*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

ประธาน The U.S. Supreme Court ตาย

เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ ก.ย. ๔๘ ที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่สำหรับนักกฎหมายในสหรัฐอเมริกา คือ ประธานศาลสูงสุดสหรัฐ William Rehnquist ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็ง ได้ถึงแก่ความตายแล้ว ด้วยอายุ ๘๐ ปี ศาลสูงสุดของสหรัฐมีผู้พิพากษาเพียง ๙ นายเท่านั้น (ต่างจากศาลสูงสุดของไทยมาก) Rehnquist ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลสูงตั้งแต่วัยหนุ่ม ดำรงตำแหน่งยาวนานมากว่า ๓๔ ปี




อาจารย์ของกระผม คือ Professor Joseph L. Hoffmann , Professor Craig Bradley แห่ง Indiana Law School ผู้เคยเป็นเลขาฯ ของประธานศาลสูงสุดผู้ล่วงลับ และ Professor Andrew Liepold แห่ง UIUC College of Law ผู้เคยเป็นเลขาของผู้พิพากษาในศาลสูงสุด และเคยร่วมงานกับประธานศาลสูงสุดผู้นี้ มักจะเล่าถึงความเก่งกาจ ความเฉลียวฉลาด ความขยันขันแข็ง ทำงานหนักต่อเนื่องยาวนาน และความเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ของอดีตท่านประธานศาลสูงสุดท่านนี้เสมอ ผมต้องอ่านคำพิพากษาที่เขียนโดยประธานศาลผู้นี้มากมายในวิชารัฐธรรมนูญ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายอาญา รับรู้ถึงความรู้สึกดังกล่าวได้ดี ยอมรับคำพิพากษาที่เขียนโดยท่านน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่ ท่านเสียชีวิต ประธานาธิบดี บุช ได้ประกาศที่จะเสนอชื่อ John Robert ผู้พิพากษาของศาล Federal Court ผู้ซึ่งได้ถูกเสนอขึ้นแทน ผู้พิพากษา O'Connor (ที่ประกาศเกษียณตัวเองจากหน้าที่ของพิพากษาศาลสูงสุด ไปก่อนหน้านี้ไม่นาน) ให้เป็นประธานศาลสูงสุดแทน William Rehnquist ผู้ล่วงลับทันที (ทั้งนี้ John Robert เคยเป็นเลขาของ Rehnquist มาก่อน) การเสนอชื่อครั้ง จึงเป็นข้ามหน้าข้ามตาผู้พิพากษาในศาลสูงสุดอีก ๗ คน ที่ดำรงตำแหน่งมาเนิ่นนาน

คำถามปิดบล๊อก.... ท่านว่าจะเกิดวิกฤติตุลาการ แย่งตำแหน่งกัน แบบที่เกิดในเมืองไทยเมื่อสิบกว่าปีก่อนฯ หรือเปล่า

ปล. บทความนี้ เขียนโดย David Corn ครับ บทความของเขา ได้รับการวิจารณ์มากมายว่า ไม่เหมาะสมและเป็นการตีความผลงานและบทบาทของท่าน Rehnquist ผิดพลาด ขอเชิญอ่านครับ

I confess: I have a hard time saying William Rehnquist, rest in peace. Supreme Court Chief Justice Rehnquist, who died on Saturday night, spent much of his adult life trying to restrict the rights of American citizens and to empower further the already-powerful. He rose to prominence as a right-wing attorney who decried the Earl Warren court for being a hotbed of judicial activism (left-wing judicial activism, as he saw it). He then became, as a Supreme Court justice, a judicial activist of the right-wing sort, overturning laws made by Congress (that protected women against domestic violence, banned guns near school property, and prohibited discrimination against disabled workers) and steering the justices into Florida's vote-counting mess in 2000 (an act that only coincidentally--right?--led to George W. Bush's presidency). In that case--Bush v. Gore--Rehnquist, for some reason or another, placed aside his much heralded belief in state sovereignty, which led him on other occasions to grouse about limits on the abilities of states to execute criminals. When it came to states frying prisoners, he advocated a hands-off approach. In vote-counting, he was all for intervention.

But let's be clear: in recent years there has been no other Supreme Curt justice who had a personal history so loaded with racism--or, to be kinder than is warranted, tremendous insensitivity to racial discrimination--as did William Rehnquist. As a law clerk for Justice Robert Jackson in the early 1950s--when the Court was considering the historic Brown v. Board of Education school desegregation case--Rehnquist wrote a memo defending the infamous 1896 decision, Plessy v. Ferguson, which established the separate-but-equal doctrine. Rehnquist noted, "That decision was right and should be reaffirmed." In other words, he favored continuing discrimination and racial segregation. During his 1971 confirmation hearings, after he was nominated to serve as an associate justice on the Supreme Court, he said that memo merely reflected Jackson's view not his own. But few historians have bought that shaky explanation.

It's not hard to conclude that Rehnquist was on the wrong side of history and then lied about it--especially given actions he took later. In 1964, Rehnquist testified against a proposed ordinance in Phoenix that would ban racial discrimination in public housing. As The Washington Post notes in today's stories on his death, Rehnquist wrote at the time, "It is, I believe, impossible to justify the sacrifice of even a portion of our historic individual liberty for a purpose such as this." In other words, people are not truly free if they are not free to discriminate. In his 1971 hearings, Rehnquist repudiated that stance. But did he really mean it? Twelve years later, he was the only justice to say that Bob Jones University--that hotbed of racial discrimination and religious bigotry--had a legal right to keep African-Americans off its campus.

"He Lived for The Law"--that's how AOL headlined the story on Rehnquist's death. But it's not that Rehnquist had a blind spot on race. He was an active proponent of discrimination. Yet this fellow--without truly making amends--became chief justice of the highest court of the land. Only in America.

What will George W. Bush do now? Elevate Antonin Scalia to chief justice? Appoint someone who's not already on the court to the job? Will he wait until after the hearings on John Roberts to name his pick? That would be good politics. It would be foolish to add any other factor to the Roberts confirmation process, which, from a White House perspective, is going rather well. In the aftermath of Hurricane Katrina, might Bush look to Edith Clement, a conservative federal appellate judge from New Orleans? Or how about Janice Rogers Brown, an African-American woman and sharecropper's daughter who is now a far-right California state judge (who seems to hate the federal government)? After all the recent talk about poor black people being shafted in New Orleans by the US government, Bush might enjoy standing in the Oval Office with Brown and talking about her personal story.

No doubt, Bush will make a selection that's better for him than the country--and he will announce his choice at a time and in a manner that best serves his administration. In the meantime, as Rehnquist's impact on America is considered, it ought not be forgotten--particularly at a time when we see how the poor of New Orleans have been neglected--that Rehnquist was at times all too willing to forget about the rights of those less fortunate than he. [Last Update : 6 กันยายน 2548 14:04:00]




 

Create Date : 06 กันยายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:34:02 น.
Counter : 1143 Pageviews.  

Pinkerton Rule v. Model Penal Code (MPC)

ผมติดค้างมานาน เกี่ยวกับ หลักกฎหมาย “การสมคบ” หรือ “Conspiracy” ตามแนวคิดแบบ Common law ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่นักกฎหมายอาญาว่า “Pinkerton Rule” ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับในมลรัฐที่ใช้ Common Law เป็นหลัก ( ต่อไปจะเรียกว่า Common law jurisdiction) ในขณะที่รัฐส่วนใหญ่ จะใช้หลักการตามหลัก Model Penal Code มาตรา ๕.๐๓ ( ต่อไปจะเรียกว่า MPC jurisdiction)




ตามที่กล่าวไปในบล๊อกก่อนว่า ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจว่า สหรัฐอเมริกา ใช้ระบบ Common law ที่เป็นมรดกตกทอด มาจากประเทศอังกฤษ เป็นหลัก ซึ่งก็จริง แต่ไม่ได้จริงทั้งหมด เพราะโดยหลักการตามกฎหมาย Common law นั้น ศาลจะวางหลักกฎหมาย เสมือนตรากฎหมายขึ้นเองได้โดยไม่จำกัด ในขณะที่รัฐสภา ก็ออกกฎหมายได้ แต่จะถูกศาลตีความให้จำกัดที่สุด เท่าที่จะจำกัดได้

หลักการที่สหรํฐอเมริกายอมรับนับถือมานาน คือ หลักการ Separation of Powers แบบ Montesquieu ได้วางหลักการไว้ เรียกกันว่า Principle of Legality ซึ่งหมายถึง หลักการที่ การออกกฎหมายใด ๆ จะต้องมีการประกาศโดยรัฐสภา ล่วงหน้า ก่อนบังคับใช้ เพื่อให้ประชาชนที่จะถูกบังคับใช้นั้น ได้ทราบและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตำรวจและอัยการ ก็ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ตามอำเภอใจ มลรัฐส่วนใหญ่ จะยึดถือ หลักกการ Legality Principle ข้างต้น โดยรัฐต่าง ๆ จะประกาศยอมรับเอา MPC ไปเป็นตัวแบบในการออกกฎหมายอาญาของรัฐตน ศาลเองจึงถูกจำกัดบทบาทในการสร้างหลักกฎหมายอาญาเป็นอย่างมาก

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกล่าวถึงกฎหมายของไทยสักเล็กน้อยก่อนครับ หลักกฎหมาย เรื่องการสมคบ(Conspiracy) ในไทย จะมีใช้อยู่ไม่กี่เรื่อง เช่น การสมคบกันตั้งแต่ ๕ คน ขึ้นไปเพื่อกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ตามประมวลกฎหมาย ซึ่งเราจะได้ยินเรียกชื่อย่อกันว่า กระทำผิดฐานเป็น “ซ่องโจร” ซึ่งปัจจุบัน แทบจะไม่มีการใช้ และไร้ผลในการลงโทษ เพราะท้ายที่สุด พนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องทั้งหมด เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐากเพียงพอในการฟ้องให้ศาลลงโทษ นอกจากนี้ อาจจะมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง คือ กฎหมายเกี่ยวกับมาตรการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งกำหนดว่า ใครก็ตามที่บังอาจสมคบกับผู้อื่นในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้ว ก็จะต้องระวางโทษเท่ากับผู้กระทำผิดนั้นเลยทีเดียว

แล้ว คำว่า “สมคบ หรือ conspiracy” คือ อะไร ในสหรัฐอเมริกา ได้วางหลักการเรื่องนี้ไว้ ในคดี Pinkerton v. U.S., 382 U.S. 640 ตั้งแต่ ปี ค.ศ. ๑๙๔๖ กล่าวโดยย่อว่า “จำเลยทั้งสองคน คือ พี่น้องตระกูล Pinkerton ได้ถูกพิพากษาโดยศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ เขต ๕ (The Circuit Court of Appeals for the Fifth Circuit) ว่ากระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร (Internal Revenue Code) ทั้งในความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) ที่จะกระทำผิดตามกฎหมายภาษีอากรฯ และความผิดตามกฎหมายแม่บทดังกล่าว (Substantive offences) จำเลยจึงอุทธรณ์คดีนี้ไปยังศาลสูงสุด (The U.S. Supreme Court) โดยจำเลยคนหนึ่ง ได้อ้างเหตุผลว่า ในขณะที่มีการกระทำผิดจริง ๆ ( Substantive offences) นั้น ตนถูกจำคุกอยู่ในความผิดฐานอื่น ๆ ตนจึงไม่ต้องรับผิดฐานสมคบที่จะกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรอีก ศาลสูงสุด พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองคนกระทำผิดตามฟ้องฯ แม้จำเลยที่สองจะอยู่ในคุก ไม่ได้มีส่วนลงมือกระทำผิดด้วยเลย ก็ต้องรับผิดฐานสมคบฯ ด้วย

ท่านผู้อ่าน คงจะสงสัยว่าเพราะอะไร จึงต้องรับผิด เพราะเขาไม่ได้ลงมือกระทำผิดด้วยเลย แค่ไปตกลงว่าจะร่วมกันโกงภาษีฯ แล้วก็หนีเข้าไปอยู่ในคุกก่อนที่จะมีการกระทำผิดจริง ๆ เกิดขึ้น เขาก็ควรจะพ้นจากการการกระทำผิดฐานโกงภาษีฯ แล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลท่านไม่ได้เห็นเช่นนั้น เพราะหลักการในเรื่อง การสมคบกันเพื่อกระทำผิดตามกฎหมาย Common law วางหลักไว้ดังนี้

(๑) องค์ประกอบการกระทำผิด : ส่วนของการกระทำ (Actus Reus) คือ การตกลงกันเพื่อกระทำผิดของคนสองคนขึ้นไป (Bilateral Agreement) เช่น นาย Pinkerton ผู้พี่ ตกลงกับ นาย Pinkerton ผู้น้อง ว่า จะโกงภาษีรัฐบาลสหรัฐ โดยวางแผนว่าจะสร้างบริษัทกระดาษ (Paper company) ขึ้นมา เพื่อฉ้อโกงภาษีรัฐบาล
(๒) องค์ประกอบการกระทำผิด : ส่วนของจิตใจ (Mens Rea) คือ มีเจตนาที่จะกระทำผิด เช่น ได้ตกลงใจที่จะกระทำผิด (Stake in the Venture) หรือ แม้กระทั่งเพียงรู้ว่า จะมีการกระทำผิดเกิดขึ้น และตนมีส่วนสนับสนุนให้ความผิดนั้นสำเร็จลุล่วง แม้จะไม่ได้พูดตรง ๆ ว่าจะตกลงกระทำผิดด้วย (Knowledge that the crimes will occur) โดยมีข้อเท็จจริงอื่นประกอบ เช่น ได้ผลประโยชน์จากการกระทำการสนับสนุนให้การกระทำผิดสำเร็จ ฯลฯ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ หากมีการกระทำผิดตามที่ตกลงกันไว้ แม้ผู้ที่ตกลงจะร่วมกระทำผิด ไม่ได้ลงมือ อะไรเลย หรือในวันที่ตกลงกันไม่ได้กระทำผิดนั้น ผู้ที่ตกลงด้วย เจ็บป่วย ไม่ได้อยู่ร่วมกระทำผิดด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ ในคดีนี้ นาย Pinkerton ผู้น้อง ได้หลบหนีไปอยู่ในคุก (เพราะกระทำผิดฐานอื่นฯ ) ก่อนที่ นาย Pinkerton ผู้พี่ จะโกงภาษี นาย Pinkerton ผู้น้อง ต้องรับผิดในทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ผู้ร่วมสมคบกันได้ลงมือกระทำผิด แม้จะไม่ได้มีส่วนร่วมลงมือกระทำผิดเลยก็ตาม

ศาลสูงสุด ยังได้วางหลังเพิ่มเติมไปอีกว่า ผู้ร่วมสมคบกันนั้น จะต้องรับผิดในผลทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ถ้าอาจคาดเห็นได้ (Foreseeable and natural consequence) แม้จะไม่ได้มีการตกลงว่าจะกระทำผิดอื่น หรือ ตกลงในเรื่องรายละเอียดนั้นเลยก็ตาม เช่น ว่า นาย ก. ตกลงกับนาย ข. จะไปปล้นธนาคาร วันเกิดเหตุ ทั้งสองคน ก็ไปปล้นธนาคารตามแผน นาย ข. อารมณ์ ไม่ดี จึงยิงพนักงานธนาคาร และประชาชนในธนาคารนั้นเล่น ดังนี้ นาย ก. ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นทั้งหมดด้วย แม้นว่า นาย ก. จะไม่เคยตกลงกับนาย ข. ให้ไปยิงใคร ฯลฯ เลยก็ตาม

ศาลให้เหตุผลว่า ความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) เป็นความผิดที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง (Stand alone crimes) และเป็นความผิดสำเร็จ นับแต่ที่ได้ตกลงกันเสร็จสิ้น ความผิดฐานสมคบ จึงแยกจาก ความผิดที่ตั้งใจจะกระทำ (Substantive crimes) โดยเด็ดขาด หากตราบใด ผู้ร่วมสมคบ ไม่ได้ถอนตัวออกจากการเป็นผู้สมคบ โดยมีการกระทำสิ่งใด ๆ ที่เป็นการขัดขวาง ไม่ให้ความผิดตามกฎหมายแม่บทที่ตั้งใจกระทำผิดนั้น ล้มเหลวไป ผู้ร่วมสมคบ ยังต้องรับผิดในฐานสมคบตลอดไป ตราบชั่วฟ้า ดินสลายฯ

หลักการตาม MPC ได้เปลี่ยนแปลง จากหลักการ Pinkerton Rule คือ ผู้ร่างกฎหมาย ไม่ต้องการให้มีการรับผิดกว้างขวางเกินขอบเขต ผู้ร่วมสมคบ จะรับผิด เท่าที่ตกลงกันเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่านั้น แม้จะเป็นผลที่อาจคาดเห็นได้ก็ตาม เช่น นาย ก. ตกลง กับนาย ข. และ นาย ค.จะไปปล้นบ้าน นางสาว จิ๋มฯ แสนสวย ในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามหลักกฎหมาย MPC นั้น ความผิดฐานสมคบ ยังไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะมีบุคคลใด บุคคลหนึ่งที่สมคบกัน ได้กระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามที่ได้ตกลงกัน (Overt act) เช่น เตรียมซื้อสารพิษเบื่อสุนัขบ้าน นางสาวจิ๋มฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ต้องเป็นกระทำผิดตามกฎหมายใด ๆ ความผิดฐานสมคบ จึงจะเร็จลงทันที ฯ แตกต่างจาก แนวคิดของ Common law ความผิดฐานสมคบ สำเร็จทันที ที่ตกลงกันเรียบร้อยฯ แต่สำหรับ MPC จะต้องมีทั้ง Unilateral Agreement & Overt act ประกอบกัน

เมื่อทั้งสามคน ไปปล้นบ้าน ปรากฎว่า นาย ค. เห็นนางสาวจิ๋มฯ แล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ จึงได้ข่มขืนและทำร้ายจิ๋มฯ ไปหลายรอบฯ ดังนี้ ตามมาตรา ๒.๐๖ ที่จำกัดความรับผิดฐานสมคบ (มาตรา ๕.๐๓) ได้กำหนดว่า รับผิดเท่าที่ตกลงกัน คือ ในที่นี่ นาย ก. และนาย ข. ก็ไม่จำต้องผิดฐานข่มขืนฯ ร่วมกับนาย ค. ไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากคดีนี้เกิดใน Common law jurisdiction นาย ก. และ นาย ข. ก็ต้องรับผิดในส่วนที่นาย ค. กระทำผิดไปด้วย แม้จะไม่ได้ตกลงกันเลยก็ตาม (หากเป็นผลที่คาดหมายได้)




ในสหรัฐฯ มีการใช้หลักการสมคบ (conspiracy) กับกฎหมายทุกประเภท และความผิดทุก ๆ ความผิด แต่สำหรับประเทศไทย เราเจริญก้าวหน้ากว่า เราไม่เอา เราไม่มีความผิดฐานสมคบ แต่เรามีความผิดฐานตัวการ ผู้สนับสนุน และผู้ใช้ เท่านั้น ซึ่งบางกรณี ก็ไม่เพียงพอในการป้องกันปราบปรามกระทำผิดที่เกิดขึ้น ความจริง กฎหมายเรื่องสมคบ มีประโยชน์มาก เพราะ รัฐสามารถเข้าระงับการกระทำผิด และนำตัวผู้สมคบมาลงโทษได้ แม้จะยังไม่มีความผิดเกิดขึ้นจริง ๆ ก็ตาม [Last Update : 22 กรกฎาคม 2548 15:18:00 น.]




 

Create Date : 22 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:33:37 น.
Counter : 1216 Pageviews.  

Not Guilty ในคดี Michael Jackson ชอบธรรมหรือไม่

จากการอ่านคอมเม้นท์ของหลายท่านในบล๊อกก่อนแล้ว น่าสนใจมาก จึงถือโอกาสกล่าวเพิ่มเติมครับ สำหรับท่านที่สงสัยว่ากระบวนการยุติธรรมนั้น ตรวจสอบได้หรือไม่

โดยหลักแล้ว กระบวนการทางการศาลตรวจสอบได้ในหลักการ คือ หลักความโปร่งใสและหลักการพิจารณาคดีโดยสาธารณะ (Public) ที่ทุกคนสามารถเข้าไปรับฟังการพิจารณาและการโต้แย้งโต้เถียงของทั้งสองฝ่ายได้ตลอด ผู้พิพากษาต้องเป็นกลาง (Impartial) ยึดหลักการแห่งกฎหมายในการพิจารณาคดี ตามระบบการดำเนินคดี ซึ่งมี ๒ ระบบใหญ่ คือ

(๑) ระบบกล่าวหา (Accusatorial system) และ
(๒) ระบบไต่สวน (Inquisitorial system)

ทั้งสองระบบ จะแตกต่างกันที่บทบาทของศาลจะแตกต่างกันไป โดยระบบกล่าวหา ศาลจะมีบทบาทน้อย ในลักษณะ Passive ทำตัวเป็นกรรมการตัดสินระหว่างการนำสืบพยานหลักฐานของคู่ความ (Parties) ในคดี ส่วนระบบไต่สวน ศาลจะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการสืบพยานเอง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ในสหรัฐ ศาลจะเป็นยึดมั่นในระบบกล่าวหา แต่ในข้อเท็จจริง ผู้พิพากษามีบทบาทสูงมากในการควบคุมการสืบพยานฯ ถามพยานฯ ต่างจากศาลไทย ที่ ป.วิ.อาญา ให้อำนาจศาลในการสืบพยานฯ แต่ศาลไม่เคยทำอะไรเลยนอกจากนั่งเฉย ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เท่ห์ ๆ

สิ่งที่จะพิสูจน์ว่า กระบวนการได้มาซึ่งคำพิพากษาชอบฯ หรือไม่ นั้น ต้องดูที่เหตุผลของคำพิพากษาครับ ถ้าพิจารณาแล้วสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ให้เหตุผลได้ดี จนถึงขนาด “ชัดแจ้งดังแสงตะวัน” คือ ฝ่ายจำเลยก็เคลิบเคลิ้มหลงไหลได้ปลื้มกับคำพิพากษาและยอมรับผิดโดยสดุดี นักวิชาการ ฯลฯ อ่านคำพิพากษาแล้วก็ยอมรับในเหตุผล หรือแม้แต่คนธรรมดาสามัญ อ่านคำพิพากษาแล้ว ก็เข้าใจและยอมรับฯ ในเหตุผลและคำอธิบายนั้น สิ่งนั้น คือ สิ่งที่แสดงถึงความชอบธรรมและถูกต้องของคำพิพากษาครับ

คดีนี้ ความจริงมีข้อเท็จจริงในการนำสืบอยู่มาก แต่ผมได้เสนอเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับหลักกฎหมายลักษณะพยาน (Federal Rule of Evidence) ตามหลักกฎหมายของสหรัฐเท่านั้น ว่าไม้เด็ดของทนายฝ่ายท่าน Michael Jackson คืออะไร แต่ในข้อเท็จจริงว่าเขาทำผิดจริงหรือไม่นั้น ไม่มีใครทราบได้ การตัดสินปัญหาทางกฎหมาย ไม่อาจจะใช้อารมณ์หรือความรู้สึกเป็นพื้นฐานในการตัดสินถูกหรือผิดได้

เราต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่สำคัญในคดีเป็นหลัก โดยพยานหลักฐานจะต้อง ชอบด้วยกฎหมาย ตรงประเด็น (Relevant) มีคุณค่าน่ารับฟัง (Probative value) อีกทั้ง เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างความเสียหายที่เกิดขึ้น (Unfair prejudice) ที่จะเกิดกับจำเลยแล้ว คุณค่าของพยานหลักฐาน (Probative value) นั้น ท้วมท้น (Substantially outweighed) สิ่งที่เรียกว่า Unfair Prejudice นั้น จึงจะสามารถรับฟังเข้าเป็นพยานหลักฐาน เพื่อให้คณะลูกขุน พิจารณาต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายแก่จำเลยอย่างมากมาย พยานหลักฐานที่มีคุณค่านั้น ย่อมต้องถูกตัดออกไป โดยคณะลูกขุนห้ามนำพยานหลักฐานนั้นมาพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดจริงหรือไม่ คดีนี้ แม้ของเด็ก เคยฟ้องคดีอันเป็นเท็จ และทำเอกสารเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินและสวัสดิการของรัฐฯ พยานโจทก์ จึงขาดความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจรับฟังได้ฯ

แม้ความรู้สึกเราจะเชื่อว่า ท่าน Michael Jackson ทำผิดจริง แต่เมื่อพยานหลักฐานไม่เพียงพอ คณะลูกขุน จึงลงความเห็นว่า Not Guilty โดยกระบวนการทุกอย่างจะต้องยุติลงในทันที ไม่อาจฟ้องร้องดำเนินคดีได้ซ้ำอีก เพราะขัดต่อหลัก Double Jeopardy แต่ถ้าหากคณะลูกขุน ลงมติว่า Guilty ก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและต่อสู้คดีต่อไป ซึ่งในระบบกฎหมายของสหรัฐนั้น สิทธิในการมีทนาย หรือ Right to counsel ตาม Sixth Amendment to the U.S. Constitution รวมถึง Right to effective assistance counsel หาก Michael Jackson แพ้คดี ย่อมมีทางที่จะต่อสู้คดีได้อีกมากมาย อาจจะต้องใช้เวลากว่า ๑๐ ปี คดีจึงจะถึงที่สุด เช่น ในคดีที่ที่มีโทษประหารชีวิตในสหรัฐ โดยเฉลี่ยของการดำเนินคดีจะอยู่ที่ ๑๑ ปี ซึ่งนับว่าล่าช้ามากครับ

“ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฎิเสธความยุติธรรม” “Justice Delay is Justice Deny” อันนี้ เรื่องจริง และปฎิเสธทุกอย่างเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมและวัตถุประสงค์ในการลงโทษผู้กระทำผิด ส่วนในคดีแพ่งนี่ ยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ คนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้กฎหมายจะต้องตกเป็นเครื่องมือและที่แสวงประโยชน์ของนักกฎหมายระยำ ๆ ทั้งหลาย เพราะไม่ว่าเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ดังที่ผมได้เคยกล่าว แม้ว่าเรามีสิทธิตามกฎหมาย(ว่าด้วยสารบัญญัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่น ๆ ) แต่เราไม่ทราบและไม่ได้กระทำการข้อบังคับในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการคุ้มครองตามกฎหมายกระบวนการพิจารณาคดี ( ป.วิ.แพ่งฯ ) เราก็เสมือนไม่มีสิทธิอะไรตามกฎหมาย เรียกร้องอะไรไม่ได้ เพราะกฎหมายพวกนี้ ตัดสิทธิในการดำเนินกระบวนการพิจารณาและร้องขอหรือรักษาสิทธิของตนเองได้

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงว่า เราควรจะต้องเรียนรู้กฎหมาย เพื่ออย่างน้อย ก็ไม่ให้คนอื่น โดยเฉพาะนักกฎหมายที่ไม่ได้ความ มาเอารัดเอาเปรียบเราได้ เพราะจะไปหวังพึ่งองค์กรที่ควบคุมจรรยาบรรณเหล่านี้ ก็เหมือนจะไร้ผล และไม่ได้ความเช่นเดียวกัน




 

Create Date : 19 มิถุนายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:33:19 น.
Counter : 755 Pageviews.  

Michael Jackson not guilty on all counts

“Michael Jackson not guilty on all counts
Singer acquitted in alleged child molestation case”
JUNE 13, 2005


ข่าวนี้ นับเป็นข่าวที่ผมรอคอยเลยก็ว่าได้ ผมกับเพื่อนที่เรียนในโปรแกรม LL.M. (Master’s Degree of Law) ที่อิลลินอย พนันขันต่อกันไว้ว่า สุดท้าย ท่าน Michael Jackson จะต้องประสบกับการกระบวนพิจารณาคดีต่อไป หรือจะรอดชะตากรรมจากการดำเนินคดี ฐานละเมิดทางเพศแก่เด็ก (Child Molestation) และอื่น ๆ รวม ๑๐ ฐาน

เพื่อนผมชาวเยอรมัน (ไอ้พวกนี้มันเก่ง TOEFL เกือบเต็มทั้งนั้น เรียนกะมัน ผมหนาวทุกที) กับอีกท่านหนึ่ง ที่เป็นพนักงานอัยการญี่ปุุ่่น และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น มันเอาหัวเป็นประกันว่า Jackson ไม่รอดแน่ ๆ ผมกับเพื่อนชาวเกาหลี บอกว่า ถ้า Jackson ถูกคณะลูกขุน (๋Jury) ตัดสินว่าผิด (return verdict as Guilty) ให้ตัดหัว (แต่ผมไม่ได้บอกว่า ตัดหัวนะ หมายถึง ตัดหัวจิ้งจกนะ ไม่ใช่หัวผม)

Jackson ถูกกล่าวหาว่า พยายามกระทำการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก (child molestation) จำนวน ๔ ข้อ ข้อหาอื่น ๆ อีก ๖ ข้อหา รวมเป็น ๑๐ ข้อหา เขาถูกฟ้องและดำเนินการไต่สวนในชั้นพิจารณาต่อศาลประจำมลรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ต่อคณะลูกขุน (jury) ท่านผู้อ่าน คงจะจำได้ว่า คณะลูกขุน ในรัฐนี้ เคยตัดสินว่า O.J. ที่ฆ่าเมียตัวเอง “not guilty” มาแล้ว

คดี O.J. นั้น ปัญหา คือ วิธีการการได้มาซึ่งพยานหลักฐานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นไ่ม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้พยานหลักฐานที่ชัดแจ้งว่า O.J. ฆ่าเมียตัวเอง ถูกตัดออกไป โดยหลัก Exclusionary Rule ซึ่งหากจะเทียบกับกฎหมายไทย ก็คือ หลักการตาม ป.วิ.อาญา มาตรา ๒๒๖ คือ พยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบไม่อาจจะนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ คดี O.J. แม้จะจบลงในชั้นการดำเนินการของรัฐ แต่เขายังหาได้พ้นบ่วงกรรมไม่ เพราะ สหรัฐนั้น มีระบบการดำเนินคดีแบบคู่ขนาน (Dual Jurisdictions) ระหว่างมลรัฐและรัฐบาลกลาง ซึ่งศาลสูงสุด (The U.S. Supreme Court) ได้ตัดสินแล้วว่า การดำเนินคดีของทั้งสองระดับ เป็นคนละเขตอำนาจกัน จึงไม่ขัดหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำ (Double Jeopardy) รัฐบาลกลาง จึงกำลังดำเนินการสืบสวนดำเนินคดีกับ O.J. ใหม่

ส่วนคดี Jackson นั้นเป็นเรื่อง เทคนิคล้วน ๆ เทคตามกฎหมายลักษณะพยาน (Federal Rule of Evidence หรือ FRE) กฎหมายลักษณะพยานของสหรัฐ หลักการทั่วไปนั้น หมือนของไทยหลายประการ แต่ที่ต่าง คือ ข้อยกเว้น และข้อยกเว้นของข้อยกเว้น ที่ละเอียดละออ สลับซับซ้อน ยุ่งยากมาก ไม่ได้รวมอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา แบบของไทย แต่ของเขา แยกต่างหากจากกฎหมายวิธีพิจารณาความ ไปเป็นกฎหมายลักษณะพยานต่างหาก

ในคดี Jackson พยานเอก คือ เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และมารดาของเด็ก เพียง ๒ ปาก ที่จริงฝ่ายอัยการซึ่งเป็นโจทก์ในคดีนี้ คือ เด็กและมารดานั้น ได้เปรียบเชิงกลต่อ Jackson อยู่หลายขุม เพราะ FRE นั้น กำหนดให้ ในคดีประเภท Molestation นั้น ให้นำประวัติของการต้องหาคดีของ Jackson มาใช้เป็นพยานหลักฐาน เพื่อจูงใจให้คณะ Jury และศาลพิจารณาและท้ายที่สุด นำไปสู่ข้อสรุปว่า Jackson มีแรงจูงใจ (Motive) หรือ มีความรู้ความเข้าใจ (Knowledge)ในการกระทำผิด โดยปกติศาลสูงสุดสหรัฐจะยอมรับว่า เพราะ Jackson มีแรงจูงใจฯ เช่นนั้น ได้กระทำผิดจริง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นทั้งหลักการห้ามฟังพยานหลักฐานที่เป็นพยานบอกเล่า (Hearsay exception) และเป็นข้อยกเว้นของข้อห้ามการลงโทษเพราะบุคคลนั้นมี Characteristics เช่นนั้น และจึงนำไปสู่ข้อสรุปว่า เพราะมันมีบุคลิกภาพที่ชั่วร้าย มันต้องทำผิดแน่ ๆ เป็นต้น

ข้อเท็จจริง ก็คือ Jackson เคย ถูกฟ้องคดีในลักษณะนี้มาก่อน และต้องจ่ายเงินเพื่อยุติคดีไปประมาณ ๒๐ กว่าล้านเหรียญ คือ ถ้าเราเ็ป็นอัยการ เราก็ยิ้มแน่ ๆ คล้าย ๆ ว่า “Jackson ตายแน่ ตายแน่ Jackson” อย่างไรอย่างนั้น ที่น่าแปลกใจ กฎหมายที่อนุญาตให้นำประวัิติคดีเก่าทางเพศของจำเลยมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้นี้ ได้รับการเสนอและบังคับใช้โดยประธานาธิบดี คลินตัน ผู้อื้อฉาว กับ ลูวินสกี้ ในคดี “อมของหลวง” เสียด้วย

เดชะบุญของ Jackson คือ เด็กเคยโกหก (เด็กที่ไหนไม่เคยโกหกฟะ) และมารดาของเด็กเคยเบิกความเท็จและฟ้องคดีอันเป็นเท็จต่อศาล ทนายของ Jackson ซึ่งเข้าใจว่าได้รับค่าจ้างชั่วโมงละหลายพันเหรียญ นำข้อเท็จจริงข้างต้น มาใช้ในการหักล้างความน่าเชื่อถือของคำฟ้อง ตามหลักการ Impeachment เพื่อให้ศาลสรุปว่า การรับฟังคำเบิกความ (testimony) ของเด็กและมารดาของเด็กที่เป็นพยานสำคัญของอัยการโจทก์ในการฟ้องคดีต่อ Jackson จะก่อให้เกิด Unfair Prejudice ต่อ Jackson เพราะการที่โจทก์เคยฟ้องเท็จ ย่อมนำไปสู่ข้อสรุปว่า พยานฯ ของฝ่ายอัยการ/โจทก์ อาจจะมี Bias และ Motive ที่จะฟ้องเท็จในคดีนี้ด้วย

เรียกว่าทนายในคดีนี้เก่ง ทำให้ศาลใช้หลัก FRE ในเรื่อง Impeachment ตัดพยานสำคัญในสาระสำคัญออกไป แม้จะมีคุณค่าน่ารับฟัง (Probative value) และตรงกับประเด็นที่ฟ้อง (relevant) ก็ตาม แต่ถ้า Unfair prejudice มันท้วมท้นคุณค่าเหล่านั้น FRE ก็ห้ามรับฟัง เป็นต้น

เมื่อคดีขาดพยานฯ อันเป็นสาระสำคัญ ประกอบกับ ศาลจะต้องให้คำแนะนำแก่คณะลูกขุน (Jury instruction) ว่าจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริง เฉพาะข้อเท็จจริงว่า Jackson ได้กระทำผิด บนหลักการว่า โจทก์ได้นำสืบโดยปราศจากสงสัยหรือไม่ (Prove beyond reasonable doubt) ซึ่งคดีนี้ คำแนะนำของศาลที่ให้แก่ Jury หนาถึง ๙๐ หน้า Jury’s deliberation หรือ การพิจารณาว่า Jackson นั้น Guilty or Not Guilty ใช้เวลาถึง ๑ สัปดาห์ แล้วจึงประกาศว่า Not Guilty เมื่อประกาศว่า Not Guilty จะไม่อาจดำเนินคดีได้ซ้ำอีก เว้นแต่จะต่าง Jurisdiction กัน ตามที่กล่าวไปแล้ว

เป็นอันว่า Jackson พร้อมแฟนเพลงหลายร้อย ได้เดินทางกลับบ้านของเขา ที่เรียกว่า Neverland ที่เขาสร้างไว้บนเนื้อที่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ เอเคอร์ มีสวนสนุก เหมือนกับ Disneyworld ไม่มีิผิดเพี้ยน เพราะ Jackson รักเด็ก เขาจึงได้เชิญชวนเด็ก ๆ ไปเล่น ไปกิน ไปนอน ในสวนสนุกส่วนตัวของเขา เรื่องยุ่ง ๆ จึงเกิดขึ้น

มาพูดเรื่องระบบลูกขุนกันสักนิด สิทธิในการพิจารณาโดยลูกขุนนั้น เป็นสิทธิที่สืบเนื่องมาจาก Common law ของอังกฤษ มีหลักคิดอย่างเดียวกัน คือ การคานอำนาจของรัฐโดยให้บุคคลในชุมชนที่จำเลยเ็ป็นสมาชิกของสังคมนั้น เข้ามาควบคุมการดำเนินคดีของรัฐ ไม่ให้ฟุ่มเฟือย หรือ ตามอำเภอใจของฝ่ายรัฐ โดยให้ประชาชนกลุ่มนี้ เข้ามาใช้สามัญสำนึก ตัดสินข้อเท็จจริงที่รับฟัง ภายใต้คำแนะนำของศาลเกี่ยวกับหลักกฎหมายที่จำเ็ป็นฯ ว่าโจทก์นำสืบแล้วน่าเชื่อว่าจำเลยทำผิดจริงหรือไม่ หากพิจารณาว่า Guilty ก็เข้าสู่กระบวนการพิจารณาต่อไป แต่ถ้า Not Guilty ก็เป็นอันว่ายุติ ฟ้องซ้ำอีกไม่ได้

กระบวนการสรรหา Jury จึงพิจารณาจากสมุดรายชื่อ สมุดโทรศัพท์ ทะเบียนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ซึ่งในสหรัฐใช้เป็นบัตรประจำตัวประชาชน แล้วเชิญไปเข้ากระบวนการสัมภาษณ์ เพื่อให้ได้บุคคลที่เป็นกลาง (impartial) มาทำหน้าที่เป็น Jury ต่อไป โดยมีกระบวนการกำหนดกำจัดบุคคลที่ฝ่ายอัยการโจทก์ และฝ่ายทนายจำเลย เชื่อว่าบุคคลนั้น ต้องมีอคติแน่ ๆ ออกไปได้ ให้เหลือบุคคลที่น่าเชื่อว่าจะเป็นกลางจริง ๆ ในอดีตมีปัญหามาก เพราะอัยการก็จะกำจัดบุคคล ที่เป็นคนผิวสี ถ้าจำเลยเป็นคนผิวสี ฯลฯ เป็นต้น

ในคดี Jackson นี้ คณะ Jury มี ๑๒ คน เป็นหญิง ๘ คน ชาย ๔ คน อายุตั้งแต่ ๒๑ ปี ถึง ๗๙ ปี ๘ คน มีครอบครัวและมีลูกแล้ว และ เป็นที่รู้กันดีว่า ๖ คนเป็นแฟนเพลงของ Jackson จึงน่าคิดเหมือนกันว่า จะเรียกคณะลูกขุนนี้ว่าเป็น Impartial Jury ได้หรือไม่ และจะเป็นไปได้หรือไม่ หากจะไม่ให้มีแฟนเพลงของ Jackson อยู่เลย เพราะเขาโด่งดังตั้งแต่เยาว์วัยและอยู่ในวงการมาประมาณ ๔๐ ปีแล้ว




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:32:58 น.
Counter : 790 Pageviews.  

MPC: Criminal Liability Theories

วันนี้ ผมตั้งใจจะเปรียบเทียบกับแนวคิด Common Law ในเรื่องความรับผิดทางอาญาในความผิดฐานสมคบ (Conspiracy) ที่สหรัฐรับมาจากแนวคิดกฎหมายอาญาของประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันสำหรับนักกฎหมายอาญาว่า Pinkerton Rule กับแนวคิดของ The Model Penal Code ของสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวกับ Conspiracy ซึ่งจะมีขอบเขตความผิดที่แตกต่างกันมาก

แต่ก่อนจะกล่าวถึง หลักการข้างต้น ผมขออนุญาตกล่าวถึงทฤษฎีความรับผิดทางอาญาเสียก่อน นักปราชญ์ทางกฎหมายอาญา ได้เสนอไว้ว่า บุคคลจะมีความรับผิดทางอาญาหรือไม่ และมีองค์ประกอบความรับผิดอย่างไร จะมีด้วยกัน ๓ ทฤษฎี ประกอบด้วย (๑) Bipartite; (๒) Tripartite; และ (๓) Quadripartite

สำหรับ Bipartite theory นั้น เป็นความแนวคิดของประเทศที่ใช้ Common law เป็นพื้นฐาน ความผิดทางอาญา จะประกอบไปด้วย ๒ องค์ประกอบใหญ่ คือ

(๑) องค์ประกอบทางการกระทำ หรือ Actus Reus และ
(๒) องค์ประกอบทางจิตใจ หรือ Mens Rea ซึ่งทาง Common law จะใช้คำศัพท์แตกต่างกันไป แม้จะมีความหมายเหมือนกัน เช่น Willfulness อาจจะไม่ได้หมายถึง Intent ในบริบทและกฎหมายที่แตกต่างกันไป ในทาง common law จึงมีคำศัพท์ที่มีความหมายไม่แน่นอนเฉพาะเจาะจง และยากที่จะตีความเฉพาะแต่การอ่านบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ เพียงลำพัง นักวิชาการ จึงเรียกคำศัพท์ทางกฎหมายอาญาว่าเป็น Terms of art ยากที่นักวิชาการหรือนักกฎหมายจากค่าย Civil law or Code law จะเข้าถึงได้


ทฤษฎีที่สอง คือ Quadripartite theory นั้น องค์ประกอบด้วยความรับผิด จะประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบใหญ่ คือ
(๑) ประธานของการกระทำความผิด (the subject of the offense);
(2) องค์ประกอบเฉพาะของผู้กระทำผิดในการพิจารณว่าผู้กระทำจะต้องรับผิดหรือไม่ (the subjective side of liability);
(3) วัตถุแห่งการกระทำผิดนั้น (the object of the offense); และ
(4) องค์ประกอบทางปทัสฐานของสังคมในการพิจารณาความผิดของผู้กระทำผิด (the objective side of liability)

ทฤษฎีที่สาม คือ Tripartite theory นั้น เป็นทฤษฎีความรับผิดตามแนวคิดของประเทศเยอรมันนี ซึ่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
(1) มีการบัญญัติให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำผิดตามกฎหมาย (the definition of the offense);
(2) การกระทำนั้นเป็น “ความผิด” โดยครบองค์ประกอบแห่งการกระทำผิดตามกฎหมายบัญญัติ (the wrongfulness or unlawfulness); และ
(3) การกระทำนั้น สังคมโดยทั่วไปถือว่าเป็น “ความชั่ว” หรือน่าตำหนิ (the culpability or blameworthiness)

มาถึงตอนนี้ ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายอาญาเลย อาจจะไม่เข้าใจอะไรเลย และมองว่าผมเพ้อเจ้ออะไรอยู่ ผมขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมสักเล็กน้อย สำหรับทฤษฎีแรก จะไม่ยากเท่าไหร่ คือ การกระทำใด ๆ จะถือเป็นความผิด ก็ต้องมีการกระทำ และการกระทำนั้น ผู้กระทำมีเจตนาจะก่อให้เกิดผลร้ายขึ้น แต่ทฤษฎี จะไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์บางอย่าง เช่น ผู้กระทำผิด เป็นคนปัญญาอ่อน ฯ จะต้องรับผิดหรือไม่ เพราะข้อยกเว้นความผิด ไม่อยู่ในองค์ประกอบความผิดที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ส่วนทฤษฎี Quadripartite theory จะกำหนดไว้เสร็จสรรพ ถึงเหตุยกเว้นความผิด ไว้ในองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา ในกรณีผู้กระทำผิดมีสติสัมปชัญญะไม่ครบถ้วน หรือเป็นผู้เยาว์ฯ

ในความเห็นผมแล้ว ทฤษฎีของประเทศเยอรมัน ดูจะอธิบายได้ยากที่สุด หากท่านย้อนอ่านไปข้างบน จะเห็นว่า มีคำว่า “ความผิด” และ “ความชั่ว” ตามทฤษฎีนี้ แม้การกระทำนั้น เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่สังคมโดยทั่วไปพิจารณาแล้ว ไม่ถือว่าเป็นความชั่ว เช่น บุคคลถูกละเมิดสิทธิ์ในชีวิต โดยมีคนจะเอาปืนยิงตนเอง เขาย่อมสามารถป้องกันชีวิตของเขาได้ โดยยิงผู้นั้นก่อน ดังนี้ ผู้ที่ยิงผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น ย่อมไม่มี “ความชั่ว” การกระทำของเขาไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ ดูเหมือนจะอธิบายกฎหมายไทยได้ไม่ทั้งหมด เพราะกฎหมายไทยกำหนดบางกรณีไว้ อาธิ กรณีที่จำเป็นต้องกระทำผิด ตัวอย่างเช่น เราจะถูกคนละเมิด ใช้อาวุธปืนยิงเรา เราไม่มีทางเลือกอื่น เราจึงต้องยิงบุคคลที่กำลังละเมอนั้นไป เราไม่มีทางเลือกอื่น จึงถือว่าการกระทำของเรา “ไม่มีความชั่ว” ทฤษฎีกฎหมายเยอรมันนี้ ถือว่าไม่มีความผิดเลย แต่กฎหมายไทย กำหนดไว้ว่าเป็นความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ หากเป็นการกระทำที่สมควรแก่เหตุ

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการพัฒนาทางกฎหมายอาญา ๒ รูปแบบ โดยในช่วงแรก ได้รับแนวคิดแบบ Common law มาจากอังกฤษโดยตรง โดยรัฐทุกรัฐสามารถกำหนดกฎหมายอาญาของตนได้อย่างเสรี อีกทั้งผู้พิพากษาทั้งหลาย ตามแนวคิดของอังกฤษนั้น สามารถวางหลักกฎหมายและประกาศให้การกระทำใดเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาได้ ตามหลัก Judge made law ทำให้กฎหมายอาญาของแต่ละแตกต่างกันอย่างมากมาย นักวิชาการทางกฎหมายอาญา ในช่วงยุค ๑๙๕๐ และ ๑๙๖๐ได้รวมตัวกัน เรียกว่า สมาคมกฎหมายอเมริกัน (American Law Institute) ประกอบด้วย อาจารย์ทางกฎหมายอาญา จากหลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะจาก Indiana University – Bloomington ได้ร่างตัวแบบกฎหมายอาญา เรียกว่า The Model Penal Code (MPC) เพื่อให้รัฐต่าง ๆ รับเอาไปเป็นต้นแบบในการออกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ในช่วงแรกมีรัฐต่าง ๆ ประมาณ ๓๕ มลรัฐ รับไปตัวแบบนี้ไปออกฎหมายเป็นของตนเอง ปัจจุบัน มีเพียง ๔ มลรัฐ ที่ยังไม่ได้รับเอา MPC ไปใช้อย่างเต็มรูปแบบ โดยบางส่วนยังดำรงรูปแบบความรับผิดตามทฤษฎี common law แบบอังกฤษอยู่ดั้งเดิม

MPC ได้สะท้อนแนวคิดหลายประการที่ต้องการให้กฎหมายมีลักษณะที่เหมือนกัน ๆ กันทั่วประเทศสหรัฐ ได้สร้างแนวคิดและคำศัพท์เฉพาะทางกฎหมายขึ้นมา พร้อมกับบัญญัตินิยามไว้ด้วย โดยคำนึงถึงหลักสำคัญของกฎหมายอาญา ที่เรียกว่า หลักความชอบด้วยกฎหมาย (Legality Principle) โดยผู้พิพากษาจะประกาศให้สิ่งใดเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาไม่ได้ ผู้พิพากษาจะต้องบังคับใช้กำหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตรากฎหมายบังคับใช้ไว้แล้วเท่านั้น ซึ่งหลักนี้อยู่บนพื้นฐานของหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) หลักการตาม MPC ได้แก้ไขข้อบกพร่อง ที่ปรากฎในทฤษฎี Common law หรือ Bipartite theory โดยเพิ่มนิยามเกี่ยวกับ Mens rea .ให้ชัดเจน และเพิ่มองค์ประกอบที่เกี่ยวกับข้อยกเว้นความรับผิดและนิรโทษกรรม (Excuse and justification) เข้ามาเป็นองค์ประกอบความรับผิดทางอาญา ด้วย

ตามแนวคิดของ MPC บุคคลจะมีความผิดทางอาญา จะต้องมีการกระทำที่ครบองค์ประกอบความรับผิด (The Elements of Criminal Liability) ดังนี้

(๑) Actus Reus ส่วนของกระทำ ที่จะต้องมี ๓ องค์ประกอบย่อย ๆ คือ

(๑.๑) Conduct
(๑.๒) Circumstances และ
(๑.๓) Result

โดยการกระทำจะต้องเป็นกระทำที่ผู้กระทำสามารถคิด และตัดสินใจ พร้อมสมัครใจที่กระทำด้วยตนเอง ปราศจากการบังคับ (voluntary act) รวมถึงการกระทำที่เป็นการละเว้นกระทำการซึ่งมีกฎหมายบัญญัติหน้าที่ไว้ด้วย (the omission)

หลักสำคัญ อีกประการหนึ่ง ตาม MPC พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ว่า จำเลยในขณะกระทำผิดนั้น มี Mens rea ในทุกองค์ประกอบของ Actus Reus คือ ทั้ง Conduct, Circumstances และ result. ต่างจากแนวคิดของ Common law รวมถึงของประเทศไทยด้วย

(๒) Mens Rea องค์ประกอบทางจิตใจ MPC ได้บัญญัติระดับองค์ประกอบทางจิตใจไว้ ๔ ระดับ คือ
- เจตนาที่จะก่อให้เกิดผลนั้น (purpose);
- รู้สำนึกถึงผลที่จะเกิดแต่ไม่แยแส (knowledge);
- ประมาทอย่างร้ายแรง (recklessness) คือ โดยมาตรฐานของวิญญูชน รู้ว่าอาจจะเกิดผลนั้นได้ แต่มั่นใจในความสามารถจะควบคุมเหตุการณ์นั้นได้ แต่มีผลร้ายเกิดขึ้น และ
- ประมาท (negligence) คือ บุคคลทั่วไปจะคาดเห็นได้ แต่ผู้กระทำผิดมีความระมัดระวังต่ำกว่ามาตรฐาน

โดยทั่วไปแล้ว บุคคลจะมีความรับผิดทางอาญา เมื่อมีระดับ Mens rea ถึง Recklessness เท่านั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ที่มีความประมาทขั้น Negligence ต้องรับผิดด้วย

ใน common law จะมีคำศัพท์ที่ใช้แตกต่างกันไป บางที คำ ๆ เดียวกัน แต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน หรือกฎหมายต่างฉบับกัน ก็มีความแตกต่างกัน จนไม่อาจจะรู้ได้ว่า คำ ๆ นั้น มีองค์ประกอบทางจิตใจ (mens rea) อะไรกันแน่ นักกฎหมายเรียกคำใน Common law ว่า “Terms of art” คือ ไม่แน่นอน นักกฎหมายที่ปฎิบัติงานอยู่ในมลรัฐ ที่ใช้แนวคิดแบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common law jurisdiction) จึงต้องศึกษาจากแนวคำพิพากษาเป็นหลักฯ (ยังมีประเด็นปลีกย่อยอีกมาก ขอข้ามไป) .

(๓) ข้อยกเว้นความรับผิดหรือเหตุนิรโทษกรรม (The Justification or Excuse) แนวคิดของ MPC ยังกำหนด เหตุแก้ตัว ที่ผู้กระทำผิด สามารถยกขึ้นอ้าง เพื่อให้พ้นความรับผิดได้ด้วย โดยแบ่งเป็น

(๓.๑) เหตุนิรโทษกรรม ที่ทำให้ตนไม่ต้องรับผิดเลย เช่น ป้องกันตน (self-defense) หรือ สำคัญผิด (mistake) claim, หรือ

(๓.๒) ข้อแก้ตัวที่อาจจะอ้างเพื่อให้ไม่ต้องรับผิดหรือรับผิดน้อยลง เช่น กระทำผิดเพราะถูกบังคับ (duress) ส่วนข้ออ้างว่าเมาสุรา (claim of intoxication) ไม่ถือเป็นข้อแก้ตัวทางกฎหมายใด ๆ . มาตรฐานในการตีความว่าจะถือเป็นนิรโทษกรรมหรือข้อแก้ตัวได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรับรู้ในภาวะและพฤติการณ์ของบุคคลนั้น (subjective standard)

(๔) ขอบเขตขอบความรับผิดทางอาญา ตามแนวคิดของ MPC ยังจำกัดขอบเขตความรับผิดของบุคคลไว้ด้วย ไม่รับผิดแบบไม่จำกัด แบบ Common law. โดยเฉพาะในความรับผิด เพราะการกระทำของผู้อื่น เช่น กรณีบุคคลนั้น ได้เป็นตัวการ หรือเป็นผู้ร่วมกระทำผิด เรียกว่า “Complicity” กับความผิดฐานสมคบในการกระทำผิด(Conspiracy)

คราวหน้า ผมจะกล่าวถึง ขอบเขตความรับผิดทางอาญา ในความผิดตามหลักการ Complicity และ Conspiracy เปรียบเทียบระหว่าง MPC v. Common Law ซึ่งนักฎหมายอาญา จะรู้จักกันดี ในนามของ Durham Rule และ Pinkerton Rule




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:32:38 น.
Counter : 1811 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.