หลังดิสคัฟเวอร์ขึ้นฟ้าจะได้ดู นักบินญี่ปุ่นเสกพรมวิเศษในแล็บอวกาศ
หลังดิสคัฟเวอร์ขึ้นฟ้าจะได้ดู นักบินญี่ปุ่นเสกพรมวิเศษในแล็บอวกาศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มีนาคม 2552 13:50 น.

เดี๋ยวจะได้รู้กันว่าในห้องแล็บอวกาศ จะสามารถทำให้พรมธรรมดา กลายเป็นพรมวิเศษที่ลอยได้หรือเปล่า เพราะนักบินอวกาศของแจกซา เตรียมหาคำตอบในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมกับอีกหลากหลายข้อการทดลอง ที่จะขนขึ้นไปศึกษาบนอวกาศพร้อมกับยานดิสคัฟเวอรีของค่ำวันพุธนี้

องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือ แจกซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) เปิดเผยว่า โคอิชิ วากาตะ (Koichi Wakata) ได้ออกเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) พร้อมกับยานดิสคัฟเวอรี (Discovery) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ในคืนวันที่ 5 มี.ค.52 นี้ตามเวลาท้องถิ่น พร้อมด้วยการทดลอง 16 เรื่อง ที่คัดเลือกจากทั้งหมด 1,597 เรื่อง ที่ประชาชนชาวญี่ปุ่นสนใจเสนอเข้ามา มีตั้งแต่นักเรียนชั้นอนุบาลจนถึงคุณปู่วัย 90 ปี

เอเอฟพีรายงาน ตามที่แจกซาประกาศไว้ว่าวากาตะจะขึ้นไปปฎิบัติภารกิจในส่วนห้องแล็บคิโบ (Kibo) ของญี่ปุ่น บนสถานีอวกาศ เป็นเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 เดือน โดยทันทีที่ไปถึงจุดหมาย วากาตะจะเริ่มการทดลองแรก ด้วยการพยายามทำให้พรมวิเศษลอยได้ในอากาศ

"มันเป็นเรื่องเพ้อฝันเมื่ออยู่บนโลก แต่ในอวกาศมนุษย์เราจะสามารถบินได้หรือเปล่าหนอ?" แจกซาตั้งคำถามให้ชวนติดตาม สำหรับการทดลองเรื่องพรมวิเศษ

นอกจากนี้ก็ยังมีการทดลองอื่นๆ ที่นักบินญี่ปุ่นวัย 45 ปี ผู้นี้จะทดลองในห้องแล็บคิดโบด้วย ซึ่งก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น การทดลองพับเสื้อผ้าแล้วโยนขึ้นไปตีลังกากลางอากาศ, แข่งงัดข้อกับเพื่อนนักบินอวกาศ และยิงของเหลวออกมาทางหลอดของภาชนะบรรจุ เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังจากนั้น

ทั้งนี้ วากาตะเคยเป็นวิศกรของสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ส (Japan Airlines) มาก่อนที่จะมาเป็นนักบินอวกาศ และเคยร่วมเดินทางปฏิบัติภารกิจกับยานอวกาศของนาซามาแล้ว 2 ครั้ง ในปี 2539 และ 2543.



Create Date : 10 มีนาคม 2552
Last Update : 10 มีนาคม 2552 20:15:05 น.
Counter : 721 Pageviews.

0 comment
ไม่เคยพบมาก่อน "หลุมดำคู่" โคจรรอบกันราวกับกำลังเต้นรำ
ไม่เคยพบมาก่อน "หลุมดำคู่" โคจรรอบกันราวกับกำลังเต้นรำ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มีนาคม 2552 14:00 น.


ภาพวาดจำลอง "หลุมดำคู่" ประกอบบทความ (ภาพ P. Marenfeld/NOAO/ไซแอนทิฟิกอเมริกัน)







































“หลุม
ดำ" ที่น่าสะพึงกลัว มีอยู่ทั่วเอกภพ แม้แต่ในทางช้างเผือกของเรา
ก็มีหลุมดำยักษ์ที่มวลมากกว่าดวงอาทิตย์ราวสี่ล้านเท่า หลบซ่อนอยู่ใจกลาง
แต่ล่าสุดนักดาราศาสตร์เพิ่งพบ "หลุมดำคู่"
ที่โคจรรอบกันและกันอยู่ภายในกาแลกซีเดียวกัน
มีขนาดใหญ่กว่าในกาแลกซีของเรามากนัก
อีกทั้งยังอยู่ใกล้กันชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน



       ตามรายงานของไซแอนทิฟิกอเมริกันและบีบีซีนิวส์ ที่อ้างถึงทอดด์
บอรอสัน (Todd Boroson) และท็อด ลัวเออร์ (Tod Lauer)
จากหอดูดาวดาราศาสตร์ทางแสงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Optical Astronomy
Observatory: NOAO) ในทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐฯ พบว่า "ควอซาร์” (quasar)
หรือวัตถุคล้ายดาว ที่ส่งคลื่นวิทยุหรือพลังงานรูปอื่นออกมา SDSS
J153636.22+044127.0 ซึ่งเป็นควอซาร์บ้านใกล้เรือนเคียงกับเรานั้น
มีคู่หลุมดำที่โคจรรอบกันและกัน และมีคาบสั้นกว่าระบบคู่อื่นๆ
โดยมีคาบโคจรรอบกันราว 100 ปี

เมื่อ
เทียบกับหลุมดำทั้งสองนี้แล้ว
หลุมดำในทางช้างเผือกของเราเรียกได้ว่าเป็นหลุมดำแคระเลยทีเดียว
โดยหลุมดำที่เล็กกว่ามีมวลประมาณ 20 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์
ขณะที่หลุมดำขนาดใหญ่ประมาณว่ามีมวลเกือบๆ 800
ล้านเท่าของดวงอาทิตย์เลยทีเดียว



       อีกทั้ง
ตามข้อมูลการวิเคราะห์ของทีมวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผลงานลงวารสารเนเจอร์
(Nature) ประมาณว่าหลุมดำทั้งคู่อยู่ห่างกัน 1 ใน 3 ปีแสง
ขณะที่ดาวข้างเคียง ซึ่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดนั้น
ยังมีระยะทางมากว่าระยะดังกล่าวประมาณ 13 เท่า


       ตามทฤษฎีการก่อตัวของกาแลกซีซึ่งมีหลุมดำอยู่ใจกลางนั้น
ทฤษฎีชี้ว่า ตราบเท่าที่กาแลกซีอยู่ใกล้อีกกาแลกซีนั้น
หลุมดำของกาแลกซีทั้งสองจะโคจรรอบกันจนกว่าจะรวมกันในที่สุด แต่ทฤษฎีเกี่ยวกับหลุมดำที่อยู่ใกล้กันมากและโคจรรอบกันนั้นไม่มีค่อยมีให้เห็น


       ทางด้านจอน มิลเลอร์ (Jon Miller)
จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนในแอนน์อาร์บอร์ (University of Michigan at Ann
Arbor) เรียกการศึกษานี้ว่า "ตัวอย่างแรกที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ของระบบหลุมดำคู่ที่มีพันธะเหนี่ยวแน่น" โดยก่อนหน้านี้มีระบบคล้ายๆ กัน
แต่หลุมดำอยู่แยกกันไกลกว่านี้มาก หรือในกรณีของควอซาร์ที่ชื่อ OJ 287
ก็ยังไม่มีหลักฐานสรุปว่ามีหลุมดำคู่.












Free TextEditor



Create Date : 10 มีนาคม 2552
Last Update : 10 มีนาคม 2552 20:13:40 น.
Counter : 725 Pageviews.

0 comment
พัฒนาเทคนิคใหม่ไม่ใช้ไวรัสสร้างสเต็มเซลล์ ลดเสี่ยงเป็นมะเร็งภายหลัง
พัฒนาเทคนิคใหม่ไม่ใช้ไวรัสสร้างสเต็มเซลล์ ลดเสี่ยงเป็นมะเร็งภายหลัง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2552 14:47 น.

นัก วิทย์พัฒนาเทคนิคใหม่ ทำเซลล์ผิวหนังให้เป็นสเต็มเซลล์ตัวอ่อนได้ โดยไม่ต้องใช้ไวรัสเป็นตัวช่วย ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งในผู้ป่วยหากนำไปใช้จริง ขยับเข้าใกล้การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ตัวอ่อนแบบไม่ทำลายตัวอ่อน

ผลงานวิจัยของ ศ.ชินยะ ยามานากะ (Shinya Yamanaka) นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ประเทศญี่ปุ่น ที่สามารถเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้เป็นสเต็มเซลล์ตัวอ่อนเมื่อ 2 ปีก่อน ได้รับการต่อยอดโดยทีมนักวิจัยสก็อตแลนด์ร่วมกับแคนาดา ที่พัฒนาวิธีการนำดีเอ็นเอสำคัญเข้าสู่เซลล์ โดยไม่ต้องพึ่งพาไวรัสได้สำเร็จ ซึ่งเอเอฟพีรายงานว่าได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์ (Nature) เมื่อต้นเดือน มี.ค. 2552

ความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิค ที่สามารถเปลี่ยนให้เซลล์ผิวหนังกลายเป็นสเต็มเซลล์ตัวอ่อนได้ หรือที่เรียกว่า ไอพีเอส (induced pluripotent stem cells: iPS) โดยทีมวิจัยของ ศ.ยามานากะ เมื่อปี 2550 สร้างความหวังให้กับวงการวิทยาศาสตร์ และลดการต่อต้านจากสังคมได้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ได้สเต็มเซลล์ตัวอ่อนโดยที่ไม่ต้องทำลายตัวอ่อน หรื่อยุ่งเกี่ยวกับตัวอ่อนเลย

วิธีการของ ศ.ยามานากะ ในการนำยีน 4 ยีน ที่มีบทบาทสำคัญในสเต็มเซลล์ตัวอ่อนใส่เข้าไปในเซลล์ผิวหนัง เพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังกลายเป็นสเต็มเซลล์ตัวอ่อน ต้องใช้ไวรัสเป็นตัวนำพายีนเหล่านั้นเข้าสู่เซลล์ ซึ่งอาจนำไปใช้กับผู้ป่วยไม่ได้จริงๆ เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการทำให้เกิดมะเร็ง

ทว่าข้อกังวลดังกล่าว ได้รับการแก้ไขโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยแอนเดรียส์ นากี (Andreas Nagy) จากสถาบันวิจัย ซามูเอล ลูเนนเฟลด์ (Samuel Lunenfeld Research Institute) โตรอนโต แคนาดา และเคสึเกะ คาจิ (Keisuke Kaji) จากศูนย์การแพทย์เพื่อการสร้างอวัยวะใหม่ (Centre for Regenerative Medicine) มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) สก็อตแลนด์

ข่าวจากนิตยสารเนเจอร์ระบุว่า พวกเขาที่พัฒนาวิธีการนำยีนสำคัญเข้าสู่เซลล์โดยอาศัย พิกกีแบค (piggyBac) นำยีนดังกล่าวเข้าไปสอดแทรกในโครโมโซม ซึ่งพิกกีแบคนั้นถูกใช้ในการดัดแปลงพันธุกรรมพืชอยู่ก่อนแล้ว

จากการทดลองกับเซลล์ผิวหนังของหนูทดลองและของมนุษย์ พบว่ามีการพัฒนาไปเป็นสเต็มเซลล์ตัวอ่อนได้อย่างมีศักยภาพเช่นกัน และนักวิจัยยังสามารถกำจัดยีนที่ใส่เพิ่มเข้าไปในตอนแรกได้ด้วย

"ผมตื่นเต้นอย่างมาก เมื่อพบว่ามีเซลล์ที่เหมือนกับสเต็มเซลล์เกิดขึ้นในจานเพาะเลี้ยง ซึ่งไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้จริงๆ รวมทั้งตัวผมเองด้วย ซึ่งวิธีการนี้น่าจะใช้ได้ผลในทางการแพทย์ และยังช่วยหลีกเลี่ยงการใช้สเต็มเซลล์ที่ได้จากตัวอ่อนด้วย" คาจิ กล่าวในสำนักข่าวเอเอฟพีและบีบีซีนิวส์

ด้าน เอียน วิลมุต (Ian Wilmut) นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้กับเนิดแกะดอลลี ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยที่คาจิสังกัดอยู่ เผยว่าผลสำเร็จในครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความหวังมากขึ้นในการสร้าง อวัยวะใหม่เพื่อการรักษา ซึ่งอาจประสบผลสำเร็จได้ในอีกไม่นานนี้ แต่

อย่างไรก็ดี วิลมุตเน้นย้ำว่าไอพีเอสเซลล์ที่ได้จากเทคนิคใหม่นี้จะต้องผ่านขั้นตอนการ ทดสอบความปลอดภัยอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนที่จะมีการนำไปทดลองในมนุษย์




Create Date : 09 มีนาคม 2552
Last Update : 9 มีนาคม 2552 19:57:27 น.
Counter : 582 Pageviews.

0 comment
นาซาหาคำตอบ "เราโดดเดี่ยวหรือไม่?" ส่งกล้อง “เคปเลอร์” ส่องหาดาวเคราะห์คล้ายโลก
นาซาหาคำตอบ "เราโดดเดี่ยวหรือไม่?" ส่งกล้อง “เคปเลอร์” ส่องหาดาวเคราะห์คล้ายโลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2552 18:22 น.

ในที่สุดภารกิจค้นหาเพื่อนร่วมกาแลกซี่ก็เริ่ม ขึ้น โดยนาซาประเดิมส่ง “เคปเลอร์” กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่บันทึกภาพได้ละเอียดที่สุด ล่องไปตามทางช้างเผือก มองหาดาวเคราะห์ที่โคจรผ่านดาวฤกษ์ แบบโลกและดวงอาทิตย์ ตลอด 3 ปีครึ่ง เพื่อให้ได้คำตอบว่า โลกที่เราอยู่เป็น “โลนลี่ แพลนเน็ต” หรือไม่

กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ (Kepler) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา (นา ซา) ได้ออกเดินทางสู่ห้วงอวกาศด้วยจรวดเดลตาทู (Delta II) จากฐานทัพอากาศที่แหลมคานาเวรัล ฟอริดา (Cape Canaveral Air Force Station) เป็นผลสำเร็จ เมื่อ 10.49 น. ของวันที่ 7 มี.ค.52 (ตามเวลาประเทศไทย)

ทั้งนี้ เคปเลอร์มีภารกิจประมาณ 3 ปีครึ่ง ในการเดินทางสำรวจค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก ที่อยู่ในดาราจักร หรือกาแลกซีทางช้างเผือก โดยเอ็ด ไวเลอร์ (Ed Weiler) ผู้ช่วยผู้อำนวยการนาซา กล่าวว่า ภารกิจนี้เพื่อต้องการตอบคำถามที่มีอยู่ยาวนานว่า มีดาวเคราะห์เหมือนเราอยู่ในทางช้างเผือกไหม

“จริงๆ แล้วไม่เชิงเป็นภารกิจทางวิทยาศาสตร์เสียทีเดียว แต่น่าจะเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์มากกว่า” ไลเวอร์ ซึ่งดูแลคณะกรรมการภารกิจด้านวิทยาศาสตร์ นาซากล่าว

ระหว่าง การค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลก เคปเลอร์ก็จะมีโอกาสสำรวจดวงดาวต่างๆ กว่า 100,000 ดวง ที่อยู่แถวๆ กลุ่มดาวหงส์ (Cygnus) และกลุ่มดาวพิณ (Lyra) ในทางช้างเผือก

นี่นับเป็นโครงการสำรวจดาวเคราะห์คล้ายโลก ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ครั้งแรกของนาซา ด้วยงบประมาณมูลค่าเกือบ 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีชีวติ ทั้งระยะทางระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ดวงแม่ อุณหภูมิ ที่เพียงพอจะกักเก็บน้ำ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำรงชีวิตอยู่

นอกจากนี้ เคปเลอร์ยังจะติดตามหาดาวเคราะห์ดวงเล็กๆ ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป รวมทั้งจะค้นหาว่าดาวนั้นๆ เป็นดาวหิน (อย่างโลก) และมีของเหลวที่เป็นน้ำหรือไม่

“ถ้าพวกเราค้นพบดาวเคราะห์แบบนี้ได้มาก อาจจะแสดงได้ว่า “ชีวิต” แบบนี้ เป็นเรื่องธรรมดาในกาแลกซี เพราะถ้ามีสถานที่ที่เอื้ออำนวย ก็ถือเป็นโอกาสที่ให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้วิวัฒนาการ เหมือนเช่นมนุษย์เรา” วิลเลียม โบรุกกี (William Borucki) ผู้ตรวจการณ์หลักของโครงการเคปเลอร์ โดยมีฐานอยู่ที่ศูนย์วิจัยของนาซา ในแคลิฟอร์เนีย (NASA's Ames Research Center)

“แต่ถ้าไม่พบ หรือพบดาวเคราะห์ประเภทคล้ายโลกเพียงน้อยนิด นั่นอาจจะแสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลกเป็นสิ่งที่หายาก และโลกอาจจะเป็นดาวเคราะห์ที่สันโดษ หรือเป็นโลนลี่ แพลเน็ต (lonely palnet) เพราะมีเพียงแห่งเดียวที่เอื้อต่อการมีชีวิต” โบรุกกีสันนิษฐานต่อ

สำหรับอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเคปเลอร์นั้น ใช้กล้องที่มีอุปกรณ์รับแสง หรือ ซีซีดี (charge-coupled devices : CCDs) ขนาด 95 เมกะพิกเซล นับว่าเป็นกล้องขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยปล่อยสู่อวกาศ นั่นหมายความว่า เคปเลอร์จะสามารถตรวจจับแสงที่เจือจาง หรือริบรี่จากดวงดาว ขณะดาวเคราะห์โคจรผ่านหน้าได้

“ถ้าเคปเลอร์มองลงมาที่เมืองเล็กๆ บนผิวโลกในยามกลางคืนจากอวกาศ เคปเลอร์จะสามารถตรวจจับแสงจางๆ จากไฟฉายที่มีคนเดินผ่านหน้าได้” เจมส์ ฟานซัน (James Fanson) ผู้จัดการโครงการเคปเลอร์ เปรียบเทียบความสามารถของกล้องความละเอียดสูงที่มีในเคปเลอร์

“ความ พยายามที่จะตรวจจับดาวเคราะห์ขนาดดาวพฤหัสบดีผ่านหน้าดวงดาว ก็เหมือนกับการตรวจหายุงที่บินผ่านไฟหน้ารถยนต์ ทว่าการตามหาดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก ยิ่งเป็นเหมือนการค้นหาตัวเห็บที่ผ่านไฟหน้ารถยนต์” ฟานซันเปรียบเทียบให้เห็นถึงความยากลำบากของภารกิจครั้งนี้

ทางด้าน จอน มอร์ส (Jon Morse) ผู้อำนวยการฝ่ายฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของนาซา กล่าวว่า ดาวเคราะห์ที่เคปเลอร์กำลังไปสำรวจนี้ นับเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เข้าใจว่า ดาวเคราะห์ขนาดคล้ายโลกมีอยู่มากน้อยอย่างไร และจะได้เตรียมการภารกิจในอนาคต เพื่อตรงเข้าไปตรวจสอบดาวนั้นๆ โดยละเอียด

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่นักดาราศาสตร์สามารถส่องกล้องโทรทรรศน์ไปนอกโลกได้เป็นครั้งแรก พวกเขาก็มุ่งหาดาวที่มีหน้าตาคล้ายโลก ทว่าดาวเคราะห์ขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่คู่กัน ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะค้นหา อีกทั้งมีดาวเคราะห์เพียง 8 ดวงที่ได้รับการค้นพบในระบบสุริยะ ส่วนพลูโตก็แสนก้ำกึ่ง จนในที่สุดจึงกลายเป็นวัตถุในอวกาศไป (แม้ว่าจะเรียกภายหลังว่า “ดาวเคราะห์แคระ” ก็ตาม)

ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วถึง 337 ดวง แต่ดาวเหล่านั้นก็มีขนาดใหญ่กว่าโลก และไม่มีสภาพคล้ายโลก ที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต แม้ดาวเทียมคอรอต (COROT) ของฝรั่งเศส จะค้นพบดาวเคราะห์นอกเขตสุริยะที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ก็ใหญ่กว่าโลกถึง 2 เท่า และดาวเคราะห์ดังกล่าวก็อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่เป็นดาวแม่ ทำให้มีอุณหภูมิสูง

นอกจากนี้ เดบรา ฟิสเชอร์ (Debra Fischer) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานฟรานซิสโก (San Francisco State University) ก็หวังว่า ภารกิจครั้งนี้จะกลายเป็นฐานสำคัญ ในการศึกษาและทำความเข้าใจ ชนิดของดาวเคราะห์ต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นรอบๆ ดาวฤกษ์ดวงแม่ อีกทั้งหวังว่าสักวันหนึ่งจะได้เห็นจุดสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกในกาแลกซี่ทางช้างเผือก.

***************************************************

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "เคปเลอร์"

1. เคปเลอร์เป็นโครงการแรกของโลก ที่มีศักยภาพในการค้นหาและเปรียบเทียบดาวเคราะห์ที่มีขนาดคล้ายโลก โดยสังเกตจากดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่เป็นดาวแม่ (เหมือนโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์) รวมทั้งค้นหาความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่เอื้อต่อการมีชีวิต โดยดาวเคราะห์นั้นๆ ต้องมีระยะห่างจากดาวฤกษ์ดวงแม่พอสมควร ที่ไม่ร้อนเกินไป และสามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ คล้ายๆ กับโลกที่มีมหาสมุทรหลายแห่ง

2. ท้ายที่สุดของภารกิจ 3 ปีครึ่งของเคปเลอร์ เราชาวโลกก็จะได้ข้อสรุปว่า โลกที่เราอยู่อาศัยนี้ เป็นดาวเคราะห์ที่มีมากมายในกาแลกซี่ทางช้างเผือก หรือว่าเป็นสิ่งพิเศษ ซึ่งจะนำไปสู่คำตอบที่สำคัญยิ่งต่อคำถามนานนับศตวรรษที่ว่า “มีโลกเราเท่านั้นที่มีสิ่งมีชีวิตหรือไม่?”

3. เคปเลอร์ตรวจจับดาวเคราะห์ต่างๆ โดยการมองหาจุดเล็กๆ ที่พาดผ่านดาวฤกษ์ต่างๆ เหมือนที่เรามองเห็นการทรานซิสของดาวเคราะห์ที่พาดผ่านดวงอาทิตย์ (หรือดาวเคราะห์ด้วยกัน) ซึ่งเคปเลอร์ก็จะสังเกตเช่นนั้น แต่เดินทางไปทั่วกาแลกซี

4. เคปเลอร์ติดตั้งกล้องที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยส่งไปปฏิบัติภารกิจบนห้วงอวกาศ โดยใช้ซีซีดีถึง 95 เมกะพิกเซล ซึ่งเป็นอุปกรณ์รับแสงที่ติดตั้งในกล้องดิจิทัลทั่วไปในปัจจุบัน (แต่มีความละเอียดกว่ามากๆๆๆ)

5. กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์นับได้ว่าทรงพลังมาก เพราะสามารถมองเห็นคนถือไฟฉายในยามกลางคืนได้ แม้จะส่องลงมาจากอวกาศก็ตาม.



Create Date : 09 มีนาคม 2552
Last Update : 9 มีนาคม 2552 19:56:37 น.
Counter : 567 Pageviews.

0 comment
แคสซินีพบจันทร์ดวงใหม่ซ่อนในวงแหวนดาวเสาร์







โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2552 15:43 น.



































ภาพจากยานแคสซินี 3
ภาพ เรียงลำดับกันภายในช่วงระยะเวลา 10 นาที
แสดงให้เห็นดวงจันทร์ดวงใหม่ที่เพิ่งค้นพบ (ในกรอบสีเหลี่ยมเล็ก)
ส่องสว่างอยู่ในวงแวนจีที่สลัวๆ (นาซา)

แคสซินีพบดวงจันทร์บริวารน้องใหม่ของดาว
เสาร์ เป็นจันทร์ดวงเล็กที่แอบซ่อนอยู่ในชั้นวงแหวนสลัวที่ไม่เต็มวง
นักวิทยาศาสตร์คาดดวงจันทร์อาจเคยถูกอุกกาบาตชน
ทำให้เศษน้ำแข็งกระจัดกระจายกลายเป็นชั้นวงแหวนทีมีเพียงบางส่วน



       นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการสำรวจดาวเสาร์โดยยานแคสซินี (Cassini) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ หรือนาซา (NASA) เปิดเผยในเอกสารของสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union)
ถึงการค้นพบดวงจันทร์บริวารดวงใหม่ของดาวเสาร์
โดยระบุว่ามีขนาดประมาณครึ่งกิโลเมตร พบอยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ชั้นจี (G
ring) ซึ่งนาซารายงานว่าดวงจันทร์ดังกล่าวอาจเป็นต้นกำเนิดของวงแหวนชั้นนี้


       "ก่อนหน้านี้เราเข้าใจกันว่าในวงแหวนชั้นจีมีแต่เพียงฝุ่นเท่านั้น และไม่มีจันทร์ดวงไหนที่โคจรอยู่ในวงแหวนดังกล่าว แต่แคสซินีก็พบ
และการค้นพบดวงจันทร์ในชั้นวงแหวนจีนี้ก็จะทำให้เราเข้าใจปริศนาคาใจก่อน
หน้านี้ได้ดียิ่งขึ้น" แมทธิว เฮดแมน (Matthew Hedman)
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนล (Cornell University) เมืองอิทาคา
มลรัฐนิวยอร์ก กล่าว ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในทีมวิจัยภาพถ่ายจากยานแคสซินี


       วงแหวนชั้นจีของดาวเสาร์เป็นชั้นที่อยู่ค่อนออกมาทางด้านนอก
และเป็นชั้นที่ค่อนข้างบางเบา โดยจัดว่าเป็นวงแหวนบางส่วน
มีความกว้างประมาณ 250 กิโลเมตร
และแผ่ขยายออกไปเป็นส่วนโค้งด้วยระยะทางประมาณ 150,000 กิโลเมตร หรือ 1 ใน
6 ของระยะทางรอบดาวเสาร์ในตำแหน่งของวงแหวนจี ซึ่ง
จากการวิเคราะห์ฝุ่นในบริเวณดังกล่าวก่อนหน้านี้คาดว่าวงแหวนจีนี้เกิดขึ้น
จากเศษน้ำแข็งที่เคยเป็นส่วนเดียวกันมาก่อน
และเป็นได้ว่าอาจกระจัดกระจายออกมาจากดวงจันทร์ดังกล่าวเมื่อครั้งถูก
อุกกาบาตพุ่งชนนานมาแล้ว



       ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์พบดวงจันทร์ดังกล่าวในภาพของเมื่อวันที่ 15
ส.ค.51
และมั่นใจได้ว่าวัตถุดังกล่าวเป็นดวงจันทร์อีกดวงหนึ่งของดาวเสาร์จริงๆ
เมื่อพบวัตถุเดียวกันอยู่ในอีก 2 ภาพก่อนหน้านั้น
ซึ่งพวกเขาพบเห็นดวงจันทร์ดวงนี้เป็นครั้งคราว ล่าสุดที่พบคือเมื่อวันที่
20 ก.พ. ที่ผ่านมา


       ดวงจันทร์ที่พบใหม่นี้มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะวิเคราะห์ขนาดได้โดยตรงด้วยกล้องของยานแคสซินี แต่
นักวิทยาศาสตร์ประมาณการว่าน่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวครึ่งกิโลเมตร
โดยการเทียบความสว่างกับจันทร์ดวงเล็กของดาวเสาร์อีกดวงหนึ่งที่ชื่อว่า
พาลลินี
(Pallene)
และยังพบอีกด้วยว่าวงโคจรของจันทร์ดวงเล็กที่เพิ่งพบนี้ถูกรบกวนจากดวง
จันทร์ไมมาส (Mimas) ที่อยู่ใกล้เคียงกันและมีขนาดใหญ่กว่า
โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 390 กิโลเมตร


       ด้านคาร์ล เมอร์เรย์ (Carl Murray) นักวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งในทีม
จากควีนแมรี ยูนิเวอร์ซิตี ออฟ ลอนดอน (Queen Mary, University of London)
สหราชอาณาจักร
กล่าวว่าการค้นพบจันทร์ดวงนี้และวิถีโคจรที่ถูกรบกวนจากจันทร์ดวงใกล้เคียง
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันระหว่างดวงจันทร์ทั้งสองและวงแหวนของ
ดาวเสาร์
ซึ่งเรายังต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกเกี่ยวกับการเกิดส่วนโค้งของวงแหวนและปฏิ
สัมพันธ์กับโครงสร้างหลักของมัน






Free TextEditor



Create Date : 06 มีนาคม 2552
Last Update : 6 มีนาคม 2552 20:01:30 น.
Counter : 622 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend