ศาสนาพระผู้เป็นเจ้าทุกศาสนามีกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน
ตามประวัติของศาสนาพราหมณ์ยุคดึกดำบรรพ์ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกในสำนักปุริสราชาโยคีในถ้ำเชิงเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นภาษากูโบ๊ส  
ได้กล่าวไว้เป็นหลักฐานมีข้อความตอนหนึ่งว่า “เมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว  โยคีไตรภพได้นำศาสนาพราหมณ์ไปเผยแพร่ในประ
เทศอียิปต์  และมีพระเจ้าฟาร์โรเป็นสานุศิษย์ และเมื่อยุค ๔๐๐๐ ปี   โยคีกบิลญาณได้นำศาสนาพราหมณ์ไปเผยแพร่ในตะวันออก
กลางและมีนาบีมูซา หรือโมเสส เป็นสานุศิษย์ ศาสนาพระผู้เป็นเจ้าเกิดในตะวันออกกลาง ๒ ยุค คือยุคอียิปต์โบราณยุค ๕๐๐๐ ปี

และยุคศาสนาเฮบรูหรือยุคโมเสส ( พ.ต.อ. ชะลอ  อุทกภาชน์  ธบ.  , นบ. ท.  ๒๕๒๗,  “แว่นส่องจักรวาล”,    
กรุงเทพ:กรุงสยามการพิมพ์,   หน้า ๒๖-๒๗.)

              คัมภีร์ไบโตลาห์ของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก    และคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ยุคต่อมาได้กล่าวไว้เป็นหลักฐานว่า  
ศาสตร์และวิทยาการต่างๆของมวลมนุษย์นั้นได้จารึกไว้บนพรหมโลก   ครั้งแรกเมื่อพวกฤาษี  พวกโยคี  หรือผู้ปฏิบัติสมาธิบรรลุฌาณ
ขั้นจตุตถฌาณ สามารถส่งกายทิพย์และวิญญาณของตนเองขึ้นพรหมโลกได้  ก็จะไปเรียนศาสตร์และวิทยาการต่างๆเหล่านี้  และนำลง
มาถ่ายทอดให้แก่มนุษย์

              ในทัศนคติทางศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์ได้จัดแบ่งพรหมสุทธาวาสออกเป็น ๙ ชั้น และเรียกประมุขของพรหมสุทธาวาสว่า
“อัลลาห์ฮู้มาลินีฮู”  แปลว่า ข้าพเจ้าขออัญเชิญพระผู้เป็นเจ้า ณ บัดนี้ คำว่า “อัลลาห์ฮู” นี้ วิวัฒนาการมาเป็น “ฮัลเลลูย่าห์”  แปลว่าพระ
ผู้เป็นเจ้าในศาสนาเฮบรู ทั้งนี้หลักฐานในคัมภีร์ยุคศาสนาพราหมณ์ยุคดึกดำบรรพซึ่งจารึกไว้ในศิลาจารึกในสำนักโยคีปุริสราชา (หน้า ๕๐-๕๑)

                คำว่า “ฮัลลาห์ฮู้” เป็นคำแทนพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์จึงวิวัฒนามาเป็นคำว่า “ฮัลเลลูย่าห์” ซึ่งแปลว่าพระผู้เป็นเจ้า
ในศาสนาเฮบรูได้วิวัฒนาการมาเป็น “ยะโฮวา”  ในศาสนาคริสต์และวิวัฒนาการมาเป็นคำว่า “ฮัลล่าห์ ในศาสนาอิสลาม    นอกจากนาบี
มูซาหรือโมเสสจะถ่ายทอดเอาปรัชญา  และคำสอนในศาสนาพราหมณ์มาดัดแปลงเป็นคำสอนในศาสนาเฮบรูแล้ว  ตามหลักฐานในศิลา
จารึกในสำนักปุริสราชายังได้กล่าว่า นาบีมูซาได้ฝึกจิตทางฌาณสมาบัติกับกบิลญาณดาบส  และบรรลุฌาณสมาบัติขั้นสูงสามารถแสดง

อิทธิปาฏิหาริย์ได้หลายอย่างหลายประการ  ซึ่งข้อมูลต่างๆที่กล่าวในสศิลาจารึก ตรงกับประวิติศาสตร์ของศาสนาเฮบรูทุกประการ  กล่าว
คือโมเสสได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้กษัตริย์อียิปต์ดู   .......................................   ............................................

              โมเมเสสใช้อำนาจฌาณสมาบัติแหวกน้ำทะเลแดงเพื่อให้ชาวเฮบรูหนีชาวอียิปต์ได้สำเร็จ (หน้า ๕๒)
ศาสนาพระผู้เป็นเจ้าเกิดขึ้นในอินเดียตอนเหนือแคว้นฮารัปปาและ-โมเฮนโจดาโรและอักขระภาษากูโบ๊สก็ขึ้นก่อนยุคนี้  ซึ่งนักโบราณคดี
ค้นพบ  และนำคำสวดขอพรพรหมพระผู้เป็นเจ้ามาจารึกเป็นภาษาอารบิคไว้ในคัมภีน์โกรอ่านในศาสนาอิสลามก็ได้วิวัฒนาการมาจาก
ภาษากูโบ๊ส    ผม (พ.ต.อ. ชะลอ) ได้รับเชิญไปปาฐกถา  “ศาสนาเปรียบเทียบ”  ได้กล่าวสรุปว่า  

         ****“ศาสนาพระผู้เป็นเจ้าทุกศาสนามีกำเนิดมาจากแหล่งเดียวกัน และพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน  คือองค์พรหมพระผู้เป็นเจ้าใน
ศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์นั่นเอง  และวิวัฒนาการมาเป็น “ฮาเลลูย่าห์”,  “ยาฮะเว”   “ยะโฮวา”  และอัลล่าห์*****  

           อย่างไรนั้น   ผม(พ.ต.อ. ชะลอ)ได้กล่าวแล้วข้างต้น  และได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นประจักษ์แก่ตาของบรรดาศาสนิกชนที่นับถือ
ศาสนาอิสลามทั้งหลาย  รวมทั้งอิหม่ามหลายสิบคนที่มานั่งฟังปาฐกถาที่ ผมกล่าวว่า “พระอัลล่าห์ในอิสลาม”  คือ พรหมพระผู้เป็นเจ้า
ในศาสนาพราหมณ์ โดยผม(พ.ต.อ. ชะลอ)จะสวดมนต์สรรเสริญพรหมพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์เป็นภาษากู้โบ๊ส  
ซึ่งได้ปรากฏเป็นภาษาอารบิคในคัมภีร์โกรอ่านเกือบทั้งเล่ม และมนต์สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้านั้นปัจจุบันอิสลามมิกชนถือว่าเป็นมนต์ศัก
ดิ์สิทธิ์ ไม่ยอมแปลออกเป็นภาษาต่างประเทส คงสงวนไว้เป็นภาษาอารบิคในคัมภีร์โกรอ่านเท่านั้น (๕๖-๕๗)

                  เมื่อผม(พ.ต.อ.ชะลอ) ปาฐกถาจบลงได้สวดมนต์สรรเสริญ พรหมพระผู้เป็นเจ้าเป็นภาษากูโบ๊สเป็นตอน ๆ ให้อิหม่าม
และอิสลามิกชนที่มาฟังปาฐกถาหลายสิบคน   ผมสวดมนต์จบเป็นตอน ๆ  ใช้เวลาสวดประมาณ ๒๐ นาที  อิหม่ามและอิสลามมิกชน
แปลกใจกันใหญ่  พวกเขาสอบถามผมว่า  ผมไปเรียนภาษาอารบิคมาจากไหนจึงสามารถสวดมนต์สรรเสริญพระอัลเลาะห์ในคัมภีร์โกร
อ่านได้มากมายถึงเพียงนี้    เพราะคำที่สวดมนต์ที่สวดนั้น  อิหม่ามบางคนยังเรียนไม่ถึง  และผม(พ.ต.อ.ชะลอ)ได้อธิฐานดัง ๆ  

ให้อิสลามมิกชนฟังความว่า “หากพรหมพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับพระอัลเลาะห์ หรือพระยะโฮวา
แล้ว  เมื่อผม(พ.ต.อ.ชะลอ) สวดมนต์สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าในคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์  ขอให้เกิดปรากฏการณ์เป็นอักขระ
ภาษากูโบ๊สในขันน้ำมนต์ .................................                     ..........................................

                    พอผม(พ.ต.อ. ชลอ)จุดเทียนเสร็จก็อ่านมนต์สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้ามนต์บิ๊สมินลาห์แฮระมานะเนี๊ยสระฮิม  อาละฮัม  
อูลินลาห์  แฮโรมานเนียสระฮิม   อาโรมานแมมิรีเกียวมิดีน ดีสัยรอตนมุตตะกิมสัยรออัลลาห์  ฮีนาฮัมตามักกะโรเบียยะฮาไรเฮม  
ยัตยัตอาวะลีนอามีน ๓ จบ   ปรากฏน้ำตาเทียนในขันน้ำมนต์ก็เกิดปรากฏการณ์เป็นอักขระ “อุ” ขึ้นเต็มขันทันที    

               ก่อนที่ผม(พ.ต.อ. ชลอ) จะทำน้ำมนต์    อิหม่ามเขาถามผมว่า  ผมไปเรียนภาษาอารบิคมาจากไหน จึงสามารถสวดมนต์
ภาษาอารบิคได้คล่องแคล่ว  ผมตอบเขาว่า ผมไม่เคยเรียนภาษาอารบิคมาเลย   แต่ผมเรียนภาษากูโบ๊สมาจากอาจารย์ฮาเร็บ  
อาจารย์โยคีของผมซึ่งสำเร็จวิชาโยคะมาจากสำนักปุริสราชาโยคีจากอินเดีย   มนต์ที่ผมสวดสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้านั้นเป็นภาษกูโบ๊ส  
ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษาอารบิค         และศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์ก็เป็นต้นกำเนิดศาสนาพระผู้เป็นเจ้าทุกศาสนาด้วยรวมทั้ง

ศาสนาเฮบรู  ศาสนาคริสต์  ศาสนาอิสลาม  แม้แต่ศาสนาพระผู้เป็นเจ้าในยุคบาบิโลน  ศาสนาพระผู้เป็นเจ้าของอินเดียเผ่ามายา  
เผ่าอินคา  หรือศาสนาพระผู้เป็นเจ้าของอารยันในลุ่มน้ำไทกริส  ในตะวันออกกลาง ก็สืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์ทั้งสิ้น  
ปรัชญาและคำสอนส่วนสำคัญจึงมีข้อมูลคล้ายคลึงกันแทบทุกศาสนา  พวกเราทำให้ศาสนิกชนในศาสนาต่างๆ เข้าใจดีแล้วสงคราม
ระหว่างชาติระหว่างศาสนาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น (หน้า๑๐๒-๑๐๔)

                  คำจากภาษากูโบ๊ส คำว่า อาลาวีน อามีน หรือ คำว่า อามีน นี้ได้วิวัฒนาการมาเป็นคำ “อาเมน” ในศาสนาคริศต์ และ
วิวัฒนาการมาเป็นคำว่า  “อามีน ในศาสนาอิสลาม(หน้า๖๔)

                  คำจากภาษากูโบ๊ส คำว่า  “เซตอน” แปลว่า มารร้ายหรือผีร้าย  ได้วิวัฒนาการมาเป็นคำว่า “ซาตาน”    ในศาสนา คริศต์  
และวิวัฒนาการมาเป็นคำว่า “เซตอน” ในศาสนาอิสลาม (หน้า๖๔-๖๕)

                  คำว่า "เทวทูต" ศาสนาพราหมณ์เรียก พระกาฬ  ศาสนาคริสต์เรียก "เกเบรียล"  ศาสนาอิสลามเรียกว่า  "อิสราเอน"  
จีนเรียกว่า "น่ำซิ้งปั๊กเต้า" (หน้า ๑๐๖)

              หนังสือ “แว่นส่องจักรวาล “นี้ มีอักขระภาษากูโบ๊ส   และมีอักขระอีกหลายภาษาที่นำมาเปรียบเทียบ    ให้เห็นถึงความ
คล้ายกัน        มีที่หอสมุดแห่งชาติ  ห้อง ๒๑๓   เล่มที่  ๑๓๓ซ.๑๖๒ว.

             พ.ต.อ. ชลอ   อุทกภาชน์ ท่านอยู่บ้านเลขที่ ๘๙๙ ซอยสิทธิเกษม   ถนนสมเด็จเจ้าพระยา  เขตคลองสาน  กทม.
โทร ๔๖๕  ๒๕๔๕      

                            สวัสดี
จากคุณ : ธารณธรรม   - [ 24 ส.ค. 49 20:03:03 ]

//group.wunjun.com/khunsamatha/topic/301872-8821



Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2557 23:10:51 น.
Counter : 5075 Pageviews.

1 comment
พระเจ้าคือใคร พระเจ้าสร้างสรรพสิ่งจริงหรือ...?
เปิดเผยข้อมูลทางประวัติศาสตร์  อะไรมีมาก่อนพระเจ้า  พระเจ้าคือใคร  พระเจ้าสร้างสรรพสิ่งจริงหรือ...?


เรื่องราวเกี่ยวกับหลักปรัชญาและคำสอนของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์ยุคก่อนฤคเวทซึ่งจารึกไว้ในศิลาจารึก  และอาจารย์โยคีฮาเล็บอาจารย์ของข้าพเจ้าได้คัดลอกมา  และข้าพเจ้าขอให้ท่านแปลเป็นภาษาไทยซึ่งข้าพเจ้าคัดลอกเอาไว้  ซึ่งควรจะนำมากล่าวไว้ในหนังสือเรื่องนี้ด้วย 

ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์นี้อาจจะเป็นศาสนาพระผู้เป็นเจ้าในยุคฮารัปปาและโมเฮ็นโจดาโรก็เป็นได้  เพื่อให้ท่านได้ทราบถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมของมนุษย์บางกลุ่มก่อนยุคประวัติศาสตร์  ว่ามีความเชื่อและความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องศาสนา  ปรัชญา  ศีลธรรม  และศาสตร์ต่างๆ

การที่ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า  วัฒนธรรมและอารยธรรมยุคนี้เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์  ก็เพราะภาษาที่ใช้จารึกเรื่องราวในคัมภีร์ต่างๆ ก็ดี  ปรัชญาและคำสอนต่างๆ ก็ดี  นอกเหนือไปจากเรื่องราวที่กล่าวไว้ในคัมภีร์พระเวทซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ที่เก่าแก่ที่สุด  และอักขระกูโบ๊สซึ่งได้ใช้จารึกในคัมภีร์ทาง

ศาสนาของศาสนาพราหมณ์ยุคดึกดำบรรพ์นี้  คล้ายคลึงกับตัวอักขระซึ่งนักโบราณคดีค้นพบในแคว้นฮารัปปาและโมเฮ็นโจดาโร  แคว้นซินด์  ลุ่มแม่น้ำสินธุ  ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วัฒนธรรมและอารยธรรมยุคนี้  นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นยุคต้นกำเนิดของคัมภีร์พระเวท  และเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์

เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับหลักปรัชญาคำสอน  และศาสตร์ต่างๆ ของศาสนาพราหมณ์ในยุคดึกดำบรรพ์ก็คือ

คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ยุคนี้ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกเรียกว่า  “คัมภีร์ไบโตล่าห์”   การที่พวกโยคีในยุคนี้เรียกคัมภีร์ทางศาสนาของตนว่า “ไบโตล่าห์”  นั้น  ก็เพราะเหตุว่าปรมาจารย์โยคีคนแรกที่สร้างคัมภีร์ไบโตล่าห์ขึ้นครั้งแรกในโลกนั้น  ได้ถือว่าตนได้ถอดกายทิพย์ของตนขึ้นไปศึกษาคัมภีร์

ทางศาสนาบนพรหมโลก  และคัมภีร์เกี่ยวกับศาสนาของพรหมบนพรหมโลกนั้น  ก็มีชื่อเรียกว่า  “คัมภีร์ไบโตล่าห์”  เหมือนกัน  จึงเรียกชื่อคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ครั้งแรกว่า  “คัมภีร์ไบโตล่าห์”  เช่นเดียวกัน และต่อมาพวกโยคีได้เชิญวิญญาณของพรหมบางองค์มาเข้าทรงพวกโยคีด้วยกัน

วิญญาณของพรหมที่มาเข้าทรงจึงได้สั่งสอนเกี่ยวกับปรัชญาคำสอนและภาษาอักขระนิรุกติศาสตร์ให้แก่โยคีทั้งหลาย  โยคีเหล่านี้เมื่อได้ศึกษาภาษาอักขระและนิรุกติศาสตร์ของภาษาพรหม  ซึ่งเรียกภาษากูโบ๊สเป็นครั้งแรก  เมื่อความรู้เหล่านี้แตกฉานดีแล้ว  จึงนำเรื่องราวเหล่านี้มาจารึกลงในศิลาจารึกต่อเนื่องกัน

มาถึงปัจจุบัน  แต่จะเป็นเวลายาวนานกี่พันกี่หมื่นปีก็ยังไม่มีผู้ใดให้คำตอบเรื่องนี้ได้  แต่ศิลาจารึกเหล่านี้  อาจารย์โยคีของข้าพเจ้าเล่าว่าปัจจุบันมีจำนวนมากมายหลายร้อยแผ่น

เนื่องจากประวัติของคัมภีร์ไบโตล่าห์ 
พวกโยคีถือว่าได้รับสืบต่อมาจากพรหมโลก  และอักขระกูโบ๊สก็เป็นอักขระของพรหมเช่นเดียวกัน  จึงได้หวงแหนปิดบัง  จะยอมถ่ายทอดเฉพาะพวกโยคีด้วยกันเท่านั้น  เพราะถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอย่างหนึ่ง  ด้วยเหตุนี้เองอักขระและภาษากูโบ๊สจึงไม่แพร่หลายในหมู่ชน

ทั่วไปในประเทศอินเดีย  และกลายเป็นภาษาที่ตายไปแล้วหรือสูญไปจากวงสังคมของมนุษย์ไปแล้ว  แต่อักขระอินเดียโบราณซึ่งนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีค้นพบว่าได้เคยใช้แพร่หลายในประเทศอินเดียยุคโบราณบางยุค  เช่น อักขระขโรสถิ  พรหมิ  เทวนาครีย์  ตัวอักขระเหล่านี้ข้าพเจ้าได้พิจารณาลักษณะ

ของอักขระก็ดี  การเขียนก็ดี  การสะกดตัวก็ดี  ล้วนแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับลักษณะของอักขระกูโบ๊สทั้งสิ้น  อักขระบางตัวได้นำอักขระกูโบ๊สมาใช้แทน  แต่อ่านออกเสียงไปอีกอย่างหนึ่ง  บางตัวก็ต่อเติมดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนจากตัวอักขระเดิมของอักขระกูโบ๊ส  และแบบการเขียนอักขระกูโบ๊สนั้นมีอยู่  ๓  แบบ  คือ


(ก)   อักขระกูโบ๊สแบบคาเบ๊ท  อักขระแบบนี้เป็นแบบเขียนยากที่สุด  และจะใช้เขียนเฉพาะข้อความที่มีความหมายลึกซึ้ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวเกี่ยวด้วยพระผู้เป็นเจ้า  เกี่ยวด้วยเทพ  เกี่ยวด้วยพรหม  และมนต์คาถา  เลขยันต์  ทิพย์มนต์  ชัยมนต์

(ข)   อักขระกูโบ๊สแบบรอเฟน  อักขระแบบนี้เรียนการอ่านง่ายกว่าแบบคาเบ๊ท  จะใช้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับปรัชญาและคำสอนทั่วๆ ไป  บางตอนก็ใช้เกี่ยวกับเลขยันต์  เวทย์  มนต์  คาถา

(ค)   อักขระกูโบ๊สแบบมีนกาเอ็น  แบบนี้เป็นแบบที่ ๓ ใช้สำหรับบันทึกเรื่องราวโดยทั่วๆ ไป  การอ่านออกเสียงภาษากูโบ๊สนั้นได้อ่านออกเสียงเป็นสำเนียงภาษาเฮบบรู  อารบิค  สันสกฤต  มคธ  ลาติน  กรีก  บาลี  ผสมกัน  บางคำออกเสียงคล้ายภาษาอิยิปต์โบราณ  ซึ่งข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าภาษาต่างๆ ดัง

กล่าว  คงจะแตกออกจากภาษากูโบ๊สอย่างแน่นอน  ทั้งนี้เพราะการออกสำเนียงบางคำคล้ายคลึงกัน   และอักขระของภาษาต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว  เช่น อิยิปต์โบราณ  แบบไฮเออราติ๊ค  สคริ๊ป  เฮบบรูโบราณ  และอารบิค  ได้นำตัวอักขระเดิมของอักขระกูโบ๊สไปใช้หลายตัว  และบางตัวก็ดัดแปลงไป 

เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่ง
  หลักปรัชญาและคำสอนหลักใหญ่ของศานาเฮบบรู  คริสต์  อิสลาม  คล้ายคลึงกับหลักปรัชญาคำสอนของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์เป็นอันมาก  เช่นเรื่องพระผู้เป็นเจ้า  เรื่องนรกสวรรค์  เรื่องการสวดอ้อนวอนขอพร  เหล่านี้เป็นต้น  แม้แต่คัมภีร์ทางศาสนาเฮบบรูซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เกี่ยว

ด้วยศาสนาพระผู้เป็นเจ้าเก่าแก่ที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง คัมภีร์เหล่านี้พวกเฮบบรูเรียกว่า  คัมภีร์โตร่าห์(Torah) เช่นเดียวกับคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์   ฉะนั้นศาสนาพระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า  น่าจะมีกำเนิดมาจากศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์ยุคก่อนประวัติ

ศาสตร์  แต่ประมุขของศาสนาเหล่านี้มาดัดแปลงปรัชญาและคำสอนต่างๆ เสียใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมและอารยธรรมของท้องถิ่น  และนิสัยใจคอของศาสนิกชนของศาสนานั้นๆ เสียใหม่  ส่วนหลักการใหญ่ๆ คงรักษาไว้คงเดิม

การสอนให้มนุษย์รู้จักธรรมชาติของกำเนิดจักรวาลตามหลักฐานซึ่งได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ไปโตล่าห์ของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์นั้น  ได้กล่าวถึงการกำเนิดจักรวาลน้อยใหญ่ดังนี้คือ 

ก่อนที่พรหมพระผู้เป็นเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกนั้น  ได้มีธรรมชาติ  ๓  ประการเกิดก่อนแล้ว  พรหมพระผู้เป็นเจ้าศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์เรียกว่า “บราหมาเหปโลมมุนี”   และเรียกคำแทนว่า  “อัลล่าฮู้”   บราหมาเหปโลมมุนีนี้ตรงกับพรหมสุทธาวาสขั้นอกนิษฐพรหมของพุทธศาสนา  ส่วนพรหมผู้สร้าง

โลกของคัมภีร์ฤคเวทและคัมภีร์อุปนิษัทหาได้กล่าวถึงพรหมชั้นนี้ไม่  คงกล่าวลอยๆ บางคณาจารย์กล่าวอ้างถึงอรูปพรหมเป็นผู้สร้างโลก  ส่วนคำสอนของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์นั้นหาได้กล่าวว่าพรหมพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งปวงไม่  แต่กลับกล่าวสั่งสอนว่า  สิ่งแรกที่เกิดก่อนพรหมผู้เป็นเจ้านั้น  คือ

(๑) พระฉูท  คือกลุ่มก๊าซธรรมชาติหรือกลุ่มหมอกเพลิง(Nebula)  ได้ประมวลตัวขึ้นก่อน

(๒) ต่อมาจึงเกิดพระแสง  หรือแสงของก๊าซธรรมชาติ

(๓) ต่อมาจึงเกิดรังสีของก๊าซธรรมชาติ  หรือกัมมันตภาพรังสีของก๊าซธรรมชาติ

(๔) เมื่อกลุ่มก๊าซธรรมชาติรวมตัวกับแสงและรังสีแล้ว  จึงแตกออกเป็นส่วนๆ และกลุ่มก๊าซเหล่านี้ก่อกำเนิดให้เกิดเป็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อน  ต่อมาจึงแตกออก  จักรวาลน้อยใหญ่โดยลำดับ  เมื่อธรรมชาติได้สร้างกลุ่มจักรวาลโดยสมบูรณ์  วิญญาณของพรหมพระผู้เป็นเจ้าจึงอุบัติขึ้นในกลุ่ม

จักรวาลเหล่านั้นเป็นครั้งแรก  และพระองค์ทรงเห็นว่าในจักรวาลยังมีอะไรขาดตกบกพร่องอยู่อีก  จึงได้ช่วยสร้างสรรค์เพิ่มเติมขึ้นในภายหลังให้ครบถ้วน  ต่อจากนั้นจึงบังเกิดทวยเทพ  มนุษย์  สัตวโลก  พืชพรรณธัญญาหารทั้งหลายมาถึงปัจจุบัน 

จากข้อมูลในคัมภีร์ไบโตล่าห์นี้เอง  ศาสนาพราหมณ์ยุคพระเวท  ยุคคัมภีร์อุปนิษัท  ยุคคัมภีร์ภควัทคีตา  หรือยุคฮินดูปัจจุบัน  และศาสนาพระผู้เป็นเจ้าอื่นๆ เช่นศาสนาเฮบบรู  คริสต์  และอิสลาม  จึงได้กล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งทั้งปวง” ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนพระผู้เป็นเจ้านั้น  คือ

อะไร  และมาจากไหน  ไม่มีผู้ใดตอบได้และมิได้กล่าวไว้ในศาสนาเหล่านี้   แต่ข้าพเจ้าได้มาพบข้อมูลเรื่องนี้ในคัมภีร์ไบโตล่าห์ของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์นี้เองว่า 

สิ่งที่เกิดก่อนพระผู้เป็นเจ้า คือ  พระฉูท  พระแสง  และรังสีนี้เอง   หรือจะกล่าวตามหลักวิทยาศาสตร์ทางฟิสิกส์  สิ่งที่สร้างจักรวาลน้อยใหญ่นั้นก็คือกลุ่มกาซธรรมชาตินี้เอง  ซึ่งภาษาทางดาราศาสตร์เรียก  “Nebula”  หรือกลุ่มก๊าซธรรมชาติ  ซึ่งประกอบด้วยความร้อน  แสง  และรังสี  บางท่านเรียกว่า  “กลุ่มหมอกเพลิงธรรมชาติ”

ข้อมูลการกำเนิดของจักรวาลตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบโตล่าห์ของศาสนาพราหมณ์ดึกดำบรรพ์นั้น  ตรงกับความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันในข้อที่ว่า  กลุ่มจักรวาลน้อยใหญ่ได้กำเนิดมาจาก Nebula หรือกลุ่มก๊าซธรรมชาติ  หรือกลุ่มหมอกเพลิง  หาใช่พระผู้เป็นเจ้าสร้างไม่

ส่วนเรื่องอิทธิพลของพรหมผู้เป็นเจ้าช่วยสร้างสรรค์สิ่งทั้งปวงนั้น  นักวิทยาศาสตร์ไม่ยอมเชื่อถือ  แต่เชื่อว่าธรรมชาติเป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆ มิฉะนั้นแล้ว  มนุษย์  สัตวโลกอื่นๆ รวมทั้งพืชพรรณธัญญาหารจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้  หากขาดสิ่งสมดุลอย่างใดอย่างหนึ่ง  ความเชื่อเรื่องพรหมผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้เป็นเจ้า

เป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวงนั้นคงมีแต่ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปก็มีความเชื่อและความคิดเห็นเช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์ว่า  ธรรมชาติเป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง  ทั้งนี้เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสั่งสอนไว้ใน “ธัมมนิยามสูตร”   ความว่า  "กฎธรรมชาติทั้งหลายในโลกนี้มีอยู่ตามสภาวะของตัวมันเอง  ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น  ไม่มีผู้ใดเป็น

เจ้าของ  เป็นของกลางๆ ประจำโลก  และเกิดขึ้นและมีอยู่ประจำโลกก่อนที่พระองค์ทรงตรัสรู้  พระองค์เพียงแค่ค้นพบความจริงของกฎธรรมชาติเหล่านี้  เมื่อทรงค้นพบว่า  สิ่งใดเป็นเรื่องจริง  เป็นเรื่องดีงาม  จึงทรงนำมาตรัสสั่งสอนให้มนุษย์ปฏิบัติตาม  สิ่งใดพระองค์ทรงตรัสว่าเป็นเท็จ  หรือ

เป็นสิ่งชั่ว  ก็ทรงนำมาแนะนำสั่งสอนให้มนุษย์ละเว้นการกระทำเสีย  หรือปฏิเสธไม่ให้เชื่อและยอมรับปฏิบัติตาม"   นอกจากจะได้ทรงตรัสไว้ใน “ธัมมนิยามสูตร” แล้ว  ยังทรงตรัสไว้ใน  “กาลามสูตร”   ซึ่งสั่งสอนให้เชื่อเหตุเชื่อผล  ไม่ให้งมงาย

(เนื้อหานำมาจากหนังสือ  “แว่นส่องจักรวาล”  คำว่า ข้าพเจ้านั้นหมายถึงผู้เขียนหนังสือเล่มนี้...)


//group.wunjun.com/khunsamatha/topic/301872-8821




Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2557 21:34:39 น.
Counter : 1145 Pageviews.

1 comment
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


ความเป็นมา

    ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู นับว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ ไม่อาจนับจำนวน ปีที่ที่แน่นอนได้  เพียงแต่ประมาณเวลาได้เท่านั้น นักการศาสนา นักปรัชญา  นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดี ได้แบ่งยุคของลัทธิ ศาสนานี้ออกเป็นหลายแบบแตกต่างกัน เช่น พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ) แบ่งตามแนวประวัติศาสตรเป็น 7 ยุค คือ

ยุคก่อนอารยัน  
ยุคอารยันเข้าอินเดีย
ยุคฤคเวท
ยุคเวทต่าง ๆ  
ยุคพราหมณะ
ยุคอุปนิษัท
และยุคพุทธกาล

ศาสนาพราหมณ์ เกิดในประเทศอินเดีย ก่อนพุทธศาสนา ประมาณ 1,000 ปีขึ้นไป พระพุทธเจ้า ขณะยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ไปศึกษา คำสอนของศาสนาพราหมณ์จนจบไตรเพท จบโยคะ และหมดคำสอน ของอาจารย์ ( คืออาฬาระดาบส กับอุททกะดาบส )
ศาสนาพราหมณ์ ไม่มีองค์พระศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาที่เป็นมนุษย์เหมือนศาสนาอื่น ๆ   แต่ก่อรูปขึ้นจากลัทธิบูชาธรรมชาติ และวิวัฒนาการเป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ  หลายองค์  ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาธรรมชาติ แรกเริ่มเดิมทีกำเนิดมาจากความเชื่อ ของชาวอารยันที่นับถือบูชากราบไหว้ธรรมชาติ และเชื่อว่า มีเทพเจ้าประจำ ธรรมชาตินั้น ๆ ( ทำนองเดียวกันกับการเชื่อหรือการนับถือผีปู่ยา ตายาย ของไทยเราในสมัยโบราณ )

ในสมัยพระเวทตอนต้น ชาวอารยันจัดเทพเจ้าเป็น 3 หมวด คือ

พวกที่หนึ่งอยู่บนสวรรค์
ได้แก่ วรุณ (ฝน = ไทยเรียก พระพิรุณ) สูรย์ (พระอาทิตย์) โสมะ (พระจันทร์) อุษา (แสงเงินแสงทอง) เป็นต้น  

พวกที่สองอยู่บนฟ้า  เป็นเทวดาประจำอากาศ
ได้แก่ อินทระ (พระอินทร์ = ในศาสนาพุทธ เรียก ท้าวสักกะ เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์) มารุต (ลม) เป็นต้น  

พวกที่สามอยู่บนพื้นโลก เป็นเทวดาประจำแผ่นดิน  
ได้แก่ อัคนี (ไฟ) ปฤถวี (แผ่นดิน) และยม (พระยม) เป็นต้น  ในสมัยพระเวท นับถือพระอินทร์ว่าเป็นทพเจ้าสูงสุด มีสายฟ้าเป็นอาวุธ สามารถทำลายศัตรูให้พินาศราบคาบลงได้ชั่วพริบตา

    ต่อมาในสมัยพราหมณะเกิดคำสอนว่า มีเทพองค์หนึ่ง เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้าทั้งหลายเรียกว่า พระเป็นเจ้า หรือ พรหม ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก รวมทั้งเทพเจ้าทั้งหลาย และ มนุษย์ แล้วขีดชะตาชีวิตให้เรียกว่า พรหมเนรมิต และพรหมลิขิต ตามลำดับ ( ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง พ่อแม่เท่านั้นสร้างโลก และสร้างมนุษย์  จึงเรียกพ่อแม่ว่าเป็นพรหม ) ในสมัยต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลง ความเชื่อถือ และลัทธิพิธีมาโดยลำดับทุกระยะ จากศตวรรษหนึ่งไปยังศตวรรษหนึ่ง กล่าวคือ  ได้เทวดาใหม่ ๆ  มาเพิ่มเติม  เช่น พระวิษณุ (พระนารายณ์)  และ พระศิวะ  ส่วนเทวดาเก่าในสมัยพระเวท ก็ลดความสำคัญลง เช่น  พระอินทร์ บางองค์ถูกทอดทิ้ง เช่น พระอัคนี พระวรุณ  เป็นต้น


รูปพระวิษณุ (พระนารายณ์)

แก้ไขเมื่อ 05 ธ.ค. 55 08:45:11

แก้ไขเมื่อ 04 ธ.ค. 55 17:22:24



จากคุณ : Faraday
เขียนเมื่อ : 4 ธ.ค. 55 17:01:49
ถูกใจ : รถเรณู, SadDog, Persimon, anchulee, MCMLXIV, ckman, ไซโคลน, กบน้อยจากกะลา, มะลิร้อยมาลัย

//2g.pantip.com/cafe/religious/topic/Y13021816/Y13021816.html





Create Date : 16 มิถุนายน 2556
Last Update : 16 มิถุนายน 2556 23:16:04 น.
Counter : 1913 Pageviews.

2 comment
นวราตรี


นวราตรี – ทุรคาบูชา

ตามปฏิทินฮินดูในรอบปีมีเทศกาลงานสำคัญต่างๆ เริ่มจากขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ไปจนถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ อยู่ ๓๖ งาน หากงานที่ชาวฮินดูในสยามประเทศเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง คืองานนวราตรี

งานนวราตรีจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือในช่วงปีใหม่ (ขึ้น ๑ – ๙ ค่ำ เดือนห้า ) และในช่วงกลางปี (ขึ้น ๑ -๙ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า สรัททิยะนวราตรี (Shardiya Navaratri) ความเชื่อเก่าแก่ของชาวอินเดียนั้นถือกันว่าในหนึ่งปีประกอบไปด้วยฤดูร้อน และฤดูหนาว ฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ จึงเกิดการบวงสรวงเทพเจ้าผู้คุ้มครองเพื่อขอพลังแห่งชีวิต


นวราตรี: พลังอำนาจแห่งอิสตรี

เทพเจ้าในศาสนาฮินดูมีอยู่เกินคณานับ คัมภีร์ปุราณะต่างฉบับอธิบายความเป็นมาและความสัมพันธ์แตกต่างกัน ส่งผลให้มีลัทธินิกายต่างๆ มายมายตามเทพเจ้าที่นับถือ นิกายใหญ่ๆ ได้แก่ไวษณพนิกาย บูชาพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นหลัก ไศวะนิกาย บูชาพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นมหาเทพ และนิกายศักติ ซึ่งยึดถือศักติ คือพระอุมา-ชายาพระศิวะ และเทพนารีทั้งปวงเป็นสรณะ

ณ แดนภารตะ การจัดงานนวราตรีมีหลายรูปแบบ กอปรด้วยรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันตามภูมิสถาน๒ บางแห่งรู้จักกันในชื่อเทศกาลดูเซร่า (Dussehra-ทศหรา?) หลายพื้นที่ในอินเดียภาคเหนือมักถือเทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง วาระยิ่งใหญ่ที่พระรามได้ชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์ จึงมีการทำหุ่นขนาดใหญ่ของทศกัณฐ์พร้อมกุมภกรรณ (Kumbhakarna) น้องชายและ เมฆนาถ (Meghnadh - รณพักตร์หรืออินทรชิตในพากย์ไทย) ขึ้นมา ก่อนเผาไฟในวันที่สิบของเทศกาล เรียกชื่องานช่วงนี้ว่า “ทศหรา”๓ หรือวัน (พระราม) ชนะทศกัณฐ์ ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์ ไม่มีประเพณีดังกล่าว เพราะเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์เฉลิมฉลองสิ่งอื่นแทน เช่นเทศกาลปงกัลของสังคมชาวนา หรือทุรคาบูชา เทศกาลเฉลิมฉลองการปราบมหิษาสูรของพระแม่ทุรคา ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยแห่งการเฉลิมฉลองต่างไปตามแต่ละถิ่น

หลายแห่งในรัฐทมิฬนาฑู อินเดียใต้กำหนดจัดงานนวราตรีเก้าวันเก้าคืน โดยแบ่งเป็นการบูชาเทพนารีสามองค์ คือ พระลักษมี พระสรัสวดี และพระอุมาเทวี องค์ละสามคืนไล่เรียงกันไป



อิทธิพลของเทศกาลนวราตรีที่ส่งมายังแดนไทย ถือเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้นพิภพเพื่อประทานพรแก่ ชาวโลก จึงมีการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีเก้าปางในเก้าคืน
คือ

คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา

คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด

คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง

คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูร ด้วยอาวุธ (บ้างว่าเป็นปางทุรคา)

คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ

คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร (บ้างว่าทรงปราบมหิษาสูร)

คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร

คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์

คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ


//klongthum.blogspot.com/2011_05_01_archive.html



Create Date : 13 มิถุนายน 2556
Last Update : 13 มิถุนายน 2556 22:31:43 น.
Counter : 1286 Pageviews.

1 comment
โอม




ในบทสวดมนต์ของเทพทุกองค์ในศาสนาพราหมณ์ จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "โอม..."
และในรูปวาดมหาเทพเกือบทุกรูป จะปรากฏเครื่องหมาย "โอม" อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งในภาพ ซึ่งคำว่า โอม นี้เป็นหัวใจหลักของศาสนาเลยทีเดียว!!

โอม...เป็นพยางค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคำที่ถูกเอ่ยถี่ที่สุด ในการสวดมนต์ทุกบทของศาสนา  พราหมณ์-ฮินดู

คำว่า โอม มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตุได้จากลักษณะเด่น คือ

- มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 นำหน้า

- มีเครื่องหมายคล้าย ง. งู ต่อท้าย

- มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน

(นอกจากโอมแบบมาตรฐานนี้แล้ว ยังมีอีกหลายลักษณะ ตามแต่ละท้องถิ่นและภาษาของอินเดีย ผู้เขียนจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป)

อักขระ โอม เกิดจากการเรียกพระนามของพระตรีมูรติทั้ง 3 รวมกันเป็นคำเดียว ซึ่งแยกได้ดังนี้

อะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระศิวะ (อะ)

อุ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระวิษณุ (อุ)

มะ - มาจากเสียงสุดท้ายของคำว่า พระพรหมมะ (มะ)

อะ อุ มะ....เมื่ออ่านออกเสียงให้ต่อเนื่องกัน จึงเกิดเป็นคำว่า "โอม" หมายถึงการเรียกขานพระนามของ 3 มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่
ในหนังสือบางเล่ม จะสลับความหมายไปมา บ้างก็ว่า อะ คือพระวิษณุ บ้างก็ว่า มะ คือพระศิวะ สลับไป สลับมา แต่ละเล่มก็
เลยเขียนไม่เหมือนกันเลย ขอผู้อ่านได้โปรดจำให้ขึ้นใจ จะได้ไม่สับสนนะครับ

คำว่า โอม ยังสามารถแยกออกเป็นคำ ๆ ซึ่งมีที่มาโดยการเปล่งเสียงแต่ละคำของมหาเทพได้อีกดังนี้

1. ตัว อะ - ออกจากพระพักต์ทางทิศเหนือของมหาเทพ

2. ตัว อุ - ออกจากพระพักต์ทางทิศตะวันตกของมหาเทพ

3. ตัว มะ - ออกจากพระพักต์ทางทิศใต้ของมหาเทพ

4. ตัว . (พินทุ) - ออกจากพระพักต์ทางทิศตะวันออกของมหาเทพ

5. เสียง นาท (เสียงที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยินและเข้าใจได้) – ออกจากกลางพระพักต์ของมหาเทพ

เมื่อท่านผู้ศรัทธาเดินผ่านเทวาลัยพระพิฆเนศวร หรือมหาเทพองค์ใดๆ ควรพนมมือขึ้นเพื่อทำความเคารพ และให้เอ่ยคำว่า
"โอม..." สั้น ๆ เพียงคำเดียวในกรณีที่จำบทสวดเทพองค์นั้น ๆไม่ได้ และไม่ใช่เอ่ยคำว่า "สาธุ" นะครับ ต้องเป็นคำว่า "โอม"
เท่านั้น จะสวดมนต์ จะขอพร จะกราบ หรือกระทำสิ่งใดก็ตามแต่ ให้เอ่ยคำว่า "โอม" เสมอ

ฉะนั้นนับแต่นี้ไป หากท่านได้พบเห็นเทวรูปพระพิฆเนศ หรือเทพองค์อื่นของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใด
ก็ตาม ให้เอ่ยคำว่า "โอม" แทนคำว่า "สาธุ" ก็จะถูกต้องตามหลักปฏิบัติมากกว่าครับ

ท่านผู้ศรัทธาควรหมั่นสวดบูชาเครื่องหมายโอมนี้ด้วยเสมอหลังจากที่สวดบูชาเทพทุกองค์เสร็จแล้ว มีคำสวดดังนี้

โอม การัม พินทุสัมยุกตัม

นิตยัม ธยายันติ โยคินา

กามะทัม โมกะสะทัม ไจวะ

โอม การายะ นะโม นะมะ ฯ

ความหมายของบทสวด :

เครื่องหมาย โอม อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ปรากฏคู่กับเครื่องหมาย พินทุ เสมอ อันจะเป็นเครื่องหมายที่นำความปรารถนา สุขสมหวังมาให้
สามารถขจัดอุปสรรคทั้งหลายให้หมดสิ้น และชี้นำเหล่าโยคีไปสู่ปรีชาญาณ ข้าพเจ้าขอน้อมสักการะเครื่องหมายโอมอันศักดิ์สิทธิ์นี้....

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล : //www.SiamGanesh.com
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



Create Date : 13 มิถุนายน 2556
Last Update : 13 มิถุนายน 2556 19:29:37 น.
Counter : 566 Pageviews.

1 comment
1  2  

Faraday
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ความสงบเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติ
ความสดชื่นงดงาม สรรพเสียงที่ไพเราะเสนาะหู
คือสิ่งที่ควรรักษาให้ดำรงค์อยู่ ในช่วงชีวิตของเรา

ทำความเข้าใจสังคม สิ่งแวดล้อม ที่เราอาศัยอยู่
และดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องเหมาะสม
คือสิ่งดีที่สุดของการดำรงค์ชีวิต

ถ้าแม้ไม่สมที่หวัง ไม่เป็นไร ลืมมันเสีย
แล้วทำเหตุไหม่เพื่อให้มันเกิดอย่างที่ตั้งใจไว้

--------------------------------------------

สถิติ

จำนวน Blog รวม 448 Blog
จำนวนผู้ชม 200003 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 670 ครั้ง
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ (๑๓.๐๗ น.)


จำนวน Blog รวม 445 Blog
จำนวนผู้ชม 197298 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 658 ครั้ง
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ (๒๒.๑๗ น.)

จำนวน Blog รวม 423 Blog
จำนวนผู้ชม 140566 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 349 ครั้ง
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ (๐๙.๔๑ น.)


จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122229 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (๐๘.๐๘ น.)

จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122024 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ (๑๘.๕๒ น.)

จำนวน Blog รวม 405 Blog
จำนวนผู้ชม 120971 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 208 ครั้ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ (๙.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 398 Blog
จำนวนผู้ชม 111449 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 167 ครั้ง
๒ มกราคม ๒๕๕๖

จำนวน Blog รวม 391 Blog
จำนวนผู้ชม 102211 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 140 ครั้ง
๒ ธันวาคม ๒๕๕๕



จำนวน Blog รวม 390 Blog
จำนวนผู้ชม 92241 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 128 ครั้ง
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

จำนวน Blog รวม 375 Blog
จำนวนผู้ชม 81537 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๒๑.๓๙ )

จำนวน Blog รวม 374 Blog
จำนวนผู้ชม 80228 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๐๙.๒๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 78077 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๕.๑๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 77503 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๑.๑๘ )

จำนวน Blog รวม 269 Blog
จำนวนผู้ชม 38102 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 69 ครั้ง
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๑.๒๕ น.)

จำนวน Blog รวม 210 Blog
จำนวนผู้ชม 18,049 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
6 กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๖.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 62 Blog
จำนวนผู้ชม 5,278 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ (๑๐.๑๙ น.)
New Comments
Group Blog