ทำความรู้จัก ศาสนาเชน
ประวัติความเป็นมา

ศาสนาเชน หรือ ไชนะ แปลว่า ผู้ชนะ คำว่า "เชน" เป็นชื่อของศาสดาผู้ตั้งศาสนา จึงตั้งชื่อศาสนาว่า ศาสนาเชน เป็นการตั้งชื่อศาสนาเพื่อให้เกียรติแก่ผู้เป็นศาสดา เช่นเดียวกับพระพุทธศาสนา ก็เป็นการตั้งชื่อตามพระนามเกียรติยศคือ พุทธ แปลว่า ท่านผู้ตรัสรู้ ศาสนาเชนเป็นอเทวนิยมเช่นเดียวกับพุทธศาสนา

ในอินเดียปัจจุบันมีศาสนาสำคัญ 3 ศาสนา คือ พราหมณ์-ฮินดู พุทธศาสนา และศาสนาเชน ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.  (600 + 2012 = 2,612 ปี)

ศาสนานี้คัดค้านศาสนพิธีและความเชื่อในคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ เช่น ศาสนิกชนมีความเชื่อว่า พระมหาวีระคือศาสดาหรือ  "องค์ตีรถังกร" (ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป) เป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน ดังนั้น ศาสนาเชนจึงมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ก่อนหน้าศาสดาพระมหาวีระช้านาน และเชื่อกันว่าพระมหาวีระ คือ องค์ศาสดา หรือ ตีรถังกร องค์สุดท้ายของศาสนาเชน

ศาสดาองค์ก่อนพระมหาวีระคือ องค์ศาสดาปราศวนาท ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการ  นิพพานของมหาวีระ 250 ปี ปัจจุบันสาวกศาสนาเชนมีอยู่ประมาณ 2,000,000 คน กระจัดกระจายกันอยู่ในเกือบทุกรัฐของอินเดีย แต่ส่วนใหญ่จะมีอยู่มากในบริเวณภาคตะวันตกของอินเดีย อุตรประเทศ ไมเซอร์ มัธยมประเทศ และมหาราษฏรในอินเดีย ส่วนเชนศาสนิกในต่างประเทศไม่มีผู้นับถือ

ศาสดา

ศาสดาของศาสนาเชน เดิมมีนามว่า "วรรธมาน" แปลว่า ผู้เจริญมีกำเนิดในสกุลกษัตริย์ เมืองเวสาลี พระบิดานามว่า สิทธารถะ พระมารดานามว่า ตริศาลา เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์หลายอย่างโดยควรแก่ฐานะแห่งกษัตริย์ เผอิญวันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับสหาย ได้มีช้างตกมันตัวหนึ่งหลุดออกจากโรงวิ่งมาอาละวาด ทำให้ฝูงชนแตกตื่นตกใจ ไม่มีใครจะกล้าเข้าใกล้และจัดการช้างตกมันตัวนี้ให้สงบได้ แต่เจ้าชายวรรธมานได้ตรงเข้าไปหาช้าง และจับช้างพากลับไปยังโรงช้างได้ตามเดิม เพราะเหตุที่แสดงความกล้าหาญจับช้างตกมันได้จึงมีนามเกียรติยศว่า "มหาวีระ" แปลว่า ผู้กล้าหาญมาก

มหาวีระมีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน 2 องค์ คือ พระเชษฐภคินี และพระเชษฐภาดา พระมหาวีระ เป็นโอรสองค์สุดท้าย
เมื่อเจ้าชายวรรธมานมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ทรงได้รับพิธี ยัชโญปวีต คือพิธี สวมด้ายมงคลแสดงพระองค์เป็นศาสนิกตามคติศาสนาพราหมณ์ หลังจากพระบิดาได้ทรงส่งเจ้าชายวรรธมานไปศึกษาลัทธิของพราหมณาจารย์หลายปี เจ้าชายทรงสนพระทัยในการศึกษาแต่ในพระทัยมีความขัดแย้งกับคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุดในโลก ส่วนวรรณะอื่นต่ำต้อย แม้วรรณะกษัตริย์ยังต่ำกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่แล้วพวกพราหมณ์ได้ประพฤติกาย วาจา และ ใจ เลวทรามไปตามทิฐิและลัทธินั้น ๆ

เมื่อเจ้าชายวรรธมานมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา พระบิดาทรงจัดให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา ซึ่งเวลาต่อมาได้พระธิดาองค์หนึ่งนามว่า อโนชา หรือ ปริยทรรศนา เจ้าชายวรรธมานกับพระชายาได้เสวยสุขในฆราวาสวิสัยด้วยความเกษมสำราญจนพระชนมายุได้ 28 พรรษา มีความเศร้าโศกเสียพระทัยอย่างมากจากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาและพระมารดา ด้วยวิธีการอดอาหารตามข้อวัตรปฏิบัตรในศาสนาพราหมณ์ซึ่งเรียกว่า "ศาสนอัตวินิบาตกรรม" ซึ่งถือว่าเป็นบุญอย่างหนึ่ง

การสูญเสียพระบิดาและพระมารดาได้ทำให้เจ้าชายทรงเศร้าพระทัยมาก ทรงสละพระชายาและพระธิดา เปลี่ยนผ้าคลุมพระกายเป็นแบบนักพรต เสด็จออกจากนครไพสาลี และได้ทรงประกาศมหาปฏิญญาในวันนั้นว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป 12 ปี ขอไม่พูดกับใครแม้คำเดียว พระมหาวีระได้ทรงบำเพ็ญตนเป็น  นักพรตถือการขอเป็นอาชีพ ได้เสด็จเที่ยวไปตามคามนิคมต่าง ๆโดยมิได้พูดอะไรกับใครเป็นเวลา 12 ปี ได้บรรลุความรู้ขั้นสูงสุดเรียกว่า ไกวัล ถือเป็นผู้หลุดพ้นกิเลสทั้งปวง เป็นพระอรหันต์และเป็นผู้ชนะโดยสิ้นเชิง

เมื่อพระมหาวีระได้ทรงบรรลุไกวัลแล้ว จึงทรงพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องละปฏิญญานั้นเสียกลับมาสู่ภาวะเดิมคือยอมพูดกับคนทั้งหลาย เพื่อช่วยกันปฏิรูปความคิดและความประพฤติเสียใหม่ แล้วได้เริ่มเที่ยวประกาศศาสนาใหม่อันได้นามว่า เชน
ศาสดามหาวีระได้ทรงใช้เวลาในการสั่งสอนสาวกไปตามคามนิคมต่างๆเป็นเวลา 30 ปี และได้ทรงเข้าถึงนิพพานหรือมรณภาพ เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษา ในประมาณปีที่ 572 ก่อน ค.ศ. ที่เมืองปาวา หรือสาธารณรัฐมัลละ และปาวาบุรีนี้ได้เป็นสังเวชนียสถานสำหรับศาสนิกเชนทุกคน



คัมภีร์

คัมภีร์ของศาสนาเชนเป็นเรื่องที่ยากแก่การค้นคว้า ไม่ค่อยเปิดเผยเหมือนศาสนาอื่น สาวกบางคนที่มีคัมภีร์ก็พยายามจะเก็บซ่อนคัมภีร์ไว้อย่างมิดชิด หลักสำคัญของคัมภีร์ศาสนาเชนคือ "คัมภีร์อาคมะ" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "สิทธานตะ" และ  "คัมภีร์กัลปสูตร"
ส่วนแรกแห่งคำสอนประกอบด้วยอังคะ (ส่วน) 12 อังคะ แต่อังคะที่ 12 ได้สูญหายไป ตามหลักฐานปรากฏว่าได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ประมาณ 200 ปี ภายหลังสมัยของมหาวีระองค์ศาสดาของศาสนาเชน

คัมภีร์ในปัจจุบันมีอยู่ 37 คัมภีร์ส่วนใหญ่จะเขียนขึ้นมาภายหลัง กล่าวถึงชีวประวัติของมหาวีระสาวกของศาสนาเชนมีความเห็นในเรื่องคัมภีร์ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น นิกาย "เศวตัมพร" ยึดคัมภีร์ "อาคมะ" เป็นคัมภีร์ศาสนาของพวกตน โดยมีความเชื่อมั่นว่าสาวกผู้ใกล้ชิดมหาวีระเป็นผู้รวบรวมคัมภีร์อาคมะขึ้น แต่นิกาย "ทิคัมพร" เชื่อว่าคัมภีร์ดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้ว คำสอนของมหาวีระถูกรวบรวม แก้ไข หรือเขียนเพิ่มเติมขึ้นโดยนักบวชสมัยโบราณหลายท่าน
คัมภีร์ "อาคมะ" ประกอบด้วยคัมภีร์ 45 เล่ม และแบ่งย่อยออกไปเป็นคัมภีร์ละ 11 ส่วน กับเล่มที่ 12 เรียกว่า "ฤทธิวาท" เป็นอุปางคะ 11 ส่วน แบ่งเป็นมูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกสูตร 2 เล่ม และเป็นปกิณกะ 10 เล่ม



หลักธรรม

หลักธรรมคำสอนของศาสนาเชน แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ ๆ กว้าง ๆ 3 หลัก ดังนี้

1. หลักธรรมขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หลักอนุพรต 5 (ศีล 5 ) มีดังต่อไปนี้

1.1 อหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต

1.2 สัตยะ พูดความจริง ไม่พูดเท็จ

1.3 อัสเตยะ ไม่ลักขโมย รวมทั้งไม่หลบเลี่ยงภาษีอากร

1.4 พรหมจรยะ อย่างต่ำคือการไม่ประพฤติผิดในกาม

1.5 อปริครหะ การไม่โลภ ไม่ควรมีข้าวของมากเกินจำเป็น

สำหรับอนุพรตในข้อ 1 คือ อหิงสามีรายละเอียดในการแบ่งชั้นของสัตว์ออกเป็นประเภทตามความสามารถทางประสาทสัมผัส และตามลักษณะที่เคลื่อนไหวได้หรือไม่คือ อาตมันที่ถูกผูกมัดมี 2 ได้แก่ สถาวระ (เคลื่อนไหวไม่ได้) และตรุสะ (เคลื่อนไหวได้)

ในประเภทเคลื่อนไหวไม่ได้ (สถาวระ)  มีเพียงอายตนะเดียวคือ
อายตนะสำหรับสัมผัส ได้แก่ ผักหญ้า

ในประเภทเคลื่อนไหวได้ สัตว์ที่มีอายตนะ 2 คือ
ทางสัมผัส กับ ทางลิ้มรส เช่น หนอน

สัตว์ที่มีอายตนะ 3 คือ
ทางสัมผัส ลิ้มรส ได้กลิ่น เช่น มด

สัตว์ที่มีอายตนะ 4 คือ เพิ่มในทางมองเห็น เช่น ผึ้ง

สัตว์ที่มีอายตนะ 5 คือ
เพิ่มในทางได้ยินเสียง เช่น นก

ผู้ที่นับถือศาสนาเชนจะฆ่า หรือกินสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ จะทำได้เฉพาะที่มีอายตนะทางสัมผัสอย่างเดียว คือ ผักหญ้า

สรุปก็คือ เชนศาสนิกทุกคนทานอาหารมังสวิรัติ


2. หลักปรัชญา หลักปรัชญาในศาสนาเชน แบ่งออกเป็น 2 ข้อ ดังนี้

2.1 ชญาน แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้

2.1.1 มติชญาน ความรู้ทางประสาทสัมผัส

2.1.2 ศรุติชญาน ความรู้เกิดจากการฟัง

2.1.3 อวธิชญาน ความรู้เหตุที่ปรากฎในอดีต

2.1.4 มนปรยายชญาน ชญานกำหนดรู้ใจผู้อื่น

2.1.5 เกวลชญาน ชญานอันสมบูรณ์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนบรรลุนิรวาณ




2.2 ชีวะและอชีวะ

ศาสนาเชนเป็นศาสนาทวินิยม กล่าวคือ มองสภาพความจริงว่ามีส่วนประกอบของสิ่งที่มีอย่างเที่ยงแท้เป็นนิรันดรว่ามีอยู่ 2 สิ่งดังนี้

1. ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต หรือ อาตมัน

2. อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่วัตถุ

อชีวะหรือสสารประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน 5 ประการ คือ การเคลื่อนไหว (ธัมมะ) การหยุดนิ่ง (อธัมมะ) อวกาศ (อากาศ) สสาร และ กาล ทั้งหมดเป็นนิรันดร (ปราศจากการเริ่มต้น) และทั้งหมดยกเว้นวิญญาน (ชีวะ) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต และทั้งหมดยกเว้นสสาร เป็นสิ่งไม่มีตัวตน การเคลื่อนที่และการหยุดนิ่ง โดยตัวของมันเองไม่มีอยู่ จะต้องมีสิ่งอื่นมาทำให้มันเคลื่อนที่และหยุดนิ่ง องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของอชีวะหรือสสารทั้ง 5 ดังกล่าวมีกาล (เวลา)  ซึ่งเป็นนิรันดรเป็นองค์ประกอบ
ถ้ากล่าวโดยพิสดารทุกอย่าง แบ่งออกเป็น 9 ดังต่อไปนี้

1. ชีวะ หรือ อาตมัน

2. อชีวะ หรือวัตถุ

3. ปุณยะ ได้แก่ บุญ

4. ปาปะ ได้แก่ บาป

5. กรรม ได้แก่ การกระทำ

6. พันธะ ได้แก่ ความผูกพัน

7. สังสาระ ได้แก่ ความเวียนว่ายตายเกิด

8. นิรชระ ได้แก่ การทำลายกรรม

9. โมกษะ ได้แก่ ความหลุดพ้น


3. หลักโมกษะ โมกษะคือการหลุดพ้น หรือความเป็นอิสระของวิญญาน พูดง่าย ๆ คือ การทำให้วิญญานหลุดพ้นจากอัตตา และจากความไม่บริสุทธิ์ ไม่ต้องมาเกิดอีก
ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้วจะไปรวมอยู่กับพรหม ส่วนศาสนาเชน เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้ว ก็จะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกภาพที่เรียกว่า "สิทธศิลา" ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

ข้อปฏิบัติที่จะบรรลุโมกษะ  ศาสนาเชน มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

1. ความเชื่อที่ถูกต้อง ได้แก่ เชื่อในศาสดาทั้ง 24 องค์ ของศาสนาเชน เชื่อในเชนศาสตร์ หรือคัมภีร์ของศาสนาเชน และเชื่อในนักบวชผู้สำเร็จผลในศาสนาเชน

2. ความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่ รู้สิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง และด้วยความแน่ใจ

3. ความประพฤติที่ถูกต้อง มีข้อปฏิบัติทั้งของนักบวชและคฤหัสถ์ แต่ที่นับว่าสำคัญที่สุดก็คือ อหิงสา การไม่เบียดเบียน

หลักการทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นทางทำลายกรรม คือการกระทำ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการถูก ผูกมัด หรือ ผูกพันตามหลักปรัชญาของศาสนานี้

นิกาย

นิกายในศาสนาเชน แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ

1. นิกายเศวตัมพร

นำโดยสถูลภัทร ส่วนใหญ่ประจำอยู่ในแคว้นพิหาร นุ่งห่มขาว ที่หน้าสำนักจะติดตั้งรูป "ตีรถังกร" ประดับด้วยเครื่องนุ่งห่ม และมองตรงไปข้่างหน้า
ปฏิบัติธรรมถือหลักศีล 5 เป็นพื้น คือ

อวิหิงสา
สัจจะ
อัสเตยะ
พรหมจรรย์ และ
อปริครหะ

มีการทำสังคายนา รวบรวมคัมภีร์ศาสนาไว้เป็นหมวดหมู่ และยังมีการแตกแยกเป็นนิกายย่อยลงไปอีกถึง 84 นิกาย ที่ต่างกันโดยมากเป็นเรื่องของความเห็นที่ทำให้ปฏิบัติต่างกันออกไป เช่น นิกายหนึ่งเห็นว่าต้องบูชารูป ตีรถังกร เพราะเป็นศาสดา อีกนิกายหนึ่งเห็นว่า เพียงเคารพนับถือก็พอไม่ต้องบูชาเพราะ ตีรถังกร มิใช่เทพเจ้า อีกนิกายหนึ่งเห็นว่า ควรสร้างรูปเคารพ แต่อีกนิกายเห็นว่าไม่ควรสร้างรูปเคารพ เป็นต้น


นักบวชหญิงเศวตัมพร (ชุดขาว)


2. นิกายทิฆัมพร

นำโดยภัทรพาหุ ปฏิบัติเคร่งครัดโดยเฉพาะข้อ ยริครหะ คือ ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม มีลักษณะเป็นการทรมานตน ศาสนิกโดยทั่วไปไม่สามารถจะปฏิบัติตามได้ ถือหลักที่สำคัญที่สุด 3 ประการคือ

1) การอดอาหารหรือไม่กินอาหารใด ๆ แม้แต่น้ำ

2) ไม่มีพันธนาการแม้แต่ผ้านุ่งห่มใดๆ รวมทั้งสมบัติอื่น ๆ

3) ไม่อนุญาตให้สตรีบวช และบรรลุธรรม

แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 5 นิกาย ไม่มีการทำสังคายนาถือคัมภีร์ที่รวบรวมโดยภัทรพาหุว่า สมบูรณ์แล้ว รูปองค์ ตีรถังกร ในสำนักเป็นรูปเปลือย นักบวชไม่ใช้เครื่องนุ่งห่ม



พิธีกรรม

พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาเชน คือ พิธีกรรมเนื่องด้วยการระลึกถึงองค์ศาสดาทุกพระองค์ โดยเฉพาะพิธีกรรมระลึกถึงศาสดามหาวีระ เช่น พิธีฉลองวันประสูติของมหาวีระ พิธี ปัชชุสนะ คือการกระทำใจให้สงบ การอภัย และ การเสียสละ อาศัยอยู่เฉพาะที่แห่งเดียวในฤดูฝน มีการบริจาคทานให้คนยากจนในวันสุดท้ายแห่งพิธีกรรม และมีการนำเอารูปองค์ศาสดาไปแห่ตามท้องถนนและในที่ต่าง ๆ

ในแต่ละปีจะมีการจัดพิธีกรรมที่เรียกว่า ไกตระ คือ การจัดพิธีเคารพรูปองค์ศาสดา ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 9 วัน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน และเดือนกันยายน - ตุลาคม ในพิธีระลึกถึง วันนิรวาณ ของมหาวีระ วันพระจันทร์เต็มดวงในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ศาสนิกชนก็จะจุดตะเกียง เพื่อให้เกิดแสงสว่างไปทั้งร่างกาย และจิตใจ และต่อไปอีก 5 วัน ก็เป็นพิธี ญานปัญจมะ พิธีกรรมเคารพพระคัมภีร์ และมีการจาริกแสวงบุญไปยัง ภูเขาสะตรันชัย อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่ง ตีรถังกรองค์แรก
พิธีกรรมประจำวัน คือ พิธีชลบูชา การทำความสะอาดองค์ตีรถังกรด้วยน้ำและเช็ดให้แห้งอย่างสำรวมระวังมิให้น้ำหกหยดลงพื้นเด็ดขาด และการถวายอาหาร คือ ข้าว และผลไม้แห้งในเวลาเช้า และพอตอนเย็นทำพิธีอารติบูชา คือการแกว่งตะเกียงจากซ้ายไปขวาเบื้องหน้าองค์ตีรถังกรในนิกายเศวตัมพร พิธีชลบูชา นอกจากจะทำให้สะอาดองค์ตีรถังกรด้วยน้ำสะอาดแล้วยังต้องล้างด้วยน้ำนมอีกแล้วกรองผ้าให้ใหม่ ตกแต่งให้งามด้วยเครื่องประดับ เช่น ทอง เงิน สร้อย มงกุฎ กำไล หรือพวงมาลัย เป็นต้น

สัญลักษณ์

ศาสนาเชน ได้ใช้รูปของมหาวีระองค์ศาสดา เป็นสัญลักษณ์ คล้ายกับพุทธศาสนา คือ พระพุทธรูป เป็นสัญลักษณ์ต่างกันแต่รูปมหาวีระเป็นรูปเปลือย และต่อมา ศาสนาเชนได้ถือเอาลวดลายต่าง ๆ ซึ่งมีภาพมหาวีระอยู่ในวงกลมประกอบอยู่ด้วย
ปัจจุบันได้ถือรูปทรงกระบอกตั้ง มีบรรจุสัญลักษณ์อยู่ข้างใน 4 ประการ ดังนี้

1. รูปกงจักร สัญลักษณ์อหิงสาอยู่บนฝ่ามือ

2. รูปสวัสดิกะ เครื่องหมายแห่งสังสาร

3. จุด 3 จุด สัญลักษณ์แห่งรัตนตรัย - ความเห็นชอบ ความรู้ชอบ ความประพฤติชอบ

4. จุด 1 จุด อยู่บนเส้นครึ่งวงกลมตอนบนสุด คือ วิญญาณแห่งความหลุดพ้น เป็นอิสระสถิตอยู่ ณ สถานที่สูงสุดของเอกภาพ







สัญลักษณ์นี้มาจากความเชื่อที่ว่า เวลาและเอกภาพเป็นสิ่งนิรันดร ไม่มีรูป โลกคงมีอยู่ไม่มีวันจบสิ้น เป็นสภาพนิรันดร ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่สภาวะเปลี่ยนแปลงคงอยู่ตลอดกาล อวกาศเป็นสิ่งขยายไร้รูป เป็นที่รองรับเนื้อที่ทั้งมวลของเอกภาพ และเอกภาพมีรูปร่างเหมือนคนยืนกางขา เอามือเท้าสะเอว รูปร่างเพรียว เอวแบน ตรงกลางเอกภาพมีที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ เป็นบริเวณที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทุกชนิดมีอยู่ เหนือบริเวณตอนกลางของเอกภพขึ้นไป คือ โลกชั้นบน โลกชั้นนี้มีสองส่วน มีสวรรค์ 16 ชั้น มีเขตของท้องฟ้า 14 เขต ชั้นบนที่สุดของเอกภาพเป็นที่ตั้งของ สิทธศิลา ซึ่งเป็นสถานที่มีลักษณะบริเวณโค้ง เป็นที่สถิตของวิญญาณที่หลุดพ้นออกจากกายที่อยู่บนโลกมนุษย์ เรียก ไกวัล


//board.palungjit.com/f2/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%99-jainism-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98-buddhism-224343.html






Create Date : 02 มกราคม 2556
Last Update : 3 มกราคม 2556 14:47:45 น.
Counter : 7813 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Faraday
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ความสงบเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติ
ความสดชื่นงดงาม สรรพเสียงที่ไพเราะเสนาะหู
คือสิ่งที่ควรรักษาให้ดำรงค์อยู่ ในช่วงชีวิตของเรา

ทำความเข้าใจสังคม สิ่งแวดล้อม ที่เราอาศัยอยู่
และดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องเหมาะสม
คือสิ่งดีที่สุดของการดำรงค์ชีวิต

ถ้าแม้ไม่สมที่หวัง ไม่เป็นไร ลืมมันเสีย
แล้วทำเหตุไหม่เพื่อให้มันเกิดอย่างที่ตั้งใจไว้

--------------------------------------------

สถิติ

จำนวน Blog รวม 448 Blog
จำนวนผู้ชม 200003 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 670 ครั้ง
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ (๑๓.๐๗ น.)


จำนวน Blog รวม 445 Blog
จำนวนผู้ชม 197298 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 658 ครั้ง
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ (๒๒.๑๗ น.)

จำนวน Blog รวม 423 Blog
จำนวนผู้ชม 140566 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 349 ครั้ง
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ (๐๙.๔๑ น.)


จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122229 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (๐๘.๐๘ น.)

จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122024 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ (๑๘.๕๒ น.)

จำนวน Blog รวม 405 Blog
จำนวนผู้ชม 120971 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 208 ครั้ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ (๙.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 398 Blog
จำนวนผู้ชม 111449 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 167 ครั้ง
๒ มกราคม ๒๕๕๖

จำนวน Blog รวม 391 Blog
จำนวนผู้ชม 102211 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 140 ครั้ง
๒ ธันวาคม ๒๕๕๕



จำนวน Blog รวม 390 Blog
จำนวนผู้ชม 92241 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 128 ครั้ง
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

จำนวน Blog รวม 375 Blog
จำนวนผู้ชม 81537 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๒๑.๓๙ )

จำนวน Blog รวม 374 Blog
จำนวนผู้ชม 80228 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๐๙.๒๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 78077 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๕.๑๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 77503 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๑.๑๘ )

จำนวน Blog รวม 269 Blog
จำนวนผู้ชม 38102 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 69 ครั้ง
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๑.๒๕ น.)

จำนวน Blog รวม 210 Blog
จำนวนผู้ชม 18,049 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
6 กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๖.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 62 Blog
จำนวนผู้ชม 5,278 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ (๑๐.๑๙ น.)
New Comments
Group Blog
All Blog