นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

พัฒนาการของการใช้จุลินทรีย์และสารธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต (๑)

ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพอยู่บ่อยพอสมควร เพื่อกระตุ้นเสริมสร้างให้เกิดการตื่นตัวและสนใจในการทำเกษตรกรรมแบบปลอดสารพิษแบบค่อย ลด ละ เลี่ยง เลิกสารพิษ โดยใช้ทางเลือกที่ไม่ต้องมีสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องด้วยปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆออกมาค่อนข้างหลากหลาย มีมากมายหลายอย่างที่ช่วยให้การปลูกพืชไร่ไม้ผลในแนวทางปลอดสารพิษและมุ่งไปสู่กระบวนการเกษตรอินทรีย์ทำได้ง่ายและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับในอดีตที่มีแหล่งข้อมูลและปัจจัยการผลิตค่อนข้างน้อย วันนี้จึงอยากจะย้อนอดีตวันวาน เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ติดตามได้ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปในการนำจุลินทรีย์มาใช้ในภาคการเกษตร โดยขออนุญาตนำบทความของท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ที่ได้ตีพิมพ์ไว้ในวารสาร เห็ดไทย ๒๕๔๗ ของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ดังนี้ครับ
...การเพาะเห็ดก็เหมือนกับการปลูกพืชทั่วไป ซึ่งเมื่อดำเนินการไปสักระดับหนึ่งก็จะมีศัตรูพืชเข้ามารบกวน มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชฉีดพ่นมีสารพิษตกค้างในพืช และเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ต่อมาจึงมีวิทยาการต่างๆ มาทดแทนการใช้สารพิษ โดยยังได้ผลผลผลิตดีเท่าเดิมหรือหากเป็นไปได้ก็ได้เพิ่มมากกว่าเดิม

เห็ดก็เช่นกัน มีจุลินทรีย์เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ
๑. ช่วยการหมักปุ๋ยอินทรีย์
๒. ปนเปื้อนในอาหารของเห็ด แล้วไปแย่งอาหารและยับยั้งการเจริญของเห็ด
๓. เป็นปรสิตของเห็ด ดูดกินน้ำเลี้ยงจากเส้นใยและดอกเห็ดจนเห็ดตายไป เช่น ราเขียวไตรโคเดอร์ม่า
๔. ลดคุณภาพเห็ด เช่น ราเมือกทำให้เห็ดนิ่มและมีกลิ่นเหม็นคาว สีสันสกปรกเป็นต้น
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในการเพิ่มผลผลิตเห็ดที่เห็นได้ชัดเจนคือการหมักปุ๋ยหมักเพื่อเพาะเห็ดฝรั่งหรือแชมปิฌอง และการเพาะเห็ดฟาง ที่มีการเลี้ยงเส้นใยของ ราฮิวมิคูล่า และ โทรูล่า ให้ขึ้นเป็นฝ้าขาวๆ เป็นการเพิ่มโปรตีนและอาหารแก่ปุ๋ยหมักแล้วจึงฆ่าด้วยความร้อนจากนั้นใช้เพาะเห็ดต่อไป (เห็ดแชมปิฌองและเห็ดฟาง)
การใช้จุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มหนอนผีเสื้อซึ่งสามารถระบาดได้รวดเร็ว มีการใช้แบคทีเรียชื่อ บาซิลลัส ธูรินจิเอนสิส (Bacillus thuringiensis ; Bt. (บีที) อย่างได้ผล และมีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ในกรณีของเห็ดนั้นมีรายงานทั้งในต่างประเทศและประเทศไทยถึงการใช้เชื้อบาซิลลัส ธุรินจิเอนสิส เพื่อควบคุมหนอนศัตรูเห็ดอย่างได้ผล
ในปี ๒๕๔๕ สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร เขียนบทความการใช้เชื้อแบคทีเรียควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูเห็ด ลงในข่าวสารเพื่อผู้เพาะเห็ดปีที่ ๗ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม ๒๕๔๕ หน้า ๒๔-๒๕ เป็นการใช้ บาซิลลัส ธูรินจิเอนสิส ในท้องตลาดฉีดพ่นป้องกันกำจัดหนอน แมลงหวี่ หนอนผีเสื้อของเห็ดถุง
ปัญหาประเทศไทยคือเชื้อสำเร็จรูปราคาแพงและเวลาใช้ก็ต้องผสมมาก เช่น ๘๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก เช่นเชื้อบีที กิโลกรัมละ ๑,๐๐๐ บาท เมื่อใช้ ๘๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร เท่ากับ ค่าใช้จ่ายปิ๊ปละ ๘๐ บาท
เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หน้า ๑๑ ลงบทความในคอลัมน์วิทยาการเด็กเรื่อง มะพร้าวปราบยุง เนื้อหาเป็นการกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ชาวเปรู นำเชื้อ บีทีไอ (Bt-I) ๒๐๐ เซลล์ ฉีดใส่ในผลมะพร้าวอ่อน เข้าไปในถึงน้ำมะพร้าวภายใน ปล่อยให้เชื้อเจริญเพิ่มจำนวนอยู่ในผลมะพร้าวหมักไปแจกชาวบ้านเอาไปใส่แหล่งน้ำที่มีลุกยุงได้นานถึง ๔๕ วัน สามารถลดการระบาดของโรคมาลาเรียภายในประเทศลงได้มาก
จากข้อมูลการใช้มะพร้าวอ่อนเป็นแหล่งเพาะขยายเชื้อบีทีไอ ซึ่งคือ บาซิลลัส ธูรินจิเอนสิส ดังกล่าว เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะประเทศไทยมีมะพร้าวอ่อนมากและมีเชื้อบีที ที่ใช้กำจัดหนอนหลายสายพันธุ์ขายในท้องตลาด เพียงแต่มีราคาแพงเกินไป ถ้าดัดแปลงนำเชื้อมาหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อนแบบง่ายๆ ให้ได้เชื้อมาก ก็จะปราบหนอนได้ดี ต้นทุนต่ำ
ศุภศิษฎ์ เปรมัษเฐียร (๒๕๔๖) ได้เสนอผลงานเป็นปัญหาพิเศาของภาคจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง “การศึกษาการขยายเชื้อ Bacillus thuringiensis ด้วยเทคโนโลยีพื้นฐาน”
กล่าวโดยย่อมีดังนี้
๑. การใช้เชื้อบีที ๑ ช้อนชาต่อมะพร้าวอ่อน ๑ ผล : เฉาะมะพร้าวเปิดแง้มเป็นฝา เติมเชื้อบีที ๑ ช้อนชา แล้วปิดฝาทิ้งไว้ในร่ม ๑-๒ วัน นำไปผสมน้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นดอกเห็ดและถุงเชื้อที่ถูกหนอนรบกวน เมื่อหนอนได้กลิ่นน้ำหมักจะออกมากินเชื้อ ต่อมาป่วยแล้วตกลงมาตายที่พื้น
๒. ใช้น้ำมะพร้าวแกงจากตลาด ๑ ปิ๊บ (๒๐ ลิตร) ต้มจนเดือดแล้วทิ้งให้เย็น เทใส่กะละมังกว้าง ใส่เชื้อบีที ๑ ช้อนชา เติมอากาศด้วยปั๊มลมแบบที่ใช้ในตู้ปลา วางหัวทรายไว้กลางกะละมัง ให้ฟองอากาศผุดขึ้นตลอดเวลา ๒๔-๔๘ ชั่วโมง เมื่อจะใช้นำไปผสมน้ำ ๔ ปิ๊บ (๘๐ ลิตร) รวมเป็น ๑๐๐ ลิตร นำไปฉีดพ่น
๓. ใช้น้ำเปล่า ๒๐ ลิตร ใส่กะละมังเติมไข่ไก่สด ๕ ฟอง น้ำมันพืช ๕ ช้อนแกง (ใช้ทำให้ฟองแตกเร็วไม่ล้นกะละมัง) สเม็คไทต์ผง ๕ ขีดหรือ ๕๐๐ กรัม (ใช้จับกลิ่นก๊าซไข่เน่า) ใส่เชื้อบีที ๑ ช้อนชา (๕-๑๐ กรัม) เป่าลมแบบตู้ปลา ๒๔-๔๘ ชั่วโมง ก่อนใช้เติมน้ำเปล่า ๔ ปิ๊ป (๘๐ ลิตร) แล้วจึงนำไปฉีดพ่น
๔. ใช้น้ำเปล่า ๒๐ ลิตร ใส่กะละมังเติมนมข้นหวาน ๑ กระป๋อง น้ำตาลทราย ๓ ช้อนแกง เชื้อบีที ๑ ช้อนชา เป่าลมแบบตู้ปลา ๒๔-๔๘ ชั่วโมง ก่อนใช้เติมน้ำเปล่า ๘๐ ลิตร รวมเป็น ๑๐๐ ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่น
การศึกษาการขยายเชื้อบีที โดยการหมักขยายเชื้อทั้ง ๔ แบบดังกล่าวได้ผลจากการตรวจนับเมื่อ ๒๔ ชั่วโมง อยู่ในระดับไม่น้อยกว่า ๑ x ๑๐๗ เซลล์ต่อมิลลิเมตร
เมื่อเผยแพร่วิธีการนี้ออกไป มีเกษตรกรนำไปใช้ แล้วได้ผลดีมากในการปราบหนอนผักต่างๆ เช่น หนอนเจาะยอด หนอนกินเปลือก หนอนเจาะต้น หนอนเจาะดอกมะลิ รวมทั้งช่วยลดด้วงหมัดผักได้ดี โดยตัวอ่อนที่อยู่ในดินขึ้นมากินเชื้อจากน้ำหมักที่ผิวดิน การใช้ควบคุมหนอนกินเห็ดขอนขาวเป็นรายงานจากคุณทรงเทพ พงษ์กสิเทวินทร์ (๐๙๓-๕๐๑-๖๕๖)

สำหรับวันนี้ขออนุญาตท่านผู้อ่านไว้เพียงแค่นี้ก่อนนะครับ สำหรับโอกาสต่อไปจะนำภาคต่อที่เป็นเรื่องของการใช้จุลินทรีย์ บาซิลลัส ซับธิลิส มาฉายต่อเป็นลำดับถัดไป ซึ่งเป็นเหมือนจุดกำเนิดของ บีเอสพลายแก้ว อันเป็นที่รู้จักในวงการส้ม มะนาวและผู้เพาะเห็ดโดยทั่วไป

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 16 พฤษภาคม 2555
Last Update : 16 พฤษภาคม 2555 8:56:48 น. 0 comments
Counter : 1100 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]