นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

การใช้จุลินทรีย์ป้องกันและกำจัดโรค แมลง ไร ศัตรูเห็ด (๑)

สำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตท่านผู้อ่านอีกครั้งในการนำเสนอผลงานของท่านอาจารย์ดีพร้อมไชยวงศ์เกียรติ อีกมุมมองหนึ่งที่เกี่ยวกับการใช้จุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรเพื่อลด ละ เลี่ยง เลิก การใช้สารเคมีที่เป็นพิษ จุลินทรีย์เหล่านี้นั้นมีประโยชน์ค่อนข้างมากเพียงแต่เกษตรกรบางกลุ่มยังเข้าไม่ถึง และยังไม่เคยได้สัมผัสจึงมีความคิดบางเสี้ยวบางส่วนว่าไม่สามารถที่จะทดแทนยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ลองค่อยศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มขึ้นทีละนิดครับแล้วท่านจะเห็นลางๆว่าแนวโน้มการใช้สารเคมีที่เป็นพิษนั้นจะค่อยๆ หมดไปอย่างแน่นอนครับ .......

โดย อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

นายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย

ข้าราชการบำนาญภาควิชาจุลชีววิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โรค แมลงศัตรูเห็ด ประกอบด้วยราต่างๆ ที่นึ่งฆ่าเชื้อไม่หมดและถูกนำโดยแมลง ไร ที่เข้าสู่ถุงเห็ด แมลงที่มากัดกินเส้นใย เช่น แมลงหวี่เห็ดหนอนผีเสื้อกินดอกเห็ด หนอนด้วงปีกแข็งกัดกินดอกเห็ด ไรต่างๆ เช่น ไรไข่ปลาไรขาวใหญ่ ไรดีด ศัตรูเห็ดเหล่านี้ทำลายเห็ดจนไม่มีผลผลิตเห็ดจำหน่ายหรือทำให้ผลผลิตลดลงทั้งปริมาณ และคุณภาพ

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบเดิมมีการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งสารเคมีกำจัดแมลง รา ไร ฉีดพ่นที่โรงเรือนชั้นวางถุง และวัสดุที่ถุงเห็ด กองวัสดุ ที่ดอกเห็ดตามที่ผู้ปลูกเห็ดว่าจำเป็น

ผลต่อผู้ปลูกเห็ดกำจัดศัตรูเห็ดขณะนั้นได้ แต่อาจมีผลเสียหายทำให้เส้นใยยุบ ได้ดอกเห็ดน้อยลงผู้ปลูกเห็ดไม่กล้ากินเห็ดของตนเอง ฉีดพ่นสารแล้วแพ้ยาโรงเพาะเห็ดเหมือนเป็นห้องรมยาชั่วคราว เหม็นยา เข้าไปแล้วรู้สึกอึดอัดหายใจไม่ออก ไม่กล้าฉีดพ่นเอง ต้องจ้างเขาฉีดและมีมากแม้พ่นยาแล้วก็ควบคุมศัตรูเห็ดไม่ได้ เพราะมีการระบาดใหม่มาจากพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ได้ปรับค่ากรด-ด่าง (พีเอช) ของน้ำก่อนผสมสารกับน้ำเกิดอัลคาไลฮัยโดรลัยสีส เมื่อน้ำผสมกับยาหรือยาปลอดเปอร์เซ็นต์ไม่ถึงตามฉลากหรือสารเสื่อมคุณภาพ สุขภาพเกษตรกรเสื่อมลง ขาดทุน เลิกกิจการ

แนวทางการควบคุมโดยชีววิธีศัตรูเห็ดแต่ละอย่างมีจุลินทรีย์ในธรรมชาติที่คอยควบคุมอยู่บางอย่างมีการขายเป็นสินค้าสำเร็จรูปอยู่แล้วเช่น บีที (บาซิลลัส ธูรินจิเอนสิท) ซึ่งควบคุมตัวอ่อนของแมลงแต่ราคาและวิธีการใช้ทำให้สิ้นเปลืองมากถ้าพัฒนาวิธีการขยายเชื้อบีทีด้วยน้ำมะพร้าวอ่อนอย่างที่แนะนำในประเทศเปรู(ไทยรัฐ, ๘ ก.ค. ๒๕๔๔ หน้า ๑๑) ก็จะสามารถสร้างวิธีการควบคุมศัตรูเห็ด (และศัตรูพืชผัก)ด้วยวิธีง่ายๆ ใช้วัตถุดิบในประเทศได้ผลดี ประหยัดและปลอดภัย

แนวทางการคัดเลือกเชื้อบีทีมาใช้งานวิธีการขยายเชื้อแบบง่ายๆ อย่างที่ทำในเปรูนั้นโดยนำน้ำมะพร้าวนั้นมาเป็นอาหารให้กับเชื้อบาซิลลัสเชื้อบาซิลลัสที่จะนำมาทดสอบนี้ได้จากหนอนผักที่ตายในแปลงผักอำเภอดำเนินสะดวกแยกเชื้อจากหนอน นำมาทำเชื้อบริสุทธิ์ เลี้ยงจนเกิดสปอร์มากมายในอาหารเหลวนำไปทำเป็นผงแห้งมีซีโอไลท์ผงเป็นตัวพา แล้วนำมาทดสอบเมื่อได้ผลดีเป็นที่พอใจก็ผลผลิตเผยแพร่ไปถึงเกษตรกรต่อไปนับได้ว่าเป็นเชื้อบีทีสายพันธุ์หนึ่ง

การคัดเลือกบาซิลลัสกำจัดเชื้อราพบว่ามีหลายสถาบันต่างทำการคัดเลือกหาบาซิลลัส ซับธิลิสสายพันธุ์ที่ตนต้องการก็จะตั้งชื่อและหมายเลขกำกับเชื้อไว้ ปัจจุบันมีมากมายของชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรก็มีสายพันธุ์พลายแก้ว ที่พบโดยนายพลายแก้ว เพชรบ่อแก อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น จากการทดสอบหลายร้อยครั้งได้ผลดีกว่าบาซิลลัสจากแหล่งอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันทั้งการยับยั้งเชื้อราและบักเตรีโรคพืช ช่วยกระตุ้นการเกิดดอกเห็ดได้ด้วยปัจจุบันเป็นที่นิยมของเกษตรกร และเรียกกันสั้นๆ ว่าเชื้อพลายแก้ว

การคัดเลือกเชื้อบาซิลลัสกำจัดไรเป็นการคัดเลือกเชื้อที่มีคุณสมบัติในการสร้างสารไคติเนส ซึ่งสามารถย่อยไคตินเนื่องจากไรวัยอ่อนผนังตัวบาง การถูกน้ำย่อยไคติเนสสัมผัสทำให้อ่อนแอและตายได้ง่ายเมื่อใช้กลุ่มบาซิลลัสที่สร้างไคติเนสได้เก่งหลายชนิดรวมกันพบว่ามีผลช่วยกันทางบวก เมื่อหมักบาซิลลัสกลุ่มนี้ด้วยมะพร้าว พบว่ากำจัดไรไข่ปลาได้ดีมาก การทดสอบในฟาร์มเห็ดหลายสิบฟาร์มได้ผลดีทุกฟาร์มขณะนี้ตั้งชื่อบาซิลลัสกลุ่มที่กำจัดไรไข่ปลาว่า บาซิลลัส ไมโตฟากัสชื่อนี้ตั้งเอง ไม่เป็นทางการใช้ไปพลางก่อน ต่อไปอาจใช้ชื่อว่า ไมโตฟากัส บาซิลลัส

การหมักเชื้อด้วยน้ำมะพร้าวอ่อนเดิมของประเทศเปรูค้นพบคือ นำมาปราบยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียนักวิทยาศาสตร์ได้นำมะพร้าวทั้งผลมาเพาะเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ บีทีไอซึ่งทำโดยนำเชื้อบีทีไอ ฉีดลงผลมะพร้าว น้ำมะพร้าวจะทำหน้าที่เป็นอาหารเพาะเชื้อเพิ่มปริมาณเป็นทวีคูณภายใน ๓ วัน หลังจากนั้น นำไปฆ่าลูกน้ำยุงก้นปล่องซึ่งเชื้อบีทีไอนี้สามารถฆ่าลูกน้ำได้เฉพาะเจาะจงโดยลูกน้ำจะกินเข้าไปและเชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าไปทำลายเยื่อบุทางเดินอาหารของลูกน้ำได้เฉพาะเจาะจงโดยลูกน้ำจะกินเข้าไปและเชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าไปทำลายเยื่อบุทางเดินอาหารของลูกน้ำทำให้ลูกน้ำตายลงก่อนจะเจริญเป็นยุงอย่างเต็มตัว โดยจากการทดสอบพบว่าสามารถฆ่าลูกน้ำในบ่อตายหมด และสามารถควบคุมยุงได้ ๔๕ วันแต่เชื้อแบคทีเรียบีทีไอนี้ไม่มีพิษต่อปศุสัตว์และคนเชื้อแบคทีเรียบีทีไอเป็นเชื้อที่รู้จักกันมานานกว่า ๒๐ ปี สามารถเพาะได้จากเครื่องมือวิทยาศาสตร์แต่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนี้นการที่นักวิทยาศาสตร์นำมะพร้าวมาทดแทนเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เป็นการลดค่าใช้จ่ายซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหานะรดับพื้นบ้านได้อย่างดี(ที่มาของข้อมูล : ไทยรัฐวันที่ ๘ ก.ค.๒๕๔๔, หน้า ๑๑)

ในประเทศไทยทำง่ายๆคือ เฉาะมะพร้าวอ่อน แง้มฝาขึ้น ใส่เชื้อผงสปอร์บาซิลลัส ๑-๒ ช้อนชา (๕-๑๐ กรัม)ปิดฝาลงพอให้อากาศเข้าได้ เก็บไว่ในที่ร่ม ๔๘ ชั่วโมง นำมาผสมน้ำเปล่า ๑ปิ๊ปตามปริมาตรที่จะใช้ (จะผสมน้ำเปล่ามากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการแพร่ระบาดของโรค แมลง)

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 25 พฤษภาคม 2555
Last Update : 25 พฤษภาคม 2555 8:05:17 น. 1 comments
Counter : 7524 Pageviews.  

 
หาซื้อเชื้อได้ที่ไหนครับ


โดย: นนท์ IP: 49.231.99.45 วันที่: 26 สิงหาคม 2556 เวลา:0:27:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]