทรทัศน์ โดยไม่ได้รับอนุญาต และ จำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณา แต่ไม่มีเครื่องหมายอนุญาตและเลขรหัส ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๒๕, ๓๘ และ มาตรา ๔๓

พนักงานสอบสวนท่าน มีความเห็นควรสั่งฟ้อง ทุกข้อกล่าวหา แต่พนักงานอัยการ สั่งไม่ฟ้อง เฉพาะข้อหา จำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาและไม่ มีเครื่องหมายอนุญาตและเลขรหัส ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ๒๕๕๑ และส่งสำนวนคดีมายัง กองคดีอาญา เพื่อพิจารณาตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๔๕ ว่าจะทำความเห็นแย้งหรือไม่

นิติกร ผู้พิจารณา ตามสายงาน ถึงสำนักงานกฎหมาย ได้เสนอความเห็นควรแย้ง โดยอ้างเจตนารมณ์ของกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่จะต้องเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่

สำนักงานผู้ช่วย ผบ.ตร. ฝ่ายกฎหมาย ได้พิจารณาแล้ว เห็นควรไม่แย้งคำสั่งไม่ฟ้อง โดยข้อเท็จจริงคดีนี้ ฟังได้ความว่า บ. ร. มีเดียฯ ผู้เสียหาย ได้พบผู้ต้องหา กำลังขายและเสนอขายแผนดีวีดี ฯ ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้กล่าวหา ซึ่งเป็นดีวีดี ที่ไม่ได้ผ่านการตรวจและไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตาม กม.ว่าด้วยภาพยนตร์ พยานหลักฐานแจ้งชัด พนักงานอัยการ จึงได้สั่งฟ้องข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ และ เป็นผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๔,๑๕,๒๗,๒๘,๓๗,๗๐,๗๕, และ มาตรา ๗๖ ประกอบ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๔,๓๘,๗๙ และ มาตรา๙๑

การที่พนักงานอัยการ สั่งไม่ฟ้องในข้อหา จำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณา และจำหน่ายภาพยนตร์โดยผ่านการตรวจพิจารณา แต่ไม่มีเครื่องหมายการอนุญาตและหมายเลขรหัส ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๒๕, ๔๓ ประกอบ ป.อาญา มาตรา ๙๑ โดยได้เห็นเหตุผลว่า แผ่นดีวีดีดังกล่าว เป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ โดยสภาพ จึงไม่อาจจะดำเนินการขอให้เจ้าพนักงานตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบได้ตามกฎหมาย นั้น เห็นว่า ความเห็นอัยการถูกต้องแล้ว เพราะธรรมชาติของเรื่องนั้น เมื่อเป็นสินค้าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังเช่น ดีวีดีภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ย่อมจะขอให้เจ้าพนักงานตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์ไม่ได้

อีกทั้ง ในเรื่องทำนองนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบกับคำสั่งและความเห็นของพนักงานอัยการมาโดยตลอด เมื่อไม่มีพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงหลักการตามกฎหมายข้างต้นได้ จึงควรยืนยันตามความเห็นเดิมไปจนกว่าจะมีข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้ว ในคดีนี้ พนักงานอัยการได้สั่งฟ้องในคดีหลักไปแล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะแย้งคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาเบาข้างต้น ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นควรชอบ และไม่ลงนามในร่างความเห็นแย้งที่ กมส.เสนอ




เรื่องนี้ อาจให้เห็นเป็นอุทาหรณ์แก่พนักงานสอบสวนในการทำความเห็นทางกฎหมายว่า จะต้องทำการศึกษาให้ดีว่า เจตนารมณ์ตามกฎหมายเป็นอย่างไร และธรรมชาติของเรื่องในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างไร พร้อมแนวทางการดำเนินคดีที่ได้ดำเนินการมาตามหลักความมั่นคงต่อเนื่องของหลักการแห่งกฎหมาย




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:12:56 น.
Counter : 1120 Pageviews.  

ส่งตัวแทนไปตรวจสอบว่า ปฏิบัติตามสัญญา เฟรนไชส์ (Franchise) หรือไม่ .... ไม่เป็นความผิดทางอาญา

เรื่องที่จะนำมากล่าวนี้ เป็นกรณีที่ บริษัทที่ได้รับสิทธิในสัญญาการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise) มาร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ ผู้ต้องหาในความผิดฐาน ฉ้อโกง ที่ สน. เตาปูน

ข้อเท็จจริงฟังได้ความว่า ก่อนเกิดเหตุ ผู้กล่าวหา ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสิทธิในสัญญาการใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า “ซึทาย่า” จากบริษัท ซึทาย่า ซึ่งผู้ต้องหา เป็นลูกจ้างอยู่ เมื่อบริษัท ซึทาย่า สืบทราบว่า บริษัทของผู้กล่าวหา ได้นำสินค้า ที่มิได้ซื้อมาจากบริษัท ซึทาย่า มาให้เช่าแก่ลูกค้า จึงได้ส่งผู้ต้องหา มาสมัครเป็นสมาชิกกับร้านของผู้กล่าวหา โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น เพื่อมิให้ทางร้านผู้กล่าวหาทราบว่า ผู้ต้องหาเป็นพนักงานของบริษัท ซึทาย่า เมื่อสมัครแล้ว ก็ได้เช่าแผ่นวิซีดี จากร้านผู้กล่าวหาไป โดยวีซีดีดังกล่าวไม่ได้เป็นสินค้าที่ซื้อจากบริษัทซึทาย่า ตามสัญญา จากนั้นได้ส่งมอบแผ่นวีซีดี ให้กับบริษัทซึทาย่า เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบอกเลิกสัญญาเฟรนไชส์ต่อไป

พนักงานสอบสวน สน.เตาปูน ท่านก็ได้สรุปสำนวนมีความเห็น ควรสั่งฟ้อง เนื่องจาก ผู้ต้องหา ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัท ซึทาย่า แม้จะได้รับ
มอบหมายจากบริษัท ให้ไปตรวจสอบ บริษัท มิลาโน ฯ ซึ่งมีสัญญาใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า (เฟรนไชส์) ของบริษัทซึทาย่า แต่ก็ได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นบุคคลอื่น จนได้ไปซึ่งแผ่นซีดีของบริษัท ผู้กล่าวหา โดยที่แท้จริงแล้ว ผู้ต้องหา สามารถเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ว่าบริษัทผู้กล่าวหาได้ปฏิบัติตามสัญญาเฟรนไชส์ หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องแสดงตนเป็นบุคคลอื่น การกระทำดังกล่าว จึงเป็นการแสดงถึงเจตนาทุจริต ตามกฎหมายอาญาแล้ว

พนักงานอัยการ ได้พิจารณาแล้ว จึงได้สั่งไม่ฟ้อง เพราะผู้ต้องหาได้กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งได้รับมอบหมาย จากบริษัท ซึทาย่า ไม่มีเจตนาทุจริต แต่ประการใด แต่การกระทำดังกล่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานว่า ผู้ต้องหาไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาการได้รับสิทธิในเครื่องหมายการค้า โดยมีการนำสินค้า ประเภท วิซีดี ฯลฯ ที่ไม่ได้ซื้อมาจากบริษัท ซึทาย่า จึงเป็นการกระทำผิดสัญญาจริง และนำหลักฐานดังกล่าวไปบอกเลิกสัญญา ส่งเรื่องมายัง กองคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณา ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๔๕ ว่าจะแย้งคำสั่งไม่ฟ้องหรือไม่

ในเรื่องนี้ กองคดีอาญา พิจารณาแล้ว เห็นว่าผู้ต้องหาไม่มีเจตนาทุจริต เพราะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ และความผิดทางอาญาในเกือบทุกประการ จะต้องพิจารณาถึงเจตนาทุจริต หรือเจตนากระทำผิด เป็นองค์ประกอบสำคัญเสมอที่จะทำให้ผู้กระทำ ต้องรับผิดทางอาญา

โครงสร้างความรับผิดทางอาญาแบบง่าย ๆ คือ จะต้องมีการกระทำ (Actus Reus) ๒) องค์ประกอบในส่วนของจิตใจชั่วร้าย หรือ เจตนา (Criminal Intent) ที่ประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผล ซึ่งในระบอบ Common Law เรียกว่า Mens rea ๓) มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลของการกระทำ หรือ Causation และ ๔) ไม่มีข้ออ้างหรือข้อยกเว้นความรับผิด (Excuse & Justification)

ฉะนั้น หากไม่ครบองค์ประกอบข้างต้น ผู้กระทำย่อไม่มีความรับผิดทางอาญาใด ๆ โดยเฉพาะองค์ประกอบในส่วนของจิตใจนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ใช่ว่า มีการการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ก็จะต้องมีความรับผิดทางอาญาเสมอไป ดังเช่น กรณีนี้ ผู้ต้องหา ได้รับมอบคำสั่งจากบริษัท ซึทาย่า ไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งธรรมชาติของเรื่อง หากผู้ต้องหา แสดงตนเป็นพนักงานของบริษัทโดยตรง ย่อมไม่อาจจะแสดงหาพยานหลักฐานใด ๆ ได้เลย ดังนั้น การกระทำข้างต้น จึงไม่มีเจตนาทุจริต ในการกระทำผิดฐานฉ้อโกง กองคดีอาญา จึงพิจารณาเห็นว่า คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว




เรื่องนี้ เป็นข้อคิดให้พนักงานสอบสวน ที่จะต้องมีความระมัดระวังในการทำความเห็นทางกฎหมาย ต้องศึกษาทั้งทฤษฎีและแนวคำพิพากษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากทำความเห็นผิดพลาดอย่างเหลือเชื่อ แล้วผู้ต้องหา นำมาฟ้องกลับว่า เจตนาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ มุ่งกลั่นแกล้งตน พนักงานสอบสวนก็จะเดือดร้อน ต่อสู้คดีกันอีก แม้จะหลุดคดี เพราะจริง ๆ พนักงานสอบสวน คงไม่มีเจตนามุ่งกลั่นแกล้ง หรือเจตนาทุจริต หรือ แสวงประโยชน์ใด ๆ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญ ตาม ป.อาญา มาตรา ๑๕๗ ซึ่งปกติจะฟ้องคดีกันง่าย ๆ แต่ผู้ฟ้องคดี ชนะยากมาก เพราะต้องพิสูจน์องค์ประกอบข้างต้นให้ปราศจากสงสัย แต่พนักงานสอบสวน ก็คงเหนื่อยและท้อถอยได้ง่าย .. จึงนำเรื่องมาเล่าสู่กันฟังเป็นอุทาหรณ์ เพื่อจะได้ไม่ผิดซ้ำสองอีก




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:12:41 น.
Counter : 760 Pageviews.  

คดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ..... ตำรวจจับกุมใครได้บ้าง ....

ท่านผู้อ่าน คงได้จะพอจำเหตุการณ์กรณีที่ คุณอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ ได้สั่งการให้ ชุดเฉพาะกิจ ปราบปรามผู้กระทำผิดละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่พัฒน์พงศ์ แล้วถูกกลุ่มผู้ค้า ต่อต้านการจับกุมนั้นอย่างรุนแรง จนเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บมากพอสมควร กันได้

ปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในแต่ละมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก และในขณะเดียวกัน ตำรวจก็สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างมากมายเช่นกัน จึงเป็นคำถามว่า เหตุใด จึงมีการละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และ สิทธิบัตร จำนวนมากอยู่ ทั้ง ๆ ที่มีการจับกุม "อย่างจริงจัง" มาโดยตลอด

เมื่อมีการจับกุมผู้กระทำผิด ก็มักจะมีข่าวลือต่าง ๆ นานา ไปในทางไม่ดีเกี่ยวข้องกับตำรวจคนจับ เช่น จับกุมลูกจ้างรายเล็กรายน้อย เพื่อนำไปต่อรอง เกี่ยวกับการประกันตัว หรือ ต่อรองให้ผู้เป็นนายจ้างจะต้องเข้ามาเจรจาค่ายอมความ แล้วถอนคำร้องทุกข์กันไป ซึ่งมีคดีจำนวนมาก เข้ามาสู่การพิจารณาของกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและสอบสวน ของตำรวจแห่งชาติแห่งชาติ จำนวนมาก


ในเรื่องนี้ กองคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ นำเรื่องนี้ มาเป็นวาระสำคัญในการพิจารณาแก้ไขปัญหา เพราะไม่ต้องการเห็นตำรวจที่ไม่ดีบางคนใช้กฎหมายในการแสวงประโยชน์ โดยพยายามดำเนินการตั้งแต่ กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๑ จนท้ายที่สุด พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร. ได้ลงนามในหนังสือ ตร. ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/๐๓๗๒๑ ลงวันที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๕๒ เรื่อง กำชับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นจับกุมคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีความอันเป็นสาระสำคัญ ดังนี้

๑) กำชับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ตามหนังสือสั่งการที่ได้เคยออกไปแล้วได้แก่ หนังสือ ตร.ที่ ๐๐๐๔.๖/๙๗๑๗ ลง ๑๘ ก.ย. ๔๖ (การดำเนินคดีเกี่ยวกับเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์) หนังสือ ตร. ที่ ๐๐๔.๖/๘๙๘๓ ลง ๒๗ ต.ค. ๔๗ (การดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์เพลงคาราโอเกะ) และ หนังสือที่ ๐๐๑๑.๒/๔๔๙ ลง ๒๓ ม.ค. ๔๙ กำชับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

๒) กำชับหน้าที่ของ พนักงานสอบสวน จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายให้ถูกต้องชัดเจนเสียก่อน ห้ามดำเนินการจับกุม ฯลฯ อย่างใดทั้งสิ้น จนกว่าจะตรวจสอบได้ครบถ้วนเสียก่อน

๓) เมื่อจับกุมแล้ว จะต้องจัดทำบันทึกจับกุมในทันทีทันใด เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร จึงจะไปบันทึกที่ สถานีตำรวจ พร้อมทั้ง จะต้องถ่ายภาพของกลาง สถานที่ ฯลฯ ให้เห็นอย่างชัดแจ้ง เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับของกลาง

๔) ห้ามจับกุมลูกจ้าง ฯลฯ ในกรณีที่ปรากฎชัดเจนว่า ผู้ถูกกล่าวหานั้น เป็นนิติบุคคล ให้ใช้วิธีการออกหมายเรียกนายจ้าง หรือ กรรมการผู้มีอำนาจนิติบุคคลมาสอบสวนในภายหลัง เว้นแต่จะปรากฎว่า กรรมการผู้มีอำนาจ เป็นผู้กระทำผิดซึ่งหน้านั้นเสียเอง

หากจะต้องมีการประกันตัว ก็ให้กำหนดหลักทรัพย์การประกันตัวไว้ไม่เกิน ๕ หมื่นบาทเท่านั้น ห้ามเรียกหลักประกันเกินสมควรโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ควบคุมการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้น จะดำเนินการทางวินัยอย่างเด็ดขาดต่อไปทุกกรณี




ผู้เขียน จึงได้นำมาเผยแพร่ไว้ ผู้ใดถูกละเมิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจในทางไม่ชอบและไม่สุจริต จะได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป




 

Create Date : 15 มิถุนายน 2552    
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:12:26 น.
Counter : 3118 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.