เชวาลิเอร์ เดอะ ฟอร์บัง

เชวาลิเอร์ เดอะ ฟอร์บัง เป็นนายเรือโทชาวฝรั่งเศสที่ เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ ฟอร์บังได้เดินทางเข้ามากับคณะทูตฝรั่งเศส เมื่อครั้งที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงแต่งตั้งคณะทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๘ ในคณะทูตครั้งนั้นมีเชวาลิเอร์ เดอะ โชมองต์เป็นราชทูต เมื่อคณะทูตจะกลับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ตรัสขอให้ฟอร์บังอยู่ต่อเพื่อรับราชการ โดยตอนหลังฟอร์บังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "ออกพระศักดิสงคราม"



ฟอร์บัง


รูปปั้นฟอร์ับังคะ เท่เชียว




จากบันทึกของฟอร์บัง ทำให้เราได้ทราบสภาพสังคมของอยุธยาในสมัยพระนารายณ์ การเข้าเฝ้า รวมถึงพระราชพิธีต่างๆเช่นพิธีไล่น้ำ พิธีพระราชทานศักดิ์ รวมทั้งขุนนางที่สำคัญโดยเฉพาะออกญาวิชเยนทร์ หรือคอนสแตนตินฟอลคอน ผู้ที่ฟอร์บังได้กล่าวว่าเป็นอริกับตน แม้ฟอร์บังจะเข้ามาอยุธยาเป็นระยะเวลาสั้น แต่จากบันทึกของเขาทำให้เราทราบอะไรหลายๆอย่างของอยุธยามากขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลาที่เขามาก็คือ กบฎมักกะสัน ที่สร้างความเสียหายให้แก่บางกอก และเป็นประวัติศาสตร์ที่เล่าสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน



ฟอร์บัง


จากบันทึกจดหมายเหตุฟอร์บัง ทำให้เราได้เห็นขนบธรรมเนียมพิธีการต่างๆ ในสมัยอยุธยาดังนี้


๑.๑ การต้องรับคณะทูตจากต่างแดน
ในบันทึกจดหมายเหตุฟอร์บัง ทำให้เราได้เห็นพิธีการ ต้อนรับคณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส อย่างยิ่งใหญ่ของอาณาจักรอยุธยา แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยา ให้ความสำคัญกับการต้อนรับคณะทูตอย่างยิ่ง สังเกตได้จากข้อความที่ฟอร์บังได้บันทึกไว้ ว่าการเตรียมรับรองให้ท่านทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินนั้น ต้องใช้เวลาถึง ๑๕ วัน ซึ่งขนบธรรมเนียมในการต้อนรับคณะทูตมีดังต่อไปนี้ คือ อยุธยาจะสร้างศาลาที่พักไว้ให้ ตามริมฝั่งแม่น้ำห่างๆ กันตลอดระยะทางที่เรือล่องไป ซึ่งตลอดทางก็จะมี
ขุนนางข้าราชการของกรุงศรีอยุธยาออกมาต้อนรับท่านราชทูต เมื่อไปถึงอยุธยาก็ได้จัดเตรียมศาลาที่พักขนาดใหญ่ไว้ให้เป็นที่พักสำหรับท่านราชทูต ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยจนถึงวันที่เข้าเฝ้าถวายพระราชสาสน์ในขณะที่รอคอยอยู่นั้น ก็จะมีขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลายต่างแวะมาเยี่ยมเยียนท่านราชทูต
จากบันทึกของฟอร์บังได้กล่าวถึงความเห็นที่แตกต่างกันของขนบธรรมเนียมในการเข้าเฝ้าในการที่จะเชิญพระราชสาสน์ขึ้นถวายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ท่านราชทูตมีความประสงค์ที่จะเชิญพระราชสาสน์เข้าไปถวายต่อพระหัตถ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแต่ไม่สามารถทำได้เพราะขัดกับขนบธรรมเนียมของอยุธยาที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุด เวลาเสด็จออกต้องประทับเหนือคนทั้งปวงที่อยู่หน้าที่นั่ง และเสด็จออกให้เฝ้าที่สีหบัญชร ในที่สุดจึงได้มีการตกลงกันว่าจะประดิษฐานพระราชสาสน์ไว้บนพานทอง ต้องมีคันทำด้วยทอง ยาวประมาณสองศอกเศษ ท่านราชทูตจะค้ำหรือทูนพานพระราชสาสน์ขึ้นไปถึงที่ประทับ ณ สีหบัญชร จากเหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นแนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์ในสมัยอยุธยาที่มีความศักดิสิทธิ์ มีความพิเศษมากกว่ามนุษย์ทั่วๆ ไป เปรียบสมติเทพที่อยู่เหนือและสูงกว่าประชากรทั้งปวง
เมื่อถึงกำหนดวันเข้าเฝ้าบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ได้ลงเรือกัญญามาที่ศาลาที่พักของท่านราชทูต มีเรือพระที่นั่งและเรือราชการแผ่นดินนำหน้ามา เมื่อขุนนางมาถึงก็ทำความเคารพท่านราชทูตแล้วก็กลับลงเรือกัญญา ในการเดินทางนำพระราชสาสน์ไปถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นไปด้วยความยิ่งใหญ่ มีเรือนำพระราชสาสน์นำหน้าเรือของท่านราชทูต มีการบรรเลงดนตรี เสียงปี่ เสียงกลองดังสนั่นหวั่นไหวตลอดทาง มีคนมาชมขบวนแห่เต็มสองข้างทาง
หลังจากที่ขบวนแห่จอดที่ท่าท่านทูตก็ขึ้นเสลี่ยงกำมะหยี่สีแดงพนักทองไปยังวัง ส่วนข้าราชการชาวฝรั่งเศสที่เหลือก็ขี่ม้าตามเสลี่ยงไป เมื่อถึงลานพระที่นั่งที่เสด็จออกขุนนางซึ่งเป็นรูปยาวสี่เหลี่ยม มีอัฒจันทร์ขึ้นไปเจ็ดหรือแปดขั้น ท่านราชทูตนั่งบนเก้าอี้ ส่วนขุนนางฝรั่งเศสแลขุนนางไทยนั่งลงบนพรมโดยขุนนางไทยจะนั่งเรียงตามตำแหน่งยศฐานันดรศักดิ์ หลังจากนั้นก็มีเสียงกลองใหญ่ดังขึ้นหนึ่งที บรรดาขุนนางไทยก็หมอบลง เสียงกลองยังดังขึ้นอีกหลายที จนกระทั่งครั้งที่หก พระนารายณ์ก็เสด็จออก ณ พระสีหบัญชร เมื่อครั้นถึงเวลาที่ท่านทูตถวายพระราชสาสน์ ท่านทูตไม่ได้ใช้คันทองที่จะทูนพานแต่ถวายพะราชสาสน์ต่อพระหัตถ์สมเด็จพระนารายณ์ หลังจากนั้นพระนารายณ์ก็ได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับท่านราชทูต ว่า พระเจ้าอยู่หัวของเราทรงพระราชสำราญดีอยู่หรือ พระราชวงศ์ทรงมีความสุขสบายดีอยู่หรือ และประเทศฝรั่งเศสมีความวัฒนาถาวรเพียงใด หลังจากนั้นก็มีเสียงกลองดังขึ้นหนึ่งครั้ง พระนารายณ์เสด็จเข้าข้างใน ขุนนางไทยลุกขึ้นนั่ง
นับว่าเสร็จสิ้นพิธีถวายสาสน์ ฟอร์บังยังได้กล่าวไว้อีกว่าการเข้าเฝ้ากษัตริย์ในแต่ละครั้งนั้นน่าเบื่อเพราะต้องมีพิธีรีตรองเยอะมาก
จากพิธีถวายสาสน์ทำให้เราได้เห็นค่านิยมความเชื่อของคนไทยที่มีต่อกษัตริย์ว่าเป็นผู้ที่อยู่เหนือคนทั้งปวงไม่มีใครอาจเทียบได้ เป็นเสมือนกับเทพเจ้า เห็นได้จากการที่พระนารายณ์ทรงนั่งอยู่บนที่ประทับที่อยู่สูงกว่าคนทั่วไป อีกกรณีคือการที่ข้าราชการขุนนางไทยกับขุนนางฝรั่งเศสต่างขัดแย้งกันในเรื่องที่จะถวายสาสน์ โดยราชทูตจากฝรั่งเศสต้องการที่จะถวายสาสน์ต่อพระหัตถ์พระนารายณ์แต่ขุนนางอยุธยากลับปฏิเสธเพราะเป็นเรื่องที่ผิดจารีตประเพณี อีกเหตุการณ์ที่สนับสนุนความคิดนี้ คือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์ประชวรอย่างหนัก แพทย์มีความเห็นให้เจาะเลือดเอาพระโลหิตออกแต่ไม่สามารถทำได้เพราะความเชื่อเรื่องกษัตริย์เป็นเสมือนสมมติเทพที่ใครมิอาจล่วงละเมิดได้


๑.๒ พิธีไล่เรือ
พิธีไล่เรือซึ่ง (ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เรียกว่าพิธีไล่น้ำ) เป็นพิธีที่มีความยิ่งใหญ่มากจัดขึ้นทุกปี เนื่องจากอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีน้ำท่วมทุกปี เมื่อเห็นว่าน้ำใกล้ลดแล้วพระนารายณ์ก็จะเสด็จมาทำพิธีไล่น้ำ โดยนั่งอยู่ตรงกลางเรืออันวิจิตรงดงาม มีขุนนางใหญ่น้อยตามเสด็จเป็นจำนวนมาก เมื่อ
เรือลอยไปถึง ณ ตำบลหนึ่งพระนารายณ์ก็จะชักพระแสงออกมาฟันน้ำแล้วดำรัสให้น้ำลดลง
นอกจากนี้จดหมายเหตุฟอร์บังยังทำให้เราได้รู้จักพิธีแข่งเรือ ที่แข่งกันในเดือนสิบเอ็ด ซึ่งฝีพายต่างประชันฝีมือกันอย่างสนุกสนาน ผู้ชนะได้รับพระราชทานรางวัลจากพระนารายณ์
พิธีไล่เรือเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เป็นพิธีที่รัฐทำให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำนาปลูกข้าว แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ ทรงให้ความสำคัญกับประชาชนภายในอาณาจักร ซึ่งส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม เห็นได้จาก การที่พระนารายณ์เสด็จพระราชดำเนินเป็นผู้ทำพิธีนี้ด้วยพระองค์เอง และพิธีนี้จะกระทำขึ้นทุกปี


๑.๓ พิธีพระราชทานศักดิ์
จากจดหมายเหตุฟอร์บังทำให้เราได้เห็นพิธีพระราชทานศักดิ์ เมื่อครั้งที่ฟอร์บังได้ยศตำแหน่งเป็นออกพระศักดิสงคราม โดยมีพิธีดังนี้ คือ ขุนนางมารับฟอร์บังไปเข้าเฝ้าในพระราชวัง เมื่อเดินไปห่างจาสีหบัญชรประมาณ สี่สิบวาจึงหมอบลงราบกับพื้นถวายความเคารพครั้งหนึ่ง ก่อนคลานศอกและเข่าไปห่างจากที่ประทับประมาณยี่สิบวา จะมีเจ้าพนักงานคู่หนึ่งคลานศอกและนำหน้าไป เมื่อไปถึงที่ที่กำหนดไว้ก็คุกเข่ามือพนมขึ้นเหนือศีรษะ แล้วก้มศีรษะลงราบกับพื้นถวายบังคมเป็นครั้งที่สอง พอใกล้พระสีหบัญชรก็ถวายบังคมเป็นครั้งที่สาม เสร็จแล้วพระนารายณ์พระราชทานหมาก โดยมีพระราชกระแสว่า “เรารับเจ้าไว้ในราชการของเรา” ซึ่งหมากมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหมาก คือ บำเหน็จความชอบสำคัญที่กษัตริย์พึงพระราชทานแก่พสกนิกร หลังจากรับพระราชทานศักดิ์แล้วก็ทำเช่นเดียวกับตอนแรก คือ ค่อยๆ คลานเข่าและศอกออกมา และถวายบังคมสามครั้ง ตาจ้องไปที่สีหบัญชร เมื่อถอยออกมาแล้วสมุหพระราชพิธีจะมอบหีบกับตลับและกล่องทาสีแดงให้ไว้สำหรับบรรจุหมาก หลังจากนั้นขุนนางที่ไปรับที่บ้านก็จะพนมมือที่หน้าอกแล้วก้มศีรษะลงอวยพรตามประเพณี แล้วพาไปส่งที่บ้าน
จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่มีอำนาจที่สุดในแผ่นดิน สามารถแต่งตั้งให้ใครดำรงตำแหน่งอะไรก็ได้ และสามารถถอดถอนบุคคลใดออกจากตำแหน่งก็ได้เช่นกัน


๒.สภาพสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของในสมัยอยุธยา


จดหมายเหตุฟอร์บังได้บรรยายภาพอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาไว้ว่าเป็นอาณาจักรที่น้ำท่วมถึง
หกเดือนในหนึ่งปี เนื่องจากพื้นดินต่ำมาก เมื่อถึงฤดูฝน ฝนก็ตกหนักมากทำให้น้ำท่วม การเดินทางในอาณาจักรนี้จึงใช้เรือเป็นหลัก ชาวบ้านขุนนางต่างเดินทางโดยใช้เรือ ซึ่งในจดหมายเหตุฟอร์บังได้กล่าวถึงเรือชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเรือกัญญา เป็นเรือที่ทำด้วยไม้ทั้งต้น ขุดลงไปให้กลวง มีขนาดแคบมาก ลำเรือยาวไม่มาก ลำที่กว้างที่สุดไม่เกินสองศอกครึ่งถึงสามศอก ลำเรือยาวมาก เรือกัญญาบางลำมีลวดลายสวยงาม โดยมากจะเป็นรูปสัตว์
นอกจากนี้ฟอร์บังยังได้บรรยายถึงสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในอาณาจักรอยุธยา โดยเล่าว่า
พระบรมหาราชวังมีความกว้างขวางมาก มีตึกที่ก่อด้วยอิฐด้วยซึ่งเป็นตึกที่สวยงามที่สุดในอาณาจักร ส่วนสภาพบ้านเรือนในสมัยนั้นส่วนใหญ่ปลูกด้วยไม้ มีแต่เรือนฝากระดาน แต่บ้านพวกแขกมอร์และจีนนั้นก่อสร้างโดยใช้อิฐซึ่งมีประมาณ ๒๐๐ หลังคาเรือน ส่วนกุฏิของสงฆ์นั้นทำด้วยไม้ไผ่เช่นเดียวกับบ้านเรือนทั่วๆไปในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
จากจดหมายเหตุของฟอร์บังยังทำให้เราทราบลักษณะการแต่งกายของพระนารายณ์เมื่อเวลาออกว่าราชการ พระองค์สวมพระมาลายอดแหลม มีสายรัดทำด้วยไหมทรงฉลองพระองค์เยียรบับสีเพลิงสลับทอง สอดพระแสงกริชไว้ที่รัดพัสตร์อันวิจิตรงดงาม ทรงธำมรงค์อันมีค่าทุกนิ้วพระหัตถ์ ฟอร์บังได้บรรยายให้เห็นถึงรูปร่างของพระนารายณ์ที่บอบบาง ไม่ทรงไว้พระทาฐิกะ (หนวด เครา) ที่เบื้องซ้าย อายุราวๆ ๕๐ พรรษา ที่เบื้องซ้ายมีพระหนุ(คาง)มีพระคินถิม เม็ดใหญ่ นอกจากนี้ฟอร์บังยังบรรยายถึงการแต่งกายของขุนนางไทยในสมัยก่อนเมื่อเข้าเฝ้าในพิธีสำคัญ เช่น ต้อนรับคณะทูต จะนุ่งผ้าพื้นคลุมตั้งแต่เอวลงไปครึ่งน่อง ใส่เสื้อมัสลินแขนสั้น


วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานเอกสารจดหมายเหตุฟอร์บัง


จดหมายเหตุฟอร์บังเป็นเอกสารชาวต่างชาติ ที่ทำให้เราได้ทราบประวัติของอยุธยามากขึ้นทั้งเรื่อง การเมืองการปกครองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ สภาพสังคม ตลอดจนวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ในสมัยนั้น
จากการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเอกสารจดหมายเหตุฟอร์บัง พบว่าจดหมายเหตุฟอร์บัง เป็นเอกสารที่มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งเนื่องจากเหตุผลดังนี้ คือ
๑. ความน่าเชื่อถือของเอกสารนี้เกิดจากตัวผู้เขียน คือ ฟอร์บัง ในช่วงคำนำ
ฟอร์บังได้ได้บรรยายให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของเขาที่เป็นคนจริง ไม่ชอบโกหก อีกทั้งยังได้กล่าวในคำนำว่า เขาจะเล่าเรื่องราวทั้งหมดด้วยความสัตย์จริง โดยเขาได้พยายามบรรยาย ให้ผู้อ่านได้รับทราบเรื่องจริงทั้งหมดอย่างไม่ปิดบัง โดยเล่าเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา เห็นได้จากเขาไม่ได้นำเสนอเรื่องราวเฉพาะด้านดีของเขาเท่านั้น แต่เขายังได้กล่าวถึงข้อเสีย ข้อบกพร่องของตนเองเอาไว้ให้ผู้อ่านได้รับทราบอีกด้วย เห็นได้จากเขาบรรยายนิสัยของเขาไว้ตอนหนึ่งว่าเป็นคนใจร้อน ว่องไว ไม่ยับยั้ง ซุกซน ทำความชั่วเล็กๆ น้อยๆ หลายครั้ง อีกทั้งเขายังได้เล่าถึงเรื่องราวที่เขาได้ทะเลาะวิวาท ทำเรื่องอื้อฉาวอยู่เรื่อยๆ นอกจากนี้เขายังเล่าว่าเขาได้ฆ่าทหารนายหนึ่งตาย
จากลักษณะนิสัยของฟอร์บัง จึงทำให้เอกสารจดหมายเหตุฟอร์บังมีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาบางส่วนฟอร์บังอาจได้นำเสนอในมุมมองที่เป็นอคติได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะความไม่ชอบเป็นการส่วนตัว ดังนั้นผู้ศึกษาต้องวิเคราะห์ แยกข้อเท็จจริงของเนื้อหาออกจากทัศนคติของผู้เขียน
๒. สาเหตุที่จดหมายเหตุฟอร์บังเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือ คือ ฟอร์บังซึ่งเป็นผู้เขียนเอกสาร ได้เดินทางมาอยู่ที่อยุธยาเป็นเวลานานทำให้เห็นสภาพแวดล้อมต่างๆ ของอยุธยาได้ชัดเจน ตลอดจนเข้าใจถึงวิถีชีวิตและความคิดของคนอยุธยา เห็นได้จากผู้เขียนมีความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนอยุธยา เช่น การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ก็ต้องมีพิธีรีตอง นอกจากนี้ผู้เขียนได้เห็นสภาพแวดล้อมของอาณาจักรอยุธยาภาพรวม ทั้งภายในพระราชวังและนอกราชวัง เพราะฟอร์บังได้รับราชการเป็นทหารอยู่ในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งตอนหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระศักดิสงคราม ซึ่งได้มีโอกาสเข้าเฝ้า และตามเสด็จพระนารายณ์หลายครั้ง ตลอดจนได้มีส่วนร่วมในพิธีและเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ อีกด้วย เช่น เหตุการณ์กบฏมักกะสัน ซึ่งฟอร์บังทำหน้าที่เป็นผู้ว่าราชการเมืองบางกอก ปราบปรามพวกกบฎมักกะสัน




จบแล้วคะเหนื่อยเลย ฮ่าๆๆๆ








Create Date : 21 ตุลาคม 2552
Last Update : 25 ตุลาคม 2552 21:18:33 น. 9 comments
Counter : 2552 Pageviews.

 
มันสั้นไปหน่อยอ่ะบิ้ว น่าจะละเอียดกว่านี้นะ
เเต่นี่พิมพ์เองหมดเลยป่ะ สุดยอดดดดด
นี่คือคนเดียวกับที่เเกเขียนตอนนั้นใช่มะ ที่ส่งอีคิวพลัสอ่ะ
ไว้เรียนประวัติศาสตร์ท่องเที่ยวเเล้วมาอีพอีกเยอะๆ ฮ่าาา


โดย: diy IP: 125.24.249.90 วันที่: 23 ตุลาคม 2552 เวลา:21:25:32 น.  

 
อ่านยากครับ เพราะฉากหลัง ช่วยกรุณแก้ไขด้วย สงสารคนแก่ด้วย


โดย: ่่่ห IP: 125.26.147.234 วันที่: 24 ตุลาคม 2552 เวลา:20:10:06 น.  

 
เพิ่ม รายละเอียดแล้วปรับตัวหนังสือ กับพื้นใหม่อีกรอบแล้วนะคะ ถ้าอ่านยากอีก จะปรับให้อีกรอบคะ


โดย: glamorousbuild วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:21:20:27 น.  

 
ดูเป็นบล็อกความรู้ที่..........ตัวหนังสือเยอะไปหมดเลย

TTvTT เหมาะกะการทำรายงานมากๆๆเลยจ้ะ ละเอียดดีๆ


โดย: nokori IP: 125.24.103.104 วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:22:26:15 น.  

 


โดย: ชะเอมหวาน วันที่: 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:10:14 น.  

 
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ



สุขสันต์วันเกิดค่ะ ขอให้มีความสุขมากๆ มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำสิ่งใดก็ขอให้ประสบความสำเร็จทุกประการค่ะ


โดย: แม่น้องแปงแปง วันที่: 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:32:33 น.  

 
น่าสนใจดีนะคะ ประวัติศาสตร์ของฝรั่งที่เข้ามาในช่วงนี้






โดย: puy_naka63 วันที่: 28 มีนาคม 2553 เวลา:14:56:04 น.  

 
ขอบคุณ ค๊าฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟฟ อิ๊บ เอาไปทำงานส่งเเล้วน๊าาาาาาาาา ^ ^


โดย: ning IP: 61.19.231.6 วันที่: 8 เมษายน 2554 เวลา:16:29:39 น.  

 
แปลภาษาได้อ่อนแอมากครับ ไม่ได้ใจความหรือเนื้อเรื่องเลย โดยรวมคือแย่ครับ


โดย: พันศักดิ์ ม่วงเผือ IP: 103.1.164.4 วันที่: 13 มกราคม 2555 เวลา:8:42:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

biyuchan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add biyuchan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.