ชมรมสอนปลูกผักไร้ดินแบบพอเพียงเพื่อประโยชน์แก่สังคมไทย
ชมรมไฮโดรโพนิกส์เพื่อสังคม

ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2553

ความเป็นมาและหลักการ

ปัจจุบันการปลูกพืชผักไฮโดรโพนิกส์ในประเทศไทยได้แพร่หลายสู่ประชาชนมาหลายสิบปี นับตั้งแต่ปี 2526 โดยชาวไต้หวัน มาปลูกที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยทำเป็นเชิงการค้าและหลังจากนั้นก็เกิดฟาร์มตามมาอีกหลายแห่ง มีทั้งระบบ DFT,DRFT และ NFT เป็นส่วนใหญ่ มีทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ตลอดทั้งมีโครงการหลวง และโครงการของรัฐบาลเข้าไปส่งเสริมให้ความรู้ หลายๆแห่ง เช่น มีสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่งส่งเสริมความรู้ เช่น ทางเหนือ มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทางภาคกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทางภาคอีสาน มหาวิทยาลัยสุรนารี เป็นต้น ทุกๆแห่งที่สอนนักศึกษาและเปิดอบรมความรู้แก่ประชาชน ล้วนแต่ให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนได้นำไปใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัวหรือนำไปทำในเชิงการค้า ก็ดีด้วยกันทั้งสิ้น
แต่ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานต่างๆได้ส่งเสริมการปลูกกันกว้างขวางมากขึ้น แต่ยังมีช่องว่างอีกมากที่ประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถเข้าถึงการปลูกผักแบบไฮโดรโพนิกส์อย่างแท้จริง ด้วยสาเหตุหลักๆก็คือ
1.อุปกรณ์การปลูกผักชนิดต่างๆ มีราคาสูงมาก สูงเกินกว่าประชาชนที่มีรายได้ที่ไม่สูงนักจะซื้อมาปลูกได้
2.สารละลายอาหารพืชซึ่งถือว่าเป็นของที่ใช้แล้วหมดไป มีราคาสูงมากและหาซื้อยากและมักจะเก็บเป็นความลับเฉพาะไม่ค่อยเปิดเผยง่ายๆเพราะจะได้ทำขายกันในราคาแพงๆ
3.ขาดหน่วยงานอย่างพอเพียงต่อการให้ความรู้ให้แก่ประชาชนอย่างเฉพาะเจาะจงและแพร่หลาย โดยเฉพาะในการอบรมในเชิงปฎิบัติจริงนั้นไม่ค่อยมีเลย ประกอบกับค่าอบรมยังสูงมาก เพราะเนื่องจากมีค่าสถานที่ ค่าวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่การปลูกผักแบบนี้ ไม่ค่อยแพร่หลายในกลุ่มประชาชนระดับชาวบ้านธรรมดา ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ทำให้ต้องเลือกทางเลือกเดิมๆก็คือ กินผักดินราคาถูกบ้าง แพงบ้าง และยังมีการใช้ยาฆ่าแมลงฉีดอยู่เสมอๆ ในขณะที่การซื้อผักไฮโดรโพนิกส์มากินยังมีราคาสูงและไม่ค่อยมีขายตามท้องตลาดทั่วๆไป หาซื้อยาก สำหรับผักอินทรีย์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี แต่ก็ยังมีราคาสูงเช่นกัน ทางออกของประชาชนคนเมือง ที่ไม่มีที่ดินให้ปลูกผัก หรือมีที่ดินอย่างจำกัด หรือไม่มีเลย เป็นส่วนใหญ่ เป็นคนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงหรือในหัวเมืองใหญ่ๆยังขาดทางออกที่ดีกว่าที่เป็นมา การปลูกผักกินเองนับว่ามืดมนเพราะไม่มีปัจจัยที่เกื้อกูลพอ หากเราสามารถหาทางออกที่เหมาะสมให้แก่ประชาชนเหล่านั้นได้ นั่นคือ หากสามารถนำวัสดุใกล้ตัว ที่หาซื้อง่ายๆ เอามาประกอบเป็นชุดปลูกได้ อย่างไม่ยากนักก็นับว่าวิเศษยิ่ง ส่วนการจัดหาสารละลายอาหารพืชที่มีราคาสูงและที่ต้องซื้อมาผสมเองนั้น ถ้าทำระบบฟาร์มเพื่อใช้จำนวนมากก็คุ้มค่าต่อการลงทุน แต่ถ้าหากเป็นใช้ในครัวเรือน ที่ใช้ไม่มาก การผสมต่อครั้งต้องใช้เงินซื้อปุ๋ยมาผสมเองต้องลงทุนมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป และเกินกว่าที่ต้องการใช้ และต้องใช้พื้นที่เก็บถังขนาดใหญ่ ก็ไม่คุ้มค่าต่อการผสมใช้เอง นอกจากนั้นแล้วการผสมเองต้องอาศัยความรู้ในเรื่องสารอาหารพืชมากพอสมควร ทางออกจึงต้องมีกลุ่มหรือชมรมที่เป็นศูนย์กลางในการทำให้ทางออกทั้ง 2 กรณีนั้นเป็นผลสัมฤทธิ์และสำเร็จให้จงได้ ด้วยการตั้งชมรมขึ้นมาแก้ปัญหาหลักๆตามที่กล่าวมา ด้วยการให้ชมรมเป็นศูนย์เรียนรู้ในการทำแปลงปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ด้วยตนเองโดยอาศัยภูมิปัญญาแบบชาวบ้านที่พึ่งพาตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยร้านขายอุปกรณ์ไฮโดรโพนิกส์ที่มีอยู่จำกัดเท่านั้น ตลอดถึงการจัดจำหน่ายสารละลายอาหารพืชในราคาถูกพิเศษแก่สมาชิกชมรม ซึ่งเราขอเรียกว่า ชมรมไฮโดรโพนิกส์เพื่อสังคม

วัตถุประสงค์ของชมรม
1. เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์แบบพึ่งพาตนเอง สอนให้ทำขึ้นเอง(D.I.Y: Do It Yourself)และพึ่งพากันเองและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ในการสนับสนุนให้มีการปลูกผักกินเองในครอบครัว
2. เป็นศูนย์เรียนรู้การพึ่งตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบคนเมือง ที่ไม่มีพิ้นที่ปลูกผักแบบปลูกดิน ให้สามารถปลูกผักกินเองและแบ่งปันให้แก่เพื่อนบ้าน
3. เป็นศูนย์กลางในการจัดจำหน่าย อุปกรณ์ปลูกผัก แบบภูมิปัญญาชาวบ้านให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปในราคาสมเหตุสมผล
4. เป็นศูนย์กลางพัฒนาการปลูกและรูปแบบการปลูกใหม่ๆเพื่อมาแลกเปลี่ยนความรู้แก่เพื่อนสมาชิกด้วยกัน การพัฒนาต่อยอดการปลูกผักได้หลากหลายมากขึ้น
5. เป็นศูนย์ให้คำปรึกษาแก่สมาชิกและประชาชนทั่วไปในการวางระบบเพื่อการค้าในราคาต่ำกว่าท้องตลาด สำหรับประชาชนผู้ที่มีทุนทรัพย์น้อยให้สมารถประกอบอาชีพได้
6. เป็นศูนย์รวมสมาชิกที่มีความรู้ในการปลูกผักไร้ดินให้สามารถออกไปช่วยเหลือสังคมหรือประชาชนที่ยากจนให้มีโอกาสบริโภคผักไร้ดินที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
………………………………………….

สรุปผลการตั้งคณะกรรมการชมรมไฮโดรโพนิกส์เพื่อสังคม
จำนวน 5 คน ดังนี้

1. นายถาวร บัวสีม่วง กรรมการ
2. นายชัยยันต์ ใสแก้ว กรรมการ
3. นายธีรศักดิ์ วัฒนสกลพันธ์ กรรมการ
4. นายสมเจตน เวชปัญญาดำรง กรรมการ
5. นายวิทยา ยิ่งศิริรัตน์ กรรมการ
6. นายธิติวัฒน์ มิตตะสิทธินันท์ ประธานกรรมการ

สถานที่ตั้งของชมรม บ้านเลขที่ 369 ซอยอ่อนนุช66 แขวง/เขตสวนหลวง
กรุงเทพมหานคร 10250
e-mail : thitiwattn@gmail.com



Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2554 7:58:52 น.
Counter : 1545 Pageviews.


wattn
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]