" อำนาจแห่งความว่าง ความว่างแห่งอำนาจ "

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล : ใครเสียสละให้ชาติสงบสุขคือผู้ชนะ
เขียนโดย ไท เมื่อ 13 September, 2008 - 01:30 tags: Politics การเมือง พันธมิตรฯ
เมื่อวันศุกร์ ที่ 12 กย. 2551 เวลา 12.30-16.30 น. ที่ห้องประชุมมหิศร สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก กทม. ธนาคารไทยพานิชย์ได้จัดงานปาฐกถาเกียรติยศชุด " พุทธธรรมนำไทยพ้นวิกฤติ " ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อจ.ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ อดีตผู้นำศึกษายุค 14ตุลาฯ ได้แสดงปาฐกถาเรื่อง " อำนาจแห่งความว่าง ความว่างแห่งอำนาจ " ในงานดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้

00000000000000000000000000000000000000000


สถานการณ์ที่เป็นวิกฤติการเมืองในปัจจุบัน จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังครองตนอยู่ในความนิ่งเงียบ แต่ความเงียบเช่นนี้ แท้จริงแล้วอาจดังกึกก้องเหมือนฟ้าคำราม ใครที่อ่านสัญญาณไม่ออก กระทำผลีผลามย่ามใจ เท่ากับหาทุกข์ใส่ตัว

ท่านพุทธทาสเคยสอนไว้ว่า การเมืองต้องไม่แยกจากธรรมะ และนักการเมืองที่แท้จริงจะต้องเป็นนักการเมืองโพธิสัตว์ หรือนักการเมืองของพระเจ้า มีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น

ใครก็ตามที่นำอัตตาตัวตนขึ้นสู่เวทีอำนาจ ใครก็ตามที่นำผลประโยชน์ส่วนตัวขึ้นสู่เวทีอำนาจ และยืนยันผลประโยชน์ของตนเองเป็นเอก ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศหรือสรรเสริญ ท้ายที่สุดแล้วจะไปไม่รอดทั้งสิ้น

ผู้นำทางการเมืองที่จะนำประเทศชาติและประชาชนไปสู่ความสงบสุขได้ จะต้องเป็นผู้นำที่ยอมเสียสละตนเอง เพื่อรักษาความสงบสุขให้กับสังคมโดยรวม ซึ่งผู้นำทางการเมืองไม่ได้หมายความถึง ผู้ที่มีอำนาจเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ต่อต้านอำนาจด้วย

หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียสละเพื่อให้สังคมหรือประเทศชาติสงบสุข ก็ถือเป็นผู้ชนะได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีอำนาจ ในขณะเดียวกัน หากผู้ที่มีอำนาจอยู่ในมือ ไม่สามารถปกครองให้เกิดความปรองดองได้ ควรเปลี่ยนผู้นำ จนกว่าสังคมจะเกิดการยอมรับอย่างแท้จริงและจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงด้วยการใช้ความรุนแรง

ส่วนการประชุมหรือชุมนุมของคนพวกจิตไม่ว่างนั้น ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด

การต้านอำนาจถือเป็นการแสดงอำนาจชนิดหนึ่ง ใครก็ตามที่คิดจะตั้งศูนย์อำนาจใหม่หรือต่อต้านอำนาจเก่า ควรจะต้องรู้ว่า อำนาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และอิงอาศัยนานาปัจจัย

อำนาจไม่ได้บรรจุอยู่ในอาคารสถานที่ การยึดอำนาจรัฐไม่ได้เกิดจากการยึดตัวอาคาร หากจะต้องยึดครองที่หัวใจคน

ตามหลักรัฐศาสตร์ อำนาจเปลี่ยนมือได้เสมอ ถ้าผู้ปกครองไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้อยู่ใต้การปกครองได้ หรือมีวิกฤติต่อเนื่อง แต่เปลี่ยนแล้วจะดีขึ้นหรือไม่ ยังไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวเสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้นำการเปลี่ยนแปลง ว่ามีปัญญามากน้อยเพียงใด

คนในสังคมเห็นพ้องกันในทิศทางของการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน หากสังคมยังไม่เห็นพ้องต้องกันในทิศทางการเปลี่ยนแปลง การล้มลงของระบอบเก่าหรืออำนาจเก่า ก็รังแต่จะนำไปสู่สภาพกลียุคและอนาธิปไตย




Create Date : 14 กันยายน 2551
Last Update : 14 กันยายน 2551 14:15:57 น. 3 comments
Counter : 182 Pageviews.

 


โดย: yosita_yoyo วันที่: 14 กันยายน 2551 เวลา:14:38:49 น.  

 
วางตัวตนลงก่อน
แล้วเราจะไม่ต้องพูดเลย
ว่าวางอำนาจนั้นทำยังไง


โดย: อัสติสะ วันที่: 15 กันยายน 2551 เวลา:8:11:40 น.  

 


โดย: big-lor วันที่: 15 กันยายน 2551 เวลา:13:48:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nookan
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add nookan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.