แหล่งรวบรววมวิธีเล่นหุ้น
 
มูลค่าที่ยั่งยืน 3 : ประเมินมูลค่า Business Model

มูลค่าที่ยั่งยืน 3 : ประเมินมูลค่า Business Model

Value way : มนตรี นิพิฐวิทยา
คราวก่อนเราคุยกันเรื่องลักษณะเฉพาะของ Business Model ในแต่ละแบบ คราวนี้เราจะมาคุยกันเรื่องการประเมินมูลค่าของ Business Model หรือ เรียกได้ว่าการประเมินมูลค่าของกิจการ ทั้งนี้เพื่อเราจะได้ใช้เป็นตัวทดสอบว่าธุรกิจที่เราสนใจนั้นมี Business Model ที่สามารถทำเงินได้จริงหรือไม่


คงไม่มีใครปฏิเสธว่าทุกกิจการนั้นต้องการเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และแน่นอนว่าเงินสดที่มีนั้นจะต้องถูกลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่กิจการ Business Model ที่ใช้งานได้จึงจะต้องสร้างมูลค่าออกมาเป็นเงินสดให้มากพอและคุ้มค่ากับที่ได้ลงทุนไป

ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมั่นใจว่าโครงการที่ลงทุนไปต้องคุ้มค่า นักลงทุนอย่างเราก็ต้องมั่นใจได้ว่าโครงการที่ผู้บริหารลงทุนนั้นจะต้องสร้างผลตอบแทนได้คุ้มค่าไม่ว่าจะออกมาในรูปของเงินปันผล และมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น

เราทราบกันอยู่แล้วว่าการถือหุ้นนั้นคือการมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการ มีสิทธิในผลกำไรที่บริษัททำมาหาได้ตามส่วนที่เราถือหุ้นอยู่ ซึ่งก็หมายถึงเรามีส่วนในมูลค่าตลาด (Market Value) ของบริษัทนั้นๆ และมูลค่าตลาดนี้จะมีค่าเท่ากับ ราคาหุ้นในปัจจุบันคูณด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด

มูลค่าตลาดนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่กับราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงตามความคาดหมายของตลาดไปตลอดเวลา อีกส่วนหนึ่งก็คือจำนวนหุ้นที่กิจการอาจจะออกเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มทุน ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยๆ ว่าถ้าบริษัทไหนคาดหวังว่าจะเติบโตสูงมากๆ การเพิ่มทุนก็ไม่ได้ทำให้ราคาหุ้นตก แต่อาจเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ

แต่ถ้าบริษัทไหนคาดกันว่าเติบโตน้อยหรือไม่เติบโตแต่เพิ่มทุน ราคาหุ้นจะล่วงลงอย่างรุนแรงเพื่อชดเชยให้มูลค่าตลาดทรงตัวการที่เราจะประเมินมูลค่ากิจการโดยใช้มูลค่าตลาดนี้จะ เป็นเพียงแค่การตรวจสอบว่ามูลค่าหุ้นกับราคาหุ้น ณ เวลาปัจจุบันนั้นสูงเกินไปหรือต่ำเกินไปหรือไม่เท่านั้น

แต่อย่าลืมว่าตัวเลขที่เราได้มาจากงบการเงินนั้นยังไม่ได้สะท้อนมูลค่าสำคัญๆ อีกหลายอย่าง เช่น มูลค่าของตราสินค้า มูลค่าของบุคลากร มูลค่าของระบบ มูลค่าขององค์ความรู้ที่กิจการมี(Know How) มูลค่าของสิ่งเหล่านี้นักลงทุนจะต้องประเมินเอาเองจากการศึกษากิจการเชิงคุณภาพ เช่นการเดินดูสินค้า บริการ สอบถามจากลูกค้าและคู่แข่ง ฯลฯ

ที่นี้เรามาดูสูตรคำนวณกันสักหน่อยดีกว่า เอาเป็นสูตรสำเร็จที่ได้ใส่ข้อสมมติฐานลงไปแล้วและลดรูปมันลงให้หยิบไปใช้ได้เลย โดยตัวย่อต่อจากนี้จะหมายถึง

V = มูลค่าของกิจการ

Cf = กระแสเงินสดหลังจากปีที่ n

C0 = กระแสเงินสด ณ เวลาปัจจุบัน

rk = อัตราคิดลด (discount rate)

n = ปีที่

g = อัตราการเติบโต

สูตรแรกเรากำหนดให้กระแสเงินสดของกิจการคงที่ไปเป็นจำนวน n ปี เราจะได้

V = Cf / rk (1 + rk )n

สูตรที่สองเรากำหนดให้กระแสเงินสดคงที่ตลอดไป คือให้ n = 0

V = Cf / rk

สูตรที่สามถ้าเราทราบกระแสเงินสดในปัจจุบัน C0 และกระแสเงินสดนั้นเติบโตคงที่ g ตลอดไป เราจะได้

V = C0 / (rk - g)

เพื่อให้เห็นภาพกันชัดๆ เราควรจะมาดูตัวอย่างกันสักตัวอย่างหนึ่ง แต่ขอบอกว่าตัวอย่างนี้เป็นแค่กรณีศึกษาเท่านั้น มิได้หมายความว่าบริษัทที่นำมาเป็นตัวอย่างจะเป็นอย่างที่ได้ยกเป็นกรณีศึกษา

ผมเอาบริษัทอสังหาฯน้องใหม่ที่ประกาศว่าจะแซงหน้าพี่ใหญ่ในอีกห้าปีมาประเมินกัน ปัจจุบันมูลค่าตลาดของบริษัทน้องใหม่ประมาณ Value = 12,282.25 ล้านบาท กำหนดอัตราคิดลดหรือ discount rate, rk ที่ 10% และระยะเวลา 5 ปี จากนี้ ถ้าต้องการจะเป็นที่หนึ่งควรจะมีมูลค่าตลาดหรือ Market Value ประมาณ 56,402.03 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทน้องใหม่มีกระแสเงินสดอิสระประมาณ 1,039 ล้านบาท

มาดูกันว่าถ้าจะแซงพี่ใหญ่จะต้องสร้างกำไรที่เป็นเงินสดได้เท่าไร

Cf = 56,402.03 x 0.1x (1+0.1)5 = 9,083.60 ล้านบาท ในอีกห้าปีข้างหน้า

ปัจจุบันบริษัทน้องใหม่มีกระแสเงินสดอิสระประมาณ1,039 ล้านบาท ถ้าจะแซงได้จริงในห้าปีจะต้องโตประมาณ 8.20% ทบต้นตลอดไป

ที่นี้มาดูว่าปัจจุบันนั้นมูลค่าตลาดเท่าไร และควรมีกระแสเงินสดเท่าไรในมูลค่าตลาดปัจจุบัน

Cf = 12,282.25 / 0.1 = 1,228.23 ล้านบาท

เมื่อเทียบกับของจริง FCF 2006 ~ 1,039 ล้านบาท ก็ห่างกันพอสมควร ถ้าให้ประเมินกันว่ามูลค่าตอนนี้ควรเป็นเท่าไร ก็น่าจะเป็น 1039/0.1 = 10,390 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าที่คำนวณได้ต่ำกว่ามูลค่าตลาดปัจจุบันประมาณ 18%

แต่ถ้าคิดว่าโตได้ปีละประมาณ 8.20%/ปี

Value = 1,039/( 0.1 - 0.082 ) = 56,402 ล้านบาท

ถ้าบริษัทสามารถเติบโตได้ 8.20% ต่อปีไปเรื่อยๆ มูลค่าตลาดก็น่าจะพอๆ กับบริษัทพี่ใหญ่ในปัจจุบัน

แต่พอมาดูบริษัทอสังหาฯพี่ใหญ่ มีกระแสเงินสดอิสระประมาณ 1,500 ล้านบาท ถ้าจะดูที่กำไรที่ 3,247ล้านบาท ถ้าเอากระแสเงินสดอิสระมาเทียบกันสองบริษัทนี้ไม่ต่างกันมากนัก ดูจากการประเมินแล้ว บริษัทพี่ใหญ่ Over Value ไปมาก แต่อาจจะเป็นได้ว่าเราไม่ได้ประเมินมูลค่าของ Brand ที่แข็งแกร่ง และทรัพยากรอื่นเอาไว้ด้วย

ในขณะที่น้องเล็กก็ Over Value เช่นเดียวกันแต่ไม่มากโดยน่าจะมีเหตุผลเดียวกันว่าเราไม่ได้รวมทรัพยากรอื่นที่ประกอบกันเป็น Business Model มาคำนวณด้วย ดังนั้นเราจึงจะต้องประเมินต่อไปว่ามูลค่าที่ได้เทียบกับมูลค่าตลาดปัจจุบัน และส่วนที่เกินไปจากมูลค่าที่คำนวณได้นั้นเหมาะสมกับมูลค่าของทรัพยากรอื่นๆ ที่จะมาประกอบรวมเป็น Business Model หรือไม่

คราวหน้าผมจะมาชวนคุยเรื่องการประเมินทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งเป็นรากฐานของธุรกิจกันครับ



Create Date : 12 กรกฎาคม 2550
Last Update : 12 กรกฎาคม 2550 20:11:17 น. 0 comments
Counter : 954 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

hoon_vi
 
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




เป็นนักลงทุนมือใหม่ กำลังหาวิธีการเหมาะสำหรับตัวเอง ชอบการถ่ายรูป ท่องเที่ยว เขียนบทความ
[Add hoon_vi's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com