ความสัมพันธ์ของจีนและเวียดนามในช่วงศตวรรษที่๑๕-๑๘

ก่อนที่จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามในช่วงศตวรรษที่๑๕-๑๘นั้น จะต้องกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเวียดนามคร่าวๆก่อน เวียดนามหรือที่จันเรียกว่าอันนัมนั้น มีบรรพบุรุษดั้งเดิมเยะใต้ที่มีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำแดง อยู่ใตเการปกครองจีนมาตลอดในตั้งแต่สมัยที่จักรพรรดิซือหวังตี้ ราชวงค์จิ๋นรวมประเทศจีนได้สำเร็จ และเมื่อยามใดที่จีนอ่อนแอ ก็จะตั้งตนเป็นอิสระ และอยู่ภายใต้การปกครองของจีนอีกครั้งในสมัยราชวงค์ฮั่นในสมัยของจักรพรรดิอู่ และในสมัยราชวงค์ถังจีนก็เรียกเวียดนามว่าอันนัม การปกครองของจีนในเวียดนาม ในสมัยราชวงค์ถังเป็นไปอย่างราบรื่นในลักษณะรัฐบรรณาการ ส่วนเวียดนามเองก็ยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของจีนเพราะเกรงกลัวจาม อาณาจักรที่อยู่ทางใต้เข่ารุกราน

อย่างไรก็ตามเวียดนามในส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็นเพียงเวียดนามเหนือเท่านั้น ไม่ใช่ในส่วนของเวียดนามทั้งหมด ต่อมาในสมัยราชวงค์หมิงจักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ขยายราชอาณาจักรของอันนัมไปไกลถึงเมืองดานัง และรุกรานเขตแดนของจามปา ต่อมาในสมัยราชวงค์ตรันห์ของเวียดนามก็สามารถสร้างความเข้มแข็งและเข้ายึดครองส่วนของเวียดนามใต้ที่เป็นของอาณาจักรจามปาได้ ทำให้ชาวจามต้องอพยพลงใต้ไปเรื่อยๆและล่มสลายลงในที่สุด
และต่อมาเมื่อถึงสมัยของราชวงค์เหงียนของเวียดนามปกครอง ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองเว้ (ขณะนั้นเกิดการแบ่งแยกอำนาจระหว่างตระกูลตรินห์ทางเหนือศูนย์กลางที่ฮานอยกับตระกูลเหงียนที่มีศูนย์กลางอยู่เมืองเว้) จีนในขณะนั้นตรงกับสมัยจักรพรรดิคังซี ราชวงค์ชิง มีคนจีนมากมายหลบหนีพวกแมนจูมาหลบในเวียดนามจักรพรรดิเหงียนทรงให้การต้อนรับชาวจีนเหล่านั้นให้มาตั้งรกราก โดยปราศจากความเกรงกลัวต่อจีน ฉะนั้นจึงเกิดการอพยพของชาวจีนขนานใหญ่มายังดินแดนทางใต้ของเวียดนามแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน๑
ต่อมาชาวเวียดนามได้ขยายลงไปใต้เรื่อยๆเกิดการผสมผสานระหว่างชนชาติเดิมในดินแดนใต้กับเวียดนาม และวัฒนธรรมจีนที่เคยได้รับอย่างเข้มข้นในภาคเหนือก็ค่อยๆมีอิทธิพลเบาบางลงในทางใต้
สรุปได้ว่าเวียดนามอยู่ภายใต้การปกครองของจีนมาอย่างยาวนานทำให้ได้รับอิทธิพลจากจีนมาอย่างเข้มข้น แต่ก็เป็นในส่วนของเวียดนามเหนือในปัจจุบันเท่านั้น อิทธิพลของวัฒนธรรมจีนเบาบางลงในเวียดนามใต้ แต่ก็ความเชื่อในหลักขงจื๊อ หลักการปกครองจากจีน ยังคงใช้กันอยู่ทั่วไปในเวียดนาม แต่ก็เป็นในส่วนชนชั้นปกครองเท่านั้น เพราะในส่วนของประชาชนทั่วไปยังมี อารยธรรมที่เป็นแบบเวียดนามเฉพาะอยู่




ส่วนด้านการค้านั้นหลังจากที่ราชวงค์เหงียนสามารถเข้าปกครองอาณาเขตเวียดนามทางใต้ได้แล้ว ได้เกิดเมืองท่าใหม่นามว่าฮอยอัน (หรือชาวยุโรปเรียกว่าไฟโฟ) ที่ซึ่งชาวญี่ปุ่นและจีนมาชุมนุมเพื่อค้าขายกันและกันกับชาวเวียดนาม เป็นหน้าต่างสู่โลกสำหรับอาณาจักรเหงียน ที่ชาวยุโรปรู้จักในชื่อโคชินไชน่า๒
ศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ ฮอยอันเป็นเมืองท่าสำคัญในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสำคัญพอๆกับเมืองท่ามะละกา และมาเก้า..จีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ชวา อินเดีย (ส่วนใหญ่ จะเป็น จีน กับ ญี่ปุ่น) เข้ามาค้าขายกับเวียดนามโดยทางเรือ แล้วล่องผ่านเข้ามาในแม่น้ำทูโบน ฮอยอันในสมัยนั้นจึงเป็นเมืองท่าและเป็นชุมชนของต่างชาติที่มาค้าขาย ถึงสมัยศตวรรษ ที่ ๑๙ ปากแม่น้ำทูโบนตื้นเขิน ประกอบกับเรือบรรทุกสินค้ามีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ไม่สะดวกในการเดินเรือ จึงย้ายท่าเรือไปอยู่ที่เมืองดานัง ซึ่งห่างออกไปประมาณ ๓๐กม.




Create Date : 18 ธันวาคม 2553
Last Update : 18 ธันวาคม 2553 17:12:48 น. 0 comments
Counter : 417 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

biyuchan
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add biyuchan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.