PETRA+OLEUM=PETROLEUM หิน+น้ำมัน= น้ำมันที่มาจากหิน
Group Blog
 
All Blogs
 
STS-114 MCC STATUS

กลับมาอีกครั้งกับ การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ของหมู่มนุษย์
ในการเดินทางผจญภัย ค้นหา ความรู้ใหม่ ที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตของผู้กล้าหลายชีวิต

เข้าเรื่อง เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เวลา 9.39 ตามเวลาท้องถิ่น ที่ศูนย์อวกาศเคเนดี้ ฟลอริดา กระสวยอวกาศ
ดิสคัพเวอรี่ ได้ทะยานขึ้นจากฐานปล่อย 39B ท่ามกลางอากาศที่สดใสดีเยี่ยม หลังจากต้องเลื่อนการส่งมาแล้ว 1 ครั้งเนื่องจากพบปัญหาในระบบตรวจจับ แรงดันที่ถังเชื้อเพลิงหลัก 1 ใน 4 ตัวมีปัญหา โดยภารกิจในครั้งนี้ จะใช้เวลา 12 วัน โดยในครั้งนี้ได้นำวิศวกรไปด้วย 1 คนโดยทำหน้าที่ตรวจสอบระบบป้องกันความร้อนของตัวยานดิสคัพเวอรี่เอง และตรวจสอบระบบป้องกันความร้อนที่สถานี อวกาศนานาชาติด้วย โดยภารกิจในครั้งนี้เป็นภารกิจครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่งหลังจากเกิดอุบัติเหตุขึ้น กับกระสวยฯโคลัมเบีย ทำให้ในครั้งนี้นาซา ต้องเข้มงวดกับระบบความปลอดภัยทุกๆกรณี
โดยในการทำการบินในครั้งนี้ได้รับการปรับปรุงระบบความปลอดภัยใหญ่หลายระบบเช่น
1.ระบบกล้องติดตามทางภาคพื้นดิน
2.ระบบเรดาร์ที่ใช้ตรวจจับวัตถุในระดับสูง
3.ได้เพิ่ม boom โดยมีตัวตรวจจับด้วยเรเซอร์ในการตรวจสอบตัวยานก่อนการเดินทางกลับ หลายคนคงสงสัยว่าเจ้า boom คืออะไร มันคือ แขนหุ่นยนต์นั่นเอง ที่สามารถยื่นไปมา โดยมีกล้องสำรวจ กับตัวตรวจจับเรเซอร์ ได้ทั้งตัวยาน
3.ระบบป้องกันความร้อนของตัวยานหรือเรียกว่า(Thermal protection system)โดยได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ไม่ให้แตกหักง่ายเหมือนเก่า

โดยแผนกำหนดการกลับ จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม โดยในครั้งนี้มีนักบินอวกาศหญิงเป็นผู้บังคับการบินชื่อ
Eileen Collins และคนอื่นๆ Pilot Jim Kelly and Mission Specialists Soichi Noguchi (Japanese Aerospace Exploration Agency), Steve Robinson, Andy Thomas, Wendy Lawrence and Charlie Camarda
โดยหลังจากขึ้นบินไป 9 นาทีแล้วจนอยู่ในวงโคจรแล้ว
เจ้าหน้าที่จึงเตรียมเปิดฝาห้องบรรทุกสัมภาระออกเพื่อเป็นการระบายความร้อน หลังจากที่เครื่องยนต์หลักได้ดับ
ส่วนคนอื่นๆนั้น ได้คว้ากล้องวีดีกับ กับกล้องถ่ายภาพนิ่งไปถ่ายรูปถังเชื่อเพลิงหลัก ที่กำลังลอยอยู่เพื่อศึกษาการตกกลับเข้าชั้นบรรยากาศ
โดยในภารกิจในวันแรกจะเป็นการทดสอบแขนกลหุ่นยนต์ ก่อนที่ต้องพักผ่อน 8 ชั่วโมง โดยทำการทดสอบให้เชี่ยวชาญ โดยตรวจสอบที่ปีกว่าได้รับความเสียหายหรือไม่หลังจากการส่งขึ้น หลังจากนั้นเสร็จจากภารกิจนักบินคนอื่นๆก็ ทำการถ่ายรูปที่วงโคจรและรวบรวมส่งไปยังภาคพื้นดินโดยผ่านเสาอากาศย่าน ku-band ขนาด50 ฟุต
และเวลาตอนนี้หลังปล่อยยาน สถานีอวกาศนานาชาตินั้นอยู่ห่างจากเรา 225 ไมล์ โดยอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย โดยยานมีแผนกำหนดการเชื่อมต่อกับสถานี iss เวลาเช้า 6.18 ของวันพฤหัส ตามเวลาท้องถิ่น เมื่อยานเข้าใกล้สถานี เจ้าหน้าที่ที่สถานีอวกาศ จะใช้กล้องดิจิตอลกำลังขยายสูง 800MM and 400MM ตรวจสอบที่ตัวยานดิสคัพเวอรี่อีกครั้ง ในครั้งนี้ดิสคัพเวอรี่ ได้ขนสัมภารระและอุปกรณ์ มากกว่า 15 ตันเพื่อมาส่งถ่ายให้กับสถานี้อวกาศนานาชาติด้วย และกลับมาพบกันอีกครั้งกับการรายงานใหม่ๆ

Tuesday, July 26, 2005 – 11 a.m. CDT
Mission Control Center, Houston, Texas
07.26.05
STATUS REPORT: STS-114-01



กล้องตรวจจับสถานะ1


กล้องตรวจจับสถานะ2


ทะยานขึ้นไปเลยอีหนู:) yee-haa


ระบบป้องกันความร้อนที่ปีกใหม่


Create Date : 27 กรกฎาคม 2548
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 15:50:23 น. 0 comments
Counter : 289 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

boomer
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add boomer's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.