เพลงบทปลงสังขาร (ฉบับโบราณ)
เป็นบทสวดสำหรับพิจารณาความไม่เที่ยง
ความไพเราะของบทปลงสังขารอยู่ที่สาระของบทสวดที่กล่าวถึงความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์

­ที่เถียงไม่ได้

มนุษย์เราเอ๋ย เกิดมาทำไม นิพพานมีสุข
อยู่ใยมิไป ตัณหาหน่วงหนัก หน่วงชักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้ ตัณหาผูกพัน ห่วงนั้นพันผูก
ห่วงลูกห่วงหลาน ห่วงทรัพย์ศฤงคาร จงสละเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน ข้ามพ้นสามภพ

ยามหนุ่มสาวน้อย หน้าตาแช่มช้อย งามแล้วทุกประการ
แก่เฒ่าหนังยาน แต่ล้วนเครื่องเหม็น เอ็นใหญ่เก้าร้อย
เอ็นน้อยเก้าพัน มันมาทำเข็ญ ให้ร้อนให้เย็น
เมื่อยขบทั้งตัว ขนคิ้วก็ขาว นัยน์ตาก็มัว

เส้นผมบนหัว ดำแล้วกลับหงอก หน้าตาเว้าวอก
ดูน่าบัดสี จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกสร จะเข้าที่นอน
พึงสอนภาวนา พระอนิจจัง พระอนัตตา

เราท่านเกิดมา รังแต่จะตาย ผู้ดีเข็ญใจ
ก็ตายเหมือนกัน เงินทองทั้งนั้น มิติดตัวไป
ตายไปเป็นผี ลูกเมียผัวรัก เขาชักหน้าหนี
เขาเหม็นซากผี เปื่อยเน่าพุพอง หมู่ญาติพี่น้อง
เขาหามเอาไป เขาวางลงไว้ เขานั่งร้องไห้

แล้วกลับคืนมา อยู่แต่ผู้เดียว ป่าไม้ชายเขียว
เหลียวไม่เห็นใคร เห็นแต่ฝูงแร้ง เห็นแต่ฝูงกา
เห็นแต่ฝูงหมา ยื้อแย่งกันกิน ดูน่าสมเพช
กระดูกกูเอ๋ย เรี่ยร่ายแผ่นดิน แร้งกาหมากิน
เอาเป็นอาหาร เที่ยงคืนสงัด ตื่นขึ้นมินาน

ไม่เห็นลูกหลาน พี่น้องเผ่าพันธุ์ เห็นแต่นกเค้า
จับเจ่าเรียงกัน เห็นแต่นกแสก ร้องแรกแหกขวัญ
เห็นแต่ฝูงผี ร้องไห้หากัน มนุษย์เราเอ๋ย
อย่าหลงนักเลย ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ
ค้ำจุนเอาไว้ จะได้ไปสวรรค์ จะได้ทันพระพุทธเจ้าจะได้เข้าพระนิพพาน

อะหัง วันทามิ สัพพะโส
อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโยโหตุ .







Create Date : 30 ตุลาคม 2555
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 18:45:55 น.
Counter : 6708 Pageviews.

0 comment
เมตตาอัปปมัญญา



Create Date : 30 ตุลาคม 2555
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 18:27:11 น.
Counter : 972 Pageviews.

0 comment
สวดสรภัญญะ
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร

องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย

พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ

ข้าขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร







Create Date : 30 ตุลาคม 2555
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 18:11:54 น.
Counter : 702 Pageviews.

0 comment
ปางเมื่อพระองค์ปะระมะพุทธ



Create Date : 22 ตุลาคม 2555
Last Update : 22 ตุลาคม 2555 21:43:40 น.
Counter : 888 Pageviews.

2 comment
กิเลส
กิเลส  มีองค์ประกอบคือ

อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน  ทั้งหมดเป็น  กิเลส

อวิชชา คือความไม่รู้

เป็นต้นเหตุไห้เกิด  กิเลส  อวิชชาตัดได้ด้วยการมี วิชชา

วิชชา
  คือความรู้

วิชชา  คือความรู้แจ้งใน อริยสัจ เมื่อมีความรู้แจ้งแล้ว อวิชชาก็ดับ นิพพาน  ก็ปรากฏ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ เช่น
  • ยึดมั่นถือมั่นใน  เบญจขันธ์  คือร่างกายและจิตใจรวมกันว่าเป็น "ตัวตน" และยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ถูกใจ อันมาเกี่ยวข้องด้วยว่าเป็น "ของตน"
  • หรือที่ละเอียดลงไปกว่านั้นก็คือยึดถือจิตส่วนหนึ่งว่าเป็น"ตัวเรา" แล้วยึดถือเอารูปร่างกาย ความรู้สึก ความจำ และความนึกคิด ๔ อย่างนี้ว่าเป็น "ของเรา"
  • อุปาทาน 4 อย่าง
  1. กามุปาทาน ยึดติดในกาม
  2. ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ
  3. สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย
  4. อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวกู ของกู

พุทธภาษิตมีอยู่ว่า "เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เบญจขันธ์  ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทานนั่นแหละเป็นตัวทุกข์"

ดังนั้น เบญจขันธ์  ที่ไม่มีอุปาทานครอบงำนั้นหาเป็นทุกข์ไม่ ฉะนั้น คำว่าบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นจึงหมายถึง การหลุดพ้นจากอุปาทานว่า "ตัวเรา" ว่า "ของเรา" นี้โดยตรง ดังมีพุทธภาษิตว่า "คนทั้งหลายย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน"

อ้างอิง พุทธทาสภิกขุ. "ตัวกู-ของกู"

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อุปาทาน เกิดจาก  ตัณหา

ตัณหา คือ
ความกำหนัด หรือ ความอยาก หรือ ไม่อยาก ในความรู้สึก หรือเวทนาที่เกิดขึ้นมา

ตัณหา

เกิดจาก  โลภะ  โทสะ  โมหะ  ที่เป็นผลมาจาก  อายตนะภายใน  กระทบอายตนะภายนอก  ที่เรียกว่า  ผัสสะ จนเกิด  เวทนา  ( สุข ทุกข์ เฉย ๆ )

อายตนะภายใน คือ ประสาทสัมผัส ประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ

อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (เย็น ร้อน อ่อนแข็ง) อารมย์ทางใจ หรือธรรมารมย์

เมื่อมี กิเลส ก็กระทำกรรมแล้วเกิดเป็นวิบาก หมุนเวียนกันเป็นวงรอบ ทำไห้ ออกจากทุกข์ไม่ได้

วิธีดับกิเลส

ก็คือต้องเจริญ  มรรค  จนมี  วิชชา

การเจริญมรรค คือ เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือ สมถะ และ วิปัสสนา

-------------------------------------------------------------------------------------------------------
แบ่งกิเลสตาม สังโยชน์

สังโยชน์  คือ  กิเลสที่ผูกมัดใจคนหรือสัตว์ ไว้กับทุกข์ซึ่งมี ๑๐ อย่าง

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
๖. รูปราคะ ความติดใจใน
อายตนะภายในรูปธรรมอันประณีต
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในธรรม
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ


ผู้ที่ตัดกิเลสได้ก็คือพระอริยะบุคคล โดยแบ่งตามภูมิธรรมได้ดังนี้

พระโสดาบัน สามารถละสังโยชน์ขั้นต้นได้ ๓ อย่างคือ

๑. สักกายทิฏฐิ
๒. วิจิกิจฉา
๓. สีลัพพตปรามาส

พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงได้เท่านั้น

๔. กามราคะ เบาบาง
๕. ปฏิฆะ เบาบาง


พระอนาคามี สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำที่เหลืออีก ๒ ตัวคือ

๔. กามราคะ
๕. ปฏิฆะ

พระอรหันต์ สามารถละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีก ๕ ข้อคือ

๖. รูปราคะ
๗. อรูปราคะ
๘. มานะ
๙. อุทธัจจะ
๑๐. อวิชชา





Create Date : 16 สิงหาคม 2555
Last Update : 16 สิงหาคม 2555 17:54:27 น.
Counter : 2714 Pageviews.

1 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  

Faraday
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ความสงบเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติ
ความสดชื่นงดงาม สรรพเสียงที่ไพเราะเสนาะหู
คือสิ่งที่ควรรักษาให้ดำรงค์อยู่ ในช่วงชีวิตของเรา

ทำความเข้าใจสังคม สิ่งแวดล้อม ที่เราอาศัยอยู่
และดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องเหมาะสม
คือสิ่งดีที่สุดของการดำรงค์ชีวิต

ถ้าแม้ไม่สมที่หวัง ไม่เป็นไร ลืมมันเสีย
แล้วทำเหตุไหม่เพื่อให้มันเกิดอย่างที่ตั้งใจไว้

--------------------------------------------

สถิติ

จำนวน Blog รวม 448 Blog
จำนวนผู้ชม 200003 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 670 ครั้ง
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ (๑๓.๐๗ น.)


จำนวน Blog รวม 445 Blog
จำนวนผู้ชม 197298 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 658 ครั้ง
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ (๒๒.๑๗ น.)

จำนวน Blog รวม 423 Blog
จำนวนผู้ชม 140566 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 349 ครั้ง
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ (๐๙.๔๑ น.)


จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122229 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (๐๘.๐๘ น.)

จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122024 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ (๑๘.๕๒ น.)

จำนวน Blog รวม 405 Blog
จำนวนผู้ชม 120971 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 208 ครั้ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ (๙.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 398 Blog
จำนวนผู้ชม 111449 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 167 ครั้ง
๒ มกราคม ๒๕๕๖

จำนวน Blog รวม 391 Blog
จำนวนผู้ชม 102211 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 140 ครั้ง
๒ ธันวาคม ๒๕๕๕



จำนวน Blog รวม 390 Blog
จำนวนผู้ชม 92241 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 128 ครั้ง
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

จำนวน Blog รวม 375 Blog
จำนวนผู้ชม 81537 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๒๑.๓๙ )

จำนวน Blog รวม 374 Blog
จำนวนผู้ชม 80228 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๐๙.๒๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 78077 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๕.๑๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 77503 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๑.๑๘ )

จำนวน Blog รวม 269 Blog
จำนวนผู้ชม 38102 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 69 ครั้ง
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๑.๒๕ น.)

จำนวน Blog รวม 210 Blog
จำนวนผู้ชม 18,049 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
6 กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๖.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 62 Blog
จำนวนผู้ชม 5,278 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ (๑๐.๑๙ น.)
New Comments
Group Blog
All Blog