ความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส

        คณะนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดทำแบบสอบถามนี้เพื่อสำรวจ ความพึงพอใจของผู้โดยสารต่อการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส (Passenger Satisfaction with the Provision of BTS) ประกอบการศึกษารายวิชา บธ. 618 การวิจัยเชิงประยุกต์ทางธุรกิจ (BA 618 Applied Business Research) โดยมุ่งหวังที่จะนำข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในรายวิชาดังกล่าว จึงขอความกรุณาจากท่านในการตอบแบบสอบถามต่อไปนี้

แบบสอบถาม: https://docs.google.com/spreadsheet/viewform?formkey=dExxQzZwTzQzd20zVVlub3V6RHZZMWc6MQ




Create Date : 08 เมษายน 2555
Last Update : 8 เมษายน 2555 11:24:55 น.
Counter : 1910 Pageviews.

0 comment
กิจกรรมฝึกการแก้ปัญหา: Saving the Family Business


ชื่อผู้จัดทำ นาย ณรงค์ศักดิ์ อินต๊ะไชยวงค์ รหัสนักศึกษา 7-54-02-0292-1


Saving the Family Business


        บริษัทเพื่อสุขภาพจำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ตั้งอยู่ที่เมืองมิดเดิลทาวน์ ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ มีประชากรประมาณ 20,000 คน ก่อตั้งเมื่อปี 2526 โดยเป็นธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่นอาหาร วิตามิน และยารักษาโรค

        บริษัทเพื่อสุขภาพมีอัตราการขยายตัวทางธุรกิจอย่างรวดเร็วมากมาตลอดระยะเวลา 18 ปี มีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนทำให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจเปิดสาขาที่สอง

        อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากการที่ร้านซูเปอร์มาเก็ตในเมืองได้เริ่มขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออแกนิกในราคาที่ต่ำกว่า และมีร้านขายยาขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสมุนไพรและวิตามินจากธรรมชาติที่ราคาถูกกว่าเช่นเดียวกัน ดังนั้นรายได้และกำไรของบริษัทเพื่อสุขภาพเริ่มลดน้อยลง

        ในปี 2548 บริษัทได้รายงายการลดลงของลูกค้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ จากการสำรวจพบว่า ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากความสะดวกในการเดินทางและมีราคาสินค้าที่ถูกกว่า ในปีนี้บริษัทประสบภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรก

        ในปี 2549 ภาวะการขาดทุนยังเพิ่มมากขึ้นจนบริษัทจำเป็นต้องปิดสาขาที่สอง และทิศทางยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2553

        สมมุติว่าท่านเป็นลูกคนสุดท้องของครอบครัวนี้ โดยทางครอบครัวได้ขอให้ท่านเข้ามาช่วยเหลือ และท่านได้มีความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี ท่านจะสามารถช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ครอบครัวอย่างไร


1. ระบุสาเหตุของความกดดันทางธุรกิจที่สร้างปัญหาให้กับบริษัท
  • เริ่มจากการที่ร้านซูเปอร์มาเก็ตในเมืองได้เริ่มขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออแกนิกในราคาที่ต่ำกว่า และมีร้านขายยาขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสมุนไพรและวิตามินจากธรรมชาติที่ราคาถูกกว่าเช่นเดียวกัน

  • จากการสำรวจพบว่ากลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่หันไปซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากความสะดวกในการเดินทางและมีราคาสินค้าที่ถูกกว่า

2. แนวทางการแก้ปัญหาจากบุคคล

        เริ่มจากการลดต้นทุน เมื่อต้นทุนลดลง ก็ทำให้ขายได้ในราคาที่ถูกลง และสามารถแข่งขันได้
  • ดูว่าสินค้าประเภทไหนขายดี ติดต่อกับโรงงานผลิตโดยตรงเพื่อต่อรองที่จะซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อได้ราคาที่ถูกลง

  • มองหาผู้ผลิตรายใหม่ๆ ซึ่งส่วนมากจะสามารถต่อรองราคาได้ง่ายกว่า อย่างน้อยถ้าหากไม่สามารถต่อรองราคาได้ก็ลองต่อรองเรื่องค่าขนส่ง หรือแม้แต่ระยะเวลาในการชำระเงิน

  • ดูบิลค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน แล้วดูว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์สำนักงาน

  • กระตุ้นการขาย

  • ดำเนินการโฆษณาตามสื่อต่างๆ

  • จัดโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ซื้อ1แถม1 สะสมยอด หรือลดราคาสินค้าในวันเกิดของลูกค้า

  • จัดทำระบบสมาชิก (Membership) โดยสามารถศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น และทำให้มีข้อมูลสำหรับติดต่อลูกค้าเมื่อมีสินค้าใหม่ๆ หรือโปรโมชั่นต่างๆ เสนอให้ลูกค้าได้

  • เพิ่มความหลากหลายของชนิดของสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้า

  • เพิ่มบู้ตขายอาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัท เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ลองสินค้าไปด้วยในตัว

  • เพิ่มช่องทางในการขายผลิตภัณฑ์ทางอินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่

        จากนั้นจะเน้นพัฒนาด้านการบริการ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ ถึงแม้ราคาจะสูงกว่าคู่แข่งก็ตาม
  • ก่อนการขาย เช่น ให้ความรู้หรือคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้า

  • หลังการขาย เช่น การคืน/เปลี่ยนสินค้า ในกรณีต่างๆ

แหล่งอ้างอิง คุณ พัลลภ พัฒนกุลาคาร ตำแหน่ง Support Group Leader ความสัมพันธ์กับผู้เขียน เพื่อนร่วมงาน



ครอบครัวนี้ควรหันมาให้ความสำคัญกับการขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และการสร้าง Strategic Partnership กับช่องทางใหม่ๆ ด้วย ซึ่งจะลดความเสี่ยงจากการมีช่องทางหลักของตัวเองช่องทางเดียว ซึ่งการหาช่องทางใหม่เหล่านี้อาจจะมีต้นทุน ทำให้รายได้ต่อชิ้นลดลง แต่น่าจะช่วยเรื่องจำนวนยอดขายที่เพิ่มขึ้น และยังช่วยเรื่องการสร้าง Awareness ด้วย และการหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ ก็จะช่วยให้ขายสินค้าได้ง่ายขึ้น ตอบสนองไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ และลดต้นทุนการกระจายสินค้าด้วย ในขณะเดียวกันอาจจะต้องหาทางต่อยอดการพัฒนาสินค้า แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ออกมาให้มากว่าแค่ไลน์ผลิตภัณฑ์หลัก เพื่อให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์

แหล่งอ้างอิง คุณ พิพัฒน์ ศรีมัธยกุล ตำแหน่ง Department Manager ความสัมพันธ์กับผู้เขียน เพื่อน



  • บริษัทจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ควรโดยมองภาวการณ์ในแนวกว้าง และควรมองสภาพแวดล้อมใกล้ตัว เช่น การขาดความเข้มแข็งในชุมชนในเมืองด้วย เป็นต้น

  • ความน่าเชื่อถือในแบรนด์ที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ บริษัทต้องหันกลับมาดูว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะสินค้า หรือเพราะการทำการตลาดยังไม่ดีเท่าที่ควร

  • ควรพิจารณาการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ตรวจสอบราคาสินค้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งตลอดเวลา

  • บริษัทอื่นขายของได้ถูกกว่า อาจจะเพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แล้วเราจะทำแบบนั้นได้ไหม หรือจะลดกำไรส่วนต่างลง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

  • ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทในการขายสินค้ามากขึ้น บริษัทควรมีการกระจายสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าว

  • ควรเปลี่ยนผู้ดูแลร้าน จากคนที่มีความคิดแบบเดิมๆ มาเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งการตลาดแบบเก่าอาจไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาแบ่งเงินทุนส่วนหนึ่งเพื่อนำมาใช้กับการตลาดแบบใหม่

  • ปรับปรุงการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าให้ได้มากที่สุด ยกระดับกลุ่มลูกค้า เละเพิ่มสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่มดังกล่าว

  • ดึงโปรดักหลักๆ ที่มีอยู่มาเป็นตัวกระตุ้นยอดขาย และจัดโปรโมชั่นใหม่อย่างต่อเนื่อง

  • สุดท้ายหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็สามารถพิจารณารวมกิจการกับบริษัทอื่นได้

แหล่งอ้างอิง คุณ พุทธิพงศ์ กุศลทิพย์เจริญ ตำแหน่ง เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ความสัมพันธ์กับผู้เขียน เพื่อนร่วมงาน

3. แนวทางการแก้ปัญหาจากอินเทอร์เน็ต
  • เพิ่มช่องทางการจำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต

  • เพิ่มบริการส่งสินค้าถึงที่บ้าน

  • จัด Package สินค้า ในกลุ่มที่สอดคล้องกัน เพื่อทำ Promotion ขายเป็นเซ็ต

  • ลด Stock สินค้า เพื่อลดต้นทุนการเก็บรักษา และความสูญเสียอันเกิดจากจากสินค้าหมดอายุ

  • จัดทำโปรโมชั่น และทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนักในตราสินค้า (Brand Awareness) แก่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

  • ลดค่าใช้จ่าย (Cost) ต่างๆ ในองค์กร ตามความเหมาะสม

  • หากบริษัทอื่นขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเดียวกันและขายในราคาที่ถูกกว่า แสดงว่าบริษัทนี้ยังได้ Deal จาก Supplier มาไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งบริษัทควรเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่ดีกว่ากับ Supplier นั้นๆ แต่ถ้าจำหน่ายสินค้าคนละยี่ห้อ ให้วางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของตนใน Segment ต่างๆ ให้ถูกต้อง เช่น หากว่างตำแหน่งสินค้าให้เป็นสินค้าพรีเมียม (Premium Brand) ก็ควรที่จะชูจุดขายว่าทำไมผลิตภัณฑ์ของเราถึงดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่นใน Segment ที่รองๆ ลงมา

  • สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน Facebook หรือ Twitter เพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ และบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)

แหล่งอ้างอิง URL: //www.pantip.com/cafe/silom/topic/B11107987/B11107987.html

4. แนวทางการแก้ปัญหาจากเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน หรือนำมาประยุกต์ใช้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน (บริษัท โอสถสภา จำกัด)

        นายแป๊ะ เป็นผู้ริเริ่มนำเข้ายากฤษณากลั่นซึ่งเป็นยาตำรับโบราณขนานแท้จากประเทศจีนเข้ามาในประเทศไทย ผลิตขายเป็นล่ำเป็นสัน ใช้ชื่อว่ายากฤษณากลั่นตรากิเลน จากนั้นก็นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้ในกิจการเสือป่า ปรากฏว่ายาขนานนี้มีสรรพคุณในการบำบัดรักษาอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงได้พระราชทานเข็มเสือป่าเป็นรางวัล และทรงเขียนแนะนำให้ใช้ยากฤษณากลั่น ในพระราชนิพนธ์กันป่วย ยิ่งกว่านั้นในปี 2456 ยังได้พระราชทานนามสกุล โอสถานุเคราะห์ ให้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลอีกด้วย

        ตรากิเลน เป็นเครื่องหมายการค้าที่นายแป๊ะเลือกใช้ เนื่องจากชาวจีนเชื่อกันว่าตัวกิเลนเป็นสัตว์ที่มาจากสวรรค์มักจะมาปรากฏตัวให้เห็นในปีที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อผนวกกับสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ และคัมภีร์ตำราพิชัยสงคราม ยิ่งทำให้เครื่องหมายการค้า ดูศักดิ์สิทธิ์ และน่าเชื่อถือ

        เมื่อนายแป๊ะ โอสถานุเคราะห์ ถึงแก่กรรม นายสวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์ บุตรชาย ได้สืบช่วงบริหารกิจการแทน โดยอาศัยพื้นความรู้ทันสมัยที่ได้รับการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบกับประสบการณ์ที่เคยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของบิดา ทำให้นายสวัสดิ์สามารถสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด ได้อย่างมั่นคงตลอดมา

        โดยในระยะแรกมีผู้ร่วมงานเพียง 4-5 คน ผลิตและขายยากฤษณากลั่นเป็นหลัก ต่อมาได้ย้ายร้านขายยาจากสำเพ็ง มาตั้งที่ถนนเจริญกรุง ใกล้สี่แยกเอส.เอ.บี. พร้อมกับเปลี่ยนชื่อให้สมกับกิจการที่ใหญ่โตขึ้นว่า โอสถสถานเต็กเฮงหยู ในปี พ.ศ. 2475 มีการเพิ่มตัวสินค้า อาทิ ยาธาตุ 4 ยาแก้ไอ ยาระบาย ยาอมโบตัน ยาทันใจ ยาหอมชนะลม ล้วนได้รับความนิยมเป็นที่เชื่อถือของผู้บริโภคยืนยาวตราบจนกระทั่งปัจจุบัน

        นายสวัสดิ์ได้เริ่มนำระบบบริหารการตลาดสมัยใหม่เข้ามาใช้ เนื่องจากการทำธุรกิจของคนไทย หรือคนจีนสมัยนั้น ไม่มีระบบอะไรทั้งสิ้น ยกเว้นพวกฝรั่งที่ทำธุรกิจในแผ่นดินสยาม โดยใช้วิธีตั้งกลุ่มทำงานแยกเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ดำเนินยุทธวิธีการตลาดแบบใหม่ มีการนำหนังเร่ขายยามาใช้ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับร้านค้า และปลูกความนิยมในหมู่ผู้บริโภค นอกจากนั้นยังได้ริเริ่มใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง

        กิจการของบริษัทฯ เริ่มมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้นตามลำดับ โดยมีคุณหญิงล้อม โอสถานุเคราะห์ ภรรยานายสวัสดิ์เป็นกำลังสำคัญในการวางโครงการเพื่อการขยายตัวทางธุรกิจไว้ล่วงหน้า เนื่องจากคุณหญิงล้อมนั้นมีความรู้ความสามารถทางการเงินเป็นอย่างดี เพราะเป็นหลานสาวที่คอยช่วยงานคุณย่าพุ่ม เธียร

        ประสิทธิ์ เศรษฐีนีใหญ่ของวัดเกาะ ทำธุรกิจค้าขายที่ดินและปล่อยกู้ กิจการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนต้องเพิ่มกำลังการผลิต ดังนั้นในปี 2492 จึงย้ายแผนกผลิตไปอยู่ที่โรงงานในซอยหลังสวน โดยเริ่มนำเครื่องจักรกลการผลิตที่ทันสมัยมาใช้ และได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด ด้วยความพากเพียรในการฟันฝ่าอุปสรรคทางธุรกิจ และความดีงามที่ได้สร้างสมในการสาธารณประโยชน์ต่างๆ นายสวัสดิ์และพนักงานโอสถสภาทุกคนจึงได้รับความรู้สึกปลาบปลื้มที่สุดในชีวิต เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานครุฑตราตั้งให้แก่บริษัทฯ ในวันที่ 13 ตุลาคม 2502

        พ.ศ.2517 จึงได้รวบรวมกิจการทั้งหมดของ บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด มาอยู่ด้วยกัน โดยย้ายสำนักงานจากถนนเจริญกรุง และฝ่ายผลิตจากซอยหลังสวนมาลงหลักปักฐานที่มั่นคง ณ สำนักงานใหญ่ ถนนรามคำแหง พร้อมให้นโยบายที่ถือเป็นหลักปฏิบัติสืบต่อกันเรื่อยมาว่า "เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าตนเอง คิดถึงน้ำใจของคนอื่นมากกว่าเงินตรา มีความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพ รักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของธุรกิจ" สวัสดิ์ โอสถานุเคราะห์

        จากนั้นก็เปิดโอกาสให้ทายาทรุ่นที่ 2 คือบุตรของนายสวัสดิ์ ได้แก่ สุวิทย์ สุรัตน์ สุรินทร์ และเสรี หมุนเวียนกันมาเป็นกรรมการจัดการของบริษัทฯ คนละ 3 ปี โดยที่มีนายสวัสดิ์คอยดูแลฝึกฝนวิธีการบริหารและการตลาด ส่วนคุณล้อมบริหารด้านการเงินและซื้อขายที่ดิน ซึ่งทำให้ต่อมาบริษัทฯ สามารถขยายกิจการเข้าสู่วงการพัฒนาที่ดิน นอกจากนั้นยังได้ขยายไปยังธุรกิจการเงิน การตลาด วิทยาลัย อุตสาหกรรม ตามความถนัดของลูกแต่ละคน จนต้องนำบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยบริหารงานจนกระทั่งเข้าสู่ยุคทายาทรุ่นที่ 3

        ในปัจจุบันโครงสร้างการตลาด แบ่งออกเป็น
  1. สินค้าประเภทยา โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม

    • จำหน่ายผ่านร้านขายยาทั่วไป ได้แก่ ยาทัมใจ ยาแก้ปวดไข้ PARACET กลุ่มยาโอสถสภา เช่น กฤษณา กลั่น ยาธาตุ 4 ยาอมโบตัน วัน-วัน ฯลฯ

    • จำหน่ายผ่านโรงพยาบาลและคลินิก ได้แก่ ยาที่มีประสิทธิภาพสูงของบริษัท GREEN CROSS จาก ประเทศญี่ปุ่น อาหารเสริมสุขภาพ เช่น BANNER PROTEIN จากสหรัฐอเมริกา PROVITA จาก 3 เอ็ม

  2. สินค้าประเภทเครื่องดื่ม ได้แก่ ลิโพวิตันดี ฉลามขาว M-100 M-150
  3. สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เบบี้มายด์ นมผงสโนว์ แป้งเย็นฮูลาฮูล่า 12 พลัส ผ้าอนามัยโซฟี

        โดยมีผลิตภัณฑ์ด้านเครื่องดื่มบำรุงกำลัง ทำรายได้ในสัดส่วน 65% ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวและสินค้าอุปโภคบริโภค ทำสัดส่วนรายได้ 25% ที่เหลือเป็นธุรกิจด้านยา สำหรับแนวทางการตลาดของโอสถสภาตั้งแต่ปี 2544 จะมีการปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่ โดยจะมุ่งไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

แนวทางการแก้ปัญหาจากเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกัน

  1. นำระบบบริหารการตลาดสมัยใหม่เข้ามาใช้ เนื่องจากการทำธุรกิจของคนไทย หรือคนจีนสมัยนั้น ไม่มีระบบอะไรทั้งสิ้น ยกเว้นพวกฝรั่งที่ทำธุรกิจในแผ่นดินสยาม

  2. ใช้วิธีตั้งกลุ่มทำงานแยกเป็นฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ดำเนินยุทธวิธีการตลาดแบบใหม่

  3. มีการนำหนังเร่ขายยามาใช้ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับร้านค้า และปลูกความนิยมในหมู่ผู้บริโภค

  4. ริเริ่มใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวาง

  5. วางโครงการเพื่อการขยายตัวทางธุรกิจไว้ล่วงหน้า

  6. นำเครื่องจักรกลการผลิตที่ทันสมัยมาใช้

  7. ปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่ โดยจะมุ่งไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก

แนวทางการแก้ปัญหาจากเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจใกล้เคียงกันที่นำมาประยุกต์ใช้
  1. นำระบบบริหารการตลาดสมัยใหม่เข้ามาใช้ เช่น การจำหน่ายสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์

  2. มีการกำหนดกลุ่มฟังชั่นงานให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดกลยุทธ์ เช่น กลุ่มงานด้านการผลิต กลุ่มงานด้านการขาย โดยให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินงานในกลุ่มฟังชั่นงานที่เหมาะสมกับความสามารถ หรือเหมาะกับทักษะที่มี

  3. จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ Supplier และลูกค้า

  4. ริเริ่มใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงลูกค้าให้กว้างขวางขึ้นจากปัจจุบัน

  5. วางโครงการเพื่อหยุดภาวะขาดทุน เพื่อให้สามารถพลิกกลับมาเป็นการขยายตัวทางธุรกิจให้ได้ไว้ล่วงหน้า

  6. ปรับปรุงหรือพัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด

  7. ปรับกลยุทธ์การทำธุรกิจใหม่ โดยจะมุ่งไปยังการจำหน่ายสินค้าทางระบบออนไลน์เป็นหลัก

แหล่งอ้างอิง URL: //www.osotspa.co.th

5. รายงานสรุป

ลักษณะพื้นฐานของธุรกิจ

        บริษัท เพื่อสุขภาพ จำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ตั้งอยู่ที่เมืองมิดเดิลทาวน์ ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ มีประชากรประมาณ 20,000 คน ก่อตั้งเมื่อปี 2526 โดยเป็นธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เช่นอาหาร วิตามิน และยารักษาโรค

        บริษัทดังกล่าวมีอัตราการขยายตัวทางธุรกิจอย่างรวดเร็วมากมาตลอดระยะเวลา 18 ปี มีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถเปิดสาขาที่สองได้

        อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 จนกระทั่งปี 2553 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับบริษัท ทำให้บริษัทประสบภาวะการขาดทุนจนต้องปิดสาขาที่สอง และทิศทางยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาที่เกิดขึ้น
  • ในปี 2544 มีร้านซูเปอร์มาเก็ตในเมืองได้เริ่มขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออแกนิกในราคาที่ต่ำกว่า และมีร้านขายยาขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสมุนไพรและวิตามินจากธรรมชาติที่ราคาถูกกว่าเช่นเดียวกัน

  • รายได้และกำไรของบริษัทเพื่อสุขภาพเริ่มลดน้อยลง

  • ในปี 2548 บริษัทมีลูกค้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่

  • ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต เนื่องจากความสะดวกในการเดินทางและมีราคาสินค้าที่ถูกกว่า

  • บริษัทประสบภาวะขาดทุนเป็นครั้งแรก ในปี 2548

  • ในปี 2549 บริษัทจำเป็นต้องปิดสาขาที่สอง เนื่องจากภาวการณ์ขาดทุนยังเพิ่มมากขึ้นจน

  • ทิศทางของบริษัทยังคงแย่ลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปี 2553

แนวทางการแก้ไข

  • ดูว่าสินค้าประเภทไหนขายดี ติดต่อกับโรงงานผลิตโดยตรงเพื่อต่อรองที่จะซื้อเป็นจำนวนมาก เพื่อได้ราคาที่ถูกลง

  • มองหาผู้ผลิตรายใหม่ๆ ซึ่งส่วนมากจะสามารถต่อรองราคาได้ง่ายกว่า อย่างน้อยถ้าหากไม่สามารถต่อรองราคาได้ก็ลองต่อรองเรื่องค่าขนส่ง หรือแม้แต่ระยะเวลาในการชำระเงิน

  • ดูบิลค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน แล้วดูว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์สำนักงาน

  • กระตุ้นการขาย และดำเนินการโฆษณาตามสื่อต่างๆ

  • จัดโปรโมชั่นต่างๆ เช่น ซื้อ1แถม1 สะสมยอด หรือลดราคาสินค้าในวันเกิดของลูกค้า

  • จัดทำระบบสมาชิก (Membership) โดยสามารถศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น และทำให้มีข้อมูลสำหรับติดต่อลูกค้าเมื่อมีสินค้าใหม่ๆ หรือโปรโมชั่นต่างๆ เสนอให้ลูกค้าได้

  • เพิ่มความหลากหลายของชนิดของสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้า

  • เพิ่มบู้ตขายอาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของทางบริษัท เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ลองสินค้าไปด้วยในตัว

  • เพิ่มช่องทางในการขายผลิตภัณฑ์ทางอินเทอร์เน็ตสำหรับลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่

  • ควรพิจารณาการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ตรวจสอบราคาสินค้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งตลอดเวลา

  • ควรเปลี่ยนผู้ดูแลร้าน จากคนที่มีความคิดแบบเดิมๆ มาเป็นคนรุ่นใหม่ ซึ่งการตลาดแบบเก่าอาจไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาแบ่งเงินทุนส่วนหนึ่งเพื่อนำมาใช้กับการตลาดแบบใหม่

  • ปรับปรุงการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าให้ได้มากที่สุด ยกระดับกลุ่มลูกค้า เละเพิ่มสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่มดังกล่าว

  • ดึงผลิตภัณฑ์หลักๆ ที่มีอยู่มาเป็นตัวกระตุ้นยอดขาย และจัดโปรโมชั่นใหม่อย่างต่อเนื่อง

  • เพิ่มบริการส่งสินค้าถึงที่บ้าน

  • จัด Package สินค้า ในกลุ่มที่สอดคล้องกัน เพื่อทำ Promotion ขายเป็นเซ็ต

  • ลด Stock สินค้า เพื่อลดต้นทุนการเก็บรักษา และความสูญเสียอันเกิดจากจากสินค้าหมดอายุ

  • สร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่าน Facebook หรือ Twitter เพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ และบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)

        กล่าวโดยสรุป บริษัทจะเลือกใช้วิธีการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ โดยมีการสื่อสารทางการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าดำเนินการในระยะแรกนี้ให้ถูกที่สุด

งบประมาณ

        เนื่องจากปัจจุบันบริษัทประสบภาวการณ์ขาดทุน ทำให้มีงบประมาณในการดำเนินงานที่จำกัด การจัดทำงบประมาณในการดำเนินการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์จึงเลือกใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของการประหยัดสุดสุด

        ——————————————————————————————————————————
                                รายการ                                                                งบประมาณ (บาท)
        ——————————————————————————————————————————
            1. ค่าบริการเปิดร้านค้าออนไลน์                                                                0
            2. ค่าใช้จ่ายสำหรับการสื่อสารทางการตลาดผ่านระบบออนไลน์                        0
        ——————————————————————————————————————————
                                  รวม                                                                              0
        ——————————————————————————————————————————

สมมุติฐานในการดำเนินการครั้งนี้ (ที่จะทำให้การแก้ปัญหานี้สำเร็จ)

  • แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เสนอ ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัว ในการนำไปปฏิบัติเป็นอย่างดี

  • การลดราคาสินค้าลงสามารถทำได้จริง โดยมีสมมุติฐานว่าปัจจุบันนี้บริษัทมีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำ โดยการลดราคาสินค้าลง ส่งผลให้บริษัทมีอัตราส่วนกำไรลดลงเท่านั้น

  • การจำหน่ายสินค้าผ่านทางระบบออนไลน์ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มคนรุ่นใหม่

  • การทำการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ



Create Date : 26 กันยายน 2554
Last Update : 8 เมษายน 2555 11:22:45 น.
Counter : 552 Pageviews.

0 comment

intachaiwong
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]