นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ปราบเพลี้ยไฟไรแดง แห่งวิถีชีวภาพ (ก็ไม่ง่ายนะ!)



ปราบเพลี้ยไฟไรแดง แห่งวิถีชีวภาพ (ก็ไม่ง่ายนะ!)

ปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟไรแดงที่กำลังระบาดและสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้พี่น้องเกษตรกรอยู่ขนะนี้ก็ไช่ว่าจะมีแต่ผู้ปลูกมะนาว กล้วยไม้ พริกเท่า มะละกอเท่านั้นนะครับยังมีพืชอื่นๆ อีกมากมายที่พบกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน เพราะว่าช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ผ่านฝนผ่านชื้น ผ่านแฉะมาเนิ่นนานจากปัญหาภัยแล้งก็ย่อมทำให้พืชหลากหลายชนิดเริ่มที่จะสะสมน้ำตาลไว้ในต้นมากขึ้นมากกว่าปริมาณของไนโตรเจนที่มากับน้ำฝน มากับความชื้นแฉะที่พื้นดินเดิมละลายออกมาจากปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก(Organic Matter) อินทรียวัตถุต่างๆ ทำให้พืชอวบอ้วนอ่อนแอซึ่งหนอนกับแมลงจะชอบมากกว่า เพลี้ยหรือกลุ่มของแมลงปากดูด

ด้วยเหตุดังนี้ทำให้ความหวานในสรีระหรือส่วนต่างๆของพืชมีเพิ่มมากขึ้นกลุ่มของแมลงปากดูดทั้งหลายที่ชอบกินน้ำตาลก็สามารถที่จะใช้เป็นแหล่งอาหารในการดำรงชีวิตตามสภาพธรรมชาติที่เอื้ออำนวยโดยเฉพาะ “เพลี้ยไฟ” ก็เป็นแมลงจำพวกปากดูดเช่นกัน มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1-2มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อนตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของเซลล์พืช และถ้าจะแบ่งชนิดของตัวอ่อนก็มีด้วยกัน 2ระยะ คือ ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัยซึ่งมีวงจรชีวิตนานประมาณ 15 วัน

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายพืชต่างๆที่เขาชอบ โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบระบาดในระยะแตกยอดใหม่ๆ เมื่อใบพืชโตใหญ่ขยายขึ้น ในส่วนของใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและเจ้าเพลี้ยไฟก็จะอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น ในอดีตก็จะพบระบาดเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกัน หรือสภาพที่พืชขาดน้ำนาน ถ้าระบาดมากๆทำให้พืชแห้งเหี่ยวล้มตายได้แต่ปัจจุบันนั้นก็ไม่แน่ไม่นอนถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมเพลี้ยไฟก็สามารถกลับมาระบาดได้ด้วยเช่นกัน

วิธีการป้องกันกำจัดนั้น ก็ไช่ว่าจะทำได้ง่ายๆนะครับ เพราะว่าตัวเขามีขนาดเล็กเรียกว่าแทบจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะฉีดพ่นให้สปอร์ของเจ้ารากินเพลี้ยอย่าง บิวเวอร์เรีย และ เมธาไรเซียม (ทริปโตฝาจ [Triptophaj], คัทออฟ [Cutoff]) เข้าไปสัมผัสเกาะติดกับตัวก็ค่อนข้างยากฉะนั้นในกรณีที่ต้องการปราบเจ้าเพลี้ยไฟและไรแดงให้อยู่หมัดอาจจะต้องกระทำแบบเป็นกระบวนการคืออย่าปล่อยให้พืชอ่อนแอ จากปัญหาสภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างจัดจนพืชได้รับแร่ธาตุสารอาหารไม่ครบถ้วนสร้างความแข็งแกร่งเพิ่มคุ้มกันตั้งแต่ระยะต้นเล็กๆหรือเริ่มบำรุงหลังเก็บเกี่ยวด้วยการรองพื้นด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช [Pumish],พูมิชซัลเฟอร์[Pumish Sulpher]) เปรียบเหมือนเป็นการวอร์เครื่องให้พืชมีความแข็งแรง และวิธีการเดินสำรวจตรวจตราหมั่นดูแปลงเรือกสวนไร่นาเราอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อจะได้ทราบว่าณ จุดไหน บริเวณใดมีการระบาดในระยะแรกๆ จะได้เข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ การใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคไม่ปล่อยให้มาสร้างอาการอ่อนแอและแพร่เชื้อโรคในสวนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต้องทำด้วยเช่นกัน

ทีนี้ก็มาถึงการกำจัดเขาด้วยสารสกัดจากกระเทียมพริกไท (ไพเรียม [Pirium]) และสารสกัดจากสะเดา (มาร์โก้ซีด [Margoseed]) ซึ่งสมุนไพรทั้งสองสูตรนี้ พี่น้องเกษตรกรได้นำไปใช้ในการปราบเพลี้ยไฟไรแดงมาเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีแล้วถือว่ามีความโดดเด่นค่อนข้างมากถ้าใครไม่อยากจะซื้อให้เสียเงินทองโดยเปล่าประโยชน์ก็สามารถหมักด้วยตนเองได้ง่ายๆดังนี้ครับ

นำกระเทียม 2 ขีด, พริกไทดำ 1 ขีด, พริกป่น1 ขีด น้ำส้มสายชู 200 – 500 ซี.ซี.สับโขลกบนตำวัตถุดิบให้เข้ากันแล้วนไปแช่กับน้ำส้มสายชูและเหล้าขาว หรือแอลกอฮอล์ล้างแผลอีก 500 ซี.ซี. หมักไว้ 7 วัน นำมาใช้ครั้งละ 5-10 ซี.ซี. ต่อน้ำ20 ลิตร ส่วนสารสกัดสะดาก็ใช้เมล็ดสะเดา 1 กิโลกรัม สับโขลกบดตำเช่นเดียวกัน แช่น้ำสะอาด 20 ลิตรทิ้งไว้หนึ่งคืน พอเช้ามาก็เอามาผสมร่วมกับน้ำอีก 80 ลิตรรวมกันเป็น100 ลิตรฉีดพ่นไปพร้อมกัน กับจุลินทรีย์ทริปโตฝาจเพราะว่าเจ้าเพลี้ยไฟไรแดงนั้นร้ายกาจพอดู ตอนเข้าทำลายก็มองไม่เห็นเพราะฉะนั้นเราต้องสังเกตให้ดี โดยเฉพาะช่วงที่มียอดอ่อน ดอกและผลอ่อน ก็ควรฉีดพ่นป้องกันไว้แต่เนิ่นๆด้วยนะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 15 พฤษภาคม 2559
Last Update : 15 พฤษภาคม 2559 15:03:17 น. 0 comments
Counter : 397 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]