บัว ไม้มงคลประดับบ้าน

ความมงคล:
คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้ง ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก
คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน

ตำแหน่งที่ปลูก:
ปลูกบัวทางทิศตะวันตก เจริญงอกงามมากกว่าการปลูกบัวทางทิศอื่นๆ ควรปลูกต้นบัวในวันพุธ เพราะวันพุธนั้น เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ต้นบัวที่ปลูกในวันพุธ จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะต้นบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้)




Create Date : 11 เมษายน 2555
Last Update : 11 เมษายน 2555 21:18:19 น.
Counter : 728 Pageviews.

0 comment
ต้นก้ามกุ้ง
เฮลิโคเนียเทร็มเทส,เฮลิโคเนีย,ปักษาสวรรค์,เฮลิโคเนียเทร็มเทส,เฮลิโคเนีย,ปักษาสวรรค์,เฮลิโคเนีย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliconia spp.
ชื่อวงศ์:  Heliconiaceae
ชื่อพื้นเมือง:  ก้ามกุ้ง สร้อยกัทลี ธรรมรักษา
ลักษณะทั่วไป:
ต้น  ไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 - 2 เมตร การเจริญเติบโตจะแตกหน่อออกมาเป็นกอ
ใบ  การเรียงตัวของใบ จะเรียงสลับตรงกันข้ามในระนาบเดียวกัน มีทั้งใบที่คล้ายกล้วย คือมีก้านใบยาว และอยู่ในแนวตั้ง, ใบที่คล้ายขิง คือ มีก้านใบสั้น และใบอยู่ในแนวนอน และใบที่คล้ายพุทธรักษา คือมีก้านใบสั้น หรือยาวไม่มากนัก และใบทุกมุมป้านกับลำต้น
ดอก  ดอกเฮลิโคเนียจะออกเป็นช่อ สะดุดตา และมีสีสันสวยงาม ช่อดอกมักแทงออกกลางลำต้นเทียม และเป็นส่วนสุดท้ายของการเจริญ. ช่อดอกอาจตั้ง (upright) หรือห้อย (pendent) แล้วแต่ชนิด ส่วนของช่อดอกจะประกอบด้วย
    •    ก้านช่อดอก (peduncle) เป็นส่วนต่อระหว่างโคนใบสุดท้ายกับโคนกลีบประดับกลีบแรก
    •    กลีบประดับ (inflorescence bract , cincinal bract) เป็นส่วนที่พัฒนามาจากใบ
    •    ก้านต่อระหว่างกลีบประดับ (rachis) ส่วนนี้อาจมีสี และผิวแตกต่างจากกลีบประดับ และอาจตรงหรือคดไปมาได้ (zigzag) แล้วแต่ชนิด
ฝัก/ผล  มีลักษณะคล้ายผลท้อ (drupe) มีเนื้อนุ่ม และมีชั้นหุ้มเมล็ดที่แข็ง. ผลสุกจะมีสีน้ำเงิน ถ้าเป็นชนิดที่พบในทวีปอเมริกา และสีส้มในชนิดที่พบในหมู่เกาะแปซิฟิก:
การดูแลรักษา:  สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มรำไรถึงกลางแจ้ง และเจริญเติบโตได้ดีในที่ลุ่มและชื้นแฉะ
การขยายพันธุ์:  โดยการเพาะเมล็ด, แยกกอ หรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
    •    การเพาะเมล็ด ทำโดยนำเมล็ดที่สุกกำจัดส่วนที่เป็นเนื้อออก นำไปแช่น้ำก่อนเพาะ และควรแช่สารเคมีป้องกันเชื้อรา เพาะในกะบะลึกเท่ากับความหนาเมล็ด โดยมีทรายและขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1 เป็นวัสดุปลูก เมล็ดเฮลิโคเนียใช้เวลางอกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี
    •    การแยกกอ โดยการแยกกออกเป็นส่วน ๆ ให้มีลำต้นเทียมติดเหง้าอยู่ 1-2 ต้น โดยมีทรายผสมขุยมะพร้าวหรือดินผสมเป็นวัสดุปลูก ชำในที่ร่มรำไร ประมาณ 4-6 สัปดาห์ รากและหน่อใหม่จะเริ่มงอก
    •    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะได้ต้นที่ปราศจากเชื้อโรค เช่น Ralstonia solanacearum และได้หน่อจำนวนมาก ขึ้นกับชนิดเฮลิโคเนีย เมื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเฮลิโคเนีย H. psittacorum L.f. 4 พันธุ์ คือ พันธุ์ Golden Torch, Orange, Andromeda และ Sassy โดยใช้ตาที่ปลายยอดและตาตามซอกกาบใบ (terminal and axillary bud) ของเหง้าบนสูตรอาหาร Murashige and Skoog (MS) ใช้เวลาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 4-5 เดือน มีอัตราการเพิ่มของหน่อเป็น 5 เท่าของการขยายพันธุ์โดยการแยกกอ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  เขตร้อนของทวีปอเมริกา และหมู่เกาะในแถบทะเลแคริบเบียน ธรรมรักษาส่วนมากจะพบ
ในเขตชื้นหรือแฉะแต่ก็พบบ้างในบริเวณที่มีช่วงแล้ง พบตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึง 1,800
เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แต่จะเจริญได้สมบูรณ์ที่สุดที่ระดับต่ำกว่า 460 เมตร



Create Date : 11 เมษายน 2555
Last Update : 11 เมษายน 2555 21:17:03 น.
Counter : 15871 Pageviews.

2 comment
การขยายพันธุ์ดาวเรือง
ดาวเรือง,ดาวเรือง,ดาวเรือง
การขยายพันธุ์ดาวเรือง

   1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
   การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ
การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
      1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
      2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
      3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้
   2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้

การปลูกดาวเรือง
   การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้
   1. การเตรียมแปลงปลูก
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
   2. วิธีการปลูก
      1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
      2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
      3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
   3.การปฏิบัติดูแลรักษา
      1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
      2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
      3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้ มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
      4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
   4. การตัดดอก
ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่ บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว

เอื้อเฟื้อข้อมูล กรมวิชาการเกษตร (www.doae.go.th)



Create Date : 11 เมษายน 2555
Last Update : 11 เมษายน 2555 20:57:23 น.
Counter : 1001 Pageviews.

0 comment
กระชาย
ภาพ:Krachai_2.jpg


         ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr

วงศ์ : Zinggberaceae

ชื่อท้องถิ่น : กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ภาพ:Krachai_1.jpg

ไม้ล้มลุกลำต้นเป็นเหง้าใต้ดิน สีน้ำตาลเข้ม แตกรากออกตั้งฉาก
กับเหง้าเป็นกระจุกจำนวนมาก รากสีเหลืองยาว แหลมหัวแหลมท้าย
ใบ เดี่ยว แผ่นใบกว้างตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอกเป็นช่อ ออก
ระหว่างกาบใบกับโคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับสีม่วง
แดง บานครั้งละ 1-3 ดอก ทุกส่วนมีกลิ่นหอม
ภาพ:Krachai_8.jpg
สรรพคุณของกระชาย
ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด การที่กระชายช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเสียได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม ช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้มีการทำงานดีขึ้น กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ
ใช้เหง้าหรือรากประมาณครึ่งกำมือ น้ำหนักสด 5-10 กรัม แห้ง 2-5 กรัม บุบพอแตก ต้มกับน้ำ
พอเดือด ดื่มแต่น้ำ นอกจากนี้กระชายยังมีสรรคุณดังนี้

1.แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
2.รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน
3.ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา
4.ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการเป็นลม
5.ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน   6. บำบัดโรคกระเพาะ กินรากสดแง่งเท่านิ้วก้อยไม่ต้องปอกเปลือก วันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน ถ้ากินได้ให้กินจนครบ 2 สัปดาห์ ถ้าเผ็ดร้อนเกินไปหลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือกขนาดเท่ากับ 2 ข้อนิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์

         7.บรรเทาอาการแผลในปาก ปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่งกับน้ำสะอาด 1 แก้วในโถปั่นน้ำ เติมเกลือครึ่งช้อนกาแฟโบราณ กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้กลั้วปากวันละ 3 เวลาจนกว่าแผลจะหาย ถ้าเฝื่อนเกินไปให้เติมน้ำสุกได้อีก ส่วนที่ยังไม่ได้แบ่งใช้เก็บในตู้เย็นได้ 1 วัน

         8. แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชายที่ล้างสะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก (เหมือนที่เขาใช้คนกาแฟโบราณ) วันละ 3 มื้อก่อนอาหาร 15 นาที สัก 7 วัน


ภาพ:Krachai_7.jpg


         9. ฤทธิ์แก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า คันศีรษะจากเชื้อรา นำรากกระชายทั้งเปลือกมาล้างผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้วบดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช (อาจใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้) มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชายใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย หุง (คนไปคนมาอย่าให้ไหม้) ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15-20 นาที กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน

         10. แก้คันศีรษะจากเชื้อรา ให้เอาน้ำมันดังกล่าวไปเข้าสูตรทำแชมพูสระผมสูตรน้ำมันจากที่ไหนก็ได้ โดยใช้แทนน้ำมันมะพร้าวในสูตร ประหยัดเงินและได้ภูมิใจกับภูมิปัญญาไทย หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผม ให้เพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที นวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก

         11. ฤทธิ์เป็นยาอายุวัฒนะ ผงกระชายทั้งเปลือกบดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน ตำรับนี้เคยมีผู้รายงานว่าใช้ลดน้ำตาลในเลือดได้ หรือใช้กระชายตากแห้งบดผงบรรจุแคปซูล แคปซูลละ 250 มิลลิกรัม กินวันละ 1 แคปซูลตอนเช้าก่อนอาหารเช้าในสัปดาห์แรก วันละ 2 แคปซูลตอนเช้าในสัปดาห์ที่ 2

วิธีปลูก

ภาพ:Krachai_5.jpg


         กระชายชอบอากาศร้อนชื้นและขึ้นได้ดีในดินปนทราย วิธีการปลูกคือใช้เหง้า ตัดรากทิ้งไปบ้างให้เหลือไว้ 2 ราก และปลูกให้ลึกประมาณ 15 ซม. กลบด้วยปุ๋ยคอกและคลุมด้วยฟางแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม


ข้อมูลจาก//www.panyathai.or.th/wiki/index.php/กระชาย




Create Date : 10 เมษายน 2555
Last Update : 10 เมษายน 2555 16:28:52 น.
Counter : 383 Pageviews.

1 comment
ดอกกรรณิการ์

ดอกกรรณิการ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes Arbortristis ดอกกรรณิการ์
ชื่อวงศ์ VERBENACEAE
ชื่อสามัญ Night flower jasmine
ชื่ออื่นๆ กรรณิการ์
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่ง
ประวัติและข้อมูลทั่วไป

กรรณิการ์เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง โดยจะบานตอนกลางคืน ออกดอกตลอดปี นอกจากจะเป็นไม้ที่หอมแล้วกรรณิการ์ยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย และ ฐานรองดอกก็สามารถนำมาทำสีย้อมผ้าและสีทำขนมได้ด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กรรณิการ์เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีขนอ่อนๆ ปกคลุมอยู่ทั่วใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่รี ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีดอกราว 5-8 ดอก แต่ละดอกจะผลัดกันบาน ดอกมีสีขาวมี 6 กลีบ ลักษณะคล้ายกังหัน ขนาดดอกประมาณ 1.5-2 ซม. แต่ละดอกจะมีใบประดับ 1 ใบ กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสีแสดยาว 1.5 ซม.

การปลูกและดูแลรักษา

กรรณิการ์เป็นไม้ที่ชอบที่ร่มรำไรและมีความชุ่มชื้นพอควร ดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีน้ำขังอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้รากเน่าได้ ต้องการน้ำเพียงปานกลางเท่านั้น

สรรพคุณ


ใบรักษาอาการปวดตามข้อ ลดไข้ ยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับน้ำดี ปรุงเป็นยาหอม ช่วยเจริญอาหาร แก้ตานขโมย โดยการคั้นใบสดดื่ม เปลือกใบช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ดอกช่วยลดไข้ บรรเทาอาการวิงเวียน รากสามารถช่วยบำรุงธาตุ บารุงกำลัง และผิวพรรณให้ผุดผ่อง แก้ลม วิงเวียนรักษาผมหงอกก่อนวัย บรรเทาอาการแพ้ไอ และถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็ง



Create Date : 10 เมษายน 2555
Last Update : 10 เมษายน 2555 16:22:59 น.
Counter : 608 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  

evezangz
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Free Clock
★Rangsit University ★
Engineering วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม#1 Rsu Ł° ชิล ชิล งง่ายๆแต่ไม่ได้ใจง่ายนะ สบายๆ ถ่ายรูปคือสิ่งที่ชอบ


MY VIP Friend