นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เปรียบเทียบต้นทุน สูตรการผลิตก้อนเชื้อเห็ด เมื่อเติมหินแร่ภูเขาไฟพูมิชซัลเฟอร์ตั้งแต่ตอนเตรียมก้อน

สูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดของเกษตรกรผู้เพาะเห็ดส่วนใหญ่จะมีความหลากหลายไม่ยึดติดตายตัว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพและปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรรู้จัดคิดค้นดัดแปลงต่อยอดให้เกิดการพัฒนาที่ก้าวหน้าเป็นลำดับ (C & D) ไม่จมปลักอยู่กับที่จะช่วยให้ก่อเกิดการพัฒนาการด้านการผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ คนไทยก็จะมีโปรตีนในรูปของเห็ดไว้บริโภคด้วยความเต็มเปี่ยมด้านคุณภาพทางโภชนาการและความปลอดภัยไร้สารพิษ

สูตรการทำก้อนเชื้อโดยปรกติจะใช้ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม รำละเอียดประมาณ 10 กิโลกรัม ถ้าจะเพิ่มแป้งข้าวเหนียวหรือกระถินป่นก็อาจจะลดรำลงเหลือเพียง 7 -  8 กิโลกรัมแล้วเติมแป้งและกระถินป่นเสริมเข้าไปอีก 2 -  3 กิโลกรัม ใช้ปูนขาวหรือแคลเซียม ประมาณ 2 กิโลกรัม ใช้ดีเกลือหรือแมกนีเซียมซัลเฟต 200 กรัม ใช้ยิปซั่มหรือแคลเซียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม ภูไมท์ 1 กิโลกรัม และน้ำตาลทราย 1กิโลกรัม

       1. ขี้เลื่อย                           100 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   2.00 บาท = 200.00 บาท
       2. รำละเอียด.                        10 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   5.00 บาท =   50.00 บาท
       3. ปูนขาวหรือแคลเซียม              2 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   4.00 บาท =     8.00 บาท
       4. ดีเกลือหรือแมกนีเซียมซัลเฟต 200 กรัม.     กรัมละ.       0.01 บาท =     2.00 บาท
       5. ภูไมท์.                                1 กิโลกรัม  กิโลกรัมละ   8.50 บาท =     8.50 บาท
       6. ยิปซั่มหรือแคลเซียมซัลเฟต.      2 กิโลกรัม   กิโลกรัมละ  4.00 บาท =     8.00 บาท
       4. น้ำตาลทราย                         1 กิโลกรัม  กิโลกรัมละ 25.00 บาท =   25.00 บาท
                                              รวม                                                 301.50 บาท

รวมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตามสูตรดังกล่าวก็จะอยู่ที่ 301.50 บาทต่อวัตถุดิบการผลิตเห็ดทั้งสิ้น 114.2 กิโลกรัม เมื่อนำไปอัดก้อนในขนาด 800 กรัมเราจะได้จำนวนก้อนประมาณ 142 ก้อน ตกเฉลี่ยต้นทุนต่อก้อนอยู่ที่ 2.12 บาท และถ้ามรวมกับค่าพลังงานน้ำมัน แก๊ส ถ่าน ฟืน ถุงพลาสติก จุกสำลี คอขวด กระดาษหนังยางต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อยอาจจะ 1-2 บาทตามแต่ราคาในท้องตลาดของในแต่ละท้องถิ่นก็ถือว่ายังเป็นราคาที่พอรับได้ เมื่อเทียบกับคุณภาพของก้อนเชื้อที่เรียกได้ว่า "จัดเต็ม" ถึงไม่ใช่ก็ใกล้เคียง   ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าสูตรของก้อนเชื้อเห็ดนั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและความต้องการของแต่ละปัจเจกบุคคลเพิ่มเติมเสริมแต่งได้ตามใจชอบ แต่ถ้าเราทำพื้นฐานของก้อนเชื้อให้ดีมีคุณภาพเสียแต่เริ่มแรก กระบวนการเพาะเห็ดเราก็อาจไม่ต้องเสียสตางค์ไปซื้อฮอร์โมนหรืออาหารเสริมมาฉีดให้สิ้นเปลืองเพิ่มขึ้นง่ายต่อการบริหารจัดการดูแลบำรุงรักษา

ทีนี้เราลองมาเปรียบเทียบกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟกลุ่มตระกูล ซีโอ-พูมิชซัลเฟอร์ กันดูบ้างนะครับว่าจะมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใด สูตรการทำก้อนเชื้อเห็ดถุงแบบใช้กลุ่มหินแร่ภูเขาไฟก็ไม่ได้แตกต่างจากสูตรดั้งเดิมเพียงแต่เราจะลดการใช้แคลเซียม ดีเกลือ ภูไมท์และยิปซั่มออกไปเพื่อประหยัดเวลา ขั้นตอนการผลิตและต้นทุนให้ลดลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ให้เทียบเท่าจากเดิมหรือมากกว่าโดยอาศัยแหล่งอาหารจากตัว พูมิชซัลเฟอร์ ซึ่งมีแร่ธาตุสารอาหารที่ได้จากแร่ภูเขาไฟที่ผ่านอุณหภูมิความร้อนเป็นล้านๆองศาพร้อมต่อการละลายย่อยสลายกลายเป็นอาหารของเห็ด โดยพูมิชซัลเฟอร์ประกอบไปด้วยแร่ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิดินั่ม ฯลฯ และแร่ธาตุที่สำคัญโดดเด่นในตระกูลหินแร่ภูเขาไฟคือ ซิลิสิค แอซิดหรือซิลิก้านั่นเองที่ช่วยให้เส้นไยเจริญเติบเดินเร็ว แข็งแรง อีกทั้งช่วยเพิ่มอรรถรสที่นุ่มเหนียวพอประมาณที่รู้สึกได้ถึงการขบเคี้ยวเหมือนทานสเต๊กรสนุ่มประมาณนั้นเชียว!  เพราะนี่คือประโยชน์ของซิลิก้าที่โดยทั่วไปที่ใช้ในการปลูกพืชจะทำหน้าที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์ป้องกันโรคแมลงราไรที่จะเข้ามาทำลายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อนำมาใช้ในการเพาะเห็ดจึงโดดเด่นมากในเรื่องรสชาติที่สัมผัสได้

       1. ขี้เลื่อย                           100 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   2.00 บาท = 200.00 บาท
       2. รำละเอียด.                        10 กิโลกรัม. กิโลกรัมละ   5.00 บาท =   50.00 บาท
       3. พูมิชซัลเฟอร์                        3 กิโลกรัม  กิโลกรัมละ   9.00 บาท =   27.00 บาท                                                               
                                             รวม                                                277.00 บาท

รวมต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตตามสูตรดังกล่าวก็จะอยู่ที่ 277บาทต่อวัตถุดิบการผลิตเห็ดทั้งสิ้น 113 กิโลกรัม เมื่อนำไปอัดก้อนในขนาด 800 กรัมเราจะได้จำนวนก้อนประมาณ 141 ก้อน ตกเฉลี่ยต้นทุนต่อก้อนเชื้อเห็ดอยู่ที่ 1.96 บาท เมื่อเทียบกับวิธีแรกก็ถือว่าประหยัดลงมาได้ถึง18% และยังได้ช่วยลดขั้นตอนกระบวนการผลิตไปอีก 4 ขั้นตอน การเตรียมก้อนเช้ือให้เพียบพร้อมไปด้วยอาหารที่อุดมสมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ช่วยให้ไม่ต้องเสียเงินซื้อฮอร์โมนหรืออาหารเสริมเห็ดฉีดพ่น พร้อมทั้งช่วยให้ก้อนเชื้อเห็ดมีคุณภาพหรือสารอาหารเต็มก้อนเต็มประสิทธิภาพเปิดดอกเก็บได้นาน เป็นที่ต้องการของตลาด

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com


Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2555 6:28:53 น. 4 comments
Counter : 9064 Pageviews.  

 
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลยครับ แต่ว่าขี้เลื่อยไปหาซื้อที่ไหนได้บ้างครับ


โดย: ปฎิภาณ IP: 101.108.192.164 วันที่: 30 มีนาคม 2555 เวลา:7:45:39 น.  

 
ยินดีครับ


โดย: greenagro วันที่: 30 พฤษภาคม 2555 เวลา:7:34:01 น.  

 
ผมเองอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวหินภูเขาไฟ


โดย: สำราญ IP: 223.204.237.155 วันที่: 29 ตุลาคม 2555 เวลา:19:05:16 น.  

 
ประกาศ ท่านใด สนใจ อุปกรณ์เครื่องมือ2 สภาพ 95 %
- เครื่องผสม 200 ก้อน
- เครื่องอัดก้อน 1 กระบอก
- ตู้นึ่งก้อนเชื้อเห็ด ขนาด 650 ก้อน
- ตะแกง 60 อัน
- หัวเตาแก๊ส KB 8 2 หัว ( + 1500 ) ใหม่
...- ขี้เลื่อย ประมาณ 2-4 ตัน ใส่กระสอบไว้แล้ว
- และอุปกรณ์ ต่างๆ เช่น ถุง คอ จุก ขี้ฝ้าย ดีเกลือ ยิปซั่ม แร่ธาตุ อื่นๆ
**************77,500 บาท*************
*********ติดต่อ 083-133-9976 (อดิศร)******
******หากสนใจติดต่อสอบถามก่อนได้คับ****
**************ขอบคุณครับ**************
https://www.facebook.com/FarmHetLKB


โดย: อดิศร IP: 110.169.208.186 วันที่: 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา:17:28:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]