ต้นไม้ดูดสารพิษ


ดร. บี ซี วูฟเวอร์ตัน (Dr. B.C. Wolverton) นักวิจัยแห่งสถาบันวิจัยอวกาศ องค์การนาซาของอเมริกาได้ทำวิจัยมากว่า 25 ปี ค้นพบประสิทธิภาพ ของการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศของไม้ประดับ ได้เขียนแนะนำไม้ประดับ 50 ชนิด ไว้ในหนังสือ How to grow Fresh Air ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการดูดไอพิษจากอากาศ เช่น ฟอร์มาดิไฮด์ แอมโมเนีย ไซลีน ทูลีน รวมทั้งไอเสียที่เกิดจากมนุษย์ ต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ประดับที่สวยงาม ดูแลรักษาง่าย เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป


ต้นไม้สามารถดูดสารพิษได้อย่างไร
ไม้ประดับเหล่านี้มีความสามารถดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอยู่บนหรือรอบๆ รากของมันซึ่งมีความย่อยสลายโครงสร้างอินทรีย์สารที่ซับซ้อนได้ ใบของต้นไม้ยังสามารถดูดซับสารอินทรีย์ที่เป็นแก๊สและย่อยหรือถ่ายโอนของ เสียไปยังรากเพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์

กระบวนการ “คายน้ำ”ก็เป็นอีกวิธีที่พืชใช้เคลื่อนย้ายสารที่เป็นมลพิษไปยังจุลินทรีย์ ที่อยู่รอบๆรากของมัน กระบวนการคายน้ำต้องใช้กระแสความร้อนทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศในขณะที่ น้ำไหลจากรากขึ้นไปยังส่วนต่างๆ ของพืชอย่างรวดเร็วอากาศจะถูกดึงลงไปสู่ดินรอบๆ ราก ก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจนในอากาศ เมื่อถูกดึงไปอยู่ที่ราก ก๊าซไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนไป โดยจุลินทรีย์เป็นไนเตรทกลายเป็นอาหารของพืชกระบวนการคายน้ำและสังเคราะห์ อาหารได้เองของพืชจำพวกไม้ประดับนี่เองที่ดูดสารพิษ

การตั้งต้นไม้ ไว้ในสำนักงานและบริเวณที่ทำงาน เช่น รอบๆ โต๊ะทำงาน ห้องรับแขก โต๊ะหน้าจอคอมพิวเตอร์ นอกจากจะได้เห็นสีเขียวเย็นตาแล้ว ยังช่วยเพิ่มความสดชื่น และขจัดก๊าซพิษจากมนุษย์และสารพิษจากอุปกรณ์สำนักงาน รวมถึงกำจัดจุลินทรีย์เชื้อโรคต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ และระคายเคืองจากมลภาวะดังกล่าว


ไม้ประดับดูดสารพิษที่นิยมนำมาปลูก คือ หมากเหลือง, จั๋ง, ปาล์มไผ่, ยางอินเดีย, โกสน, ไทรใบเล็ก, พลูด่าง, สาวน้อยประแป้ง, กุหลาบหิน, สนฉัตร, คริสต์มาส, ว่านหางจระเข้, กล้วยไม้สกุลหวาย, เศรษฐีเรือนใน, เขียวหมื่นปี และดอกหน้าวัว เป็นต้น
ข้อมูล เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ และแนวทางให้พวกเราตัดสินใจเลือกปลูก ต้นไม้ประดับที่ดีต่อสุขภาพ นำมาเพาะชำและขยายพันธุ์ ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ ดูแลง่าย อดทน นำมาใส่ขวด ใส่กระถาง ต่อยอดทำเป็นกระเช้าหรือภาชนะสวยๆ ออกจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าได้ยิ่งขึ้น


Ref: คมสัน หุตะแพทย์: ไม้ประดับดูดสารพิษ
//www.balavi.com/content_th/nanasara/Con00047.asp

การปลูก และความสามารถในการดูดสารพิษของไม้ประดับแต่ละชนิด
//www.homedd.com/HomeddWeb/homedd/A_garden/frontweb/GardenTipList.jsp

โครงการทดลองต้นไม้ดูดสารพิษ
//bbw.ac.th/data_bbw/activity/project_science/seicnes/flower/flower.html

ที่มา :
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=is-sa-ra&date=04-09-2010&group=22&gblog=8




Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 6:57:01 น.
Counter : 811 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย