PETRA+OLEUM=PETROLEUM หิน+น้ำมัน= น้ำมันที่มาจากหิน
Group Blog
 
All Blogs
 
คิดค้นและค้นพบกับ ปิโตรเลียม #2

แล้วน้ำมันดิบ มีสถานะอย่างไร


โดยทั่วไปแล้ว มีสถานะตามธรรมชาติเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 3 ชนิด ตามคุณสมบัติและชนิดของไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบอยู่ คือ 1) น้ำมันดิบฐานพาราฟิน 2) น้ำมันดิบฐานแอสฟัลต์ และ 3) น้ำมันดิบฐานผสม น้ำมันดิบทั้งสามชนิดนี้ เมื่อนำมากลั่นแล้วจะให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในสัดส่วนที่แตกต่างกัน

แล้วสารปรอท ที่เกิดจากกระบวนการผลิตของปิโตรเลียมจะเป็นอันตรายต่อเราไหม

แน่นอนละครับว่า ขึ้นต้นด้วยสารปรอทก็ต้องอันตรายทั้งสิ้น ปัญหาพิษจากสารปรอทที่จะมีผลต่อสุขภาพของคนนั้น ขึ้นอยู่กับมันเข้าสู่ร่างกายเราโดยวิธีใด (หายใจ การบริโภค การสัมผัส และการฉีดเข้าสู่ร่างกาย) ในปริมาณเท่าใด เป็นระยะเวลานานเท่าใด และการตอบสนองของร่างกายบุคคลคนนั้นต่อสารปรอท (ขึ้นอยู่กับอายุ และสุขภาพของผู้ที่ได้รับสารปรอท นั้น) โดยธรรมชาติแล้ว ความเข้มข้นของปริมาณสารปรอทในอากาศนั้นมักจะต่ำ และไม่มีผลโดยตรงต่อร่างกายของคน แต่ถ้ามันเข้าไปปนเปื้อนอยู่ในน้ำ หรือผ่านเข้าสู่กระบวนการทางด้านชีววิทยาแล้ว มันจะกลายเป็นสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในปลาและสัตว์ต่างๆ ที่กินปลา ดังนั้น คนจึงมีสิทธิที่จะรับสารปรอทได้จากการกินปลา (สารพิษที่มีอันตรายที่สุดดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ methylmercury) การเกิดอันตรายจากสารปรอทจึงน่าที่จะเกิดจากการกินมากกว่า เพราะสารปรอทนั้นได้เข้ามาอยู่ในวงจรของห่วงโซ่อาหารของคนแล้ว

รูปแบบทางเคมีของปรอทแบ่งออกเป็น ธาตุ(โลหะ) สารประกอบอนินทรีย์ และสารประกอบอินทรีย์ รูปแบบที่มีผลต่อสุขภาพของคน คือ Methymercury, Elemental mercury(ธาตุปรอท) และสารประกอบปรอทที่เป็นอนินทรีย์ และอินทรีย์

ตามปกติ ถ้าร่างกายของเรารับสารปรอทเข้าไปในจำนวนไม่มาก ระบบการกำจัดสารพิษที่เรามีจะสามารถกำจัดมันได้ด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ถ้าได้พยายามป้องกัน และปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ตามที่ที่ทำงานของท่านได้กำหนดไว้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ปริมาณที่สะสมอยู่ในร่างกายคงจะไม่ผลต่อสุขภาพถึงขั้นรุนแรงแน่นอน

การนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ จะต้องนำทรัพยากรปิโตรเลียมที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าแล้ว ทั้งจากการกลั่นน้ำมันดิบ การแยกก๊าซธรรมชาติ และการแยกก๊าซธรรมชาติเหลว จะได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหลากหลายประเภทตามคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งจะตอบสนองความต้องการใช้ที่แตกต่างกันด้วย

1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ

1.1 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas ; LPG) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนบนสุดของหอกลั่นในกระบวนการกลั่นน้ำมัน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีจุดเดือดต่ำมาก จะมีสภาพเป็นก๊าซในอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น ในการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะต้องเพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิ เพื่อให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเปลี่ยนสภาพจากก๊าซเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกและประหยัดในการเก็บรักษา ก๊าซปิโตรเลียมเหลวใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี และเวลาลุกไหม้ให้ความร้อนสูง และมีเปลวสะอาดซึ่งโดยปกติจะไม่มีสีและกลิ่น แต่ผู้ผลิตได้ใส่กลิ่นเพื่อให้สังเกตได้ง่ายในกรณีที่เกิดมีก๊าซรั่วอันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การใช้ประโยชน์ ก็คือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์และรถยนต์ รวมทั้งเตาเผาและเตาอบต่าง ๆ

1.2 น้ำมันเบนซิน (Gasolin) น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หรือเรียกว่าน้ำมันเบนซิน ได้จากการปรับแต่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันโดยตรง และจากการแยกก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันเบนซินจะผสมสารเคมีเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น เพิ่มค่าออกเทน สารเคมีสำหรับป้องกันสนิมและการกัดกร่อนในถังน้ำมันและท่อน้ำมัน เป็นต้น

1.3 น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัด (Aviation Gasoline) ใช้สำหรับเครื่องบินใบพัด มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำมันเบนซินในรถยนต์ แต่ปรุงแต่งคุณภาพให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเครื่องบินซึ่งต้องใช้กำลังขับดันมาก

1.4 น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น (Jet Fuel) ใช้เป็นเชื้อเพลิงไอพ่นของสายการบินพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ มีช่วงจุดเดือดเช่นเดียวกับน้ำมันก๊าดแต่ต้องสะอาดบริสุทธิ์มีคุณสมบัติบางอข่างดีกว่าน้ำมันก๊าด

1.5 น้ำมันก๊าด (Kerosene) ประเทศไทยรู้จักใช้น้ำมันก๊าดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เดิมใช้เพื่อจุดตะเกียงแต่ปัจจุบัน ใช้ประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทาน้ำมันชักเงา ฯลฯ

1.6 น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน คือ การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากการอัดอากาศอย่างสูงในลูกสูบ มิใช่เป็นการจุดระเบิดของหัวเทียนเช่นในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมักเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ เป็นต้น

1.7 น้ำมันเตา (Fuel Oil) น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาต้มหม้อน้ำ และเตาเผาหรือเตาหลอมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือเดินสมุทรและอื่น ๆ

1.8 ยางมะตอย (Asphalt) ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และนำยางมะตอยที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพจะได้ยางมะตอยที่มีคุณสมบัติดีขึ้น คือ มีความเฉื่อยต่อสารเคมีและไอควันแทบทุกชนิด มีความต้านทานสภาพอากาศและแรงกระแทกกระเทือน มีความเหนียวและมีความยืดหยุ่นตัวต่ออุณหภูมิระดับต่าง ๆ ดี

2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ

2.1 ก๊าซมีเทน (C1) ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าและให้ความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม และหากนำไปอัดใส่ถังเรียกว่า ก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NGV) ได้ นอกจากนี้ยังเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมีได้ด้วย

2.2 ก๊าซอีเทน (C2) เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นเพื่อผลิตเอทิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกโพลีเอทิลีน (PE) เพื่อใช้ผลิตเส้นใยพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่าง ๆ

2.3 ก๊าซโพรเพน (C3) ใช้ผลิตโพรพิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) เช่น ยางในห้องเครื่องยนต์ หม้อแบตเตอรี่ กาว สารเพิ่มคุณภาพน้ำมันเครื่องรวมทั้งใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมได้อีกด้วย

2.4 ก๊าซบิวเทน (C4) ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และสามารถนำมาผสมกับโพรเพนอัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียม (ก๊าซหุงต้ม) เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ใช้ในการเชื่อมโลหะ และยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้ด้วย

2.5 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas ; LPG) มีคุณสมบัติเหมือนกับข้อ 1.1

2.6 ก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL ; Naturl Gas Liquid, C5+) แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้วไฮโดรคาร์บอนเหลวนี้จะถูกแยกออก และถูกเรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (Natural Gas Liquid) แล้วส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมันเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 2 (ขั้นปลาย) และยังเป็นตัวทำละลาย ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน

2.7 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการแยกก๊าซ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น เป็นน้ำแข็งแห้งสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร เป็นวัตถุดิบสำหรับในการทำฝนเทียม น้ำยาดังเพลิง สร้างควันหรือหมอกจำลอง ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เป็นต้น

3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

3.1 น้ำมันหล่อลื่น (Lubricating Oils) หรือบางครั้งเรียกน้ำมันเครื่อง มีคุณสมบัติช่วยหล่อลื่น ระบายความร้อน รักษาความสะอาดเครื่องยนต์ ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน ฯลฯ



3.2 จาระบี (Greases) เป็นผลิตภัณฑ์หล่อลื่นประเภทหนึ่งที่ใช้กับการหล่อลื่น ในที่ซึ่งน้ำมันหล่อลื่นไม่สามารถจะทำหน้าที่โดยสมบูรณ์ เช่น ตลับลูกปืน ทั้งยังสามารถป้องกันมิให้ฝุ่นเข้าไปอยู่ระหว่างผิวโลหะ
ได้

แล้วที่เรียกกันว่า คอนเดนเสท แล้วมันคืออะไรหรือ
คอนเดนเสทก็คือก๊าซธรรมชาติเหลว เป็นก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในสถานะก๊าซเมื่ออยู่ใต้ดิน แต่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเมื่ออยู่บนผิวดิน สำหรับวิธีการผลิตก็จะเหมือนการแยกก๊าซก็จะเหมือนวิธีการแยกก๊าซธรรมชาติทั่วไป



แล้วแท่นที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสำรวจปิโตรเลียมนั้นมีกี่ชนิดแบบไหนบ้างละครับ
Platform แบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามรูปแบบของการติดตั้ง คือ Fixed platform และ Processing & floating storage offloading platform (PFSO)

Fixed platform ประกอบด้วยโครงสร้างเหล็ก 2 ส่วนหลัก คือ Jacket และ Topside

1. Jacket เป็นขาหยั่งเหล็กที่มีลักษณะโครงสร้างเป็น 3 มิติ (truss structure) โดยโครงสร้างเหล็กส่วนนี้จะจมอยู่ใต้ทะเลทั้งหมด และวางอยู่บนพื้นทะเลที่เป็นทรายหรือโคลน เพื่อให้มีการติดตรึงไว้อย่างมั่นคงกับพื้นทะเล จึงต้องตอกเสาเข็ม (piles) ต่อจาก jacket ให้ลึกลงไปจากพื้นทะเลอีก จนกว่าจะถึงชั้นดินดานหรือชั้นดินแข็ง และมั่นใจว่า jacket นั้น มีความแข็งแรงพอ ที่จะรับน้ำหนักของโครงสร้าง และอุปกรณ์ต่างๆ ที่วางไว้อยู่ข้างบน คือ บน topside ทั้งหมดได้ โดยเฉลี่ยแล้ว jacket มีน้ำหนัก 35-9,990 ตัน ถ้าจมอยู่ใต้น้ำลึก 8-138 เมตร

1.1 Riser เป็นโครงสร้างเหล็กส่วนบนจาก jacket ที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เป็นโครงสร้างที่อยู่ระหว่าง jacket กับ topside โดยทั่วไป riser จะมีความสูงเฉลี่ย ประมาณ 10 เมตร แต่อย่างไรก็ตาม ความสูงของ riser จะเป็นเท่าใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสูงของคลื่นในบริเวณที่ platform นั้น ตั้งอยู่ คือ riser ต้องสูงพ้นระดับคลื่นสูงสุดเท่าที่เคยมีการวัดได้ในอดีต

1.2 ชนิดของ platform แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของ jacket (ตามจำนวนขาของ jacket) คือ 1.2.1 Vent, single/small (3 cond.) jacket & riser 1.2.2 4 legs, conventional piles 1.2.3. 4 legs with skirt piles 1.2.4 more than 4 legs (6, 8,....), conventional piles 1.2.5 more than 4 legs (6, 8,....), with skirt piles เป็นต้น

2. Topside เป็นส่วนที่ติดตั้งอยู่ด้านบนของ jacket เหนือ riser เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับการวางอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องกล ฯลฯ ที่จำเป็น เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานต่างๆ ในการผลิตปิโตรเลียม โดยอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้น ที่นำมาติดตั้งบน topside ก็แยกประเภทตามลักษณะของการใช้งาน ทำให้สามารถแบ่ง platform ออกเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะการใช้งานได้ ดังนี้

2.1 Wellhead platform (แท่นหลุมผลิต หรือ production platform) ที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์การผลิตต่างๆ เหนือหลุมผลิต ในพื้นที่ผลิตต่างๆ จะมี wellhead platform จำนวนเท่าใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสำรองปิโตรเลียม

2.2 Processing platform (แท่นกลางเพื่อกระบวนการผลิตและแยกปิโตรเลียม) ที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์แยก น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ สารปรอท สิ่งปนเปื้อนที่ไม่ต้องการ ฯลฯ ก่อนส่ง ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว และ/หรือน้ำมันดิบ เข้าสู่ขบวนการส่งต่อ ต่อไป นอกจากนี้มีการติดตั้งอุปกรณ์ทางวิศวกรรมปิโตรเลียมอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการ process

2.3 Living quarter platform (แท่นที่พักอาศัย) ที่จะมีการติดตั้งที่พัก และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่จำเป็นแก่การพักอาศัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถอยู่อาศัยได้ขณะทำงานอยู่ในพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมนั้น

2.4 Raiser platform (แท่นชุมทางท่อ) เป็นแท่นที่ใช้รวบรวมปิโตรเลียมที่ผลิตได้จาก wellhead platform ย่อยๆ ทั้งหลายที่อยู่ในแหล่ง (บริเวณ/พื้นที่) ปิโตรเลียมเดียวกัน ที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรวบรวมปิโตรเลียมจากแท่นผลิตย่อยเพื่อส่งไปเข้าสู่ขบวนการผลิตและแยกปิโตรเลียมที่ processing platform ต่อไป

2.5 Flare platform (แท่นเผาก๊าซทิ้ง) เมื่อมีก๊าซที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น ก็ต้องเผาทิ้งไป โดยทั่วไป platform แบบนี้ มักจะมีขนาดเล็ก และมีเพียง 3 ขา เพราะ jacket ไม่ต้องรองรับน้ำหนัก ที่อยู่บน topside มากนัก มีการติดตั้งเพียงอุปกรณ์เพื่อรวบรวมก๊าซ และอุปกรณ์อื่น ๆ เท่าที่จำเป็น เท่านั้น

2.6 Compression platform (แท่นเพิ่มแรงดัน) เมื่อก๊าซที่ผลิตได้มีแรงดันลดลง ก็ต้องมีการเพิ่มแรงดัน โดยใช้ compressor เพื่อให้ก๊าซที่ผลิตได้ สามารถเดินทางเข้าสู่ท่อเพื่อเดินทางต่อไปจนถึงจุดรับก๊าซเพื่อการค้าได้ จึงมีขบวนการเพิ่มแรงดันบน platform นี้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งก็ต้องใช้เพื่อการนี้

Processing & floating storage offloading platform นั้น มีลักษณะเป็นทั้งเรือที่ทำการผลิตปิโตรเลียม และทำการกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ำมันดิบได้ในตัวเองแบบลอยน้ำ โดยเรือดังกล่าวจะจอดหยุดอยู่กับที่ ณ ตำแหน่งที่แน่นอน มีการตอกหมุดติดตรึงไว้อย่างดีกับพื้นทะเล เพื่อไม่ให้เคลื่อนที่ไปมาได้ และมีความมั่นคงสูงเสมือนหนึ่งเป็น fixed platform เพียงแต่ไม่มี jacket ที่หยั่งลงไปเพื่อวาง platform ไว้บนพื้นทะเลเท่านั้น จึงมีความคล่องตัวสูง เพราะสามารถใช้เป็นทั้ง wellhead, processing, storage และ offloading ได้ใน platform เดียวกัน

ในการทำธุรกิจเกี่ยวกับปิโตรเลียมในเมืองไทยนั้น มีกระบวนการอย่างไรบ้าง
สัมปทาน คือ การที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด ณ ที่นี้ สัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย คือ การให้สิทธิผูกขาดแก่ผู้รับสัมปทานเพียงผู้เดียว ในการประกอบกิจการปิโตรเลียมในพื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน โดย 1) ให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในบริเวณหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด 2) ปิโตรเลียมที่พบเป็นของผู้รับสัมปทาน 3) ผู้รับสัมปทานจะต้องลงทุนและรับความเสี่ยงทั้งหมด และ 4) ผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมจะต้องชำระผลประโยชน์ให้รัฐในรูปของค่าภาคหลวง ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ และภาษีเงินได้

แหล่งสำรวจจะแบ่งออกเป็นแปลงต่าง ๆ ทั้งจากบนบกและทะเล ซึ่งผู้สนใจจะต้องเข้ามายื่นขอสัมปทานเพื่อเข้ามาสำรวจ โดยจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 (เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการบริหาร จัดการ และกำกับดูแลการประกอบกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม) เมื่อได้สิทธิ์ในแปลงสัมปทานนั้น ๆ แล้ว จึงจะมีสิทธิ์สำรวจได้

พื้นที่ผลิต คือ พื้นที่ที่พบว่าแปลงสัมปทานนั้น ๆ มีศักยภาพในการดำเนินการนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ได้

โดยมีขั้นตอนกระบวนการต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดแปลงสัมปทานและประกาศเชิญชวน
เจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ศึกษาข้อมูลพื้นที่ที่จะให้มีการสำรวจปิโตรเลียม โดยจะกำหนดเขตแปลงสำรวจ กำหนดค่าคงที่แสดงภาพธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ และกำหนดค่าลดหย่อนพิเศษ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะออกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อกำหนดเขตพื้นที่แปลงสำรวจที่จะเปิดให้ยื่นขอสัมปทานทั่วประเทศหรือเฉพาะบางพื้นที่ ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะออกประกาศเชิญชวนให้ยื่นขอสัมปทาน

ขั้นตอนที่ 2 การประกาศเชิญชวนและยื่นขอสัมปทาน
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะจัดส่งเอกสารการประกาศเชิญชวนให้บริษัทปิโตรเลียมทั่วโลก และให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่บริษัทที่สนใจยื่นคำขอ เมื่อบริษัทปิโตรเลียมที่สนใจศึกษาข้อมูลของแปลงสำรวจที่จะยื่นขอและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องยื่นคำขอหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ตามที่กำหนดในประกาศเชิญชวนภายในเวลาที่กำหนด (เอกสารเชิญชวน ได้แก่ คำขอ รายละเอียดของพื้นที่แปลงสำรวจ คุณสมบัติผู้ยื่นขอสัมปทาน วิธีการยื่นขอ หลักเกณฑ์การพิจารณา ข้อสงวนสิทธิ์อื่น ๆ) ทั้งนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะจัดทำ Data Pakage ของพื้นที่แปลงสำรวจต่าง ๆ ไว้ให้ศึกษาและจำหน่ายต่อไปด้วย

ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณาคำขอและออกสัมปทาน
1) คณะกรรมการรับคำขอสัมปทาน เอกสารคำขอ 2) นำส่งคณะอนุกรรมการพิจารณาคำขอสัมปทานโดยมีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นผู้ชี้แจงข้อมูล 3) คณะกรรมการปิโตรเลียมจะพิจารณาผู้ที่เหมาะสมได้รับเลือกให้เป็นผู้รับสัมปทานในแปลงสำรวจที่ยื่นขอตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาคำขอสัมปทานเสนอ 4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมได้รับเลือกให้เป็นผู้รับสัมปทานตามที่คณะกรรมการปิโตรเลียมพิจารณาและนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ และ 5) เมื่อได้รับการอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกสัมปทานปิโตรเลียมให้แก่บริษัทที่ได้รับคัดเลือก

ขั้นตอนที่ 4 สำรวจ
บริษัทที่ได้รับสัมปทานดำเนินการสำรวจทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และเจาะสำรวจ

ขั้นตอนที่ 5 พัฒนา
การพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียมจะต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรพลังงานและการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด การนำวิธีการ เทคโนโลยีที่ทันสมัย อยู่ในหลักการปฏิบัติงานปิโตรเลียมที่ดี มีความปลอดภัยและการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยผู้สัมปทานจะต้องส่งรายละเอียดการดำเนินงานให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติพิจารณา เมื่อออกแบบระบบการผลิต จะก่อสร้างหรือติดตั้งอุปกรณ์การผลิต และจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง ในขั้นตอนเหล่านี้จะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514

ขั้นตอนที่ 6 ผลิต ขาย และจำหน่าย
โดยจะมีการกำหนดจุดซื้อขาย มาตรวัด คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และราคาซื้อขายต่อไป

องค์กรของรัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
1. เจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กำกับดูแลการประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514
2. อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อนุมัติแผนการดำเนินงานของผู้รับสัมปทาน กำหนดสถานที่ขายปิโตรเลียม ออกประกาศกรม
3. คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ พิจารณากลั่นกรองคำขออนุญาตในเรื่องต่าง ๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการปิโตรเลียม
4. คณะกรรมการปิโตรเลียม ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อนุญาตนำเข้าบุคคล/อุปกรณ์ อนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ความเห็นชอบราคาก๊าซ
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อนุมัติพื้นที่ผลิต ออกกฎกระทรวง เพิกถอนสัมปทาน
6. คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้และโอนสัมปทาน รับผู้เข้าร่วมประกอบกิจการ ต่อระยะเวลาสำรวจและผลิต อนุมัติให้เปลี่ยนปริมาณงาน กำหนดค่าคงที่สภาพทางธรณีวิทยาของแปลงสำรวจ

กล่าวโดยสรุปแล้วกิจการปิโตรเลียมตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม จะรวมถึงการสำรวจ ผลิต เก็บรักษา ขนส่ง ขาย หรือจำหน่าย โดยปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ผู้ใดสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทาน ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอสัมปทานกำหนดโดยกฎกระทรวง และแบบสัมปทานกำหนดโดยกฎกระทรวง (ฉบับที่ 17)


โดยที่ผลประโยชน์ของเจ้าของประเทศที่ได้รับโดยตรงได้แก่
1.มีแหล่งเชื้อเพลิงในประเทศไว้ใช้ประโยชน์ในด้านพลังงาน
2.รัฐมีรายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม (เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียม)
3.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม(ร้อยละ50 ของผลกำไรของผู้ประกอบการผลิตปิโตรเลียม)

โดยในประเทศไทยตอนนี้เรามีกำลังผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด ผลิตได้วันละประมาณ 500,000 บาเรล(เทียบเท่าน้ำมันดิบ) หรือ ประมาณ 47%ของการต้องการใช้ในประเทศ ดังนั้นในอัตราส่วนการใช้ที่ 47% นี้จึงไม่เพียงพอต่อการใช้งานภายในประเทศ ทำให้ต้องพึงพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ เข้ามาใช้งานซึ่งทำให้เราเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ในภาวะน้ำมันแพง โดยราคา ณ. วันที่ 27 กค 48 ราคาน้ำมันอยู่ที่ 58-59 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ประเทศของเรานั้นประสบปัญหา ชลอตัวทางเศรฐกิจทุกๆด้าน เช่นการขนส่ง การผลิต การค้าขาย และผลกระทบต่อประชาชนในประเทศและทั่วโลก

แล้วทำไมเราต่องอ้างอิงราคาน้ำมันที่สิงคโปร์ ละครับทั้งๆที่เขาไม่ได้ผลิตเอง
ประเทศไทยใช้ระบบการค้าเสรี จึงไม่สามารถแทรกแซงตลาดได้มากนัก ถึงแม้ว่าน้ำมันดิบจะสามารถผลิตได้ในประเทศ แต่กรรมสิทธิ์ก็เป็นของผู้รับสัมปทาน ซึ่งได้รับความเสี่ยงในการลงทุนสำรวจและผลิต การขายจึงเป็นเอกสิทธิ์ของผู้รับสัมปทาน แต่รัฐมีส่วนลดพิเศษให้ในการขายน้ำมันให้กับเอกชนภายในประเทศ ดังนั้นน้ำมันชนิดเดียวกันที่ขายภายในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับส่งขายไปต่างประเทศ จึงมีราคาต่ำกว่าเล็กน้อย นอกจากนั้น การอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ ประเทศสิงคโปร์เป็นหลัก เพราะเป็นประเทศที่มีตลาดการส่งออกน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด หากราคาน้ำมันในประเทศถูกกว่าสิงคโปร์ ผู้ค้าน้ำมันในประเทศจะส่งออกน้ำมันไปขายทีสิงคโปร์แทนการขายในประเทศ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนในประเทศได้ หากราคาน้ำมันในประเทศแพงกว่า ผู้ค้าน้ำมันก็จะซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์แทนการซื้อจากโรงกลั่นภายในประเทศ ซื่งจะทำให้โรงกลั่นน้ำมันขาดทุนและอาจต้องเลิกกิจการ



Create Date : 27 กรกฎาคม 2548
Last Update : 27 กรกฎาคม 2548 13:23:48 น. 33 comments
Counter : 9177 Pageviews.

 
ดีจังเลย เนี๊ยะได้เอาไปทำรายงานพอดีเลยคะ
ขอบคุนนะคะ


โดย: กิ่ง IP: 203.113.16.250 วันที่: 16 พฤษภาคม 2549 เวลา:20:54:56 น.  

 


โดย: tongchai IP: 203.113.80.141 วันที่: 12 มิถุนายน 2549 เวลา:9:14:33 น.  

 


โดย: ร้ IP: 203.113.77.68 วันที่: 24 กรกฎาคม 2549 เวลา:7:53:37 น.  

 
ดีใจจังเลยได้ไปทำรายงานพอดีขอบคุณมากค่ะ


โดย: สตาร์คน่ารัก IP: 203.113.62.7 วันที่: 29 กรกฎาคม 2549 เวลา:8:07:37 น.  

 
ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลดีๆๆๆจะได้ไปทำรายงานส่ง


โดย: โคนัล IP: 203.172.206.28 วันที่: 2 สิงหาคม 2549 เวลา:9:58:38 น.  

 
ขอบคุณนะครับสำหรับข้อมูลดีๆๆๆจะได้ไปทำรายงานส่ง


โดย: โคนัล IP: 203.172.206.28 วันที่: 2 สิงหาคม 2549 เวลา:9:59:09 น.  

 
ช่วยหาการแยกปิโตรเลียมมาลงไว้ให้ด้วยได้ไหมค่ะ


โดย: ช๊อกโกแล็ต ไวท์ IP: 125.24.196.42 วันที่: 23 สิงหาคม 2549 เวลา:17:08:57 น.  

 
ขอบคุณมากๆๆนะคะ ช่วยได้เยอะเลย

รายงานจะได้เสร็จสักที เฮ้อ!~


โดย: Kimmy_bum-bua IP: 203.172.107.79 วันที่: 3 กันยายน 2549 เวลา:0:02:16 น.  

 
สวัสดี


โดย: เขม IP: 203.156.43.201 วันที่: 20 กันยายน 2549 เวลา:12:16:09 น.  

 
น่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้หน่อย ขอคุณครับ


โดย: เด็กช่าง IP: 203.130.142.68 วันที่: 25 ตุลาคม 2549 เวลา:21:19:09 น.  

 
หวัดดีคับ


โดย: ปริศนา IP: 125.24.196.170 วันที่: 1 ธันวาคม 2549 เวลา:12:24:37 น.  

 
ขอบคุงมากน่ะค่ะ สำหรับข้อมูล


โดย: nok IP: 124.157.247.83 วันที่: 22 ธันวาคม 2549 เวลา:16:04:24 น.  

 
ไม่มีรูปมั่งหรอคะ


โดย: ปีใหม่ IP: 61.7.162.69 วันที่: 23 ธันวาคม 2549 เวลา:19:16:33 น.  

 
คำกล่าวที่ว่า "ปิโตรเลียมเป็นปัจจัยบ่งชี้ความมั่นคงของประเทศ" มีความจริงเพียงใดตอบด้วยค่ะ


โดย: น้องน่ารัก IP: 124.157.237.85 วันที่: 25 ธันวาคม 2549 เวลา:13:42:08 น.  

 



โดย: ป IP: 125.24.193.251 วันที่: 4 มกราคม 2550 เวลา:11:50:37 น.  

 
การกลั่นน้ำมันตามลำดับส่วนมีกี่แบบ


โดย: เปรี้ยว IP: 61.19.85.27 วันที่: 17 มกราคม 2550 เวลา:13:45:56 น.  

 
ขอบคุณมากเลยนะค่ะ


โดย: น้องชุ IP: 202.129.15.106 วันที่: 19 มกราคม 2550 เวลา:12:27:03 น.  

 
ขอบคุณมากเลยนะค่ะ


โดย: น้องชุ IP: 202.129.15.106 วันที่: 19 มกราคม 2550 เวลา:12:27:37 น.  

 


โดย: ยน IP: 124.157.139.54 วันที่: 27 มกราคม 2550 เวลา:14:03:49 น.  

 
thank you


โดย: ปูจ๋า IP: 124.157.230.203 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:35:21 น.  

 
อยากรู้ข้อมูลน้ำมันก๊าดล้วน ๆ อ่ะ


โดย: โมจิ IP: 203.113.38.12 วันที่: 30 มิถุนายน 2550 เวลา:18:52:17 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: max IP: 203.146.63.185 วันที่: 18 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:30:42 น.  

 
ขอบคุณค่ะสำหรับเนื้อหา


โดย: โยเกิตร์ IP: 222.123.204.17 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:38:28 น.  

 
ตัวแทนเด็กแห้วเนื้อหาก็ดีนะคะเเต่ไม่มีรูป


โดย: โบว์จัง IP: 58.147.40.30 วันที่: 5 กันยายน 2550 เวลา:13:32:02 น.  

 
มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มั๊ยค่ะ


โดย: พองพอง IP: 203.156.39.47 วันที่: 9 ธันวาคม 2550 เวลา:13:12:45 น.  

 
ประโยชน์ของปิโตรเลียมมีมากกว่านี้ไหม


โดย: 403 IP: 118.172.13.78 วันที่: 13 ธันวาคม 2550 เวลา:13:48:00 น.  

 
ดีจังเลย เอาไปทำรายงานพอดีเลยครับ
ขอบคุณมากนะครับ


โดย: ก้าน IP: 61.19.227.2 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:36:53 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ
เปฦนหัวข้อที่ดีที่สุด
กำลังทำรายงานเกี่ยวเรื่องนี้ค่ะ
เด็ก ช.ศ.


โดย: นุ่น IP: 202.149.24.129 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:25:44 น.  

 
ดีทากเลยคะ
กำลังต้องการความรู้เกี่ยวกับเรื่องพอดีค่ะ


โดย: มิ้นท์ คนไม่น่ารักเท่าไร ช.ศ. IP: 202.149.25.241 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:28:33 น.  

 
น้ำมันทำไมมานแพงจางละคับ ทำมายมานไม่เปงเหมือนเมื่อ 10 ปีที่แล้วลัคับ โคตรถูเลยอิอิ


โดย: กอล์ฟ IP: 124.157.189.224 วันที่: 28 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:33:55 น.  

 


โดย: กหด IP: 118.173.157.116 วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:18:38:30 น.  

 
คำกล่าวที่ว่า ปิโตรเลียมเป็นปัจจัยบ่งชี้ความมั่งคั่งของประเทศอภิปรายและสรุปเป็นเหตุผลสนับสนุนตอบ



ช่วยหาให้ทีนะครับ


โดย: เจนวิทย์ นามแสง IP: 124.157.147.33 วันที่: 26 สิงหาคม 2553 เวลา:14:37:49 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ


โดย: แพร อารียา IP: 180.183.205.55 วันที่: 15 สิงหาคม 2554 เวลา:17:23:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

boomer
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add boomer's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.