"กาแฟดำใส่น้ำเย็น"
Group Blog
 
All blogs
 
นักวิชาการ กับ ที่ปรึกษาฯ

ความแตกต่างในการแก้ปัญหาของนักวิชาการ กับ ที่ปรึกษาฯ

นักวิชาการน่าจะมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้ดีกว่าที่ปรึกษาธุรกิจ ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่าง ทำให้ผลที่ได้รับมีความแตกต่างกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครนั้นก็ขึ้นกับมุมมองของผู้ประเมิน และ ความต้องการ ณ เวลานั้นมากกว่า ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มมันดีกันในคนละมุมมองจริงๆ

นักวิชาการ


การ แก้ไขปัญหาของนักวิชาการพบ ว่า นักวิชาการจะเจาะลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เวลาเกือบ 80% เป็นเวลาของการเจาะอยู่กับปัญหาไม่ให้หลุดรอดไปเลยแม้นสักมุมมองหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อดีในการแจกแจงปัญหาออกมาว่า ปัญหาเกิดจากอะไร มีหลักฐานของแนวความคิด มีสิ่งที่เข้ามาสนับสนุนการตัดสินใจ และ ที่สำคัญนักวิชาการก็จะเน้นทางด้านการโน้มน้าวคนรอบข้างให้เชื่อในสิ่งที่ เขากำลังดำเนินการ ซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในตนเอง รวมไปถึงตำแหน่งที่ได้รับมันค้ำคออยู่ ทำให้แนวความคิดที่แตกต่างจากของเขาถูกละเลยไป ข้อเสนอ แนวคิด หรือ วิธีการต่างๆที่ไม่ได้มีการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญ จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือไปทั้งๆที่บางสิ่งเหล่านั้น สามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม

และ เมื่อใช้เวลา 80% ในการเจาะประเด็นของปัญหา จึงเหลือเวลาเพียง 20% ในการหาแนวทางการแก้ไขของปัญหานั้นๆ การตัดสินใจแนวทางแก้ไขปัญหาจึงมุ่งไปยังประเด็นที่ศึกษาเพียงอย่างเดียว มีข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจเท่านั้น จึงเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะตัดสินใจลงมือ ทั้งนี้ ปัญหาต่างๆ จึงได้ถูกวางกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะสิ่งที่วิเคราะห์ได้ และ แนวทางการแก้ไขปัญหา จึงแก้ไขปัญหาเฉพาะในกรอบที่ได้วางและวิเคราะห์เอาไว้ หากผู้บริหารชอบการแก้ไขในเชิงเช่นนี้ หรือ เชื่อมั่นในแนวคิดที่ต้องมีการสนับสนุนจากข้อมูลวิชาการแล้ว ก็จะเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาเช่นนี้

ที่ปรึกษา


ใน ทางกลับกัน ที่ปรึกษา จะใช้เวลาเพียง 20% ในการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เจาะประเด็นในเรื่องต่างๆมากนัก แค่ให้ทราบว่าปัญหาเกิดจากที่ใดโดยไม่ต้องมีข้อมูลในการยืนยันถึงปัญหาเหล่า นั้น

ส่วนอีก 80% ที่เหลือนั้นจะมุ่งประเด็นไปยังแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งในช่วงนี้จะนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่มี นำมาหาหนทางในการแก้ไขปัญหา วางระบบ วางขั้นตอนการแก้ไขปัญหา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และแน่นอนว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่ได้ใช้เพียงข้อมูลที่มี แต่ต้องค้นหาข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่ม รวมไปถึงความต้องการของบุคคลที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อมทั้งภายใน ภายนอก ในการตัดสินใจในการวางกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ทั้งนี้ อาจจะไม่มีข้อมูลทางด้านวิชาการมาสนับสนุนแนวทางการตัดสินใจ แต่แนวทางต่างๆที่คิดออกมาทั้งหมด จะเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้สูงในการแก้ไขปัญหานั้นๆ เท่านั้น


( ชอบมากเลยขอเก็บมาไว้อ่าน
ความแตกต่างในการแก้ปัญหาของนักวิชาการ กับ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ คุณวิบูลย์ จุง ณ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=wbj&month=26-06-2009&group=11&gblog=11)



Create Date : 17 มกราคม 2553
Last Update : 17 มกราคม 2553 13:41:08 น. 0 comments
Counter : 274 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

jeab_joice
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"..กาแฟดำใส่น้ำเย็น.."
: Users Online รวมทั้งหมด คน
Friends' blogs
[Add jeab_joice's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.