The zoo in my home Blog by INMARINE.

การเลือกซื้อลูกนก

อ่านหนังสือ หน้าเวบ กันไปหลายรอบ จนตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่าต้องการนกชนิดไหน หรือกลุ่มไหนก็ถึงเวลาไปเดินหาซื้อนกกันละครับ พอถึงตอนนี้ ก็มีขั้นตอนเหมือนกันนะครับ

1. เลือกร้านค้าที่สะอาด มีการจัดการที่ดี ผู้ขายมีอัธยาศัยดี เพื่อว่านกที่ซื้อไปมีโอกาสติดเชื้อน้อยลง สามารถสอบถามราคาได้อย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องข้อมูลการเลี้ยง ดูนั้นอาจไม่แม่นยำนัก เพราะผู้ขายเกือบทั้งหมดไม่ใช่ผู้ที่เพาะเลี้ยงเอง
2. สังเกตดูนกในระยะห่าง ( ประมาณ 3 – 4 เมตร ) ดูว่านกทำขนฟู เอาหัวซุกปีกหรือไม่ มีปฏิกริยาตอบโต้หรือไม่เมื่อมีนกตัวอื่น ๆ เข้ามาใกล้ พึงหลีกเลี้ยงการซื้อนกที่มีท่าทางหงอยเหวา ขนพอง เอาแต่หลับทั้งวัน ( นกปากขอส่วนใหญ่ มีนิสัยชอบหลับช่วงบ่าย แต่ขนจะไม่พอง ไม่เอาหัวซุกใต้ปีก )
3. เข้าไปดูในระยะใกล้ ๆ ดูความสมบูรณ์ของส่วนต่าง ๆ ของตัวนก เช่น จงอยปาก ตาทั้งสองข้าง ขน นิ้วเท้า ขนรอบ ๆ ก้น ถ้าหากมีอาการผิดปกติเช่นตาเจ็บหรือเปลือกตาบวม จงอยปากเสียรูป หรือบิดเบี้ยง ขนบางส่วนขาดหายไป นิ้วเท้ามีไม่ครบ หรือผิดตำแหน่ง ขนรอบ ๆ ก้นมีร่องรอยของคราบสกปรก ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน ในกรณีที่เป็นนกที่นำเข้าและเกิดจากการเพาะเลี้ยง จะมีห่วงขาสวมอยู่ ที่บนห่วงจะมีหลายเลขประจำตัวนก ปีกเกิด ชื่อยอขอฟาร์มอยู่ด้วย ไม่ควรเลือกนกที่มีอายุมาก ในกรณีที่ไม่มีห่วงขา ให้สังเกตดูที่ตา จงอยปาก ขา และเล็บ นกที่มีอายุน้อยจะมีส่วนที่ตาดำมากกว่า ตาขาว จงอยปากมีผิวที่เรียบ สนิท ( ยกเว้นในรายที่มีการเจ็บป่วยตอนเล็ก ๆ การเจริญเติบโตอาจจะหยุดชงักไปช่วงหนึ่ง ร่องรอยเหล่านั้นจะปรากฎอยู่บนจงอยปาก ) เล็บเท้าสีจะอ่อนกว่ามีขนาดความยาวพอเหมาะ นิ้วเท้าและหน้าแข้งไม่ค่อยมีริ้วรอยหยาบกร้าน อุ้งเท้ามีส่วนที่อูมและส่วนที่เป็นร่องชัดเจน นกที่มีอายุมากหรือนกที่ต้องเกาะอยู่แต่บนคอนขนาดเล็ก และลื่นจะมีฝ่าเท้าที่ด้าน และ เรียบ
4. เมื่อตกลงใจที่จะซื้อตัวไหนแล้ว ก่อนชำระเงินควรมีการตกลงกับผู้ขายก่อนว่า ขอให้ผู้ขายจับนกและแสดงให้ดูว่าขนปีกทั้งสองข้างและขนหางอยู่ในสภาพปกติ ในกรณีที่นกปากขอมีขนที่หลุดหายไปจากการขนส่งหรือจิกตีกันกับนกตัวอื่น ๆ ขนจะหายไปหนึ่งหรือสองเส้น ส่วนขนที่เหลือข้างเคียงจะอยู่ในสภาพปกติ ในกรณีที่ขนหายไปเป็นแถบ ๆ และส่วนที่เหลือข้างเคียงมีขนาดเล็กหรือสั้นผิดปกติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็น โรค ( French Malt ) ซึ่งไม่ได้เป็นกันเฉพาะนกหงส์หยกอย่างเดียวเท่านั้น มีนกปากขอขนาดเล็กและขนาดกลางหลายชนิดที่เป็นโรคนี้ ได้ ในกรณีที่เป็นนกปากขอขนาดใหญ่ เช่น นกกระตั้ว หากมีขนหายไปเช่นนั้น ขนส่วนที่เหลือข้างเคียงมีลักษณะแคระแกรนเปรียบได้กับการเพาะถั่วงอกที่ขาดน้ำ รวมทั้งจงอยปากที่มีบางส่วนกร่อนหายไปหรือจงอยปากดูดี แต่ผิวดำเป็นมันแวววาว ขอให้ยุติการซื้อหานกไว้ได้เลยครับ เพราะนั่นเป็นอาการของโรค PBFD ( Psittacine Beak and Feather Diseases ) ในระยะที่รุนแรงมากแล้ว โรคนี้จะเกิดจากเชื้อไวรัส ยังไม่มีวิธีการรักษา ไม่เป็นอันตรายต่อคน แต่อาจจะแพร่กระจายผ่านคนที่สัมผัสนกตันั้นไปยังนกตัวอื่น ๆ ได้ ระยะที่ได้รับเชื้อจนกระทั่งแสดงอาการอาจจะกิเวลาตั้งแต่ สามเดือน ขึ้นไป สามารถตรวจสอบได้โดยเจาะเลือดเพื่อหาภูมิต้านทาน มีบางตัวเหมือนกันที่ได้รับเชื้อแล้ว แต่ไม่แสดงอาการออกมาเลย ลักษณะของโรคนอกจากมีความผิดปกติของจงอยปาก และขนแล้ว จะสังเกตได้ว่า นกจะไม่มีผงฝุ่นไขมันเคลือบอยู่บนขนเลย ถ้ามีเมื่อเอามือลูบจะมีผงคล้ายผงชอล็คติดมือ และผงนี้จะเกาะอยู่ที่จงอยปากของนกตลอดเวลา ทำให้เป็นสีดำด้าน ๆ เหมือนกระดานดำที่ลบไม่สะอาดนะครับ
5. ในการนำนกกลับบ้าน ควรใช้กรงเหล็กหรือกล่องไม้ที่มีความหนาพอเหมาะอาจเป็นกรงที่เตรียมไปหรือหาซื้อจากร้านค้า

ข้อผิดพลาดในการซื้อหานกหลายอย่างเท่าที่พอจะทราบ มีดังนี้

1. การซื้อนกที่ยังไม่มีความชำนาญในการแยกเพศ แล้วไปบอกกับคนขายว่าจะเอาเพศเมีย ถ้าเป็นนกที่มีอยู่ตัวเดียวในร้าน โอกาสที่คนขายจะจับนกนั้นมาคลำ ๆ ดู แล้ว บอกว่าเป็นเพศเมียนั้นสูงมากครับ ยกเว้นว่าเป็นขาประจำซื้อหากันมานาน
2. นกบินไม่ได้ เนื่อง จาก ผู้ขาย นั้น จะใส่ ภายในกรงขนาด ๆ เล็ก หรือ เรียกว่า กรงโชว์ ทำให้ไม่ทราบ หรือไม่รู้ได้เลยว่า นกนั้น บินได้ หรือไม่ กรณีนี้ หลาย ๆ ท่าน โดน มาแล้ว เนื่อง จากซื้อมาแล้ว มาใส่ กรงใหญ่ ๆ ที่บ้าน แล้ว เกิดอาการ ไม่ยอมบิน เสมือนโรค French Malt เวลาอยู่ในกรงเล็ก ๆ จะกระโด ไปมา เกาะคอนโดยใช้ปาก แต่ พออยู่กรงใหญ่ กลับ บินไม่ได้




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550   
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 23:41:04 น.   
Counter : 1159 Pageviews.  

การป้อนอาหารลูกนก

คำแนะนำในการป้อนอาหาร
1. อุณหภูมิของอาหารที่ใช้ป้อนลูกนก หากเป็นอาหารสำเร็จรูป ควรมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 37.7 – 43.3 องศา C ( 100 – 110 องศา F )
2. ผสมอาหารตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ และเพียงพอต่อการใช้ในแต่ละมื้อ ปัญหาที่มักจะพบคือในกรณีที่ซื้ออาหารที่แบ่งขายเป็นถุง ๆ ขอให้สอบถามเรื่องอัตราส่วนผสมที่ชัดเจนด้วย ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ละยี่ห้อ
3. หากเป็นผลไม้ ใช้ช้อนขูด ๆ ให้นกกินทีละน้อย ควรใช้ผลไม้ที่ใหม่สดอยู่เสมอ
4. ความถี่ ในการป้อนอาหาร
แรกเกิด ให้ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ( 9 – 10 ครั้ง ต่อ วัน )
เมื่อถึงวันที่ 8 ให้ทุก ๆ 3.5 – 4 ชั่วโมง ( 5 – 6 ครั้ง ต่อ วัน )
เมื่อถึงวันที่ 14 ให้ทุก ๆ 5 ชม. ( 4 ครั้ง ต่อวัน )
เมื่อถึงวันที่ 24 – 30 ให้ทุก 8 ชม. ( 3 ครั้ง ต่อวัน )
เมื่อถึงช่วงที่น้ำหนักตัวของลูกนกขึ้นถึงจุดสูงสุด 2 ครั้งต่อวัน

หมายเหตุ : น้ำหนัก นกต้องขึ้นทุกวัน เพียงแต่ว่า จะขึ้นมากหรือน้อย เท่านั้น จะไม่มีการลดลง
การป้อนอาหารนกมีเรื่องที่พึงต้องระมัดระวังคือ การรักษาความสะอาด ทำบันทึกการให้อาหารและน้ำหนักตัวของลูกนก ใช้อุปกรณ์ในการป้อน และชนิดของอาหารที่เหมาะสม ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น จะแสดงออกดังนี้คือ
1. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือลดลง
2. อาหารที่ป้อนใช้เวลานานมากกวาจะย่อยหมดไปจากกระเพาะ
3. ปฏิกริยาตอบสนองต่อการป้อนอาหารต่ำมาก

การที่ลูกนกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยมาก หรือลดลง อาจจะมีสาเหตุดังนี้
1. นกได้รับอาหารในปริมาณที่น้อยเกินไป การป้อนไม่จำเป็นต้องรอจนอาหารในกระเพาะหมดเกลี้ยงแล้วถึงเริ่มป้อนมื้อต่อไป ในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง จะมีช่วงที่กระเพาะของลูกนกว่างเปล่าคือ ตอนเช้า
2. ชนิดของอาหารไม่เหมาะสมกับพันธุ์ของนกนั้น ๆ พวกลูกนกแก้วขนาดใหญ่เช่น กระตั้ว มาร์คอ ต้องการอาหารที่มีปริมาณไขมันที่สูงกว่า นกชนิดอื่น ๆ
3. อุณหภูมิในการเลี้ยงดูลูกนกไม่เหมาะสม หากต่ำกว่าที่ควร ระบบการย่อยอาหารจะทำงานล่าช้าลงมาก
- ลูกนกแรกเกิดควรได้รับความอบอุ่นที่อุณหภูมิ 36.6 องศา C
- เมื่ออายุ 5 – 12 วัน อุณหภูมิ 35 – 31.6 องศา C
- เมื่ออายุ 12 วัน ถึงระยะขนขึ้น เป็น ขนหนาม อุณหภูมิ 31 – 28 องศา C
- เมื่อมีขนคลุมเกือบทั่วทั้งตัว อุณหภูมิ 26.5 องศา C

4. อุณหภูมิของอาหารที่ไม่เหมาะสม หากสูงเกินไป ความร้อนของอาหารจะลวกเนื้อเยื้อที่บุกกระเพาะจนกลายเป็นเนื้อตาย หากต่ำกว่า ไป การย่อยจะช้ามาก จนกระทั่งเกิดการบูดเน่าอยู่ภายในกระเพาะอาหาร
5. ความเครียดจากสภาพแวดล้อม
6. เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยได้ แก่ เชื้อซาลโมเนลล่า ซึ่งทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ส่วนเชื้อรา ได้แก่ พวกแคนดิด้า อัลบิแคน มักพบในช่องปาก และผนังของเยื่อบุกระเพาะอาหาร
7. การสำลักอาหารหากไม่มากนัก ลูกนกจะแสดงอาการไอ และจามเพื่อขับเอาอาหารที่สำลักออกมาประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมง แล้วจะค่อยทุเลาลง ในกรณีที่มีอาหารเข้าไปในหลอดลม เป็นจำนวนมาก จะหายใจลำบาก เกิดการติดเชื้อในปอด หรือ อาจตายอย่างเฉพียงพลัน เพื่อหลีกเลี้ยงกรณีดังกล่าว การป้อนอาหารจึงควรกระทำอย่างช้า ๆ และด้วยความระมัดระวัง
8. กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากอาหารที่ไม่เหมาะสมกับลูกนก อาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารระยะเวลานานเกินไป จนทำให้เกิดการหมัก ลูกนกจะแสดงอาการขย้อนอาหารนั้นออกมา การแก้ไขโดยใช้ยา Kaopectate จนอาการดีขึ้น จึงกลับมาป้อนอาหารตามปกติ

วิธีการเลือกซื้อนก
1. ขนาดของตัวนก วัดกันเป็นเซนติเมตร ในท่าที่ตัวนกเหยียดยาววัดจากปลายจงอยปากถึงปลายหางเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่มีอยู่เหมาะสมกันหรือไม่ สามารถขยายกรงในภายหลังได้หรือไม่ จำนวนนกสูงสุดที่จะเลี้ยงได้มีประมาณกี่ตัว มีนกหลายชนิดที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกันมากทั้งเพศผู้และเพศเมีย หากไม่สามารถแยกเพศโดยวิธีผ่าตัดเพื่อส่องกล้องดูรังไข่หรือการตรวจหาดีเอ็นเอ แล้ว การที่จะเพาะเลี้ยงให้ได้ผลควรจะต้องเริ่มต้นกันอย่างน้อย 3 คู่ หรือ 6 ตัว โดยเลี้ยงในกรงขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกจับคู่กันเอง ( ยกเว้นนกปากขอขนาดกลาง และ ใหญ่ )

2. ลักษณะของอาหาร สำหรับนกปากขอแล้วแบ่งออกได้ 3 กลุ่มคือ
2.1 พวกที่กินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก ผักและผลไม้เป็นอาหารเสริม
2.2 พวกที่กินผักและผลไม้เป็นอาหารหลัก เมล็ดพืชไม่มากนัก หรือไม่กินเลย
2.3 พวกที่กินเกสรและน้ำหวานจากดอกไม้ ผลไม้เป็นอาหารหลัก กินเมล็ดพืชน้อยมากหรือไม่กินเลย

และมีหลายชนิดที่กินหนอนและแมลงด้วย ในฤดูผสมพันธุ์ จากความรู้ในข้อนี้จะทำให้คุณทราบว่าควรเลือกนกชนิดใดที่คุณสามารถหาอาหารสะดวกที่สุด ในกรณีที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน นกจะมีสุขภาพดีมีชีวิตที่ยืนยาว ในกรณีที่ต้องการเพาะขยายพันธุ์ นกจะได้รับสารอาหารครบถ้วน ๆ เป็น พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์

3. จำนวนไข่ต่อครอก จำนวนครอกต่อปี ถึงแม้จะเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินแต่เพียงอย่างเดียว ในเวลาไม่นานจะบังเกิดขึ้น ควรมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรกับลูกนกที่ได้ มีพื้นที่พอที่จะขยายกรงหรือไม่ จะจำหน่ายจ่ายแจกให้ใครที่ไหน มิฉะนั้นแล้วก็จะลงเอยด้วยการที่มีกรงหนึ่ง กรงที่มีนกแออัดเต็มไปหมด ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ลูกหลานเลยนโหลน คุณภาพของนกจะลดลงในกรณีที่เลี้ยงแบบกึ่งอาชีพ ข้อดี ของนกที่วางไข่ได้มาก ๆ คือจะได้ทุนบางส่วนคืนเร็วขึ้น ข้อเสีย คือ ราคาจะตกอย่างรวดเร็ว
4. ลักษณะนิสัยของนก มีหลายชนิดที่ก้าวร้าวมาก ต้องเลี้ยงกรงละหนึ่งคู่ เท่านั้น การใส่นกเข้าไปในกรงต้องมีขั้นตอน การที่จะแนะนำให้นกคุ้นเคยกันต้องใช้เวลานานมาก หลายครั้งที่เกิดการไม่ยอมรับกัน ผลที่อาจมีนกที่ถูกจิกตีจนพิการหรือตายได้




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550   
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 23:38:59 น.   
Counter : 12604 Pageviews.  

อาการ Yeast Infection

สืบเนื่องจากโรคที่เผ่งอังเป็น ทำการค้นหาแล้วก็ทำให้ประเมินได้ว่าน่าจะเป็นโรค กระพุ้งอาหารอักเสบ (Yeast Infection) อาการคร่าวๆของโรคนี้นะครับ มักเกิดกับนกคอคคาเทล อาการจะมีฝ้าขาวในปาก อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย อวก รักษาไม่ทันก็อาจตาย สาเหตุเกิดจากการกินอาหารที่มีเชื้อราเข้าไป หรือนกอยู่ในสภาวะที่ไม่สะอาดแล้วสูดดมเชื้อราเข้าไป นกตัวนั้นมีระบบภูมิคุ้มกันโรคอ่อนเพราะนกขาดไวตามินเอ คือไม่ได้ให้นกกินอาหารที่มีไวตามินเอเพียงพอ จึงทำให้นกมีสุขภาพที่เจ็บป่วยง่าย และนกที่ได้รับยา antibiotic จำเป็นที่จะต้องให้หมอจัดยาเพิ่มเติมเพื่อป้องกัน Yeast Infection




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2550   
Last Update : 8 มิถุนายน 2550 23:37:00 น.   
Counter : 616 Pageviews.  

เรื่องของกรองข้าง

การเลี้ยงปลา ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ น้ำที่ใสสะอาดเพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีของปลาที่เราเลี้ยง เราจึงอยากให้น้ำที่ใช้เลี้ยงมีคุณภาพที่ดีนานๆใช่ไหมครับ วันนี้ผมจะกล่าวถึงกรองข้างตู้ กรองที่นิยมใส่ไว้ในตู้ปลา ทำออกมานานมากแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะมีใครเข้าใจหลักการที่เขาสร้างขึ้นมารึเปล่า เอางี้ผมจะลองอธิบายคร่าวๆแล้วกัน

กรองข้าง ใช้พื้นที่สว่นหนึ่งในตู้ปลา กั้นเพื่อสร้างช่องที่ให้น้ำไหลผ่าน ผ่านวัสดุกรองที่เราใส่ไว้ จะทำออกมา 3ชั้นดว้ยกัน
ในชั้นแรกเป็นชั้นที่น้ำไหลเข้าสู่ช่องกรอง ชั้นแรกนี้ เราจะใส่ ใยแก้ว เพื่อกรอง เศษอาหาร ขี้ปลา ตะกอนที่ไหลเข้ามา
ชั้นที่สอง เราจะใส่ ใบโอบอล เพื่อให้น้ำแตกฝอยกระจายเพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจน และใบโอบอลก็จะเป็นส่วนที่มีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ อยู่ ถ้ามีพื้นที่เหลือ ก็ใส่เซรามิก ริง ก็ได้เพื่อเป็นตัวเก็บแบคทีเรีย หลังจากนั้น ก็แผ่นใยกรอง สีดำ อีกทีเพื่อกรองเศษที่ผ่านเข้ามา
ชั้นที่สาม ชั้นนี้เราจะ มีปั๊ม เข้ามาวาง ให้เราเอาปะการังใส่ในช่องนี้ แต่ถ้าไม่มีก็อาจใช้ หินพัมมิส หรือ หินภูเขาไฟใส่ เพื่อให้แบคทีเรีย บำบัดน้ำแล้วปล่อยเข้าสู่ระบบในตู้ปลาต่อไป
โดย ระบบกรองข้างนั้นจะไม่มีน้ำท่วมอยู่ในระบบ เพราะเป็นการกรองแบบ wet/dry ว่ากันด้วยระบบ dry ก่อนแล้วกันครับ ก็คือ สว่นที่แห้งในชั้นสอง ชั้นนี้เราแค่ให้น้ำไหลผ่านเฉยๆ เพื่อให้แบคทีเรียที่ใช้อากาศทำการย่อยสลายตะกอนและเมือกชีวภาพที่ปนมากับน้ำ ส่วนระบบ wet ชั้นนี้เราจะให้น้ำ ขังเอาไว้ ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันปั๊มไหม้ และให้แบคทีเรียที่อาศัย อยู่ในปะการังหรือ วัสดุกรองอื่นย่อยสลายสารแขวนลอยและเมือกชีวภาพ ในชั้นนี้เราอาจเพิ่ม คาร์บอนหรือ ซีโอไร เพื่อดูดกลิ่น หรือแก้น้ำเหลืองที่เกิดในตู้ได้ครับ

ปั๊มที่เหมาะสมกับระบบนะครับ
ตู้ 24 นิ้ว ความแรง 1200 L/h
ตู้ 30-36 นิ้ว ความแรง 1600 L/h
ตู้ใหญ่ ความแรงของปั๊มก็ควรมากขึ้นไม่งั้นจะวนน้ำได้ไม่มีประสิทธิภาพ

วัสดุกรอง ที่น่าสนใจ


Bioballs ในรูปแบบต่างๆ เรามักจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วสำหรับ Bioball ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลากหลายทั้งขนาดและรูปแบบ
ข้อดี
- พื้นที่ผิวจำเพาะค่อนข้างสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตที่แตกต่างกันออกไป ส่วนมากมีค่าอยู่ที่ประมาณ 400-600 ตร.เมตร/ลบ.เมตร ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่สูงในระดับน่าพอใจ
- ถูกออกแบบให้น้ำไหลผ่านและกระจายน้ำสู่ Bioball ลูกข้างเคียงได้ดี
- มีช่องว่างในตัวสูง ในระดับที่ดี (ประมาณ > 90%)
- มีความอยู่ตัวได้ดี ไม่เสียรูปร่างไปโดยง่าย
- มีความคงทนไม่ผุกร่อน
- วัสดุที่ใช้ผลิตมีความคงทนต่อการกัดกร่อน, แสงแดด, ความร้อน, ตลอดจนสารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ในบ่อกรอง
ข้อเสีย
- เนื่องจากช่องว่างระหว่าง Bioball ด้วยกันมีค่อนข้างมาก ในบางครั้งอาจมีการไหลลัดวงจรได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากระบบกรองของคุณเป็นแบบไหลลง
- ถึงแม้จะมีพื้นที่ผิวมากมายให้แบคทีเรียยึดเกาะก็จริงแต่ Bioball ส่วนใหญ่ที่หาซื้อได้ในบ้านเรา มักจะมีพื้นผิวที่ค่อนข้างเรียบและลื่นจนเกินไป ทำให้แบคทีเรียยึดจับและสร้าง Biofilm ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ไม่มีคุณสมบัติในการเป็น pH buffer



ปะการัง นักเลี้ยงปลาคาร์พทุกคน คงจะคุ้นเคยกับปะการัง วัสดุกรองที่ผูกขาดความเป็นวัสดุกรองยอดนิยมมาเป็นเวลายาวนาน จนถึงวันนี้หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป ปะการังกำลังถูกเปรียบเทียบและพบว่าใช่ว่าจะเป็น"วัสดุกรองในอุดมคติ"ตลอดไป เรามาดูข้อดีข้อเสียของวัสดุกรองยอดนิยมนี้กันดีกว่า
ข้อดี
- มีหลายขนาดจึงสามารถจัดเรียงตามลำดับการกรองได้ดี
- ดักจับสารแขวนลอยและเมือกชีวภาพส่วนเกินได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากมีการpacked downที่ดี จึงทำให้น้ำที่ผ่านวัสดุกรองชนิดนี้มีความใสค่อนข้างสูง ถึงแม้ว่าขนาดบ่อกรองจะไม่ใหญ่มากก็ตามที
- เป็นวัสดุที่จมน้ำอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องหาวัสดุใดมาทับไว้เพื่อให้จมน้ำ
- เนื่องจากพื้นที่ผิวค่อนข้างหยาบ แบคทีเรียจึงสามารถยึดเกาะเพื่อสร้าง Biofilm ได้ดีเยี่ยม
ข้อเสีย
- พื้นที่ผิวสัมผัสค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับวัสดุกรองอื่นๆคืออยู่ที่ประมาณ 80ตร.เมตร/ลบ.เมตร
- น้ำหนักค่อนข้างมาก จึงเป็นวัสดุที่ทำงานด้วยค่อนข้างลำบาก เริ่มตั้งแต่การขนย้ายลงสู่บ่อกรองไปจนกระทั่งการล้างบ่อกรอง
- ละลายน้ำได้ ซึ่งส่งผลให้น้ำในบ่อเลี้ยงมีความกระด้างสูงเกินกว่าที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พให้สวยงาม เช่นส่งผลให้ผิวของปลาไม่ขาว
- สวนกระแสอนุรักษ์อย่างรุนแรงเลยทีเดียว
- อนาคตน่าจะถึงทางตัน คือหามาใช้ไม่ได้เข้าสักวัน
- แตกหักได้ง่าย
- อุดตันได้ง่าย
ตู้กรองของผมครับ อันนี้เป็นของตู้ปลาทะเล ครับ



สำหรับ ท่านที่กรองข้างยังน้ำเต็ม ในช่องกรองนะครับ ให้ดูดน้ำ ออกจากตู้ก่อน แล้วเติมน้ำเข้าช่องกรองแทนนะครับได้ตั้งค่ากันถูก แล้วระวังเรื่องน้ำระเหยด้วยนะครับ อันนี้สำคัญ ต้องหมั่นคอยเช็คนะครับ น้ำหมดช่องปีมบึ้มแน่ๆครับ วันนี้แค่นี้ก่อนนะครับ ไว้เอาสาระมาเคลือบกันใหม่




 

Create Date : 07 มิถุนายน 2550   
Last Update : 7 มิถุนายน 2550 23:47:21 น.   
Counter : 36875 Pageviews.  


inmarine
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะครับ
[Add inmarine's blog to your web]