Group Blog
 
All blogs
 
ดำเนินชีวิตแบบ"ประตูสองบาน"

การดำเนินชีวิตในสังคมปัจุบันนี้กลายเป็นเรื่องยาก เนื่องด้วยปัญหาที่มีนับวันจะเข้ามาในชีวิตมากขึ้น หากเมื่อมองย้อยไปในวันเด็กจะเห็นว่าชีวิตเราและรายล้อมนั้นสวยงาม ความทุกข์กายทุกข์ใจต่างๆ ดูจะห่างใกลเมื่อย้อนรำลึง  ในความเป็นจริงนั้นเมื่อเราเติบโต มิใช่เพียงแต่พัฒนาการทางร่างกายที่เติบใหญ่ หากต้องควบคู่กับกับพัฒนาการทางสติปัญญาและความรับผิดชอบร่วมมาควบคู่ไปกับสติ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ โดยใช้สติควบคุมไม่ให้จิตรตก เมื่อจิตรตกความคิดในเชิงบวกก็จะหาย ทำให้ลุแก่โทษะมีความอาฆาต พยาบาท คิดอิจฉาริษยา ชิงดีชิงเด่น ก่อเกิดการกลั่นแกล้งรังแกกันไม่สิ้น


เพื่อนๆ ที่น่ารักส่ง forward mail ที่ท่าน ว.วัชรเมธีบรรยายธรรมมาให้อ่าน เห็นว่าน่าจะเป็นประโ่ยชน์ไม่มากก็น้อยทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิต อยากให้ลองอ่านกันดูนะคะ


1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง  กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก
คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส จิตประภัสสร ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข
 
2. อย่ามัวแต่คิดริษยา

“แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน” คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา  คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้องถอดถอน ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น ไฟสุมขอน ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี  แผ่เมตตา  หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป

3. อย่าเสียเวลากับความหลัง

90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ
“ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น” มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ  อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน  “อยู่กับปัจจุบันให้เป็น”  ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี  สติ กำกับตลอดเวลา

4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ

ตัณหา  ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วยเชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ
“ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม” ทุกอย่างต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ใส่เพื่อความโก้หรู
คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์ เราต้องถามตัวเองว่า
“เกิดมาทำไม” คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน ตามหาแก่น ของชีวิตให้เจอ  คำว่า พอดี  คือ ถ้าพอ แล้วจะดี  รู้จักพอจะมีชีวิตอย่างมีความสุข


พอดีมีโอกาสได้อ่านเรื่อง”ประตูสองบาน” ของคุณประภัสสร เสวิกุล แล้วชอบใจเพราะให้แง่คิด มุมมองที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน จึงขอแอบเอามาเผยแพร่เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่หลายๆ คนต่อไปค่ะ


ประตูมีหลายแบบ ความทุกข์และปัญหาก็มีหลายแบบเช่นกัน

บางครั้งเราใช้ชีวิตแบบดึง ทั้งที่ประตูบอกว่าผลัก

และใช้ชีวิตแบบผลัก ทั้งที่ประตูบอกให้เลื่อน

ประตูเปิดไม่ออก ปัญหาผลักไม่ออก


ไม่ใช่เป็นเพราะปัญหาแก้ไม่ได้ หรือประตูเปิดไม่ได้

หากแต่เป็นที่ตัวเราไม่เคยใช้  ความคิด
เพื่อค้นหาวิธีการเปิดประตูอย่างถูกต้องเลย










Create Date : 29 สิงหาคม 2551
Last Update : 1 กันยายน 2551 7:40:43 น. 1 comments
Counter : 655 Pageviews.

 
555...จิงๆๆนะ
ส่วนเราชอบอยู่กะความหลัง
ทำให้ช้ำไปช้ำมา....


โดย: NaUgHtYkA วันที่: 29 สิงหาคม 2551 เวลา:15:35:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Doungchampa
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หนึ่งฤทัย
Comment
--
Friends' blogs
[Add Doungchampa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.