ฮับเบิลส่องพบ "ดาวฤกษ์" กำลังกลืนกินดาวเคราะห์บริวารตัวเอง







โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มิถุนายน 2553 15:11
น.



























ภาพจำลองให้เห็นดาว
เคราะห์ WASP-12b โคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ WASP-12 มากๆ
และอุณหภูมิพื้นผิวของดาวเคราะห์สูงมากทำให้ชั้นบรรยากาศขยายใหญ่ขึ้น
และถูกดาวฤกษ์ดักจับไว้
โดยนักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์จะถูกดาวฤกษ์ดูดกลืนรวมเข้าด้วยกันจนหมดใน
อีก 10 ล้านปีข้างหน้า (นาซา/เอเอฟพี)

ดาวเคราะห์ที่ร้อน
ที่สุดในทางช้างเผือก กำลังจะกลายเป็นดาวเคราะห์อายุสั้นที่สุด
หลังฮับเบิลเผยให้เห็นเป็นครั้งแรก
ว่าดาวเคราะห์เจ้ากรรมกำลังถูกดาวแม่กลืนกิน คาดหมดสิ้นอายุขัยในอีก 10
ล้านปี

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble space
telescope) สำรวจพบว่า
ดาวเคราะห์ดวงที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในทางช้างเผือกกำลังถูกดาวฤกษ์กลืนกิน
เข้าไปทีละน้อยและจะหลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งกับดาวแม่อย่างสมบูรณ์ในอีก 10
ล้านปีข้างหน้า

ดาวเคราะห์ดวงที่ว่านี้คือดาว
ดับเบิลยูเอเอสพี-12บี (WASP-12b) ซึ่งนักดาราศาสตร์ค้นพบเมื่อปี 2008
เป็นบริวารของดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-12 (WASP-12)
ดาวแคระสีเหลืองที่อยู่ในกลุ่มดาวสารถี (Auriga) โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ
600 ปีแสง

ดาวเคราะห์ WASP-12b มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 300 เท่า
มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดี 40% ทั้งยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิ
พื้นผิวสูงที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมดภายในกาแล็กซีทางช้างเผือก
โดยมีอุณหภูมิสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียส เพราะโคจรอยู่ใกล้ชิดกับดาวฤกษ์มาก
ใช้เวลาโคจรครบ 1 รอบ เพียงประมาณ 1.1 วัน


ในการศึกษา
วิจัยครั้งนี้ นักดาราศาสตร์อาศัยเครื่องมือตัวใหม่ที่เรียกว่าคอส
มิคออริจินส์สเปคโตรกราฟ หรือซีโอเอส
(Cosmic Origins
Spectrograph : COS) ที่เพิ่งติดตั้งให้กล้องฮับเบิลเมื่อปี 2009
เพื่อสังเกตว่าดาวเคราะห์ได้รับผลจากแรงโน้มถ่วงจนทำให้มีรูปร่างยืดยาวออก
ได้อย่างไร
ซึ่งซีโอเอสสามารถวัดแสงสว่างของดาวฤกษ์ที่หรี่ลงได้ในขณะที่ดาวเคราะห์โคจร
ผ่านหน้าดาวฤกษ์

ซีโอเอสแสงให้เห็นเส้นสเปกตรัมดูดกลืนจากอลูมิ
เนียม ดีบุก แมงกานีส ท่ามกลางธาตุอื่น
ทำให้รู้แน่ชัดว่าดาวเคราะห์กำลังโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์
หมายความว่าธาตุเหล่านี้มีอยู่ในชั้นบรรยากาศทั้งของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์
และยังตรวจพบว่าชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นั้นขยายใหญ่ออกไปมาก
เพราะมีความร้อนสูงนั่นเอง
โดยพองออกคล้ายบอลลูนที่มีรัศมีมากกว่าดาวพฤหัสบดี 3 เท่า

"เรา
สังเกตเห็นกลุ่มหมอกควันจำนวนมากปกคลุมรอบๆ ดาวเคราะห์
ซึ่งหมอกควันเหล่านั้นกำลังหนีออกจากดาวเคราะห์และจะถูกดักจับไว้โดยดาวฤกษ์


และเรายังแยกได้องค์ประกอบทางเคมีที่ไม่เคยพบมาก่อนบนดาวเคราะห์ที่อยู่นอก
ระบบสุริยะของเราด้วย" แคโรล แฮสเวล (Carole Haswell)
หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอเพน (Open University) ประเทศอังกฤษ
เผยในเอเอฟพีและสเปซเดลี

ทั้งนี้
นักดาราศาสตร์รู้อยู่แล้วว่าดาวฤกษ์นั้นจะกลืนกินดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ใกล้
มากๆ ทว่านี่เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นปรากฏการณ์ดัง
กล่าวได้อย่างแจ่มชัด
ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ใน
วารสารแอสโทรฟิสิคัลเจอร์นัลเล็ตเตอร์ส (Astrophysical
Journal Letters
) เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา
โดยคาดการณ์ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะถูกดาวฤกษ์กลืนกินเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อย่างสมบูรณ์ในอีกประมาณ 10 ล้านปี

ก่อนหน้านั้นเมื่อเดือน ก.พ.
ที่ผ่านมา ซู-หลิน ลี่ (Shu-lin Li) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University)
ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยทางทฤษฎีลงในวารสารเนเจอร์ (Nature)
ที่ได้คาดการณ์ว่าแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์จะส่งผลให้พื้นผิวของดาวเคราะห์
WASP-12b บิดเบี้ยวผิดรูปผิดร่าง
และแรงดึงดูดนั้นจะทำให้ภายในของดาวเคราะห์ร้อนมากจนแผ่ขยายออกมาถึงนอกชั้น
บรรยากาศของดาวเคราะห์ ซึ่งได้รับการยืนยันจากผลงานวิจัยล่าสุดชิ้นนี้





Free TextEditor



Create Date : 20 มิถุนายน 2553
Last Update : 20 มิถุนายน 2553 14:47:44 น.
Counter : 691 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

iamZEON
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 111 คน [?]



ยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ ^^/

ข่าวสารการ์ตูนญี่ปุ่น
กับเกี่ยวข้องอย่างภาพยนตร์-เพลง
รายชื่อการ์ตูนออกใหม่-งานหนังสือ
เรื่องทั่วๆไปทั้งในและนอกประเทศก็มีบ้าง
New Comments
Group Blog
All Blog
MY VIP Friend