Group Blog
 
All blogs
 
เรื่องใกล้หัวใจที่คุณเองก็ (ต้อง) รู้

    โรคหัวใจ


    เรื่องใกล้หัวใจที่คุณ (ต้อง) รู้ (ชีวจิต คู่มือรักษา 3 โรคยอดฮิต เบาหวาน ความดัน หัวใจ)
    โดย ธัญนที หยกสกุล

    ปัจจุบันโรคหัวใจถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดในกลุ่มประชากรทางซีกโลกตะวันตก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ นับว่าเป็นภัยที่น่ากลัวสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เรียกว่าไม่ต้องอายุมาก คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคหัวใจได้

              สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่สาม

              สอดคล้องกับข้อมูลจาก นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ที่เคยกล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 17,000 คน และยังตรงกับข้อมูลของสมาพันธ์โรคหัวใจในปี พ.ศ. 2555 ที่ออกมาเปิดเผยสถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดทั่วโลกว่า มีประชากรเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจสูงถึงปีละ 17.3 ล้านคน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มขึ้นอีก 23 ล้านคนทั่วโลก

    ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจมาจากวิถีชีวิตอันเร่งรีบ การโหมงานหนัก การแบกรับความเครียดมหาศาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนกดดันให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว

    หนังสือ โรคของหัวใจและหลอดเลือด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ อธิบายว่า "คนที่มีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากอารมณ์ของมนุษย์มีการเชื่อมโยงกับสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ และความดันโลหิต"

              "เมื่อใดก็ตามที่เราอารมณ์ไม่ดีหรือมีความเครียดสูง สมองจะกระตุ้นให้ความดันโลหิตซึ่งเป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากการบีบและคลายตัวของหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ จนก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา"

              ในความเป็นจริงยังมีคนอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบความหมายและอาการของโรคหัวใจ ดังนั้น เราจึงควรมาทำความรู้จักกับโรคนี้กันดูสักหน่อย จะได้ป้องกันปัญหาปวดใจก่อนวัยอันควร


    โรคหัวใจ

    เช็กอาการหัวใจป่วย

              โรคหัวใจเป็นคำกว้าง ๆ ที่มีความหมายครอบคลุมโรคภาวะ และอาการหลายอย่างที่เกี่ยวกับหัวใจ รวมทั้งความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ลิ้นหัวใจ และตัวควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจให้สม่ำเสมอ
    โรคหัวใจนั้นอาจแบ่งได้หลายหลายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะแสดงอาการของโรคแตกต่างกันไป

    ดังนั้นมาลองเช็กกันดูว่า เราเข้าข่ายเสี่ยงต่อโรคหัวใจชนิดใดบ้าง


    หัวใจวาย

              ถือเป็นอาการแรกของโรคหัวใจที่ปรากฏอย่างชัดเจนมีชื่อทางการแพทย์ว่า Heart Attack หรืออีกชื่อหนึ่งคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดเส้นใดเส้นหนึ่งที่ไปเลี้ยงหัวใจ

              สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเกิดแผลในหลอดเลือดร่างกาย จึงสร้างลิ่มเลือดไปอุดรอยแผลนั้น หรือบางครั้งอาจเกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดง การตีบของหลอดเลือด หรือการหดตัวอย่างเฉียบพลัน รวมถึงการติดสิ่งเสพติดก็ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการหัวใจวายได้


    อาการบ่งชี้

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    รู้สึกอึดอัด ไม่สบาย เหมือนถูกกดบริเวณหน้าอกนานกว่า 2 นาที

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงและร้าวไปถึงแขนซ้าย ไหล่ซ้าย หรือขากรรไกร

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    หายใจหอบ คลื่นไส้

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก เนื้อตัวเย็น หน้าซีด อ่อนเปลี้ย หมดแรง เป็นลม


    โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

              โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Ischemic Heart Disease : IHD หรือ Coronary Heart Disease : CHD) เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว เนื่องจากมีไขมันเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือด เรียกว่า "ตะกรันท่อหลอดเลือด" (Artherosclerotic Plaque) ค่อย ๆ หนาขึ้นทีละน้อย ช่องทางเดินเลือดจึงแคบลง ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้เพียงพอ

              ตะกรันที่ว่านี้อาจเกิดจกาหลายสาเหตุ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวาน) ระดับไขมันแอลดีแอล (LDL : Low-density Lipoprotein) ในเลือดสูง ความดันเลือดสูง สูบบุหรี่จัด เป็นต้น
    มีรายงานว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะมีความเสี่ยงต่ออาการเจ็บหน้าอกรุนแรง เป็นลม และเสียชีวิตทันทีมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์

    อาการบ่งชี้

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เจ็บบริเวณกลางหน้าอก หรือรู้สึกแน่นหน้าอกเหมือนมีสิ่งของหนัก ๆ กดทับ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    มีอาการเจ็บร้าวบริเวณหน้า ใต้ลิ้น คาง ใบหู หัวไหล่ และมีเหงื่อออกโชกคล้ายถูกน้ำราดลงมาที่ตัว

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    ชาและเจ็บบริเวณแขนข้างซ้าย เริ่มตั้งแต่นิ้วชี้และนิ้วก้อย ไล่มาตลอดแนวท้องแขนถึงรักแร้

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    มือเย็นจัด มีเหงื่อออกชุ่ม มีอาการหายใจไม่ออก และเหนื่อยมากเวลาตื่นเต้น

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    ความดันโลหิตสูงมากไม่ทราบสาเหตุ


    ตารางแสดงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

    ปัจจัยเสี่ยง
      ความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (เปอร์เซ็นต์)  
     ป่วยเป็นเบาหวาน  30
     สูบบุหรี่  30
     มีไขมันในเลือดสูง  20
     มีความดันโลหิตสูง  10
     พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพอื่น ๆ   
     5
     พันธุกรรม 
     5


    โรคหัวใจ

    ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

              ในภาวะปกติ หัวใจจะเต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ ประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้นเป็น 150-250 ครั้งต่อนาที

              สาเหตุส่วนใหญ่มาจากกล้ามเนื้อหัวใจที่ทำหน้าที่กำหนดจังหวะการเต้นถูกทำลาย ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น หัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือป่วยเป็นโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ เป็นทุนเดิม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

              นอกจากนี้ การได้รับสารบางอย่าง เช่น คาเฟอีน ยาสูบ แอลกอฮอล์ ยาลดน้ำหนัก ยาแก้ไอ ยาแก้หวัด ยาบ้า โคเคน ในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นกัน

    อาการบ่งชี้

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    ใจสั่น ใจหวิว วูบ รู้สึกไม่สบายบริเวณช่องอก

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    หัวใจเต้นถี่รัวเร็ว มักเกิดหลังออกกำลังกาย หรือมีอารมณ์โกรธ ตื่นเต้น ตกใจ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เวียนศีรษะ มึนงง

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน


    หัวใจล้มเหลว

              คนส่วนใหญ่มักคิดว่าหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายคือภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งไม่ใช่ความจริงทั้งหมด จริง ๆ แล้วคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายต่อเนื่องมาจากภาวะหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนถูกทำลายเนื่องจากอาการหัวใจล้ม

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เป็นผลพวงจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อคนพิการ การติดเชื้อไวรัส โรคความดันโลหิตสูง

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้การควบคุมเลือดให้ไหลไปในทิศทางเดียวกันหรือการเปิด-ปิดทำได้ไม่เต็มที่

    อาการบ่งชี้

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    หายใจหอบเหนื่อยกว่าปกติ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    ริมฝีปากและเล็บเขียว

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เวลาไอจะมีเลือดปนมากับเสมหะ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงทำกิจกรรมตามปกติ

Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket
    เกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เท้า ข้อเท้า หน้าท้อง ไอเรื้อรัง และเสียงหายใจดังวี้ด


    เห็นไหมล่ะว่า โรคหัวใจนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด เพราะฉะนั้นเมื่อรักคนอื่นแล้ว อย่าลืมหันมารักหัวใจตัวเองกันให้เยอะ ๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งปวดใจภายหลัง

    ความรัก
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    คู่มือรักษา 3 โรคยอดฮิต เบาหวาน ความดัน หัวใจ
    //health.kapook.com/view80046.html



Create Date : 27 มกราคม 2557
Last Update : 27 มกราคม 2557 18:14:48 น. 0 comments
Counter : 961 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jureeporn
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




src='http://roomsite.freeserverhost.com/blogproject/toolbar.js'>
FC Barcelona


Google
จำนวนผู้ชมบล็อกทั้งหมด คน




















[Add jureeporn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.