แหล่งรวบรววมวิธีเล่นหุ้น
 
เปิดโมเดลธุรกิจ.."ไทคอน อินดัสเทรียล"

เปิดโมเดลธุรกิจ.."ไทคอน อินดัสเทรียล"

วิธีคิดในการทำธุรกิจของ "ไทคอน อินดัสเทรียล" กำลังปรับเปลี่ยน จากการสร้างโรงงานให้เช่าเพียงอย่างเดียว ไปสู่ 3 ขาหยั่งทางธุรกิจ คือ สร้างให้เช่า, สร้างขาย-เข้ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และรับค่าจ้างบริหารจัดการกองทุน นี่คือ โมเดลธุรกิจที่ทำให้ "ไทคอน" ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว


ทิศทางการดำเนินธุรกิจของ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น (TICON) ผู้ดำเนินธุรกิจก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปเพื่อให้เช่า และเพื่อขาย เริ่มเปลี่ยนโมเดลธุรกิจไป...เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัทในอนาคต

หลังจาก กลุ่ม H&Q Asia Pacific ผู้ก่อตั้งบริษัท ร่วมกับ กลุ่มซิตี้เรียลตี้ (ภายใต้การบริหารงานโดย ชาลี โสภณพณิช) ตัดสินใจขายหุ้น TICON ทั้งหมดให้แก่ บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ROJANA) ตั้งแต่ปี 2546

ล่าสุดได้ดึง "วีรพันธ์ พูลเกษ" เข้ามาเป็น กรรมการผู้จัดการคนใหม่ แทน "ไว เชง ควน" ที่เลื่อนขึ้นไปเป็นกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท ซึ่งในอดีต วีรพันธ์ พูลเกษ เป็นอดีตผู้บริหารมือดีด้านธุรกิจเวนเจอร์ แคปปิตอล ของกลุ่ม H&Q Asia Pacific และที่ผ่านมาเขาก็ร่วมเป็นกรรมการใน TICON มาโดยตลอด

แต่เดิมโครงสร้างธุรกิจของ ไทคอน อินดัสเทรียล จะมีรายได้หลักมาจากการสร้างโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าเพียงอย่างเดียว นับแต่ปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทมีรายได้จากการขายโรงงานให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน (TFUND) เพิ่มขึ้นมา

"ในปี 2548 เราได้ขายโรงงานให้แก่กองทุนไป 39 โรงงาน และเป็นผู้ถือหุ้นในกองทุน 33% ซึ่งทำให้บริษัทได้รับเงินก้อนโดยไม่ต้องเพิ่มทุน และยังได้รับเงินปันผล และค่าจ้างบริหาร แม้มาร์จินจากการขายจะลดลงเหลือ 40-45% การที่เราไม่ต้องเพิ่มทุน ซึ่งทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์จากกำไรต่อหุ้นที่สูงขึ้น"

วีรพันธ์ เปิดเผยว่า แต่ในปี 2549 เป็นต้นไป ไทคอน จะมีรายได้แยกออกเป็น 3 ส่วน โดยจะมาจากการให้เช่าโรงงาน และคลังสินค้า, รายได้จากการขายโรงงาน และ รายได้จากค่าจ้างบริหารจัดการโรงงานให้แก่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (Management Fee)

โดยบริษัทประมาณการว่า ในปีนี้จะมีรายได้จากการสร้างโรงงานให้เช่าใหม่อีก 70 โรงงาน และจะมีรายได้การขายโรงงานให้แก่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ไทคอน ในส่วนเพิ่มทุนใหม่ในช่วงไตรมาส 1/2549 อีก 40 โรงงาน คิดเป็นมูลค่า 2,000 ล้านบาท

"เราคาดว่าในปีนี้ จะมียอดขายมาจากการขายราว 2,100 ล้านบาท ค่าเช่า 700 ล้านบาท หรือจะมีอัตราการเติบโตของกำไร 30% คิดเป็นการเติบโตปีละ 1 แสนตารางเมตร เทียบกับทั้งปี 2548 ประมาณการว่าจะมีรายได้จากค่าเช่า 600 ล้านบาท จากการขาย 1,730 ล้านบาท"

ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2548 ไทคอน มีโรงงานทั้งหมด 228 โรงงาน แยกเป็นโรงงานให้เช่าแล้วจำนวน 133 โรงงาน ,โรงงานที่เซ็นสัญญาแล้ว แต่ยังสร้างไม่เสร็จ 23 โรงงาน, โรงงานสร้างเสร็จแต่ยังไม่มีคนเช่า 18 โรงงาน และ อยู่ระหว่างซื้อที่ดินเตรียมการก่อสร้าง 54 โรงงาน

ไม่เพียงเท่านั้น ไทคอน ยังมีแผนการลงทุนใหม่ทำศูนย์กลางการขนส่ง คลังสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม โดยจัดตั้งบริษัทใหม่ บริษัท ไทคอน โลจิสติกส์ พาร์ท ทุนจดทะเบียน 1 พันล้านบาท ได้ซื้อที่ดินแห่งใหม่จากบสท.จำนวน 405 ไร่ บนถนนบาง-ตราด กม.39 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในช่วงต้นปี 2549 มูลค่าเงินลงทุน 2,700 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาการก่อสร้างราว 3 ปี

"การที่เราทำแวร์เฮ้าส์ เพราะมองว่าเป็นการรองรับลูกค้าอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทที่มีสัดส่วนอยู่ถึง 50% รวมถึงลูกค้ากลุ่มยานยนต์ 18.35% ซึ่งเติบโตมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่นถึง 50% รองลงมาเป็นยุโรปและสิงคโปร์ คาดว่าจะเข้ามาใช้บริการ ขณะที่รัฐบาลให้การสนับสนุนธุรกิจนี้อย่างมาก"

วีระพันธ์ กล่าวถึงแผนธุรกิจของบริษัทว่า นอกจากสร้างโรงงานขาย และให้เช่าแล้ว บริษัทยังมีแผนจะขายโรงงานบางส่วนให้แก่กองทุนเพิ่มขึ้นด้วย

ทั้งนี้คาดว่าการก่อสร้างโรงงานเฟสแรกพื้นที่ราว 4-5 หมื่นตารางเมตร จากทั้งหมด 3 เฟส จะแล้วเสร็จประมาณไตรมาส 3/2549 ซึ่งจะทำให้รายได้เข้าสู่บริษัทตั้งแต่ไตรมาส 4/2549 เป็นต้นไป และคาดว่ารายได้จะเริ่มเข้ามากขึ้นในช่วงปี 2550

สำหรับการใช้เงินลงทุนในโครงการใหม่นี้ วีรพันธ์ กล่าวว่า จะมาจากเงินกู้ธนาคารเกือบทั้งหมด 2,700 ล้านบาท แต่หนี้จริงๆ จะลดลงเหลือเพียง 1,600 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะได้รับเงินจากการขายโรงงานแห่งใหม่ให้แก่กองทุนช่วงเดือนมีนาคม 2549 เข้ามา

"อนาคตเราอยากให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน เติบโตมากๆ ปัจจุบันมูลค่ากองทุนได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 4 พันล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะเติบโตถึง 10,000 ล้านบาท เนื่องจากเรามองว่า ยังมีสินทรัพย์อื่นๆ ให้กองทุนเข้าไปซื้อ เช่น โรงงานของบริษัทอื่นที่ต้องการขยายกิจการ แต่ไม่มีเงินลงทุนเพิ่ม เราก็สามารถเข้าไปซื้อ เขาเองก็จะได้รับเงินเพื่อไปสร้างโรงงานใหม่ "

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการดำเนินธุรกิจของไทคอน จะไม่ฉีกไปทำธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก แต่ยังคงเน้นทำธุรกิจในแนวทางเดิมที่ถนัด...

วีรพันธ์ กล่าวว่า แม้นักวิเคราะห์จะประเมินรายได้ของไทคอนได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าระยะยาวบริษัทจะขายโรงงานให้กองทุนได้หรือไม่ และหากขายครั้งเดียวกำไรจะตก แต่ถ้าเราขายทุกปี จะทำให้กำไรของบริษัทเติบโตต่อเนื่อง เรามั่นใจว่า ไทคอนจะสามารถขายโรงงานให้แก่กองทุนได้ทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 พันล้านบาท และปลายปีนี้ เรายังมีสินทรัพย์อื่นและคลังสินค้าเพิ่มขึ้นอีก ก็จะทำให้เรามีการเติบโตที่ดีต่อเนื่อง

ปัจจุบันพบว่า "กลุ่มซิตี้เรียลตี้" นำโดย "ชาลี โสภณพนิช" ในฐานะประธานกรรมการไทคอน ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นอยู่ 7.22% (สิ้นเดือนสิงหาคม 2548) ได้ตัดสินใจเข้าถือหุ้นเพิ่มหลังมองเห็นโอกาสการเติบโตของบริษัท

ล่าสุดได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นขึ้นมาเป็น 10% แต่ยังรองจากกลุ่มสวนอุตสาหกรรมโรจนะ ที่ถือหุ้นใหญ่ราว 20% และ นายไว เชิง ควน 13.64%

รวมถึง กองทุน "The Overlook Parners Fund L.P." จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาถือหุ้น TICON โดยการซื้อ "บิ๊กล็อต" จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เมื่อราวเดือนตุลาคม 2548 จำนวน 34 ล้านหุ้นหรือคิดเป็น 7.39% อีกด้วย

"Overlook เป็นกองทุนต่างประเทศจากสหรัฐ ที่มองเป็นการลงทุนใน TICON ระยะยาว จะเห็นได้จากที่ผ่านมากองทุนนี้ได้ถือหุ้น THRE มาเป็นเวลา 10 ปี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กลุ่มโรจนะตัดสินใจขายหุ้นให้ เพราะเห็นว่าเขาต้องการลงทุนจริงๆ ไม่ใช่เข้ามาเพื่อเก็งกำไร ปัจจุบันทำให้กองทุน Overlook ถือหุ้นในบริษัทแล้วเกือบ 8% เช่นเดียวกับกลุ่มซิตี้เรียลตี้ ผู้ก่อตั้งและถือหุ้นเดิม ได้เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มเช่นกัน" วีรพันธ์ กล่าว

ตลอดจนผู้บริหารของบริษัท...พบว่า "วีรพันธ์ พูลเกษ" เองก็ได้ซื้อและขายหุ้นด้วยเช่นกัน ตั้งแต่ต้น-ปลายปี 2548 (5 ม.ค.-14 ธ.ค.2548) ครอบครัวพูลเกษ ได้เก็บหุ้น TICON อย่างต่อเนื่อง จำนวน 2.93 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 8.30 บาท มูลค่าเงินลงทุน 24.30 ล้านบาท และได้ขายออก 3.06 ล้านหุ้น ราคาขายเฉลี่ย 9.39 บาท รวมเงินที่ได้รับ 28.71 ล้านบาท



Create Date : 20 เมษายน 2549
Last Update : 20 เมษายน 2549 19:03:55 น. 1 comments
Counter : 913 Pageviews.  
 
 
 
 
รับเหมาถมที่(เหมา)ขนส่ง ด้วยรถบรรทุกและจำหน่ายวัสดุทุกชนิด(ทั่วประเทศ)และงานวิศวกรรมโยธา เรามีบ่อแหล่งวัสดุเองทุกชนิดในกรุงเทพและหลายจังหวัด รับออกแบบอาคาร บ้าน สำนักงาน สำรวจเพื่อปรับและพัฒนาที่ดินเพื่องานก่อสร้าง เรามีรถบรรทุก 10 ล้อและ 18 ล้อ เครื่องจักรหนักทางด้านงานโยธา เรามีทีมงานเฉพาะทางไว้บริการท่าน ด้วยความสำนึกรับผิดชอบต่อการให้บริการ ประสบการณ์และความสามารถเป็นที่ยอมรับ ตรงต่อเวลาแผนงานชัดเจน ตรวจสอบและแสดงความคืบหน้าโครงการโดยเป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ว่าจ้างทุกประการ ด้วยปณิธานที่ว่า “เราจะทุ่มเท ความรู้ ความสามารถ ทั้งหมดที่เรามีเพื่อลูกค้าของเรา” ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ e-mail : ksc_connection@hotmail.com หรือคลิ๊กข้อมูลเพิ่มเติมที่ //www.cashstation2you.com/index.php?mo=12&catid=143294 หรือคลิ๊กที่
//member.thaicontractors.com/ksc_connection/
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค เอส ซี คอนเน็คชั่น
โทร.02-944-9181 แฟ็กซ์ 02-944-9181 มือถือ 080-076-7033 คุณยักษ์

ผู้รับเหมา,รับถมดิน, ถมที่, ถมดิน, ถมที่ดิน, รับถมที่, รับเหมาถมดิน, รับเหมาถมที่,รับถมที่,รับถมดิน,รับถมลูกรัง,ผู้รับเหมาถมที่,บ่อลูกรัง,ดิน,ลูกรัง,ลูกรังสเป็ค,ทราย,หินคลุก,งาน,ถนน,คสล,วิศวกรรมโยธา,ออกแบบ,เขียนแบบ,รถพ่วง 18 ล้อ,รถบรรทุก10ล้อ,เครื่องจักรหนัก,นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด,นิคมอุตสาหกรรมนวคร,นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย,นิคมอุตสาหกรรมอมตะ,ชลบุรี,สวนพลู,ฮวนชวน,นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ,สุวรรณภูมิ,สำรวจ,รับถมที่,บ่อวัสดุถมที่,รถบรรทุก18ล้อ,รถสิบล้อ,เทเลอร์,ขนส่ง,ที่ดิน,ราคาถูก,ผู้รับเหมา,ธนกร,ศุภกร,ชีวิตรุ่งเรือง,The reclamation of, the reclamation soil, the filling gravel, contractor reclamation of, well gravel, clay, gravel, gravel Spec, sand, stone mix, work, street, c slots, civil engineering, design, drawings, car trailers 18-wheel trucks 10 wheels, heavy machinery, Industrial Nava ¤ Ã, Industrial Estate, Asia, Airport, exploration, the reclamation of, well material filling the trucks 18 wheels, truck, Tailor, transport, land. inexpensive, contractor ,tanakorn,supakorn,cheevitrungrueang,kumsub, thai,contractor,
เนื่องจากสภาวะโครงสร้างธุรกิจในปัจจุปัน มีการแปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และ เติบโตจนทำให้มีคู่แข่งทางการค้าเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องมีการแข่งขันในตลาดสูง และกลุ่มที่ได้เปรียบก็คือ กลุ่มบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ ในการขยายกำลังผลิต เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ดังนั้นโอกาสการขยายกำลังผลิต บริษัทจึงมีปัจจัยที่ต้องคิดมาก แต่นั่นหมายถึงความสำเร็จ ในตลาด ในกลุ่มสินค้านั้น
เราคือทางเลือก ที่ท่านต้องการ เพราะต้นทุนที่ต่ำจึงสามารถทำในสิ่งที่ บริษัท ในธุรกิจเดียวกันต้องถามว่า “เป็นไปไม่ได้ แต่เราทำได้" เพราะตระหนักดีว่าลูกค้าที่ต้องลงทุน ในการสร้างหรือขยายกำลังผลิต ต้องใช้เงินจำนวนมาก แต่เราสามารถทำให้เงินทุกบาททุกสตางค์ ของท่าน มีคุณค่าและความหมายทุกครั้งที่ท่านจ่ายออกไป
ดังนั้นหากท่านคิดจะสร้างทางถนน คสล.สำรวจออกแบบ ถมที่ดิน ซื้อลูกรัง ขนส่งสินค้า วัสดุ ด้วยรถบรรทุก 18 ล้อ บริการทั่วประเทศและระหว่างประเทศ ด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือครบครัน บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถ ของบริษัทท่านโปรดนึกถึงเราและ เราได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจในนามนิติบุคคลภายใต้ชื่อ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค เอส ซี คอนเน็คชั่น”อย่างภาคภูมิใจในผลงานที่ผ่านจากประสบการณ์มามากมาย ภายใต้ปณิธานที่ว่า “เราจะทุ่มเท ความรู้ ความสามารถ ทั้งหมดที่เรามีเพื่อลูกค้าของเรา”แล้วท่านจะรู้ว่าเงินของท่าน เราทำให้มีคุณค่าได้อย่างไร “ใช้เงินอย่างรู้คุณค่า เพื่อลูกค้าของเรา”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค เอส ซี คอนเน็คชั่น" จะได้รับโอกาสในการทำงาน กับบริษัทที่มีความสำเร็จสูง อย่างบริษัทท่านในเร็วๆนี้ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ


หุ้นส่วนผู้จัดการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค เอส ซี คอนเน็คชั่น
 
 

โดย: หจก.เค เอส ซี คอนเน็คชั่น IP: 27.130.90.79 วันที่: 17 กันยายน 2553 เวลา:17:19:36 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

hoon_vi
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




เป็นนักลงทุนมือใหม่ กำลังหาวิธีการเหมาะสำหรับตัวเอง ชอบการถ่ายรูป ท่องเที่ยว เขียนบทความ
[Add hoon_vi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com