ถ้านี่หรือคือเรื่องยากของคนในยุคนี้ละก็งี่เง่าสิ้นดี
Group Blog
 
All Blogs
 

ผมจะไปไหว้พระได้ที่ไหน ? (บ้างครับ)

สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. สูจิมุขีสูตร
ว่าด้วยความแตกต่างการเลี้ยงชีวิตของสมณพราหมณ์
[๕๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้
พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกในพระนครราชคฤห์แล้ว อาศัยเชิง
ฝาแห่งหนึ่งฉันบิณฑบาตนั้น. ครั้งนั้น นางปริพาชิกาชื่อสูจิมุขี เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่
อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสมณะ ท่านก้มหน้าฉันหรือ? ท่านพระสารี-
*บุตรตอบว่า ดูกรน้องหญิง เรามิได้ก้มหน้าฉัน.
สู. ถ้าอย่างนั้น ท่านแหงนหน้าฉันหรือสมณะ?
สา. เรามิได้แหงนหน้าฉันหรอกน้องหญิง.
สู. ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือสมณะ?
สา. เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉันหรอกน้องหญิง.
สู. ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศน้อยฉันหรือสมณะ?
สา. เรามิได้มองดูทิศน้อยฉันหรอกน้องหญิง.
สู. ดิฉันถามว่า ดูกรสมณะ ท่านก้มหน้าฉันหรือ ท่านก็ตอบว่า เรามิได้ก้มหน้าฉัน
หรอกน้องหญิง ดิฉันถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านแหงนหน้าฉันหรือสมณะ ท่านก็ตอบว่า เรามิได้
แหงนหน้าฉันหรอกน้องหญิง ดิฉันถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดูทิศใหญ่ฉันหรือสมณะ
ท่านก็ตอบว่า เรามิได้มองดูทิศใหญ่ฉันหรอกน้องหญิง ดิฉันถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านมองดู
ทิศน้อยฉันหรือสมณะ ท่านก็ตอบว่า เรามิได้มองดูทิศน้อยฉันหรอกน้องหญิง ก็บัดนี้ ท่านฉัน
อย่างไรเล่าสมณะ?
สา. ดูกรน้องหญิง ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูพื้นที่ สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า ก้มหน้าฉัน. ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาดูดาวนักษัตรสมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า แหงนหน้าฉัน. ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยง
ชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุประกอบการรับส่งข่าวสาส์น สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า มองดูทิศใหญ่ฉัน. ดูกรน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชาคือ วิชาทายองค์อวัยวะ สมณพราหมณ์เหล่านี้เรียกว่า มองดูทิศน้อยฉัน. ดูกรน้องหญิง ส่วน
เรานั้นมิได้เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาตรวจพื้นที่ มิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพเหตุดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูดาวนักษัตร มิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุประกอบการรับส่งข่าวสาส์น มิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เหตุดิรัจฉานวิชา คือ วิชาทายองค์อวัยวะ (แต่)เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม ครั้นแล้วจึงฉัน.
ครั้งนั้น นางสูจิมุขีปริพาชิกาเข้าไปในนครราชคฤห์ จากถนนหนึ่งไปอีกถนนหนึ่ง จาก
ตรอกหนึ่งไปอีกตรอกหนึ่งแล้ว ประกาศอย่างนี้ว่า ท่านสมณศากยบุตรทั้งหลายย่อมฉันอาหาร
อันประกอบด้วยธรรม สมณศากยบุตรทั้งหลายย่อมฉันอาหารอันหาโทษมิได้. ขอเชิญท่านทั้งหลาย
ถวายบิณฑบาตแก่สมณศากยบุตรทั้งหลายเถิด.
----------------------------------------------------------------------------

ภิกษุเก๊

ภิกษุทั้งหลาย! ลาที่เดินตามฝูงโคไปข้างหลัง แม้มันจะร้องอยู่ว่า “กูก็เป็นโค กูก็เป็นโค” ดังนี้ ก็ตามที แต่สีของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เสียงของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่ เท้าของมันก็หาเป็นโคไปได้ไม่มันได้แต่เดินตามฝูงโคไปข้างหลัง แล้วร้องเอาเองว่า “กูก็เป็นโค กูก็เป็นโค” ดังนี้เท่านั้น ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุบางรูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือแม้จะเดินตามหมู่ภิกษุ (แท้) ไปข้างหลัง แม้ร้องประกาศอยู่ว่า “ข้าก็เป็นภิกษุข้าก็เป็นภิกษุ” ดังนี้ก็ตามที แต่ความปรารถนาในการประพฤติศีลสิกขาของเขา ไม่เหมือนของภิกษุ (แท้) ทั้งหลาย ความปรารถนาในการประพฤติจิตตสิกขาของเขา ไม่เหมือนของภิกษุ (แท้) ทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุ (แท้) ไปข้างหลัง แล้วร้องประกาศเอาเองว่า “ข้าก็เป็นภิกษุ! ข้าก็เป็นภิกษุ!” ดังนี้เท่านั้น

ภิกษุทั้งหลาย! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้ว่า “ความปรารถนาในการประพฤติศีลสิกขาของเราต้องเข้มงวดเสมอ ความปรารถนาในการ

ประพฤติจิตสิกขา ของเราต้องเข้มเสมอ ความปรารถนาในการประพฤติปัญญาสิกาของเราต้องเข้มงวดเสมอ” ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล.

(คัดจากบาลี พระพุทธภาษิต ติก.องฺ ๒๐/๒๙๔/๕๒๒ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย )
----------------------------------------------------------------------------
ภิกษุทั้งหลาย! มูลเหตุ ๘ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียสำหรับภิกษุ ผู้ยังไม่จบกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพานมูลเหตุ ๘ อย่างอะไรกันเล่า? ๘ อย่างนั้นคือ:-

ความเป็นผู้พอใจในการทำงานก่อสร้าง

ความเป็นผู้พอใจในการคุย

ความเป็นผู้พอใจในการนอน

ความเป็นผู้พอใจในการจับกลุ่มคลุกคลีกัน

ความเป็นผู้ไม่ควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการกิน

ความเป็นผู้พอใจในการกระทำเพื่อให้เกิดสัมผัส สนุกสบายทางกาย

ความเป็นผู้พอใจในการขยายกิจการงานต่าง ๆ ให้โยกโย้โอ้เอ้เนิ่นช้า

ภิกษุทั้งหลาย! มูลเหตุ ๘ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสีย สำหรับภิกษุผู้ยังไม่จบกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพาน
----------------------------------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายจงขับบุคคลนี้ออกไปเสีย จงนำบุคคลนี้ไปให้พ้น ลูกนอกคอก ช่างทำให้ลำบากใจเสียนี่กระไร

ภิกษุทั้งหลาย! นักบวชบางคน มีอาการเดิน การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้ขา การเหยียดมือเหยียดเท้า การทรงสังฆาฏิ ถือบาตรครองจีวร เหมือนพวกภิกษุที่ดีรูปอื่น ๆ ทั้งหลายชั่วเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นความผิดของเธอ เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นความผิดของเธอเข้า เมื่อนั้นเขาทั้งหลายก็รู้จักเธอได้ว่า “นี่เป็นสมณะอันตราย เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะขยะมูลฝอย” ดังนี้ ครั้นคนทั้งหลายรู้จักเธอว่าเป็นเช่นนั้นแล้ว เขาก็เนรเทศเธอออกไปนอกหมู่ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะคนทั้งหลายมีความประสงค์ว่า “อย่าให้คนชั่วทำลายพวกภิกษุที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย”

ภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเทียบเหมือนต้นข้าวผี ซึ่งออกรวงมีแต่เปลือกไม่มีเนื้อซึ่งบริโภคได้ เกิดขึ้นในนาข้าวเต็มไปหมดในฤดูทำนา รากของมัน ลำต้นของมัน ก็ดูเหมือน ๆ ต้นข้าวที่ดีที่แท้ทั้งหลายชั่วเวลาที่รวงยังไม่ออก เมื่อใดมันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบได้ว่า “นี่เป็นต้นข้าวผี ซึ่งมีแต่เปลือก ไม่มีเนื้อบริโภคได้” ดังนี้ ครั้นคนทั้งหลายทราบเช่นนี้แล้ว เขาก็ช่วยกันทั้งถอนพร้อมทั้งราก ทิ้งไปให้พ้นนาข้าว ข้อนั้นเพราะอะไร? เพราะคนทั้งหลายมีความประสงค์ว่า “อย่าให้ต้นข้าวผีทำลายต้นข้าวที่แท้ที่ดีอื่น ๆ เลย” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย! ฉันใดก็ฉันนั้น นักบวชบางคนในกรณีนี้ ฯลฯ เหมือนพวกภิกษุที่ดีรูป

อื่น ๆ ทั้งหลาย ชั่วเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นความผิดของเขา เมื่อใดภิกษุทั้งหลาย

เห็นความผิดของเขา เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นความผิดของเขาเข้า เมื่อนั้นคนทั้งหลาย

ก็รู้จักเขาได้ว่า “นี่เป็นสมณะอันตราย เป็นสมณะแกลบเป็นสมณะขยะมูลฝอย” ดังนี้ ครั้นคนทั้งหลายรู้จักเขาว่าเป็นเช่นนั้นแล้ว คนก็เนรเทศเขาออกไปนอกหมู่ ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร? เพราะคนทั้งหลายมีความประสงค์ว่า “อย่าให้คนชั่วทำลายพวกภิกษุที่ดีอื่น ๆ ทั้งหลายเลย” ดังนี้

“เพราะอยู่ร่วมกัน จึงรู้จักกันได้ว่า คนนี้มีความปรารถนาลามกมักโกรธ มักลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ ตีตนเสมอท่าน มีความริษยา มีความตระหนี่ และโอ้อวด”

ในท่ามกลางชน เขาเป็นคนมีวาจาหวานปานสมณะที่ดีพูด แต่ในที่ลับคน ย่อมทำสิ่งที่คนชั่วทำ มีความเห็นต่ำทราม ไม่ทำตามระเบียบวินัย พูดจาปลิ้นปล้อนโป้ปด เขาทำกันทุกอย่าง ทุกคนพึงร่วมมือกันกำจัดเขาออกไปเสีย ทุกคนพึงช่วยกันถอนบุคคลที่เป็นดุจต้นข้าวผีนั้นทิ้ง พึงช่วยกันคัดเอาคนที่มิใช่สมณะ แต่ยังอวดอ้างตนว่าเป็นสมณะออกทิ้งเสีย ดุจชาวนาโรยข้าวเปลือกงามกลางลม เพื่อคัดเอาข้าวลีบออกทิ้งเสีย ฉันนั้น

อนึ่ง คนเราเมื่อมีการอยู่ร่วมกันกับคนที่สะอาดหรือไม่สะอาดก็ตาม ต้องมีสติกำกับอยู่ด้วยเสมอ ครั้นแล้วพึงสามัคคีต่อกัน จงมีปัญญากำจัดทุกข์ของตนเถิด
----------------------------------------------------------------------------
พระพุทธองค์ ตรัสไว้เพื่อเป็นหลัก ให้เราได้พิจารณา ภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์ นอกเหนือจากที่พระองค์ตรัสข้าพเจ้าอนุมานเอาว่ามิใช่ภิกษุ
ประสาอะไรกับ การปลุกไอ้นี่เสกไอ้นั้นกับโครมๆ แล้วเอามาขาย ทำกันจนมันกลายเป็นความปกติของศาสนาพุทธแบบไทยๆ โลกเป็นไปได้มากมายขนาดนี้ แต่ทุกคนก็ยังคิดแต่เรื่องกินเรื่องอยาก อย่าโทษใครเลย ถ้าเราจะยิ่งมีชีวิตที่ลำบากขึ้นเรื่อยๆ

เราทำตามศรัทธาเป็นผลดีกับเราที่สุด แต่เราก็ได้รู้จักธรรมะด้วยการฟังจากภิกษุ อีกอย่างภิกษุในอริยะตระกูลเท่านั้นที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นเหตุเป็นผลที่ถูกต้องตามความจริง ถ้าไม่มีภิกษุปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ ใครล่ะจะบอกเราได้ว่าผลเป็นอย่างไร เราไม่เป็นห่วงลูกหลานเราบ้างเหรอที่เค้าจะต้องเติบโตมา อย่างที่ไม่รู้ว่าอะไรหนอเป็นทุกข์ นอนในกองทุกข์ ก็ยังบอกว่าสบายได้
และแน่นอนเราย่อมได้ชื่อว่าเห็นแก่ตัว




 

Create Date : 18 มกราคม 2552    
Last Update : 22 เมษายน 2552 11:12:47 น.
Counter : 474 Pageviews.  

เอกาทสกนิบาต---สุขสูตร(ที่ ๒)

อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต



สุขสูตร(ที่ ๒)
[๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้ง
นั้นแล ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกาณิ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร
ในธรรมวินัยนี้ อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ฯ
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดี
แลเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความ
ไม่ยินดี เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ คือ บุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้เดินอยู่ ก็ไม่
ประสบความสุขความสำราญ บุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ ... แม้
นอนอยู่... แม้อยู่ในบ้าน... แม้อยู่ในป่า... แม้อยู่ที่โคนไม้... แม้อยู่ในเรือนว่าง
เปล่า... แม้อยู่ในที่แจ้ง... แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมไม่ประสบความสุข
ความสำราญ ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดีก็เป็นอันหวังได้ความทุกข์นี้ ดูกร
ผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้ คือ บุคคลผู้มีความยินดีแม้
นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ... แม้อยู่ในบ้าน ... แม้อยู่ในป่า ... แม้อยู่
ที่โคนไม้... แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า... แม้อยู่ในที่แจ้ง... แม้อยู่ในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็
เป็นอันหวังได้ความสุขนี้ ฯ
.................................................................................................
ช่วงแรกของปีใหม่ จะเป็นช่วงเวลาที่ ผู้คนส่งความสุขถึงกัน และความสุขเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเราไม่สร้างมัน เช่น ถ้าเราหิว สิ่งเดียวที่จะบรรเทาความหิวได้คือการหาอะไรใส่ท้อง การไปเล่นน้ำทะเลหรือการร้องเพลงคงช่วยให้เราหายหิวไม่ได้ ความสุขก็เช่นเดียว ต่อให้อยู่ในปราสาท ราชวังก็หาความสุขไม่ได้ถ้าเราไม่ยินดี กลับจะคิดว่าเราโดนกักขังอยู่ซะด้วยซ้ำ คำตอบของพระสารีบุตรครอบคลุมความหมายของคำว่าความสุขทั้งหมด และผมก็ไม่เคยฟังอะไรอย่างนี้.




 

Create Date : 17 มกราคม 2552    
Last Update : 17 มกราคม 2552 10:59:12 น.
Counter : 294 Pageviews.  


greengazebo
Location :
ประจวบคีรีขันธ์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add greengazebo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.