PRK รักษาสายตา ไม่ทิ้งรอย กระจกตาบางก็ทำได้



PRK  เป็นวิธีรักษาสายตาสั้น เอียง และสายตายาวโดยกำเนิด อีกวิธีหนึ่งที่คล้ายกับวิธีเลสิค แต่แตกต่างกันที่วิธี PRK นั้นจะไม่มีขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตาเหมือน LASIK โดยวิธีทำจะเริ่มจาก การลอกผิวกระจกตา (Epithelium) ที่อยู่ด้านนอกสุดของกระจกตาออกก่อน จากนั้นจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ไปปรับความโค้งของผิวกระจกตา วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง หรือบุคคลบางอาชีพ อาธิ ทหาร นักบิน 

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการฟื้นตัวและการหายของแผลสำหรับวิธี PRK จะนานกว่าวิธีเลสิค หลังผ่าตัดจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาที่มีสารในกลุ่มสเตียรอยด์หลังการผ่าตัด จึงควรได้รับการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดเป็นระยะเวลาหนึ่ง ผิวกระจกตาที่สมานตัวหลังเลเซอร์จะเกิดแผลเป็นจางๆ  ซึ่งปกติจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือแม้ใช้กล้องส่องตรวจก็แทบไม่เห็น 

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับการรักษาสายตาด้วยวิธี PRK

  1. ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะลดการพึ่งพาแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ เนื่องจากเกิดปัญหาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน หรือการประกอบอาชีพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์
  2. ไม่มีโรคที่เป็นข้อห้ามของการทำ PRK เช่น โรคต้อหิน โรคจอประสาทตา หรือ โรค SLE
  3. ไม่ควรอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นระยะที่ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไปด้วย จึงควรรอให้คลอดบุตรเสียก่อน
  4. มีความเข้าใจ และความคาดหวังที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธี PRK
ขั้นตอนตรวจ ก่อนการรักษาด้วยวิธี PRK
ผู้เข้ารับการรักษาจำเป็นต้องได้รับการตรวจและประเมินสภาพตาอย่างละเอียดจาก จักษุแพทย์เสียก่อน โดยควรมีการเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจและประเมินสภาพตา ดังนี้

  • 1. ควรถอดคอนแทคเลนส์ล่วงหน้า เนื่องจากคอนแทคเลนส์จะกดทับกระจกตา การถอดคอนแทคเลนส์นี้เพื่อให้กระจกตาคืนรูปร่างตามธรรมชาติ เพื่อผลการตรวจที่แม่นยำมากที่สุด (ทั้งนี้ระหว่างที่ถอดคอนแทคเลนส์ท่านสามารถใช้แว่นสายตาแทนได้ตามปกติ)    - อย่างน้อย 3 วัน สำหรับคอนแทคเลนส์แบบนิ่ม    - อย่างน้อย 7 วัน สำหรับคอนแทคเลนส์แบบแข็ง
  • 2. ควรนำเพื่อนหรือญาติมาด้วย เนื่องจากการตรวจสภาพสายตานั้นจะมีการหยอดยาขยายม่านตาด้วย ซึ่งจะทำให้การมองเห็นไม่ชัดและสู้แสงจ้าไม่ได้ คุณจึงไม่สามารถขับรถกลับบ้านเองได้
  • 3. หากเป็นไปได้ควรนำแว่นกันแดดมาด้วย

  • ตรวจวัดสายตาด้วยเครื่อง Auto Refractometer
  • ตรวจวัดค่าความดันตาด้วยเครื่อง IOP
  • ตรวจค่าความโค้งความหนาของกระจกตาด้วยเครื่อง Pentacam
  • ตรวจค่าความเพี้ยนในการรวมแสงระดับสูงด้วย OPD Scan
  • ตรวจวัดระดับการมองเห็น
  • ตรวจวัดค่าความผิดปกติของสายตาก่อนและหลังการขยายม่านตา
  • ตรวจและประเมินสภาพตาโดยละเอียดโดยจักษุแพทย์

    ระหว่างการตรวจท่านจะได้รับชม Multimedia เพื่อศึกษาข้อมูลการรักษาสายตาด้วยวิธี PRK โดยละเอียดก่อนพบแพทย์ ทั้งนี้ หากท่านยังมีข้อสงสัยใดๆ ท่านสามารถสอบถามแพทย์ของท่านได้โดยตรง

ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธี PRK

การรักษาสายตาด้วยวิธี PRK นั้น จะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญๆ 2 ขั้นตอน คือ
  • ขั้นตอนการลอกผิวกระจกตา (Epithelium)
  • ขั้นตอนการใช้ Excimer Laser ปรับความโค้งของกระจกตา
         ก่อนการเข้ารับการรักษาสายตานั้น แพทย์จะหยอดยาชาให้ท่านก่อน จากนั้นจะทำการการลอกผิวกระจกตา (Epithelium) จากนั้นจะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ไปปรับความโค้งของผิวกระจกตา จากนั้นแพทย์จะปิดฝาครอบตาไว้ให้ และนัดมาตรวจติดตามผลการรักษาในวันรุ่งขึ้น

ขั้นตอนการปฏิบัติตัวหลังการรักษาด้วยวิธี PRK

การปฏิบัติตัวหลังการรักษาในคืนแรก
  • หากมีน้ำตาไหลมาก หรือคันบริเวณรอบๆ ตา ไม่ควรแกะฝาครอบตาออกโดยเด็ดขาด อาจใช้สำลีซับน้ำตารอบๆ ฝาครอบตาได้
  • ควรพักผ่อนมากๆ พยายามอย่าทดสอบการมองเห็นหลังการผ่าตัดโดยการดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ หากนอนไม่หลับให้รับประทานยานอนหลับ 1 เม็ด
การปฏิบัติตัวหลังการรักษาในสัปดาห์แรก
  • ระมัดระวังไม่ให้น้ำหรือฝุ่นเข้าตา และไม่ควรขยี้ตาโดยเด็ดขาด
  • ปิดฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเผลอขยี้ตาระหว่างนอนหลับ
  • หยอดยาปฏิชีวนะและน้ำตาเทียมตามคำแนะนำของแพทย์
  • ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันฝุ่นและลมเข้าตา
  • งดการแต่งหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบๆ ดวงตา
  • ควรสวมแว่นกันแดด เมื่อต้องทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีแสงจ้า



Create Date : 30 สิงหาคม 2559
Last Update : 30 สิงหาคม 2559 9:18:42 น.
Counter : 1583 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

salinta
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



หมีชอบกินปลาแซลม่อนที่ว่ายทวนน้ำ...
All Blog