โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
HE-177 ไกร์ฟ เครื่องบินทิ้งระเบิดที่ดีที่สุดของนาซี

HE-177 Greif


เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักที่ดีที่สุดของ ลุฟวาฟเฟ่



ไฮน์เกล เอชอี-177 ไกรซ์(กริฟฟ่อน) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักแบบนึงของเยอรมันนาซีที่ออกรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 แทบจะเรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพดีที่สุดและใช้งานอย่างคุ้มที่สุดเท่าที่เยอรมันผลิตออกมาในช่วงต้นสงครามจนจบสงคราม ฟังดูอาจจะมองว่าเวอร์ไปน่ะครับ แต่สเป็คพื้นฐานทั่วไป เอชอี-177 เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด2เครื่องยนต์ ที่มีเครื่องยนต์ให้กำลังมากที่สุด ใช้2เครื่องยนต์แต่มีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดมากกว่าเครื่องบินทิ้งระเบิด4เครื่องยนต์เช่น บี-17จี เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีระยะบินไกลถึง5พันก.ม. แบบแรกในยุคนั้นที่ไม่มีชาติใดทำได้ แน่นอนว่าต้องพบปัญหาสารพัดกว่าจะได้นำตัวที่ดีที่สุด ของ เอชอี-177 ออกมารบนั้นก็ปาเข้าไปช่วงกลางสงครามแล้ว


โครงการ เอชอี-177 เกิดกระทรวงรับผิดชอบพัฒนาอาวุธกองทัพอากาศเยอรมัน-นาซี(อาร์เอ็มแอล)ต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักเข้าประจำการ สามารถบินเข้าไปทิ้งระเบิดที่โรงงานผลิตอาวุธในยูราลของโซเวียตได้ โดยมี2บริษัทสำคัญคือ ดีโอ-19 ของบริษัทดอร์เนียร  จุงเกอร์ จู-89 ของบริษัทจุงเกอร์ ที่ส่งต้นแบบเสนอไปและไม่ผ่านเนื่องจากไม่สามารถทำตามสเป็คที่ต้องการคือ บรรทุกลูกระเบิดขนาด1000ก.ก. ระยะบินไกลสุด5พันก.ม. ความเร็วสูงสุดขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า500ก.ม./ช.ม. มุมบินดิ่งโจมตีเป้าหมายที่40-50องศา แน่นอนว่ากำหนดมาแบบนี้แทบทำเอาไม่มีใครผลิตออกมาได้เพราะเหมือนกับรวมเอาระยะบินของเครื่องบินทิ้งระเบิดมารวมเข้ากับความเร็วของเครื่องบินขับไล่ ซึ่งยุคนั้นนับว่าไม่มีเครื่องบินแบบใดทำได้ นอกจากนั้นในช่วงปลายๆสงครามยังถูกนำไปติดตั้งอาวุธนำวิถีเข้าโจมตีเป้าหมายภาคพื้นเป็นรุ่นแรกๆอีกด้วย


File:Dornier DO-19 V1 in Flight.jpg


File:Junkers JU-89 in flight.jpg


ดอร์เนียน ดู-19 กับ จุงเกอร์ จู-89 คู่แข่งของ เอชอี-177


โครงสร้าง


ในวันที่3มิถุนายน ปี1937 ไฮน์เกลก็สร้างแบบเข้าส่งไปในชื่อ โปรเจ็ค-1041บอมเบอร์-เอ พอถึงพฤศจิกายนปี1937เอชอี-177วี-1ถึง8 จำนวน8เครื่องก็ถูกส่งเข้าประเมินแก่กองทัพอากาศ โดยกองบัญชาการสูงสุดกองทัพอากาศได้ขอให้เพิ่มความแข็งแรงโครงสร้างเพื่อใช้ในภารกิจโจมตีทางทะเล(ดำดิ่งทิ้งระเบิด)เช่นเรือดำน้ำ เรือรบ โดยเอชอี-177 ผ่านประเมินขั้นต่ำทั่วไป มีความเร็วเพิ่มสูงสุดที่550ก.ม./ช.ม. เพดานบินสูง1หมื่น8พันฟุต ซึ่งการบินทดสอบต้นแบบ(เอชอี-177 วี-1)ครั้งแรกเกิดในวันที่19พฤศจิกายน ปี1939ที่เมืองรอสต็อค โดยหัวหน้าวิศกร ดิล.อิงซ์.เลาซ์แนน คาร์ล แฟรงค์เก้ การทดสอบเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ซึ่งผลออกมาว่าเครื่องยนต์มีอุหภูมิสูงมากจึงทำการบินได้12นาที มีความสั่นสะเทือนที่มากอยู่


ภารกิจดำดิ่งทิ้งระเบิดของ เอชอี-177


File:Bundesarchiv Bild 101I-668-7163-14, Flugzeug Heinkel He 177.jpg


เอชอี-177 ขณะทำมุมโฉบเข้าโจมตี


เรื่องนึงคือการนำเครื่องบินทิ้งระเบิดไปทำภารกิจดำดิ่งทิ้งระเบิด(มุมกดหัวลงโฉบโจมตี40-90องศา) นับว่ายากลำบากสำหรับเครื่องบินขนาดใหญ่มาก แต่เยอรมันเล็งเห็นว่าจุดนี้ทำให้มีปัญหาในภารกิจโจมตีทิ้งระเบิดมาก เพราะเครื่องบินทิ้งระเบิดจะทิ้งระเบิดในแนวขนานกับพื้น ซึ่งระเบิดตกลงสู่เป้าหมายไม่มีความแม่นยำทำให้เป้าหมายรวมตัวกันได้ใหม่หรือสร้างความเสียหายให้กับอาวุธหลักเช่น รถถัง ปืนใหญ่ได้น้อยเกินไปและสามารถซ่อมแซมรวมกันต่อต้านได้  ซึ่งเยอรมันต้องการความแม่นยำในภารกิจโจมตีภาคพื้นที่แม่นยำและต่อเนื่องเพื่อเปิดทางทหารบกลุยต่อไป โดยใช้ความสำเร็จของเครื่องบินโจมตี จู-87สตูก้า ที่ทำภารกิจร่วมกับรถถัง ทหารราบอย่างได้ผลในการซ้อมรบหรือแม้ในสเปน  ซึ่งก่อนหน้านี้เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ ดอร์เนียน ดู-17 กับ เอชอี-111 ไม่สามารถตอบสนองได้ชัดเจนเท่าสตูก้า ที่กองทัพอากาศและฝ่ายเสนาธิการชื่นชอบมากกว่า


ในระหว่างตรวจสอบขั้นสุดท้ายของต้นแบบ เอชอี-177 หรือ โปรเจ็ค-1041ในวันที่5พฤศจิกายน ปี1937 สำนักงานตรวจสอบของ เอิรซ์ อูเด็ต ระบุข้อกำหนดใหม่ให้กับบริษัทไฮน์เกิล ว่าต้องทำการบินเข้าโจมตีที่มุมดิ่ง60องศาขึ้นไป ซึ่งทำให้ ไฮน์เกิลแทบถอดใจเพราะ มุมดำดิ่งมากขนาดนั้น การบังคับเครื่องจะทำใด้ยากมาก แถมชิ้นส่วนและโครงสร้างอาจเสียหายหนักจนถึงพังกลางอากาศได้  แม้ตัวโครงสร้างปีกจะทนความเสียหายจากการบินได้สูงแต่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะบรรทุกลูกระเบิดเป็นตัวสร้างปัญหาอย่างมากขณะทดสอบบินโจมตีตอนซ้อมรบ กล้องเล็งทิ้งระเบิดที่ผลิตขึ้นในทศวรรษ 1930 ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ  และหันมาติดตั้งกล้องเล็งแบบ ลอทเทฟรอว์-7 ที่ลอกแบบมาจากกล้องเล็งนอร์เดนของอเมริกา แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ความแม่นยำต่ำมาก ระเบิดตกพลาดจากเป้าหมายเฉลี่ย20-30เมตรเลยทีเดียว ในการทิ้งจากความสูง4พันเมตร  โดย เฮอร์มาน เกอริ่ง ก็ได้หยุดข้อกำหนดการดำดิ่งของ เอชอี-177 ไว้ในเดือนสิงหาคมปี1942  


The first prototype of the He 177, which made its first flight on November 19, 1939; the flight lasted only twelve minutes, before test pilot Francke had to return with overheating engines<br>


He-177 V-1


เครื่องยนต์


โดยต้นแบบใช้เครื่องยนต์ เดมเลอร์-เบนซ์601ขนาดความจุกระบอกสูบ30ลิตรทำงาน2จังหวะให้รอบสูง 12สูบวี-6 ระบายความร้อนด้วยของเหลวซึ่งมีกำลังเพียง1900แรงม้า ซึ่งไม่สามารถให้กำลังมากพอที่จะใช้บรรทุกตามที่สเป็คกองทัพอากาศกำหนด และหากติดตั้งถึง4เครื่องยนต์ก็จะส่งผลต่อโครงสร้างและความคล่องตัวในการบิน หัวหน้าฝ่ายเทคนิค ซิกฟรีด กึนเทอรื ของบริษัทเดมเลอร์-เบนซ์จึงทำการแก้ไขด้วยการนำเครื่องรุ่นเดียวกันมาต่อกัน2เครื่องให้ทำงานบนแกนไบพัดเดียวกันโดยใช้แบบเครื่องยนต์ของเครื่องบินลาดตระเวณ-ทิ้งระเบิด เอชอี-119 จนได้เครื่องยนต์ ดีบี-606 24สูบวี-6 สูบคว่ำ30องศา ใช้หัวฉีด ทำงาน2จังหวะกำลังขับสูงถึง2350แรงม้าพร้อมระบบอัดอากาศซุปเปอร์ชาร์จ  ใช้ใบพัด4กลีบ


เครื่องยนต์ ดีบี-606 นั้นมีระบบระบายความร้อนที่ล้ำหน้าเกินกว่าชาติอื่นๆในรุ่นเดียวกัน (ชาวบ้านคิดไม่ถึง)คือใช้ระบบหล่อเย็นที่ไม่ธรรมดา น้ำในหล่อเย็นเครื่องยนต์เมื่อร้อนจัดจนเกิดไอน้ำ  จะมีตัวดักไอน้ำไปผ่านชุดอีวาพอเรเตอร์บริเวณใต้ปีกเพื่อทำให้ไอน้ำที่ร้อนเจอความเย็นกลับเป็นหยดน้ำไปสู่เครื่องยนต์(คล้ายๆแอร์รถยนต์) แน่นอนว่าความร้อนของเครื่องยนต์มีมากกว่าที่คิดไว้ ระบบทำงานได้ไม่ดี ทำให้หล่อเย็นเครื่องยนต์ได้ไม่เพียงพอและใช้งบประมาณมากจึงเปลี่ยนเป็นใช้หม้อน้ำปกติเหมือนชาติอื่นๆ


เครื่องยนต์ ดีบี-606 มีปัญหาเริ่มแรกต่างๆมากมายเช่น ความร้อนที่สูงมากเพราะเครื่องยนต์ใกล้กัน การทำงานหมุนเพลาหลักมีปัญหาที่ไม่สัมพันธ์กันระหว่างเครื่อง2เครื่อง เช่นการจ่ายน้ำมันให้สูบเครื่องยนต์ทั้ง2เครื่องไม่เท่ากัน ทำให้มีผลต่อความเสียหายต่อชุดเพลา กำลังเครื่องตกมากแถมขาดการหล่อลื่นและการบำรุงรักษาที่เพียงพอเนื่องจากมีความซับซ้อนสูง แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขมากเท่าใดเพราะต้องนำเข้าสู่สงครามแล้วนั้นเอง  ซึ่งในรายงานปลายเดือนสิงหาคมปี1942 เฮอร์มาน เกอริ่ง ไม่พอใจต่อประสิทธิภาพอย่างมากจึงทำให้ฝ่ายเทคนิคต้องไปแก้ไขโดยการนำ ดีบี-605มาต่อกันคั่นด้วยชุดเกียร์เป็น ดีบี-610 ที่มีปัญหาลดลงแต่ก็ไม่ต่างจาก ดีบี-606มากเท่าใดเพราะ มีปัญหาเรื่องการบำรุงรักษานั้นเอง ซึ่งมีใช้ในรุ่น เอชอี-177 เอ3อาร์2


จึงเป็นแบบในการพัฒนาเครื่องต้นแบบ วี ต่างๆดังนี้


วี-2 ซึ่งได้ทดสอบบินดำดิ่ง ซึ่งมีปัญหาเรื่องการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมาก  ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงเสียหายจากการสั่น


วี-3ติดตั้งเครื่องยนต์ ดีบี-606เอ ที่ทำงานหมุนทวนเข็มนาฬิกา กำลัง2700แรงม้าที่ระดับน้ำทะเล 2080แรงม้า ที่ระดับ16000ฟุต


วี-4เป็นรุ่นที่ใช้บินทดสอบดำดิ่งที่ชายฝั่งทะเลบอลติก เมือง ริบนิสซ์-แดมกาเท็น ไม่สามารถควบคุมเครื่องได้ตกเสียหายเนื่องจากเกิดความเสียหายหนักที่ชุดใบพัด


วี-5 เป็นตัวทดสอบติดตั้งระบบป้องกัน เอ็มจี-15(7.92ม.ม.)4กระบอก


วี-6 เริ่มในกลางปี1941 หลักๆเป็นการพัฒนาให้โจมตีระดับต่ำความเร็วสูง ติดตั้งเครื่องยนต์ ดีบี-606บี กำลังมากกว่า2700แรงม้า สามารถเร่งกำลังในขณะบินขึ้นได้มากกว่า100แรงม้าอย่างรวดเร็ว


วี-7 ดัดแปลงเสริมเกราะบริเวณห้องนักบิน


วี-8 เป็นต้นแบบสุดท้ายทำการติดตั้งเกราะเพิ่มเข้าไปอีกและส่งเข้าสู่สายการผลิตในเดือนกันยายน1941 รูปทรงที่ส่วนหัวคล้ายกับ จู-88 และเข้าผลิตในรุ่น เอ-ซีรีย์


วี-38 เป็นรุ่นที่ดัดแปลงในโครงการ " อะตอมบอมเบอร์ " หรือนิวเคลียร์ของเยอรมันนาซี ซึ่งมีการดัดแปลงห้องเก็บระเบิดเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น สุดท้ายโดนยิงพังคาสนามบินที่กรุงปราก  โดยเป็นตัวทดสอบก่อนใช้เป็นชื่อ จู-287 บอมเบอร์เบย์


ระบบป้องกันตัว


เอชอี-177 ถือว่าเป็นบ.ทิ้งระเบิดที่ติดตั้งอาวุธกระจายทั่วลำเหมือนชาติอื่นๆ สามารถยิงคลอบคลุมได้หลายจุด เช่นป้อมปืนส่วนหัว กลางลำ ด้านท้าย ผิดกับบ.ทิ้งระเบิดรุ่นอื่นๆที่ติดตั้งอาวุธปืนรวมกันในจุดเดียวเช่น เจยู-88 เอชอี-111  โดยเฉพาะมีจุดเด่นที่ล้ำหน้า(อีกแล้ว)คือนักบินควบคุมปืนอยู่ที่ห้องนักบิน ควบคุมผ่านรีโมทให้ป้อมปืนบริเวณกลางลำตัวทำงาน  ระบบนี้ชื่อ เอฟดีแอล-บี131 คือปืนกล เอ็มจี-131ขนาด13ม.ม.แท่นคู่นั้นเอง อัตราการยิงราวๆ1800-2000นัด/นาที  โดยใช้กับ เอชอี-177เอ-1อาร์-1(นอกจากนั้นยังเป็นต้นแบบในการติดตั้งบนบ.ทิ้งระเบิดขนาดหนักรุ่นใหม่เช่น เอชอี-277 จู-288) บริเวณห้องนักบิน(จมูกส่วนหน้า)ติดตั้งปืนกลเอ็มจี-81(7.92) อัตราการยิง2000นัด/นาที  เอ็มจี-เอฟเอฟ 1กระบอกยิงป้องกันใต้ลำตัว เอ็มจี-131 ยิงป้องกันท้ายลำ


นอกจากนั้นยังติดตั้ง อาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีเรือรบ เฮนเชล เอชเอส-293 จำนวน2นัด ใช้ทำรรบในอ่าวบริสเคย์ จนทำให้เรือฝ่ายอังกฤษและอเมริกาจมและเสียหายหนัก รวมกันราวๆ23ลำ ออกมาใช้งานในปี1943 โดยติดตั้งหัวรบ293ก.ก. ระยะยิงไกลสุด5ก.ม. ใช้ระบบควบคุมการยิงแบบ เคล-สตรัสบูรซ์ ฟุกต์-203


บรรทุกระเบิดขนาด 70ก.ก.จำนวน48ลูก 500ก.ก.จำนวน10ลูก 1000ก.ก.จำนวน6ลูก  2500ก.ก.จำนวน2ลูก








[gunnerytj.jpg] 


ระบบปืนกลบังคับด้วยรีโมทรุ่นแรกๆ FDL-131




เฮนเชล เอชเอส-293


He-177 ในสายการผลิต


เอชอี-177เอ-0 หลังจากทดสอบระบบต่างๆในต้นแบบทั้ง8แบบแล้วจึงนำเข้าสู่สายการผลิตในรุ่น เอ-ซีรีย์ โดย เอ-0ผลิตโดยบริษัทอราโดจำนวน5เครื่อง บริษัทไฮน์เกลทำการผลิตอีก30เครื่อง  เริ่มผลิตในเดือนพฤศจิกายนปี1941 จำนวน35เครื่อง 25เครื่องประสบปัญหาเครื่องยนต์ลุกไหม้ จึงไปแก้ไขพัฒนาเป็น เอ-1  ทำการผลิตที่ รอสต็อค15เครื่อง ออเรนบูรค์15เครื่อง


เอชอี-177 เอ-1 เป็นรุ่นที่ทำการผลิตส่งมอบได้ซะที เริ่มส่งมอบเดือนมีนาคม 1942-มิถุนายน1943 บริษัท อราโด เป็นผู้ผลิตจากต้นแบบจำนวน1เครื่องที่สร้างโดยบริษัท ไฮน์เกล รุ่นนี้ทำการผลิตทั้งหมด130เครื่อง โดยแยกเป็นรุ่น


เอ-1อาร์1 ติดตั้งป้อมปืนกลรีโมท เอฟดีแอล-บี131/1เอ ปืนกล เอ็มจี-131อี-2จำนวน1กระบอก ปืนกลเอ็มจี-81 ยิงป้องกันด้านหน้า


เอ-1อาร์2 ติดตั้งปืนกล เอฟดีแอล-บี131/2เอ ปืนกลเอ็มจี-131 แท่นคู่ 1กระบอกบนลำตัว


เอ-1อาร์-4 ติดตั้งปืนกล เอ็มจี-131 ยิงป้องกันใต้ท้องไปทางด้านหลัง


Heinkel He 177 A-1/U2 Greif (Griffon)


เอชอี-177 เอ-1/ยู2 " กรอสเซอสโตเลอร์ "


เอ-1ยู2 ติดตั้งปืนกลหนัก ไรเมนทัล-บอซิกส์ มาร์ค-101 ขนาด30ม.ม. 2กระบอก อัตราการยิงกระบอกล่ะ250นัด/นาที  ในภารกิจขับไล่กลางคืน (กรอสเซอสโตร์เลอร์ )


เอชอี-177 เอ-2 ติดตั้งปืนกล เอ็มจี/เอฟเอฟ ยิงป้องกันส่วนหน้า ปืนกลเอ็มจี-81อีก6กระบอก เพิ่มพลประจำอีก4นาย แต่ไม่ได้ผลิตเนื่องจากใช้ทดสอบติดตั้งปืนป้องกัน


เอชอี-177 เอ-3 เป็นรุ่นที่ทำการผลิตรุ่นที่2 ทำการผลิตจำนวน170เครื่อง ในจำนวนนี้60เครื่อง ติดตั้งเครื่องยนต์ เดมเลอร์เบนซ์ ดีบี-610 รุ่นใหม่ที่มีกำลังสูง บรรจุน้ำมันมากขึ้นบริเวณปีก 3450ลิตร และอีก7250ลิตรที่ปบริเวณส่วนหัว  หากบินที่ความสูง6พันเมตร ความเร็วราวๆ360ก.ม./ช.ม. ระยะทำการบินจะไกลถึง6พันกิโลเมตร


เอ-3อาร์-1 ยังใช้เครื่องยนต์ ดีบี-606เอ/บี อยู่ผลิตออกมาจำนวน50เครื่อง


เอ-3อาร์2 ติดตั้งปืนกล เอ็มจี-151ขนาด20ม.ม. ลำกล้องเดี่ยวบริเวณใต้ห้องนักบิน(กอนโดล่า)อัตรายิง750นัด/นาที ทดแทนปืนกล เอ็มจี-เอฟเอฟ และด้านท้ายลำแทนปืนกล เอ็มจี-131


เอ-3อาร์3 เป็นรุ่นโจมตีเรือรบ ติดตั้งระเบิดร่อนนำวิถีโจมตีเรือรบรุ่นแรกของโลก เฮนเชล เอชเอส-293 หัวรบระเบิดแรงสูง295กิโลกรัม ระยะยิงแล้วแต่ความสูง ยิงไกลสุด8กิโลเมตร ความสูง5กิโลเมตร นำวิถีด้วยคลื่นวิทยุ ควบคุมโดยจอยสติ๊กซ์


เอ-3อาร์4 เพิ่มความกว้างบริเวณส่วนหัวไปอีก 1.2เมตร เพื่อรองรับระบบควบคุมอาวุธนำวิถีแบบ ฟุกต์-203บี เคล-3


เอ-3อาร์5 ใช้ทำการรบที่สตาลินกราด์ ในภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน ติดตั้งปืนใหญ่ต่อสู้รถถังแบบ บอร์ทโคนอน บีเค7.5 ขนาด75ม.ม.1กระบอก บรรจุกระสุนอัตโมติด้วยสายกระสุน12นัด ติดตั้งบริเวณใต้ห้องนักบินยิงไปทางด้านหน้า


เอ-3อาร์7 เป็นรุ่นโจมตีทางทะเลด้วยการติดตั้ง ตอร์ปิโด แอลที-50


เอชอี-177 เอ-4 เป็นต้นแบบในการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล เพดานบินสูงแบบ ไฮเกิล เอชอี-274 ไม่ได้ผลิตมาใช้อย่างจริงจังเพราะเริ่มบินทดสอบก็ปาเข้าไปช่วงท้ายๆสงครามปี1945


เอ-5 เป็นรุ่นที่ใช้แผนแบบ เอ-3 อาร์5 ในการพัฒนา เข้าสู่สายการผลิตจำนวน 826เครื่อง  เพิ่มความแข็งแรงที่ตัวปีกเพื่อติดตั้งอาวุธนำวิถี เพิ่มจุดติดอาวุธใต้ลำตัว


เอ-5อาร์1 ติดตั้งระบบอาวุธโจมตีนำวิถี ฟริตซ์-เอ็กซ์ และ เอชเอส-293 ใช้ระบบควบคุมบังคับของเคล


เอ-5อาร์2 ติดตั้งปืนกล เอ็มจี-81เจ ที่จมูก  เอ็มจี-151 1กระบอก ยิงป้องกันทางด้านหน้าใต้ห้องนักบิน เอ็มจี-131 1กระบอกตรงกลางลำตัว ยิงได้ทั้งบังคับด้วยไฟฟ้าและพลประจำ ปืน เอ็มจี-151 1กระบอกยิงป้องกันด้านท้ายลำ


[he177uik.jpg] 


เอ-5อาร์4 ติดตั้งชุดปล่อยอาวุธนำวิถี ใช้ชุดควบคุมของ เคล


เอ-5อาร์5 ติดตั้งปืนกล เอ็มจี-131 บังคับด้วยรีโมทใต้ท้อง ผลิตออกมาเพียง1เครื่องเท่านั้น


เอ-5อาร์6 ถอดจุดติดตั้งอาวุธใต้ลำตัวออกไป2จุด


เอ-5อาร์7 เป็นแผนแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ระดับความสูง 4หมื่น9พันฟุต แก้ไขห้องนักบินให้สามารถบินได้สูง รวมถึงใช้พลประจำเครื่องลดลง โดยทั่วไปเหมือนรุ่น เอ2


เอ-5อาร์8 ติดตั้งระบบควบคุมการยิงด้วยรีโมท" ชิน " ท้ายลำ  แต่ไปๆมาๆมีปัญหาในเรื่องการทดสอบและมีความยุ่งยากในการใช้งาน


เอ-5 กรอสเซอสโตเลอร์  เป็นรุ่นขับไล่ ภารกิจโจมตีเครื่องบินทิ้งระเบิด  ติดท่อยิงจรวดแบบ เวอแฟร์แกร์เนท ขนาด21ซ.ม. จำนวน33ท่อยิง ซึ่งพัฒนามาจากจรวดหลายลำกล้องยิงภาคพื้นแบบ เนเบลแวร์เอ42  ซึ่งติดตั้งยิงออกทางด้านข้างของลำตัว 5ลำทดสอบออกบินในเดือนมกราคมปี1944 แต่ก็ต้องสูญเสียไปอย่างรวดเร็วเนื่องจาก ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของเครื่องบินคุ้มกัน


เอชอี-177เอ6  แผนแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดระยะไกล-บินด้วยความสูงมาก นำเอารุ่น เอ-2กับ4มารวมกัน นอกจากนั้นยังติดตั้งอาวุธนำวิถีและใช้พัฒนา เอชอี-277บี-6 ซึ


เอ-6อาร์1 หรือเรียกว่ารุ่น เอชอี-177บี ติดตั้งป้อมปืนกลท้ายลำ แบบ เอชดี-131วี จำนวน1ป้อม4กระบอก เพิ่มจุดรองรับอาวุธนำวิถีภายนอกอีก1จุด  ระยะบิน5800ก.ม.


เอ-6อาร์2 ออกแบบบริเวณจมูกใหม่เพื่อหลักแอร์โร-ไดนามิกส์ ติดตั้งปืนกล เอ็มจี-131ที่ใต้ห้องนักบินยิงระวังด้านหลังใต้ลำตัว ปืนกลเอ็มจี-151 ควบคุมด้วยรีโมทที่ด้านหลัง


เอ-7 เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดเพดานบินสูงอีกเช่นกัน ใช้ลำตัวรุ่น เอ-5 มาดัดแปลง ขยายช่วงปีกออกไปอีก36เมตร  ติดตั้งเครื่องยนต์ ดีบี-613 ที่มีกำลังมากกว่า 3748แรงม้า ทำออกมาทดสอบบินเพียง6เครื่อง บางส่วนถูกยึดโดยกองทัพสหรัฐและคาดว่าถูกเก็บไว้ที่ สนามบินนานาชาติ โอแฮร์ ที่ชิคาโก ช่วงหลังสงคราม


เอ-8 เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาด4เครื่องยนต์ นำลำตัวของ เอ3กับ5มารวมกัน ออกแบบปีกใหม่เพื่อติดตั้งเครื่องยนต์ ดีบี-603 หรือ จุงเกอร์ จูโม่-213 การออกแบบส่วนเครื่องยนต์ใช้ เครื่องบิน เอชอี-219 เป็นแบบ แต่โครงการก็อยู่ในกระดาษเท่านั้น ก่อนเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เอชอี-177บี-5 ในเดือนสิงหาคม1943


เอ-10 เสนอให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาด 4เครื่องยนต์  โครงสร้างลำตัว เอ-8 ส่วนใหญ่คล้าย เอ-7 เปลี่ยนชื่อเป็น เอชอี-177บี-7 ในเดือนสิงหาคม1943


เอชอี-177บี  พัฒนาโดยตรงโดยแยกระบบเครื่องยนต์ที่เป็น2ตัวเชื่อมมาเป็น4เครื่องยนต์ปกติ  ต้นแบบ4เครื่อง วี-101-104 ได้รับการผลิต3เครื่องและเสียหาย1เครื่อง และแผนที่จะพัฒนาไปเป็น เอชอี-277 ออกมาทำการผลิตจึงไม่ได้เกิดขึ้น มีเพียงตัวทดสอบเท่านั้น  โดย เอชอี-177 เกิดจากรายงานของ เฮอร์มาน เกอริ่ง ที่เปิดเผยในเดือนกันยายนปี1942ว่า เขาต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาด4เครื่องยนต์ แต่ เอิรต์ อูเด็ต กลับชอบในความคล่องตัวของ 2เครื่องยนต์ที่ให้กำลังมากกว่าและมีความคล่องตัวในการบินมากกว่า โดย ไฮน์เกิลเสนอแบบ เอชอี-177บี ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ดีบี-603จำนวน4เครื่อง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า แอร์โรว-แลงคาสเตอร์ ของอังกฤษซะอีก ต้นแบบเริ่มบินครั้งแรก เดือนธันวาคมปี1943-กลางเดือนมกราคม1944  ที่สนามบินเวียนนา-สแวร์ขาร์ต ซึ่งเป็นสนามบินทดสอบทางตอนใต้ของไฮน์เกิล โดยต้นแบบ วี-104 เป็นตัวทดสอบสุดท้ายก่อนส่งเข้าสู่สายการผลิตเป็นรุ่น เอชอี177บี-5  แต่สุดท้ายก็ถูกทิ้งระเบิดเสียหายต้นแบบ วี-103-104 เสียหาย ทำให้โครงการผลิต เอชอี-177บี-5 ยุติลงและหันไปผลิต เครื่องบินขับไล่ไอพ่น เอชเอส-162 ที่มีความต้องการเร่งด่วนกว่า


เอชอี-177 เอช แผนแบบเครื่องบินทิ้งระเบิดเพดานบินสูงระยะไกลแบบ เอชอี-274  จะเรียกว่าบินสูงเข้าโจมตีเป้าหมายตลอดความสูง 4หมื่น6พันฟุต ระยะทางบินไกลสุด3440ก.ม. ซึ่งทำการบินครั้งแรกก็ปลายสงครามเข้าไปแล้ว  ซึ่งทำการผลิตในประเทศฝรั่งเศสได้ต้นแบบมา1เครื่อง



เอชอี-277


ยอดผลิต เอชอี-177 สิ้นสุดวันที่30พฤศจิกายนปี1944  จำนวนผลิตรวม 1137เครื่อง โดยแยกผลิตโดยบริษัทดังนี้ อีเอชเอฟ(เอิรซ์ ไฮน์เกิล-ฟุซกุซแวร์) เอชดับบิวโอ(ไฮน์เกิล แวร์-โอเนนบูซ์) เออาร์บี(อราโด เบรนเดนบูรซ์)


เอชอี-177 วี(ต้นแบบ8เครื่อง) โดย อีเอชเอฟ


เอชอี-177 เอ-0 35เครื่องดังนี้  อีเอชเอฟ(15เครื่อง) เอชดับบิวโอ(15เครื่อง) เออาร์บี(5เครื่อง)


เอชอี-177 เอ1 จำนวนผลิต130เครื่อง เอชดับบิวโอ(88เครื่อง) เออาร์บี(42เครื่อง) ผลิตตั้งแต่มกราคม1942-43


เอชอี-177เอ3 จำนวนผลิต 615เครื่อง  เอชดับบิวโอ(217เครื่อง) เออาร์บี(398เครื่อง) เริ่มผลิตพฤศจิกายน1942 ถึง มิถุนายนปี1943


เอชอี-177เอ5 จำนวนผลิต349เครื่อง เอชดับบิวโอ(71เครื่อง) เออาร์บี(278เครื่อง) เริ่มผลิตธันวาคมปี1943-ตุลาคม1944 


เอชอี-177 ในสงคราม


แม้จะมีปัญหาต่างๆมากมาย แต่เอชอี-177 ก็ได้ถุกส่งเข้าสู่สายการผลิตในปี1942 ซึ่งเป็นช่วงที่กองทัพเยอรมันเปิดศึกทุกด้าน เอชอี-177 ถูกใช้ในภารกิจส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพที่6 ในแนวรบสตาลินกราด์ แต่ก็ไม่สามารถสร้างความพอใจได้เลยเพราะ บรรทุกของได้น้อยกว่า เอชอี-111(ก็ออกแบบให้ทิ้งระเบิดนี่นา) แล้วในที่สุดก็ถูกส่งไปทำภารกิจสนับสนุนการโจมตีภาคพื้นดินแทน ในการรบ13ภารกิจที่สตาลินกราด์ เอชอี-177 จำนวน7เครื่องตกเนื่องจากปัญหาเครื่องยนต์โดยไม่ได้ถูกยิงเลยแม้แต่น้อย และเมื่อเข้าสู่ปลายสงคราม เวลารบของ เอชอี-177 น้อยลงทุกทีๆ มันก็ยังถูกส่งเข้าทำภารกิจ ทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนในยุทธการ สเตนบ็อค วันที่13กุมภาพันธ์1944 เอชอี-177จำนวน40เครื่อง ถูกส่งออกไปรบร่วมกับเครื่องบินรุ่นอื่นๆ  เพียงแค่ออกบินเท่านั้นล่ะ 8เครื่องแรกที่บินออกไปต้องบินกลับเพราะเครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท 13เครื่องหล่นรายทางบริเวณตอนใต้ มีเพียง4เครื่องไปถึงกรุงลอนดอน และโดนยิงตก1เครื่องจาก เครื่องบินขับไล่กลางคืน  ในภารกิจนี้ ไกร์ฟ ได้บรรทุก ลูกระเบิดแรงสูงหนัก 1800ก.ก. ไป2ลูกกับ1000ก.ก.ไปอีก2ลูก บินระดับความสุงจากสนามบินในเขตเยอรมันเข้าสู่กรุงลอนดอนที่ความสูง22950ฟุต  โดยได้ปลดระเบิดที่ความสูง14750ฟุต  ยังรวมถึงการโฉบดำดิ่งทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายที่ความสูง2460ฟุต ด้วยความเร็วมากกว่า700ก.ม./ช.ม. ส่งผลให้เกิดความแม่นยำสูงถึง60%


เอชอี-177 ถูกส่งไปประจำการทั่วสนามบินทั่วยุโรป ปัญหาหลักเนื่องจากบุคลากรในการซ๋อมบำรุงไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพเชื้อเพลิงก็ไม่ดี เครื่องยนต์ไม่มีเปลี่ยน จึงต้องทำการบินไปอย่างถูไถ เมื่ออังกฤษได้ยึด เอชอี-177เอ-5 ได้และทำการบินทดสอบ ได้ชื่นชมว่า ไกร์ฟ เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เทียบเท่า บี-29 ที่มีขนาดใหญ่กว่ามากมายได้เลยทีเดียว ซึ่งหากมีเวลาในการพัฒนาและมีระบบซ่อมบำรุงที่ดีมากกว่านี้ ไกร์ฟก็จะเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพอากาศเยอรมัน-นาซี


ผู้ใช้

 


เยอรมนี ลุฟวาฟเฟ่

 


เฟิร์นคัมพฟ์เกซวาเดอร์ 50

 


คัมพฟ์เกซวาเดอร์ 1

 


คัมพฟ์เกซวาเดอร์ 4

 


คัมพฟ์เกซวาเดอร์ 10

 


คัมพฟ์เกซวาเดอร์ 40

 


คัมพฟ์เกซวาเดอร์ 100

 


คัมพฟ์เกซวาเดอร์ 200

 


ฟุงซูสฟือแรร์สชูล (บี) 15

 


ฟุงซูสฟือแรร์สชูล (บี) 16

 


ฟุงซูสฟือแรร์สชูล (บี) 31

 


เวียร์กุสต้า / โอบีดีแอล

 


ฝรั่งเศส

 


กองทัพอากาศฝรั่งเศสใช้ เอชอี177 เอ3 ที่เยอรมันทิ้งไว้อย่างน้อยสองลำ ทำการสร้างใหม่โดยบริษัท SNCASE ที่เมือง บลังญัค (Blagnac)

 


อังกฤษ องทัพอากาศหลวง


File:He 177 A-5.jpg


เอชอี-177เอ-5 ที่อังกฤษยึดได้


อาร์เออี(สนามบินเมืองฟาร์นโบโร) ได้ทำการทดสอบ เอชอี177เอ5 ลำหนึ่ง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรยึดมาจาก เกซวาเดอร์เกนนังต์ (Geschwaderkennung) รหัส เอฟ8+เอพี จาก 6./เคจี 40 เมื่อเดือนกันยายน ปี1944 ณ.สนามบินตูลูส-บลังญัค (Toulouse-Blagnac airfield) ซึ่งถูกส่งมอบให้แก่อังกฤษและถูกทาสีใหม่ เปลี่ยนตราเป็นแบบวงกลมของเครื่องบินอังกฤษ และได้รับรหัสเครื่องว่า ทีเอส439

 


...โฮ้ยยย กว่าจะเสร็จ เขียนเรื่องไกร์ฟ นี่ยากลำบากมาก ข้อมูลเยอะมากในแต่ล่ะรุ่น รุปภาพก็หายาก  เปิดเจอแต่รุปภาพวนไปๆมาๆเนี้ยล่ะครับ







Create Date : 12 มีนาคม 2553
Last Update : 12 มีนาคม 2553 18:58:18 น. 4 comments
Counter : 3547 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณมากครับ
 
 

โดย: หอชาย1 IP: 180.180.80.84 วันที่: 12 มีนาคม 2553 เวลา:21:37:36 น.  

 
 
 
ปัญหาคืออาวุธมีมากแบบเกินไป จนไม่สามารถใช้งานได้จริง แถมสร้างแบบไฮเทค จนมีปัญหาซ่อมบำรุงภาคสนามไม่งั้น โลกนี้คงไม่เหมือนวันนี้
 
 

โดย: VET53 วันที่: 17 มีนาคม 2553 เวลา:9:59:43 น.  

 
 
 
ชอบอาวุธ WWII ครับ
 
 

โดย: NATSKI13 วันที่: 18 มีนาคม 2553 เวลา:8:38:17 น.  

 
 
 
ข้อมูลดีมากครับ

ขอบคุนครับ
 
 

โดย: Terror Doctrine IP: 61.19.221.10 วันที่: 2 เมษายน 2553 เวลา:9:52:32 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com