ชีวิต...ไม่ใช่เป๊ปซี่..จึงไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป..
Group Blog
 
All blogs
 

....กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา(ลิขสิทธิ์)....

ทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์)....
ลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย :
งานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีรายละเอียดที่ควรทราบ คือ ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน และสามารถอนุญาให้บุคคลอื่นใช้งานลิขสิทธิ์ของตนได้ ตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่กำหนดให้ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งอนุญาตให้บุคคอื่นใช้งานลิขสิทธิ์ ซึ่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ในกรณีบุคคลอื่นกระทำการใด ๆ แก่งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่กำหนดให้ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
2. งานนาฏกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
5. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
7. งานภาพยนตร์
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
แนวทางเบื้องต้นสำหรับการใช้งานลิขสิทธิ์ :
เกณฑ์การพิจารณาในการใช้งานลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ โดยการกระทำดังกล่าวจะต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร โดยอาจพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์ ดังนี้
วัตถุประสงค์และลักษณะของการใช้งานลิขสิทธิ์ :
1. การใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่มีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อการค้า หรือหากำไร โดยปกติการใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นเพื่อการค้นหาหรือหากำไร ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่าง การใช้งานลิขสิทธิ์เพื่อการค้าหรือหากำไร เช่น การนำเพลงของบุคคลอื่นไปทำเทปเพลงเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไปเป็นการกระทำเพื่อการค้า หรืออาจารย์ผู้สอนถ่ายสำเนาตำราเรียนบางคอนเพื่อขายนักศึกษาในชั้นเรียนในราคาเกินกว่าต้นทุนค่าถ่ายเอกสาร เป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือนำภาพถ่ายของบุคคลไปใช้ในทางการค้าของตนเอง เป็นต้น เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม และถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์
2. การใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นจะต้องไม่มีเจตนาทุจริต เช่น การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่อ้างอิงถึงที่มา หรือใช้ในลักษณะที่ทำให้คนเข้าใจว่าเป็นงานของผู้ใช้งานลิขสิทธิ์นั้นเอง เป็นต้น
3. เป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม โดยนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยปรับเปลี่ยน (transform) ให้ต่งไปจากงานลิขสิทธิ์หรือมีการเพิ่มเติมสิ่งใหม่เข้าไปหรือไม่ ซึ่งหากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ก็เป็นการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม เช่น การคัดลอกอ้างอิง (quote) ในงานวิจัยเพื่ออธิบายความคิดเห็นของผู้เขียน หรือการรายงานข่าวที่ย่อคำกล่าว (speech) ของนายกรัฐมนตรีหรือ ย่อบทความโดยการคัดลอกอ้างอิงมาเพียงสั้น ๆ เป็นต้น
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ :
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 และมาตรา 33 กำหนดให้การรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน เช่น การเผยแพร่เสียง รูปภาพ หรือข้อความจากงานลิขสิทธิ์ ของบุคคลอื่น เป็นตั้น และการกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนจากงานอันมีลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือกล่าวถึงที่มาของงานลิขสิทธิ์ดังกล่าวด้วยทุกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การกระทำดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของการใช้สิทธิที่เป็นธรรม 2 ประการ คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร..


อ้างอิงมาจาก : ฝ่ายกฎหมาย ปณท





 

Create Date : 27 กันยายน 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2551 20:22:05 น.
Counter : 1575 Pageviews.  

"ถถความคิด เปิดความจริง...กรณีข่มขืน"

นี่เป็นคำกล่าวในงานสัมมนาที่จัดโดยมูลนิธิเพื่อนหญิง ที่รร.มิราเคิบ แกรนด์ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวในงานสัมมนาไว้ว่า แกนสำคัญที่จะทำให้ระบบกฎหมาย ระบบงานยุติธรรมงานคดีความผิดทางเพศพัฒนาเร็วขึ้น พบว่า ระบบความคิดของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและวงการกฎหมายในประเทศไทย ยังไม่เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่าง คดีแรกเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ศาลฎีกาตัดสินให้เห็นว่า เป็นไปในทิศทางของการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้พ้นจากภัยของการกระทำความผิดทางเพศ เด็กผู้เสียหาย อายุ 13 ปีเศษ อาศัยอยุ่ต่างจังหวัดทะเลาะกับแม่เลี้ยงที่เป็นผู้ดูแลอยุ่คนเดียว แล้วหนีออกจากบ้านไปอยู่หอพักกับเพื่อน แม่จะไปตามก็หลบไม่ให้พบ
จำเลย ซึ่งเป็นเพื่อนเจ้าของห้องพัก เข้ามาทำความรู้จักเด็กคนนี้ ชักชวนไปเที่ยว ไปฟังเพลง ไปขับรถเที่ยว แล้วก็..ลวนลาม กอดจูบ โดยข้อเท็จจริง ชัดเจนว่า เด็กเองยินยอม ซึ่งเด็กอายุ 13 ปีเศษ ในสมัยก่อน โอกาสที่จะตกอยู่ในสภาพอย่างนี้คงน้อย แต่ในโลกปัจจุบันเกิดขึ้นเยอะ แม้อายุน้อยกว่านี้ ก็มีพฤติกรรมลักษณะนี้
แม่แจ้งความดำเนินดดี 2 ข้อหา กระทำอนาจารต่อเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และฐานพรากผู้เยาว์
ศาลชั้นต้น ลงโทษจำคุก 6 ปี สำหรับความผิดฐานพรากผู้เยาว์ และความผิดฐานทำอนาจารกับเด็ก จำคุก 1 ปี
ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องว่าไม่ผิด ฐานพรากผู้เยาว์ ซึ่งเป็นความผิดหนัก โดยเห็นว่าเด็กไม่ได้อยู่ในความปกครองดูแลของแม่ ไปกับจำเลยโดยยินยอมไม่ได้มีการบังคับขืนใจ จำเลยเหลือโทษแค่ 1 ปี ฐานทำอนาจาร และลดโทษให้ 1 ใน 3 เพราะรับสารภาพในชั้นสอบสวน เหลือโทษจำคุก 8 เดือน
แม่โจทย์เสียใจมาก ขอให้อัยการโจทก์ฎีกา ศาลฎีกา..พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สั่งว่า...จำเลยมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ ถึงแม้ว่าเด็กจะยินยอมก็ตาม แต่เป็นเรื่องการแสวงประโยชน์ในทางเพศกับเด็กโดยมิชอบ
คดีนี้...แม้ว่าเด็กจะหนีออกจากบ้าน แต่พ่อแม่ก็ยังดูแลติดตามอยู่ ถือว่ายังมีอำนาจปกครองดูแลจึงเป็นความผิด
กรณีนี้ พิพากษากลับแก้ให้จำคุกกระทงนี้ เพิ่มขึ้นอีก 5 ปี วิเคราะห์คำพิพากษา ท่านให้เหตุผลว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีไปจากบิดามารดา ผุ้ปกครองหรือผู้ดูแลกฎหมายมีเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครอง....
อำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครอง หรือผุ้ดูแลเด็ก ไม่ให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง
"เมื่อการกระทำของจำเลย ทำให้อำนาจการปกครองถูกพรากไปโดยปริยาย แม้เด็กจะเต็มใจหรือสมัครใจไปกับจำเลยด้วย ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยพ้นความผิดไปไม่"

คดีที่สอง เกิดปีเดียวกัน เด็กอายุ 14 ปี ได้รับการแนะนำจากเพื่อนให้ขายบริการกับจำเลย อายุ 40 กว่าปี ที่บ้านจำเลย จำเลยถูกดำเนินคดี 2 คดี กระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี.....แม้เด็กจะยินยอมก็ผิด ศาลลงโทษจำคุก 6 ปี อีกกระทฐานพรากผู้เยาว์ เหมือนคดีแรก ศาลจำคุก 5 ปีรวมเป็น 11 ปีแต่จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้พิพากษายืน
"พอจำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดฐานพรากผุ้เยาว์ เรืองนี้จำเลยอยู่ที่บ้าน เด็กไปขายบริการที่บ้านจำเลย จำเลยก็ซื้อบริการเด็ก.....ความผิดก็น่าจะแค่ชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี แต่ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไม่น่าผิด พิพากษายกฟ้องกรณีนี้"
อาจารย์จรัล ทิ้งท้ายว่า
"การถกความคิด เปิดความจริงในคดีทางเพศ เป็นเรื่องดี เพราะที่ผ่านมา อาจเป็นเรื่องของการปกควาคิด ปิดความจริง...เป็นพื้นที่ที่ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ไม่มีมาตรฐาน..ไม่มีหลักมีเกณฑ์อย่างที่ควรจะเป็น"


อ้างอิงจาก นสพ.ไทยรัฐ 26 กย.51




 

Create Date : 25 กันยายน 2551    
Last Update : 25 กันยายน 2551 19:40:28 น.
Counter : 281 Pageviews.  

<<<พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค>>>สำหรับมือถือ...

เรื่องของ "นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้" หรือการคงสิทธิ์เลขหมายโทรศัพท์เดิมนั้น แต่เดิมเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้เลย จะย้ายค่ายมือถือกันทีก็ต้องปิดเบอร์เก่า-เปิดเบอร์ใหม่และต้องเที่ยวไล่บอกเพื่อนพ้องน้องพี่กันให้วุ่น บางคนต้องแก้ด้วยการมีโทรศัพท์มือถือกันที 2-3 เครื่อง มีมันซะหมดทุกเครือข่ายนั่นแหละ
แต่วันนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ได้ยกร่างหลักเกณฑ์การคงสิทธิ์เลขหมายที่ว่าขึ้นมาแล้วครับ เหลือเพียงการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในชั้นสุดท้ายและตั้งเคลียริ่งเฮาส์เท่านั้น
แต่เรื่องนี้ พล.อ.ชูชาติ พรหมประสิทธิ์ ประธาน กทช.แจงให้"เนตรทิพย์" ฟังว่าแม้ กทช.สามารถจะประกาศใช้หลักเกณฑ์การคงสิทธิ์เลขหมายได้เลย โดยไม่ต้องไปทำประชาพิจารณ์อะไรเพราะกฎหมายไม่ได้บังคับเอาไว้ แต่เพราะกทช. เห็นว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้กับประชาชนผู้บริโภคโดยตรง จึงมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการ ออกไปดำเนินการทำประชาพิจารณ์หัวเมืองต่าง ๆ ยิ่งกว่าทัวร์คอนเสิร์ตเสียอีก
อีกเรื่องที่ผมอยากชื่นชมองค์กร กทช.แห่งนี้ที่ชุ่มเงียบดำเนินการไป โดยทีเราไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ การจัดตั้งสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่ไล่เบี้ยแทนผู้บริโภคประเภทเจอลูกเล่นตุกติกโทรทีไรเป็นได้ยินแต่เสียงตู๊ดๆ ติดต่อไม่ได้ สายหลุด บางคนโทรติดบ้างไม่ติดบ้าง แต่ก็มีบิลเรียกเก็บแพงหูฉี่ ไม่จ่ายแม่ก็ตัดสัญญาณฉับเรียกวค่าต่อบานตะเกียงนั้น
วันนี้สามารถร้องเรียนยังสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมแห่งนี้ได้หมดครับ เขามีมาตรการฟาดฟันค่ายมือถือจอมตุกติกทั้งของรัฐ-เอกชนได้หมด ...

อ้างอิงจากนสพ.ไทยรัฐฉบับ17กย.51




 

Create Date : 17 กันยายน 2551    
Last Update : 17 กันยายน 2551 19:46:05 น.
Counter : 184 Pageviews.  


Mr.bearblog
Location :
ศรีสะเกษ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ผมนายหมีครับ ทำงานที่ไปรษณีย์ไทยจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันศึกษาป.โทที่ม.รังสิตสาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครับ
Friends' blogs
[Add Mr.bearblog's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.