Ich bin der Welt abhanden gekommen (I am lost to the world)
Group Blog
 
All Blogs
 
Mahlerian Conductors



Leopold Anthony Stokowski (1882-1977) ชาวอังกฤษเชื้อสายโปแลนด์ เป็นอีกหนึ่งในผู้บุกเบิกงานของ Mahler ในยุคแรกๆ Stokowski เป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสได้เข้าชมการแสดงรอบปฐมทัศน์ของซิมโฟนีหมายเลข 8 ที่เมืองมิวนิคเมื่อปี ค.ศ.1910 ซึ่ง Stokowski ถือว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่งในศตวรรษที่ 20 และต่อมาในปี ค.ศ. 1916 Stokowski ก็ได้นำซิมโฟนีหมายเลข 8 ของ Mahler นี้ออกแสดงเป็นครั้งแรกบนแผ่นดินอเมริการ่วมกับ Philadelphia Orchestra ที่เมือง Philadelphia

*อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแสดงรอบปฐมทัศน์ของซิมโฟนีหมายเลข 8 ในอเมริกาโดย Stokowski ได้ที่ Penn Library

F. Charles Adler (1889-1959) ชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในวาทยากรที่เคยร่วมงานกับ Mahler มาก่อน ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไหร่แต่ Adler ก็มีบทบาทในการบุกเบิกการบันทึกเสียงงานของ Mahler ในช่วงต้นทศวรรษที่ 50 โดยเป็นผู้บันทึกเสียงซิมโฟนีหมายเลข 3 เป็นคนแรก

George Szell (1897-1970) ชาวฮังการี ยอดวาทยากรแห่ง Cleveland Orchestra เป็นที่น่าเสียดายอย่างมากที่ Szell มีการบันทีกเสียงงานของ Mahler เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น แต่แต่ละชิ้นอย่างเช่น ซิมโฟนีหมายเลข 4 และ 6 นั้นเรียกได้ว่าอยู่อันดับต้นๆ ของวงการเลยทีเดียว

Maurice Abravanel (1903 - 1993) ชาวอเมริกันเชื้อสายสวิส ก่อนที่จะอพยพมาที่อเมริกานั้น Abravanel มีประวัติอำนวยเพลงอย่างโชกโชนในยุโรป จะกระทั่งนาซีเรีองอำนาจ Abravanel จำต้องอพยพออกจากยุโรปจนมาอยู่ที่อเมริกาในที่สุด ที่อเมริกานี้เองที่ Abravanel ได้มาเป็นวาทยากรประจำ Utah Symphony Orchestra ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นวงออร์เคสตร้าระดับชุมชนเล็กๆ ซึ่ง Abravanel ก็ได้ทำให้วงออร์เคสคร้าเล็กๆ วงนี้ผงาดขึ้นมาเป็นวงที่มีชื่อเสียงในระดับชาติและมีผลงานบันทึกเสียงจำนวนมากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบันทึกเสียงซิมโฟนีของ Mahler ทั้งเก้าบทซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเหลือเชื่อมากเพราะในสมัยนั้นมีแต่วงระดับ New York Philharmonic หรือ Royal Concertgebouw เ้ท่านั้นที่มีศักยภาพที่จะทำได้

Sir Georg Solti (1912-1997) ชาวฮังการี เป็นอีกผู้หนึ่งที่บันทีกเสียงซิมโฟนีทุกบทของ Mahler ได้สำเร็จ ชิ้นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็เห็นจะไม่พ้นซิมโฟนีหมายเลขหนึ่งและแปด Sotli มีสไตล์การอำนวยเพลงที่หนักแน่นมีพลัง แต่คนที่ไม่ชอบ Solti มักจะโจมตีว่า Solti เป็นพวกบ้าพลังเล่นเอาแต่มันส์แต่ค่อนข้างละเลยรายละเอียดและอารมณ์
แต่อย่างไรก็ตามงานบันทึกเสียงของ Solti นั้นน่าสนใจศึกษาเป็นอย่างมากและึถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งในประวัุติศาสตร์การบันทึกเสียง

Kurt Sanderling (1912-) ชาวเยอรมัน แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพโซเวียต ในขณะนี้นับได้ว่าเป็นวาทยากรที่ยังมีชิ่วิตอยู่ที่มีอายุมากที่สุดที่เคยร่วมงานกับ Shostakovich มาก่อน สำหรับ Mahler นั้น Sanderling มีความสนใจเป็นพิเศษในงานในยุคหลังๆ ของ Mahler นั่นคือซิมโฟนีหมายเลข 9, 10 และ Das Lied von der Erde โดยเฉพาะหมายเลข 10 นั้น Sanderling มีอิทธิพลอย่างมากต่อวาทยากรในยุคหลังอย่าง Simon Rattle recording ที่มีชื่อเสียงมากคือ performing version ของซิมโฟนีหมายเลข 10 โดย Cooke เวอร์ชั่นสอง โดยในการบันทึกเสียง Sanderling ได้แก้ไขเพิ่มเติม score บางส่วนด้วยตัวเอง

*อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kurt Sanderling ได้ที่ Kurt Sanderling Page

Jeronym Rafael Kubelik (1914-1996) ยอดวาทยากรชาวเช็ค เป็นอีกผู้หนึ่งที่บันทีกเสียงซิมโฟนีทุกบทของ Mahler ได้สำเร็จ Kubelik มีสไตล์การอำนวยเพลงที่งดงามและลื่นไหลราวบทกวี ผลงานการกำกับงานของ Mahler ที่มีชื่อเสียงมากก็เห็นจะเป็นซิมโฟนีหมายเลข 1

*อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kubelik ได้ที่ Gustav Mahler by Rafael Kubelik และ Rafael Kubelik - a life devoted to Gustav Mahler (สอง web นี้เป็นภาษาฝรั่งเศสนะครับ ต้องใช้โปรแกรมแปลภาษาช่วย)

มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเนื่องจากพื้นเพเดิมของ Mahler นั้นมาจาก Bohemia ซึ่งก็คือประเทศเช็ครีพับบลิคในปัจจุบัน ทำให้ในซิมโฟนีหลายๆ บทมีสำเนียงที่สะท้อนถึงชีวิตในชนบทของแคว้น Bohemia ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่ทำให้วาทยากรชาวเช็คอย่างเช่น Karel Ancerl (1908 - 1973), Rafael Kubelik, หรือ Vaclav Neumann (1920-1992) มีสไตล์การอำนวยเพลงของ Mahler ที่เฉพาะตัวโดยเฉพาะถ้ายิ่งเล่นกับ Czech Philharmonic ด้วยแล้วยิ่งเห็นได้ชัด

Kyrill Kondrashin (1914-1981) ชาวรัสเซีย Kondrashin จัดได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกการบันทึกเสียงผลงานของ Mahler ในสหภาพโซเวียตในช่วงปี 60 ถึงแม้ว่างานของ Mahler ในรัสเซียนั้นจะได้รับการวางรากฐานมาตั้งแต่สมัยที่ Oscar Fried มาเปิดการแสดงงานของ Mahler รวมทั้งในภายหลังที่ Fried ได้เข้ามาพำนักในสหภาพโซเวียตในบั้นปลายชีวิต ทั้ง Walter, Klemperer, Horenstein เองก็เคยมาเปิดการแสดงในสหภาพโซเวียตเช่นกัน แต่การบุกเบิกการบันทึกเสียงอย่างจริงจังๆ นั้นนำโดย Kondrashin โดย Kondrashin ได้ทำการบันทึกเสียงซิมโฟนีทุกบทของ Mahler ยกเว้นหมายเลข 2 กับ 8 ได้สำเร็จ (บทที่มีเพลงร้อง ร้องเป็นภาษารัสเซีย)

Pierre Boulez (1925-) ชาวฝรั่งเศส เป็นคีตกวีที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษนี้ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นวาทยากร ที่มีชื่อเสียงระดับโลก Boulez มีความชำนาญมากในการอำนวยเพลงของคีตกวีสมัยใหม่อย่างเช่น Derbussy, Stravinsky, Webern ซึ่งรวมทั้ง Mahler ด้วย

Klaus Tennstedt (1926-1998) ชาวเยอรมัน ผลงานสร้างชื่อของ Tennstedt ก็คือการบันทึกเสียง Mahler cycle ร่วมกับ London Philharmonic Orchestra โดย EMI ในช่วงปี 80 ซึ่งเป็นงานที่ประสบความสำเร็จมาก

*อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tennstedt ได้ที่ EMI Classics | Biographies | Klaus Tennstedt

Michael Andreas Gielen (1927 -) ชาวเยอรมัน Michael Gielen อาจนับได้ว่าเป็น Mahler conductor ที่ถูกมองข้ามมากที่สุด ทั้งๆ ที่ recording แต่ละชิ้นของเขานั้นอยู่ในระดับยอดเยี่ยมทั้งสิ้น

Gary Bertini (1928-2005) ชาวอิสราเอล เป็นอีกหนึ่งในผู้ที่ถูกลืม ทั้งๆ ที่ Mahler recording ของเขานั้นอยู่ในระดับเยี่ยมยอด เป็น boxset ที่ดีที่สุดชุดหนึ่งในวงการ แต่กลับไม่ได้รับการโปรโมตอย่างที่ควรจาก EMI ซึ่งเป็นต้นสังกัด ทำให้ recording ของ Bertini แพร่หลายอยู่ในวงจำกัด เช่นในฝรั่งเศสหรือในญี่ปุ่นเท่านั้น ในบั้นปลายชีวิต Bertini ได้มาเป็นวาทยากรประจำ Tokyo Metropolitan Orchestra ซึ่งก็ได้ร่วมกันบันทึกเสียงงานของ Mahler ชิ้นเยี่ยมอยู่จำนวนหนึ่งก่อนที่ Bertini จะเสียชีวิตในต้นปี 2005 นี้เอง

Bernard Haitink (1929- ) ชาวดัตช์ ยอดวาทยากรแห่ง Concertgebouw Orchestra Amsterdam นอกเหนือจาก Bernstein แล้ว Haitink เป็นอีกผู้หนึ่งที่บันทีกเสียง complete Mahler cycle ร่วมกับ Concertgebouw Orchestra Amsterdam ได้สำเร็จเป็นคนแรกๆ นอกจากนั้นแล้วยังได้บันทึกเสียง Mahler cycle ร่วมกับ Berlin Philharmonic เกือบสำเร็จเป็นครั้งที่สอง Haitink มีสไตล์การอำนวยเพลงที่ค่อนข้างระมัดระวัง ไม่โลดโผนจนเกินไป จนทำให้มีหลายคนค่อนขอดว่าการอำนวยเพลงของ Haitink ขาดพลังและอารมณ์ และค่อนข้างน่าเบื่อ Haitink ก็ได้แก้คำครหานี้ใน live recordings Christmas concert ของเขา (ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น cycle ที่สาม) ซึ่งเต็มไปด้วยพลังและอารมณ์ที่ขาดหายไปใน studio recording

(เดี๋ยวมาเขียนต่อ)
Claudio Abbado (1933- ) ชาวอิตาลี

Seiji Ozawa (1935-) ชาวญี่ปุ่น

Eliahu Inbal (1936-) ชาวอิสราเอล

Zubin Mehta (1936-) ชาวอินเดีย

Leif Segerstam (1944-) ชาวฟินแลนด์

Michael Tilson Thomas (1944-) ชาวอเมริกัน

Riccardo Chailly (1953- ) ชาวอิตาลี

Sir Simon Rattle (1955- ) ชาวอังกฤษ


Create Date : 30 กันยายน 2548
Last Update : 20 กรกฎาคม 2550 4:39:06 น. 2 comments
Counter : 972 Pageviews.

 
อิอิ เข้ามาดูอะจะ แต่คงไม่รู้เรื่องอะ


โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 30 กันยายน 2548 เวลา:14:06:48 น.  

 
พูดถึง Mahler ต้องมีคนนี้ด้วยสิครับ



โดย: Genzo วันที่: 13 มกราคม 2551 เวลา:23:20:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

<โหน่ง>
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Hello, I'm William Shatner and I'm a shaman.
Friends' blogs
[Add <โหน่ง>'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.