Group Blog
 
All blogs
 
ที่มาแลความหมายของนามสกุลพระราชทาน

คำถาม
๑. ขอทราบถึงสาเหตุในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖

ทรงพระราชทานขนานนามสกุล ด้วยเหตุอันใดและมีที่มาอย่างไร

ตอบ พระราชประสงค์ให้มีนามสกุลนั้นนอกจากเพื่อสะดวกในการจัดทำทะเบียนสำมโนครัวหรือปัจจุบันเรียกว่าทะเบียนราษฎร์แล้ว  ยังทรง

มุ่งหมายให้นามสกุลเป็นเครืองรำลึกถึงเกียรติประวัติของบรรพบุรุษผู้เป็นต้นสกุล  ซึ่งนอกจากลูกหลานจะภาคภูมิใจแล้วยังต้องมีหน้าที่

รักษาเกียรติวงศ์สกุลไว้ด้วย  กล่าวง่ายๆ ก็คือ ให้คนนึกสังวรณ์ถึงเกียรติประวัติของวงศ์สกุลซึ่งจะช่วยลดการกระทำผิดคิดร้าย


๒. ในการพระราชทานขนานนามสกุลนั้น ทรงพระราชทานให้ผู้ใดเป็นคนแรก

โดยเป็นการพระราชให้ หรือเป็นการขอพระราชทานขนานนามสกุล

ตอบ  พระราชทานให้ทั้งหมด ๕ สกุล คือ

๑) สุขุม  พระราชทานเจ้าพระยายมราช (ปั้น)  เสนาบดีกระทรวงนครบาล  ท่านผู้นี้เคยถวายพระอักษรเมื่อทรงพระเยาว์และเมื่อแรกเสด็จ

ไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ  มีบันทึกว่า มีรับสั่งกับเจ้าพระยายมราชว่า ถ้าครูตายฉันจะแต่งขาวไปเผาศพครู  

๒) มาลากุล  พระราชทานเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ  และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี 

(ม.ร.ว.ปุ้ม) เสนาบดีกระทรวงวัง  เจ้าพระยาพระเสด็จฯ นั้นเป็นพระอภิบาลและเป็นครูถวายพระอักษรภาษาไทยเมื่อเสด็จไปทรงศึกษาที่

อังกฤษ  แต่ถูกเรียกตัวกลับมาจัดแผนการศึกษาชาติก่อน  เมื่อเจ้าพระเสด็จฯ ถึงอสัญกรรมล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงพระภูษาขาวเสด็จฯ 

ไปพระราชทานเพลิง  เจ้าพระยาธรรมาฯ นั้น  ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในฐานะเป็นข้าราชสำนักผู้ใหญ่ที่รอบรู้ขนบประเพณีในพระราช

สำนักเป็นอย่างดีโดยสืบทอดหน้าที่ต่อกันมาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์    

๓) พึ่งบุญ  พระราชทานเจ้าพระยารามราฆพ (ม.ล.เฟื้อ) และพระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น)  เจ้าพระยารามราฆพ และพระยาอนิรุทธเท

วานั้นเป็นบุตรของพระนมทัด  พระนมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จไปทรงศึกษาที่อังกฤษ 

 ท่านทั้งสองนี้ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระราชสำนักสมเด็จพระพันปีหลวง  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จกลับจากอังกฤษได้ถวายตัว

เป็นมหาดเล็กในพระองค์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ประจำรับใช้ใกล้

ชิดพระยุคลบาทมาโดยตลอด

๔) ณ มหาชัย  พระราชทานพระยาเทพทวาราวดี (สาย) จางวางมหาดเล็ก  พระยาเทพฯ นี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรด

เกล้าฯ ให้มาประจำรับราชการในพระองค์ตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราช  พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระเทพทวาราวดี ตำแหน่งเจ้า

กรมขอเฝ้าในสมเด็จพระบรมโอสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  เพราะก่อนที่จะทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ นั้น 

 ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เคยทรงกรมเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดีมาก่อน  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระ

เทพฯ เป็นพระยาเทพทวาราวดี  ตำหน่งขางวางมหาดเล็ก  แตภายหลังรับพระราชทานนามสกุลไม่นานก็เกิดเหตุทุจริตในแบงก์สยามกัม

มาจลเพราะนายฉลองไนยนารถที่พระยาเทพฯ เป็นผู้แนะนำมาเป็นผู้จัดการฝ่ายไทยในแบงก์ดังกล่าวกระทำการทุจริตจนพระคลังข้างที่

ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ได้รับความเสียหายนับล้านบาท  พระยาเทพฯ เลยต้องหางเลขถูกปลดเป็นกองหนุนและเปลี่ยนราชทินนามเป็น พระยา

บำเรอบริรักษ์

๕) ไกรฤกษ์  พระราชทานพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) จางวางมหาดเล็ก  และพระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ - ต่อมาเป็น

เจ้าพระยามหิธร) ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม  พระยาบุรุษฯ นั้นเป็นจางวางมหาดเล็กมาแต่รัชกาลที่ ๕  เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คงรับราชการในตำแหน่งขางวางมหาดเล็กต่อมา  ส่วนเจ้าพระยามหิธรนั้นทรงคุ้นเคยมาแต่ครั้งเสด็จไปทรง

กำกับราชการกระทรวงยุติธรรมเมื่อคราวเกิด "คดีพญาระกา" ในตอนปลายรัชกาลที่ ๕  ทรงจระหนักว่าเป็นผู้ที่รอบรู้กฎหมายและมีความ

ชื่่อตรงจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง  ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นอธิบดีศาลฎีกา  และเมื่อพระเจ้าพี่ยาเธอ หรมหลวงปราจิณกิติบดี ราช

เลขานุการสิ้นพระชนม์  ก็โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปรับราชการเป็นราชเลขาธิการซึ่งเป็นตำแหน่งเทียบเม่าเสนาบดี  ท่านได้รับราชการใน

ตำแหน่งราชเลขาธิการมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง

นามสกุลทั้ง ๕ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเมื่อวันที่  ๓๐  พฤษ๓าคม  พ.ศ. ๒๔๕๖  โดยทรงเขียนเป็นพระราชหัตถเลขา

พระราชทานไปยังบุคคลที่เป็นผู้รับพระราชทานนามสกุลทั้ง ๕ สกุลนั้น  พร้อมทรงอธิบายถึงเหตุที่ทรงผูกนามสกุลนั้นๆ

ทั้งนี้ นามสกุลพระราชทานในลำดับต้นๆ เป็นนามสกุลที่รัชกาลที่ ๖


๓. หากมีผู้ต้องการขอพระราชทานขนามนามสกุลต้องทำอย่างไร

ตอบ  วิธีปฏิบัติคือ ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาโดยตรงโดยส่งผ่านกรมราชเลขาธิการ  พร้อมกับแนบบัญชีเครือญาติตั้งแต่ทวด  ปู่ 
 พ่อ จนถึงผู้ขอพระราชทาน  หรือหัวหน้าส่วนราชการรวบรวมรายชื่อพร้อมบัญชีเครือญาตของผู้ที่ประสงต์จะขอพระราชทานนามสกุล 

 แล้วทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานไปพร้อมกัน  จะมีที่พิเศษเห็นจะได้แก่รายเด็กชายบีว อายุ ๖ ขวบ มหาดเล็กรุ่นจิ๋ว  ซึ่งคุณ

บัวท่านกรุณาเล่าให้ฟังว่า  วันหนึ่งตามเสด็จไปในเรือพระที่นั่งมหาจักรี  แล้วจู่ๆ ก็มีรับสั่งถามว่า บัวมีนามสกุลแล้วหรือยัง  เด็กชายบัวได้

กราบบังคมทูลว่า "ยัง"  ก็เลยได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ศจิเสวี"  ซึ่งคำว่า "ศจิ" นั้น คือพระนาม "ศจี" ชายาพระอินทร์ซึ่งทรง

หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี  ซึ่งทรงรับอุปกการะ "ลูกบัว" มาตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ (บิดามารดาเสียชีวิตไปก่อนแล้ว)  ส่วน "เส

วี" มาจากคำว่า "เสวก"


๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานขนานนามสกุลทั้งหมดกี่นาม
สกุล

และมีนามสกุลใดบ้างที่ไม่โปรดเกล้าฯให้ใช้ในนามสกุล

ตอบ  ตามเลขทะเบียนที่บันทึกไว้ใน "สมุดทะเบียฬนามสกุลที่เราให้ไป"  เลขทะเบียนลำดับสุดท้ายคือ ๖๔๓๒  แต่ในสมุดทะเบียฬ

นามสกุลนั้นมีนามสกุลที่พระราชทานไปแล้วและโปรดให้ถอนออกจากทะเบียฬอีกหลายสกุล เช่น สกุล "สิวะโกเศศ" ที่พระราชทานนาย

ฉลองไนยนารถ (ยู่เส็ง)  เมื่อนายฉลองฯ ต้องพระราชอาญาในคดีแบงก์สยามกัมมาจลฯ ก็โปรดให้ถอนนามสกุลนี้ออกจากทะเบียน 

 นามสกุล เวลานนท์  พระราชทานวิศวกรชาวเยอรมันที่มาอำนวยการขุดเจาะอุโมงค์ขุุนตาล  เมื่อสยามประกาศสงครามกับเยอรมัน  มี

พระบรมราชโองการให้ถอดสัญชาติชาวเยอรมันที่โอนชาติเป็นไทย  นายเวลเลอร์ วิศวกรเยอรมันจึงโดนถอนสัญชาติกลับเป็นเยอรมันและ

ถูกถูกถอนนามสกุลในคราวนั้น  นายเวลเลอร์ถูกส่งตัวไปคุมขังที่อินเดียในฐานะชนชาติศัตรู  แต่ไปเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง  นอกจาก

นั้นยังมีสกุล "ณ พิศณุโลก" ที่พระราชทานแก่หม่อมคัทรินในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  ซึ่งมีบันทึกในสมุดทะเบียฬ

นามสกุลแต่่ไม่ลงเลขทะเบียนไว้  กับมีอีกหลายนามสกุลที่เครือญาติต่างคนต่างขอพระราชทานนามสกุลโดยไม่ได้นัดแนะกันเมื่อความ

ทราบฝ่าละอองธึลีพระบาทก็มีพระบรมราชวินิจฉัยให้ใช้นามสกุลหนึ่งและถอนอีกนามสกุลไป  กรณีขอนามสกุลซ้ำกันนี้มีตัวอย่างคือ สกุล

อมาตยกุล และเอมะศิริ  ซึ่งต่างก็สืบสกุลลงมาจากพระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม)  แต่พระยามหาเทพกษัตรสมุห (เกษียร) ผู้กราบ

บังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลนั้นเป็นทายาทชั้นที่ ๖  เมื่อพระยามนูสารสาตรบัญชา (ศิริ) กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล 

 จึงทรงทราบว่า พระยามนูฯ นั้นเป็นผู้สืบเชื่อสายมาจากพระยามหาอำมาตยาธิบดี ชั้นที่ ๔  จึงมีศักดิ์เป็นปู่ของพระยามหาเทพฯ  หากจะ

ให้ปู่ไปขอใช้นามสกุลน่วมกับหลานก็จะไม่ควร  จึงได้พระราชทานนามสกุลให้ใหม่ว่า เอะศิริ  โดยเอาชื่อหลวงพิพิธสมบัติบุตรพระยามหา

อำมาตยาธิบดี (ป้อม) รวมกับชื่อ ศิริ ของพระยามนูฯ

นอกจากนั้นยังมีนามสกุลที่พระราชทานแก่พระราชวงศ์ที่สืบสายราชสกุลลงมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีก ๒๔ สกุลที่

มิได้ลงไว้ในทะเบียฬ  รวมแล้วนามสกุลที่ทรงคิพระราชทานทั้งหมดมี ๖๔๖๐ นามสกุล


๕. เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลเลยหรือไม่

ตอบ  เมื่อได้รับพระราชทานขนานนามสกุลแล้ว ผู้ที่ได้รับพระราชทานเริ่มใช้นามสกุลได้เลย  แต่ต้องไปแจ้งให้นายทะเบียนท้องถิ่นคือ

อำเภอที่มีภูมิลำเนาลงทะเบียนไว้


๖. ประชาชนชาวสยาม ชาวจีน ชาวแขก ทั่วประเทศ

ต่างมีนามสกุลใช้กันครบทุกครัวเรือนได้อย่างไร

และสังคมไทยยุคดังกล่าวตื่นตัวหรือเคอะเขินกับการใช้ชื่อ-สกุลหรือไม่

ตอบ  คุณหลวงท่านตอบไว้ชัดเจนแล้วครับ



Create Date : 23 มกราคม 2557
Last Update : 23 มกราคม 2557 17:43:24 น. 0 comments
Counter : 2128 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jureeporn
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




src='http://roomsite.freeserverhost.com/blogproject/toolbar.js'>
FC Barcelona


Google
จำนวนผู้ชมบล็อกทั้งหมด คน




















[Add jureeporn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.