นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

เทคนิคการใช้ “ ไมโตฟากัส” กำจัดไรไข่ปลาในเห็ดขอนดำ แบบนพรัตน์ฟาร์มเห็

“นพรัตน์ฟาร์มเห็ด” บริหารงานโดยคุณธวัช นพรัตน์ อยู่บ้านเลขที่ 80 หมู่ 1 ตำบลป่าคาย อำเภอ ทองแสนชัน จังหวัด อุตรดิษถ์ 53230 เบอร์โทรศัพท์ 089-856-5065 เป็นเกษตรกรที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการเห็ดมาอย่างยาวนาน และได้ศึกษาวิธีการเพาะเห็ดมากมายหลายชนิด เช่น เห็ดหูหนู, เห็ดนางรม นางฟ้า, เห็ดรม เห็ดบด ฯลฯ แต่ความจัดจ้านชำนาญการจนโดดเด่นเห็นได้ชัดเจนก็คือ “เห็ดขอนดำ” ในกลุ่มผู้เพาะเห็ดด้วยกันก็จะมีเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ความรู้ซึ่งกันและกัน คอยให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จัดได้ว่าเป็นกลุ่มใหญ่อยู่พอสมควร เพราะ “นพรัตน์ฟาร์มเห็ด” นั้นได้ถูกจัดให้อยู่ในโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม” ของรัฐบาลอีกด้วย ซึ่งถือว่าโดดเด่นและมีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการเกษตรในการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารทางด้านเห็ดในชุมชนแก่ผู้ที่มีความสนใจในการเพาะเห็ด หรือการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษด้านต่างๆ เพราะนอกจากอาชีพเพาะเห็ดแล้วคุณธวัชยังทำนาข้าวควบคู่ไปด้วยช่วยกันหารายได้เพิ่มเข้ามาอีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันคุณธวัชยังคงทำการเพาะเห็ดขอนดำอยู่ โดยใช้ก้อนเชื้ออยู่ประมาณ 3,200 ก้อน ภายในโรงเรือนขนาดย่อมๆ ประมาณ 4.5 X 6 เมตร ไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป ทำการจัดเรียงหน้าก้อนในลักษณะรูปตัว A หลังจากที่หมักบ่มก้อนเชื้อจนได้ที่แล้ว (คือให้เส้นไยเดินจนเต็มก้อนประมาณ 25 – 30 วัน) จึงนำมาใส่ไว้ในโรงเรือนและเปิดหน้าก้อน หมั่นเฝ้าดูแลอุณหภูมิในช่วงนี้ให้อยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส เพื่อเลี้ยงดูทะนุถนอมเส้นไยให้เจริญเติบโตตามแบบและเทคนิคของคุณธวัชเอง โดยจะอยู่ที่ประมาณ 25 วันแล้วจึงจะมีผลผลิตรุ่นแรก แรกรุ่นออกมาให้ทำการเก็บเกี่ยว ถ้าปล่อยให้อุณภูมิสูงมากไปกว่านี้เส้นไยจะเดินเร็วเกินไป จะส่งผลทำให้หน้าก้อนเละมีผลเสียมากกว่าผลดี ผลผลิตก็น้อยกว่า คุณธวัชกล่าวไว้อย่างนั้น
หลังจากนั้นการดูแลรักษาอุณหภูมิในขณะที่มีดอกเห็ดจะอยู่ที่ 25 – 35 องศาเซลเซียส (ตามเทคนิคของคุณธวัชเอง) ผลผลิตที่ออกมาจะนับเป็นรุ่น ๆ ไป รุ่นหนึ่งก็จะเก็บได้ประมาณ 70 -80 กิโลกรัม ราคาเห็ดขอนดำหน้าฟาร์มที่คนซื้อมารับถึงที่อยู่ที่ 90 บาท แต่ถ้าพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อแล้วนำไปขายต่อจะอยู่ที่ 120 – 150 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นราคาที่ดีมากพอสมควร หลังจากเก็บเห็ดเบ็ดเสร็จในแต่ละรุ่นแล้ว ก็จะทำการพักหน้าก้อนนอนรอต่อไปอีก 5 - 7 วัน ระหว่างนี้ก็จะทำความสะอาดหน้าก้อน โดยใช้ปลายของด้ามช้อนล้วงแคะแกะเกาเอาเศษซากของเห็ดเก่าออกจนครบกำหนดจึงค่อยทำการกระตุ้นเส้นไยใหม่ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนอาหารหมดก้อน แล้วค่อยโละทิ้งและเปลี่ยนก้อนใหม่เข้าไปแทนที่ต่อไป

ปัญหาสารพันของเห็ดขอนดำก็เป็นเรื่องของเชื้อรา ที่ตั้งหน้าตั้งตาท้ารบกับผู้เพาะเห็ดทุกคน จนต้องทำให้คุณธวัชนำ บีเอสพลายแก้ว ตัวเก่งเข้ามาจัดการ ส่วนเรื่องหนอนแมลงหวี่ก็จะใช้ เชื้อบีทีชีวภาพ หมักขยายอัดฉีดเข้าไปเพื่อตัดวงจรของแมลงหวี่ และใช้แร่ธาตุกระตุ้นดอกเห็ดในการกระตุ้นเส้นไยภายในก้อนและบำรุงให้ดอกเห็ดให้อวบอ้วนสมบูรณ์ ในกระบวนการผลิตทั้งหมดส่วนใหญ่คุณธวัชจะจัดการดูแลได้สบายไม่มีปัญหา แต่ที่สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมากคือปัญหาเรื่อง “ไร” โดยเฉพาะ “ไรไข่ปลา” คุณธวัชแจ้งว่าจะพบตั้งแต่เริ่มเปิดหน้าก้อนครั้งแรกเลย ไม่ต้องรอรอบสองหรือรอบสามเหมือนที่ฟาร์มอื่นๆ เขาเจอกัน ของคุณธวัชนี้คือเปิดหน้าก้อนมาก็พบปัญหานี้เลย “ไรไข่ปลา” ( Luciaphorus sp. ) นั้นจะมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจะต้องใช้แว่นขยายมาส่องจึงจะมองเห็น โดยในสภาพธรรมชาติจะเป็นจุดเล็ก ๆ ขาวใส เมื่อแก่จะออกเหลืองกระจายอยู่เต็มไปหมดทั่วทั้งก้อน มีวงจรระยะไข่ ถึง ตัวแก่ สั้นมาก เพียงแค่ 4 – 5 วัน จะพบตัวเมียมากกว่าตัวผู้ถึง 4 เท่า โดยตัวเมียยังสามารถขยายพันธุ์ต่อด้วยการออกไข่และเป็นตัวได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์กับตัวผู้ ทำให้ไรเกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็วรุนแรง โดยเฉพาะในระยะที่กำลังสร้างเส้นไยหรือในช่วงที่เส้นไยกำลังเจริญเติบโตแผ่นขยายออกไป ตัวไรจะกัดกินเส้นไยจนฉีกขาดออกจากกัน จนเห็ดไม่ออกดอกเกิดความเสียหายมากมาย
ปัญหาจากไรอีกส่วนหนึ่งก็คือการสร้างความเดือดร้อนรำคาญ ปั่นป่วน ในกระบวนการผลิต เช่น ตัวไรที่โตเต็มวัยมักจะไต่ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในช่วงที่ต้องเข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรือน เช่นเมื่อถึงเวลาทำความสะอาด, ฉีดพ่นสมุนไพร หรือจุลินทรีย์ปราบเชื้อราต่างๆ หรือในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตก็ตาม ล้วนแต่ได้รับปัญหาจาก “ไร” ตลอดมา เมื่อคุณธวัชได้ทราบว่าชมรมเกษตรปลอดสารพิษมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดไรชื่อว่า “ไมโตฟากัส” จึงได้ทำการสอบถามข้อมูลและสั่งซื้อนำไปใช้ ทำให้ปัญหาดังกล่าวนั้นหมดสิ้นไป ในระยะปรกติก็ใช้วิธีการหมักขยายตามที่ได้อ่านจากฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือตามคำแนะนำที่นักวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้บอกไว้ แต่หลังจากใช้ไปได้ระยะหนึ่ง ก็ได้สังเกตุและอาศัยความรู้จากประสบการณ์ก็ห็นว่า การใช้ “ไมโตฟากัส” แบบหมักขยายจะให้ผลลัพธ์ที่ช้ากว่า จึงได้ทดลองใช้ “ไมโตฟากัส” 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเลยทันที ผลปรากฎหลังจากที่ฉีดพ่นไปในวันแรกแล้วทิ้งไว้ 1 คืน เช้าตื่นขึ้นมาดู ก็จะพบว่า ไรไข่ปลาจะฝ่อแห้งตายในทันที วิธีการดังกล่าวของคุณธวัช นพรัตน์ นั้นก็มิได้หวงแหนเก็บไว้ใช้คนเดียว ใครจะนำไปดัดแปลงต่อยอดก็ไม่มีปัญหา ถือว่าเป็นวิทยาทานแก่พี่น้องในวงการผู้เพาะเห็ด

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 09 ตุลาคม 2552
Last Update : 9 ตุลาคม 2552 15:20:01 น. 5 comments
Counter : 3282 Pageviews.  

 
อยากรู้ว่า สารไมโตฟากัส หาซื้อได้ที่ไหนคะ อยู่ราชบุรีค่ะ ไปถามหาตามร้านเคมีภัณฑ์ไม่มีใครรู้จัก ช่วยตอบหน่อยนะคะ ตอบทาง mail ก็ได้ค่ะ
f_asai2008@hotmail.com
ขอบคุณค่ะ


โดย: ฟ้าใส IP: 110.49.205.88 วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:15:44:33 น.  

 
ติดต่อซื้อกับชมรมเกษตรปลอดสารพิษหรือตัวแทนจำหน่ายครับ085-4127837


โดย: บัญชา ครูห้วยราช IP: 182.93.167.155 วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:13:20:20 น.  

 
สั่งซื้อที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ หรือร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่ายครับ ปัจจุบันผมใช้อยู่ได้ผลน่าพอใจครับ มีปัญหาหรือสงสัยเรื่องการใช้ก็โทรสอบถามตามเบอร์ของชมรมได้โดยตรงครับ(อยู่ฉลากผลิตภัณต์) หรือ085-4127837 ก็ยินดีครับ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับชมรมครับแต่อยากแชร์ประสบการณ์การเพาะเห็ด


โดย: บัญชา ครูห้วยราช IP: 182.93.167.155 วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:13:21:09 น.  

 
สนใจสินค้าตัวนี้ค่ะ ถ้าอย่างไรให้ตัวแทนโทรกลับหานภัสด้วยนะคะ 087-0435657 ด่วนค่ะ


โดย: นภัส IP: 118.174.95.185 วันที่: 9 ธันวาคม 2553 เวลา:1:00:01 น.  

 
อยากทราบว่าราคาเท่าไหร่คะ


โดย: koi IP: 118.172.241.163 วันที่: 5 กันยายน 2556 เวลา:18:10:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]