"ความพัวพัน" ควอนตัมที่ไอน์ไสตน์เมิน สั่นคลอนสัมพัทธภาพพิเศษ
"ความพัวพัน" ควอนตัมที่ไอน์ไสตน์เมิน สั่นคลอนสัมพัทธภาพพิเศษ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มีนาคม 2552 15:56 น.

เป็นที่ทราบกัน ในวงการฟิสิกส์ว่า "ควอนตัม" และ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ" ของไอน์สไตน์นั้น ไปด้วยกันไม่ค่อยได้เท่าไหร่นัก และดูเหมือนว่า "ความพัวพัน" ซึ่งส่วนของควอนตัม อาจจะสั่นคลอนรากฐานทฤษฎีของไอน์สไตน์ ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นศิลาแห่งการตั้งต้นฟิสิกส์ยุคใหม่

ความเกี่ยวพัน หรือ ความพัวพัน (Entanglement) ก็ให้ผลเหมือนควอนตัมอื่นๆ ที่สั่นคลอนสัญชาตญาณบางอย่างของเราเกี่ยวกับโลก และเป็นไปได้ว่าฐานรากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) อาจถูกสั่นคลอนได้เช่นกัน โดยนิตยสารไซแอนทิฟิกอเมริกัน สรุปรวบยอดถึงความเป็นไปได้ ที่ทฤษฎีควอนตัมอาจจะสั่นคลอนทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษได้

ใน เอกภพที่เราประสบพบเจออยู่นี้ เราสามารถรับรู้ถึงผลต่างๆ โดยตรงเฉพาะวัตถุที่เราสัมผัสได้เท่านั้น การที่เรารับรู้โลกได้เช่นนั้นเรียกว่า "โลคอล" (local)

ขณะที่กลศาสตร์ควอนตัมของ 2 อนุภาคประพฤติตัวสอดคล้องกัน โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางเรียกว่า "นอนโลคอล" (nonlocal) ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นผลอันขัดแย้งต่อสัญชาตญาณเท่านั้น

แต่นอนโลคอลยังอาจสร้างปัญหา ให้ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษได้ด้วย

ตามสัญชาตญาณของเรา การที่จะเคลื่อนก้อนหินสักก้อน เราอาจจะใช้ไม้ส่งแรงโดยตรงไปยังหินก้อนนั้น ขณะเดียวกันก็เกิดเสียงสัมผัสมากระทบที่หูของเรา ซึ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้น ล้วนต้องอาศัยตัวกลาง หรือเราจะทำให้สิ่งใดมีผลต่อสิ่งใด สิ่งของทั้งสองอย่างต้องอยู่ถัดกัน หรือไม่ก็ต้องมีตัวกลางที่จะส่งผ่านถึงกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดไฟที่กระแสไฟฟ้าถูกส่งผ่านสายไฟ หรือการฟังวิทยุที่คลื่นสัญญาณเดินทางมากับอากาศ เป็นต้น

ผู้รู้ในโลกของฟิสิกส์เชื่อว่า โลกกายภาพนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเพียงหนึ่งเดียว แต่กลศาสตร์ควอนตัม สั่นคลอนความเชื่อนี้ คุณลักษณะกายภาพที่เป็นจริง และวัดได้ของอนุภาคที่อยู่รวมกันนั้น ไม่สามารถบ่งบอกจากการรวมคุณลักษณะของอนุภาคเดี่ยวๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น อนุภาค 2 ตัวที่อยู่ห่างกัน 2 ฟุต เราไม่สามารถรู้ตำแหน่งที่แน่ชัดของอนุภาคทั้งสองได้

นีลส์ บอห์ร (Niels Bohr) นักฟิสิกส์ชาวเดนมาร์กผู้ยิ่งใหญ่ในศตวรรษที่ผ่านมา ยืนยันว่า ไม่ใช่เพราะเราไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตำแหน่งที่แท้จริงของอนุภาคเดี่ยว หากแต่ไม่มีข้อเท็จจริงที่ว่านั้น ดังนั้นการถามหาตำแหน่งของอนุภาคเดี่ยว จึงไร้ความหมาย

"ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่าเรารู้อะไร แต่ปัญหาคือมันเป็นอะไร" บอห์ร บอกไว้

นักฟิสิกส์หลายคนกล่าวว่า อนุ ภาคที่สัมพัทธกันรูปแบบดังกล่าว จะมีคุณสมบัติ "พัวพัน" ในเชิงกลศาสตร์ควอนตัมกันอนุภาคอื่น ซึ่งคุณสมบัติในการพัวพันนี้ ไม่จำเป็นต้องอาศัยตำแหน่ง

ความพัวพันอาจกระทำต่ออนุภาค โดยไม่คำนึงว่าอนุภาคเหล่านั้นอยู่ที่ไหน เป็นอะไร และใช้แรงอะไรกระทำต่ออีกอนุภาค อนุภาคเหล่านั้นอาจเป็นเหมือนอิเล็กตรอนและนิวตรอน ที่อยู่คนละด้านของกาแลกซี ดังนั้นความพัวพันจึงสร้างให้เกิดความคุ้นเคย ท่ามกลางสสารที่ไม่เคยมีใครคาดฝันมาก่อนหน้านี้

แม้ว่าการพัวพันจัดเป็นศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลัง "การคำนวณเชิงควอนตัม" (quantum computation) และ "การเข้ารหัสควอนตัม" (quantum cryptography) แต่การพัวพัน ก็สามารถเข้าถึงปรากฏการณ์ที่ขัดต่อการรับรู้อย่าง "นอนโลคอลี" ซึ่งเป็นความสามารถในทางกายภาพ ที่ส่งผลกระทบต่อบางสิ่งได้ โดยไม่ต้องสัมผัสหรือส่งต่อสิ่งที่อยู่อีกแห่งไปยังอีกแห่งได้

อย่างไรก็ดี ความแปลกประหลาดโดยแท้ ของนอนคอลิตี ทำให้เกิดความกังวลว่า จะไปสั่นคลอนทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษอย่างที่กล่าวไปแล้ว

ไอน์สไตน์ มองว่า ความพัวพันนั้นเป็นสิ่งน่าสงสัย มากกว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด และเขามีความกังวลเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมเป็นอย่างมาก โดยคำพูดที่แสดงถึงความไม่ชอบใจที่ว่า "พระเจ้าไม่ทรงทอดลูกเต๋า" เป็นเพียงข้อหนึ่งในความกังวลมากมายเท่านั้น

เมื่อปี ค.ศ.1935 ไอน์สไตน์พร้อมด้วย บอริส โพโดลสกี (Boris Podolsky) และ นาธาน โรเซน (Nathan Rosen) ได้ตั้งคำถามว่า เป็นไปได้ไหม ที่การอธิบายกลศาสตร์ควอนตัมของความเป็นจริงในเชิงกายภาพ จะเป็นไปได้โดยสมบูรณ์ โดยทั้งสามตอบคำถามของตัวเองว่า "ไม่" ผ่านรายงานการทดลองทางความคิดชิ้นสำคัญคือ EPR (EPR paradox ย่อมาจากชื่อของทั้ง 3 คือ Einstein–Podolsky–Rosen)

อย่าง ไรก็ตามในช่วงเวลานั้น ไม่มีใครพร้อมที่จะพินิจพิจารณาความน่าจะเป็นว่า มีนอนโลคอลอยู่จริงในโลก และมรดกความรู้ที่ตกทอดมาจากไอน์สไตน์จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังคงเป็นเรื่องคลุมเครืออย่างมาก

ในปี ค.ศ.1964 จอห์น เบลล์ (John S. Bell) นักฟิสิกส์ไอริช ได้ศึกษาและเขียนบทความ ซึ่งปรากฎให้เห็นว่า บอห์รคิดผิดว่า ไม่มีอะไรผิด ในความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัม ส่วนไอน์สไตน์ก็ผิด เกี่ยวกับสิ่งที่ผิดในความเข้าใจของบอห์ร

หากจะหาว่าอะไรที่ผิดจริงๆ จะต้องรวมแนวคิดเกี่ยวกับ "โลคอล" ที่ถูกละเลยไปกลับมาพิจารณาด้วย

เบลล์สรุปต่อคำถามที่เขาตั้งข้อสังสัยเป็นคนแรกว่า "นอนโลคอล" นั้น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏขึ้นเท่านั้นหรือไม่ว่า โลกกายภาพที่แท้จริงนั้น เป็นนอนโลคอล ซึ่งเป็นข้อสรุปกลับตาลปัตรทุกอย่าง แต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับงานของเขาส่วนใหญ่จนกระทั่งทุกวันนี้คือ "ความรู้สึกคลุมเครือ"

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1932 จอห์น ฟอน นอยมานน์ (John von Neumann) นักคณิตศาสตร์ชั้นเซียนชาวฮังกาเรียนได้พิสูจน์ว่า นอนโลคอลิตีของกลศาสตร์ควอนตัม ไม่อาจถูกจัดการให้เป็นกลไก เพื่อส่งผ่านข้อความได้ และเป็นเวลาหลายทศวรรษ ที่สังคมฟิสิกส์ทฤษฎียอมรับในข้อพิสูจน์ให้เป็นหลักประกันว่า ความเป็นนอนโลคอลและทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษสามารถไปได้ด้วยกันได้ดี

หากแต่ในปี ค.ศ.1994 ทิม มอดลิน (Tim Maudlin) จากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส (Rutgers University) ได้เขียนหนังสือ ที่เน้นการเปรียบเทียบระหว่างความเป็นนอนโลคอล กับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ

จุดสำคัญจุดแรกคือ ทฤษฎี สัมพัทธภาพพิเศษ ได้อ้างการเป็นโครงสร้างเรขาคณิตของอวกาศและเวลา ซึ่งความเป็นไปไม่ได้ในการส่งผ่านมวล พลังงาน ข้อมูล หรือสิ่งอื่นใดให้เร็วกว่าแสงนั้น การันตีความเรขาคณิตของทฤษฎีว่าถูกต้อง

ดังนั้นข้อพิสูจน์เกี่ยวกับการส่งผ่านข้อความของนอยมานน์ จึงไม่ได้รับประกันกับเราว่า ความเป็นนอนโลคอลในทางกลศาสตร์ควอนตัมและสัมพัทธภาพพิเศษจะไปด้วยกันได้ดี

จุด สำคัญที่สองคือ ความจริงของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เปรียบเทียบได้กับกลไกเชิงทฤษฎีของการส่งผ่านมวล พลังงาน ข้อมูลและสิ่งอิ่นใดได้เร็วกว่าแสง ดังนั้นการมีอยู่ของความเป็นนอนโลคอลในทางกลศาสตร์ควอนตัมจึงไม่ได้แปลว่า กลศาสตร์ควอนตัมไม่สามารถไปด้วยกันได้กับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ

อีก จุดที่สำคัญคือ ความเป็นนอนโลคอลในกลศาสตร์ควอนตัมนั้น ดูเหมือนต้องการความต่อเนื่องอย่างสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นต้นเหตุและการสั่นคลอนทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษอย่างแท้จริง

สถานภาพของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ที่มีมาเกินศตวรรษเพียงไม่นาน ได้กลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีคำถามที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเช่นนี้เพราะทั้งนักฟิสิกส์และนักปรัชญาต่างพยายามคลายปมสุดท้าย ที่แก้ไม่ตกเกี่ยวกับการไม่ใส่ใจต่อกลศาสตร์ควอนตัมของไอน์สไตน์.




Create Date : 17 มีนาคม 2552
Last Update : 17 มีนาคม 2552 20:16:09 น.
Counter : 714 Pageviews.

2 comment
"วิกฤติภูมิอากาศ" นักวิทยาศาสตร์จะหาทางรับมือ หรือยอมจำนน?
"วิกฤติภูมิอากาศ" นักวิทยาศาสตร์จะหาทางรับมือ หรือยอมจำนน?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2552 11:17 น.


ในอีกราว 50 ปีข้างหน้า โลกของเราจะเป็นดังที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้หรือไม่ เราคงต้องติดตามกันต่อไป แต่ที่แน่ๆ ณ ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานเพิ่มขึ้นมากมายว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกกำลังเผชิญหน้ากับมหันตภัยใหญ่หลวง เกินกว่าจะจินตนาการได้ แต่เราจะมีวีธีหลีกเลี่ยงไม่ให้เวลานั้นมาถึงได้หรือไม่ ลองไปฟังความเห็นของนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติกัน

"ยูเรกา!" ("eureka!") คำอุทานที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มักเปล่งออกมาเมื่อยามตื่นเต้นดีใจที่เขา ค้นพบอะไรใหม่ๆ แต่คำนี้คงใช้ไม่ได้กับนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ "ภาวะโลกร้อน" หรือ "การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ" ในเวลานี้เป็นแน่ ดีไม่ดีอาจจะต้องตื่นตระหนกถึงอนาคตของโลกจากสิ่งที่พวกเขาค้นพบในวันนี้ก็ เป็นได้

"วิทยาศาสตร์มักทำให้ตื่นเต้นได้ เสมอ เมื่ออคุณค้นพบบางสิ่ง แต่ถ้าคุณหยุดและพิจารณาที่ความหมายโดยนัยของสิ่งที่ที่กำลังจะมาถึง มนุษยชาติ จะพบความน่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่า ผมมีนักศึกษาในทีมที่วิทยาลัย พวกเขาจะต้องตั้งตารอคอยอะไรในอีก 50 ปีข้างหน้าหรือ?" คอนราด สเตฟเฟน (Konrad Steffen) หัวหน้าสถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Cooperative Institute for Research in Environmental Sciences: CIRES) ในเมืองโบลเดอร์ มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา แสดงความเห็นเป็นเชิงตั้งคำถาม ในระหว่างการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ จัดขึ้นในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อสัปดาห์ก่อน

ในรายงานพิเศษของสำนักข่าวเอเอฟพีระบุไว้ว่า นั่นอาจจะยังไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่สุด แต่ที่เลวร้ายยิ่งกว่าก็คือ ข่าวร้ายเรื่องหนึ่งในจำนวนหลายๆ เรื่องที่มีการพูดถึงกันในที่ประชุมว่าในศตวรรษหน้าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น และเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างน้อย 2 เท่า และประชากรโลกหลายร้อยล้านคนเสี่ยงต่อผลกระทบจากภาวะดังกล่าวด้วย

สิ่งที่สร้างความกังวลใจให้นักวิทยาศาสตร์มากที่สุด ส่วนใหญ่มักพูดกันว่าคือ ความ รู้สึกที่ว่าพวกเขาไม่สามารถสื่อสารออกไปสู่สาธารณชนให้เข้าใจกันในวงกว้าง ได้ว่า โลกขยับเข้าใกล้ภัยพิบัติใหญ่หลวง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอาอากาศอย่างไร ซึ่งมันเหมือนราวกับว่า นักวิทยาศาสตร์รู้ดีว่าระเบิดลูกใหญ่กำลังทำงานและจะระเบิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้ว แต่เขาไม่สามารถหาถ้อยคำที่ถูกต้อง ออกมาร้องเตือนประชาชนได้ ทั้งที่พวกเขาอาจจะสามารถปลดชนวนระเบิดออกได้

ด้านคลอดี ลอเรียส (Claude Lorius) นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านธารน้ำแข็งจากฝรั่งเศสก็เป็นอีกคนหนึ่ง ที่รู้สึกหมดหวังกับการสื่อสารข้อมูลถึงสาธารณชน ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆที่พบหลักฐานของการเกิดภาวะโลกร้อน ว่าเป็นเรื่องจริง โดยตีพิมพ์เป็นผลงานวิจัยในปี 2530

"ในตอนแรกผมคิดว่า เราอาจจะโน้มน้าวผู้คนได้ แต่มันเกิดความเชื่องช้าอย่างน่ากลัว ผมกลัวว่าหากสังคมไม่กระตือรือล้นที่จะต่อกรกับภาวะวิกฤติดังกล่าว ผมในฐานะมนุษย์คนหนึ่งคงอยู่อย่างหมดอาลัยตายอยาก" ลอเรียส กล่าวกับผู้สื่อข่าวของเอเอฟพี

ขณะที่จอห์น เชิร์ช (John Church) ผู้เชี่ยวชาญด้านระดับน้ำทะเลของศูนย์วิจัยความร่วมมือด้านระบบนิเวศน์และ สภาพอากาศแอนตาร์กติก (Antarctic Climate and Ecosystem Cooperative Research Centre) เมืองโฮบาร์ต รัฐทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย ก็รู้สึกหม่นหมองในเรื่องประสิทธิภาพโดยรวมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดังกล่าว

"บางทีสังคมอาจตระหนักได้ถึงความรุนแรงของปัญหา แต่มั่นใจได้เลยว่ายังไม่ได้สำนึกว่ามันเป็นเรื่องเร่งด่วนสักแค่ไหน และถ้าหากว่าคุณกำลังมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งอาจรวมทั้งตัวผมด้วย มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมาได้ คุณกำลังจะทำอะไรต่อไปล่ะ? ตัดมือของคุณออกแล้วก็ยอมจำนนอย่างนั้นรึ? นั่นมันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาเลย" เชิร์ช แสดงความเห็นอย่างออกรสชาติ

"พวกเราจะต้องลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ถ้าหากว่าเรายังต้องการรักษาสเถียรภาพของสภาพภูมิอากาศ และหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่ไม่พึงปารถนา และมันก็ยังพอเป็นไปได้ที่เราจะทำแบบนั้น" ความเห็นของ เจมส์ แฮนเซน (James Hansen) ผู้อำนวยการสถาบันกอดดาร์ดเพื่อการศึกษาอวกาศ (Goddard Institute for Space Studies) องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา)

ผลกระทบที่ไม่พึงปารถนาตามความหมายของแฮนเซนคือ ภัยพิบัติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งอย่างหนักหนาสาหัส พายุเฮอริเคนที่รุนแรงยิ่งกว่า รวมถึงโรคระบาด และผู้ลี้ภัยทางสภาพอากาศอีกนับหลายสิบล้านคน และฉากที่น่าเศร้ายิ่งกว่าคือการที่แผนที่โลกเปลี่ยนไปอันเป็นผลมาจากระดับ น้ำทะเลที่สูงขึ้นหลายสิบเมตร และในปี 2593 ดาวเคราะห์โลกดวงนี้จะสามารถรักษาชีวิตมนุษย์ไว้ได้เพียงส่วนน้อยนิดจากทั้ง หมดกว่า 9,000 ล้านคน

วิลเลียม โฮเวิร์ด (William Howard) นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยทัสมาเนีย (University of Tasmania) ออสเตรเลีย กล่าวว่าเขา กังวลว่า ผู้คนจะไม่สามารถปฏิบัติกันได้ เมื่อวิเคราะห์ในทางจิตวิทยา เพราะความร้ายกาจของปัญหาที่จะเกิดขึ้น และดีไม่ดีอาจทำให้พวกเขากลับสู่สภาพเดิม คือการไม่ทำอะไรเลยสักอย่าง

"ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนมาตรของเวลาหลายร้อยในจำนวนหลาย พันปี ซึ่งผมทุ่มเทเวลาอย่างหนักเพื่อการนี้ ผมพบว่าสัตว์ทะเลขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่าฟอแรม (foram) มันกำลังค่อยๆสูญเสียความสามารถในการดูดซับคาร์บอนที่มีอยู่มหาศาลใน บรรยากาศ ซึ่งได้เขียนรายงานเรื่องนี้ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว" โฮเวิร์ด กล่าว

ส่วนโจฮัน ร็อคสตรอม (Johan Rockstrom) ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม (Stockholm Environment Institute) ประเทศสวีเดน กล่าวว่าความ เสี่ยงอยู่ตรงที่วิทยาศาสตร์ค่อยๆ ทยอยเผยให้เห็นหลักฐานชัดเจนมากขึ้นๆ ถึงการที่พวกเรากำลังเผชิญหน้ากับมหันตภัยที่อยู่ปลายสุด มันจะไปกระตุ้นให้ภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศไม่สามารถย้อนกลับได้ เหมือนกับว่าคุณมุดหัวลงไปในทราย และเปลี่ยนปฏิกิริยาจากที่เคยปฏิเสธกลายเป็นความสิ้นหวัง

อย่างไรก็ดี เจมส์ เลิฟล็อค (James Lovelock) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษวัย 90 ปี กล่าวว่าท่ามกลางการประชุมที่กำลังดำเนินไป ราวกับถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกที่มองไม่เห็นของการเปิดเผยการพยากรณ์สิ่งผิด ปรกติทางด้านวิทยาศาสตร์โลก ซึ่งเลิฟล็อคถือเป็นผู้ทำลายภาพพจน์ในเรื่องภาวะโลกร้อนตัวจริง โดยเขาบอกให้คำนึงว่าโลกประพฤติตัวเองโดยลำพัง มีระบบควบคุมตัวเองที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ซึ่งเขาอ้างว่าเป็น "กฏแห่งเกอา" (Gaia principle)

ทั้งนี้ ในหนังสือเรื่อง "เดอะ แวนิชชิง เฟซ ออฟ เกอา" (The Vanishing Face of Gaia) ของเลิฟล็อค ที่เพิ่งวางแผงเมื่อไม่นานมานี้ เขากล่าวไว้ว่า "พวกเราผ่านจุดที่ไม่มีทางหวนกลับมาแล้ว และตอนนี้มันก็ไม่มีทางเป็นไปได้ที่เราจะรักษาดาวดวงนี้ไว้ได้เหมือนอย่างที่เราๆรู้กันอยู่" และ "ความพยายามที่จะรักษาระดับคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิไม่ให้สูงไปกว่านี้ ไม่ได้ดีไปกว่าการรักษาโลกด้วยการแพทย์ทางเลือก"

บางทีนักวิทยาศาสตร์กว่าหลายคนที่ให้สัมภาษณ์มานั้นอาจพูดเป็นเสียง เดียวกันว่าพวกเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่เลิฟล็อคพูดนั้นผิด และไม่ต้องพูดเลยก็ได้ว่า พวกเขารู้อยู่แล้วว่าเลิฟล็อคผิด บนฐานของวิทยาศาสตร์




Create Date : 17 มีนาคม 2552
Last Update : 17 มีนาคม 2552 20:15:00 น.
Counter : 577 Pageviews.

0 comment
นักวิจัยปลาดิบพบ แม่ลิงสอนให้ลูกขัดฟัน
นักวิจัยปลาดิบพบ แม่ลิงสอนให้ลูกขัดฟัน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มีนาคม 2552 18:22 น.

เอเอฟพี - นักวิจัยญี่ปุ่นสังเกตเห็นว่า ลิงไทยมีพฤติกรรมสอนลูกให้เขี่ยเศษอาหารออกจากฟัน ซึ่งน่าจะเป็นข้อพิสูจน์ว่า สัตว์จำพวกไพรเมทนี้มีการสอนให้ลูกใช้เครื่องมือ ซึ่งเคยเชื่อว่าเป็นพฤติกรรมของมนุษย์เท่านั้น

"ผมรู้สึกประหลาดใจเพราะเทคนิคการสอนให้ใช้เครื่องมือให้แก่บุคคลที่ สามเป็นกิจกรรมของมนุษย์เท่านั้น" ศาสตราจารย์โนบุโอะ มาซาทากะ จากสถาบันวิจัยไพรเมทของมหาวิทยาลัยเกียวโตกล่าว

ทีมวิจัยของเขาได้สังเกตพฤติกรรมของลิงแสมตัวเมีย 7 ตัวและลูกของมันจากฝูงลิงที่อาศัยอยู่รวมกัน 250 ตัวใกล้กับกรุงเทพฯ โดยได้เฝ้าจับตาดูว่า แม่ลิงแสมทำความสะอาดช่องว่างระหว่างฟันด้วยเกลียวผมของมนุษย์บ่อยมากแค่ไหน

ผลการศึกษาพบว่า ความถี่ของการทำความสะอาดฟันเพิ่มเป็นสองเท่า และเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อลูกลิงแสมจ้องมอง ซึ่งเป็นการชี้แนะว่า แม่ลิงกำลังจงใจสอนลูกๆ ของมันว่าจะขัดฟันอย่างไร

"การศึกษายังอยู่ในขั้นตั้งสมมติฐาน" มาซาทากะเตือน "เราต้องการจะเปลี่ยนจุดโฟกัสไปยังบรรดาลูกลิงเพื่อตรวจสอบว่า พฤติกรรมของแม่ช่วยพวกมันทำความสะอาดฟันอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร" เขากล่าว




Create Date : 13 มีนาคม 2552
Last Update : 13 มีนาคม 2552 19:22:30 น.
Counter : 680 Pageviews.

0 comment
ชื่อดาวตลกมะกันอาจใช้เรียก "โหนดใหม่" ของนาซา หลังแรงโหวตล้นหลาม
ชื่อดาวตลกมะกันอาจใช้เรียก "โหนดใหม่" ของนาซา หลังแรงโหวตล้นหลาม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มีนาคม 2552 13:42 น.

ตอน นี้นอกจากชื่อ 4 ทางเลือก ที่นาซาเปิดให้โหวตผ่านเว็บเพื่อตั้งให้กับ "โหนดใหม่" ที่จะส่งขึ้นไปสถานีอวกาศตอนปลายปีนี้แล้ว ยังมีชื่อของ "คอลเบิร์ต" ดาวตลกอเมริกันที่โพสต์เข้าแข่งขันเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งด้วย หรือว่า...ชื่อดาวตลกกำลังจะขึ้นค้างฟ้าอยู่ในวงโคจร

หลังจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เปิดให้ประชาชนทั่วไป ร่วมโหวตชื่อสำหรับโหนดใหม่ ที่จะส่งขึ้นไปต่อเติมสถานีอวกาศนานาชาติในปลายเดือนนี้ โดยเสนอทางเลือก 4 รายชื่อคือ เอิร์ธไรส์ (Earthrise) ลีกาซี (Legacy) เซเรนิตี (Serenity) และเวนเจอร์ (Venture) แต่ก็เปิดโอกาสให้ผู้โหวตเสนอรายชื่ออื่นที่น่าสนใจกว่าเข้ามาได้ โดยจะปิดโหวตในวันที่ 20 มี.ค.นี้

ล่าสุดดูเหมือนว่า จะมีชื่อใหม่มาแรง อย่างชื่อของดาวตลกอเมริกัน "สตีเฟน คอลเบิร์ต" (Stephen Colbert) ที่ออกมาขอคะแนนโหวตจากแฟนๆ ระหว่างการแสดง "เดอะคอลเบิร์ตรีพอร์ต" เพื่อให้ชื่อของเขา "คอลเบิร์ต" ไปประดับอยู่บนโหนดใหม่ของนาซาชั่วนิรันดร์ ตามรายงานของสเปซด็อทคอม

"นั่นไม่ใช่โมดูลอวกาศหรอก แต่นั่นเป็นต้นชาออร์แกนิก แล้วคุณว่าชื่อไหมว่าจะเร้าใจพอที่จะแปะข้างโมดูล? คอลเบิร์ตไงล่ะ" ดาวตลกกล่าวอย่างไม่ลังเล และเพียงชั่วข้ามคืนชื่อของเขาก็เบียดชื่อ "ซีนู" (Xenu) หมายถึงไม้บรรทัดกาแลกซี อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความลับลัทธิ "ไซน์โทโลจี" (Scientology) ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงระดับมนุษย์ต่างดาวซ่อนไว้ นับเป็นชื่อที่ได้รับแรงโหวตเป็นอันดับ 2 อยู่ก่อนหน้านี้

"พี่น้อง ผมกำลังบอกพวกคุณว่า หากเรารักษาอัตรานี้ไปจนถึงวันสุดท้ายของการแข่งขันวันที่ 20 มี.ค.นี้ ชื่อของผมก็จะคงอยู่ตลอดไป หรืออย่างน้อย ก็จนกว่าโหนดจะไหม้เป็นจุณ เมื่อตกกลับเข้ามาในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมอยากจะออกไปด้วยตัวเองจริงๆ" คอลเบิร์ตกล่าว

สำหรับโหนดใหม่ของนาซาหรือโหนด 3 (Node 3) นี้มีขนาดประมาณตู้เย้น 8 หลัง ซึ่งสามารถรองรับระบบอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ และยังมีช่องหน้าต่างอีก 6 ช่องที่ช่วยให้นักบินอวกาศมองเห็นได้ทั้งโลกและอวกาศส่วนอื่นๆ ไปพร้อมกัน อีกทั้งยังช่วยให้นักบินอวกาศมองเห็นการควบคุมแขนกลยาว 57 ฟุตของสถานีอวกาศให้เคลื่อนไหวได้

ครั้งนี้เป็นหนที่ 2 ที่นาซาเปิดโอกาสให้สาธารณชนร่วมโหวตชื่อให้กับส่วนประกอบของสถานีอวกาศ โดยสเปซด็อทคอมระบุว่า โหนดฮาร์โมนี (Harmony) เป็นชื่อที่ได้จากการแข่งขันประกวดรายชื่อจากนักเรียน-นักศึกษา 2,200 คน

สำหรับการโหวตรายชื่อครั้งนี้ มีผู้ร่วมโหวตแล้วเกือบ 200,000 ราย โดยชื่อที่มาเป็นอันดับหนึ่งตอนนี้คือ "เซเรนิตี" ที่ได้รับแรงโหวตกว่า 66,000 รายตามรายงานของนาซา แต่เพียงแค่ 2 วันชื่อของคอลเบิร์ตก็มีผู้โหวตขึ้นไป 29,000 ราย

"เราคิดว่าชื่อคอลเบิร์ตที่เข้ามานี้เป็นเรื่องเยี่ยมมาก และเราก็ตื่นเต้นที่คุณคอลเบิร์ตและผู้ชมของเขา ให้ความสนใจการแข่งขันครั้งนี้" จาคอบ คีตัน (Jacob Keaton) นักวิเคราะห์โครงการสถานีอวกาศและผู้จัดการการโครงการแข่งขันตั้งชื่อโหน ดของนาซากล่าว และบอกด้วยว่านาซาไม่ได้มีเงื่อนไขในการตั้งชื่ออื่นใด แต่จะยึดความเห็นของมวลชนส่วนใหญ่ในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย

อย่างไรก็ดี เขาเน้นว่าคอลเบิร์ตต้องเร่งฝีเท้าขึ้นอีก หากอยากเอาชนะชื่อ "เซเรนิตี" แต่ยังเหลือเวลาอีกสัปดาห์กว่า ดังนั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงชื่อที่ได้รับโหวตสูงสุดได้

"ผมยังบอกไม่ได้จนกว่าการแข่งขันจะสิ้นสุดว่า ที่สุดแล้วคุณคอลเบิร์ตจะชนะหรือแพ้ แม้ว่าเราจะอวยพรให้เขาโชคดีก็ตาม" คีตันกล่าว

ร่วมโหวตชื่อให้โหนดของนาซาที่

//www.nasa.gov/externalflash/name_ISS/index.html




Create Date : 10 มีนาคม 2552
Last Update : 10 มีนาคม 2552 20:16:18 น.
Counter : 593 Pageviews.

0 comment
สองครูวิทย์พร้อมทะยานฟ้ากับ "ดิสคัฟเวอรี" พุธนี้หลังฝึกมา 5 ปี
สองครูวิทย์พร้อมทะยานฟ้ากับ "ดิสคัฟเวอรี" พุธนี้หลังฝึกมา 5 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 มีนาคม 2552 13:45 น.

เที่ยว บินแรกในรอบปีของนาซากำหนดแล้ว วันที่ 11 มี.ค.นี้ "ดิสคัฟเวอรี" พร้อมทะยานฟ้า หลังเลื่อนกำหนดมาเป็นเดือน เพราะระบบวาล์วเชื้อเพลิงขัดข้อง ด้าน 2 คุณครูวิทยาศาสตร์ที่ฝึกซ้อมมานาน 5 ปีก็พร้อมเดินทางไปกับเที่ยวบินนี้ด้วย และนับเป็นครั้งแรกที่มีครูขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่พร้อมๆ กันถึง 2 คน

องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กำหนด ส่งกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Discovery) ทะยานฟ้าเป็นเที่ยวบินแรกในรอบปี คืนวันที่ 11 มี.ค.52 ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งเดิมกำหนดส่งกระสวยอวกาศในชวงกลางเดือน ก.พ.นี้ แต่ติดปัญหาเรื่องระบบวาล์วเชื้อเพลิงไฮโดรเจนของยานขัดข้อง โดยหลังจากตรวจสอบอย่างเข้มงวด นาซาเชื่อว่ากระสวยอวกาศปลอดภัยต่อการบินแล้ว

ทั้งนี้ สำนักข่าวเอพีเปิดเผยว่าผู้จัดการโครงการกระสวยอวกาศนาซา ได้สั่งให้ทดสอบวาล์วก๊าซไฮโดรเจนอย่างเข้มงวด หลังพบว่าวาล์วตัวหนึ่งเสียหายระหว่างการบินครั้งล่าสุด โดยวาล์วดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมการไหลของก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเปิดเข้าสู่ถังเชื้อเพลิงระหว่างการไต่ระดับสู่วงโคจร 8 นาทีครึ่ง แม้วาล์วที่เสียหายนั้นไม่ได้สร้างปัญหาใดๆ

จอห์น แชนนอน (John Shannon) ผู้จัดการโครงการกระสวยอวกาศของนาซากล่าวว่า นาซาต้องการความแน่ใจว่า มีโอกาสที่ดิสคัฟเวอรีจะระเบิดจากรอยแตกของวาล์วได้หรือไม่ หากเป็นได้จริง ต้องแน่ใจว่าจะไม่เป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย ซึ่งเทคนิคตรวจสอบหารอยร้าวเล็กๆ แบบใหม่ในวาล์วแสตนเลสช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ทีมวิศวกรมากขึ้น โดยเมื่อกว่า 2 สัปดาห์ก่อน ดิสคัฟเวอรีได้เปลี่ยนวาล์วใหม่ 3 ตัวซึ่งปลอดจากรอยร้าว หลังตรวจผลรอบร้าวเล็กๆ ในวาล์วตัวเก่าด้วยเทคนิคตรวจสอบใหม่

" เป็นไปได้ว่า กระสวยอวกาศจะบินขึ้น-ลงอยู่หลายเที่ยวก่อนที่รอยแตกในวาล์วจะขยายใหญ่ขึ้น คาดว่าจะเป็นผลจากรอยแตกที่ถูกดึงออกเรื่อยๆ แต่วาล์วก็ยังดูเป็นปกติ" แชนนอนกล่าว

สำหรับเที่ยวบินแรกแห่งปีของนาซานี้ จะมีลูกเรือขึ้นไปปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 7 คน ซึ่งหนึ่งในภารกิจคือการขึ้นไปประกอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้เสร็จสมบูรณ์ และนับเป็นเที่ยวบินแรกที่มีครูวิทยาศาสตร์ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่พร้อมๆ กัน 2 คน คือ โจเซฟ อคาบา (Joseph Acaba) วัย 41 และ ริชาร์ด อาร์นอล์ด ทู (Richard Arnold II) วัย 45 ซึ่งทั้งสองมีโอกาสขึ้นไปปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งแรกในคราวนี้ หลังจากฝึกหนักมา 5 ปี และระหว่างภารกิจต่อเติมสถานอวกาศนานาชาติเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ครูวิยาศาสตร์ทั้งสองต้องปฏิบัติภารกิจเดินอวกาศอยู่หลายครั้ง ซึ่งถือเป็นงานที่อันตรายที่สุดในวงโคจร

เที่ยวบินนี้ ห่างจากเที่ยวบินที่มีครูขึ้นไปปฏิบัติภารกิจประมาณปีครึ่ง โดยก่อนหน้านี้บาร์บารา มอร์แกน (Barbara Morgan) ได้เป็นตัวแทนครูเดินทางขึ้นบนอวกาศเมื่อปี 2550 ถือเป็นการรอคอยต้อนรับคุณครูสู่อวกาศนานถึง 2 ทศวรรษ นับแต่เกิดเหตุเศร้าสลดกับเที่ยวบินของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (Challenger) เมื่อปี 2531 ซึ่งคร่าชีวิต คริสตา แม็คออลิฟฟ์ (Christa McAuliffe) คุณครูมัธยมกลางอากาศ

ขณะเกิดเหตุกับแม็คออลิฟฟ์เมื่อวันที่ 28 ม.ค.31 นั้น อคาบายังเป็นเพียงน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาร์บารา (University of California at Santa Barbara) ส่วนอาร์นอล์ดเพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ดีใช่ว่าทั้งคู่จะด้อยประสบการณ์ เพราะต่างมีความสามารถที่เหมาะต่อภารกิจในเที่ยวบินนี้อย่างยิ่ง อีกทั้งทั้งคู่ยังทำงานในแขนงของสถานีอวกาศที่ศูนย์อวกาศจอห์นสัน (Johnson Space Center) ในฮุสตัน สหรัฐฯ เกี่ยวกับทางด้านฮาร์ดแวร์และเชิงเทคนิคด้วย

นอกไปจากการติดแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ให้กับสถานีอวกาศแล้ว นักบินอวกาศยังเตรียมหน่วยประมวลผลสำหรับระบบหมุนเวียนน้ำปัสสาวะบนสถานี อวกาศขึ้นไปติดตั้งด้วย รวมทั้งรับมือกับงานซ่อมบำรุงบางอย่าง และส่งโคอิชิ วากาตะ (Koichi Wakata) นักบินอวกาศจากองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (แจกซา) ซึ่งจะใช้ชีวิตอยู่ในวงโคจรอย่างน้อย 3 เดือน

ส่วนนักบินอวกาศคนอื่นๆ อีก 4 คน ได้แก่ ลี อาร์ชัมบอล์ท (Lee Archambault) ผู้บัญชาการเที่ยวบิน และลูกเรือที่เหลือ คือ โดมินิค โทนี อันโทเนลลี (Dominic "Tony" Antonelli) สตีเฟน สวันสัน (Steven Swanson) และ จอห์น ฟิลลิปส์ (John Phillips).




Create Date : 10 มีนาคม 2552
Last Update : 10 มีนาคม 2552 20:15:44 น.
Counter : 584 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend