หนึ่งเท้าออกก้าว สองเท้าเริ่มวิ่ง

ตั๋วเครื่องบิน และที่พัก

มี Concept ในใจเสมอค่ะ : ราคาย่อมเยาว์ เอาเงินไปช้อปปิ้ง

สายการบิน :
อันนี้ไม่ยากค่ะ หา Agency ที่ไว้ใจได้ ทั้งเรื่องราคาและบริการ
ที่เคยจองก็มี Outbound Travel Service น้องเค้าบริการดี ราคาถือว่าโอเค
แต่มีหรือจะไม่เช็คราคาด้วยตัวเอง
เบื้องต้นแนะนำให้เช็ค Promotion กับสายการบินเองก่อนตัดสินใจซื้อกับทาง Agency นะคะ
ในบางประเทศ ถ้าจังหวะดีๆ ถูกกว่า 5000-6000 บาทก็มี
เช่นสายการบินรักคุณเท่าฟ้า และ Cathay Pacific มีอยู่เรื่อยๆค่ะ

สายการบิน "Anyone can fly" ข้อนี้รู้กันดีแน่นอนว่ามีเปิดบิน 0 บาทประจำ
(แต่เราจองไม่เคยทันทู้กทีสิ)
ยิ่งถ้าจองล่วงหน้า ยิ่งได้ถูกค่ะ แต่ส่วนใหญ่ถึงเวลาต้องใช้บริการสายการบินนี้ทีไร
นั่นหมายถึงว่าเกิดเหตุทุกที ไม่เคยได้ราคาโดนใจเลยสิ


โรงแรม : ตามหนังสือท่องเที่ยวประเทศต่างๆจะมีแนะนำไว้อยู่แล้วค่ะ จองกับทางโรงแรมหรือ Guest House ได้โดยตรง แต่ ตามประสาคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือนานๆ วิธีนี้ไม่นิยมสำหรับเรา

อีกทางหนึ่งที่เลือกคือ เปิด web "Agoda" เพราะมีตั้งแต่ 2 ดาว ถึง 5 ดาว
พร้อมกับ comment แม้ว่าบางโรงแรม แปล comment แบบ google translate มาเอง แต่ก็พอรู้ได้ว่า มีส่วนดีส่วนด้อยอย่างไร
และเรื่องราคาก็ตามเนื้อผ้าอยู่แล้ว

การจองผ่าน agoda มีข้อดีตรงที่การสะสมแต้ม ซึ่งคนเที่ยวบ่อยก็ถือเป็นกำไรไป เหมือนการสะสมไมล์

วิธีของเราก็เช่นเดิมค่ะ หารายชื่อโรงแรมที่ไม่พากระเป๋าหมู่เราแฟ่บ ตั้งแต่ก่อนไปถึง เช็คก่อนว่า
-เค้ามี website มั้ย
-สภาพห้องที่โรงแรมเป็นอย่างไร
-แผนที่โรงแรมมีมั้ย ใกล้จุดชุมชน หรือแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อหรือเปล่า
-ราคาที่แจ้งในเวบต่างจาก agency มากมั้ย
ถ้าไม่มากให้ Agency เค้าจัดการดีกว่าค่ะ

คำแนะนำคร่าวๆ หากมีที่ไหนที่แนะนำ มา share ได้
เพราะอยากได้ประสบการณ์จากผู้รู้อีกมากมายจ้า




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 10 กรกฎาคม 2553 23:50:48 น.   
Counter : 489 Pageviews.  

เริ่มวางแผนกันดีกว่า

หลังจากหาข้อมูลทั้งหมดแล้ว มาเริ่มวางแผนดีกว่าค่ะ

วิธีนี้ได้มาจากเพื่อนชาวเกาหลี เพราะตัวเราเป็นคนสบายๆ
แค่รู้ว่าจะไปที่ไหน วันไหนก็พอ แต่จริงๆถ้าเราพยายามเพิ่มอีกนิดนึง
ทำตารางออกมา (ตามรูป) เราอาจจะมีเวลาในการเดินทางเพิ่มขึ้นค่ะ



ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีความจำเป็น เช่น

- วันที่ (ตามงบและวันลาที่นายอนุญาตค่ะ ห้าห้า)

- ช่วงเวลา ถ้าจะให้ง่าย แบ่งเป็นช่วงๆไปเลยจะง่ายกว่าค่ะ
เช่น 9.00-12.00, 12.00-15.00....21.00-00.00 แต่แล้วแต่ิวิธีการของแต่ละคนค่ะ

- สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งคงได้ข้อมูลมาจากขั้นตอน How to แล้ว ที่นี้ก็แบ่งต้องแบ่งแล้วค่ะว่าวันไหนอยากไปที่ไหน
Remark : คนที่มีเวลาน้อย หรืองบจำกัด (แบบเรา) แนะนำให้วางแผนดีๆ โดยภายในวันเดียวกัน ไปสถานที่ใกล้ๆกัน ประหยัดค่ารถ และเวลาค่ะ เรื่องนี้สำคัญนะคะ เพราะเวลาแห่งความสุขมันจะผ่านไปเร็วมาก เวลาเราไปถึงเหมือนเข็มนาฬิกามันวิ่งแข่ง ควรประหยัดเวลาและไปให้ได้ทุกที่ค่ะ

- วิธีการเดินทาง ข้อนี้ข้ามไปไม่ได้เลยนะคะ เป็นส่วนที่สนุกที่สุดของการเดินทางเลย นอกเหนือจากเครื่องบิน การเดินทางอื่นๆกับคนที่พูดคนละภาษา มันสนุกดีค่ะ ขอแนะนำให้เดินทางโดยรถสาธารณะ...
รับประกันความมันส์ อย่าลืมลงในตารางไว้เลยนะคะ

- ที่พัก ข้อนี้แล้วแต่ประเทศค่ะ หลักๆก็ search หาก่อน
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
เอาที่ไว้ใจได้ ไม่เปลี่ยวเกินไป มีคนมา comment เยอะๆ หรือที่มีคนไทยไปพักบ่อยๆ

- ราคา ที่ต้องใช้จ่ายในแต่ละสถานที่ เช่น ค่าบัตรผ่านประตู ค่าถ่ายรูป
ค่าอาหาร โดยประมาณ เพื่อให้รู้ว่าแต่ละวันต้องใช้เท่าไหร่ค่ะ
จะได้ควบคุม budget ได้ (แต่ส่วนนี้ไม่ค่อยได้ผลหรอกค่ะ เอาไม่อยู่จริงๆเวลาเจอของต้องตาต้องใจ...เกินงบทุกวัน)

- เบ็ดเตล็ด เผื่อบางอย่างที่ควรทำ ระหว่างวัน หรือข้อห้ามของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ตัวอย่างเช่นวัดพระแก้วเราไม่ให้ใส่เสื้อแขนกุด ขาสั้นเพื่อเป็นการเคารพสถานที่ เราก็ควรระวังไว้ค่ะ เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม จะได้เตือนตัวเองก่ิอนออกจากที่พักค่ะ

รายละเอียดมากทีเดียว แต่พอทำเสร็จ การเดินทางเราราบรื่นแน่นอนค่ะ




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 20:02:58 น.   
Counter : 745 Pageviews.  

ประเทศที่ไม่ต้องขอ Visa


มีหลายประเทศที่รัฐบาลทำความตกลงเอาไว้เพื่อให้เดินทางไปมากันได้สะดวก และมีอีกหลายประเทศที่อำนวยความสะดวกให้คนไทยเป็นพิเศษ ปัจจุบัน (27 มี.ค. 2550) มีอยู่ 18 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ที่ผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยสามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ได้แก่

อาร์เจนติน่า (อยู่ได้ 90 วัน)
บาห์เรน (อยู่ได้ 14 วัน)
บราซิล (อยู่ได้ 90 วัน)
บรูไน (อยู่ได้ 14 วัน)
ชิลี (อยู่ได้ 90 วัน)
ฮ่องกง (อยู่ได้ 30 วัน)
อินโดนีเซีย (อยู่ได้ 30 วัน)
เกาหลีใต้ (อยู่ได้ 90 วัน)
ลาว (อยู่ได้ 30 วัน)
มาเก๊า (อยู่ได้ 30 วัน)
มาเลเซีย (อยู่ได้ 30 วัน)
มัลดีฟส์ (อยู่ได้ 30 วัน)
เปรู (อยู่ได้ 90 วัน)
ฟิลิปปินส์ (อยู่ได้ 21 วัน)
รัสเซีย (อยู่ได้ 30 วัน)
สิงคโปร์ (อยู่ได้ 30 วัน)
แอฟริกาใต้ (อยู่ได้ 30 วัน)
เวียดนาม (อยู่ได้ 30 วัน)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.interflighttravel.com/

นอกเหนือจากนี้สามารถเช็คข้อมูลได้จาก website
กระทรวงการต่างประเทศ - //www.mfa.go.th
กรมการกงศุล - //www.consular.go.th/
สถานฑูตไทยในประเทศนั้นๆ - //www.thaiembassy.org/




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 18:40:15 น.   
Counter : 220 Pageviews.  

ระเบียบและวิธีการในการขอหนังสือเดินทาง (Passport)

ขั้นตอนและวิธีการในการขอมีหนังสือเดินทาง
ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงต่างประเทศที่ได้กำหนดไว้แล้วคือผู้ร้องขอจะต้องไปยื่นที่กระทรวงฯ ด้วยตนเอง พร้อมเอกสารเอกสารที่ใช้ประกอบการขอหนังสือเดินทาง และเงินค่าธรรมเนียม 1,130 บาท (รวมค่าถ่ายรูป ค่าเขียนคำร้อง ค่าอากรแสตมป์และค่าส่งทางไปรษณีย์) โดยกองหนังสือเดินทางจะมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในการถ่ายรูประบบดิจิตอลและช่วยท่านเขียนคำร้อง โดยใช้เวลาตั้งแต่ยื่นคำร้องจนถึงเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดประมาณ 30 นาที

ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
1. ตรวจเอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง
2. ถ่ายรูป ( ชำระค่าถ่ายรูป 75 บาท ) แล้วรอรับคำร้อง
3. ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
4. จ่ายเงินค่าเขียนคำร้อง 10 บาท ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
5. นำคำร้องที่ปรากฎรูปถ่ายไปให้เจ้าหน้าที่เขียนคำร้อง
6. ยื่นคำร้องที่กรอกข้อความเรียบร้อยแล้วตามช่องที่กำหนด แล้วรอรับใบรับเล่มและใบเสร็จรับเงิน
7. ติดต่อขอส่งหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ค่าบริการ 40 บาท
8. ท่านจะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 10 วันทำการ

เอกสารที่ใช้ประกอบในการยื่นขอหนังสือเดินทาง
ก. บุคคลทั่วไป

1. สำเนาทะเบียนบ้านจำนวน 1 ชุด นำต้นฉบับมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ถ้าทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด ต้องมีตราประทับของอำเภอหรือเทศบาล
2. สำเนาบัตรประชาชน บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ยังมีอายุการใช้งาน นำต้นฉบับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย (ถ้าเป็นใบเหลืองต้องมีรูปถ่ายแนบมาด้วย และรูปถ่ายต้องมีตราประทับของอำเภอ)
3. ทะเบียนทหารในกรณีผู้ร้องเป็นชายอายุ 17-45 ปีบริบูรณ์ ต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับทหาร เช่น สด. 8 สด.9 สด.43 หรืออื่น ๆ พร้อมสำเนาหนึ่งชุด
4. ทะเบียนสมรส (ถ้าแต่งงานแล้ว)
5. ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้าเคยเปลี่ยน)
6. กรณีที่ผู้ร้องเกิดในต่างประเทศหรือแปลงสัญชาติเป็นไทย ให้นำหลักฐานการได้สัญชาติไทยมาแสดงพร้อมสำเนา 1 ชุด
7. กรณีที่ผู้ร้องเกิดจากบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวให้นำหลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา หรือมารดามาแสดง พร้อม สำเนาหน้า 1,2,4,5 และหน้าที่มีการต่ออายุครั้งสุดท้าย หรือถ้าบิดามารดาเสียชีวิตให้นำใบมรณะบัตรมาแทน

ข. ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 14 ปี บริบูรณ์ (ยังไม่ทำบัตรประชาชน)

1. เอกสารของบิดา หรือมารดา
• ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้าเคยเปลี่ยน)
• กรณีเกิดในต่างประเทศ หรือแปลงสัญชาติไทยให้นำหลักฐานการได้สัญชาติไทยมาแสดง พร้อมสำเนา 1 ชุด
• กรณีที่ผู้ร้องเกิดจากบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวให้นำหลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา หรือมารดามาแสดง พร้อมสำเนาหน้า 1,2,4,5 และหน้าที่มีการต่ออายุครั้งสุดท้าย หรือถ้าบิดามารดาเสียชีวิต ให้นำใบมรณะบัตรมาแทน
2. สูติบัตรของผู้เยาว์พร้อมสำเนา 1 ชุด
3. ทะเบียนสมรสของบิดา มารดา (ถ้าไม่ได้จดทะเบียนต้องมีใบรับรองบุตรจากอำเภอ)
4. ในกรณีที่บิดามารดาหย่าขาดจากกัน ต้องนำทะเบียนหย่าที่ระบุข้อตกลงในการปกครองบุตร พร้อมสำเนา 1 ชุด
5. ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้าเคยเปลี่ยน)
6. ในกรณีเป็นบุตรบุญธรรม ต้องนำใบจดทะเบียนรับเป็น บุตรบุญธรรมมาแสดง พร้อมสำเนา 1 ชุด
หมายเหตุ : เอกสารดังกล่าวข้างต้นควรนำทั้งตัวจริง และสำเนาจำนวน 1 ชุด มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ บุคคลที่อายุไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ ต้องให้บิดาและมารดาเซ็นให้ความยินยอม พร้อมนำบัตรประชาชนมาด้วย
เอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี
• ใบเปลี่ยนชื่อและสกุล
• ทะเบียนสมรส
• ทะเบียนหย่า
• ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
• ทะเบียนการรับรองบุตร
• ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดาและมารดา

สถานที่ในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง
กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล
อาคารกรมการกงสุล 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
ประชาสัมพันธ์ โทร. 981-7171 (50 คู่สาย)
โทรสาร. 981-7256

สำนักงานชั่วคราวบางนา
ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้ ชั้น 9 ถนนบางนา-ตราด
โทร. 383-8402

สำนักงานชั่วคราวปิ่นเกล้า
ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ชั้น 8 ถนนบรมราชชนนี
โทร. 884-8829-36 โทรสาร 884-8824br>br> สำนักงานชั่วคราว เชียงใหม่
ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว 99/4 หมู่ 2 ถ. ห้วยแก้ว
โทร. (053) 894-405-10 โทรสาร (053)894-408

สำนักงานชั่วคราวหาดใหญ่
37/65 ถ. ศรีภูวนาถ อ.หาดใหญ่ สงขลา
โทร. (074) 235-724 โทรสาร (074) 235-160

สำนักงานชั่วคราวขอนแก่น
อาคารเหล่ากาชาด ขอนแก่น ถ.หน้าเมือง ขอนแก่น
โทร. (043) 242-707 โทรสาร (043) 243-441

เวลาทำการ : กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล 8.00 น. ถึง 15.30 น. (สำนักงานชั่วคราวที่อื่น 8.30 น. ถึง 15.30 น.)
เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอต่ออายุ
1. บัตรประจำตัวต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ชุด
2. ทะเบียนบ้านต้นฉบับพร้อมสำเนา 1 ชุด
3. รูปถ่าย 1 รูป ( ต้องนำรูปถ่ายมาเอง )
4. สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่าย 1 ชุด
5. ค่าธรรมเนียม 1,055 บาท (รวมค่าเขียนคำร้อง 10 บาท ค่าอากรแสตมป์ 5 บาทและค่าส่ง ทางไปรษณีย์ 40 บาท
6. หนังสือเดินทางต้องอายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือ หมดอายุไปแล้วไม่เกิน 6 เดือน รวมอายุหนังสือเดินทางเป็นเวลา 10 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม
หนังสือเดินทางเป็นเอกสารอันมีค่าไม่ควรให้ตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลที่มิได้รับมอบหมาย บุคคลสัญชาติไทยถือหนังสือเดินทางได้ฉบับเดียว เมื่อหนังสือเดินทางมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน (ใช้เดินทางไม่ได้) สามารถนำมาขอต่ออายุได้อีก 5 ปี หรือหากต้องการหนังสือเดินทางฉบับใหม่จะต้องนำฉบับเดิมมายกเลิกก่อน หากหนังสือเดินทางสูญหายผู้ถือจะต้องแจ้งกองหนังสือเดินทาง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือสถานทูตสถานกงสุลไทยทราบทันที

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก Education Abroad Co., Ltd.
//www.e-abroad.com




 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 18:40:40 น.   
Counter : 276 Pageviews.  

How To

จากเท่าที่เคยวางแผนมา ตรงนี้ขอใช้บทเรียน(ที่เคยโก๊ะ)ของตัวละกันนะค่ะ
ในขั้นตอนของการเตรียมตัวไปต่างบ้านต่างเมือง
ต้องสร้าง Check Lists เลยหละ

ข้อมูลของประเทศนั้นๆ
1.1 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และจุดเด่น โดยหาได้ง่ายๆใน Google
ผู้ช่วยส่วนตัวของทุกคนค่ะ หรือไม่ก็เจ้าประจำ Lonely Planet ค่ะ แต่เชื่อว่ายังมี Blog ของเพื่อนๆอีกหลายคนที่เขียนแนะนำ ลองดูก็ได้ค่ะ
แต่ละเมืองจะเด่นต่างกันไป แต่เป้าหมายของแต่ละคนก็ต่างไปด้วยค่ะ เช่น ฮ่องกงเด่นเรื่อง Shopping มากๆ แต่คนที่ไปอยากไปกิน หรืออยากไปเดินสัมผัสอากาศ จะมีผลกับการเตรียมเรื่อง budget ด้วย

1.2 สภาพอากาศ : จะได้รู้ว่าควรเตรียมเสื้อผ้าแบบไหน

1.3 อัตราแลกเปลี่ยน = เงิน นั่นเอง ห้าห้า ไม่ได้งกนะคะ 55 แต่เราจะได้เตรียมตัวถูก ที่แลกเงินที่จูนเคยไปแลกก็ Super Rich ค่ะ ในซอย Big C ตรงข้าม Central World ปากทางเป็นธนาคารกรุงเทพค่ะ ต้องป้ายเขียวเท่านั้นนะคะ ได้ข่าวมาว่าร้านอื่นๆเป็นเครือๆ แต่ร้านใหญ่บริการดีกว่าค่ะ
มีอีกที่นึงเพื่อนแนะนำมาเหมือนกันค่ะ เห็นว่าบริการดี อัตราแลกเปลี่ยน
ไม่ต่างจากเรามาก ไว้จะมาเพิ่มให้ทีหลังนะคะ ที่แน่นอนเลยคือทุกที
มีบริการส่งหากแลกตามจำนวนที่ทางร้านกำหนดด้วยค่ะ

1.4 สำคัญมากคือ Passport ใครที่ยังไม่มี ขอให้ลองดูหัวข้อถัดไปค่ะ ส่วนคนที่มีแล้วอย่าลืมเช็คนะคะว่า หมดอายุหรือยัง ส่วนใหญ่ก่อนหมดอายุ 6เดือน บางประเทศก็เริ่มมีปัญหาแล้วค่ะ

1.5 Visa ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละประเทศ (ตรวจสอบได้ที่หัวข้อ Visa)

1.6 หมายเลขของสถานฑูตไทย ในประเทศนั้นๆ เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินซึ่งมักเกิดขึ้นได้เสมอ -_-" เช่น Passport หาย เราจะได้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีค่ะ โดยเฉพาะในประเทศที่ไม่มีใครสามารถเข้าใจภาษากลางอย่างภาษาอังกฤษได้

1.7 หมายเลขของศูนย์ขอความช่วยเหลือ หรือ Tourist Information ที่มีเจ้าหน้าที่พูดภาษาอังกฤษได้ เผื่อเราหลงทางค่ะ เราได้ใช้วิธีนี้เอาชีวิตรอดได้แล้วตอนไปเกาหลี

1.8 ภาษาท้องถิ่น พูดคำนี้แล้วดูเหมือนเราเดินทางไปต่างจังหวัด แต่จริงๆได้ผลทีเดียว เหมือนฝรั่งพยายามพูดภาษาไทย แค่คำว่า "ขอบคุณ" เราก็ดีใจแล้วใช่มั้ยหละ ขอซื้อใจหน่อยละกัน แต่ถ้าโชคดีหน่อย เจอเจ้าบ้านใจดีชวนคุย ตอนนั้นก็ค่อยตัวใครตัวมัน ห้าห้า

1.9 วิ่งหา หนังสือ แผนที่ ร้านอาหาร แหล่งช้อปปิ้ง ใครจะรู้ดีเท่าเจ้าบ้านค่ะ เพราะฉะนั้นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดคือ องค์การท่องเที่ยว ของประเทศนั้นๆค่ะ เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่งค่ะ

คราวๆประมาณนี้ หวังว่าคงเพิ่มหัวข้อในการหาข้อมูลเพิ่มขึ้นนะคะ





 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 20:10:58 น.   
Counter : 255 Pageviews.  

1  2  

junihuni
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คงเหมือนกับสมาชิกท่านอื่นๆที่ อยากจะ share ประสบการณ์ และความประทับใจ..โลกนี้กว้างใหญ่น่าออกไปค้นหาจริงๆ
[Add junihuni's blog to your web]