*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
10 Constitutional Landmark Cases in U.S. History

Blog ก่อนหน้านี้ ได้พูดถึง Judicial Review หรือ ที่เมืองไทยเรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งเป็นกรณี ที่ศาลเข้ามาตรวจสอบกฎหมายและการกระทำของรัฐบาล หรือฝ่ายบริหาร ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ (Constitutionality) ซึ่งอเมริกา ถือเป็นจุดกำเนิด Judicial Review ของโลก ที่นักเรียนกฎหมายทั่วโลก จะต้องเรียนคดีที่ตัดสินในอเมริกานี้ อันถือเป็นต้นแบบในการใช้อำนาจของศาลที่เข้ามาตรวจสอบฝ่ายบริหาร ด้วยเหตุนี้ หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายมหาชน ในอเมริกา จึงทันสมัยและสร้างหลักการที่มั่นคง ได้ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว

Blog นี้ ผมขอนำเสนอ 10 สุดยอดคดี (landmark cases) ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน ในสหรัฐฯ หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับ Fundamental Rights ได้พัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ตามลำดับความการพัฒนาของสังคม และหลักการแบ่งแยกอำนาจระหว่าง Federal & State ในสหรัฐ ที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลกลางสหรัฐ เข้าไปมีอำนาจในรัฐมากเกินไป คำพิพากษาในยุคต่าง ๆ นั้น หากพิจารณากันแล้ว จะเห็นว่าคำพิพากษาในยุคแรก ๆ นั้น มันช่างขัดแย้งกับความรู้สึก เหตุผล และหลักความเป็นธรรมในยุคปัจจุบันอย่างมาก ผมได้สรุปหลัก และให้ข้อสังเกตเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ในคดีต่าง ๆ ลองอ่านเล่น ๆ กันครับ





1. Dred scott v. Sanford, 1857

คดีนี้ เขียนความเห็นโดย Chief Justice Roger Taney ที่พิพากษาว่า ชาวผิวดำไม่ใช่พลเมืองของสหรัฐฯ โดยเฉพาะชาวผิวดำที่เป็นทาสนั้น เจ้าของทาสมีสิทธิในชีวิตของทาสเหล่านั้น ในอาณาบริเวณในรัฐนั้น ๆ คำพิพากษานี้ เกิดขึ้นเพราะในอดีตนั้น สหรัฐฯ แบ่งความเป็นพลเมืองเป็นสองระดับ คือ พลเมืองของสหรัฐฯ และ พลเมืองของมลรัฐนั้น ๆ การคุ้มครองสิทธิพลเมืองจึงอยู่กับดุลพินิจอิสระของรัฐนั้น โดยเฉพาะ คดีนี้ มีผลทำให้เกิดภาวะตึงเครียดและทำไปสู่สงครามกลางเมือง (Civil War) ในขณะที่รัฐฝ่ายเหนือไม่ต้องการให้มีทาส และให้หลักประกันกับทาสในการมีชีวิตที่อิสระ ได้รับความคุ้มครองในชีวิตในฐานะเป็นคนเช่นเดียวกับชาวผิวขาว แต่ฝ่ายใต้ต้องการดำรงสถานะของทาสเหล่าไว้ใช้งานทางเกษตรต่อไป

2. Yick Wo v. Hopkins, 1886:

คดีนี้ เกี่ยวข้องกับเจ้าของร้านซักรีดชาวจีนใน San Francisco ศาลพิพากษาบนหลัก Equal Protection Clause ตาม the Fourteenth Amendment ว่า ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่พลเมืองเท่านั้น แต่เป็นหลักสากลในการคุ้มครองและประยุกต์ใช้กับมนุษยชาติทุกคนภายในเขตดินแดนนั้น ๆ โดยปราศจากการคำนึงเชื่อชาติ ผิวสี และสัญชาติ ผลของคดี ถูกใช้เป็นหลักในการขยายหลักการคุ้มครองและให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในรัฐทางด้านการศึกษาและสิทธิประโยชน์ต่อประชาชนและชาวต่างชาติโดยเสมอเหมือนกัน ในช่วงปี ค.ศ. 1970s และ 1980s

3. Pollock v. Farmer's Loan and Trust Co. II.,1895:

คดีนี้ เกิดขึ้น หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กระทำการ เพื่อตอบสนองต่อการลดลงของรายได้จากการจัดเก็บภาษีของสหรัฐฯ และ แรงกดดันจากฝ่ายประชานิยม (Populist) ที่ต้องการให้จัดเก็บภาษีกับบุคคลที่มีฐานะร่ำรวย ไปช่วยเหลือคนจนและกระจายได้ราย รัฐบาลกลางได้ กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษี ๒ เปอร์เซ็นต์ ในปี ๑๘๙๔ แต่กฎหมายนี้ ศาลสูงสุดได้ประกาศว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผลจากคดีนี้ ทำให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนอย่างรุนแรง นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ (The 16th Amendment to the Constitution) ซึ่งให้อำนาจแก่สภาสหรัฐฯ ในการตรากฎหมายว่าด้วยภาษีรายได้ในที่สุด

4. Plessy v. Furguson, 1896:

คดีนี้ ศาลสูงสุดได้สร้างหลัก Separate but Equal ตามกฎหมายของรัฐ Louisiana ที่แบ่งแยกการใช้รถไฟระหว่างคนผิวขาวและผิวดำ ศาลให้เหตุผลว่า Equal Protection Clause ภายใต้ the Fourteenth Amendment ไม่ได้ม่งหมายที่จะยกเลิกความแตกต่างของผิวสี หรือ ไม่อาจจะบังคับให้บุคคลที่มีผิวสีต่างกัน หันมารักกันได้ ด้วยเหตุนี้ การเลือกปฏิบัติที่เท่าเทียม ภายใต้ Separate but Equal จึงสามารถกระทำได้

5. West Coast Hotel v. Parrish, 1937:

คดีนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ ศาลสูงสุดได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา และพิพากษาว่า กฎหมายของรัฐที่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำและเงื่อนไขการทำงานนั้นขัดต่อหลักเสรีภาพในการทำสัญญา ฉะนั้น จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว เพียงเวลา ๑ ปีต่อมา ศาลสูงสุด โดย Chief Justice Charles Evans Hughes ได้เขียนคำพิพากษาของเสียงข้างมากพากษากลับหลักกฎหมายข้างต้น โดยวินิจฉัยว่า กฎหมายรัฐ Washington ในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำนั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ข้อสังเกต คดีนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่าง ฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายตุลาการ ในช่วงประธานาธิบดี Roosevelt ที่ต้องการดำเนินการตาม New Deal Plan เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อศาลสูงสุดไม่ให้ความร่วมมือในการผลักดันกฎหมายสำคัญ ๆ ของรัฐบาล ฝ่ายบริหารจึงประกาศว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อแต่งตั้งจำนวนผู้พิพากษาสูงสุด จากจำนวน ๙ คนเป็น ๑๕ คน ที่เรียกว่า "court-packing" proposal แต่เมื่อศาลสูงสุด เปลี่ยนแนวคำพิพากษา ทำให้แผนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่ได้ถูกดำเนินการผลักดัน

6. U.S. v. Carolene Products, 1938:

คดีนี้ ได้สร้างหลักการอันสำคัญ ที่เรียกว่า The famous "Footnote Four" ซึ่ง Chief Justice Harlan Fiske Stone ได้ก่อให้เกิด การวิวัฒนาการทางรัฐธรรมนูญ โดยประกาศว่า ในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายนั้น (Judicial Review) ศาลจะพิจารณาตามหลักมาตราฐานขั้นต่ำ ที่เรียกว่า a minimal "rational basis" test สำหรับกฎหมายทางเศรษฐกิจทั้งหมด แต่จะใช้ มาตราฐานขั้นเข้มข้น ที่เรียกว่า A "more exacting judicial scrutiny" ในกรณีที่ กฎหมายนั้น เกี่ยวข้องกับ เสรีภาพที่รับรองโดย The Bill of Rights หรือกฎหมายที่มีผลกระทบต่อเสรีภาพทางศาสนา หรือ เกี่ยวข้องกับเชื่อชาติหรือเผ่าพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ ศาลสูงสุด จึงใช้มาตรฐานที่เรียกว่า "strict scrutiny" test ในการประกาศว่า กฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งว่า จะต้องมีความรู้ทางภาษาอังกฤษอ่านออกเขียนได้เป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลักการข้างต้น

7. Brown v. Board of Education, 1954:

คดีนี้ เป็นคดีสำคัญ ที่พิพากษากลับหลัก "separate but equal" doctrine ในคดี Plessy v. Ferguson โดยประกาศว่า การแบ่งแยกโรงเรียนโดยใช้สีผิวเป็นคุณสมบัตินั้น ขัดต่อหลัก Equal Protection Clause ภายใต้ Fourteenth Amendment.

8. Roe v. Wade, 1973:

คดีนี้ สำคัญในการรับรองสิทธิของมารดาในการทำแท้ง โดยศาลประกาศว่า กฎหมายของรัฐต่าง ๆ สามารถกำหนดห้ามทำแท้งได้ ยกเว้นกรณี เพื่อรักษาชีวิตของมารดาได้เพียงกรณีเดียวนั้น นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก เป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัว (a right to privacy) ซึ่งได้รับการคุ้มครองตาม Fourteenth Amendment ว่าด้วย Due Process Clause สิทธินี้ มีความกว้างขางและครอบคลุมการตัดสินใจของมารดา ว่าจะทำลายการตั้งครรภ์หรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงที่ถือว่า ชีวิตเด็กในครรภ์มารดา นั้นยังไม่บริบูรณ์ (ช่วง ๓ เดือนแรก)

คดีนี้ ศาลชั่งน้ำหนักระหว่างคุณค่าของสองชีวิต ระหว่างเด็กในครรภ์ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ของรัฐ และ ชีวิตมารดาผู้ให้กำเนิด สิทธิของแม่หรือหญิงตั้งครรภ์ ย่อมมีมากกว่า สิทธิประโยชน์ของรัฐในช่วงที่เด็กยังไม่ถือว่ามีชีวิตที่สมบูรณ์ แต่สิทธิประโยชน์ของรัฐ(ชีวิตเด็ก) จะมากยิ่งขึ้น เมื่อชีวิตมีความบริบูรณ์ยิ่งขึ้น รัฐ จึงต้องกำหนดกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์ของหญิง เป็นสำคัญ จะห้ามทำแท้งโดยเด็ดขาดย่อมไม่ได้ (คำพิพากษานี้ เขียนโดย Justice Harry Blackmun )

9.Grutter v. Bollinger, 2003:

คดีนี้ ศาลสูงสุด ได้รับรองกฎของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) ที่ใช้ผิวสีและชาติพันธ์ เป็นเครื่องกำหนดในการรับชาวผิวสี, ชาวลาติน และ ชาวอินเดียนแดง ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อรับเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมาย คดีนี้ Justice Sandra Day O'Connor ให้เหตุผลว่า การกำหนดโควต้าผิวสี ฯลฯ ดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น แต่จะต้องมีระยะเวลาจำกัดเท่าที่จำเป็น โดยท่านกล่าวว่า "race-conscious admissions policies must be limited in time" and predicted that "25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary."

10. Lawrence v. Texas, 2003:

คดีนี้ เป็นคดีสำคัญอีกคดีหนึ่ง แม้ศาลสูงสุดจะไม่ได้ประกาศว่า รสนิยมทางเพศ ของชายรักชาย เป็นสิทธิที่จะถือว่าเป็น Fundamental Right แต่ก็ได้ประกาศว่า กฎหมายของรัฐเท็กซัส กำหนดโทษทางอาญา สำหรับชายที่ร่วมเพศทางทวารหนักด้วยกัน (anti-sodomy laws) ให้เป็นกฎหมายที่ขัดต่อ Due Process Clause ภายใต้ Fourteenth Amendment เนื่องจากว่า ในขณะที่ชายร่วมเพศทางทวารหนักกับหญิงไม่ผิดอาญา แต่ชายร่วมเพศทางทวารหนักกับชาย เป็นความผิดอาญานั้น ไม่เสมอภาคกัน คำพิพากษา เสียงข้างมากของศาลสูงสุด โดย Justice Anthony Kennedy ยังได้ระบุว่า คำพิพากษานี้ เกี่ยวข้องกับ สิทธิในการแต่งงาน การสืบพันธ์ และการเลี้ยงดูบุตร ที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ เสมอเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของ homosexual หรือ heterosexual ก็ตาม




ตามที่กล่าวไปข้างต้น กฎหมายและคำพิพากษาของศาลสูงสุด ได้มีวิวัฒนาการตามความจำเป็นของสภาพบ้านเมืองของสหรัฐฯ ในช่วงที่ต่างกันไป หากพิจาณาย้อนหลังกลับไป โดยใช้มาตรฐานในปัจจุบันในการตัดสิน เราจะรู้สึกว่า ทำไมศาลสูงสุด จึงได้ใจร้ายใจดำ และไม่มีคุณธรรมเสียเลย แต่การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคำพิพากษาของศาลสูงสุดสหรัฐฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาที่ไม่เห็นด้วย เขียนความเห็นแย้ง (Dissenting Opinion) ที่สามารถด่า ตำหนิ ฯลฯ ฝ่ายข้างมาก ได้อย่างเปิดเผย ชัดเจน ซึ่งบ่อยครั้ง ที่ความเห็นของเสียงข้างน้อยเช่นนี้ กลายเป็นความเห็นเสียงข้างในอนาคตได้ ปรากฎ ตามคำพิพากษาซึ่งถือเป็นหลักกฎหมายของแผ่นดินเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ข้างต้น

คราวหน้า จะได้นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ที่น่าสนใจต่อไปครับ


Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 18 มิถุนายน 2553 8:26:27 น. 9 comments
Counter : 1199 Pageviews.

 


ทักทายกันฉันมิตรจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:8:35:13 น.  

 
บล็อคของคุณ POL_US น่าสนใจจังค่ะ เรื่องกฏหมายเป็นสิ่งที่รู้ไว้ก็จะมีประโยชน์มากๆ เลย ยังไงขอ add blog ไว้นะคะ แล้วจะมาขอเก็บความรู้เรื่อยๆ ค่ะ


โดย: แมวจอมกวน วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:35:31 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมเยียนให้ความคิดที่ดีมาก ถ้าระบบดี คนก็ไม่ต้องมีความหมายอะไรมาก หวังว่าระบบการตรวจสอบทางการเมืองของไทยตอนนี้คงจะดีจนรมว.ที่หน้าเหมือนภาพประกอบในบล้อคผมคงจะโกงกินไม่ได้มาก


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:28:23 น.  

 
ถ้าคุณอ่านบทความของผมให้ดี ๆ ผมไม่เคยเชียร์ทหารนะครับ (ฟังสำเนียงคุณเหมือนจะประชดผม) ผมว่าคุณก็เหมือนกับใครหลายคนที่ชอบใช้ความเลวร้ายของรัฐประหารมาทำให้พวก"โสเภณีทางการเมือง"พวกนี้ทำให้ดูดีขึ้น คือจะด่าพวกนักการเมืองเหล่านั้นไม่ได้ถ้าด่าแสดงว่าชอบรัฐบาลทหาร ไม่ใช่นะครับ ประชาธิปไตยคือการเคารพเสียงส่วนใหญ่ก็จริงแต่ไม่ใช่ว่าจะมานั่งดูอยู่เฉยๆ รอผลงานให้เกิด (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเกิดเมื่อไรเพราะนักการเมืองจะมีตรรกะในการปกป้องตัวเองเสมอเช่น ขอเวลาก่อน) ต้องมีการวิพากษ์กันตั้งแต่ต้นคุณลองกลับไปอ่านดูให้ดีในบทความนี่แหละที่ผมว่า "เราเปลี่ยนคนพวกนี้ไม่ได้"คือถูกต้องที่มาจากความเป็นไปของระบอบประชาธิปไตย แต่เป็นสิทธิของผมทีจะแสดงความคิดเห็นว่าตัวเองรังเกียจพวกรัฐมนตรีพวกนี้เพราะมันฉ้อฉลกันตั้งแต่กรรมวิธีการเลือกรัฐมนตรี สื่อจำนวนมากแม้แต่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หรือนายสมัครผู้เป็นนายกฯเองก็ยังยอมรับว่าเป็นคณะรัฐมนตรีอัปลักษณ์ มีแต่การแต่งตั้งให้คนมาเป็นรัฐมนตรีเพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ของพรรคและตัวทักษิณมากกว่า แน่นอนว่าคุณภาพพวกนี้ย่อมชวนให้สบปรามาท ผมคิดว่าพรรคการเมืองควรจะมีสปิริตในการคัดเลือกคนที่ดีมาบริหารบ้านเมืองไม่ใช่ดีแค่ปาก (และผมไม่เชื่อว่าคนเหล่านั้นเป็นคนดีเลยเพราะแย่งเก้าอี้กันแทบตายแถมยังตั้งเอาคนที่มีความรู้ไม่ตรงกับกระทรวงที่นั่ง) แต่ว่าเกิดคนเหล่านั้นบริหารงานดีขึ้นมาในหกเดือนหนึ่งปี ผมก็ยินดีขอโทษครับ


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:32:50 น.  

 
การเคารพระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่การยอมรับการตัดสินใจของคนที่คนส่วนใหญ่ของประเทศแบบ passive การวิจารณ์ตามสิทธิของเราเป็นสิ่งที่พึงจะกระทำได้ในฐานะคนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้เลือกพรรคพลังประชาชนเมื่อเห็นว่าการกระทำของคนเหล่านั้นไม่ถูกต้องซึ่งไม่ต้องรอให้มีผลงานหรอกแค่การเลือกรัฐมนตรีก็ถือว่าเป็นการทำงานของรัฐบาลแบบไม่เป็นทางการแล้ว


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:41:15 น.  

 
ผมคิดว่าการทำรัฐประหารทำให้ประชาธิปไตยถูกทำลายก็คือการทำให้การตรวจสอบทักษิณนั้นหยุดชะงักไปเท่านั้น ทหารงี่เง่าพวกนี้จะไปรู้อะไรครับ มากอบโกยอย่างที่คุณว่า การตั้งพวกตัวเองให้เป็นประธานบอร์ดโน้นบอร์ดนี้มันเป็นไปตามการเมืองตามระบอบทักษิณก่อนทำรัฐประหารนั่นแหละ จะเห็นได้ว่าคนไทยรู้สึกเฉยๆ เมื่อสะพรั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานบอร์ดทีโอทีเพราะนักการเมืองยุคก่อนมันก็ใช้วิธีนี้แหละคือแต่งตั้งพวกพ้องให้เป็นใหญ่ในองค์กรต่างๆ เพียงแต่พวกมันมีข้ออ้างที่ดีกว่าคือได้รับการเลือกตั้งของประชาชน ผมคิดว่าระบอบประชาธิปไตยที่ฉ้อฉลของไทยมันยิ่งใหญ่เกินกว่าทหารจะทำลายได้ ที่ทำลายได้คือแค่หยุดยั้งระบบการเลือกตั้ง และกำหนดกฏบางอย่างเพื่อตัวเอง (ซึ่งนักการเมืองยุคทักษิณก็นิยมทำกัน) และทหารเองก็เป็นฝ่ายที่ถูกกลืนไป เพราะตัวเองก็ฉ้อฉลเหมือนกัน เมื่อนักการเมืองกลับมาเป็นใหญ่ก็สานต่อระบอบประชาธิปไตยอันแสนฉ้อฉลต่อไป คนไทยผิดพลาดที่ส่วนใหญ่ปล่อยให้การเมืองยุคทักษิณฉ้อฉล และคนไทยก็ผิดพลาดที่คิดว่าการทำรัฐประหารคือการยุติการเมืองแบบฉ้อฉลนั้น และคนไทยก็ผิดพลาดอีกเช่นกันที่เห็นว่าการกลับมาของนักการเมืองตามระบอบการเมืองแบบเก่าเป็นสิ่งที่ดีเพราะไปเปรียบเทียบกับรัฐบาลทหาร


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:30:32 น.  

 
ผมคิดว่า มันเป็นความตื้นเขินอย่างยิ่งที่มองการพัฒนาประชาธิปไตย ย้อนหลังไปแค่ ๘ ปี หรือ ๑๐ ปี มองปัญหาการเมืองว่า มีความทุจริต คอรัปชั่น เกิดขึ้นแค่ยุคทักษิณฯ ไม่ทราบว่าท่าน Johann ได้มองย้อนหลังไปไกลสำหรับการเมืองไทยสักเท่าไหร่

แนวคิดว่า การรัฐประหาร เป็นเรื่องที่ไม่ใช่การทำลายประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังมากๆ สำหรับนักวิชาการไทย นักสิทธิมนุษยชนไทย ที่ได้ยินมาตั้งแต่เกิดรัฐประหารใหม่ ๆ ในช่วง ปีเศษที่แล้ว ข้ออ้างอย่างเดียวกับที่คุณเขียนนี่แหละ ไม่ผิดเพี้ยน

หากมองย้อนหลัง จะพบว่า ปัญหามันเกิดจากการมีการฆ่าตัดตอนประชาธิปไตยจากฝีมือทหาร เป็นระยะ ๆ ก่อนประชาธิปไตย มันจะเริ่มพัฒนา ประชาชนได้เรียนรู้ อะไรเป็นอะไร ก็ต้องเริ่มต้นใหม่ กันเรื่อยไป

หากประชาชนไทย ยังมีแนวคิดแบบนี้ ไม่ยอมรับกติกา ไม่ยอมรับเสียงข้างมาก แล้วไม่มีความอดทนที่จะให้ปล่อยให้คนส่วนใหญ่ ที่คุณคิดว่าเขาคิดผิดได้เรียนรู้ อะไรเป็นอะไร แล้วยอมรับอำนาจรัฐประหารเรื่อยไป ก็ไม่มีทางได้เห็นอะไรมันเจริญงอกงามขึ้นได้

สหรัฐฯ อเมริกาเป็นตัวอย่าง ที่มีปัญหาทางการเมือง มีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่นในทุกระดับ ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่ไหนในโลก มีปัญหาเรื่องการเลือกปฎิบัติ เกิดแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย จนถึงกับเกิดสงครามการเมือง แต่ปัญหามันก็คลี่คลาย เพราะมันไม่ได้ฆ่าตัดตอนโดยวิธีการนอกกฎหมาย ประชาชนได้เรียนรู้ และ ยอมรับกติกาที่เขาใช้ปกครองประเทศ ไม่ว่า ประธานาธิบดี จะเป็นใคร ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศล่มจม เพราะมันมีการพัฒนาระบบที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ

อย่าใจร้อน ประชาธิปไตย ของไทย ไม่เคยได้พัฒนาอะไรเลย เพราะนักวิชาการชั่ว ๆ สื่อชั่ว ๆ ให้เหตุผลชั่ว ๆ กับการใช้อำนาจไม่ชอบ ประมาณว่า ไม่ว่าแมวจะสีอะไร ก็จับหนูได้ จะใช้วิธีการที่ชั่วขนาดไหน จัดการกับคนที่เห็นว่าไม่ดี อย่างไรก็ได้ คิดกันแบบนี้ ก็ยิ่งเลวร้ายกันไป

เรื่องรัฐบาลใหม่ ไม่ได้เห็นว่า มันน่าชื่นชม แต่เชื่อในระบบ และ ความจำเป็นของเวลา ที่จะต้องใช้เวลาพัฒนาการมากกว่า
ยกตัวอย่างที่เห็นที่ชัดเจนในสหรัฐฯ แม้จะไม่ตรงกันนัก คือ พรรครีพับบริกัน เคยได้เสียงข้างมาก ในสภาอเมริกา หลังจาก บิล คลินตัน บริหารงานมา ๘ ปี แต่ก็เสียคะแนนเสียงข้างมากในรัฐสภาลงไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายสมัยที่สอง เสียงฝ่ายดีโมแครต กลายเป็นฝ่ายข้างน้อยไป จากการเลือกตั้ง สว.

สถานการณ์เริ่มจะเหมือนกัน เสียงข้างมากของรีพับบริกัน กลายเป็นเสียงข้างน้อย เมื่อปลายปี ค.ศ. ๒๐๐๖ หลังจากประชาชน ทั่วไป เริ่มคิดว่า เขาเริ่มตัดสินใจไม่ถูกต้องที่สนับสนุน บุช มาถึง สองสมัย ดีโมแครต ต้องใช้เวลากว่า ยาวนานเกือบ ๑๐ ปี เพื่อเปลี่ยนเสียงข้างน้อยของตน ให้กลายเป็นเสียงข้างมาก

เพราะอะไรหรือ ก็เพราะ เขารักษาระบบ รักษากติกา และรู้ว่า ประชาธิปไตย คือ ความอดทน ในการเปลี่ยนเสียงข้างน้อยให้เป็นเสียงข้างมาก แม้บุช จะทำอะไรที่เลวร้ายเยอะแยะ เอาเงินหลายล้าน ๆ ไปทำสงคราม แทนที่จะมาพัฒนาชีวิตของชาวอเมริกา ที่ต้องการ ประกันสุขภาพ การศึกษา ฯลฯ ก็ไม่เห็นมี สส. แบบไทย นักวิชาการแบบไทย ๆ หรือ สื่อชั่ว ๆ แบบไทย เรียกร้องทหาร มายึดอำนาจ หรือ พูดเป็นนัย ๆ หรือ ให้เหตุผลในการบอกว่า รัฐประหาร ไม่ใช่การทำลายประชาธิปไตย เลย




โดย: POL_US วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:1:40:07 น.  

 
รู้สึกว่าวิวาทะด้านล่างแย่งความโดดเด่นของบล็อกนี้ไปซะแล้ว
ขอบคุณที่ไปเยี่ยมบล็อคค่ะ จะพยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจนกว่าจะได้เป็นเนติบัณฑิตไทยค่ะ


โดย: bench IP: 203.146.113.131 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:12:46:09 น.  

 
ตั้งใจเต็มที่ครับ น้อง bench เนติฯ ไม่ได้ยาก หากไม่ย่อท้อครับ

เรื่องการเมือง คงต้องปล่อยให้เป็นไปตามระบบ เพราะชื่อในระบบ มากกว่าตัวบุคคล ไม่ว่า ใครคนนั้น จะเป็นผู้ใด ถ้ามาโดยชอบธรรม ก็ต้องยอมรับ แต่ถ้า กระทำการไม่ชอบธรรม ไม่เข้าท่า เข้าทาง ก็ต้องโดนถอดถอน และ ดำเนินคดี ด้วยระบบทียุติธรรมและชอบธรรม เช่นกัน


โดย: POL_US IP: 74.135.193.57 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:59:15 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.