<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

เน็ตเมืองจีน 2005: หลวงจีนวัดเส้าหลินโกโมเดิร์น* (006/10)

posted by a_somjai | December 25, 2005 @ 11: 29 AM | The Digital Revolution การปฏิวัติดิจิตอล | The Shaolin Temple | Kung Fu Monks | หลวงจีน, วัดเส้าหลิน, อินเทอร์เน็ต | The 2008 Beijing Olympics |

ด้วยความเชื่อที่ว่า__ "เพื่อรักษาอดีตเอาไว้ เราต้องรู้ให้เท่าทันปัจจุบัน" ทำให้หลวงจีน Shi Yongxin เจ้าอาวาสวัดเส้าหลินคนปัจจุบัน ต้องปรับตัวเองและนำพาลูกวัดในสังคมขนบธรรมเนียนมเก่าแก่ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็น "ชุมชนวัดพุทธ อันดับหนึ่งในยุทธภพ" ที่ตั้งอยู่ในภูเขาตอนกลางของแผ่นดินจีน ก้าวเดินไปข้างหน้าตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคการปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิตอล
การรุกคืบเข้ามาของ "สังคมแห่งการค้าพานิชย์ - commercial society" มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับวิทยายุทธและอาวุธทรงพลานุภาพนอกคัมภีร์วิชาฝ่ามือสิบแปดอรหันต์ของวัดเส้าหลิน นั้นคือเทคโนโลยี ICT ในนาม "คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต" ทำให้ ณ วันนี้ประวัติศาสตร์ของวัดเส้าหลินต้องเปลี่ยนโฉมหน้าจากการยึดถือประพฤติปฏิบัติตามข้อความที่บรรพชนจดจารจารึกไว้บนใบลาน กระดาษสา หรือหินผาศิลาดอย ก้าวออกไปสู่การเรียนรู้รูปแบบเนื้อหาใหม่ ๆ และปฏิบัติการจริง อิงกับโลกออนไลน์บนสื่ออีเลคทรอนิคส์ยุคใหม่กันเรียบร้อยโรงเรียนฝรั่งอั้งม้อแล้ว



Shi Yongxin, abbot of the Shaolin Temple, works on the computer.
by (Cancan Chu / Getty Images) April 8, 2005



ในสถานภาพเจ้าสำนักวัดเส้าเหลิน อันเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิแห่งกังฟู 'หลวงจีนชิ' ต้องสวมบทบาทอันหลากหลายและลงลึกมากมาย ล่าสุดคือท่านต้องเล่นบทผู้อำนวยการผลิตภาพยนต์ (executive producer) มูลค่าเงินลงทุนถึง 25 ล้านดอลล่าร์(สหรัฐฯ) ภาพยนต์เรื่องนี้เกี่ยวกับชีวิตของเหล่าหลวงจีนวีรบุรุษนักสู้ในช่วงต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ ที่ถูกกำหนดไว้(ในแผน)ให้โด่งดังเป็นที่นิยมในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่จะจัดให้มีขึ้น ณ นครปักกิ่ง (the 2008 Beijing Olympics)



photo by frenquency's photostream


นอกจากนี้หลวงจีนเจ้าอาวาสวัยสี่สิบปีผู้นี้ยังลงลุยโครงการโทรทัศน์ด้วยตนเองโดยต้องนำพาหลวงจีนลูกวัดลงมือทำงานกันจริง ๆ ในบทบาทอาจารย์สอนกังฟู (kung fu masters) เพื่อสร้างสรรปั้นแต่งหลวงจีนวัดเส้าหลินขึ้นมาเป็นดารายอดนิยมผ่านการนำเสนอในรูปแบบเดียวกับ --ดารายอดนิยม "American Idol" ให้ได้ (ก็เครือ ๆ เดียวกับการเสกสรรปั้นแต่งคนธรรมดาให้เป็นดารายอดนิยม จากรายการแข่งขันประกวดร้องเพลง 'The star' ของเมืองไทย 2-3 ปีมานี้แหละ รายการปั้น Idol ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ในเมืองจีน ที่โด่งดังฮิตกันทะลุโลก มีคนดูทุกเพศวัยติดงอมแงมเป็นร้อย ๆ ล้านคนในปัจจุบัน คือรายการชื่อ Supper Girl จนมีข่าวว่าปี 2006 นี้ จะส่งกระจายภาพเสียงผ่านอินเทอร์เน็ตเข้ามือถือได้อีกด้วย)



photo by frenquency's photostream


สรุปว่าทุกวันนี้ หนัง ทีวี อินเทอร์เน็ต (ชาววัดเส้าหลินเปิดเวปไซต์แห่งแรกของวัดจีนมาตั้งแต่ปี 1996 ขณะที่ตอนนั้นมีชาวจีนน้อยคนที่เคยได้ยินเรื่องอินเทอร์เน็ต) และการมีการใช้เครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่อย่างโทรศัพท์มือถือล้วนเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วสำหรับหลวงจีนวัดเส้าหลิน ท่านเจ้าอาวาสชิผู้ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าอาวาสผู้มีอายุน้อยที่สุดของวัดเส้าหลิน ในรอบ 1,500 ปี บอกว่า "เราเป็นพระภิกษุ/หลวงจีนที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกยุคใหม่ เราต้องรู้จักนำเทคโนโลยี่มารับใช้เรา ให้เป็นประโยชน์เพื่อรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้"
ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้ว การเผยแพร่ความรู้ทางพุทธศานานิกายเซน การต่อสู้แบบกังฟู และศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดเส้าหลินจึงถูกเผยแผ่ผ่านสื่อสมัยใหม่ออกไปทั่วโลก



Everybody was Kung Fu fighting by Long Hai's photostream


*ข้อมูลจาก Kung Fu Monks Go Modern By Ching-Ching Ni, Times Staff Writer (www.latimes.com), published on December 4, 2005.

อ่านบล็อกวันนี้แล้ว ลองหันมาสำรวจและตั้งคำถามกับชาววัดในบ้านเราดูบ้างนะ ส่วนฉันเป็นห่วงแต่ว่า หลวงไทยบางท่านจะทำตัวประเภท "จิ้งเหลืองเล่นเน็ต" แช็ตเรื่องโลกีย์ เล่นเกมออนไลน์ โพสต์ด่านักการเมืองตามกระดานข่าว คลิกไปดูรูปสุดสะปัดยั่ม ดูหนัง/วีดิโอลามก ดาว์นโลดเพลงกันทั้งวันคืน เต็มเวปไปหมด แล้วจะเอาเวลาไหนไปบำเพ็ญเพียรเรียนทำญาณกันละน้อ?


Yahoo's photo in China




 

Create Date : 25 ธันวาคม 2548    
Last Update : 25 ธันวาคม 2548 13:49:15 น.
Counter : 3788 Pageviews.  

การเซ็นเซอร์เน็ตในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ & Freedom of expression, flickr blocked in UAE (007/01)

posted by a_somjai | December 22, 2005 @ 01: 39 pm | Internet,UAE, respect, censorship, freedom |

เมื่อวานเพิ่งได้เปิดดูอีเมลที่ yahoo ก็เลยได้ข่าวจากเพื่อน ๆ จาก The Flickr Team (//www.flickr.com ) เขาส่งข่าวมาอย่างนี้

To: (A_Somjai)
Subject: [Flickr] You've been invited to join Nocheat [Tags: UAE, respect, censorship, freedom]
From: "Ivan - a Serious question (no reply)"
Date: Fri, 25 Nov 2005 21:29:46 +0000 (UTC)

*Ivan* has invited you to be a member of Nocheat [Tags: UAE, respect, censorship, freedom]. To find out more about this group and to accept or decline this invitation, click here:

//www.flickr.com/groups/nocheat/


พอคลิกลิงค์ตามไปดู ก็พบว่า a Serious question ของคุณ Ivan ก็คือเวปไซต์ชุมชนคนเล่นแชร์ภาพ flickr.com ของพวกเรา ถูกทางการ UAE blocked ไม่ให้พลเมืองเน็ตในประเทศของตนได้เข้าใช้เรียบร้อยโรงเรียนอาหรับอามีเรตส์ แล้วเรื่องอย่างนี้ เราประชาชนชาวเน็ตด้วยกันก็ต้องช่วยกัน ก็เลยตอบ OK เขาไป สิ่งที่เราพอจะทำได้ก็คือ ค้นคว้าเรื่อง การใช้อินเทอร์เน็ตใน UAE มาขยายสู่ Thai Netizen ได้รับรู้กัน

Nationmaster.com

Open Net Initiative (ONI) ได้เสนอรายงานเรื่อง Internet Filtering in the United Arab Emirates in 2004-2005: A Country Study (//wwwnetinitiative.net/studies/uae/) ไว้ ฉันอ่านแล้วขอสรุปความสถานการณ์การกลั่นกรอง (ตรวจสอบ ควบคุม กีดกัน) การใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศของเขา มาขยายต่อดังนี้

Nationmaster.com

การใช้อินเทอร์เน็ตใน The United Arab Emirates (UAE) ได้เริ่มต้นจากการค้นหาแนวทางสร้างองค์กรที่เป็นระบบเพื่อการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในตะวันออกกลาง ด้วยหวังว่าอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้เกิดความมั่นใจและจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาที่ล้ำหน้าออกไป แต่ในขณะเดียวกันนั้นรัฐบาลยัง blocks ประชาชนของตนไม่ให้เข้าถึงเวปไซต์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

ในการณ์นี้ รัฐบาล UAE ทำการบล็อคครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวาง โดยบ่งชี้ถึงเวปไซต์ที่บรรจุเนื้อหาซึ่งรัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ได้แสดงออกถึงความไม่ชอบ/ต่อต้านศาสนาและวัฒนธรรรมของชาติ จริง ๆ แล้วอาจจะไม่เป็นอย่างที่รัฐบาลเห็นว่าก็ได้ เพราะสิ่งที่แสดงออกเหล่านั้นอาจเป็นเพียงทัศนคติที่แตกต่างกับทางการก็ได้ อย่างไรก็ดีผู้กำหนดนโยบายของรัฐได้ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาความเห็นแตกต่างกับทางการหรือกับจารีตประเพณีและความคิดทางศาสนาที่ยึดถึอกันอยู่ เพื่อลดความตึงเครียดของคนในสังคมโดยการสร้างสถาบันระบบกลั่นกรองอินเทอร์เน็ต (Internet filtering system ) บนพื้นฐาน the SmartFilter commercial blocking service ขึ้นมา

ดังนั้นจากการทดสอบการใช้อินเทอร์เน็ตของ ONI จึงพบว่า URLs 15.4% (จาก 8713 URLs) ในประเทศUAE ถูก blocked เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลกแล้ว สรุปได้ว่าการกลั่นกรองอินเทอร์เน็ตของประเทศ UAE เป็นไปอย่างกว้างขวางมาก

รัฐ UAE มี Internet service provider (ISP) ชื่อ Etisalat ไว้ผูกขาดการเข้าถึงเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต Etisalat จะทำหน้าที่กลั่นกรองอย่างกว้างขวางและเอาจริงเอาจังเพื่อปกป้องค่านิยม(คุณค่า)ทางการเมือง ทางศีลธรรม และทางศาสนาของชาติ การกระทำเช่นนี้กลับได้รับการสนับสนุน(นิยมชมชอบ)จากประชาชนของประเทศเสียด้วย ดังในการสำรวจครั้งหนึ่งของ ONI พบว่า มากกว่าครึ่งของประชากรในUAE เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (Internet censorship) โดยให้เหตุผลว่าช่วยปกป้องสมาชิกในครอบครัวจากเนื้อหาน่าชิงชังรังเกียจต่าง ๆ ได้

UAE ใช้ the SmartFilter filtering software ในการ block เวปไซต์เกือบทั้งหมดที่มีเนื้อหาเป็น ภาพสื่อลามกอนาจาร, เกมการพนัน, การสนทนาเรื่องศาสนา, และยาที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้รัฐยัง blocks การเข้าถึงเวปไซต์ทั้งหมดของชาวอิสราเอล ONI ได้ทดสอบพบว่าอำนาจกลั่นกรองของรัฐ UAE ได้ทำการบล็อคไซต์ของความเชื่อทางศาสนาบาไฮ (the Bahai faith), ไชต์การแลกเปลี่ยนความรู้/ความคิดของเกย์และเลสเบียน, และไชต์หาคู่รักที่ใช้ภาษาอังกฤษ (คือไม่ใช้ภาษาอาหรับ)

ที่นำเสนอมานั้น คือข้อมูลจากการศึกษาปรากฎการณ์ ระหว่างปี 2004 - 2005 ต่อไปนี้จะรายงานปรากฏการณ์ที่ชาวเน็ตเล่นแชร์ภาพสมาชิก flickr ที่ฉันเป็นสมาชิกอยู่ ทำการประท้วง UAE ที่ปิดกั้นไม่ให้ชาวเน็ตในบ้านเมืองตนเข้าถึงเวปไซต์ของเรา (Freedom of expression, flickr blocked in UAE)
ถ้าท่านใดจะดูเต็ม ๆ ก็ลิงค์ไปได้ที่ Nocheat [Tags: tookie, tookiewilliams,deat, pennalty] / Dicussion หรือหากเลือดรักอิสรภาพของท่านเดือดปุด ๆ แล้วละก็ สมัครเป็นสมาชิกได้เลยที่ //www.flickr.com


ตัวอย่างที่นำมาลงไว้ในบล็อกนี้ เลือกเอามาบางส่วนเฉพาะรูปภาพที่โพสต์ และข้อความสั้น ๆ เท่านั้น

Ivan says:
Here starts the protest, join on the various stream:
Tags: dubai, UAE, noway, censorship, freedom

Add another (or more photos) photo and use the same tags: just to tag them

Of course, comment, tag and even more on the related images "you meet on your way"
Originally posted at 10:03am, 25 November 2005 PST


Jean Sol Partre says:


Blue Silver says:
No censorship, but FREEDOM! Dedicated to the flickrians of the UAE and all people in the world ...


Robda says:



!__flashback says:
for all people without freedom of expression


cactusbones say:
Example of protest during last UAE blockage.



a_somjai says:
I posted onto my blog: "Freedom of expression, flickr blocked in UAE" (Thai version)

//esanlanna.bloggang.com
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=esanlanna&group=2




 

Create Date : 22 ธันวาคม 2548    
Last Update : 6 มกราคม 2549 9:08:26 น.
Counter : 1191 Pageviews.  

การค้าระดับโลกบนหลัง "ชาวนา(เหรียญ)ทอง - gold farmers" ชาวจีน (006/09)

posted by a_somjai | December 20, 2005 @ 02:29 pm |The game-playing factories โรงงานเล่นเกมออนไลน์ | virtual golds | ธุรกิจออนไลน์ |

บนบล็อกของฉันหลายตอนมานี้ เรากำลังพูดกันถึงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำให้มีขึ้นดำรงอยู่ระหว่างเส้นแบ่งมัว ๆ ของจินตนาการและความจริง เรามาว่าต่อกันเลย... __เมื่อหลายปีก่อน สมาชิกเล่นเกมออนไลน์ที่มีอยู่ทั่วโลกเริ่มต้นแข่งขันกันเอง ต่อมาไม่นานนักเล่นเกมเพียงเพื่อเอาเพลินก็เริ่มถามหา(ขอใช้) "หมายเลขประจำตำแหน่ง คือ account" ของนักเล่นเกมคนอื่น ๆ เมื่อคนเหล่านั้นเลิกเล่นเกมระดับนั้น ๆ แล้ว

จากจุดเริ่มต้นนั้นเอง การขอใช้ ยืม ซื้อ ขาย account จึงเกิดมีขึ้น นักเล่นเกมกระเป๋าตุงผู้มีเวลาน้อยและด้อยพลังฝีมือที่จะผ่านด่านยุทธจักรไปถึงระดับขั้นต่าง ๆ ในเกมออนไลน์ จากกรุงโซนถึงนครซานฟรานซีสโก จึงพร้อมที่จะจ่ายเงินให้คนงานหนุ่มชาวจีนผู้ทำงานเล่นเกมในโรงงานเล่นเกมออนไลน์ที่เมืองจีน ดังที่ได้กล่าวถึงที่มาของ การประกอบธุรกิจโรงงานเล่นเกมออนไลน์ในเมืองจีน ที่จ้างคนงานมาเล่นเกมออนไลน์ ผลิตสินค้า accounts คุณภาพระดับต่าง ๆ เพื่อส่งออกไปขายทั่วโลกอินเทอร์เน็ต ในตอนที่ผ่านมา

สำหรับคนงานชาวจีนหรือ "ชาวนา(เหรียญ)ทอง - gold farmers" ใน The Chinese game-playing factories . แล้ว การทำงานของพวกเขาหาใช่การเล่นเกมอย่างสนุกสนานและมิใช่การแข่งขันในเกมกีฬาอย่างคนเล่นเกมออนไลน์จากที่อื่น ๆ ทั่วโลกเขาเป็นกัน หากทว่าคนงานเหล่านี้ถูกเข้มงวดกวดขันโควต้า(ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน)และตกอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลให้พวกเขาเล่นชนะอุปสรรค์ยาก ๆ ได้ง่ายขึ้นในเกม โดยนายจ้างผู้เป็นทั้งเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์, เป็นเจ้าของสิทธิการใช้ซอฟต์แวร์และเป็นผู้เชื่อมต่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ต


ส่วนในวงการธุรกิจออนไลน์ระดับโลก การทำธุรกิจฟาร์มเหรียญทองดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในเวลานี้ว่ามันเป็นสิ่งทีถูกต้อง/สามารถทำได้หรือว่าเป็นความผิดกันแน่ เซียนเล่นเกมออนไลน์หลายคนเห็นว่าปรากฏการณ์โรงงานเหล่านี้เป็นการสะท้อนความบิดเบี้ยวของเกมทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้น(ผู้บริหาร)บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเกมกล่าวว่าโรงงานเหล่านี้เป็นการละเมิด/ทำลายกฏเกณฑ์ของเกมที่ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นขาย "เหรียญทองคอมพิวเตอร์ - virtual golds" เพื่อเงินตรา พวกเขาเสนอให้ตั้งกฏเกณฑ์เพื่อกวดขันและหยุดยั้งการกระทำของธรุกิจขนาดเล็กที่ตกเป็นผู้ต้องหาว่าทำความผิด (มากกว่าจะไปห้ามนักเล่นเกมรายบุคคลไม่ให้ทำความผิดเช่นเดียวกันนั้น) เจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเกมออนไลน์ของโลกบางคนถึงกับตราหน้าโรงงานเหล่านี้ว่าเป็นธุรกิจผิดกฏหมาย

ขณะที่หลาย ๆ คำถาม ยังไม่มีคำตอบ เป็นต้นว่า --การต่อต้านโรงงานเล่นเกมออนไลน์จะได้ผลหรือไม่? --การรักษาสภาพการเล่นเกมให้ยังคงเป็นเรื่องของความสนุกสนานเพลิดเพลินและเพื่อนันทนาการเท่านั้นจะทำได้หรือไม่ --การป้องกันไม่ให้การเล่นเกมออนไลน์เป็นการทำธุรกิจและการทำมาหากินเพื่อเงิน จะเป็นผลหรือไม่? แต่ในโลกความเป็นจริงกลับพบว่าในเวปไชต์ให้บริการค้าขายชื่อดังบนอินเทอร์เน็ต อย่าง eBay, Yahoo และไซต์ออนไลน์อื่น ๆ มีการประกาดขาย "virtual golds" ในลักษณะผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในตลาดมืดอยู่บ้าง

ก็และความเป็นจริงของโลกทุนนิยมที่น่าสะอิดสะเอียนยิ่งเสียกว่า การเกิดขึ้นของโรงงานเล่นเกมออนไลน์ในเมืองจีนได้เปิดช่องทางทำเงินสายใหญ่จากการค้าขายสมบัติสมมติบนเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นนี้ขึ้นในรูปของธุรกิจแล้ว พวกบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าของเกมได้ฉวยโอกาสสร้างสรรค์ตลาดออนไลน์ของตนเสียเอง (ก็คือเพื่อผูกขาดการหาเงินไว้กับพวกอภิมหาทุนใหญ่นั้นแหละ) อย่างเช่นการเปิดสถานีแลกเปลี่ยนอะไร ๆ รวมทั้ง virtual golds ระหว่างกันสำหรับสมาชิกชาวเกมออนไลน์ ที่เรียกว่า "crooked sellers in unsanctioned auctions" ของ Sony Online Entertainment เป็นต้น ลักษณะการซื้อขายแลกเปลี่ยนสมบัติสมมติที่สร้างขึ้นบนเครื่องคอมพ์ นอกจากทำการค้าขาย "virtual goods" ผ่าน international brokers เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศกัน คล้าย ๆ การค้าขายในตลาดหุ้นแล้ว บริษัทใหญ่ ๆ ถึงกับต้องก้าวลงไปติดต่อทำธุรกิจกับโรงงานฟาร์มเหรียญทองชาวจีนกันเลยทีเดียว


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง"
สวัสดี



* ข้อมูลจากจากรายงานของ : David Barboza เรื่อง Ogre to Slay? Outsource It to Chinese ตีพิมพ์ในหน้าเทคโนโลยีของหนังสือพิมพ์ The New York Time เมื่อ December 9, 2005

ปล. ก่อนขึ้นปีใหม่ จะพาไปดู "พระวัดเส้าหลินเล่นอินเทอร์เน็ต"
('ค.ก.ล.ภ.น.' ...คอกำลังภายใน โปรดติดตาม...อิอิ)




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2548    
Last Update : 22 ธันวาคม 2548 8:43:10 น.
Counter : 527 Pageviews.  

สินค้าของโรงงานเล่นเกมออนไลน์ ในเมืองจีน (006/08)

posted by a_somjai | December 19, 2005 @ 03: 59 AM | The Digital Revolution การปฏิวัติดิจิตอล | online gamers เกมออนไลน์| | The game-playing factories โรงงานเล่นเกมออนไลน์ | MMORPGs |

สื่งหนึ่งที่ชาวเน็ตรุ่นลุงรุ่นป้าได้ยินเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ และมักจะมองภาพมันในแง่ลบว่าจะทำให้เด็กเยาชนหลงมัวเมาไม่เป็นอันกินอันนอน ไม่ร่ำไม่เรียนหนังสือหนังหากันแล้ว สิ่งนั้นก็คือ "เกมคอมพิวเตอร์ หรือ เกมออนไลน์"

แต่แท้ที่จริงแล้ว พวกเราก็ไม่ค่อยรู้จักมันสักเท่าใดดอก (ยกเว้นผู้อยู่ในวงการด้าน IT) มาฟังชื่อศัพท์แสงของกลุ่มคำเหล่านี้ดูซิ แล้วลองบอกตัวเองว่ารู้จัก เข้าใจ และเข้าถึงมันสักเท่าใดกัน ... Online Game, Video Games, Online Games, Computer Game, Video Game, Internet Games, Computer Games, Software Game, Videogames, Internet Game, Game Servers, Game Server, Online Gaming, Used Video Game, Cheap Internet, Game Software, Interactive Games, Online Card Games, Online Contests Games.


ยิ่งศัพท์เฉพาะว่าMMORPGs ก็คงยิ่งงงไปกันใหญ่ แต่ก็ช่างมันเถอะนะ (หากใครสนใจมาก ๆ ก็ลิงค์ไปอ่านดูกันเอาเองก็แล้วกัน) วันนี้ขออวดรู้มาบอกกันต่ออย่างผิวเผินพอให้แลดูน่าเชื่อถือสักหน่อยหนึ่ง ตามที่ฉันแกะได้จากสองสามประโยคของ Wikipedia encyclopedia นั้น MMORPGs ย่อมาจาก Massively Multiplayer Online Role-Playing Games (อ่านคำย่อว่า "Ememmoh-Arpeegee") คือ การที่(ต้องมี)ผู้ให้บริการสถาปัตยกรรรมเรียกว่า Client/Server architecture เพื่อสนองความต้องการการใช้งานคอมพิวเตอร์กราฟฟิคแบบต่าง ๆ ของผู้ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต ทั้งในแบบการใช้งานของซอฟต์แวร์และการประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างเช่นการใช้งานหน้า HTML ของ HTTP server เป็นต้น

งานบริการดังกล่าวในส่วนที่สนองสิ่งที่ต้องการในโลกของเกมคอมพิวเตอร์ก็คือภาพ และ เสียง ที่เคลื่อนไหว เคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงได้ สามารถให้คนเล่นสมมติบนแสง สี เสียง ในเกมได้เหมือนจริง ส่วนคนเล่นเกมก็ต้องรู้สึกเป็นจริงเป็นจังกับเหตุการณ์สมมตินั้น ๆ เสมือนตนเองเป็นตัวตน(พระเอก/นางเอก)ที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำในโลกแห่งนามรูปของการเล่นนั้น [ยิ่งพูดก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง ขอข้ามไปดีกว่า... คำที่พอจะช่วยให้เข้าใจได้บ้าง ขอฝากไว้สามคำ ได้แก่ a virtual world, the gameworld, และ Virtual Reality (VR)]

ความจำเป็นที่ต้องเกริ่นนำเรื่องเสียก่อน ก็เพราะต้องการจะบอกว่า "ถ้าโลกแห่งความเป็นอยู่จริงของเรานี้ เป็นสมมติภาวะที่คนยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสิ่งจริงแท้ในกามโลกกันแล้ว คนเล่นเกมออนไลน์นั้นยิ่งอาการหนักไปเสียกว่าคนในโลกเป็นจริงทับซ้อนขึ้นอีกชั้นหนึ่ง คือคนเล่นเกมคอมพิวเตอร์อย่างจดจ่อเอาจริงเอาจังจะยึดติดสมมติภาวะแห่งโลกสมมติในเกมโลกว่าเป็นจริงด้วยเช่นกัน" เฮ้อ! คราวนี้ก็จึงเข้าเรื่องได้เสียที

ก็และด้วยความเหมือนจริงของการเป็นผู้เล่นบทบาทและพาตัวตนสมมติหมุนวนไปรอบ ๆ จินตนาการ หรือ การเป็นอัศวินผู้จ่อมจมอยู่กับวิธีการต่อสู้ในสงคราม(ยุโรป)สมัยยุคกลาง หรือการได้เล่นบทบาท(พระเอก)ในการต่อสู้/ทำสงคราม ณ กาแลกซี่อันไกลโพ้น บนเกมโลกออนไลน์นี้เอง ที่ทำให้โลกเป็นจริงที่หมุนไปตามแรงเหวี่ยงของการปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิตอล ในรูปการณ์เกม MMORPGs เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

สำหรับนักเล่นเกมออนไลน์จำนวนมากแล้ว พวกเขาไม่ได้อยากเล่นเพื่อทำ"คะแนน หรือ แต้ม" แต่พวกเขากลับล่า(ศัตรู)เพื่อดาบที่พิเศษสุด หรือ เพื่อให้ได้มาชึ่งมนต์มหาเสน่ห์ หรือ แสวงหาทางลัดไปสู่ความสุขในระดับสูงสุด และทั้งหมดที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่เป็นการไขว่คว้าเพื่อสิ่งที่มีค่า/มีราคา มีระดับชั้น (สิ่งของที่ตีราคาได้ โดยเปรียบเทียบกับมูลค่าของระบบเงินตรา) จากระดับมือใหม่หัดเล่น ก้าวขึ้นไปสู่มือสมัครเล่น แล้วไต่เต้าขึ้นไปสู่มืออาชีพ และจุดหมายปลายทางสุดท้ายก็คือการไขว่คว้าเอาตำแหน่งแชมเปี้ยนผู้มีชัยชนะตลอดกาลมาครอบครอง

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ว่า คนเล่นเกมในทุกระดับชั้น ก็เหมือนกับนักกีฬาในสนามแข่งขันเกมกีฬา คือต่างก็แสวงหาและสะสม "เหรียญทอง - Gold" กันทั้งนั้น

เส้นทางการได้มาซึ่งมูลค่าราคาสูงในแต่ละระดับชั้นของนักเล่นเกมคอมพิวเตอร์นั้น ก็คือการต้องสะสม "สิ่งพิเศษ ของวิเศษ หรือคุณลักษณะพิเศษ ที่ผู้เล่นเกมจะมีใช้เป็นของตนเองได้ตามระดับขั้นจากต่ำไปหาสูง" เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการต่อสู้ไขว่คว้าเอาสิ่งที่มีค่า มีราคา มีระดับชั้น ที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นถัดไปอีก (ขั้นสูงสุดหรือขั้นสุดท้ายอยู่ที่ใดนั้น ก็แล้วแต่เจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เกมออนไลน์นั้น ๆ จะชักพาไป ซึ่งมักจะออกเวอร์ชั่นใหม่ ๆ แตกเติมต่อไปอีกเรื่อย ๆ เหมือนการเติบโตของสิ่งที่มีชีวิต-- เขาเรียกให้ฟังดูดีว่า__พัฒนาการ)

เรื่องของเรื่องที่ทำให้เป็นเรื่องต้องนำมาพูดถึงกันในบล็อกชีวิตในโลกออนไลน์นี้ก็คือ "ของ/สิ่ง/คุณสมบัติพิเศษ ที่มีค่ามีราคา เหล่านั้น มันซื้อขาย จำหน่าย ถ่ายโอน และ/หรือมอบให้เป็นมรดกตากทอดกันได้" ผ่าน "account - หมายเลขประจำตัว" ที่นักเล่นเกม loged on เข้าไปเล่นเกม ดังนั้นต้องเข้าใจว่า คนที่เล่นเกมเก่ง ๆ ในระดับหนึ่ง ๆ หากใช้ account หลาย ๆ หมายเลข ก็จะสามารถสร้างตัวตนสมมติบนโลกแห่งเกมนั้นได้หลาย ๆ ตัวตน ที่มีความสามารถครอบครองสิ่งพิเศษตามระดับชั้นความสามารถเล่นเกมที่ตนควรจะมีจะเป็น ก็เหมือนพวก Pro ในกีฬาอาชีพที่ต้องเล่นได้ตามมาตรฐานระดับของตน อันหมายถึงการได้มาครอบครองซึ่ง ลาภ(เงินทอง) ยศ(ตำแหน่ง) สรรเสริญ(เป็นข่าว) และความสุขสบาย ผิดกันแต่โปรกีฬาอาชีพบนโลกเป็นจริง (real world) นั้น คนหนึ่งก็มีเป็นได้เพียงตัวเดียวอันเดียว ขณะที่ใน a virtual world, the gameworld, และ/หรือ Virtual Reality (VR) นักเล่นเกมออนไลน์คนเดียวกันสามารถเป็นได้หลาย accounts เรียกว่านักเล่นคนหนึ่งในนาม account หนึ่ง ก็เก็บเหรียญทองได้เป็นชั้น ๆ ไปถึงเหรียญทองระดับสูงสุดที่มีความสามารถทำได้

นี่คือเชื้อพันธุ์อันเป็นจุดเริ่มต้นของ " ธุรกิจโรงงานเล่นเกมออนไลน์ในเมืองจีน ที่จ้างคนงานมาเล่นเกมออนไลน์ ผลิตสินค้า accounts เจ้าของ "เหรียณทอง" คุณภาพระดับต่าง ๆ เพื่อส่งออกไปขายทั่วโลกอินเทอร์เน็ต" เหตุนี้เองคนงานหนุ่มสาวชาวจีนเหล่านี้จึงได้ชื่อว่า "ชาวนา(เหรียญ)ทอง Gold Farmers"


มาถึงตรงนี้ ผู้เข้ามาอ่านหลายท่านคงเหนื่อยแล้ว
(เพราะจขบ. พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง...อิอิ)
เอาไว้ต่อคราวหน้าก็แล้วกันเนอะ!




 

Create Date : 19 ธันวาคม 2548    
Last Update : 20 ธันวาคม 2548 12:29:18 น.
Counter : 564 Pageviews.  

ชาวจีนในโรงงานเล่นเกมออนไลน์ - The Chinese in game-playing factories (006/07)

posted by a_somjai | December 15, 2005 @ 04: 09 AM | The Digital Revolution การปฏิวัติดิจิตอล | online gamers นักเล่นเกมออนไลน์| The game-playing factories โรงงานเล่นเกมออนไลน์ |

เมื่อคนไทยเราเห็นสินค้ามากมายที่ถูกนำเข้ามาขายจากเมืองจีนในปัจจุบันนี้ แล้วพบว่าสินค้าเหล่านั้นมีราคาถูกกว่าสินค้าแบรนด์เนมที่ผลิตในบ้านเรา เราก็พอรู้กันอยู่ว่าคุณภาพสินค้าจีนคงจะต่ำกว่าของบ้านเรา หรือหากว่าคุณภาพสินค้านั้นใกล้เคียงกับที่ผลิตในบ้านเราหรือสินค้าที่ผลิตจากประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ แล้วละก็ สาเหตุใหญ่เป็นเพราะต้นทุน "แรงงานราคาถูก" ที่มีอยู่มากมายหลายร้อยล้านคนในเมืองจีนนั้นเอง แต่ก็เอาเถอะ เรื่องที่จะคุยกันวันนี้ ไม่ใช่สินค้าจากเมืองจีนที่จับต้องมองเห็นได้ดอก และอีกอย่างคนเมืองจีนก็ไม่ได้ผลิตมันขึ้นมาเพื่อขายให้คนบ้านเราแต่ประการใด
ก่อนที่จะเฉลยว่า "สินค้าที่ว่านี้มันคืออะไร" ต้องเท้าความกันหน่อย

ก็อย่างที่บล็อกนี้เขียนถึงมาหลายตอนแล้วว่า กระแสโลกที่หมุนไปตามแรงผลักดันของการปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิตอล อันมีอินเทอร์เน็ตเป็นมหาอาณาจักรใหญ่ของการเปลี่ยนแปลง นอกจากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการคิดและการเขียนของคนทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ชาวจีนในแผ่นดินใหญ่แล้ว ยังมีสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนในเมืองจีนนอกเหนือความคาดหมายของโลกอีกมากมาย วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องการปรับตัวเพื่อทำมาหากินบนโลกออนไลน์ ของผู้ใช้แรงงานชาวจีนและผู้ประกอบธุรกิจการค้าในเมืองจีน นอกเหนือจากอุตสาหกรรมฮาร์ตเแวร์และซอฟต์แวร์แล้ว ใครจะคิดเห็นไปได้ว่าการเล่นเกมหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นก็เป็นอุตสาหกรรมทำเงินได้จริง ๆ -- โลก ณ วันนี้ "ชาวจีนกำลังทำให้การเล่นเกมคอมพิวเตอร์กลายเป็น real economies" (ภาคเศรษฐกิจที่มีการผลิตสินค้าบริการจริง มีตลาดซื้อขายรองรับสินค้าและทำเงินทำธุรกิจการค้าได้จริง ๆ)

ขณะที่คนร้อยล้านคนทั่วโลกต้อง logging on เข้าไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ทุกเดือน จนเหล่าบริษัทเจ้าของซอพต์แวร์-ฮาร์แวร์เกมสามารถทำเงินรายได้(เฉพาะจากลูกค้าประเภทสมาชิก)รวมกันถึง 360 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีนั้น รัฐบาลจีนคาดว่าประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรเน็ตในเมืองจีนติดเล่นเกมออนไลน์ แต่รัฐบาลจีนก็คาดไม่ถึงว่ามีคนจีนจำนวนหนึ่งในเหล่านักเล่นเกมออนไลน์ 24 ล้านคนนั้นเป็น "คนงานในโรงงานเล่นเกมคอมพิวเตอร์" และยิ่งเกินคาดหมายเข้าไปอีกเมื่อพบว่า โรงงานที่ตั้งขึ้นมา(เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง) ให้คนงานทำงาน=เล่นเกมคอมพิวเตอร์ คนละ 12 ถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน ทำรายได้ให้คนงานไร้ฝีมือสูงกว่าการทำงานภาคบริการตามสถานบริการ ร้านอาหาร หรือยังคงอยู่ทำงานในภาคเกษตรกรรมที่หมู่บ้านชนบท และการทำงานเล่นเกมออนไลน์ในโรงงานก็คงดีกว่าคนหนุ่มสาววัยแรงงานผู้โชคร้ายด้วยตกงานต้องเดินเตะฝุ่นอยู่ตามท้องถนนมีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองจีนเวลานี้อย่างแน่นอน

ทุกวันนี้ มีโรงงานเล่นเกมออนไลน์เปิดขึ้นทั่วเมืองจีน อย่างโรงงานแห่งหนึ่งที่ศูนย์กลางจังหวัด Henan มีคอมพิวเตอร์ 300 เครื่อง ส่วนทางตะวันตกของจังหวัด Gansu คนงานในโรงงานแห่งหนึ่งต้อง log up เข้าไปทำงานเล่นเกมถึงวันละ 18 ชั่วโมง คนหนุ่มอายุระหว่าง 18-25 ปี (หรืออายุถึง 28 ปีก็มี) ในเมืองจีนนิยมทำงานในโรงงานเล่นเกมออนไลน์นี้มากขึ้น รวมทั้งบางคนที่มีทุนและความรู้ระดับอุดมศึกษาก็มักจะลงทุนทำธุรกิจนี้ ความนิยมการทำงานเล่นเกมออนไลน์ในโรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับงานอื่น ๆ ่แล้ว ถึงกับมีการเรียกคนงานในโรงงานประเภทนี้ว่า "ชาวนา(เหรีญ)ทอง - gold farmers" กันเลยทีเดียว (ชาวนาจริง ๆ ในสังคมเก่า ก็อย่างเช่นชาวนาข้าว ชาวนาเกลือ ชาวนากุ้ง เป็นต้น) แม้ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วเมื่อพิจารณาในแง่สถานะการจ้างงานและสภาพการทำงานของกรรมกรในโรงงานเล่นเกมออนไลน์แล้ว ก็ไม่ได้แตกต่างจากการจ้างงานและสภาพการทำงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าและโรงงานผลิตของเล่นเด็ก ที่ย้ายจากไต้หวัน, ฮ่องกง และส่วนอื่น ๆ ของโลก เข้าไปหยิบฉวยเอาข้อได้เปรียบด้านการลดต้นทุนการผลิตจากแรงงานราคาถูกที่มีอยู่เกลื่อนกล่นในเมืองจีนแต่ประการใด

เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะ --คงมีคนอ่านหลายท่านสงสัยกันบ้างแล้วว่า คนงานจีนเข้าไปเล่นเกมออนไลน์ในโรงงาน แล้วมันทำเงินให้เจ้าของโรงงานยังไง นายทุนจึงต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้คนงาน? -- คราวหน้าจึงจะมาว่าต่อเรื่อง
"โรงงานเล่นเกมคอมพิวเตอร์
และ คนงานเล่นเกมออนไลน์
เกิดมีขึ้นในโลกได้อย่างไร?" --


แล้วยังมีประเด็นที่น่าสนใจ ลากยาวข้ามกำแพงเมืองจีนออกไปสู่ระดับโลกได้อีกหลายตอน





* ข้อมูลจากรายงานของ : David Barboza เรื่อง Ogre to Slay? Outsource It to Chinese ตีพิมพ์ในหน้าเทคโนโลยีของหนังสือพิมพ์ The New York Time เมื่อ December 9, 2005




 

Create Date : 16 ธันวาคม 2548    
Last Update : 20 ธันวาคม 2548 12:08:35 น.
Counter : 788 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.