พบไวโอลินโบราณ เสียงดีจากบอแร็กซ์
พบไวโอลินโบราณ เสียงดีจากบอแร็กซ์




ไวโอลิน สตราดีวาเรียส มีอายุ 300 กว่าปี แต่ยังให้เสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง จนทำให้นักสะสมพากันซื้อมาครอบครองกันถึงตัวละ 175 ล้านบาท

ศ.โจเซฟ นากีวารี จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็ม สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาไวโอลินนี้และพบว่า สารเคมีที่ช่วยป้องกันเนื้อไม้จากแมลงที่นายอันโตนิโอ สตราดิวารี ชาวอิตาเลียน ใช้ในการผลิตไวโอลินสตราดีวาเรียสเมื่อหลายร้อยปีก่อน อาจมีส่วนช่วยให้คุณภาพเสียงของไวโอลินยังใสปิ๊งเหมือนเดิม

ศ.นากี วารี นำเศษชิ้นส่วนของไวโอลินที่นักสะสมบริจาคให้มาทดลองด้วยการเผาไฟ พบว่า มีสารเคมีจำนวนมากปะปนอยู่ในขี้เถ้า เช่น บอแร็กซ์ ฟลูออไรด์ โครเมียมและไอออนซอลต์ โดยเฉพาะบอแร็กซ์มีบันทึกมานานแล้วว่า ใช้เพื่อให้สิ่งของคงอยู่ในสภาพดี

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdOREE1TURJMU1nPT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09TMHdNaTB3T1E9PQ==



Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2552 19:41:42 น.
Counter : 1620 Pageviews.

0 comment
หญิงมีฮอร์โมนชี้ได้ว่าเด็กคนไหนน่ารัก
หญิงมีฮอร์โมนชี้ได้ว่าเด็กคนไหนน่ารัก




ผู้หญิงมักจะชี้ได้ว่า เด็กคนไหนหน้าตาน่ารัก ซึ่งความสามารถนี้หญิงมีมากกว่าชาย อาจเป็นเพราะว่าฮอร์โมนมีส่วนเกี่ยวข้อง

ศ. เรนเนอร์ สเปรงเจลมีเยอร์ อาจารย์จากคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเซนต์ แอนดรูว์ ประเทศอังกฤษ ได้ทดลองโดยแบ่งหญิงออกตามช่วงอายุ พร้อมกับให้ดูรูปภาพเด็กที่หน้าตาคล้ายๆ กัน แต่จะมีรูปหนึ่งที่เด็กมีหน้าตาน่ารักกว่าเพื่อน คือ มีแก้มเป็นพวง หน้าผากใหญ่ ตาโต จมูกจุ๋มจิ๋ม พบว่า

หญิงที่มีอายุไม่เกิน 51 ปี ชี้ว่า ถ้าเป็นเด็กผู้ชาย รูป A น่ารักกว่ารูป B แต่ถ้าเป็นเด็กผู้หญิง รูป C น่ารักกว่ารูป D

ขณะ ที่ผู้หญิงอายุ 53 ปีขึ้นไป ซึ่งอยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว จะชี้เด็กหน้าตาน่ารักได้พอๆ กับที่ผู้ชายชี้ เป็นไปได้ว่า การที่หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือน สามารถแยกได้ว่า เด็กคนไหนน่าตาน่ารักนั้น เป็นเพราะฮอร์โมนที่หญิงสร้างขึ้น

ศ.เรน เนอร์ กล่าวว่า "เราพบว่า หญิงอายุ 19-26 ปี และอายุ 45-51 ปี แยกแยะได้ว่า เด็กคนไหนหน้าตาน่ารัก มากกว่าการแยกแยะของกลุ่มชายอายุ 19-26 ปี และชายอายุ 53-60 ปี เป็นไปได้ว่าฮอร์โมนของหญิงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว มีความสามารถในการแยกแยะต่ำลงอยู่ในระดับพอๆ กับผู้ชาย"

//www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNakE1TURJMU1nPT0=§ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09TMHdNaTB3T1E9PQ==



Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2552 19:40:59 น.
Counter : 560 Pageviews.

0 comment
อนาคอนดาชิดซ้าย ! ฟอสซิล "งูยักษ์" ใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยมี
อนาคอนดาชิดซ้าย ! ฟอสซิล "งูยักษ์" ใหญ่สุดเท่าที่โลกเคยมี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กุมภาพันธ์ 2552 13:33 น.


ฟอสซิ
ลแกนกระดูกสันหลังของงูยุคดึกดำบรรพ์ที่เชื่อว่าเป็นงูชนิดที่ใหญ๋ที่สุดใน
โลกเท่าที่เคยพบ โดยเปรียบเทียบขนาดกับกระดูกของงูอนาคอนดา (สีขาวตรงกลาง)
ที่เคยยาวกว่า 5 เมตร ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ (เอเอฟพี/เนเจอร์/Jason
Bourque)



แกนกระดูกสันหลังของงูอนาคอนดา (ซ้าย) และฟอสซิลแกนกระดูกสันหลังของงูไททันโอโบอา (เนเจอร์)


ภาพจำลองลักษณะของงูยักษ์ดึกดำบรรพ์ที่ทีมสำรวจขุดพบฟอสซิลได้ภายในเหมือง
แร่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศโคลอมเบีย
ซึ่งคาดว่ามีความยาวไม่ต่ำกว่า 13 เมตร และหนักเกินกว่า 1 ตัน
ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อราว 60 ล้านปีที่แล้ว (เอเอฟพี/เนเจอร์/Jason
Bourque)



ทีมนักวิทยาศาสตร์สุดตื่นเต้นปนเสียวสยอง
เมื่อพบซากฟอสซิลของ "งูยักษ์" ในโคลอมเบีย
คาดเป็นงูสายพันธุ์ใหญ่ที่สุดและเลื้อยอยู่บนโลกเมื่อ 60 ล้านปีก่อน
มีขนาดใหญ่ยิ่งกว่ารถบัส และสามารถเคี้ยวจระเข้เป็นของว่างได้เลย
และน่าสนใจมากว่าโลกดึกดำบรรพ์ร้อนกว่าตอนนี้เยอะ



       ข่าวการค้นพบฟอสซิลงูยักษ์สายพันธุ์โบราณบริเวณเหมืองถ่านหินทาง
ตะวันออกเฉียงของประเทศโคลอมเบีย
ได้รับความสนใจและตีพิมพ์ในสื่อต่างชาติจำนวนมากทั้งเอพี รอยเตอร์ส
และเอเอฟพี
ที่ระบุว่าน่าจะเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้
และผลงานวิจัยซากงูดึกดำบรรพ์นี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์ (Nature)


       จากการค้นพบฟอสซิลส่วนกระดูกสันหลังของงูยักษ์ดังกล่าว นัก
วิทยาศาสตร์วิเคราะห์ว่า เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่เมื่อราว 60
ล้านปีที่แล้ว เจ้างูยักษ์ตัวนี้น่าจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1 ตัน
และยาวกว่า 13 เมตร
โดยที่งูสายพันธุ์นี้น่าจะมีน้ำหนักมากสุดได้ถึง 2 ตัน และยาวได้เต็มที่ 15 เมตร

นักบรรพชีวินวิทยาได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับงูยักษ์ชนิดนี้ว่า "ไททันโอโบอา แซร์อาโฮนเอนซิส" (Titanoboa cerrejonensis) (อ่านว่า "ty-TAN-o-BO-ah sare-ah-HONE-en-siss") ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลได้ว่า "งูยักษ์จากแซอาโฮน" (titanic boa from Cerrejon) ซึ่งเป็นเมืองที่ค้นพบฟอสซิลดังกล่าวตามที่ระบุในเอพี


       เจสัน เฮด (Jason Head) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต
(University of Toronto) ในเมืองมิสซิสซอกา (Missisauga) ประเทศแคนาดา
หัวหน้าทีมนักวิจัย เผย
ว่างูยักษ์ดึกดำบรรพ์นี้มีความใกล้ชิดกับงูเหลือมในยุคปัจจุบัน
แต่น่าจะมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับงูอนาคอนดามากกว่า
นั่นคือใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ

และสามารถเลื้อยคลานบนพื้นดินได้อย่างคล่องแคล่ว เหมือนเวลาว่ายอยู่ในน้ำ
และน่าจะกินจุมากพอสมควร
ซึ่งอาหารของมันอาจรวมถึงปลาขนาดใหญ่และจระเข้ด้วยก็ได้


       อย่างไรก็ตาม โจนาธาน บลอช (Jonathan Bloch) นักวิจัยในทีมเดียวกัน
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์มีกระดูกสันหลังยุคโบราณ
ประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาฟลอริดา (Florida Museum of Natural History)
มหาวิทยาลัยฟลอริดา (University of Florida) ให้ข้อมูลกับเอพีว่า ใน
บรรดางูสปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนั้น นับว่างูหลามหรือไพธอน
(python) เป็นงูที่ยาวที่สุดในโลก วัดได้ประมาณ 10 เมตร
ส่วนงูอนาคอนดาเขียว (Green anaconda)
ที่ครองแชมป์งูที่หนักที่สุดในโลกก็หนักเพียง 250 กิโลกรัมเท่านั้น
ดังรายงานในบีบีซีนิวส์


       บลอชให้ข้อมูลอีกว่า ทีมวิจัยค้นพบฟอสซิลงูยักษ์นี้จากเหมืองถ่านหินในเมืองแซอาโฮนตั้งแต่เมื่อต้นปี 2550 โดยพบแกนกระดูกสันหลังทั้งหมดประมาณ 180 ชิ้น คาดว่าน่าจะเป็นของงูยักษ์ร่วม 12 ตัว ซึ่งขณะนี้ทีมวิจัยก็ยังหวังว่าจะขุดค้นพบฟอสซิลส่วนกระโหลกได้ในเร็ววัน


       "การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไททันโอโบอา
สร้างความท้าทายให้กับพวกเราในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต
ของบริเวณนั้นเป็นอย่างยิ่ง
และอาจเป็นสิ่งแวดล้อมที่จำกัดสำหรับการวิวัฒนาการของงูยักษ์ชนิดนี้
และฟอสซิลของมันยังให้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับแผ่นดินบริเวณนั้นในประวัติ
ศาสตร์" เฮด กล่าวในเอเอฟพี


       จากการวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์และคำนวณด้วยเครื่องมือต่างๆ
นักวิจัยประมาณการณ์ได้ว่าบริเวณเหมืองถ่านหินที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของไท
ทันโอโบอาเมื่อราว 60 ล้านปีก่อน ซึ่งอยู่ในยุคที่เรียกว่า พาลีโอซีน
(Palaeocene) มี
สภาพเป็นป่าดิบเขตร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 30-34 องศาเซลเซียส
ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของป่าฝนเขตร้อนใดๆในยุคปัจจุบันราว 3-4
องศาเซลเซียส
และสอดคล้องกับสภาพอากาศในยุคพาลีโอซีนที่คาดว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก


       ข้อมูลดังกล่าวบอกเป็นนัยว่า
หากในอนาคตภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิบริเวณพื้นผิวโลกสูงขึ้นประมาณ 1.8-4
องศาเซลเซียส ในอีกราว 100 ปีข้างหน้า ตามที่คาดการณ์ไว้
แม้ว่าสิ่งมีชีวิตจำนวนมากอาจได้รับผลกระทบหรือถูกทำลายไป
แต่ป่าเขตร้อนก็อาจจะยังคงสามารถดำรงอยู่ได้เช่นเดียวกับเมื่อ 60
ล้านปีก่อน






Free TextEditor



Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2552 20:09:28 น.
Counter : 1372 Pageviews.

0 comment
พบร่องรอยดื่ม-กิน "ช็อคโกแลต" ที่เก่าแก่ที่สุดบนแผ่นดินอเมริกา
พบร่องรอยดื่ม-กิน "ช็อคโกแลต" ที่เก่าแก่ที่สุดบนแผ่นดินอเมริกา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2552 16:12 น.

ตรวจ พบร่องรอยการดื่มกินช็อคโกแลตที่เก่าแก่ที่สุด ในเครื่องปั้นดินเผาที่นิวเม็กซิโก เชื่อชุมชนแถบอเมริกากลาง นิยมดื่มช็อคโกแลตจากเหยือกมานานร่วม 1,000 ปี มีเส้นทางสายช็อคโกแลตกว่าพันไมล์

แพทริเซีย แอล คราวน์ (Patricia L. Crown) จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก (University of New Mexico) สหรัฐอเมริกา และ ดับเบิลยู เจฟฟรีย์ เฮิร์สต์ (W. Jeffrey Hurst) นักวิจัยของศูนย์สุขภาพและโภชนาการเฮอร์ชีย์ (Hershey Center for Health and Nutrition) ร่วมกันศึกษาประวัติศาสตร์ของช็อคโกแลตจนพบว่า เครื่องดื่มสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นรสหอมหวานนี้เริ่มเป็นที่นิยมในแผ่นดินที่ปัจจุบันเป็นสหรัฐฯ เมื่อราว 1,000 ปีมาแล้ว

ทั้งนี้ สำนักข่าวเอพีระบุว่า ผลงานวิจัยดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสมาคมวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.52

การดื่มช็อคโกแลต เกี่ยวข้องกับหลากหลายประเพณีและพิธีกรรมของกลุ่มชนที่อยู่ในทวีปอเมริกา กลางในสมัยโบราณ เช่น ประเพณีการแต่งงาน

จากการศึกษาทำให้นักวิจัยพบว่า มีเส้นทางการแลกเปลี่ยนค้าขายช็อคโกแลตในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1000-1125 (พ.ศ.1543-1668) เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนโบราณในชาโค แคนยอน (Chaco Canyon) มลรัฐนิวเม็กซิโก กับแหล่งปลูกโกโก้ในอเมริกากลาง

ทว่าไร่โกโก้ที่อยู่ใกล้กับชาโคแคนยอนมากที่สุด ก็อยู่ห่างออกไปมากกว่า 1,600 กิโลเมตร ฉะนั้นการนำเข้าช็อคโกแลตจากอเมริกากลางในสมัยนั้น คงจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอยู่มาก และยากลำบากพอกัน ดังนั้นจึงไม่น่าจะบริโภคช็อคโกแลตกันได้บ่อยนัก

อีกทั้งช็อคโกแลตในสมัยก่อน น่าจะมีรสขมมากกว่าที่เรารับประทานกันในปัจจุบัน

ทั้งนี้เพราะชาวอเมริกากลางไม่นิยมทำให้ช็อคโกแลตมีรสหวานขึ้น ซ้ำในบางครั้งยังมีการนำพริกไทยมาผสมในช็อคโกแลตอีกด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่า ในสมัยนั้นมีการนำน้ำผึ้งมาใช้เป็นส่วนผสม เพิ่มรสชาติให้กับช็อคโกแลตด้วยหรือเปล่า

นอกจากนี้ข้อมูลจากเอเอ็นไอระบุว่าทีมวิจัยของคราวน์พบชิ้นส่วนเซรา มิคเก่าแก่จากบริเวณแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีของชุมชนโบราณ พิวโบล โบนิโต (Pueblo Bonito) ในชาโค แคนยอน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนของภาชนะคล้ายเหยือก จากการตรวจวิเคราะห์ก็พบว่ามีธีโอโบรมีน (theobromine) ซึ่งพบได้ในช็อคโกแลต

อีกทั้ง จากข้อมูลที่มีอยู่เดิมก็บ่งบอกว่าชนเผ่ามายา (Maya) ในสมัยก่อนนิยมดื่มช็อคโกแลตจากเหยือก ฉะนั้นประชาชนในพิวโบล โบนิโต ก็น่าจะเช่นเดียวกัน

"กรณีนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความสำคัญของหลักฐานทางโบราณคดี เมื่อเราใช้เทคนิคสมัยใหม่ตรวจสอบย้อนกลับไปก็จะค้นพบเรื่องราวใหม่จากสิ่ง เหล่านั้นได้ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์จากฝีมือมนุษย์ทุกๆชิ้นย่อมมีเรื่องราวบอกเล่าถึงชนรุ่น หลัง" คราวน์ กล่าว

ทั้งนี้ ชุมชนโบราณในอเมริกากลางมีนำโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มช็อคโกแลตและใช้ใน พิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตศักราช โดยแพร่หลายมาจากชนเผ่าแอซเทค (Aztec) และจากหลักฐานทางโบราณคดีที่นักวิจัยสำรวจพบในครั้งนี้ ยืนยันได้ว่าบนแผ่นดินของทวีปอเมริกา เริ่มมีการบริโภคช็อคโกแลตเมื่อราว 1,000 ปีที่แล้ว.




Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2552 20:26:23 น.
Counter : 613 Pageviews.

0 comment
หลากชนิด "กบ" สปีชีส์ใหม่ ที่ชายแดนโคลอมเบีย
หลากชนิด "กบ" สปีชีส์ใหม่ ที่ชายแดนโคลอมเบีย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กุมภาพันธ์ 2552 11:50 น.


นักอนุรักษ์ธรรมชาติ สำรวจป่าอเมริกาใต้ ชายแดนโคลอมเบีย-ปานามา พบกบและซาลาแมนเดอร์สปีชีส์ใหม่หลายชนิด พร้อมสมเสร็จที่เคยคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว นักวิทย์เผยสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ห่วงสัตว์ถูกคุกคามจากมนุษย์ที่บุกรุกทำลายป่าเพื่อหาประโยชน์ใส่ตัว

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมูลนิธิอีโคทรอปิโกฟาวเดชัน (Ecotropico Foundation) ในโคลอมเบีย และนักสัตววิทยาจากองค์กรอนุรักษ์นานาชาติ หรือซีไอ (Conservation International: CI) ออกสำรวจพื้นที่ในบริเวณภูเข้าทาคาร์คูนา (Tacarcuna) ในแถบดาเรียน แก็ป (Darien Gap) ทางตะวันตกเฉียงเหนือในโคลอมเบีย ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศปานามา พบสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่เพียบ โดยเฉพาะกบและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่างๆ มากมาย

"ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบริเวณแถบนี้คือ "เรือโนอาร์" (Noah's Ark) ของแท้แน่นอน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสปีชีส์ใหม่ที่พบมากมายนี้ เป็นสัญญาณแห่งความหวัง ซึ่งพวกสัตว์ในกลุ่มนี้ ที่มีอยู่ทั่วโลกกำลังถูกคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างหนัก" โฮเซ วินเซนเต โรดริเกซ-มาเอชา (Jose Vicente Rodriguez-Mahecha) ผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์ องค์กรอนุรักษ์นานาชาติ กล่าวผ่านสำนักข่าวเอเอฟพี

การสำรวจครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำสปีชีส์ใหม่ถึง 10 ชนิด เป็นกบ 9 ชนิด เช่น กบแก้ว (glass frog) ที่มีผิวหนังโปร่งแสง และมองเห็นอวัยวะภายในได้, กบมีพิษ (poison frog), กบฮาร์เลควิน (harlequin frog) ที่มีสีสันสวยสดงดงาม และซาลาแมนเดอร์สปีชีส์ใหม่อีก 1 ชนิด ซึ่งนักสำรวจกล่าวว่าโคลอมเบียถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายของสัตว์ ครึ่งบกครึ่งน้ำมากที่สุดในโลก โดยรายชื่อสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่ได้รับการบันทึกไว้แล้วในปัจจุบัน มีประมาณ 754 ชนิด

ทีมนักสำรวจระบุว่า นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นตัวชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญมาก ซึ่งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายสปีชีส์ ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ผิวหนังของพวกมันที่มีรูพรุน และยอมให้สารต่างๆ แทรกซึมเข้าไปได้ดี จึงทำให้เป็นเครื่องเตือนภัยขั้นต้นว่า สิ่งแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรมจากฝนกรดหรือปนเปื้อนสารพิษและโลหะ นอกจากนี้รอยเตอร์สระบุด้วยว่า สัตว์เหล่านี้ยังมีส่วนช่วยในการควบคุมโรคระบาดหลายชนิด เช่น มาลาเรีย และไข้เลือดออก เนื่องจากพวกมันกินแมลงพาหะของโรคเหล่านั้นเป็นอาหาร

นอกจากนั้นในบริเวณดังกล่าวแล้ว นัก วิทยาศาสตร์ยังสำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายชนิด เช่น สมเสร็จเบร์ด (Baird's tapir) ซึ่งเคยคิดว่าสูญพันธุ์จากโคลอมเบียไปแล้ว และยังมีเพคคารีปากขาว (white-lipped peccary) ซึ่งเป็นสัตว์คล้ายหมูป่า และลิงอีก 4 สปีชีส์

ทั้งนี้ ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่นักวิทยาศาสตร์เดินทางเข้าไปสำรวจ และพบสัตว์สปีชีส์ใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการบันทึกไว้นั้น เป็นพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ ซึ่งเป็นป่าในรอยต่อระหว่างอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และแม้ว่าในปัจจุบันพื้นที่ป่าดังกล่าว ยังไม่ถูกรุกราน แต่พื้นที่ราบในบริเวณนั้นกำลังถูกคุกจากการตัดไม้ ล่าสัตว์ ทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ทำเหมืองแร่ และที่อยู่อาศัย.


กบสปีชีส์ใหม่ในสกุลพริสติแนนติส (Pristimantis)
ซึ่งพบในภูเขาทาคาร์คูนา ประเทศโคลอมเบีย ร่วมกับกบสปีชีส์ใหม่อีก 8 ชนิด
และซาลาแมนเดอร์สปีชีส์ใหม่ 1 ชนิด (เอเอฟพี)





















































































































































































กบ
สปีชีส์ใหม่ในสกุลพริสติแนนติส (Pristimantis) ซึ่งพบในภูเขาทาคาร์คูนา
ประเทศโคลอมเบีย ร่วมกับกบสปีชีส์ใหม่อีก 8 ชนิด
และซาลาแมนเดอร์สปีชีส์ใหม่ 1 ชนิด (เอเอฟพี)
กบแก้วสปีชีส์ใหม่ในสกุลนิมฟากัส (Nymphargus) ซึ่งมีผิวหนังโปร่งใส มองเห็นอวัยวะภายใน (เอเอฟพี) กบมีพิษสปีชีส์ใหม่ในสกุลโคโลสเตธัส (Colostethus) (เอเอฟพี)















































































































ซาลาแมนเดร์สปีชีส์ใหม่ โบลิโทกลอสซา เทย์เลอรี (Bolitoglossa taylori) (เอเอฟพี) กบสปีชีส์ใหม่ในสกุลพริสติแนนติส (Pristimantis) (ภาพจาก CI/Marco Rada) กบแก้วสปีชีส์ใหม่ในสกุลโคคราเนลลา (Cochranella) (ภาพจาก CI/Marco Rada)





















ree TextEditor



Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2552 20:23:11 น.
Counter : 1681 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend