นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เรียนรู้การเพาะเห็ดฟางแบบมือสมัครเล่น (ตอนที่ 2)

ปัญหาที่พบบ่อยในปัจจุบัน


ในปัจจุบันนี้มีการกระแสเพื่อสร้างความตื่นตัว อยากจะให้เกษตรกรได้เพาะเห็ดฟางในโรงเรือน โดยมีการจัดอบรมของหน่วยงานภาคเอกชนต่าง ๆ มากมาย มีค่าบริการหรือค่าลงทะเบียนค่อนข้างสูงบางครั้งถึงสองหรือสามพันบาท เรียนวันเดียวจบคือบรรยายในเอกสารแล้วก็พาไปดูในโรงเพาะเห็ด ท่านเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะว่าผู้ที่ได้รับการอบรมแล้วเมื่อนำไปปฏิบัติ สร้างโรงเรือน สร้างที่ต้มน้ำ ที่อบไอน้ำ ทำแบบที่ไปอบรมมา การลงทุนในการก่อสร้างต่าง ๆ ในปัจจุบัน
แม้จะใช้วัสดุที่ราคาต่ำลงมาเพียงใด แต่ก็ยังลงทุนมากค่าใช้จ่ายระหว่างที่จะใช้เพาะเห็ดในโรงเรือนก็ยังมาก คือลงทุนในการเพาะเห็ดระบบโรงเรือนต้นทุนค่อนข้างจะสูง เพาะในครั้งแรกก็จะได้ผลผลิตเห็ดออกมาในระดับที่ค่อนข้างพอใจ หรือบางคนยังได้ไม่มากก็คิดที่จะทำให้ดีขึ้นในคราวต่อไป เพราะความรู้อาจจะยังไม่พอ แต่พอเริ่มปลูกไปไม่กี่รอบก็จะเริ่มมีปัญหา เมื่อเข้าไปทำงานในโรงเรือนที่ใช้เพาะเห็ดแล้วก็จะปรากฏว่าเกิดอาการคัน การคันนี้ก็เกิดจากตัวไรซึ่งก็แสดงว่าการรักษาสภาพความสะอาด อนามัยสิ่งแวดล้อมภายในโรงเพาะเห็ดนั้นยังไม่ดีพอ ต่อมาการเพาะได้ผลผลิตในเกณฑ์ที่ต่ำ นี่ก็เป็นปัญหาที่ว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ก็ก็เกิดมีผู้ทำสูตรอาหารเสริมขายในราคาแพง จำหน่ายเสริมเพิ่มเติมแข่งขันกันมากมายหลายเจ้า เกษตรกรบางคนมีปัญหาหวังผลเกินความรู้พื้นฐาน ที่รู้เพียงแค่ไปอบรมมา โดยจ่ายเงินไปสองหรือสามพันบาท บางคนมีความรู้ไม่มากแต่คิดว่ามีความรู้มากแล้ว ไม่แสวงหาความรู้ที่เป็นระบบที่เป็นพื้นฐานวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ไม่ใจเย็นศึกษาวิธีการเพาะ ไม่ศึกษานิสัยของเห็ด ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเห็ดให้รู้ให้มากขึ้น ดังนั้นผลที่สุดเพาะเห็ดในโรงเรือน บางคนก็เหนื่อยก็ไม่คุ้ม แต่คิดผิดคิดว่าเป็นเรื่องของโชคไม่ดีที่ผลผลิตไม่ดี บางคนก็แก้ปัญหาโดยการบนเจ้าที่ ทำให้พวงมาลัยขายดีแต่เห็ดนั้นไม่ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่เกษตรกรควรจะให้ความสำคัญคือแหล่งผลิตก้อนเชื้อจะต้องพยายามทำการคัดเลือกหรือเสาะหาแหล่งที่มีคุณภาพค่อนข้างดีไว้ใจได้ มิฉะนั้นจะทำให้ผลผลิตของเราต่ำกว่ามาตรฐาน บวกกับประสบการณ์ที่น้อยอยู่แล้วด้วยยิ่งไปกันใหญ่ โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จก็จะมีน้อยมาก


แนวทางและวิธีแก้ปัญหา


เกษตรกรที่ต้องการจะเพาะเห็ดฟาง จากฟางข้าว เปลือกหัวมันสำปะหลังหรือจากวัสดุอื่นๆ ควรที่จะทำการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้รอบคอบดีเสียก่อน ไม่โลภ ค่อย ๆ เริ่มต้นจากงานขนาดเล็กคือทำงานเล็กจะได้มีความเข้าใจ ความชำนาญ มีประสบการณ์ ทำความรู้จักกับเห็ดให้มากขึ้นและเพียงพอเสียก่อน เมื่อเพาะในขนาดเล็กจำนวนไม่มาก แล้วสามารถที่จะทำกำไรได้ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายให้ใหญ่ขึ้น เวลาไปศึกษาไปดูงานที่ฟาร์มเห็ด ดูแล้วอย่าเลียนแบบงานของเขาเอามาใช้ทันทีเพราะบางครั้งปัจจัยต่าง ๆ อาจจะไม่เหมือนกัน น้ำก็ไม่เหมือนกัน วัตถุดิบก็ไม่เหมือนกัน เชื้อเห็ดก็คนละเจ้า มีปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นเวลาไปดูงานที่ใดที่หนึ่งแล้วก็อย่างเพิ่งเชื่อหรือรับข้อมูลนั้นๆ ทันทีทั้ง 100 % ต้องค่อยศึกษาค่อยทำไปก่อน คือ ต้องยอมเสียเวลาทำไปจากงานขนาดเล็กให้ค่อย ๆ ใหญ่ขึ้น และในระหว่างนั้นให้ศึกษาให้มากขึ้น ให้รู้จักการเพาะเห็ดฟางอย่างเพียงพอเสียก่อน ถ้ารู้ทั้งระบบก็จะทำให้ไม่ต้องลงทุนขนาดใหญ่ เงินไปจม มีการลงทุนแล้วก็เกิดการเสียหายที่ทำแล้วไม่คุ้มค่าในงานหลายอย่าง ซึ่งในอดีตเขาก็จะพูดกันว่าเป็น NPL เช่น มีตึก อาคาร โกดังที่ไม่ได้ใช้หรือสร้างไม่เสร็จ นั่นก็เป็น NPL คือทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่ควรที่จะให้มีการลงทุนทำโรงเพาะเห็ดแบบโรงเรือน แล้วภายหลังขาดทุนทำไม่ได้ ทิ้งเอาไว้เฉย ๆ ก็จะกลายเป็น NPL ของโรงเพาะเห็ดก็จะน่าเสียดาย
ควรที่จะศึกษาหาความรู้ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติให้เข้าใจแจ่มแจ้งเสียก่อน หาแหล่งข้อมูลตำรับตรามาอ่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และมีปัญหาติดขัดตรงไหนที่ยังไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อาจจะเข้าไปปรึกษาสอบถามกับผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ทั้งหลาย และทดลองปฏิบัติจากขนาดเล็ก ๆ เสียก่อน จนมั่นใจแล้วจึงค่อยลงทุน พยายามหาแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น หาง่าย สะดวกสบายในการขนย้าย และใกล้กับสถานที่เพาะให้มากที่สุด แต่ถ้าในท้องถิ่นของเราไม่มีวัสดุอุปกรณ์ที่สะดวกสบายตามที่ได้กล่าวไว้ แนะนำว่าไม่ควรทำการเพาะเห็ดจะทำให้ต้นทุนสูง ผลผลิตออกมาก็จะราคาแพง สู้กับคู่แข่งในท้องตลาดไม่ได้ ทำให้ขาดทุนได้ ถ้ามีการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะพบกับปัญหาหรืออุปสรรคอะไรก็ตาม ก็เชื่อแน่ว่า เราสามารถที่จะฝ่าข้ามไปได้อย่างแน่นอนครับ


มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ (www.thaigreenagro.com)



Create Date : 13 สิงหาคม 2552
Last Update : 13 สิงหาคม 2552 12:41:46 น. 8 comments
Counter : 1496 Pageviews.  

 
อยากเพาะเห็ดฟางมากค่ะ กำลัง ศึกษา ในเชิงทฤษฏื ค่ะ

โดยพื้นฐาน จบปริญญา ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มาอยู่แล้วค่ะ พอ จะเข้าใจวิธี การดำเนิน ชีวิตของเห็ด พอสมควร จากการ อ่าน เพิ่มเติม แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่เคยทำ เลยค่ะ แต่ก็จะทำ ตามที่คุณมนตรีได้แนะนำไว้ คือค่อยเป้นค่อยไป อ่ะค่ะ


โดย: กษิรา IP: 192.168.1.156, 125.26.177.175 วันที่: 2 กันยายน 2552 เวลา:13:49:37 น.  

 
อยากสอบถามเรื่อง แหล่งที่จำหน่ายเชื้อเห็ดที่ได้คุณภาพ อ่ะค่ะ





โดย: กษิรา IP: 192.168.1.156, 125.26.177.175 วันที่: 2 กันยายน 2552 เวลา:13:51:00 น.  

 
สามารถไปหาซื้อได้ที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ได้เลยนะครับ ทั้งเชื้อเห็ดฟาง และเชื้อเห็ดถุง (นาฟ้าง)


โดย: มนตรี IP: 58.8.154.180 วันที่: 7 กันยายน 2552 เวลา:14:54:51 น.  

 
อย่าทราบว่าเปิดสอนเพาะเห็ดหรือเปล่าคะ และจะไปเรียนที่ไหนได้บ้าง รบกวนช้วยตอบด้วนคะ


โดย: อ้อ IP: 118.175.209.52 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:32:58 น.  

 
ควรเริ่มต้นลงทุน ประมาณเท่าไหร่ดี ถึงจะไม่โตเกินตัว หรือว่าเล็กน้อยเกินไปไม่คุ้มเวลา


โดย: ก้อง IP: 117.47.27.3 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:23:00 น.  

 
แหล่งผลิตเชื้อเห็ดฟางที่มีคุณภาพและตราที่ใช้คือยี่ห้ออะไร


โดย: แต้ม IP: 125.26.30.120 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:31:16 น.  

 
ดีคับ ทักทายนะคับ แวะมาหาคความรู้น่ะคับ


โดย: www.24hotcasino.com IP: 110.164.155.247 วันที่: 6 ธันวาคม 2553 เวลา:10:19:57 น.  

 
เรื่องเห็ดฟาง ลองเข้าไปดูที่ //www.phetphichit.com หรือโทร.081-886-9920 ทุกวันที่ 9 ทุกเดือน 9.00-16.00 น.ที่1/3 ม.9 บ้านยางโทน ต.บ้านนา อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร 66140 และ มีบริการส่งเชื้อเห็ดฟางทางไปษณีย์ ติดต่อที่หน้าเว็บได้ครับ.


โดย: ฟาร์มเห็ดเพชรพิจิตร IP: 61.19.65.190 วันที่: 17 มีนาคม 2554 เวลา:19:04:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]