Fusionista: Live Your Life Worthwhile
พืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร

มะเขือยาว
ลำต้นและราก : ใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิดเรื้อรัง บิดอุจจาระเป็นเลือดหรือใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาหรือล้างบริเวณที่เป็นแผลที่ถูกความเย็น แผลเท้าเปื่อยอักเสบ เป็นต้น
ใบ : ใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงละเอียดกินประมาณ 6-10 กรัม เป็นยาแก้โรคบิดอุจจาระเป็นโลหิต แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดในลำไส้ ใช้ภายนอกนำเอามาต้มเอาน้ำใช้ล้างแผลหรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนอง และแผลที่เกิดเนื่องจากถูกความเย็น
ดอก : ใช้ดอกสดหรือดอกแห้งนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผงละเอียด ใช้บริเวณที่ปวดเป็นยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ และบริเวณแผลที่มีหนอง เป็นต้น
ผล : ใช้ผลแห้ง นำมาทำเป็นยาเม็ด กินเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ อุจจาระเป็นโลหิต หรือใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบที่มีหนอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน เป็นต้น
ขั้วผล : ใช้ขั้วผลที่แห้ง ประมาณ 60-90 กรัม นำมาต้มหรือเผาให้เป็นเถ้าบดให้ละเอียดกิน เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ อุจจาระเป็นโลหิตหรือใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลบวมมีหนอง แผลในปาก ปวดฟัน หรือเป็นฝี เป็นต้น
Tips
1. สำหรับผู้หญิงหัวนมแตกเจ็บ ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้งแล้วนำไปเผาให้เป็นเถ้า จากนั้นก็บดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ
2. แผลที่เกิดจากพยาธิปากขอ เจาะไชเท้าให้ใช้ใบนำไปต้มเอาน้ำล้างบริเวณแผล
3. เป็นฝีหลายหัวบริเวณที่หลังหนองยังไม่แตก ให้ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ นำมาต้มแล้วพอกในบริเวณที่เป็น
4. เป็นปื้นขาวหรือแดงบริเวณบนผิวหนัง ให้ใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้เป็นผงละเอียดใช้ทาบริเวณที่เป็น
5. สำหรับเด็กที่เป็นวัณโรค อาเจียนเป็นโลหิต ไอ ท้องเสีย อาการที่พึ่งเป็น หรืออาการที่ยังไม่รุนแรงให้ใช้หนอนลำต้นมะเขือเทศ (ต้นที่ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง) นำมาผสมกับอาหารให้เด็กรับประทาน



Create Date : 11 กรกฎาคม 2555
Last Update : 11 กรกฎาคม 2555 23:41:10 น. 14 comments
Counter : 1033 Pageviews.

 
ชะอม
คุณค่าทางอาหารของชะอม
ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัมให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของชะอม
ส่วนที่เป็นผักฤดูกาล "ยอดอ่อนใบอ่อน" เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทย วิธีการปรุงเป็นอาหารคือรับประทานเป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้น ๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกับ ส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ นอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชน ชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลา ไก่ เนื้อ กบ เขียด ต้มเป็นอ่อมหรือแกง แกงลาว และ แกงแค ของชาวเหนือเป็นต้น
สรรพคุณของชะอม
ใบอ่อนที่เรามักนำมาประกอบอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอมเพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง
- ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำใส
- แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:34:18 น.  

 
ถั่วพู
ประโยชน์ของถั่วพู
การกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมากทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้วหัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลืองนำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย
คุณค่าทางอาหารของถั่วพู
ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม
สรรพคุณของถั่วพู
- หัวใช้บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:35:05 น.  

 
ผักบุ้ง
ประโยชน์ของผักบุ้ง รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ : รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
ประโยชน์ทางอาหาร ผักบุ้งเป็นพืชออกยอดตลอดปีและมีมากในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหารคนไทยทุกภาครับประทานผักบุ้งมีการปลูกและการจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายในทุกฤดูกาล ผักบุ้งเป็นผักที่ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิดนับตั้งแต่รับประทานยอดอ่อนเป็นผักสดหรืออาจนึ่ง ลวก และราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลบก้อยยำและนำยอดอ่อนและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดจืดใส่หมูปลาไก่ หรือผัดกับน้ำพริกและหมู นอกจากนี้ยังนำไปทำแกง เช่น แกงส้มแกงคั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดองและนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดองหรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำพริกเป็นต้น
สรรพคุณของผักบุ้ง
สรรพคุณทางยา ผักบุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้งโดยเฉพาะผักบุ้งแดงคนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้นจะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะอาหาร


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:37:20 น.  

 
ผักชี
ประโยชน์ของผักชี
ต้น ช่วยเป็นยาละลายเสมหะ แก้หัดหรือผื่น ขับเหงื่อขับลม ท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการนำเอาต้นที่แห้งประมาณ 10-15 กรัม หรือเอาต้นสด ๆ 60-150 กรัมนำไปต้มกับน้ำ หรือคั้นเอาเฉพาะน้ำและดื่ม ถ้าใช้ภายนอกให้ตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้าง
ผล ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร แก้หัด แก้บิด ริดสีดวงทวาร โดยการนำเอาผลแห้งบดเป็นผงทานหรือต้มกับน้ำ แต่ถ้าใช้ภายนอกให้เอาไปต้ม นอกจากนี้ยังดับกลิ่นคาวและและเนื้อ
1. โรคริดสีดวงทวาร ให้นำผลไปคั่วแล้วบดทานผสมกับเหล้า วันละ 3-5 ครั้ง
2. บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชาตำให้เป็นผง ผสมน้ำตาลทรายทาน
3. ปวดท้อง หรือท้องอืดท้องเฟ้อ ให้ใช้ผลสัก 2 ช้อนชาต้มผสมกับน้ำทาน
4. เป็นหัดหรือผื่นแดงที่ยังออกไม่ทั่วตัว ซึ่งผลนี้จะช่วยขับออกมา โดยใช้ผลแห้ง 120 กรัมใส่หม้อดินเผาหรือหม้อเคลือบมีน้ำเต็ม ต้มให้เดือดแล้วน้ำเอาไอรมให้ทั่วห้องแล้วผื่นก็จะออกมาเอง
5. เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง (Erysipelas) ให้ใช้ผักชีตำพอก
6. ปากเจ็บ คอเจ็บ ปวดฟัน นำเอาเมล็ดมาต้มกับน้ำประมาณ 5 ส่วนแล้วต้มให้เหลือ 1 ส่วนเอาน้ำอมบ้วนปาก
ข้อควรระวัง
อย่าทานมากจนเกินไป เพราะจะทำให้กลิ่นตัวแรง และตาลาย ลืมง่าย


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:37:45 น.  

 
ดอกชมจันทร์
ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืน และกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ผลการการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่าเป็นผักที่ไขมันต่ำมากและมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:38:05 น.  

 
ผักเสี้ยน สมุนไพรแก้เลือดออกตามไรฟัน
ชื่ออื่น ผักเสี้ยน ผักเสี้ยนขาว (ภาคกลาง) ผักส้มเส้ยน (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
เป็นไม้ล้มลุก อายุไม่เกิน1 ปี สูงไม่เกิน 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง ใบ
แตกเป็นช่อ ช่อละไม่เกิน 5 ใบ ใบย่อยรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคน
ใบสอบ ขอบใบหยักเป็นซี่ละเอียด ใบนุ่ม ดอก ออกเรียวไปตามปลายกิ่ง
ผล รูปทรงกระบอก ปลายบนล่างจะแหลม เมล็ดกลมแบน สีออกน้ำตาล
อมดำ ผิวเมล็ดย่น
ส่วนที่ใช้ทำยาสมุนไพร ใช้ทั้งต้น ราก ใบ ดอก เมล็ด
สรรพคุณยาสมุนไพร
ใช้ทั้งต้นรักษาบรรเทาอาการพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาอาการโลหิต ระดูเน่าเสีย ใช้เป็นยาขับฝีหนอง รากใช้เป็นยากระตุ้น แก้เลือดออกตามไรฟัน ต้มรับประทานลตไข้ เป็นยาบำรุง สำหรับสตรีที่
ร่างกายผอมแห้ง ไม่สมบูรณ์ ใบแก้ปัสสาวะพิการ ขับเสมหะ ถูนวดบรรเทาอาการปวดเมือย พอกแก้ไขข้ออักเสบ เริม งูสวัด นาคั้นผสมน้ำมันหยอดหูบรรเทาอาการปวด ดอกให้ฆ่าเชื้อโรค เมล็ดมีฤทธึ้ขับพยาธิผสมน้ำมันชะโลมศีรษะฆ่าเหา หรือบดชงดื่มขับเสมหะ ใบและเมล็ดช่วยทำให้ อาเจียน


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:38:30 น.  

 
มะเฟือง
ใช้เป็นเครื่องเคียงอาหารรับประทานสดๆ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ คุณค่าทางอาหารของมะเฟืองอุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและพลังงาน
ผลมะเฟือง : ให้วิตามินเอ และวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม
ใบและราก : ปรุงรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ใช้ใบต้มน้ำอาบแก้ตุ่มคัน
ผล : ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ใช้สระบำรุงเส้นผม และขจัดรังแค, ยอด : มะเฟือง+รากมะพร้าว ต้มผสม แก้ไข้หวัดใหญ่
แก่นและราก : ต้มกินแก้ท้องร่วง แก้เจ็บเส้นเอ็น
ในมะเฟืองหนึ่งผลนั้น สามารถที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง ควบคุมการเต้นของหัวใจให้สม่ำเสมอ ควบคุมกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดแข็งตัวง่าย กล่อมประสาท ช่วยระงับความฟุ้งซ่าน จึงช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ในผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ ส่วนน้ำมะเฟืองคั้นนั้น ตำรายาโบราณกล่าวว่า มีสรรพคุณในการแก้ร้อนในดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกาย ถอนพิษไข้ก็ได้ เป็นยาขับเสมหะป้องกันโรคโลหิตจาง โรคเลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งยังช่วยขับปัสสาวะ และบรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:40:09 น.  

 
ผักชีล้อม
ชื่ออื่นๆ ผักอันอ้อ ผักผันอ้อ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนละตัวกับผักชีลาว หรือ หอมแย้ บางทางถิ่นมีชื่อเรียกกันสับสนกันไปหมด บางทีเป็นผักชีฝรั่ง ยี่หร่า อีแยะ หอมไร่ ซึ่งจริงๆเป็นคนละตัวกับผักชีล้อม
ชื่อสามัญ Water dropwort
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oenanthe StoloniferaDC วงศ์ APIA CEAE
เป็นพืชล้มลุกเลื้อย อายุหลายฤดู ทุกส่วนของลำต้นกลวง อวบน้ำ ใบเป็นใบประกอบใบย่อยคล้ายผักชีแต่ใหญ่กว่าคลายรูปหอก ขอบใบหยักฟันเลื่อยหยาบๆ ดอกสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบรวม มีก้านชูดอกยาว ผลแห้งแตกรูปไข่ ทุกส่วนนั้นมีกลิ่นหอมฉุน รสร้อนแรง
ชอบขึ้นในที่น้ำท่วม หรือขึ้นในน้ำ หรือที่ชื้นแฉะ ส่วนลำต้นและใบขึ้นเหนือพ้นน้ำถ้าขึ้นบริเวณน้ำ
ประโยชน์ทางด้านอาหาร ต้นอ่อน ยอดอ่อน ดอก เมล็ด ใช้รับประทาน เป็นผักเคียงลู่ ลาบ ยำ ส้มตำ น้ำพริก หรือ ใช้ในการปรุงรส เป็นเครื่องเทศ ทำซุป ต้ม ตุ๋นหรือตกแต่งโรยบนอาหารเช่นเดียวกับผักชี
สรรพคุณทางยาตามตำรายาไทย ทั้งต้น ใช้แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เป็นส่วนผสมตำรับยาอาบ-อบสมุนไพร รักษาโรค เหน็บชา และ ขับเหงื่อ


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:43:00 น.  

 
มะเขือเปราะ
คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
- ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด
- บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือเปราะมีสรรพคุณคล้ายกับอินซูลินลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเบาหวานที่มีมะเขือเปราะเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน
- ช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ
- ช่วยให้ระบบย่อยและระบบขับถ่ายทำงานดี
- มีประโยชน์ต่อตับอ่อน ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้มีประสิทธิภาพ
สรรพคุณของมะเขือเปราะ
- มะเขือเปราะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดฆ่าเชื้อแบคทีเรียและขับปัสสาวะ
- การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
- ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ ประชากรในแคว้นโอริสสาของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน งานวิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่า ผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
- ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามาร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่
- พบว่าฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว
- สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้ ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
- งานวิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:43:40 น.  

 
มะเขือพวง
นักวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้วิจัยเรื่องสรรพคุณ วิเศษของมะเขือพวง ผักพื้นบ้านของไทย และพบว่า เป็นพืชที่มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจาก มีฤทธิ์ช่วยลดอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวาน มีเส้นใยที่ช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินได้ดีเยี่ยม เรียกว่า เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักวิจัยและคนไทยทั่วไป เนื่องจาก มะเขือพวง เป็นพืชคู่ครัวคนไทยมาช้านาน ไม่ว่าเราจะกินแกงเขียวหวาน แกงเนื้อ แกงป่า น้ำพริกากะปิ หรือผัดเผ็ดบางชนิด สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ "มะเขือพวง" แสดงให้เห็นว่า ตำหรับอาหารที่สืบทอดมาแต่โบราณ บรรพบุรุษของเรา มิได้คำนึงถึงรสชาติเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองไปถึงสรรพคุณของพืชผัก แต่ละชนิดเป็นส่วนสำคัญอีกด้วย
มะเขือพวง มีสรรพคุณตามตำราแพทย์แผนโบราณหลายประการ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยให้โลหิตหมุนเวียนได้ดี แก้ปวด ฟกซ้ำ ปวดกระเพาะ แก้อาการฝีบวมหนอง อาการบวม อักเสบ ขับปัสสาวะ ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัย ทำให้พบว่า
1.มะเขือพวงมีสารจำพวก "ไฟโตนิวเทียนท์" ที่จะช่วยร่างกาย ในสภาวะขาดสารอาหาร ให้สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ
2.มีกลุ่มสาร "ทอร์โวไซด์" ซึ่งช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ และกระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้ได้มากขึ้น รวมทั้งยับยั้งการดูดซึมกลับของโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย จึงอาจช่วยป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้อีกทางหนึ่ง
3.ในมะเขือพวงมีสาร "ซาโปนิน" ทำให้มะเขือพวงมีฤทธิ์ขับเสมหะ
4.มะเขือพวงเป็นพืชที่มีเส้นใยมากที่สุด เมื่อเทียบกับผักพื้นบ้านของไทยทั้งหมด จนได้รับสมญานามเป็น "ราชาแห่งผักพื้นบ้าน ในเรื่องของสารเส้นใย" โดยมีเส้นใยมากกว่ามะเขือยาว 3 เท่า และมากกว่ามะเขือเปราะถึง 65 เท่า เส้นใยในมะเขือพวง มีชื่อเรียกว่า "เพกติน" ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ สารนี้จะสามารถเปลี่ยนเป็นวุ้นไปเคลือบที่ผิวของลำไส้ ทำให้ลำไส้ดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง จึงเป็นการช่วยไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็วเกินไป ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
"สารเพกตินในมะเขือพวง ช่วยในการดูดซับไขมันส่วนเกินออกจากอาหารได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่บรรพบุรุษของไทย มักจะทำแกงกะทิใส่มะเขือพวง ซึ่งน่าจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจได้"
อย่างไรก็ตาม แม้มะเขือพวงจะเป็นพืชผักที่มีประโยชน์มาก แต่คณะผู้วิจัยก็ยังบอกว่า ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะมีสาร "อัลคาลอยด์" ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ (เข้าทำนองว่า อะไร ๆ ที่เกินประมาณ ก็เกิดอันตรายได้ทั้งนั้น)


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:44:12 น.  

 
ผักกระสัง
มีสรรพคุณทางหยาง (จัดแบ่งง่ายๆ ว่า หยิน คือเย็น หยาง คือร้อน) ของสรรพคุณยาไทย หมอยาพื้นบ้านมักจะใช้ผักกระสังตำพอกฝี หรือคั้นเอาน้ำทาแผลฝีที่มีหนอง ผักกระสังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ใบยังนำมารักษาโรคลักปิดลักเปิด แก้ไข้ แก้อักเสบ จากสรรพคุณตรงนี้ทำให้มีชาวบ้านกินผักกระสัง
เพื่อรักษาอาการปวดข้อ ข้ออักเสบ และยังเชื่อว่าการใช้น้ำต้มผักกระสังล้างหน้าจะทำให้ผิวสวย ปัจจุบันมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย มีฤทธิ์ต้านการอักเสบมีฤทธิ์แก้ปวด และไม่มีพิษภัย ประเทศฟิลิปปินส์ก็มีการกินผักกระสังสดๆ หรือนำมาต้มกิน เพื่อรักษาโรคเก๊าและข้ออักเสบ โดยวิธีการต้มให้นำผักกระสังต้นยาวสัก 20 ซม. ต้มกับน้ำ 2 แก้ว ให้เหลือประมาณ 1 แก้ว แบ่งรับประทานครั้งละ ครึ่งแก้ว เช้า-เย็น นอกจากนี้ชาวฟิลิปปินส์ยังใช้ทั้งต้นสดบดประคบฝี หรือตุ่มหนอง
ปัจจุบันผักกระสังเป็นสมุนไพรตัวหนึ่งที่ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาวิจัยเพื่อใช้ เป็นยารักษาโรคข้ออักเสบและโรคเก๊า ส่วนในมาเลเซียเชื่อว่าการรับประทานผักกระสังจะช่วยรักษาโรคตาและต้อ (glaucoma) การศึกษาวิจัยในปัจจุบันยังพบว่าผักกระสังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและมี วิตามินซีสูง เรียกได้ว่าวิตามินซีน้องๆ มะนาว คือ มะนาว100 กรัมมีวิตามินซี 20 มิลลิกรัม ส่วนผักกระสังมีอยู่ 18 มิลลิกรัม ทางสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เคยวิเคราะห์หาธาตุอาหารในพืชผักต่างๆ พบว่าผักกระสัง ๑ ขีด หรือ ๑๐๐ กรัม มีเบต้า – แคโรทีนราว ๒๘๕ ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล ลองนึกดูเบต้า-แคโรทีนของสดของแท้หาไม่ได้จากแคปซูล มีเฉพาะในผักสดๆ เท่านั้น และผักกระสังมีอยู่สูงขนาดนี้ ผักกระสังจึงจัดว่าเป็นผักต้านมะเร็งชนิดหนึ่ง คนไทยในอดีตรู้จักกินผักกระสัง แต่เวลานี้ผักกระสังเกือบจะหายไปจากสาระบบของผักที่กินในสังคมของเราแล้ว โชคดีที่หลายหน่วยงานทังรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างช่วยกันฟื้นฟูและส่งเสริมการกินผักพื้นบ้านของไทย มากขึ้น ดังเช่น ในหมู่บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
ซึ่งทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มีเจ้าหน้าที่ลงไปส่งเสริมให้ชาวบ้านหันกลับมาปลูกสมุนไพรเกษตรอินทรีย์ เพื่อทำเป็นวัตถุดิบส่งให้กับโรงพยาบาล จึงทำให้ชาวบ้านซึ่งเคยใช้ระบบการเกษตรสารเคมียาฆ่าแมลงจำนวนมาก จนชาวบ้านเองยังไม่กล้าเก็บผักพื้นบ้านทั่วไปมารับประทาน
แต่วันนี้เปลี่ยนไป๋ ชาวบ้านเริ่มกลับมาเก็บผักที่เกิดเป็นวัชพืชรอบๆ บ้านมารับประทานได้อย่างหลากหลายชนิด เช่น ผักเบี้ย ผักกระสัง ใบบัวบก ฯ และยังได้พัฒนา ยำผักกระสัง ตำรับชาวบ้านที่อร่อยมาก หาซื้อที่ไหนไม่ได้นอกจาก “ทำเอง ” จะ
ยำผักกะสัง ทำได้ง่ายๆ
หั่นผักชิ้นพอประมาณ 1-2 ทัพพี
น้ำมะนาว 1-2 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้งทอด พอประมาณ
มะม่วงซอย 1-2 ช้อนโต๊ะ หัวหอมซอย พอประมาณ
แครอทซอยฝอยๆ 1-2 ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่ว พอประมาณ
ขิงซอย 1-2 ช้อนโต๊ะ
หมูหยอง พอประมาณ
โหระพา สะระแหน่ ไว้แต่งรส
น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1-2 ช้อนโต๊ะ
จากนั้นรวมเครื่องปรุงทุกอย่างเข้าด้วยกัน ปรุงรสตามใจชอบ พร้อมตักเสิร์ฟได้เลย ในยุคน้ำมันแพง แต่ไม่แล้งปัญญา หากเข้าใจธรรมชาติ นำผักกระสังที่ขึ้นได้ทั่วไป และมีสรรพคุณทางยามากมาย นำมาเป็นอาหารสุขภาพรสเด็ด ประหยัดทั้งเงิน ยังเสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:44:41 น.  

 
มะกรูด
ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล
สรรพคุณ :
ราก - กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย
ผล,น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผม
สะอาด
ผิวจากผล
- ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น
- เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้
ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย โดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:45:38 น.  

 
ใบเตย
ผลงานการวิจัย
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทด ลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้
วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยาเตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นลดกระหายน้ำและอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง
วิธีใช้
1.ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำจะได้น้ำสีเขียวใช้นำมาผสมอาหารจะช่วยให้อาหารมีสีสวยน่ารับประทานและมีกลิ่นหอมของใบเตย
2.ใช้ในในรูปของใบชาชงกับน้ำร้อนหรือใช้ใบสดต้มกับน้ำจนเดือดเติมน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ดื่มเป็นประจำช่วยบำรุงหัวใจ
3.นำส่วนต้นและรากต้มกับเนื้อหรือใบไม้สักจะช่วยรักษาโรคเบาหวาน


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:46:27 น.  

 
เก๊กฮวย
น้ำเก็กฮวย(หรือน้ำเก๊กฮวย) ทำมาจากดอกเก็กฮวยซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน อยู่ในตระกูลเดียวกับเบญจมาศ บางคนก็เรียกว่าเบญจมาศสวนหรือเบญจมาศหนู น้ำเก็กฮวย เป็นน้ำสมุนไพรที่หลายๆ คนชื่นชอบ
ประโยชน์ของน้ำเก็กฮวย นอกจากจะหอมสดชื่นแล้ว น้ำเก็กฮวยยังมีสรรพคุณที่สำคัญคือ
- เป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน
- เป็นยาแก้ปวดท้องและช่วยระบาย
- ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดตีบ และโรคหัวใจได้
- สำหรับคนที่เป็นมะเร็งและเข้ารับการรักษาด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด ตับก็จะต้องทำงานหนักมากในการขจัดสารพิษออกไป เมื่อตับทำงานหนักก็จะทำให้ร่างกายเกิดอาการร้อน ดูได้จากการที่คอแห้ง ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ปวดเมื่อยร่างกาย ฯลฯ การดื่มน้ำเก็กฮวยก็จะสามารถลดความร้อนของร่างกายได้เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น จะช่วยขับพิษร้อนจากตับออกมาได้
วีธีทำน้ำเก็กฮวย
เอาดอกเก็กฮวยแห้ง 5-10 ดอก ลงไปในหม้อกับน้ำประมาณ 2 ลิตรต้มนาน 5 นาที แล้วกรองดอง,ระบาย,โรคหลอดเลือด,ความดันโลหิตสูง,ส้นเลือดตีบ,โรคหัวใจ,มะเร็ง, ล้างพิษ, อกเก็กฮวยออก เติมน้ำตาลเพิ่มความหวานได้ตามใจชอบ หรือจะใส่ใบเตยเพิ่มความหอมลงไปด้วยก็ยิ่งดี แต่ถ้าจะไม่เติมน้ำตาล เพียงเติมน้ำร้อนใส่แล้วดื่มเป็นชาเก็กฮวยก็ได้เช่นกัน


โดย: นายซ้ง (Fusionista ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:23:47:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Fusionista
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ปัจจุบันเป็นนักศึกษาจิตวิทยา มธ. :)
รักชอบการกิน เที่ยว แต่งหน้า ฟังเพลง และร้องเพลง...
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Fusionista's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.