*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 

ตอบคำถามที่โดนถามประจำครับ

ที่ผ่านมาจะมีคำถามหลังไมค์ประจำว่า หลักสูตร J.D., LL.M., MCL, MIL, SJD, JSD มันคืออะไร และจะเข้าเรียนหลักสูตรพวกนี้ จะทำอย่างไร ผมจึงถือโอกาส เอาคำตอบแบบคร่าว ๆ เอามาลงบล๊อกไว้ ดังนี้




การเรียนกฎหมายในสหรัฐอเมริกา แตกต่างจากการเรียนกฎหมายของประเทศอื่น ๆ ในประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศไทยเรา คนที่ต้องการจะเรียนกฎหมาย เมื่อจบมัธยมศึกษา แล้วต่อปริญญาตรีสาขากฎหมายได้โดยตรง แต่การศึกษากฎหมายในประเทศสหรัฐฯ ไม่ใช่แบบนั้น ผู้ที่จะเรียนกฎหมาย จะต้องจบปริญญาในสาขาอื่นมาก่อน แล้วจึงจะสามารถสมัครเข้าเรียนในหลักสูตร J.D. (Juris Doctor) ได้




หลักสูตร J.D. ถูกจัดเป็นการเรียนแบบวิชาชีพเฉพาะ (Professional) ในขั้น Graduate School ผู้เข้าเรียนต้องสอบ LSAT หรือ ข้อสอบเพื่อวัดความเหมาะสมในการเข้าเรียนกฎหมาย มีระยะเรียน ๓ ปี โดยทั่วไปจะมีนักเรียนจากชาติอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สหรัฐฯ เรียนบ้าง แต่เป็นจำนวนน้อย เมื่อจบหลักสูตร J.D. แล้ว ก็ต้องสอบผ่านเป็น Barrister-at-law หรือ เนติบัณฑิต ของรัฐใดรัฐหนึ่ง จึงจะมีสิทธิ์ทำมาหากินในฐานะทนายความได้ (ถ้าสอบไม่ผ่าน โอกาสทำงาน ก็จำกัดลงไป)




หลักสุตร Master of Law นั้น โรงเรียนกฎหมายทั่วไป จะเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละโรงเรียนกฎหมายจะจัดหลักสูตร เช่น LL.M., MLI, MCL ซึ่งก็จะมีหลักสูตรคล้าย ๆ กัน คือ เรียนประมาณ ๘ ถึง ๑๐ วิชา (๒๔ ถึง ๓๒ หน่วยกิต แล้วแต่หลักสูตรของแต่ละโรงเรียน) สำหรับนักเรียนกฎหมายที่มีปริญญาตรีทางกฎหมายจากต่างชาติ ซึ่งผู้เข้าศึกษา อาจจะเป็น นักเรียนอเมริกาที่จบ J.D. มาแล้ว หรือ International students ก็ได้ แต่โดยหลักแล้ว นักเรียนอเมริกา ไม่ค่อยจะเรียนในหลักสูตร LL.M. เท่าไหร่ เพราะไม่จำเป็น และเสียเวลาทำมาหากิน เว้นแต่ผู้ที่ต้องการเดินสายวิชาการโดยแท้เท่านั้น

สำหรับผู้ที่สนใจ จะเข้าเรียนในหลักสูตร LL.M. หากเป็นนักเรียนต่างชาติ ก็จะต้องมีคุณสมบัติ คือ จบปริญญาตรีทางกฎหมายมาแล้ว และต้องสอบ TOEFL ได้คะแนนระดับพื้นฐานที่จะรับเข้าเรียนได้ คือ ตั้งแต่ ๕๕๐ ขึ้นไป แต่โดยส่วนใหญ่ โรงเรียนชั้นนำทั้งหลาย จะรับผู้ที่มีคะแนน TOEFL ที่สูงกว่านั้น แต่สำหรับผู้ที่จบ J.D. มาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องสอบ TOEFL อีก อย่างไรก็ตาม มีบางกรณี ซึ่งเป็นกรณีพิเศษจริง ๆ ผู้ที่เข้าเรียนปริญญาโททางกฎหมาย อาจจะไม่ต้องจบกฎหมายโดยตรงมาก่อน แต่ทำงานในด้านกฎหมายมานาน มีประวัติและประสบการณ์ดีเด่น ฯลฯ ก็อาจจะขอยกเว้น (แต่ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นเกิดขึ้นในสหรัฐฯ แต่เคยเห็น บางคนได้รับการยกเว้น และเรียนต่อในอังกฤษและออสเตรเลีย)




สุดท้าย คือ หลักสูตรปริญญาเอกทางกฎหมาย โรงเรียนกฎหมายชั้นนำในสหรัฐ ซึ่งมีประมาณ ๑๕ แห่ง ยังจัดหลักสูตรปริญญาเอกทางกฎหมาย คือ Doctor of Juridical Science (S.J.D. program) หรือ Doctor of Science of Law ( J.S.D. program) หรือ Philosophy of Law (Ph.D.) ในบางโรงเรียน ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นหลักสูตรที่ผู้เข้าศึกษาจะต้องจบหลักสูตร Master of Law มาก่อน และเสนอหัวข้อทำวิจัยที่น่าสนใจ เป็นเรื่องใหม่ และก่อประโยชน์ทางวิชาการ

โรงเรียนกฎหมายส่วนใหญ่ จะรับนักศึกษาที่จบหลักสูตร LL.M. ของตนเอง เข้าเรียนต่อในหลักสูตร JSD, SJD, Ph.D.in Law ของตนเอง จะมียกเว้นบ้าง แต่ไม่มากนัก ผู้ที่จะเรียนที่จะมีโอกาสมากหน่อย ก็จะต้องเป็นอาจารย์สอนทางกฎหมาย และจะต้องเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนี้ ต่อคณะกรรมการ พร้อมทั้งผลงานการเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทที่เรียนและเขียนเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนกฎหมายของสหรัฐฯ ( หรือประเทศอังกฤษ แคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่จะเป็นกรณียกเว้นพิเศษจริง ๆ เท่านั้น) หากผลงานวิจัยและเค้าโครงน่าสนใจ อีกทั้งมีอาจารย์รับเป็นที่ปรึกษา ก็จะได้รับการตอบรับเข้าเรียน ซึ่งโดยปกติจะมีผู้สมัครที่ได้รับการตอบรับเข้าเรียนค่อนข้างน้อย ในบางโรงเรียนฯ บางปี ก็อาจจะไม่มีผู้สมัครรายใดผ่านเกณฑ์เลยก็มี




หากสนใจจะเรียนกฎหมายในหลักสูตรใด ก่อนอื่นก็ต้องดูว่า สนใจจะเข้าไปศึกษาโรงเรียนใด ก็เข้าไปใน website ของโรงเรียนนั้นว่ากำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นไว้อย่างไร โดยทั่วไปที่คนไทยรู้จัก คือ เวปไซต์ของ US.News - //www.usnews.com แล้วคลิ๊กที่ Graduate School จากนั้น ก็ไปที่ LAW SCHOOOL ก็จะได้การจัดอันดับโรงเรียนกฎหมายของ USnews ที่ไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ เพราะปัจจัยการจัดอันดับไม่สมเหตุสมผลหลายประการ แต่ดีกว่าไม่มีอะไรเลย

เวปไซต์ดังกล่าวจะลิ้งค์ เข้ากับโรงเรียนกฎหมาย ทั้งหมดไว้ เช่น ค่า Tuition fee (ซึ่งโรงเรียนเอกชน จะแพงกว่า โรงเรียนรัฐบาลประมาณครึ่งต่อครึ่ง) สถานที่ตั้ง ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน ฯลฯ สนใจโรงเรียนใด ก็อ่านคุณสมบัติฯ แล้วก็ทำตามขั้นตอนนั้น เช่น ดาวน์โหลดใบสมัครฯ แล้วส่งใบสมัครฯ พร้อมเอกสารประกอบไปยังโรงเรียนดังกล่าว ภายในกำหนด ซึ่งโรงเรียนทั้งหลาย จะมีการคัดเลือก ๒ ระยะ คือ การคัดเลือกก่อนหมดกำหนดระยะเวลาสมัคร กับ การคัดเลือกหลังหมดระยะเวลาสมัครไปแล้ว ซึ่งบางโรงเรียน เช่นที่ Cornell ได้ยินมาว่า คัดเลือกจนหมดไปโควต้าไปตั้งแต่ก่อนจะปิดรับสมัครทุกปี แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้คนส่งใบสมัคร เพื่อจะเก็บตังค์ค่าใบสมัคร($ 75) ต่อไป (จริงใจสุด ๆ )

โดยทั่วไป ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้โอกาสที่จะได้รับการตอบรับเข้าเรียน เรียงลำดับตามความสำคัญ ก็คือ

๑. TOEFL score (ต้องอย่างน้อย ๕๕๐ ขึ้นไป สำหรับโรงเรียนปานกลาง ถึงระดับดี)
๒. เกรดสมัยเรียนปริญญาตรี
๓. อาจารย์ที่จะเขียน recommendation ให้เรา ไปยังโรงเรียนกฎหมายเหล่านั้น
๔. หนังสือแนะนำตัวเองที่บรรยายว่าทำไม เราต้องการเรียนในโรงเรียนกฎหมาย (Statement of Purpose) ที่เขียนได้ชัดเจน และสั้น ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษ
๕. ประวัติส่วนตัวของเรา ไม่ควรเกิน ๑ หน้ากระดาษ

ฝรั่งส่วนใหญ่จะขี้เกียจอ่าน หากเขียนไม่ชัดเจน ไม่ดึงดูด หนังสือแนะนำตัวเองฯ เขียนถูก ๆ ผิด ๆ ก็จะกลายเป็นเศษกระดาษ ไร้ความหมายไปเลย

อย่างไรก็ตาม ในโรงเรียนกฎหมายชั้นนำทั้งหลาย พบว่า Connection กลับมีความสำคัญเป็นอันดับที่หนึ่งครับ ... ปัจจัยข้างต้น จะมีความสำคัญด้อยลงไปอย่างมาก หากคำว่า Connection แข็งแรงมาก ๆ เช่น คุณพ่อเคยเรียนอยู่แล้วกลับไปมีตำแหน่งสำคัญทางการเมืองของไทย หรือ ปัจจุบันด้านการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วมี Connection ต่อกันมายาวนาน เป็นต้นครับ หากท่านไม่มี Connection ใด ๆ ก็อย่าท้อใจ สู้ต่อไปครับผม

ถ้าเป็นไป ไว้ผมจะลองขอตัวอย่างการเขียนหนังสือแนะนำตัวเอง และแบบฟอร์มประวัติของคนเก่งคนดังฯลฯ มาลงให้ดู (ถ้าเขายินยอมครับ)

ปล. หากสนใจจะอ่าน บล๊อกที่เขียนเกี่ยวกับ Ranking & US News โปรด คลิ๊ก Why Indiana Outranks Harvard!





 

Create Date : 27 กันยายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:23:15 น.
Counter : 2431 Pageviews.  

Free Study Aid Outlines For LL.M. Students!

วันนี้ มาเรื่องหนัก ๆ สำหรับนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนในโปรแกรม Master of Law หรือ LL.M. program ตอนผมมาเรียนใหม่ ๆ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ฟังไม่กระดิกหูเท่าไหร่ ต้องใช้วิธีการอ่านเองเสียเป็นส่วนใหญ่ อ่านแล้ว ไม่จดไม่เขียน ก็จำไม่ได้อีก (เวรกรรมไหมละครับท่าน)

วิชาที่ผมเรียนส่วนใหญ่จะเป็นวิชาที่เมืองไทยเราเรียกกันว่ากฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง สัมมนาโทษประหารชีวิต กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สัมมนาว่าด้วยการกำหนดโทษ กฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนทางแพ่ง ก็เรียนบ้าง ไม่มากนัก เช่น กฎหมายว่าด้วยละเมิด และกฎหมายว่าด้วยสัญญา

น่าเสียดายที่คอมพิวเตอร์เครื่องเก่า ยี่ห้อ อีซีเอส ผลิตโดยไต้หวัน มันพังไป พร้อมกับ ๆ กับข้อมูลที่ผมไม่ได้ Backup ไว้ เพราะผมเพิ่งใช้มันแค่ประมาณสองปี มันไม่น่าจะจากผมไปก่อนเวลาอันสมควร ทำให้ข้อมูลที่ผมทำมา หายเกลี้ยง ขอจากเพื่อน และน้องได้เพียงบางวิชา เพราะส่วนใหญ่ ผมจะเป็นนักเรียนไทยคนเดียวที่เรียนวิชาเหล่านี้ โดยน้องคนไทยส่วนใหญ่ ท่านก็จะเรียนเน้นทางกฎหมายธุรกิจซะเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงต้องไปฝ่าฝันกับพวกเด็กยุโรปฯ (จะบ้าตายครับ พวกนี้ TOEFL เกือบเต็มทั้งนั้น โดยเฉพาะพวกเยอรมันนี่ เก่งชะมัด)

ผมเอา Outlines ที่ผมจัดทำเองมาขึ้นไว้ในบล๊อก เผื่อว่ามีท่านผู้ใดสนใจ ก็นำไปอ่านได้ครับ ผมทำชี้ทแจกเพื่อน ๆ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ผมว่าคนเราเกิดมาเพื่อช่วยเหลือกันครับ สมัยเรียนที่ มธ. นี่ ผมได้รางวัลจากเพื่อน ๆ มากมาย เพราะทำชี้ทแล้วไปวางที่เครื่องถ่ายเอกสาร ใครอยากได้ก็มาขอถ่ายกันเอง โดยที่ตัวผมไม่ได้กำไรแม้แต่น้อย ได้แต่ความสุขใจที่เห็นเพื่อนร่วมรุ่นสอบเป็น นิติศาสตรบัณฑิตของ มธ. ครับ

เอกสารหรือสรุปในวิชาอื่น ๆ ในส่วนที่ผมไม่ได้ทำเอง ผมก็ไม่กล้าเอามาขึ้นไว้ เกรงว่าจะผิดกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งหมายถึง ความหายนะจะมาเยือนได้โดยง่ายครับ ขอให้สนุกสนานกับการอ่านครับผม

[1] Contract โปรด คลิ๊ก ที่นี่
[2] Criminal Law โปรด คลิ๊ก ที่นี่
[3] Evidence Law โปรด คลิ๊ก ที่นี่
[4] International Law โปรด คลิ๊ก ที่นี่
[5] Mail Fraud and Wire Fraud โปรด คลิ๊ก ที่นี่
[6] White Collar Crime โปรด คลิ๊ก ที่นี่




 

Create Date : 15 กันยายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:23:29 น.
Counter : 521 Pageviews.  

Why Indiana Outranks Harvard?





Indiana U – Bloomington เหนือกว่า Harvard


เมื่อไม่นานนี้ The National Jurist ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ห้องสมุดโรงเรียนกฎหมาย จำนวน ๑๘๓ แห่ง คงไม่มีใครคาดคิดว่า ห้องสมุดโรงเรียนกฎหมายที่ดีสุด จะเป็นของโรงเรียนกฎหมายเล็ก ๆ สองแห่ง คือ U of Iowa และ Indiana University-Bloomington

การจัดอันดับ มีปัจจัย ๖ ประการ เช่น จำนวนหนังสือในห้องสมุด จำนวนเจ้าหน้าที่ที่สนับสนุนในการทำวิจัย (Professional Liberians) ชั่วโมงที่เปิดให้บริการ จำนวนที่นั่งในห้องสมุด ฯลฯ โดยเปรียบเทียบกับ จำนวนนักเรียนของโรงเรียนกฎหมายนั้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเรื่องห้องสมุด เป็นเรื่องไร้ความหมาย เพราะไม่ใช่ปัจจัยในการจัดอับดับโรงเรียนกฎหมาย ของสำนัก U.S. News ที่คนทั่วไปรู้จัก

สำนัก U.S. News มีวิธีการจัดอันดับที่ไม่สมเหตุสมผล หลายประการ เช่น ถามผู้พิพากษาและทนายความว่า โรงเรียนกฎหมายใด ควรจะดีหรือไม่อย่างไรฯ เป็นต้น

ไว้ผมมีเวลา จะแปลวิธีการจัดอันดับของ U.S. News มาลงบล๊อกต่อไปครับ กล่าวโดยสรุป ในความเห็นของผม Ranking ดังกล่าว มันคือ ภาพลวงตาครับ เพราะปัจจัยที่สำคัญอย่างห้องสมุด กลับไม่มีความหมายในสายตาของ US News

สำหรับข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด โรงเรียนกฎหมายนั้น ขอให้ติดตามได้ที่ Indiana University School of Law in "OF NOTE - Why Indiana Outranks Harvard: Law Library Ties for First," และ National Jurist Report .




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:24:12 น.
Counter : 910 Pageviews.  

Case Brief & IRAC: ทักษะที่จำเป็นสำหรับ LL.M. students

บล๊อกนี้ เป็นคำแนะนำสำหรับน้อง ๆ ที่เพิ่งมาจากเมืองไทย เพื่อเรียนกฎหมายในหลักสูตร Master’s Degree of Law (LL.M.) ในโรงเรียนกฎหมายสหรัฐฯ ผมได้ประสบปัญหาพอสมควร เมื่อมาเรียนในโรงเรียนกฎหมาย ดังที่กล่าวไปแล้วในบล๊อกก่อนหน้านี้ว่า ระบบการเรียนกฎหมายของไทย ซึ่งเป็นโลกของ Civil law/ Code law หรือระบบประมวลกฎหมายแตกต่างจาก ระบบ Common law/ Case law หรือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณีโดยสิ้นเชิง ทำให้ผู้มาใหม่ ต้องปวดเศียรเวียนเกล้า บางท่านถึงกับท้อแท้ พาลไม่เข้าเรียนมันเลย พร้อมกับเปล่งวาจาจากใจว่า “เข้าเรียนก็ไม่เห็นจะรู้เรื่องอะไรเลย เหมือนเข้าไปตากแอร์เย็น ๆ ฆ่าเวลาเล่น”

ปัญหาดังกล่าว เกิดจากการไม่เตรียมตัวไปเรียน ตามที่อาจารย์ท่านได้กำหนด Assignment ให้เราอ่านไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งถ้าเรียนหลายวิชา ก็ยิ่งมี Assignment จำนวนมาก บางวันต้องอ่านหนังสือประมาณ ๖๐ หน้าหรือกว่านั้น ยิ่งทำให้ผู้ที่ไม่มั่นคงเพียงพอ ท้อถอยและไม่ยอมอ่านหนังสือไปดื้อ ๆ หวังว่าจะไปฟังในห้องเรียนเอาแทน ที่ไหนได้ อาจารย์ ดันไม่ยอมอธิบายอีก ปล่อยให้เด็กอเมริกัน มาพูดฯ ซึ่งจุดเน้นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และไม่มีใครพูดถึงข้อเท็จจริงอันเป็นพื้นฐานของคดีที่กำลังศึกษาฯ เมื่อไม่ได้อ่าน หรือ อ่านไม่ทันในวันแรก บางท่านก็อดทน กลับไปอ่านทบทวน และอ่าน Assignment อันใหม่ ซึ่งหนาเป็น ๒ เท่าเข้าไป แต่สำหรับนักเรียนบางคน เมื่อไม่ทันแล้ว เลยปล่อยมันไปเลย ที่นี่ก็แย่เลย การเรียนในครั้งต่อ ๆ ไป จึงเหมือน ปลูกบ้าน ที่ไม่ได้ลงเสาเข็มฯ นั่นแหละ เจอลมแรง ๆ และน้ำใต้ดินกัดเซาะ เพียงเล็กน้อย ก็พังทลาย แตกสลาย โดยพลัน

ก่อนเข้าเรียน เราจึงควรอ่านและกระทำในสิ่งที่เรียกว่า CASE BRIEF ซึ่งโดยปกติ เด็กนักเรียนต่างชาติ จะต้องถูกบังคับให้เรียนในวิชา Legal Writing หรือ บางโรงเรียนก็รวมไว้ในวิชา Introduction to American Law แต่กว่าจะได้เรียนวิชาการ Brief case หรือสรุปย่อฯ ก็ปาเข้าไปกลางเทอมฯ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทักษะที่ควรจะต้องนำมาใช้ก่อนเข้าเรียน ช้าไปนิดนึง

การ Brief Case คือ การสรุปว่า คำพิพากษาที่เราอ่านนั้น มีข้อเท็จจริงอะไร (Facts) มีการดำเนินคดีตั้งแต่ต้นจนถึงศาลพิพากษาอย่างไร (Procedural History) มีประเด็นทางกฎหมายที่ต่อสู้กัน (Issue) กันกี่ประเด็น อย่างไรบ้าง ศาลได้พิพากษาและมีคำตัดสิน (Holding) ในคดีนั้นอย่างไร มีเหตุผล (Rational) ที่สนับสนุนคำพิพากษาอย่างไรบ้าง สุดท้าย คือ ศาลได้วางหลักกฎหมาย (Rule of law) ในคดีนั้นอย่างไร ในบางคดีอาจจะมีความเห็นแย้ง (Dissenting) เราก็ต้องอ่านและบันทึกเหตุผลสำคัญ ๆ ของความเห็นแย้งไว้ด้วย เพราะมีคำพิพากษาไม่น้อย ที่ต่อมาถูกกลับและความเห็นแย้งกลายเป็นมาเป็นหลักกฎหมายที่ถูกต้องในภายหลัง กล่าวโดยสรุป เราต้องทำการสรุป คำพิพากษาที่เราอ่าน ดังนี้
- FACTS
- PROCEDURAL HISTORY
- ISSUE(S)
- HOLDING
- RATIONAL
- RULE OF LAW
- DISSENTING OPINION(S)

ทักษะที่จำเป็นอีกประการหนึ่ง คือ แนวคิดในการเขียนเพื่อตอบข้อสอบ ทางกฎหมายเรียกวิธีการเขียนนี้ การเขียนแบบ IRAC ซึ่งประกอบด้วย สิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
- I - ISSUE(S) คือ ประเด็นที่ต้องการให้เราวิเคราะห์ (ซึ่งอาจมีหลายประเด็น) อาจารย์บางท่าน ให้สรุป คำตอบสั้น ไว้ในส่วนนี้ เพื่อให้ผู้อ่านหรืออาจารย์ทราบว่า เราจะวิเคราะห์อะไรฯ ต่อไป (ถ้าคำตอบถูก ก็จะมีผลเป็นการประทับอาจารย์ด้วย แต่ถ้าผิด เหอ เหอ ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป)
- R - RULE(S) คือ กฎเกณฑ์หรือหลักกฎหมายที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์
- A - ANALYSIS คือ การประยุกต์ใช้หลักกฎหมายนั้น เพื่อใช้เป็นข้อสนับสนุนหข้อสรุป หรือ ธงคำตอบของเรา พร้อมทั้งจะต้องวิเคราะห์ถึงข้อโต้แย้ง (Argument) ที่มีผลหักล้างธงคำตอบของเรา ดังนั้น เราจึงต้องวางหลักกฎหมาย อันเป็นการหักล้างถึงข้อหักล้าง (Counter Argument) ไว้ในส่วนนี้อีกด้วย
- C - CONCLUSION คือ ข้อสรุปสั้น ๆ ที่เป็นคำตอบสุดท้ายของเรา

ข้อสอบในโรงเรียนกฎหมาย ส่วนใหญ่จะเป็นข้อสอบให้เราทำการวิเคราะห์ โดยยึดคำพิพากษาคดีก่อนที่มีผลผูกพัน (Precedent) หรือไม่ผูกพันแต่มีหลักการทางกฎหมายที่ดีน่ายอมรับมาเป็นตัวอย่างในการพิพากษาคดี (Persuasive) อาจารย์ อาจให้ข้อเท็จจริงที่ยาวมาก (ที่เคยประสบมาด้วยตนเอง ข้อสอบยาวสุด คือ ๕ หน้ากระดาษ) จึงทำให้มีประเด็น (Issues) หลายประเด็น การตอบคำถามในแต่ละประเด็น ก็จะต้องวิเคราะห์ ตามแบบฉบับ IRAC ตามประเด็นที่อาจารย์ถามนั้น การวางโครงคำตอบที่ดี จึงเป็นเรื่องจำเป็น และทำให้เราเขียนคำตอบได้เร็ว และทันเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนดไว้

ผมหวังว่า คำแนะนำข้างต้นจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย หากจะเป็นประโยชน์ ก็ขอยกความดีให้อาจารย์ที่สอนวิชา Legal Writing และวิชา Seminar ให้แก่ผม ต่อไปครับ หากจะมีข้อผิดพลาดประการใด (เพราะเขียนจากความทรงจำ) ก็ต้องขออภัยด้วย และถ้าน้อง ๆ ผู้มาใหม่มีข้อสงสัยประการใด โปรดทิ้งคำถามไว้นะครับ ถ้าไม่เกินสติปัญญาของผม จะเข้ามาตอบฯ




 

Create Date : 20 มิถุนายน 2548    
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:23:56 น.
Counter : 4020 Pageviews.  

การเตรียมตัวเรียนในโรงเรียนกฎหมาย

คราวที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง การปรับตัวในการเรียนในสหรัฐฯ เกี่ยวกับการตรงต่อเวลา และการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนไปแล้วว่า เราต้องเลิกนิสัย ไม่ตรงต่อเวลา การคุยในห้องเรียนซึ่งเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจและถูกดูหมิ่นดูแคลนฯ อย่างมาก คราวนี้ ขอกล่าวข้อเสนอแนะบางประการ ในการเตรียมตัวเข้าเรียนในชั้นเรียนฯ

นักเรียนที่มาจากค่ายโลก Civil law เมื่อมาเจอระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนกฎหมายสหรัฐแล้วจะเป็นงง แบบตั้งตัวแทบไม่ติด ก่อนจะเปิดเรียนอย่างเป็นทางการ ทางโรงเรียนอาจจะจัดการปฐมนิเทศน์ (Orientation) ให้นักศึกษา แนะนำเกี่ยวกับโรงเรียนและการลงทะเบียนในลักษณะเป็นการทั่วไป

สิ่งที่จะผู้มาแนะนำมักจะต้องบอก คือ เมื่อลงทะเบียนแล้ว จะต้องไปดูที่บอร์ดประกาศของโรงเรียน หรือในอินเตอร์เน็ตว่า วิชาที่เราลงทะเบียนเรียนนั้น อาจารย์เจ้าของวิชาได้กำหนดเกี่ยวกับหนังสือที่ใช้ในห้องเรียน และตารางเนื้อหาที่เราต้องเตรียมตัวไปก่อนเข้าเรียนในแต่ละวัน (Assignment) มีอะไรบ้าง ซึ่งโดยปกติ อาจารย์จะกำหนดให้นักศึกษาอ่านหนังสือไปล่วงหน้าประมาณ ๒๐ ถึง ๓๐ หน้าต่อชั่วโมง ต่อวิชา

นักศึกษาจึงต้องเตรียมตัวซื้อหนังสือที่ราคาโคตรจะแพง ประมาณว่า หนังสือใหม่ ๆ เห็นหลักร้อยเหรียญทั้งนั้น วิธีการที่ประหยัดได้ คือ การตรวจสอบว่าหนังสือที่อาจารย์จะใช้เรียนในชั้น คือ หนังสืออะไร แล้วไปหาซื้อ Used Books หรือหนังสือใช้แล้ว แทนหนังสือใหม่ ซึ่งอาจจะประหยัดไปได้สัก ๓๐ % ประมาณนั้น แล้วก็ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือไปอย่างดี เพราะวิธีการสอนในโรงเรียนกฎหมายในสหรัฐจะแตกต่างจากที่ประเทศไทยอย่างมาก อาจารย์ในเมืองไทยจะกรุณาอย่างมาก โดยท่านบรรยายทุกอย่างที่ขวางหน้าฯ ต่างจากอาจารย์โรงเรียนกฎหมายสหรัฐฯ ที่แทบจะไม่อธิบายอะไรเลย นอกจากมีคำถามมากมายให้นักเรียนตอบฯ และจุดประเด็นให้คิดแทนคำอธิบาย

ประการแรก คือ การเรียนในประเทศไทย จะเริ่มจาก “หลักกฎหมาย” และ “บทบัญญัติ” ของกฎหมายเป็นหลัก แล้วจึงยกคำพิพากษาของศาลมาเป็นตัวอย่างในการตีความกฎหมาย แต่ในโรงเรียนกฎหมายสหรัฐฯ จะเป็นการเรียนหลักกฎหมายจากคำพิพากษา ( Case law) เป็นหลัก สิ่งที่อาจารย์ Assign ให้อ่าน จึงเป็นคำพิพากษาหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งโดยทั่วไป หนังสือกฎหมายของสหรัฐฯ ก็เป็นเพียงการรวบรวมคำพิพากษามาจัดเป็นหมวดหมู่ฯ เท่านั้น พร้อมกับมีคำถามมากมายท้ายคำพิพากษา โดยปราศจากคำอธิบายใด ๆ ทั้งสิ้น อาจารย์ฯ ก็สอนแบบวิธีการถามให้นักเรียนตอบเป็นสำคัญ ไม่ค่อยจะมีคำอธิบายให้ได้ยินฯ

ประการที่สอง สิ่งที่นักเรียนจะต้องเตรียมตัวไปก่อน คือ การศึกษาคำพิพากษา Case ต่าง ๆ ไว้และตั้งคำถามให้กับตัวเอง ซึ่งเรียกว่า Case Brief ไว้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

(๑) คำพิพากษาที่อ่านนั้น มีประเด็นกฎหมาย (Issue) ที่ถกเถียงกันเป็นเรื่องใด เช่น คดีนี้ สัญญา (Contract) สามารถบังคับได้หรือไม่ (Enforceable)
(๒) มีข้อเท็จจริง (Facts) ที่เป็นประเด็นแห่งคดีว่าอย่างไร ฝ่ายโจทก์ (Plaintiff or ¶ ) เสนอว่าอย่างไร ฝ่ายจำเลย ( Defendant or Δ) แก้ต่างอย่างไร อันแสดงให้เห็นกระบวนการพิจารณาของคดีนั้น ๆ (Procedural history) ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
(๓) ศาล ได้พิพากษา (Holding) ว่าอย่างไร โดยพิจารณาข้อเท็จจริงอะไรเป็นหลักสำคัญ แล้วให้เหตุผล (Rational) ในการพิพากษานั้น อย่างไร
(๔) ศาล ได้วางหลักกฎหมาย (Rule of law) เกี่ยวกับประเด็น (Issue) ที่พิพาทอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจจะมีหลายหลักกฎหมาย (หลักกฎหมายที่เกิดขึ้น ศาลมักจะเรียกชื่อคู่ความ เป็น Rule ซึ่งจะมีผลผูกพันในคดีต่อไป)
(๕) ผู้พิพากษาฝ่ายเสียงข้างมาก (Majority) วางหลักในประเด็นเรื่องต่าง ๆ อย่างไร และผู้พิพากษาฝ่ายมีความเห็นแย้ง (Dissenting) ได้ให้ความเห็นแย้งไว้อย่างไร

อาจารย์ อาจจะถามถึงความเห็นของนักศึกษาในเรื่องที่เรียนว่า เห็นอย่างไร เห็นด้วยกับฝ่ายใด เพราะอะไร หากมีข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว นักศึกษาจะเห็นอย่างไร (แต่แปลกมาก อาจารย์ไม่เคยเฉลยแฮะ) ผมเคยสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมหนังสือเรียนของโรงเรียนกฎหมายสหรัฐ ซึ่งแต่จากโรงเรียนกฎหมายชั้นนำ จึงเหมือนสิ่งที่นักวิชาการไทยเรียกว่า Junk Books คือ รวมเฉพาะคำพิพากษา ๆ เป็นหมวดหมู่เท่านั้น อาจารย์ท่านอธิบายว่า มันเป็นวิธีการเรียนในโรงเรียนกฎหมาย ที่ต้องการให้นักเรียนคิดและสร้างข้อถกเถียง (Argument) เพื่อสนับสนุนความเห็นของตนเอง พร้อมทั้งต้องศึกษาว่า ฝ่ายตรงข้ามจะสร้างข้อถกเถียงอย่างไร ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องคิดเหตุผลเพื่อหักล้างข้ออ้างข้อเถียง ( Counter Argument) ไว้ล่วงหน้าอีกต่างหาก

ประการที่สาม คือ เรื่องคำศัพท์ที่ยุ่งยาก และมีความหมายพิเศษแตกต่างจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษทั่วไป ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด คำว่า “Consideration” คำศัพท์ทั่วไป ก็จะแปลว่า “การพิจารณา” แต่ในกฎหมายว่าด้วยสัญญา (Contract) คำศัพท์ คำนี้ จะแปลว่า “สิ่งที่จะทำให้สัญญามีผลบังคับใช้ได้” เช่น ค่าตอบแทนหรือหน้าที่ซึ่งฝ่ายเสนอและฝ่ายสนองมีหน้าที่ต้องกระทำตอบแทนซึ่งกันและกัน เป็นต้น ผู้ที่มั่นใจว่าตนเองเก่งภาษาอังกฤษ ก็อาจจะตกม้าตายได้โดยง่าย สิ่งที่จะช่วยได้ คือ การใช้ Black’s Law Dictionary มาช่วยในการอ่าน ซึ่งในช่วงแรกอาจจะต้องใช้เวลาและความเพียรพยายามในการอ่านหนังสือมากกว่าปกติเป็นอย่างมาก ๆ จนถึงระยะหนึ่ง ก็จะเกิดความคุ้นเคยกับคำศัพท์ที่ใช้เฉพาะในหมู่นักกฎหมายเป็นการเฉพาะ

ประการที่สี่ คือ ต้องทำความเข้าใจว่า เนื่องจากการเรียนหลักกฎหมายในสหรัฐ เน้นคำพิพากษาเป็นหลัก เมื่ออ่านหนังสือกฎหมาย จึงพบหลักกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นชื่อคดีเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น Pinkerton Rule ซึ่งหมายถึง หลักกฎหมายที่ศาลสูงสร้างขึ้นในคดีนั้น และชื่อหลักการที่สร้างขึ้นในคดีนั้น ๆ ก็มักจะถูกอ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเป็นเรื่องที่นักศึกษาอาจจะต้องจดจำบ้าง หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันเกิดขึ้นในเขตศาลเดียวกัน คำพิพากษาหรือ Rule นั้น ก็จะกลายเป็นหลักกฎหมายที่ผูกพัน (Precedent) ศาลล่างในเขต Jurisdiction เดียวกันต่อไป แต่ถ้าคำพิพากษาเก่านั้น เป็นของเขตศาลอื่น ศาลก็อาจจะนำหลักกฎหมายนั้นมาใช้เป็น Persuasive rule เพื่อตัดสินคดีของตนได้ แต่หากเป็นคำพิพากษาของศาลสูงสุด (The U.S. Supreme Court) ย่อมผูกพันทุกศาล

ประการที่ห้า เมื่ออ่านคำพิพากษาในเรื่องนั้น จะพบว่า ก่อนที่ศาลจะตัดสินคดีนั้น ศาลมักจะอ้างคำพิพากษาเก่ามาเป็นบรรทัดฐาน (Precedent) หรือ อาจจะนำคำพิพากษาของศาลในเขตอำนาจศาลอื่นมาใช้เป็น Persuasive rule of law ศาลจะอ้างอิง (Citation) คำพิพากษานั้น ต่อจากหลักกฎหมายที่ศาลกล่าวถึง ต่อกันไปเป็นพรืด เช่น..คำพิพากษากล่าวถึง หลักการ...A.....แล้วอ้างอิง Pinkerton v. United States, 89 U.S. 245, 258 (1946). ต่อท้ายหลักกฎหมาย A นั้น ต่อเนื่องในทันทีทันใด (ไม่ได้ไว้ในเชิงอรรถด้านล่างฯ ) ทำให้ผู้อ่านคำพิพากษาใหม่ เป็นงง ว่ามันอะไรกันหนอ ฉะนั้น เมื่ออ่านคำพิพากษา ก็ต้องทำความเข้าใจว่า มันคือ ชื่อคู่ความ กับแหล่งที่มาในการค้นคว้าคำพิพากษาคดีก่อน ๆ ที่เรียกว่า Precedent, หรือ Persuasive rule ที่ศาลอ้างอิงเท่านั้น

ประการที่หก สุดท้าย คือ อ่านเท่าไหร่ ก็อ่านไม่รู้เรื่องจะทำอย่างไร วิธีการแรก คือ การ “ทำใจ”เลยครับ ต้องเข้าใจว่า ภาษากฎหมายมันยาก ยิ่งผู้พิพากษาที่เก่าแก่มาก หรือ คำพิพากษาเก่า ๆ ยิ่งอ่านยากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่า อ่านไม่เข้าใจ ฟังไม่รู้เรื่อง เลยไม่เข้าเรียน ผมว่าเราควรพึงระลึกเสมอว่า ค่าเรียนที่เราต้องจ่ายให้กับโรงเรียนไป ชั่วโมงหนึ่งหลายพันบาท หากไม่เข้าเรียน ก็ไม่รู้จะมาเรียนในสหรัฐทำไม วิธีการที่อาจจะช่วยได้ คือ อ่าน Commercial Outline ซึ่งมีหลายบริษัทที่จัดทำ เช่น Emanuel, High Court Case Summaries, Gilbert หรือ ยี่ห้ออื่น ๆ อีกมากมาย เมื่ออ่านหลักกฎหมายเข้าใจ ก็จะทำให้อ่านคำพิพากษาที่สลับซับซ้อนนั้นได้ง่ายขึ้น

ทางโรงเรียนกฎหมายจะทำการฝึกอบรมวิธีการใช้แหล่งข้อมูลกฎหมายทั้งแบบ Hard Copy ซึ่งรวมอยู่ในห้องสมุดของโรงเรียนกฎหมาย และฝึกวิธีการค้นหาข้อมูลทาง Electronic ของสองค่าย คือ Westlaw และ Lexisnexis เมื่อได้รับรหัสประจำตัวแล้ว เราก็สามารถเข้าไปในระบบฐานข้อมูลของ Westlaw หรือ Lexis แล้วสั่งให้ระบบของมัน Brief case ต่าง ๆ ที่เราต้องเรียนได้ แต่ในบางครั้ง ซึ่งก็อาจจะทำให้เราเข้าใจคำพิพากษาและผลของคดีได้ แต่บางครั้ง มันก็สั้นเกินไป เกินกว่าที่จะเข้าใจได้

ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเพียงคำแนะนำบางประการ แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ความขยันหมั่นเพียรและใจสู้ครับ หากไม่สู้ ไม่มีทางได้ พื้นฐานทางภาษาอังกฤษที่ดี เป็นใบเบิกทางที่ดี แต่อย่างที่กล่าว การเรียนกฎหมาย คือ การเรียนรู้วิธีการ Make Argument และ Counter Argument ในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน ซึ่งมองกันได้หลายมุม การมีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี จึงเป็นใบเบิกทางที่ดี แต่ไม่ได้หมายความว่า ภาษาอังกฤษที่ดี จะทำให้ความสามารถในการ Make Argument and Counter Argument ที่เราต้องคิดและสร้างสรรค์ขึ้นมา บนพื้นฐานของหลักกฎหมายและคำพิพากษาเดิม ดีขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะเมื่อมาเรียนในโรงเรียนกฎหมาย ก็เหมือนมาเรียนภาษาอังกฤษใหม่นั่นเอง เพราะมันใช้ในความหมายพิเศษและแตกต่างจากคำศัพท์ธรรมดาทั่วไปอย่างมาก ดังที่ยกตัวอย่างไปแล้ว




 

Create Date : 20 มิถุนายน 2548    
Last Update : 11 มิถุนายน 2553 13:08:13 น.
Counter : 1165 Pageviews.  

1  2  3  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.