นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

การใช้หินแร่ภูเขาไฟ พูมิช, พููมิชซัลเฟอร์ ม้อนท์โมริลโลไนท์ ช่วยให้อายุก้อนเชื้อเห็ดเก็บเกี่ยวได้ยาวนาน

จากที่ได้เคยเกริ่นไปในเรื่องวัสดุในการเพาะเห็ดอย่างเช่น ฟางข้าวเจ้า ฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวหอมมะลิ ฟางขาวโอต ฟางขาวไรน ฟางขาวบารเลย ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา ขี้เลื่อยยางพารา ขี้เลื่อยไม้สักพยูง ชิงชัน ทะลายปาลม เฟรน หญา ผักตบชวา เปลือกมันสําปะหลัง เปลือกถั่วเขียว หรือถั่วเหลือง เศษฝาย ไส้นุ่น ปุยหมัก ฯลฯซึ่งในอดีตนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม แต่ในปัจจุบันกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เร่งรีบโดยเฉพาะเรื่องเพาะปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลก การผลิตจึงมีหลายรูปแบบ ไม้ผลก็มีทั้งนอกทั้งในฤดู ทำนาปลูกข้าวก็สองหรือสามครั้งต่อปีจนดินแทบไม่มีเวลาพัก ยางพาราก็รีบเร่งกรีดไม่เว้นแต่ละวันจากราคาที่จูงใจเมื่อเทียบกับในอดีตที่แผ่นละไม่กี่บาท (12-15 บาท) มิหนำซ้ำยังหาสารมาเร่งน้ำยางให้ออกมากกว่าปรกติ แล้วสารอาหารทั้งจากในดินและลำต้นเศษซากพืชจะหลงเหลือให้เรามาเพาะเห็ดได้ดีเพียงพอเชียวหรือ?

การผลิตก้อนเชื้อของฟาร์มเห็ดทั้งรายใหญ่รายย่อยจึงต่างพิถีพิถันในการสรรสร้างคุณภาพเพื่อให้ก้อนเชื้อเห็ดของตนเองเป็นที่ต้องการของตลาดหรือแม้แต่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดและผลิตก้อนเชื้อเองก็ต้องให้ความสำคัญในการจัดเตรียมสารอาหารที่จำเป็นพื้นฐานให้แก่ก้อนเชื้อเพื่อให้เห็ดมีแหล่งอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบตลอดอายุการเก็บเกี่ยว ช่วยให้เห็ดมีอายุก้อน อายุการเก็บเกี่ยวที่ยาวนานขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเปลี่ยนถ่ายก้อนถี่หรือบ่อยเกินไปและที่สำคัญถ้าเราใส่สารอาหารเสริมเติมช่วยไปกับขี้เลื่อยหรือวัสดุเพาะอื่นๆ เห็ดก็สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องอิงอาศัยฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนที่ด้อยคุณภาพอาจจะยิ่งทำให้มีแต่เพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุก็เป็นได้ หมั่นทดสอบและสังเกตุด้วยตนเองอย่างตั้งใจจะได้ไม่ต้องไปโทษเพื่ิอนเกษตรกรที่แนะนำ (จะได้โทษตัวเองได้เต็มๆ ฮา)

การใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์ และม้อนท์โมริลโลไนท์ ซึ่งมีทั้งแร่ธาตุฟอฟอรัส (ช่วยทดแทนหินฟอสเฟต) แคลเซียม (ช่วยทดแทนปูนขาว)แมกนีเซียม (ช่วยทดแทนดีเกลือ) กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม ฯลฯ และที่สำคัญคือยังมีแร่ธาตุซิลิก้าที่อยู่ในรูปละลายน้ำได้หรือซิลิก้าอะมอฟัส ที่เห็ดพร้อมจะดูดกินหรือนำไปใช้งานได้ทันที ทำให้เส้นเจริญเติบโตและแข็งแรง ช่วยเพิ่มรสชาติให้หนานุ่มหนึกลิ้น อายุหลังเก็บเกี่ยวยาวนาน ทันต่อการนำส่งตลาด การใช้สารอาหารจากแร่ธาตุธรรมชาติเหล่านี้เพิ่มเข้าไปในก้อนเชื้อและวัสดุเพาะจะช่วยทำให้ก้อนเชื้อมีอาหารสำหรับเห็ดที่ครบถ้วน ลดการใช้ฮอร์โมนฉีดพ่น ลดต้นทุน ไม่สิ้นเปลืองสตางค์ เวลาและแรงงาน เกษตรกรท่านใดสนใจเพื่อนำไปใช้เป็นทางเลือกสามารถติดต่อสอบถามเข้าไปได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com หรือโทรศัพท์ 0-2986-1680-2

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com


Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2555 6:44:34 น. 0 comments
Counter : 1076 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]