HotBlog ^___^ บล็อกร้อนๆ

+++ ใส่ใจเรื่องหมอน และตัวไรฝุ่น +++






โดยทั่วไปเรานอนประมาณวันละ 8 ชั่วโมง หมอนจึงเป็นเพื่อนร่วมเตียงที่สำคัญ นอกจากให้ความนุ่มสบายแล้ว ยังเป็นสิ่งที่สัมผัสหน้าตา และจมูกของเราโดยตรง การทำความสะอาดหมอนเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลย

หมอนเป็นบ้านของตัวไรฝุ่น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ คนที่แพ้ มักจะมีอาการจาม คัดจมูกน้ำมูกไหล ไอ หอบ และหายใจลำบาก เพื่อปลอดจากตัวไรฝุ่น เราควรทำความสะอาดหมอน ผ้าห่ม และที่นอน เป็นประจำ


  • ตากแดดจัดนาน 1 ชั่วโมงจะฆ่าตัวไรฝุ่นได้ และถ้านานกว่า 5 ชั่วโมง ช่วยยับยั้งการเจริญของไข่ไร้ฝุ่นได้ ควรกลับด้านตาก ทั้งสองด้าน เพื่อให้โดนแดดอย่างทั่วถึง



  • ซักเครื่องนอน ด้วยน่ำร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานอย่างน้อย 30 นาที ทุก 1 เดือน ช่วยขจัดสารก่อภูมิแพ้ได้ เพราะมูลไรจะละลายในน่ำ หากหยดน้ำมันยูคาลิปตัส จะช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ( วัสดุบางชนิดอาจไม่สามารถซัก หรือตากแดดได้ )



  • ซักแห้งสามารถฆ่าตัวไรฝุ่นได้ แต่ไม่สามารถลดสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นลงได้ เพราะโปรตีนจากซากไรฝั่นยังอยู่ ไม่ได้ถูกชะล้างออกไปด้วย



  • รีดปลอกหมอนและผ้าปูที่นอน ด้วยความร้อนประมาณ 140 องศาเซลเซียส จะช่วยทำลายสารก่อภูมิแพ้ได้


  • ใช้ผ้ากันไรฝุ่นชนิดทอแน่นหุ้มที่นอนและหมอก เป็นการกั้นมูลไรฝุ่น ไม่ให้ฟุ้งออกมาสัมผัสเรา และกันไม่ให้ไรฝุ่นจากข้างนอกเข้าไปอาศัยอยู่ แม้ไม่สามารถลดปริมาณไรฝุ่นลง แต่ช่วยลดการสูดดมลงได้



  • ทำความสะอาดห้องนอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนและที่นอนทุกๆ 2 ปี เนื่องจากความสกปรก จะสะสม ในหมอนโดยพบว่า ในปีหนึ่งน่ำหนักของหมอนจะเพิ่มขึ้น 10 % ในขณะที่นอนจะเพิ่มเป็น 2 เท่าใน 10 ปี จากไรฝุ่น


  • ไรฝุ่นบ้าน มีขนาดเล็กเพียง 0.3 มิลลิเมตร พบได้ที่เตียงนอน หมอน ผ้าห่ม และฟอร์นิเจอร์ ไรฝุ่นชอบอยู่ตามเส้นใยในที่มืด และอับชื้น เติบโดตได้โดยการดูดซึมความชื่นในอากาศ และกินเศษคราบไคล จากผิวคนเราเป็นอาหาร สามารถเพิ่มมูล และสารก่อภูมิแพ้ได้เป็นจำนวนมาก ตัวเมียตั้งท้องได้ภายใน 1 ชั่วโมง และจะตกไข่ในอีก 3 วันต่อมา จากระยะฟักไข่จนเป็นตัวโตเต็มวัย ในเวลาประมาณ 1 เดือน


  • หลายคนยังเข้าใจว่า การทำความสะอาดหมอน คือการเอาหมอนไปตากแดดจัดๆ จริงๆแล้วต้องดูว่า หมอนที่ใช้ทำจากวัสดุอะไร ควรอ่านฉลากวิธีใช้และรักษาให้ถูกต้อง


  • หมอนใยสังเคราะห์ สามารถซักน้ำได้ ควรซักน้ำแล้วตากแดดจัด เพื่อให้แห้งสนิทถึงไส้ใน


  • หมอนขนเป็ด ต้องซักแห้งเท่านั้น และห้ามตากแดด เพราะจะเป็นการขับกลิ่นสาปออกมา ควรผึ่งลมให้แห้ง


  • หมอนยางพารา และเมโมรี่โฟม ห้ามตากแดด เพราะจทำให้ยางและโฟมเสื่อมสภาพ ทำความสะอาดโดยการ ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ด








โรคภูมิแพ้ป้องกันได้ด้วยชุดเครื่องนอนกันไรฝุ่น
ชุดเครื่องนอนกันไรฝุ่น มีคุณสมบัติดังนี้

1.ป้องกันการสะสมฝุ่นและการเกิดตัวไรฝุ่นสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้และหอบหืด

2.ตัดปัญหาคราบเปรอะเปื้อนที่นอน

3.ทำความสะอาดง่าย

4.ทุ่นแรง เวลาจากการขนที่นอนออกผึ่งแดด

5.ประหยัด ยืดอายุการใช้งานที่นอน

6.นุ่มนวลหลับสบาย

แพทย์โรคภูมิแพ้แนะนำให้ใช้ผ้าหุ้มกันไรฝุ่นสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้และเด็ก

ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นและเหมาะมากสำหรับเด็กทารก
เชิญอ่านบทความตัวไรฝุ่นและการหลีกเลี่ยง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้

สารโปรตีนจากตัวไรฝุ่น ทั้งจากตัวมันและจากอุจจาระของมัน เป็นสารก่อภูมิแพ้

ที่เป็นสาเหตุสำตัญของการเกิดโรคแพ้อากาศและโรคหอบหืด และพบว่าถ้าเราลดปริมาณไร

ฝุ่น ในบ้านของผู้ป่วยลงได้อาการของโรคทั้งสองจะดีขึ้นและถ้าเราลดปริมาณไรฝุ่นใน บ้านของเด็กที่มีแนวโน้มทางพันธุกรรมว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ ก็จะสามารถลดการเกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กนั้นลงได้ด้วย

รฝุ่นชอบอาศัยอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซนเซียส ความชื้นร้อยละ 75-80

ซึ่งเป็นลักษณะอากาศของประเทศไทยอาหารของมันคือ ศษผิวหนังและรังแคจากมนุษย์และสัตว์,เชื้อรา,เศษแมลง,ละอองเกสรต่าง ๆ โดยเศษผิวหนัง 1 กรัม สามารถเลี้ยงไรฝุ่น 1,000,000 ตัวได้ถึง 1 สัปดาห์*แหล่งที่พบตัวไรฝุ่นได้มากที่สุดในบ้านคือ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม

ผ้าม่าน เฟอร์นิเจอร์โดยเฉพาะที่หุ้มด้วยผ้า และตุ๊กตาขนฟู

เพราะมีอุณหภูมิ ความชื้น และอาหารทุกอย่างครบตามที่ต้องการ

การหลีกเลี่ยงและป้องกันไรฝุ่น

1.คลุมที่นอน และเครื่องนอน เช่น หมอน หมอนข้าง ด้วยผ้าหุ้มกันไรฝุ่น

โดยเอาผ้านี้หุ้มที่นอน หมอน หมอนข้าง ก่อนจะปูผ้าปูที่นอนและปลอกหมอน

อาจใช้พลาสติกหุ้มที่นอนและหมอนแทนผ้านี้ แต่มักจะร้อนอบอ้าวนอนไม่สบาย

2.การซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ควรซักด้วยน้ำร้อน 55-60 องศาเซนเซียส

โดยซักทุกสัปดาห์ วิธีนี้จะฆ่าตัวไรฝุ่นได้ 100 %

การซักด้วยน้ำเย็นไม่สามารถฆ่าตัวไรฝุ่นได้แม้จะใช้ผงซักฟอกก็ตาม ได้แค่เพียง

ล้างไรฝุ่นออกเท่านั้น ไรฝุ่นที่เหลืออยู่จะก่อโรคได้ใหม่ เมื่อน้ำผ้านั้นกลับมาใช้อีก

ส่วนการซักแห้งนั้นถึงจะฆ่าตัวไรฝุ่นได้แต่ไม่สามารถลดสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น

ลงได้ เพราะโปรตีนจากซากมันยังอยู่ ไม่ได้ถูกชะล้างออกไป

ส่วนผ้าหุ้มกันไรฝุ่นควรซักด้วยน้ำธรรมดาหรือผงซักฟอกซักเครื่องหรือซักมือได้

ตามปกติทุก 2 -4สัปดาห์

3. ควรใช้หมอนที่ทำจากใยสังเคราะห์ เช่น dacron ไม่ควรใช้หมอนที่ทำจากขนสัตว์

ต่าง ๆ นุ่น ฟองน้ำ และควรหุ้มด้วยผ้ากันไรฝุ่นอีกชั้นผ้านวมเลือกแบบไส้เป็นใยสังเคราะห์

ผ้าห่ม เลือกชนิดที่ไม่สะสมฝุ่น ซักน้ำร้อนได้ แห้งเร็ว ไม่ควรใช้แบบที่ทำจากขนสัตว์ ผ้าฝ้าย ผ้าสำลี
ที่มา:
//www.thaikidclinic.com



คุณสมบัติของผ้ากันไรฝุ่นอ่านเพิ่มเติมได้ที่
//www.littleray.net/feature.html





 

Create Date : 17 มีนาคม 2553   
Last Update : 17 มีนาคม 2553 23:49:42 น.   
Counter : 13585 Pageviews.  

+++ วิธีเลือกซื้อทุเรียน +++


ทุเรียน (Durian) ชื่อวิทยาศาสตร์ Durio Zibethinus. Family : Bombaceaceae

ทุเรียน มีถิ่นกำเนิดที่หมู่เกาะอินเดียและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ มีหนามแหลม รสชาติหวานมัน จึงได้ชื่อว่า “ราชาผลไม้ King of Fruits” เนื้อทุเรียนให้ธาตุอาหารหลายชนิด ได้แก่ ไนโตรเจน แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส โพแตสเซียม และกำมะถัน พันธุ์ดั้งเดิมทั่วไป ได้แก่ ลวง กระดุม ชมพูศรี ฉัตรสีนาก อีหนัก กำปั่น กบ และหลงลับแล ส่วนพันธุ์ส่งเสริม มี 4 พันธุ์ ได้แก่

1. พันธุ์กระดุม ผลมีขนาดเล็ก ค่อนข้างกลม หัวและท้ายผลค่อนข้างป้าน น้ำหนักเฉลี่ย 1 กก. หนามเล็กสั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น พูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างเล็ก เนื้อค่อนข้างบางแต่ละเอียด นุ่ม สีเหลืองอ่อน เมล็ดมีขนาดใหญ่ รสชาติหวานไม่ค่อยมัน และง่ายเมื่อสุกจัด

2. พันธุ์หมอนทอง ผลมีขนาดใหญ่ ค่อนข้างยาว มีบ่าผล ปลายผลแหลม น้ำหนักเฉลี่ย 3-4 กก. พูไม่ค่อยเต็มทุกพู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กแซมอยู่ทั่วไป เรียกว่า เขี้ยวงู ก้านใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อแห้งไม่แฉะรสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่

3. พันธ์ก้านยาว ผลมีขนาดปานกลาง ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู น้ำหนักเฉลี่ย 3 กก. หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอ ก้านใหญ่และยาว เนื้อละเอียดสีเหลืองหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่

4. พันธุ์ชะนี ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ รูปทรงหวด คือ กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด น้ำหนักเฉลี่ย 2.5-3 กก. ร่องพูเล็กมองเห็นชัด ขั้วผลใหญ่และสั้น เนื้อละเอียดมีสีเหลืองจัด รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำนวนเมล็ดน้อย


การเลือกซื้อทุเรียน
o ดูปากปลิง ทุเรียนแก่จัดปากปลิงจะพองโตเห็นรอยชัดเจน
o ดูหนาม ผลทุเรียนแก่ปลายหนามจะออกสีน้ำตาลเข้ม
o บีบปลายหนาม 2 หนามเข้าหากัน ทุเรียนแก่เมื่อบีบปลายหนามเข้าหากัน จะมีลักษณะยืดหยุ่นเหมือนมีสปริง
o ดูขั้วผล ขั้วทุเรียนแก่จะเป็นสปริง ส่วนขั้วผลทุเรียนอ่อนจะไม่เป็นสปริง
o ดูสีผล ด้านบนผลทุเรียนแก่สีจะมันและแห้ง
o ดูร่องพู ทุเรียนแก่ร่องพูเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ไม่มีริ้วรอยจากแมลงและโรค
o ชิมปลิง โดยตัดขั้วผลหรือปลิง ทุเรียนแก่จะเห็นน้ำใสที่ขั้วผล ไม่ข้นเหนียวเหมือนทุเรียนอ่อน เมื่อชิมดูจะมีรสหวาน รอยตัดขั้วผลจะเป็นวงแหวนสีเหลืองระหว่างแกนกับเปลือก
o ดมกลิ่น ทุเรียนสุกจะมีกลิ่นหอม ส่วนทุเรียนแก่จะมีกลิ่นสาบของความหอม ไม่เหม็นเขียว
o เคาะที่โกรกหนาม ทุเรียนแก่มีเสียงโพรกดังหลวม ๆ ไม่ทึบ
o ควรซื้อทุเรียนที่ตัดมาจากสวนใหม่ๆหากเป็นไปได้แวะไปที่สวนผลไม้ที่เปิดให้เข้าชม จะได้ทุเรียนที่ตัดมาสด ๆ นำไปเป่าพัดลมไล่น้ำ 3-5 ชั่วโมง เนื้อทุเรียนจะไม่อมน้ำ ทำให้ทานอร่อยยิ่งขึ้น
o ซื้อทุเรียนที่ตัดตอนแก่ พันธุ์ชะนีให้ทิ้งข้ามคืน 3 คืน ส่วนหมอนทองให้ทิ้งข้ามคืน 5 คืน จะได้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น
o การใช้มีดผ่าทุเรียน ควรใช้มีดขนาดกระชับมือ มีความคมเป็นพิเศษผ่าตามร่องพู แล้วค่อย ๆ บิดเปลือกออกจะทำให้แกะง่ายขึ้น
o ทุเรียนที่สุกมาก ใช้มีดเจาะก้นผลแล้วบิแปลือกออกจะทำให้แกะง่ายขึ้น
o ถ้าทานทุเรียนไม่หมดให้นำไปแช่ช่องฟิต จะได้ไอศกรีมทุเรียนที่อร่อยไม่แพ้ทานทุเรียนสด ๆ

ประโยชน์จากทุเรียน

o แปรรูป ทุเรียนกวน ทอฟฟี่ทุเรียน ทุเรียนทอด ไวน์ทุเรียน ฯลฯ
o ประโยชน์ ให้สารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย โดยเฉพาะพลังงาน
ความร้อน ทุเรียนก้านยาว 1 พู ให้พลังงานถึง 516 แคลอรี่ แม้แต่ทุเรียน
เพียง 1 ขีด ก็ให้พลังงานถึง 125 แคลอรี่

ขอขอบคุณ
//rayong.mots.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538748892&Ntype=12

วิธีเลือกซื้อผลไม้อื่นๆ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=radioarms&date=01-01-2009&group=28&gblog=4#




 

Create Date : 19 มกราคม 2553   
Last Update : 19 มกราคม 2553 22:52:00 น.   
Counter : 1341 Pageviews.  

+++ ขนาด 1 ช้อนชา กับ 1 ช้อนโต๊ะ ที่แท้จริง +++




คนส่วนใหญ่ เวลาจะป้อนยาให้เด็ก หรือ รับทานยาเอง มักเข้าใจผิดๆว่า ช้อนโต๊ะ คือ ช้อนกินข้าว ส่วน ช้อนชา คือ ช้อนชงกาแฟ ซึ่งไม่ถูกต้อง
การให้ขนาดยาที่ผิดพลาด มีผลต่อการรักษา ดังนั้น เราควรมีความรู้
ในเรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ให้ถูกต้อง


1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ช้อนชา การตวงยาน้ำนั้นสำคัญไฉน

เวลาลูกน้อยป่วยบางทีได้ยามาหลายชนิดและส่วนใหญ่มักจะเป็นยาน้ำ ยาบางชนิดให้ทานด้วยช้อนชา บางชนิดให้ทานด้วยช้อนโต๊ะ ช้อนสำหรับตวงยามีตั้งแต่ช้อนโต๊ะ ช้อนชา บางทีก็ ½ ช้อนโต๊ะ แถมยังมีหลอดหยดอีกด้วย แต่ทราบหรือไม่ ว่าการตวงยาน้ำโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้มีวิธีการและความสำคัญอย่างไร

หน่วยตวงสำหรับยาน้ำที่เราพบบ่อยๆ ได้แก่

1 ช้อนชามาตรฐาน เท่ากับ 5 ซีซี หรือ 5 มิลลิลิตร

1 ช้อนโต๊ะมาตรฐาน เท่ากับ 15 ซีซี หรือ 15 มิลลิลิตร




วิธีการตวงยาด้วยช้อนชามาตรฐานสำหรับปริมาตรยาต่างๆ
1 ช้อนชา = 5 ซีซี ให้ตวงยาให้เต็มขอบบนของช้อนชามาตรฐานพอดี
3/4 ช้อนชา = 3.75 ซีซี ให้ตวงยาเลยขีดกลางของช้อนชามาตรฐานขึ้นมาจนเกือบเต็มแต่ไม่เต็มช้อน
1/2 ช้อนชา = 2.5 ซีซี ให้ตวงยาแค่ขีดกลางของช้อนชามาตรฐานพอดี
1/3 ช้อนชา = ประมาณ 1.7 ซีซี ให้ตวงยาต่ำกว่าขีดกลางของช้อนชามาตรฐานเล็กน้อย
1/4 ช้อนชา = ประมาณ 1.25 ซีซี ให้ตวงยาต่ำกว่าขีดกลางของช้อนชามาตรฐานครึ่งหนึ่ง

ช้อนโต๊ะสำหรับทานอาหาร หรือ ช้อนโต๊ะสำหรับชงกาแฟไม่ควรจะนำมาใช้ป้อนยา เนื่องจากช้อนแต่ละอันจะมีขนาดไม่เท่ากัน ในบางครั้งช้อนกาแฟที่เราใช้ชงกาแฟกันนั้นมีขนาดเล็กเท่ากับแค่ครึ่งช้อนชามาตรฐาน หรือมีขนาดใหญ่เท่ากับ 2 ช้อนชามาตรฐานซึ่งจะมีผลทำให้ลูกน้อยของคุณอาจได้รับยาน้อยเกินไปทำให้รักษาโรคไม่หาย หรือ อาจได้รับยาเกินขนาดได้และเกิดอันตรายได้ ดังนั้นแล้วช้อนโต๊ะหรือช้อนชาที่ใช้ตวงยาควรใช้อุปกรณ์ที่ติดมากับยา หรือได้รับจากสถานพยาบาลหรือร้านยาเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วยังมีอุปกรณ์สำหรับตวงยาน้ำอื่นๆอีก เช่น

หลอดหยด - เป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาที่มีปริมาณน้อยๆ โดยทั่วไปจะมี 3 ขนาดคือ 0.6 ซีซี, 1 ซีซี และ 1.5 ซีซี
กระบอกฉีดยาพลาสติกที่ไม่มีเข็ม - เป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาที่ใช้ป้อนยาเด็กค่อนข้างง่าย ตวงได้ค่อนข้างแม่นยำ มี 2 ขนาดคือ 3 ซีซี และ 5 ซีซี
ดังนั้นแล้วไม่ควรละเลยเรื่องเล็กๆแค่การเลือกใช้อุปกรณ์ตวงยาให้ถูกต้อง แต่มีความสำคัญต่อการใช้ยาให้ได้ผลและปลอดภัยค่ะ


สรุป
ช้อนชาและช้อนโต๊ะ เป็นหน่วยในการตวงวัดปริมาตร

1 ช้อนชา = 5 ซีซี
1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซีซี

ดังนั้น 3 ช้อนชา จึงเท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ

ซึ่งช้อนชาไม่ได้หมายถึงช้อนชงกาแฟ และช้อนโต๊ะก็ไม่ได้หมายถึงช้อนกินข้าว การวัดปริมาตรให้ถูกต้องจริงๆ ควรใช้กระบอกฉีดยา (syringe) ในการตวง หรือหาช้อนประจำตัวมาตวงเทียบกับกระบอกฉีดยา



//www.yaandyou.net/druglist2.php?id=&title=หนึ่งช้อนโต๊ะ%20หรือ%20หนึ่งช้อนชา%20การตวงยาน้ำนั้นสำคัญไฉน




 

Create Date : 19 มกราคม 2553   
Last Update : 19 มกราคม 2553 22:30:09 น.   
Counter : 171832 Pageviews.  

+++ วิธีกินยาก่อนอาหาร และ ยาหลังอาหาร ที่ถูกต้อง +++





คนส่วนมากกินยาก่อนอาหารและกินอาหารทันที และถ้าเป็นยาหลังอาหาร พอกินอาหารอิ่มก็กินยาเข้าไปทันที ทั้งสองกรณีนี้มีผลเหมือนกันคือ กินยาพร้อมอาหาร ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง



ทำไมต้องกินยาก่อนอาหาร ทำไมต้องกินยาหลังอาหาร

เวลาที่เรารับประทานยาเข้าไป ยาจะผ่านปากเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร และดูดซึมบริเวณผนังของทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปออกฤทธิ์ในบริเวณที่เจ็บป่วย ยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติในการดูดซึมที่แตกต่างกัน ดังนั้นการกินยาก่อนหรือหลังอาหารจะมีผลต่อการดูดซึมของยา และยังมีผลต่ออาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาอีกด้วย


ทำไมต้องกินยาก่อนอาหาร...

ยาส่วนใหญ่ที่ให้ก่อนอาหารจะเป็นยาที่ถูกดูดซึมได้ดีในช่วงท้องว่างซึ่งจะเป็นช่วงก่อนที่เราจะรับประทานอาหาร หรือ ตัวยาเองมีฤทธิ์รักษาอาการที่จะเกิดเมื่อรับประทานอาหาร เช่น ยาต้านอาเจียน ยาเหล่านี้ให้ทานก่อนรับประทานอาหาร 15-30 นาที ยาบางกลุ่ม เช่น ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนนิซิลลิน แอมพิซิลิน จะถูกกรดในกระเพาะอาหารทำลายได้ ดังนั้นจึงควรทานยาเหล่านี้ก่อนรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง

ยาก่อนอาหารคือ ยาที่จะละลายได้ดีในสภาวะเป็นกรด ทุกครั้งที่เรากินยา มันจะลงไปรออยู่ที่กระเพาะเป็นด่านแรก กระเพาะคนเราขณะที่ว่างจากอาหารจะมีน้ำย่อยซึ่งมีคุณสมบัติเป็นกรด เมื่อยาลงไปถูกกรดในกระเพาะ ก็จะละลายแล้วดูดซึมได้ดี ทำให้เป็นผลดีในการรักษา



ทำไมต้องกินยาหลังอาหาร...

โดยทั่วๆไป ยาที่ให้กินหลังอาหาร จะหมายถึงทานหลังรับประทานอาหาร 15 นาที แต่มียาบางชนิดที่อาจมีอาการข้างเคียงคือ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและปวดท้องได้ เช่น ยาแอสไพริน, ยาแก้ปวดบางชนิด, ยาสเตียรอยด์ ยาเหล่านี้ให้ทานหลังจากรับประทานอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ

ยาหลังอาหาร ส่วนมากมักมีฤทธิ์เป็นกรดหรือมีฤทธิ์กัดกระเพาะ ถ้ากินยาเข้าไปขณะท้องว่าง ยาก็จะกัดกระเพาะ ทำให้อาจเป็นแผลและเป็นโรคกระเพาะได่ หรือยาหลังอาหารบางชนิดเมื่อกินขณะท้องว่ากรดจากกรพาะจะไปฆ่าฤทธิ์ยา ทำให้ยาขาดประสิทธิภาพ นี่เป็นเหตุผลว่าต้องกินยาหลังอาหาร



ดังนั้นแล้วเมื่อท่านได้รับยาให้รับประทานยาตามที่เขียนบนฉลากอย่างเคร่งครัด
การกินยาที่ถูกต้องมีวิธีปฏิบัติง่ายๆดังนี้



กินก่อนอาหาร คือ รับประทานขณะท้องว่าง ก่อนรับประทานอาหาร ครึ่งชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง

กินหลังอาหาร คือ รับประทานหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ 15 - 30 นาที

กินหลังอาหารทันทีหรือพร้อมอาหาร คือ รับประทานยาทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ หรือ จะรับประทานยาระหว่างที่กำลังรับประทานอาหารก็ได้

กินก่อนนอน คือ รับประทานก่อนเวลาเข้านอนตอนกลางคืน 15 - 30 นาที

กินเมื่อมีอาการ คือ รับประทานเมื่อมีอาการของโรค หากไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา



ขอบคุณ
//www.yaandyou.net/druglist2.php?id=&title=ทำไมต้องกินยาก่อนอาหาร%20ทำไมต้องกินยาหลังอาหาร

//rueanthai2.lefora.com/2009/01/08/-/




เหตุผลที่ยาบางชนิดต้องกินก่อนอาหารนั้น เนื่องจากยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีตอนท้องว่าง นั่นคือ ก่อนอาหารประมาณครึ่ง-หนึ่งชั่วโมง หรือหลังกินอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง เนื่องจากถ้ามีอาหารในกระเพาะหรือลำไส้จะทำให้การดูดซึมยานั้นลดลง



ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดควรกินก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง เช่น แอมพิซิลลิน (ampicillin), คลอกซาซิลลิน (cloxacillin), ไดคลอกซาซิลลิน (dicloxacillin) อีริโทรไมซิน (erythromycin), นอร์ฟลอกซาซิน (norfloxacin) ดังนั้นถ้าลืมกินยาก่อนอาหารก็สามารถกินยาหลังจากกินอาหารไปแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง แต่หากนึกขึ้นได้ตอนใกล้จะกินยามื้อต่อไป ควรข้ามยามื้อนั้นไปและรอกินยามื้อต่อไปตามเวลาที่ควรกินตามปกติ



อย่างไรก็ตามหากกินยาตอนท้องว่างแล้วมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนก็สามารถกินยาหลังอาหารได้ แม้การดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือดจะลดลง แต่ก็ยังดีกว่าที่ไม่สามารถกินยาได้เลย



ยาที่ให้กินหลังอาหารทันทีหรือกินยาพร้อมอาหาร อาจมีหลายเหตุผล เช่น ยาทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร หากกินยาตอนท้องว่างจะทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะหรือลำไส้ และแสบท้อง หรือยาบางชนิดถูกดูดซึมได้ดีในอาหารที่มีไขมัน



ตัวอย่างยาที่ให้กินหลังอาหารทันที มักเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบ (anti-inflammatory drug) เช่น ไดโคลฟีแนก (diclofenac), อินโดเมทาซิน (indomethacin), ไอบิวโพรเฟน (ibuprofen), แอสไพริน (aspirin), เพรดนิโซโลน (prednisolone), เดกซาเมทาโซน (dexamethasone) หรืออาจเป็นยากลุ่มอื่น เช่น เมตฟอร์มิน (metformin) ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวานที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะ



ยาบางชนิดกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เพราะอาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมยา ยาไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินอาหาร และไม่มีปัญหาเรื่องความคงตัว เช่น พาราเซทามอล (paracetamol) ซึ่งกินยาได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ยาปฏิชีวนะอะมอกซิซิลลิน (amoxicillin) ซึ่งกินยาทุก 8 ชั่วโมงแต่เพื่อไม่ให้ลืมกินยา บางครั้งแพทย์และเภสัชกรจึงให้ผู้ป่วยกินอะมอกซิซิลลินหลังอาหารเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลืมกินยา แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการกินยาทุก 8 ชั่วโมงเพราะทำให้ระดับยาในเลือดคงที่ทำให้ทำลายเชื้อได้ตลอดเวลา


ขอบคุณ
//healthy.in.th/categories/healthful/news/482






ยากินก่อนอาหารหรือหลังอาหารต่างกันอย่างไร ?


โดยหลักทางเภสัชวิทยา การกินยาก่อนอาหาร (เวลาท้องว่าง) มีข้อดีที่ลำไส้จะดูดซึมยาเข้าร่างกายได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีอาหารคอยขัดขวาง ดังนั้นถ้าเป็นยาที่ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร หมอนิยมให้กินก่อนอาหาร เช่น ยาลดความดันเลือด ยารักษาเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมักให้กินวันละ 1 ครั้ง ตอนเช้าก่อนอาหาร (ผู้ผลิตยาพยายามผลิตยาที่ออกฤทธิ์ได้นานทั้งวันให้กินวันละครั้งเพื่อความสะดวก)

แต่อย่างไรก็ตาม ยาส่วนใหญ่หมอยังนิยมให้กินหลังอาหาร ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ



1. ยาบางชนิดอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร (ไซ้ท้อง หรือกัดกระเพาะ) เช่น ยาแก้ปวดลดไข้แอสไพริน ยาแก้ปวดข้อบางชนิด ยาปฏิชีวนะ เช่น เตตราไซคลีน อีริโทรไมซิน เป็นต้น ยาเหล่านี้ถ้ากินก่อนอาหารอาจทำให้เกิดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง จึงให้กินหลังอาหารซึ่งบางครั้งร่างกายอาจดูดซึมยาได้น้อยกว่าการกินก่อนอาหารแต่ก็ยังมีผลในการรักษาโรคได้ดีเช่นกัน (ปริมาณยาที่ดูดซึมในการกินหลังอาหารเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทางยา)



2. เป็นเรื่องของความสะดวก การกินยาก่อนอาหารคนไข้มักจะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องกินวันละหลายมื้อ หมอแนะนำให้กินหลังอาหารคนไข้จะเคยชิน นึกได้ว่าเมื่อกินอาหารต้องกินยาตาม

ดังนั้นสำหรับยาที่ต้องกินวันละหลายมื้อ ถึงแม้ไม่มีปัญหาเรื่องการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารก็ยังนิยมให้กินหลังอาหาร ยากลุ่มนี้จะกินก่อนอาหารได้ก็ยิ่งดี (ถ้าแน่ใจว่าไม่ลืม) และกินตอนท้องว่าง เช่น มื้อก่อนนอนก็ไม่มีปัญหา

ส่วนยาที่อาจจะระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ควรกินหลังอาหารดีกว่าก่อนอาหาร ถ้าจำเป็นต้องกินมื้อก่อนนอน ก่อนกินยาอาจกินของว่างหรือดื่มนม แล้วค่อยกินยา เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร





เมื่อลืมกินยาตามที่หมอสั่ง ควรทำอย่างไร ?



ก่อนอื่นต้องดูว่ายาที่กินนั้นอยู่ในกลุ่มไหน เป็นกลุ่มที่ใช้บรรเทาอาการหรือกลุ่มที่ใช้รักษาจำเพาะ ถ้าเป็นกลุ่มบรรเทาอาการเช่น แก้ไข แก้ปวด แก้ไอ แก้ปวดเท้า แก้แพ้ แก้คัน เป็นต้น ก็ไม่จำเป็นต้องกินให้หมดหรือครบทุกมื้อ ก็ได้ให้กินตามอาการถ้าอาการหายก็หยุดได้ ถ้ามีอาการกำเริบใหม่ก็ได้กินใหม่ ส่วนการเว้นช่วงห่างระหว่างมื้อยาที่กินก็ขึ้นกับระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ มักจะเว้นประมาณ 4 ถึง 6 ชั่วโมง บางอย่างอาจให้กินวันละครั้ง (เช่น ยาแก้แพ้บางชนิด) ยากลุ่มนี้ถ้าลืมกิน หากไม่มีอาการก็เว้นไปได้เลย



แต่ถ้าเป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาจำเพาะ เช่นยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ยาเบาหวาน ยาลดความดันเลือด ควรกินให้ครบทุกมื้อทุกครั้งไม่ควรเว้น ถ้าลืมกินถ้านึกได้ทันที (เช่นลืมกินก่อนอาหาร มานึกได้หลังทานข้าวห่างกันไม่ถึงครึ่งชั่วโมง) ก็ให้กินยานั้นได้ทันทีไม่ควรเว้น แต่ถ้าลืมจนใกล้มื้อถัดไปที่ต้องกินยาก็ให้กินยามื้อถัดไปตามปกติ ไม่ควรเพิ่มเป็น 2 เท่า อาจทำให้ยาออกฤทธิ์มากเกินไปก็ได้

ดังนั้น ทุกครั้งที่กินยาต้องเรียนรู้ว่ายากลุ่มบรรเทาอาการ (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของยาที่หมอให้มา) หรือเป็นยากลุ่มที่ใช้รักษาจำเพาะ ถ้าเป็นกลุ่มหลังก็ต้องหาวิธีเตือนตัวเองอย่างให้ลืมเป็นดีที่สุด



ขอบคุณ
//dek-d.com/content/all/11492/




 

Create Date : 17 มกราคม 2553   
Last Update : 19 มกราคม 2553 21:58:55 น.   
Counter : 104688 Pageviews.  

กลับเข้าบ้านให้ปลอดภัย หลังน้ำลด




แนะวิธีอยู่หลังน้ำท่วมลด ให้เปิดประตูหน้าต่างระบายอากาศ 30 นาที ตรวจสอบระบบไฟในบ้าน พยายามทำความสะอาดให้ทั่วป้องกันเชื้อรา...

ช่วงนี้ฝนมาพายุเข้าเล่นเอาหลายหมู่บ้านตำบลโดนน้ำท่วมกันอ่วมอรทัย ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นกันชั่วคราว มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติของฝนฟ้าอากาศ น้ำท่วมได้ก็ลดได้ แต่อาจจะหลายวันหน่อย

คอยจนน้ำลดลงเมื่อไร นั่นก็คงเป็นเวลาให้เราได้ขนย้ายกลับสู่นิวาสสถานรังนอนเดิม วันเสาร์นี้จึงขอนำเอาข้อมูลเกี่ยวกับการกลับเข้าบ้านหลังน้ำลด จาก ศูนย์ควบคุมและป้อง กันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) มาฝากกัน

แรกสุดเลยให้ดูก่อนว่าก่อนจะเข้าบ้านต้องดูว่าน้ำยังท่วมขังอยู่หรือไม่และจะต้องตัดไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อความปลอดภัย หากจำเป็นต้องกลับเข้าบ้านทั้งที่ยังมีน้ำอยู่ในบ้าน ควรเรียกช่างไฟมาจัดการเรื่องไฟฟ้าให้เรียบร้อย ควรเรียกช่างไฟมา ตรวจเช็กระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อยก่อนเข้าอยู่

หากทิ้งบ้านปิดบ้านไปเป็นเวลาหลายวัน ควรเปิดประตูและหน้าต่างให้มีการระบายอากาศสักครู่หนึ่ง (อย่างน้อย 30 นาที) ก่อนเข้าไปอาศัยอยู่

ถ้าเราต้องทิ้งบ้านที่น้ำท่วมขังภายในบ้านไปหลายวันให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า อาจจะมีเชื้อราขึ้นบ้าน ต้องทำความสะอาดขัดถูให้เกลี้ยง หากจะใช้เครื่องปั๊มน้ำที่ใช้ น้ำมันภายในบ้าน ต้องระวังเรื่องควันเสียที่จะออกมาด้วย

สุดท้ายก่อนเข้าไปนอนเล่นให้เย็นใจ ควรใช้ พัดลมเป่าบ้านให้แห้ง โดยใช้พัดลมเป่าดูดอากาศออกไปนอกหน้าต่าง นอกประตู เพื่อที่เชื้อราจะได้ไม่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน.

Credit
//www.thairath.co.th/content/tech/36886





 

Create Date : 05 ตุลาคม 2552   
Last Update : 7 ตุลาคม 2552 21:27:48 น.   
Counter : 824 Pageviews.  


HotBlog
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add HotBlog's blog to your web]