ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ?
ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ?

แม้ว่าภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ จะมีอาการคล้ายคลึงกับ การเป็นลมหมดสติ แต่ภาวะนี้ กลับมีความรุนแรงมากกว่า และสามารถ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุการเกิด อาการที่บ่งบอกถึง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และ วิธีป้องกันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำ...


 

หากเราเคยไปเดินเขา เดินป่า หรืออยู่บนตึกสูง ๆ แล้วรู้สึกหายใจลำบาก มีอาการปวดศีรษะ อาเจียน หรือ หัวใจเต้นถี่เร็วผิดปกติ รู้หรือไม่ว่า อาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณของ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือภาวะพร่องออกซิเจน จากการมี ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะไม่แสดงอาการ หากปล่อยไว้ โดยไม่หาแนวทางป้องกัน อาจจะเกิดอันตรายถึงชีวิตก็เป็นได้ เรามาหาทางป้องกัน และ เรียนรู้กับภาวะออกซิเจนพร่องนี้กัน

ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไรภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร
สืบเนื่องจากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ เกิดจากร่างกาย มีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (Hypoxemia) จนทำให้เลือด ไม่สามารถนำออกซิเจน ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ส่งผลให้การทำงานของ ระบบร่างกายและสมองบกพร่อง และ แสดงอาการผิดปกติออกมา เช่น ผิวหนังเขียวซีด เหงื่อออกมาก หายใจผิดปกติ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เป็นต้น หากระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลงมาก น้อยกว่าร้อยละ 90 จนอวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สาเหตุที่ส่งผลต่อ ออกซิเจนในเลือดต่ำ

สาเหตุที่ส่งผลต่อ ออกซิเจนในเลือดต่ำ
1. รับออกซิเจนน้อยเกินไป (Hypoxic Hypoxia)
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ที่เกิดจากการที่ร่างกายเรา ได้รับออกซิเจนน้อยเกินไป (Hypoxic Hypoxia) ความกดดันของออกซิเจน ในถุงลมปอดลดลง มักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง ความกดอากาศที่ลดลง จนทำให้ ออกซิเจนในอากาศเบาบางลง กว่าระดับพื้นราบ
ปริมาณออกซิเจน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ระหว่างปอดกับ กระแสเลือดลดลง มักเกิดในภาวะที่ ผู้ที่มีอาการปอดแฟบ มีลมในช่องปอด เป็นต้น ออกซิเจนจึงไม่สามารถซึมผ่าน จากถุงลมปอด ไปสู่กระแสเลือดได้สะดวก มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดบวม จมน้ำ เป็นต้น


2. สภาวะของเลือด (Hypemic Hypoxia)
เกิดจากเลือด (Hypemic Hypoxia) ที่ส่งผลให้เกิด ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ มีสาเหตุจากความบกพร่อง ในการนำออกซิเจน ไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคโลหิตจาง เกิดการเสียเลือดมาก ร่างกายได้รับยา สารพิษ หรือ ยาเสพติดบางอย่าง ความผิดปกติของเฮโมโกลบิน เป็นต้น


3. การคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia)
สาเหตุจาก การคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) มีผลต่อ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำได้ อันเกิดจาก ความบกพร่อง ในการไหลเวียนของเลือด เช่น แรงดันเลือด จากหัวใจลดลง จากการเป็น โรคหัวใจล้มเหลว


4. ภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia)
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งมีสาเหตุจาก ภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) จากการได้รับสารพิษ เข้ากระแสเลือด เช่น แอลกอฮอล์ ควันพิษ ไซยาไนต์ เป็นต้น ผลคือ ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่สามารถ นำออกซิเจนไปใช้ได้ โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • Mild Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
  • Moderate Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
  • Severe Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท
เช็กอาการ & ความเสี่ยง ออกซิเจนในเลือดต่ำ

เช็กอาการ & ความเสี่ยง ออกซิเจนในเลือดต่ำ
อาการและความรุนแรงของ ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ยังขึ้นอยู่กับ ปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น สถานที่ ระยะเวลา อายุ โรคประจำตัว เป็นต้น โดยอาการที่บ่งบอกถึง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ มีดังนี้

  • ผิวหนังซีด หรือ เป็นสีเขียวคล้ำ
  • คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • วิงเวียน หรือ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • มือเท้าชา
  • มีเหงื่อออกมาก
  • หายใจลำบาก
  • รู้สึกกระสับกระส่าย
  • ตาพร่ามัว มึนงง
  • รู้สึกวูบวาบตามตัว ร้อน ๆ หนาว ๆ
วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ช่วยอะไรได้บ้าง ?วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ช่วยอะไรได้บ้าง ?
นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการ การรู้สึกตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก และ หากปล่อยไว้ก็อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ และ ร้ายแรงถึงขั้นเข้าสู่ ภาวะโคม่า และอาจเสียชีวิตได้ นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ยังมีผู้ป่วยบางราย ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่เราสามารถตรวจสอบได้ โดยการใช้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อตรวจสอบ ระดับออกซิเจนในเลือด หากพบว่า มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 90% ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาในทันที

วิธีป้องกัน ภาวะพร่องออกซิเจนวิธีป้องกัน ภาวะพร่องออกซิเจน
นอนหนุนหมอนสูง เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือ การรับควันบุหรี่
ดื่มน้ำเปล่า ให้เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ออกกำลังกายเป็นประจำ

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรหมั่น ตรวจระดับออกซิเจนในเลือดด้วย เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด เป็นประจำ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเด็กเล็ก ควรหลีกเลี่ยง การอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือ พื้นที่ที่อากาศเบาบาง เป็นเวลานาน

เป็นลมหมดสติ & ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ?

เป็นลมหมดสติ & ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ?
แม้ว่าภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ จะมีอาการคล้ายคลึงกับ การเป็นลมหมดสติ แต่ภาวะนี้ กลับมีความรุนแรงมากกว่า และสามารถ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุการเกิด อาการที่บ่งบอกถึง ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และ วิธีป้องกันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำข้อมูลเหล่านี้ ไปแชร์และ ใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้ขึ้น โดยเฉพาะใน กลุ่มเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ

Cr.แอลโคเทค,สิรินาถ เรืองเผ่าพันธ,Allwell Life,เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว,




Create Date : 03 ตุลาคม 2566
Last Update : 3 ตุลาคม 2566 15:19:48 น.
Counter : 65 Pageviews.

0 comment
เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดมวลไขมัน มวลน้ำ มวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก ดัชนีมวลกาย



Create Date : 24 กรกฎาคม 2562
Last Update : 24 กรกฎาคม 2562 10:13:11 น.
Counter : 435 Pageviews.

0 comment
ดืมน้ำขนาดไหน ถึงจะเหมาะกับวัยอย่างเรา ๆๆ
ดืมน้ำขนาดไหน ถึงจะเหมาะสม



Create Date : 22 กรกฎาคม 2562
Last Update : 22 กรกฎาคม 2562 17:00:51 น.
Counter : 354 Pageviews.

0 comment
หมั่นคอยดูแล Head Heart Health
3H
หมั่นคอยดูแล Head Heart Health


ทุกวันนี้ที่เรานั่งทำงาน มี 3 สิ่งที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เรามีพลัง และทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ
 
-Head คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หาอาหารดีๆให้สมอง หัดพาสมองมองในมุมบวก และฝึกสมองให้อยู่ในสภาวะผ่อนคลายให้เป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภายในการคิด เช่น ฝึกนั่งสมาธิ
-Heart = ใจ, กำลังใจ เป็นสิ่งที่อยากทำให้ลุกขึ้นมาทำงาน เราต้อง "หมั่นคอยดูแล รักษาดวงใจ" รักและให้กำลังใจตัวเองให้เป็น เพราะทุกๆวันสามารถมีเรื่องมากระทบจิตใจเราได้มากมาย 
หา exit ของตังเองให้ได้ ในวันที่ไม่โอเค สิ่งทำให้เรารู้สึกดีขึ้นเพื่อเดินต่อคืออะไร เรียนรู้ตัวเองว่าอะไรที่ทำแล้วรู้สึกหัวใจพองโต เมื่อรู้จักดูแลหัวใจ แม้มีเรื่องอะไรเข้ามา เราก็จะผ่านพ้นไปด้วยดี
-Health = ร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงาน ไม่มีใครทำงานได้ดีในร่างกายที่ป่วย สิ่งที่ดีที่สุดในการดูแลร่างกาย คือการออกกำลังกาย เพราะร่างกายจะมีความแข็งแรงขึ้น และจะทำให้ร่างกายหลั่งสารความสุข เช่น เอนโดฟิน โดปามิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้รู้สึกดีขึ้น ความเครียดก็จะลดลง เป็นยาคลายเครียดแบบธรรมชาติ

Cr.Cr.Coach Chom



Create Date : 22 กรกฎาคม 2562
Last Update : 24 กรกฎาคม 2562 10:24:13 น.
Counter : 267 Pageviews.

0 comment
ออกซิเจนบำบัด

ออกซิเจนบำบัด
ออกซิเจนบำบัด


โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น ไม่ได้มีแค่ออกซิเจนเพียงอย่างเดียว แต่ประกอบด้วยไนโตรเจน ประมาณ 79% และออกซิเจน ประมาณ 21% รวมทั้งฝุ่นละอองที่ไม่พึงปรารถนา ซึ่งสภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบายจะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5-23.5% ปกติก็เพียงพอสำหรับออกซิเจนในร่างกาย แต่ ณ ตอนนี้ สภาวะฝุ่นพิษหรือฝุ่นละอองที่มีค่า PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานที่กำหนด ปกคลุมทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลทุกวันนี้ จึงควรงดสูดออกซิเจนในอากาศในทีสาธารณะ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง pm 2.5 ที่อาจก่อให้เกิดขึ้นต่อร่างกาย ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม


ภาวะพร่องออกซิเจน เกิดจากอะไร
ภาวะพร่องออกซิเจน มักเกิดจากการขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น บนยอดเขา การขึ้นบินบนเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งความกดบรรยากาศลดลง มีออกซิเจนเบาบาง ดังนั้นเมื่อหายใจเข้าไปในแต่ละครั้งจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าเมื่ออยู่ที่ระดับพื้นดิน ภาวะพร่องออกซิเจน ซึ่งเกิดจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่งผลให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง


ออกซิเจนบำบัด
ออกซิเจนบำบัดจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องประสบภาวะระดับออกซิเจนต่ำ ในรายที่มีความจำเป็นต้องใช้ ออกซิเจนบำบัดจะช่วยลดอาการที่เกิดจากการขาดออกซิเจนและช่วยให้บุคคลเหล่านั้นทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น นอกจากนั้นได้รับออกซิเจนเสริม ยังทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและยังช่วยยืดอายุขัยให้ผู้ป่วยจำนวนมาก ออกซิเจนบำบัดช่วยลดอาการที่มาจากภาวะพร่องออกซิเจน เช่น ปวดศีรษะ อ่อนล้า หายใจตื้น หงุดหงิด กระวนกระวาย ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาเด็กที่มีภาวะทางปอดเรื้อรัง


วิธีการตรวจปริมาณออกซิเจนในเลือด
แพทย์ตรวจปริมาณออกซิเจนในหลอดเลือดแดง วัดชีพจร เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยมีระดับของออกซิเจนในเลือดต่ําควรจะได้รับประโยชน์จากการบำบัดรักษาด้วยออกซิเจนหรือไม่ รวมไปถึงการใช้ เครื่องวัดออกซิเจน ในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจและวัดชีพจร ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ช่วยวัดระดับของออกซิเจนในเลือดได้ โดยระดับของออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงปกติจะอยู่ระหว่าง 75-100 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งหากพบว่ามีระดับออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 60 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่า แสดงว่าบุคคลดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนเสริมหรือออกซิเจนบำบัด


การรักษา ภาวะพร่องออกซิเจน
เมื่อเกิดภาวะพร่องออกซิเจนนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการวัด อัตราการเต้นของหัวใจ วัดชีพจร แล้วให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก หรือสายทางจมูก เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลาย ทั้งนี้จะเป็นการให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอรักษาระดับออกซิเจนในเลือด อย่างไรก็ตาม การได้รับออกซิเจนปริมาณมากเกินไปสร้างความเสียหายให้แก่เซลล์ในปอดได้ โดยระดับของออกซิเจนในเลือดควรไม่เกิน 110 มิลลิเมตรปรอท


ออกซิเจนบำบัด เหมาะกับใครบ้าง
ออกซิเจนบำบัด (Oxygen Therapy) เป็นวิธีที่นำมาใช้เพิ่มปริมาณออกซิเจนในปอดและกระแสเลือด สำหรับผู้ป่วยที่พบสัญญาณของเซลล์ในร่างกายบ่งชี้ว่าร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอหรือภาวะขาดออกซิเจนที่วัดได้จาก เครื่องวัดออกซิเจน  วัดออกซิเจนในเลือด (SpO2) น้อยกว่าค่าปกติ โดยผู้ป่วยที่มีระดับของออกซิเจนในเลือดต่ําเหล่านี้ อาจมีสาเหตุจากโรคต่าง ๆ เช่น ปอดบวม มะเร็งปอด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และกลุ่มอาการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์ให้ออกซิเจนบำบัดได้ทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน


Cr.พบแพทย์,Kapook,




Create Date : 03 เมษายน 2562
Last Update : 6 กันยายน 2562 22:51:32 น.
Counter : 175 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

สมาชิกหมายเลข 2905918
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Good Idea, More choice, Best selection.