Bangkok Home Review, Interior, Design, Decoration, & Etc.

ผุดถนนเชื่อม"ราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก" คาดเวนคืนเสร็จพ.ย.


เปิดแนวสร้างถนนเชื่อมราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษกหมื่นล้านของกรมทางหลวงชนบท แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง เผยเวนคืนที่ดินไปแล้ว 60% คาดเวนคืนเสร็จพ.ย.นี้ เริ่มลงมือก่อสร้างต้นปี′53 แถมในอนาคตจะขยายเป็น 10 ช่องจราจร



map BTS 





ด้วยงบประมาณที่ใช้ก่อสร้างและเวนคืนที่ดินค่อนข้างสูงเกือบ 1 หมื่นล้านบาท  ทำให้โครงการก่อสร้างถนนต่อเชื่อมถนนราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ต้องถูกเว้นวรรคไประยะหนึ่ง



แม้ว่ากรมทางหลวงชนบทได้ออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว แต่ความคืบหน้ายังมีไม่มาก เพราะเม็ดเงินยังไม่มี แต่ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (2553-2555) ที่เพิ่งผ่านการกลั่นกรอง  จากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม โครงการนี้ได้รับการบรรจุเข้าไปอยู่ในแผนด้วย



สำหรับโครงการนี้จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแนวตะวันออก-ตะวันตก จุดเริ่มต้นโครงการ อยู่บนทางหลวงหมายเลข 3215 (ถนนบางกรวย-ไทรน้อย) ห่างจากทางแยกจุดตัดถนนกาญจนาภิเษกไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 750 เมตร      โดยแนวเส้นทางจะซ้อนทับทางหลวงหมายเลข 3215 ไปทางด้านทิศตะวันออก เป็นระยะทางประมาณ 1.5 ก.ม. มีงานก่อสร้างสะพานข้ามถนนกาญจนาภิเษก ขนาด 3 ช่องจราจร (1 ช่องจราจรต่อทิศทางกับช่องจราจรสลับทิศทาง 1 ช่องจราจร) ซึ่งเป็นพื้นที่เขตชุมชนเทศบาลบางบัวทอง



จากนั้นแนวเส้นทางจึงเบนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่  ชุมชนซอยฟาร์อีส 1 (เทศบาล 10) และซอยฟาร์อีส 2 (เทศบาล 12) ก่อสร้างสะพานข้ามคลองลำโพธิ์ผ่านพื้นที่เกษตรกรรมและที่โล่ง ตัดผ่านทางหลวงชนบทสายทาง นบ. 4012 ที่ ก.ม.2+910 แล้วผ่านพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านภัทราวรรณ์ เป็นระยะทางประมาณ 170 เมตร และก่อสร้างสะพานข้ามคลองขุดชลประทาน



จากนั้นตัดผ่านพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนเบาบาง และเบนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านคลองขุนมหาดไทย แล้วตรงเข้าบรรจบกับทางประธานของถนนชัยพฤกษ์ โดยจะมีการก่อสร้างทางแยกต่างระดับสาลิโข ณ บริเวณ จุดต่อเชื่อมแนวเส้นทาง รวมระยะทาง   เชื่อมต่อระหว่างถนนกาญจนาภิเษกถึงถนนราชพฤกษ์ ประมาณ 4.6 กิโลเมตร มีขนาด 6 ช่องจราจรและจะมีทางต่างระดับ 1 แห่งที่สาลิโข ที่จุดสิ้นสุดโครงการได้ปรับปรุงทางแยกต่างระดับ ของจุดตัด ระหว่างถนนชัยพฤกษ์(แนวตะวันออก-ตะวันตก) กับถนนราชพฤกษ์ (แนวเหนือ-ใต้)



ส่วนนี้ใช้ค่าก่อสร้างทั้งหมด 3,362   ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 2,324 ล้านบาท  และค่าเวนคืนที่ดิน วงเงิน 945 ล้านบาท ซึ่งการเวนคืนที่ดินเป็นที่ดิน 210 แปลง   คิดเป็นเนื้อที่ 156 ไร่ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 134 หลังคาเรือน ต้นไม้ยืนต้นและพืชผล 91 รายการ ปัจจุบันเวนคืนไปแล้ว 60% มีการจ่ายเงินค่าเวนคืนไป 545 ล้านบาท เหลืออีก 40%         จะเสร็จเดือนพฤศจิกายนนี้ เพราะกรมทางหลวงชนบทได้รับงบประมาณปี 2553 อุดหนุนค่าเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลืออีก 300 ล้านบาท



"ส่วนตะวันออก-ตะวันตกนี้มี ความพร้อมมากที่สุด เวนคืนเสร็จพฤศจิกายน ก็เริ่มก่อสร้างได้เลยในปี 2553 ถ้าหากรัฐบาลมีเงินพร้อม ซึ่งยังไม่รู้ว่า      ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่บรรจุโครงการนี้เข้าไปด้วย จะใช้เงินงบประมาณหรือเงินกู้ ถ้าหากเป็นเงินงบประมาณ        จะก่อสร้างได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นเงินกู้       อาจจะล่าช้าไปนิด แต่ถ้าเป็นเงินกู้  ในประเทศจะเร็วขึ้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล" แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงชนบทกล่าวกับ"ประชาชาติธุรกิจ"



"เราเตรียมพร้อมไว้หมดแล้ว ปี 2553 พร้อมประมูลและก่อสร้างได้เลย ซึ่งการเปิดประมูลจะแบ่งเป็น 2 สัญญา สัญญาละ 1,000 กว่าล้านบาท"



สำหรับช่วงแนวเหนือ-ใต้ อาจจะต้อง รอไปอีก 1-2 ปี เพราะยังไม่ได้มีการ      เวนคืนที่ดินและกรมไม่ได้รับงบประมาณ      ปี 2553 ที่กรมของจัดสรร 500 ล้านบาท เพื่อนำมาเวนคืนที่ดินโครงการนี้ ซึ่งอาจจะต้องรอไปอีกสักระยะหนึ่ง แต่โครงการนี้   ถูกบรรจุไว้ในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจเหมือนกัน แต่อยู่ในประเภทที่ 3 เริ่มดำเนินการ        ปี 2554-2555



สำหรับแนวเส้นทางของช่วงนี้           มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 345 บริเวณทางแยกต่างระดับของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณห้าแยกปากเกร็ดและถนนต่อเชื่อม ไปบรรจบทางหลวงหมายเลข 346     บริเวณทางเลี่ยงเมืองปทุมธานี มีระยะทาง 11 กิโลเมตร และมีถนนบรรจบเข้ากับ   ถนนกาญจนาภิเษกบริเวณกิโลเมตรที่ 55 มีระยะทาง 4.2 กิโลเมตร เป็นถนน      ขนาด 6 ช่องจราจร



ในอนาคตจะขยายเป็น 10 ช่องจราจร มีการก่อสร้างทางแยกต่างระดับที่จุดตัดต่างๆ รวม 3 แห่ง และมีการปรับรูปแบบทางแยกต่างระดับของโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ       เจ้าพระยาบริเวณห้าแยกปากเกร็ดและ ถนนต่อเชื่อมที่ทางหลวงหมายเลข 345  อีก 1 แห่ง ใช้งบฯก่อสร้างจะสูงกว่า    ส่วนแรก ค่าเวนคืนที่ดิน 2,000 กว่า ล้านบาท มีที่ดินถูกเวนคืน 551 แปลง อาคาร 101 อาคาร ส่วนแนวเหนือ-ใต้ ที่ดินที่ถูกเวนคืน 630 แปลง อาคาร 93 อาคาร ส่วนการก่อสร้างประมาณ     4,000-5,000 ล้านบาท



 






 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 18 พฤษภาคม 2552 22:42:24 น.
Counter : 968 Pageviews.  

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1

คลังเตรียมชงเงินกู้หมื่นล้านบาทให้สภาอนุมัติก่อนเดินหน้าเจรจาเงื่อนไขการกู้จาก "ไจก้า-ธนาคารโลก-เอดีบี" ผุดสร้างถนน 4 เลน 433 ก.ม. วงเงิน 5.6 พันล้านบาท สะพานนนทบุรี 1 วงเงิน 2.6 พันล้านบาท ขยายน้ำประปาอีก 2 พันล้านบาท 





นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกรอบการเจรจาเงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปตามแผนการก่อหนี้ต่างประเทศประจำปี 2552 วงเงิน 10,277.20 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการกู้ผสมผสานกันระหว่างเงินกู้จากธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เร็วๆ นี้ จะนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาอนุมัติ  คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเจรจาเงื่อนไขการให้กู้กับแหล่งเงินกู้ต่อไป ระยะเวลากู้เฉลี่ย 15-20 ปี



ทั้งนี้ โครงการที่จะขอกู้มี 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 ของกรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 8 สายทาง (ดูตาราง) ระยะทาง 433 กิโลเมตร วงเงิน 5,620  ล้านบาท จะขอกู้จากธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคต่างๆ รองรับการค้า บริการ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต ทั้งเวียดนาม ลาว ไทย พม่า จีน



2.โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงิน 2,657.20 ล้านบาท ขอกู้จากไจก้า ซึ่งกรมทางหลวงชนบทได้เวนคืนที่ดินและมีความพร้อมที่จะก่อสร้างทันที เป็นการช่วยในการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมโยงพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯและนนทบุรี ทำให้โครงข่ายการจราจรทั้ง 2 จังหวัดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น



3.โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 8 ของการประปานครหลวง (กปน.) วงเงิน 2,000 ล้านบาท จะกู้จากไจก้า โครงการนี้จะเป็นการขยายกำลังการผลิตน้ำประปาให้พอกับปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้นไปจนถึงปี 2560 ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถรองรับน้ำจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ได้เพียงพอ อีกทั้ง กปน.ยังต้องการก่อสร้างระบบท่อประปาให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น โดยขยายพื้นที่บริการน้ำออกไปอีก 200 ตารางกิโลเมตร



4.โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร กรอบวงเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้กำลังรอผลอนุมัติจากไจก้า ที่ขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการกู้จากกู้แบบมีเงื่อนไขเป็นแบบกู้ทั่วไป ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอยู่ในแผนการกู้เงินปีนี้ด้วย หากไจก้ายอมให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขได้ จะได้เจรจาวงเงินที่จะขอกู้ในลอตแรกได้ เพื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบจะได้เดินหน้าเปิดประกวดราคาต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการเร่งด่วน



นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า คาดว่าประมาณเดือนกันยายน 2552 นี้ หรือไม่ต้นปีงบประมาณ 2553 กรมจะเปิดประมูลโครงการขยาย 4 เลน 8 สายทางนี้ได้ หลังจากกระบวนการเจรจากับเงินกู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกำลังดูในรายละเอียดจะแบ่งสัญญาให้เล็กลงในบางสายทางที่โครงการใหญ่เกินไป โดยจะไม่ให้เกินสัญญาละ 1,000 ล้านบาท



ด้านนายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า กรมมีความพร้อมจะเปิดประมูลก่อสร้างโครงการสะพานนนทบุรี 1 ทันที หลังจากขั้นตอนการกู้เงินจบลงและได้รับความเห็นชอบจากไจก้าเรื่องของการพีคิวผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มประมูลได้ต้นปี 2553 ใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี ปัจจุบันเวนคืนที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว







 

Create Date : 12 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 12 พฤษภาคม 2552 23:47:32 น.
Counter : 635 Pageviews.  

ถนนสุขาภิบาล 1 เชื่อมวงแหวนตะวันออกใกล้เสร็จแล้ว

คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต



แม้ระยะทางจะสั้นแค่ 3 กิโลเมตร แต่ถนนสายใหม่เชื่อม "ถนนสุขาภิบาล 1 กับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก" ของกรมทางหลวงก็ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 2 ปี กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา และมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนสิงหาคมนี้



สาเหตุที่ทำให้แผนงานต่างๆ คลาดเคลื่อน มาจากปัญหาเรื่องเวนคืนที่ดิน เพราะกว่ากรมทางหลวงจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับเหมา คือ บริษัท สี่แสง การโยธา (1979) จำกัด ได้ก็ย่างเข้าเดือนตุลาคม 2549 แล้ว ทั้งที่ตามแผนงานผู้รับเหมาต้องลงมือก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2549 จากนั้นการดำเนินการก็ล่าช้ามาโดยตลอด จากเดิมจะใช้เวลาก่อสร้างแค่ปีเศษ หรือแล้วเสร็จปลายปี 2550 แต่ล่าช้ามากว่า 2 ปี



"ที่ผ่านมาเราสร้างไปแก้ปัญหาไป ปรับแผนงานก่อสร้าง 3 ครั้ง ล่าสุดแผนใหม่ผู้รับเหมารับปากจะสร้างให้เสร็จในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า หรือประมาณสิงหาคม-กันยายนนี้ นอกจากนี้ยังได้ขยายสัญญาให้ผู้รับเหมา 3 รอบ กว่างานจะมีความคืบหน้าล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 92% เพราะติดปัญหาการเวนคืนที่ดิน ช่วงก่อนถึงแยกเกษตร-นวมินทร์ บริเวณสนามไดรฟ์กอล์ฟ และติดการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค กว่าจะเคลียร์ได้ใช้เวลานานพอสมควร" นายปราโมทย์ ศิริวิวัฒน์ วิศวกรใหญ่ ฝ่ายก่อสร้าง กรมทางหลวง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"



นายช่างใหญ่กรมทางหลวงบอกอีกว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า เป็นเพราะเป็นการตัดถนนใหม่ การดำเนินการจึงยากกว่าการขยายถนนตามปกติ แต่หากงานก่อสร้างเสร็จ ถนนสายนี้จะเป็นเส้นทางลัด ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ทำให้การสัญจรไปมาคล่องตัวมากขึ้น เพราะใช้เวลาเดินทางไม่นานเพียงแค่ 2 นาทีจากแยกเกษตร-นวมินทร์ ทะลุถึงถนนวงแหวนรอบนอก เพื่อไปมีนบุรี ร่มเกล้า บางปะอิน หรือในย่านใกล้เคียง จากเดิมต้องไปอ้อมที่บางกะปิ รามอินทรา ก.ม.8



ถนนเชื่อม "ถนนสุขาภิบาล 1 กับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก" ออกแบบเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับ ในอนาคตกรมทางหลวงจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เส้นทาง ด้วยการก่อสร้างทางต่างระดับสำหรับกลับรถ เมื่อไปถึงวงแหวนรอบนอกจะสามารถใช้ทางต่างระดับไปยังทิศทางต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องไปกลับรถไกลออกไป ขณะนี้กำลังออกแบบคาดว่าจะก่อสร้างประมาณปี 2553-2554



นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อ ระหว่างถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตกกับถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ช่วยแก้ปัญหารถติดบริเวณถนนรัตนาธิเบศร์ งามวงศ์วาน สี่แยกเกษตรฯ และถนนนวมินทร์ตัดใหม่ได้ด้วย เพราะเป็นเส้นทางที่ทะลวงสามแยกบริเวณนวมินทร์ที่วิ่งมาจากเกษตรฯ โดยจะสามารถวิ่งตรงทะลุออกไปถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออกได้เลย จากปัจจุบัน เส้นทางบางจุดยังเป็นคอขวดอยู่ โดยเฉพาะช่วงแยกนวมินทร์ ที่จะเลี้ยวซ้ายไปถนนรามอินทรา และเลี้ยวขวาไปบางกะปิ และรามคำแหง ซึ่งสามแยก เพราะเมื่อถนนแล้วเสร็จบริเวณนี้จะเป็นสี่แยก สามารถระบายรถได้ไปในทิศทางต่างๆ มากขึ้น



สำหรับแนวเส้นทางโครงการถนนเชื่อม สุขาภิบาล 1-วงแหวนรอบนอก จะเริ่มต้นที่สามแยกนวมินทร์ ตัดตรงผ่านตลาด ธนะสิน ชุมชนเพิ่มทรัพย์ หมู่บ้านปัฐวิกรณ์ หมู่บ้านกฤษณา หมู่บ้านปิยะพร สนามกอล์ฟนวธานี จนถึงถนนวงแหวนรอบนอก โดยช่วงสามแยกนวมินทร์ จะสร้างเป็นทางต่างระดับเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ค่าก่อสร้าง 768 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 700 ล้านบาท








 

Create Date : 11 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 11 พฤษภาคม 2552 21:17:54 น.
Counter : 992 Pageviews.  

Gallery -- Pink Bedroom

Can you imagine waking up in this room every morning? It's like strawberry ice cream drizzled with chocolate! Brooklyn-based Coburn Architecture designed this bedroom in a Park Slope home. They chose the headboard because it mirrored the elliptical profile of the ceiling arch. The Roman shade is a Dorothy Draper fabric from Carleton Varney. Photo from their website: www.coburnarchitecture.com.




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 2 พฤษภาคม 2552 7:32:29 น.
Counter : 447 Pageviews.  

Gallery -- Waiting Area


Condo Waiting Area, originally uploaded by DIgital DI.

Modern look with good idea for waiting area.
we can apply to living room.




 

Create Date : 30 เมษายน 2552    
Last Update : 30 เมษายน 2552 7:17:59 น.
Counter : 617 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

High Bridge
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add High Bridge's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.