<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 

คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (3)

เรื่องต่อเนื่อง:
- [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (2)]
- [คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (1)]


ตอนที่แล้วคุยกันถึง การอพยพของประชากรในโลก ในกรอบของ การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามรัฐข้ามประเทศ
คราวนี้จะเข้ามาสู่เรื่อง คนลาว และเมืองลาว ได้แล้ว

ในยุคตลาดไร้พรมแดนหรือแรงงานไร้พรมแดน แรงงานข้ามรัฐ ข้ามชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำว่า Global, Globally, Globalization ทุกวันนี้ ไม่มีใคร ใผ ผู้ใด หรือว่าประเทศชาติ ชุมชน บ้านเมืองใดในโลกนี้ที่จะอยู่อย่างโดยเดี่ยว ไม่เกี่ยวข้องกับประชาคมโลกทั้งหมดทั้งมวล ได้อีกต่อไปแล้ว

เมื่อโลกแคบลงเป็นเหมือนหมู่บ้านเดียวกัน
คนลาวอพยพ คนลาวในต่างแดน ก็ตกอยู่ในกรอบ บริบท แวดล้อม ของเหตุปัจจัยให้เป็นมา เป็นอยู่และเป็นไป ไม่ต่างจาก ประชากรผู้อพยพชาวโลกหมู่อื่น ๆ

แต่เมื่อจะศึกษาเจาะจงไปในเรื่องของคนลาวที่มีเมืองลาวเป็นอู่กำเนิด หรือ ประเทศบ้านเกิดเมืองนอน แล้วละก็ เราต้องไปตั้งต้นที่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมืองและผู้คนเสียก่อน

หากจะว่าไปแล้วเรื่องของประวัติลาว ก็เหมือนกับประวัติศาสตร์ชนชาติอื่น ๆ ทั่วโลก ที่ถ้าหากจะเล่าสู่กันแล้ว ก็คงมีหลายสำนวน หลายมุมมอง หลายช่วงเวลา และมีผู้คน เหตุการณ์ เงื่อนไขต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และที่สำคัญ…คือ… ใครเป็นคนเล่า และเล่าเรื่องราวไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ก็จะทำให้รายการหรือรายละเอียดของเนื้อเรื่องที่หยิบยกมาเล่าไว้นั้น ๆ ต่างกันออก บางครั้งก็ต่างกันเป็นคนละเรื่องเดียวกันไปเลย หากว่าคนเล่าเรื่องแต่ละสำนวนนั้นมีพื้นฐานจุดยืนและภูมิหนังรวมทั้งเบื้องหน้าแตกต่างกันมาก (อย่างเรื่องที่เล่าโดยคนลาวฝ่ายกู้ชาติ กับ คนลาวฝ่ายรัฐบาลเก่า สมัยสงครามอินโดจีน สงครามเวียดนาม-เขมร-ลาว เป็นต้น)

การนำเสนอไว้บนเว็บบล็อก แตกต่างจากการรวบรวมข้อมูลประมวลนำเสนอในรูปหนังสือหรือสื่อประเภทอื่น ๆ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องความสนใจ และการให้เวลากับเรื่องราวของแขกคนผู้เข้ามาเยี่ยมชม อ่าน ดู ฟังข้อมูลบนกรอบหน้าบล็อก ดังนั้น a_somjai’s blog จึงขอหยิบเอาประวัติศาสตร์แบบรวบรัดเข้าใจง่ายมานำเสนอก็แล้วกัน

ต่อไปนี้ เป็นประวัติศาสตร์ลาว จากมุมมองเหตุการณ์ในอดีต แบบบรรยายสรุป ให้คนทางเมืองไทย เข้าใจเมืองลาว คนลาว ประเทศลาว ได้ในเวลาอันสั้น ขอท่านผู้เจริญเชิญสดับ….(สดับ ในภาษาไทยแปลว่า ตั้งใจฟัง หากจะใช้ให้เต็มต้องใช้กับคำคู่กันว่า สดับตรับฟัง แปลว่า ฟังด้วยความเอาใจใส่)



  • ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวสยามในประเทศไทย แต่ลาวประกอบด้วยชมกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และคนลาวโดยวิถีชีวิต ภาษา วัฒนธรรมประเพณี ที่ว่านี้ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงบนที่ราบ ส่วนชาวชนเผ่าอื่น ๆ จะอยู่บนที่สูง ด้วยนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่ตาม ภู ภูเขา ดอย








แผนที่ประเทศลาว MAP of LAOS


ชื่อประเทศ: Lao People's Democratic Republic (Lao PDR ) - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว)

...ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos" และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao" ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian" แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกด "Lao ethnic group"....

เมือหลวง: Vientiane - เวียงจันทร์
พื้นที่ประเทศ: 236,800 sq km ตารางกิโลเมตร (91,400 sq miles)

ข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ประชาชน – People เมืองลาว (สถิติ ณ ปัจจุบัน)

ประชากร (1999/2549): 5.4 ล้านคน.
อัตราเพิ่มประชากรรายปี (1999): 2.7%.

กลุ่มชาติพันธ์ - Ethnic groups:
- ลาวลุ่ม 53%; ลาวลุ่มกลุ่มอื่น 13% (ไทดำ, พวน);
- ลาวเทิง ((midslope)) 23%;
- ลาวสูง (highland), รวมทั้ง ม้ง/แม้ว-Hmong, อีก้อ/อาข่า-Akha, และเย้า-Yao (เมี่ยน-Mien) 10%;
- กลุ่มเชื้อชาติเวียดนามและจีน 1%.




เพลง: เผ่าลาวเอย
แต่งโดย: สุบ้น สุวันนะวง
ร้องโดย: บุนเล่ง จันทะรังสี
ผลิตดนตรี: เจริญสุข วังเวินโขง
From: nofixedaddress Added: July 24, 2006
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=RVpy8ye1hsM
หมายเหตุ: (เพลงนี้ ที่ a_somjai ยังไม่ถอดเนื้อร้องออกมาเป็นภาษาไทย เพราะจะเก็บเอาไว้พูดกันอีกยาวในหัวข้อเกี่ยวกับการเปลื่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในลาว และ...เรื่องของชาติพันธุ์-ชนเผ่า ไท ลาว มอญ เขมร ฯ ในอุษาคเนย์..จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม ไทย เขมรและเมืองลาว ...ก็ดู VDO นี้ไปก่อน แล้วให้สังเกตว่า...ชนเผ่าต่าง ๆ ที่มาร่วมขบวนพาเหรดแบบเป็นทางการในรูปของ "ความปรองดองของพี่น้องร่วมชาติลาว" นั้นมีความหลากหลายอย่างไร อนึ่ง music VDO นี้ผลิตโดยการอุปถัมภ์ของธุรกิจเอกชน ที่เป็นบริษัทก่อสร้างเคหาสถานและสัมปทาน)


ศาสนา: พุทธ (เถรวาท), ปนกับ การนับถือผีของกลุ่มชาวลาวที่สูง
ภาษา: ภาษาลาว (ทางการ), ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาชาติพันธุ์ชนเผ่าบนที่สูงต่าง ๆ , ภาษาอังกฤษ.

การศึกษา: ผู้รู้หนังสือ--60%.
กำลังแรงงาน-Work force (2.6 ล้าน, 1999): แรงงานภาคเกษตรกรรม--85%; ภาคอุตสาหกรรมและบริการ--15%.

ที่มา: //www.state.gov/outofdate/bgn/l/9538.htm




  • กล่าวเฉพาะเผ่าชนคนลาวที่เป็นหลักในการปกครองแผ่นดินนั้น ในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์ นครหลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราช (ที่ราบสูงโคราชนี้กินพื้นที่บริเวณเขตอีสานของเมืองไทยปัจจุบัน) รวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็น “อาณาจักรล้านช้าง” ขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ (เชื่อกันว่ามเหสีของเจ้าฟ้างุ้ม ผู้เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์เขมรได้นำต้นจำปา จากเมืองเขมรมาปลูกไว้บนแผ่นดินล้านช้าง สืบมาแต่นั้นมา ดอกจำปา ดวงจำปา จำปาเมืองลาว ก็ได้รับนับถือว่าเป็น ดอกไม้ประจำชาติลาว - Champa: Flower of Laos )

    “อาณาจักรล้านช้าง - Lane Xang or The Lan Xang empire” มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทอง แล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิการเถรวาท) จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้าง เจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็น “เมืองหลวงพระบาง”




  • ลำดับแต่รัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง มีกษัตริย์สืบวงศ์กันต่อเนื่องกันมา (เกิดกบฏชิงอำนาจกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าในวงศ์ศาคณาญาติก็หลายครั้ง) จนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช อาณาจักรล้านช้างก็แตกออกเป็น 3 อาณาจักร ได้แก่ ..

    1) อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
    2) อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และ
    3) อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

    แต่ครั้งนั้น อาณาจักรลาวทั้งสามจึงต่างตกอยู่ท่ามกลางอำนาจ (และหากจะกล่าวว่าตกอยู่ใต้อำนาจของ… ก็คงไม่ผิด) ของประเทศเพื่อนบ้าน มีทั้งจีน เวียตนาม และสยาม รวมทั้งเขมรและพม่า อีกด้วย

    จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด

    ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาลที่ 3 ยกมาตีนครเวียงจันทน์ได้รื้อทำลายกำแพงเมือง เอาไฟเผาราบทั้งเมือง ทรัพย์สินถูกปล้นสดมภ์ ผู้คนถูกกวาดต้อน









ในช่วงต่อไปนี้ ของเปลี่ยนแนวทางเพิ่มบทแทรกเรื่องเล่าประวัติศาสตร์เมืองลาว เข้ามา….

เพื่อประกอบกันให้เห็นภาพ “คนลาวอพยพ” หรือ เรื่องราวของ “คนลาว…ที่ได้พรัดพราก หนีไปไกลจากบ้านเกิดเมืองนอน” (ดังเนื้อร้องในเพลงจำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปา ) โดยจะขอนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ชาติลาวจากลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเมืองลาวอันมีผลต่อการอพยพออกนอกประเทศของคนลาว หรือ การอพยพย้ายไปอยู่ต่างแดน ข้ามรัฐ ข้ามชาติ ของคนลาวจากเมืองลาว ไปพร้อม ๆ กัน ดังต่อไปนี้……

เราต้องเข้าใจกันก่อนว่า แต่ในอดีตนั้นการย้ายอพยพของผู้คนพลเมืองท้องถิ่นไปมาระหว่างบ้านพี่เมืองน้อง ตามแนวชายแดนระหว่างลาว จีน เวียดนาม และไทยนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ ส่วนการย้ายอพยพของพลเมืองเป็นกลุ่มก้อนจำนวนมากเป็นร้อยเป็นพันคนนั้น จะเกิดขึ้นจากการหนีภัยสงคราม หรือว่าการถูกกวาดต้อนให้อพยพไปตามความประสงค์ของประเทศผู้ชนะสงคราม เช่นกรณี คนลาวทางอีสาน โซ่ง พวน และคนลาวเผ่า/เมืองอื่น ๆ ที่ถูกกวาดต้อนข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่เมืองไทยเป็นต้น (เรื่องนี้ค่อยเอาไว้คุยกันยาว ๆ ข้างหน้า เมื่อมีโอกาส)

พูดสั้น ๆ ก็คือ การย้ายอพยพของคนลาวข้ามน้ำข้ามทะเลไปอยู่ต่างแดนไกล ๆ จากสภาพทางภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมที่คุ้นเคยกันอยู่บ้าง ไปอยู่ในถิ่นที่แตกต่างกันมาก ๆ นั้น ยังไม่มี

แต่แล้ว…….


  • เมื่อมหาอำนาจตะวันตกเริ่มแผ่นอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีน ฝรั่งเศสได้ใช้สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมบีบสยามให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับตน (ประเทศลาวในปัจจุบัน) เมืองลาวจึงได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ใต้ปกครองนับแต่นั้นมา

    ในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนีมีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลัง รัฐบาลวิซี และตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น

    ในส่วนของสยามเอง ในปี พ.ศ.2484 รัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก่อการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอย ด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมาอยู่ในอำนาจสยาม ญี่ปุ่นเองก็ยุยงให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้ง

    หลังสงครามยุติได้ไม่นาน ลาวหันมาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส ขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ (อังกฤษ) พยายามเข้ามามีอิทธิพลในอินโดจีน (เวียดนาม เขมร ลาว) เผชิญหน้ากันกับการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิตส์และอำนาจของประเทศมหาอำนาจที่ปกครองด้วยลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ได้ทำให้ แนวรักร่วมชาติที่ต่อต้านจักรวรรดิ์นิยมฝรั่งเศสได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาวในเวลาต่อมา โดยได้รับการสนับสนุนจากโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียตนาม




  • พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์

    ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาว ซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)

    พ.ศ. 2498 ลาวได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

    พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์

    3 ปีต่อมา เวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอนเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออก



  • พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียตนามหันมาใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในภาคตะวันออกของลาว เป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังพลไปปราบปรามพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียตนามใต้ กองกำลังอเมริกันเริ่มเข้ามาปฏิบัติการลับในลาว

    พ.ศ. 2516 สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม “การทำสงครามหลังฉาก” ในประเทศลาวจึงต้องเลิกราไปด้วย

    พ.ศ. 2518 หลังจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์มีชัยเหนือเวียดนามทั้งประเทศได้ไม่นาน โดยยึดกรุงพนมเปญเป็นแห่งแรก ตามมาได้ไซ่ง่อน แล้วขบวนการประเทศลาวยึดอำนาจได้ทั้งหมดในเดือนธันวาคม เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ตามมาด้วยการสถาปนาประเทศใหม่....ชื่อว่า.....
    “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” หรือ ส.ป.ป.ลาว
    เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
    [the communist Lao People's Democratic Republic (LPDR) was established.]



  • ระยะ 5 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใช้นโยบายคอมมิวนิสต์ปกครองอย่างเข้มงวด ควบคุมพุทธศาสนา ตัดสัมพันธ์กับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ ส่งผลให้ปัญญาชนและชนชั้นกลางจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจ้าสว่างวัฒนาและพระญาติวงศ์สิ้นพระชนม์อยู่ในค่ายกักกัน ชาวบ้านยากจนลง


    รัฐบาลรวมศูนย์การตัดสินใจอำนาจทุกเรื่องไว้ที่ส่วนกลาง ทั่งเรื่องเศรษฐกิจ, คณะกรรมการความมั่นคง, รวมทั้งการปิดปากประชาชนฝ่ายตรงข้าม ด้วยการควบคุมสื่อ และการจับกุม คุมขัง กลุ่มอำนาจรัฐบาลเก่า และเปิด “ค่ายให้การศึกษาใหม่ … re-education camps” การดำเนินนโยบายอย่างเข้มงวดเฉียบขาดและเงื่อนไขฉุดรั้งถดถอยทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเถรตรงในการควบคุมทางการเมือง บังเกิดเป็นผลร้ายให้มีการอพยพหนี้ภัยของ พลเมืองลาวลุ่ม และ กลุ่มชาติพันธ์เผ่าม้ง ออกจากดินแดนประเทศลาว ประมาณการณ์ภายหลังปี 1975/2518 ว่ามีพลเมืองลาวในเวลานั้นถึง 10% ที่กลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยทางการเมือง มีคนลาวเหล่านี้จำนวนมากที่ได้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม ในจำนวนนี้มีจำนวนมากถึง 250,000 ที่เข้าไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

    อย่างไรก็ดีในปัจจุบันนี้ สถานการณ์ผู้อพยพลี้ภัยชาวลาวดังกล่าวมานี้ ก็ผ่านพ้นไปอาจเรียกได้ว่าเป็นหนังที่จบม้วนไปแล้ว หากดูจากการที่รัฐบาลลาวได้ปิด “ค่ายให้การศึกษาใหม่ … re-education camps” และปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองให้เป็นอิสระเป็นจำนวนมาก


แหล่งค้นคว้าข้อมูล: ประวัติศาสตร์ลาว, Lao history, Loas History





อะ อะ เรื่องนี้คุยไปคุยมา ทำท่าจะยาวแฮะ!
เรื่องชุด คิดฮอดเมืองลาว – I miss Loas.
คงต้องว่าต่อเนื้อความ กันอีกหลายตอน

ส่งท้ายวันนี้ ด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศเครียด ๆ หนัก ๆ
ไปพักฟังเพลงบรรยายความในใจชองคนทางบ้านเมืองลาว
บอกข่าวไปถึงงคนลาวที่ไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่สาม
ฟังกันสักเพลง อุ่นเครื่องไว้อ่านบล็อกตอนหน้า....


(ที่จริงแล้ว ประเทศที่สาม นั้น ฝรั่งเขาก็คงจะให้หมายถึงประเทศที่ไม่ใช่ประเทศที่มีรํฐบาลเป็นปฏิปักษ์กับผู้อพยพ หรือประเทศที่ผู้ลี้ภัยหลบหนี้ออกมา และไม่ใช่ประเทศที่ผู้อพยพมาพักพิงอยู่แบบชั่วคราว แต่หากจะเว้ากันซื่อ ๆ แล้วละก็...ว่าตามความเข้าใจของคนผู้มีมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมอันเก่าเดิมของตนเองอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันจำเป็นต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นนั้น ประเทศที่สาม...ก็คือประเทศที่เจริญก้าวหน้าทางวัฒถุมากกว่าเมืองลาว เท่านั้นเองแหละ...)


Ya Lerm Muang Lao Bahn Hao (Laos)

เพลง: อย่าลืม "เมืองลาวบ้านเฮา"
นักร้อง: วอนวิไล
From: settha100 Added: October 05, 2007
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=diBKsEu0658



คิดฮอดเมืองลาว – I miss Loas.ตอนที่ 4
จะโพสต์เพลงให้ชมฟังกัน
และจะพูดคุยกันเรื่องความรู้ลาวศึกษาจากเนื้อเพลงภาษาลาว
มีพิธี "บาศรีสู่ขวัญ" ให้ด้วยนะเอ๊า..
(บาศรี ครับ ไม่ใช่ บายศรี อยากรู้ว่าทำไม ต้องติดตามอ่านต่อไป)
จากนั้นแล้วค่อยวกมาว่าเรื่องหนัก ๆ กันอีกรอบสองรอบ

สบายดีกันชุผู้ชุคนเด้อ พี่น้องลาว-พี่น้องไทย






posted by a_somjai on Friday , December 7, 2007 @ 11:44 AM
<<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




 

Create Date : 07 ธันวาคม 2550    
Last Update : 16 มีนาคม 2551 17:06:18 น.
Counter : 2977 Pageviews.  

คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (2)

เรื่องต่อเนื่องจาก [ คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (1)]



จะว่าไปแล้ว
เรื่อง คนลาวอพยพ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แปลกประหลาด อะไรดอก เพราะว่า…
การย้ายถิ่น การอพยพ หรือว่า การเคลื่อนย้าย ของประชากร พลโลก เป็นปรากฏการณ์สามัญที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั่วโลก จะเรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมประชากรของชาวโลกเมืองมนุษย์ก็ว่าได้…..

หากจะอ้างอิงวิชาการกันเสียหน่อย ก็ขอนำมาบอกกล่าวกันว่า แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารโลก(Anders Hjorth Agerskov) ยังบอกกล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2005/2548 เลย สรุปได้ดังนี้


- ประมาณ 3% ของประชากรโลกเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานข้ามรัฐข้ามประเทศ ก็ตีว่ามีอยู่ราว 175 ล้านคนที่ต้องระหกระเหินไปอยู่นอกประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น มีคนต่างด้าว (เกิดต่างประเทศ) อาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 10% ของพลเมืองสหรัฐฯ, และคนด่างด้าวในประเทศแถบยุโรปมีอยู่ประมาณ 5% ของพลเมืองยุโรป เป็นต้น. สมมติว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นเหล่านี้ (migrants) ได้มาอาศัยรวมกันอยู่ในบริเวณแหล่งเดียวกันแล้วละก็ ถิ่นประเทศนั้นก็จะมีขนาดประชากรใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกเลยทีเดียวเชียวแหละ ที่ว่ามานี้ขนาดว่ายังไม่รวมประชากรโลกบางส่วนที่ยังไม่อาจรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของพวกเขาได้ชัดเจน อย่างพลเมืองที่เข้าไปทำงานข้ามไปมาระหว่างชายแดนรัฐต่าง ๆ เป็นต้น (ก็ลองนึกเห็นภาพ “แรงงานข้ามรัฐ” แถวเมืองชายแดนไทย เป็นต้นว่า ชายแดนติดพม่า…แม่สาย แม่สอด, ติดเมืองลาว…. หนองคาย มุกดาหาร นครพนม และอุบลราชธานี, ไหนจะแถวพรมแดนไทย-กำพูชา และจังหวัดภาคใต้ที่ติดต่อกับฝั่งทะเลพม่า หรือเขตแดนมาเลเชีย ลองวาดภาพดูก็แล้วกัน)

- ว่ากันว่า การเคลื่อนย้ายอพยพของพลโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1800/พ.ศ. 2343 [ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 - 2367)] เป็นต้นมา แล้วก็ต่อมาจากช่วงเวลาระหว่าง ปี 1870/2413 [ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)] คาบเกี่ยวกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีการอพยพโยกย้ายของเหยื่อสงครามโลกครั้งแรกนี้ เฉพาะผู้คนพลเมืองชาวยุโรปมากกว่า 50 ล้านคน ชาวยุโรปเหล่านั้นหนีภัยสงครามจากภาคพื้นยุโรปไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา, แคนนาดา, ลาตินอมริกา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์, ขณะที่พลเมืองผู้ยากจนชาวเอเชียบางส่วน ราว ๆ 50 ถึง 60 ล้านคนเป็นผู้อพยพกลุ่มใหญ่ที่เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปยัง the West Indies , Africa และ แหล่งอื่น ๆ . ต่อจากนั้นมาจนหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในรายงานเดียวกันนี้บอกว่า การอพยพเคลื่อนย้ายของแรงงานก็เริ่มชะลอตัวลงในระหว่างช่วงปี 1965-1975/ 2508-2518 (อัตราการเคลื่อนย้ายของประชากรทั่วโลกลดลงเหลือเพียง 1.16% ต่อปี) เมื่อเปรียบเทียบกับการเพิ่มของประชากรพลเมืองทั่วโลก แต่อัตราการอพยพแรงงานก็กลับเพิ่มขึ้นอีกในช่วง 15 ปีต่อมา กล่าวคือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างช่วงปี1985-1990/2528-2533 , คือเพิ่มสูงขึ้นเป็นปีละ 2.6% เท่ากับหนึ่งเท่าของสถิติปี 1960s/2503 เป็นต้นมา, ส่วนว่าหากมองไปในอนาคตข้างหน้าแล้วละก็ จากรายงานขององค์การระหว่างประเทศที่ทำงานเกี่ยวกับการอพยพ [(รายงานปี 2003/2546) โดย International Organization for Migration (IOM) ] คาดการณ์ว่า จำนวนทั้งหมดของผู้อพยพในปี 2050/2593 จะเท่ากับร้อยละ 2.6 ของประชาการโลกทั้งหมด

- ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่ผู้สนใจควรจะรู้ไว้ คือว่าประเทศในทวีบยุโรปและทวีปเอเชียไม่เพียงแต่เป็นผู้ส่งออกผู้อพยพเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรองรับเอาผู้อพยพในลักษณะการแลกเปลี่ยนผู้คนระหว่างกันในอัตราสูงอีกด้วย กล่าวคือ ยุโรป 33% และเอเซีย 28%, ส่วนจุดหมายปลายทางที่สามของผู้อพยพ ก็เป็นอย่างที่รู้ ๆ กันอยู่ คือผู้อพยพส่วนมากจะเล็งไปที่ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ คิดเป็นจำนวนมากถึง 23% ของผู้อพยพทั้งโลกเราในเวลานี้เลยทีเดียว

ที่มา: Seminar Number 14: Remittances and Migration — Emerging Links with Poverty By Anders Hjorth Agerskov, Senior Policy Officer, International Affairs, World Bank เสนอรายงานไว้ในการประชุมสัมมนา จัดโดยธนาคารโลก เรื่อง Global Development Challenges Seminar Series, A Pilot Program, April-July, 2005 ที่มหาวิทยาลัยโกเบและฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2005/2548





คุยกันถึง การอพยพของประชากรในโลก ในกรอบของ การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามรัฐข้ามประเทศ เสียยืดยาว จนดูเหมือนจะออกนอกเรื่องเมืองลาว หรือ ลาวศึกษา - Lao Study ไปไกลโขเสียแล้ว

แต่ก็นั้นแหละ เราต้องยอมรับว่า ในยุคตลาดไร้พรมแดนหรือแรงงานไร้พรมแดน ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำว่า Global, Globally, Globalization อย่างทุกวันนี้ ไม่มีใคร ใผ ผู้ใด หรือว่าประเทศชาติ ชุมชน บ้านเมืองใดในโลกนี้ที่จะอยู่อย่างโดยเดี่ยว ไม่เกี่ยวข้องกับประชาคมโลกทั้งหมดทั้งมวล ได้อีกต่อไปแล้ว

เมื่อโลกแคบลงเป็นเหมือนหมู่บ้านเดียวกัน
คนลาวอพยพ คนลาวในต่างแดน ก็ตกอยู่ในกรอบ บริบท แวดล้อม ของเหตุปัจจัยให้เป็นมา เป็นอยู่และเป็นไป ไม่ต่างจาก ประชากรผู้อพยพชาวโลก เท่าใดนัก และมีขอบเขตที่เจ้าของบล็อกนี้สามารถจะยื่นหน้า หู ตา จมูก/ดัง ปาก ไปหยิบยกเอามาเล่าสู่กันอ่าน/กันฟังได้มากมาย ไม่รู้สุดสิ้น

ดังนั้นก็จะคัดเลือกเอามาเล่าสู่กันพอหอมปากหอมคอก็แล้วกัน คิดว่าแม้ข้อมูลที่คว้าหามาได้จะมีไม่มากนัก แต่ก็ยังทำให้เราพอมองเห็นภาพอะไรต่อมิอะไรได้บ้าง

สำหรับบล็อกเรื่องนี้ คงต้องเอาไว้ว่าต่อกัน ตอนหน้า
เพราะโพสต์กรอบหนึ่ง ๆ ยาวไป คนอ่านบล็อก มักเบื่อข่าวสารข้อมูลกัน

สำหรับวันนี้
ขอตบท้ายด้วย เพลงในท่วงทำนองรำวงของคนลาว
อันได้สะท้อน ความคิดนึกของ ชาวลาวต่างแดน ผู้ย้ายอพยพไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ด้วยเหตุอันใดก็ดี
แล้วพวกเขาก็คิดถึง “เมืองลาว” อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน
จนต้อง ถ่ายทอดส่วนลึกภายในใจ ออกมาในรูปบทเพลง ส่งถึง “เพื่อนลาว” ทั้งหลาย ผู้พลัดพรากจากบ้านเมืองออกมาดิ้นรน ทำงานหาเลี้ยงชีวิตในโลกกว้าง ต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค์นานับประการเช่นเดียวกัน
แล้วก็ลงทุนลงแรงบันทึกเสียงและภาพลง VDO นำออกเผยแพร่สู่กันไว้ในรูปสื่อต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันความรู้สึกระหว่างกัน
และ โดยเฉพาะการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์นี้ไว้บนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อสื่อสารถึงกันได้ทุกที่ทุกเวลา

ท่านผู้อ่านครับ…ขอเชิญรับชมรับฟังเพลง
“สบายดี เพื่อนลาว”
ได้ ณ บัดนี้


sabaydi pheuane Lao

From: kapimok (กะปิหมก) Added: March 21, 2007
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=Q6GXlbUwdyQ



เพลง: สบายดีเพื่อนลาว
ผลงานของ: พน อ้วนสวัสดิ์
ขับร้องโดย: จันทะรา และ บุนสอน

สบายดี*บ่ เพื่อนลาวเจ้าเอย
แต่ก่อนนี้เคยมีความสุขี
ต้องจากเฮือนซานบ้านเกิดเมืองนอน
ซ้อน*ตัวอยู่นี้ สูญสิ้นศักดิ์เสียแล้วหรือนั้น

สบายดีบ่ เพื่อนลาวทั้งหลาย
หญิงชายน้อยใหญ่ คงได้เวียกการ*
ตั้งจิตทำงาน เพิ่มพูนวิชาหาเลี้ยงชีวัน
ด้วยจิตเบิกบาน สำราญไมตรี

จงฮักฮ่วมกัน ฮ่วมจิตสัมพันธ์ เสริมสร้างความสามัคคี
ชาติลาว จะมี ชาติจะเฮืองศรี ก็ลาวเฮานี้ มีความปรองดอง

สบายดีบ่ ชาติลาวนี้หนา
ลุง อาว* น้า อา อย่าลืม อย่าหลง
จะกลับเมืองลาว จะต่าว* คืน เมือ เพื่อญาติวงศ์
เสริมสร้างให้คงถาวรต่อไป



หมายเหตุของ a_somjai:

*สบายดีบ่ นอกจากเป็นคำถามไถ่ทุกข์สุขกันแล้ว สบายดี ยังใช้เป็นคำทักทายของคนเมืองลาว ส่วนคนที่เมืองไทยใช้ทักทายกันว่า สวัสดี

*ซ้อน ร้องว่า ซ้อนตัวอยู่นี้ แปลว่า ทับกันอยู่นี้ แต่หากเว้าว่า ซ่อนตัวอยู่นี้ จะแปลว่า บัง แอบแฝงอยู่นี้

*เวียก การ งาน ความจริงแล้วทางล้านนาเชียงใหม่ แต่เดิมมาก็คงมีคำว่า เวียก การ ใช้อู้อยู่ เพราะในผู้สูงอายุตามชนบทก็ยังมีใช้คำนี้พูดกันอยู่บ้าง แต่เดี๋ยวนี้เหลือเพียงคำอู้ว่า การ งาน เท่านั้น มีหลักฐานในวรรณกรรมล้านนาอ้างอิงถึงการใช้คำว่า เวียก การ นี้อยู่ อย่างเช่นตำนานมูลสาสนา สำนวนล้านนา รจนาโดย พระมหาเถระพุทธญาณ และพุทธกาม พระภิกษุชาวเชียงใหม่ เล่าตอนที่หมู่คนที่มาจากเมืองละโว้กับนางจามเทวีเพื่อมาสร้าง เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน)นั้น เมื่อนางจามเทวีไปลาขอพรพระยาละโว้ นางได้ทูลขอคนหมู่ต่าง ๆ จากพ่อนาง ว่าดังนี้ “ข้าจักขอเอามหาเถระเจ้าหลายฝูงทรงปิฎก ผ้าขาวทังหลาย (คือ)ฝูง(ผู้ที่)ตั้งอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ ก็ได้ บัณฑิต ช่างจลัก(แกะสลัก) ช่างแก้วช่างแหวน พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง (คนมีเงินมีทองมีฐานะดี) หมอหูรา หมอยา ช่างเงิน ช่าง(ทอง)คำ ช่างตีเหล็ก ช่างแต้ม หมู่ช้างทังหลาย หมู่พ่อค้าทังหลาย หมู่พ่อเวียกพ่อการทังหลาย(คนคุ้มงานอย่างเรียกพ่อครัวแม่ครัวเป็นต้น) เพื่อเป็นประโยชน์ภายในภายนอกแล”

*อาว อา คำเรียกลำดับเครือญาติ คนไท-ลาวแต่เดิม ใช้เรียกน้องของพ่อ ถ้าเป็นผู้หญิงเรียก อา, เป็นผู้ชายเรียก อาว อย่างในวรรณคดีเรื่องสังข์ศิลป์ชัย มีคำประพันธ์ว่า "ขอให้อาได้เห็นอาวยามน้อย" และในมหากาพย์เรื่อง ท้าวฮุ่งขุนเจือง ว่า "เขาพี่น้องเนืองสู้ช่อยอาว" คำ ช่อย ซ่อย หมายว่า ช่วย ช่วยเหลือ, อนึ่งเรื่องความสำคัญของญาติฝ่ายข้างพ่อนี้ ในตำนานจามเทวีวงส์ เนื้อหาส่วนที่อยู่ใน "มูลศาสนา สำนวนล้านนา" ที่แต่งโดยพระภิกษุชาวเชียงใหม่ ตอนที่นางจามเทวี อพยพมาจากเมืองละโว้ เพื่อมาสร้าง เมืองหริภุญชัย นั้น เมื่อจะปรึกษาหารือผู้รู้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ติดตามมาด้วยกัน พระนางก็มักจะเอ่ยอ้างอิงถึงบรรดาญาติผู้ใหญ่ฝ่ายพ่อ ใช้คำเรียกว่า "อา อาว" ดังกล่าวนี้อยู่เสมอ

*ต่าว คืน เมือ กลับ คำว่า คืน เมือ กลับ มีความหมายเดียวกัน ส่วนทางล้านนา เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย พะเยา ฯ ในปัจจุบันนอกจากใช้คำดังกล่าวแล้ว ยังอู้ว่า พลิก ออกเสียงว่า ปิ๊ก หมายถึง กลับ คืน เมือ อีกด้วย, ส่วนคำว่า ต่าว นั้น ล้านนาใช้ในภาษาเขียนว่า ต่าว หรือ ท่าว ภาษาพูดออกเสียงว่า ต่าว แปลว่า หกล้ม (ส่วน โค่น ที่หมายถึง ล้ม หรือ ทำให้ล้มลง คำปากคนเมืองเหนือว่า โก่น)



posted by a_somjai on Tuesday , December 4, 2007 @ 5:04 PM
<<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




 

Create Date : 04 ธันวาคม 2550    
Last Update : 16 มีนาคม 2551 17:00:19 น.
Counter : 1011 Pageviews.  

คิดฮอดเมืองลาว – I miss Laos. (1)

หากจะคิดกันให้ดีแล้ว
การพลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน ดูจะเป็นเรื่องปกติของมนุษยชาติ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร
เพราะมนุษย์สมัยไหน ๆ ก็มีการอพยพถิ่นฐานกันทั้งนั้น

จะด้วยเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลส่วนรวม ก็แล้วแต่จะสืบค้นกัน
อย่างเช่น---

- ย้ายถิ่นเพราะเรื่องปากท้อง ทำมาหากิน มีได้ตั้งแต่การย้ายแหล่งที่ทำกิน ไปจนถึงย้ายแหล่งงานหรือตลาดแรงงาน
- ย้ายเพื่อไปเรียน ย้ายตามคู่แต่งงาน ย้ายตามครอบครัว
- ย้ายตามบ้านเมือง หนีภัยธรรมชาติ หนีโรคระบาด ไปจนถึงภัยสงคราม หรือ แม้แต่ถูกกวาดต้อนแรงงานเพราะพ่ายแพ้สงคราม เป็นต้น


หากดูจากประวัติศาสตร์แล้วเรื่องของคนล้านช้าง คนเมืองลาว หรือว่าคนในดินแดนลุ่มน้ำโขงทุกหมู่เหล่า ต่างก็มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกันอยู่ตลอดยุคสมัย ทั้งในระดับปัจเจก ระดับกลุ่มครอบครัวเครือญาติ ไปจนถึงระดับการย้ายเป็นกลุ่มชนหมู่ใหญ่ระดับบ้านเมือง ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังที่กล่าวมานี้

การศึกษาเรื่องราวของผู้ตนที่เกี่ยวข้องกับการอพยพจึงเป็นเรื่องกว้างใหญ่มาก ไม่รู้จบสิ้นก็ว่าได้
เอาแค่ เรื่องกลุ่มชนต่าง ๆ ในเมืองไทย ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทย-ลาว-อินโดจีน หรือว่า ผู้คนในอุษาคเนย์ อะไรก็ว่ากันไป ก็เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับการศึกษาเพียงแค่ในวงหมู่ของคนไทยด้วยกันเองเสียแล้ว

อย่างเช่น เรื่องไท-ลาว: โซ่ง พวน ผู้ไท ยวน โยนก ไต ลื้อ ลัวะ ละว้า ข่า ขมุ ฯลฯ แค่นี้ก็มีเรื่องในอดีตและปัจจุบันให้ศึกษากันไม่รู้จบแล้ว

หรือจำกัดเวลาในประวัติศาสตร์แค่ช่วง 40-50 ปีมานี้ ตั้งแต่ สงครามอินโดจีน มาสงครามเวียดนาม และต่อมาถึงช่วงหลังสงครามเย็นในยุคดิจิตอลเอจของเรานี้ ก็มีแง่มุมให้ศึกษาค้นคว้า และพูดถึงเกี่ยวกับคนลาวกันมากมายหลายแง่มุม

blog เรื่อง Lao study วันนี้จึงคงพูดได้แต่เพียงเศษเสี้ยวของ เรื่องของคนลาวอพยพ ในยุคปัจจุบันของเรานี้เท่านั้น

สำหรับผู้อพยพคนลาวหรือผู้ที่เคยเป็นผู้อพยพ ที่อยู่ในขอบเขตประเทศทั้งสอง คือ ประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นั้น. ขอนำตัวอย่างผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ มาแนะนำ (ผู้สนใจ ให้ตาม Link ไปอ่านเพิ่มตามกันเองนะครับ) ไว้ดังนี้


ตัวอย่างแรก เป็นตัวอย่างของลูกหลานเมืองลาว ที่เคยอยู่เมืองไทย แล้วก็ย้ายตามครอบครัวพ่อแม่กลับไปอยู่เมืองลาว ท่านชื่อ ดวงเดือน บุนยาวง (อ่านข้อมูลที่ นิตยสารสารคดี / เว็บไซต์ sarakadee.com ฉบับที่ 260 > ตุลาคม 49 ปีที่ 22 หัวข้อเรื่อง รวมมิตร : มิตรจากลาว แม่หญิงดวงเดือน บุนยาวง, สุเจน กรรพฤทธิ์ : เรื่อง / ประเวช ตันตราภิรมย์ : ภาพ )

มิตรจากลาว แม่หญิงดวงเดือน บุนยาว



สรุปเอาความได้ว่า แม้ว่า ดวงเดือน บุนยาวง จะถือกำเนิดที่นครเวียงจันทน์ เมื่อปี ๒๔๙๐ แต่เธอก็เป็นคนลาวที่รู้จักเมืองไทยดีมาตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะบ้านเกิดอยู่ริมฝั่งโขงติดกับชายแดนเมืองไทยนี้เอง ประกอบกับเธอเป็นลูกสาวของมหาสิลา วีระวง ปราชญ์คนสำคัญของชาวลาวที่เกิดในเมืองไทย กับมีแม่เป็นคนพื้นเพเดิมอยู่ที่จังหวัดนครนายกที่ย้ายตามพ่อแม่ไปตั้งรกรากอยู่ในประเทศลาว (เรื่องของท่านมหาสีลา วีระวง เกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด บวชเรียนที่อำเภออาจสามารถ จึงมีญาติมิตรทางเมืองไทยมาก และจึงได้รับข่าวสารความรู้จากเมืองไทยอยู่เสมอ จะได้กล่าวถึงในตอนข้างหน้า เมื่อเขียนเรื่อง ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง ที่ท่านเป็นผู้รวบรวมวรรรณคดีเก่า แต่งหนังสือไว้ให้คนไทยคนลาวยุคปัจจุบันได้ทราบ ได้ศึกษา)

ในวัยเด็ก ดวงเดือน ฯ ได้รับการศึกษาในระบบคล้ายกับที่เมืองไทยมี ต่างก็แต่ระบบการศึกษาของลาวยุคนั้น ฝรั่งเศสเป็นผู้วางหลักสูตรให้ ประถมศึกษาจะมีตั้งแต่ ป. ๑-ป. ๖ ส่วนมัธยมศึกษามีตั้งแต่ ม. ๑-ม. ๗ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามขึ้นในภูมิภาคอินโดจีน ทั้งเวียดนาม เขมร และลาว ในลาวเองก็เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้ง เธอเคยผ่านสงครามกลางเมืองมาครั้งหนึ่งตอนเรียนชั้นประถม ช่วงนั้นต้องหยุดเรียนเพราะเกิดความวุ่นวายในเมืองหลวง พอเรียนจบชั้นประถม เธอจึงไปเรียนต่อที่วิทยาลัยครูโดยไม่เรียนชั้นมัธยม ก่อนจะสอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่ประเทศฝรั่งเศส พอเรียนจบก็มาสอนวิชาฟิสิกส์ เคมี อยู่ระยะหนึ่ง ในสถาบันเก่าซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ก่อนจะได้ทุนไปเรียนต่อปริญญาเอกในสาขาเดิมที่ฝรั่งเศสอีกครั้ง เพราะช่วงนั้นรัฐบาลลาวต้องการจะตั้งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ จึงต้องการอาจารย์ระดับปริญญาเอก แต่ยังเรียนไม่ทันจบก็เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศลาวเสียก่อน (ปี ๒๕๑๘) เธอเลยต้องเดินทางกลับประเทศ

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการปฏิวัติครั้งนั้น แต่มหาสีลา วีระวง ผู้เกษียณอายุราชการแล้ว พ่อของดวงเดือน ฯ ยังนับถึอกันว่าเป็นบุคคลสำคัญอยู่ ท่านได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ ส่วนลูกสาวก็ได้ทำงานในกระทรวงเดียวกันด้วย ต่อมาจึงย้ายไปอยู่กระทรวงวัฒนธรรม ต่อมาปี ๒๕๑๙ หลังแต่งงาเธอได้ติดตามสามีไปทำงานด้านการทูตที่สหภาพโซเวียต (รัฐเซีย) แล้วจึงมาทำงานด้านหนังสือวิชาการในภายหลัง

ดวงเดือน บุนยาวง ได้พูดถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว ไว้ตามที่บันทึกในหนังสือ สารคดี ฉบับที่ 260 > ตุลาคม 49 ปีที่ 22 อย่างน่าคิดว่า –

“ในอุษาคเนย์ เราใกล้ชิดกันมากที่สุด ทั้งภาษาและวัฒนธรรม คิดดูว่าเราคุยกันได้ด้วยภาษาพูดแม้ว่าภาษาเขียนจะต่างกัน ซึ่งไม่มีประเทศในแถบนี้เหมือน ดิฉันจะดีใจมากถ้าไทยใช้แบบเรียนและประวัติศาสตร์ฉบับใหม่ที่ไม่สอนให้โกรธเพื่อนบ้าน ให้ข้อมูลที่จะช่วยให้สองประชาชาติเข้าใจกัน และใช้วัฒนธรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน

“อย่างไรก็ตาม ดิฉันเชื่อว่าคนรุ่นใหม่ของเราจะสามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลได้ดีกว่าคนรุ่นเก่า เพราะเขามีโอกาสอ่านหนังสือมากขึ้น ยิ่งในเมืองไทยมีสื่อเยอะมาก ถ้าให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาวจะดีขึ้นแน่นอน

“ความแตกต่างระหว่างลาวกับไทยตอนนี้คือ ดิฉันไม่ค่อยเห็นคนไทยใส่ชุดพื้นเมืองเข้าวัดแล้ว แต่ที่ลาว คนยังนุ่งซิ่นเข้าวัด ส่วนเรื่องที่เหมือนกันคือ เรากำลังเผชิญกับปัญหาลัทธิบริโภคนิยมที่รุกล้ำเข้ามา”

ข้างบนนี้ คือตัวอย่างของ คนลาว/ปัญญาชนลาว ที่อยู่ในเมืองลาวได้อย่างกลมกลืน ตามพื้นภูมิหลังของชีวิต ครอบครัว และสังคม




คราวนี้ ไปดูคนลาวอพยพ ระดับล่าง ที่ยังตกค้างอยู่ในเมืองไทย ในสภาพ “คนไร้รัฐ” และ/หรือ "คนไร้สัญชาติ" บ้าง


archanwell อาจารย์แหวว (พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เปิดเว็บไซต์ ให้ความรู้ด้านกฏหมรย ไว้ที่ -> //www.archanwell.org/) เขียนเรื่อง “ลาวอพยพ ซึ่งอาจไม่ใช่ลาวอพยพ” ไว้ที่ blog ของเธอ เมื่อปีกลายนี้ (เวีบไซต์ gotoknow.org / archanwell สร้าง: ศ. 12 พฤษภาคม 2549 @ 02:17 แก้ไข: พ. 08 ส.ค. 2550) ว่า….


"วันนี้ นั่งรื้อตั้งกระดาษ ไปเจอเรื่องของคนลาวอพยพที่มาร้องเรียนให้ไปช่วยเหลือ

แล้วลาวอพยพคือใคร ?

โดยความเข้าใจพื้นฐานของคนทั่วไป ก็จะคิดว่า พวกเขาเป็นคนสัญชาติลาว อพยพมาจากประเทศลาว แล้วเข้ามาทำงานในประเทศไทย

แต่เมื่อเราโผล่หน้าไปทำความรู้จักกับพวกเขาอย่างจริงจัง เราจะพบว่า ความเป็นจริงอาจมีหลายลักษณะ กล่าวคือ

พวกแรกอาจจะเป็นคนสัญชาติลาวจริงๆ ที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรของรัฐลาว แล้วอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือน และทำงานในประเทศไทย และมีจำนวนมากเลย ที่หลบหนีเข้าเมือง ในยุคนี้ ก็เรียกกันว่า "แรงงานลาว" ก็ได้ ก็มาทำงานนี่นา

พวกที่สองนั้นเป็นคนจากประเทศลาว แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎรลาว และก็ไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทย อาการแบบนี้ เราเรียกว่า "คนไร้รํฐ (Stateless)"

พวกที่สาม ก็มาจากลาว และก็ไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎรลาวอีกนั่นแหละ แต่ได้รับการบันทึกไว้ในทะเบียนราษฎรไทย ประเภท ทร.๑๓ ก็เลยไม่ไร้รัฐ เพราะประเทศไทยยอมรับเป็น "รัฐเจ้าของตัวบุคคล (Personal State)" มีสถานะเป็น "ราษฎรไทย" แต่ก็ยัง "ไร้สัญชาติ (Nationalityless) อยู่ดี

พวกที่สี่ เป็นคนที่อาศัยตามแนวชายแดนไทยลาวนี่เอง ไม่เคยข้ามไปฝั่งลาว แต่ตอนเกิด พ่อแม่ไปได้ไปแจ้งเกิดให้ที่อำเภอ พอโตมา ก็เดินไปแจ้งเกิดให้ตัวเองย้อนหลัง อำเภอก็ไม่เชื่อ หาว่า เป็นคนลาวอพยพ บางราย มีญาติพี่น้องเต็มอำเภอธาตุพนม แต่เจ้าหน้าที่อำเภอก็ลังเลที่จะเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรให้ กว่าจะพิสูจน์ได้ ก็เหนื่อยทีเดียว

คนสามกลุ่มหลังนี้ร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายมามาก ไปเยี่ยมก็หลายหนแล้ว ช่วยเหลือก็ไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่

นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า คนที่เราเรียกว่า "ลาวอพยพ" นั้น จำนวนไม่น้อยที่เป็น "คนไทลื้อ" อพยพลงมาจากจีน แล้วไปลาว แล้วต่อมาในประเทศไทย

สมช. เห็นชอบจนเสนอเป็นมติ ครม.เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ให้สัญชาติไทยแก่ลาวอพยพไร้สัญชาติที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรไทยแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ คงอีกนานทีเดียวที่พวกเขาจะพ้นจากความเป็นคนไร้สัญชาติ"




แล้วต่อไปนี้เป็นข้อมูลจริง ของคนลาวไร้สัญชาติผู้หนึ่ง โพสต์ที่ learners.in.th/blog สถานะบุคคลตามกฎหมายไทยของ นางคำพร แก้วศรีสุข โดย นางสาว สุชาตา ญาตาวาณิชยากูล มหาวิทยาลับอุบลราชธานี



>>> เนื่องจากปัจจุบันบัตรประจำตัวลาวอพยพของนางคำพร แก้วศรีสุข นี้ ได้หมดอายุแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงการดำเนินการของทางราชการเพื่อขอต่อบัตรใหม่ ทางราชการจึงออกเอกสารอีกฉบับหนึ่งให้นางคำพร แก้วศรีสุข ถือไว้ขณะกำลังรอการทำบัตรใหม่อยู่ คือ

+ ใบตอบรับการขอมีบัตร มีบัตรใหม่ และเปลี่ยนบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (กลุ่มลาวอพยพ) ส.ท.ร. 1/1 ซึ่งปรากฏรายละเอียดดังต่อไปนี้

หมายเลขคำร้อง 3410-0-000007

วันที่ 28 มิถุนายน 2550

สำนักทะเบียน บุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ได้จัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้กับ นางคำพร แก้วศรีสุข

เลขประจำตัวประชาชน 6-3410-58002-18-6

เกิดวันที่ - - 2512

มารดาชื่อ เพ็ง บิดาชื่อ สิงห์

อยู่บ้านเลขที่ 1/พ หมู่ 1 ตำบลบ้านแมด (คอแลน) อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

จึงออกหลักฐานเพื่อแสดงว่าสำนักทะเบียนได้รับคำขอมีบัตรไว้แล้ว และให้มารับบัตรในวันที่ 28 กรกฎาคม 2550

นายทะเบียน นายวัลลภ แสงทอง (ปลัดอำเภอ)

---------------------------------------------------

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบิดา-มารดา ของนางคำพร แก้วศรีสุข

+บิดาชื่อ นายสิงห์ เกิดที่สาธารณรัฐประชาชนลาว ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว

+ มารดาชื่อนางเพ็ง เกิดที่สาธารณรัฐประชาชนลาว ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วบุคคลทั้ง ๒ ไม่ได้เดินทางมาประเทศไทยพร้อมกับนางคำพร แก้วศรีสุข อยู่แต่สาธารณรัฐประชาชนลาว จนกระทั่งเสียชีวิต

-------------------------------------------------

ข้อมูลทางการศึกษาของนางคำพร แก้วศรีสุข

+ นางคำพร แก้วศรีสุข ไม่เคยได้เข้ารับการศึกษาเลยแต่อย่างใด สามารถฟังและพูดภาษาไทยได้ แต่ไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้เลย

--------------------------------------------------

ข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของนางคำพร แก้วศรีสุข

+ ปัจจุบันนี้นางคำพร แก้วศรีสุข ไม่ได้ประกอบอาชีพใดเลย เพียงอยู่บ้านเลี้ยงลูกและปลูกผักนิดหน่อยไว้พอกิน

-------------------------------------------------

ข้อมูลเกี่ยวกับการบริการสารณสุข

+ เนื่องจากทางครอบครัวของนางคำพร แก้วศรีสุข มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตประกอบกับนางคำพรและสามีพร้อมด้วยบุตรทั้งสองไม่ได้มีสถานะเทียบเท่าคนไทย การรับเข้าการรักษาพยาบาลจึงเป็นวิธีการที่ซื้อยามากินเอง บางครั้งก็ไปหาเก็บสมุนไพรมารักษาตนและคนในครอบครัวเวลาเจ็บป่วย ไม่เคยไปเข้ารับการรักษาพยาบาลกับหน่วยงานราชการแต่อย่างใด

--------------------------------------------------




ดังที่ได้กล่าวนำมาแล้วแต่ต้น
เรื่องคนลาวอพยพนี้ …จึงยังไม่จบ
เพราะมีข้อเท็จจริง จากข้อมูลที่ค้นคว้าได้บนอินเตอร์เน็ตมีมากมายหลายด้านเหลือเกิน

สำหรับท่านที่สนใจปัญหาในเมืองไทย เรื่อง "คน ... ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้สิทธิ" ขอเชิญติดตามข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และความเคลื่อนไหว ตามห้วงเวลาได้ที่ //www.tobethai.org/

ตัวอย่าง ข้อมูลจากเว็บไซต์ //www.tobethai.or ที่เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวอยู่นี้ บอกว่า ...


๖.ลาวอพยพ


"ลาวอพยพ หมายถึง คนลาวที่อพยพเข้ามาอยู่กับญาติพี่น้องของตนในประเทศไทย (มิได้หมายถึงลาวอพยพที่องค์การสหประชาชาติส่งเข้ามาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยจากการสู้รบแล้วไม่ได้กลับประเทศลาว) สาเหตุเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศลาวเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ และมาแต่งงานกับคนไทยจนกระทั่งมีบุตรด้วยกัน โดยเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัด ๑. หนองคาย ๒. อุบลราชธานี ๓. เลย ๔. นครพนม ๕. มุกดาหาร ๖.พะเยา ๗. เชียงราย ๘.อุตรดิตถ์ และ ๙. น่าน มีการจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ตามนโยบายของสภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยและกองทัพภาคที่ ๒


สถานะของลาวอพยพ


"ปัจจุบันกลุ่มลาวอพยพยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดสถานะให้ เพราะส่วนใหญ่ไม่ว่าหญิงหรือชาย เมื่อแต่งงานกับคนไทยมีบุตร บุตรยังไม่ได้สัญชาติไทย เพราะผลของประกาศคณะปฎิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ ทำให้บุตรของคนลาวอพยพที่แต่งงานกับคนได้สัญชาติไทยโดยผลของกฎหมายดังกล่าว"

และ....

บัตรประจำตัวลาวอพยพในปัจจุบัน (สีฟ้า)





และสุดท้ายของบล็อกวันนี้
จึงขอพักช่วงเรื่องราวไว้ก่อน
จะพาแขกทุกท่านไปดูตลาดเมืองลาว ของคนพื้นบ้านพื้นเมืองพี้นถิ่นจริง ๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่กันทุกวันนี้

VDO ต่อไปนี้ เป็นที่เข้าใจว่าถ่ายโดยคนลาวที่ย้ายไปอยู่ต่างแดน แล้วกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน ได้บันทึกภาพ เสียงไว้ (แต่มีเสียงเหมือนกับญาติฝั่งไทยอีสานด้วยอะ -โปรดสังเกตว่า ดูจากการแต่งตัว และเสียงพูด – มีนักท่องเที่ยวจากไทยเว้าคำลาวแบบเมืองอุบล ก็มีด้วยเป็นต้น แล้วจะพบว่า ผู้คนในประชุมชนตลาดเมืองลาวแห่งนี้ ผู้หญิงย้งนุ่งผ้าถุงหลากหลายลาย ตามพื้นเพ ตามฐานะทางเศรษฐกิจของตน ๆ และอาหารหลักเห็นจะยังคงแบบพื้นเดิม เหมือนพรรบุรุษของเรา คือ พืชผักต่าง ๆ ได้แก่ ผักกาด พริก มะเขือ แตง หมากโต่น/ฝักเขียว หมากอึ/ฟักทอง มะนาว มะพร้าว กล้วย เกลือ กับปลาน้ำจืด ปลาแม่น้ำ, อนึ่งตอนจบเป็นบรรยากาศบนรถโดยสารประจำทาง ดูแล้วทำให้ a_somjai นึกถึงตนเองอยู่บ้านอีสานเมืองไทย สมัยเมื่อ 40กว่าปีที่แล้ว เวลาจะไปตัวเมือง ไปตัวจังหวัด ก็โดยสารรถราแน่นเอียดกันอย่างนี้แหละ ตามท่ารถ/คิวรถ และที่แวะจอดรถประจำทางระหว่างเส้นทาง ก็จะมีพ่อค้าแม่ขายวัยต่าง ๆ ออกมาขายข้าว ขายอาหาร ขนมพื้นบ้าน อ้อย ข้าวหลาม ไข่ต้ม ถั่วลิสง/ถั่วดินต้มหรือคั่ว น้ำดื่ม ของกินต่าง ๆ ก็อย่างที่เห็นใน VDO ชุดนี้แหละ ผิดกันแต่...อีสานบ้านเรานะเขาจะขายข้าวเหนี่ยวหอใบตองกล้วยกินกับปิ้งไก่/ไก่ย่าง ไม่ใช่ปิ้งนกอย่างเมืองท่าขี้นาคนี้... เท่านั้นเอง)



NOUMMEUANGTAI S' HOME TOWN (1 of 2)



KINAK FRESH FOOD MAKET SOUTHERN OF LAOS
(ตลาดสดขี้นาค ลาวใต้)


NOUMMEUANGTAI S' HOME TOWN (2 of 2)


ที่มา:
1. https://www.youtube.com/watch?v=d7jrPJjVuzs&feature=related
2. https://www.youtube.com/watch?v=2QQqLtjnjHY&feature=related
From: sam6918
Added: June 04, 2007




posted by a_somjai on Friday , November 30, 2007 @ 2:15 PM


<<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 16 มีนาคม 2551 16:58:48 น.
Counter : 2681 Pageviews.  

Lao study: จาก“ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” เมืองไทย ถึง “อย่าลืมเมืองลาว”

ก่อนอื่นขอถามว่า
ใครไม่เคยได้ยินเพลงลูกทุ่งอมตะ
ที่ขับร้องโดย “พี่เป้า สายัณฑ์ สัญญา” เพลงนี้บ้าง?
"ลานเทสะเทือน" - สายัณห์ สัญญา
รัองว่า........



เสียงลมพัดตึง เคล้าคลึง ยอดตอง
คิดถึงเนื้อทอง สาวลั่นทม เจ้าจากลานเท
ผมนั่งรถท่อง พอทั่วกรุงเทพ ก็ดีถมเถ
เพราะว่ากรุงเทพลานเท นั่งเรือด่วนเที่ยว เดี๋ยวเดียวก็ถึง

เขียวเอ๋ยขาวเอย แล่นเลย ทุกลำ
มิมีโฉมงาม สาวแก้มนวล พี่สุดคะนึง
พ่อแม่ร้องไห้ ทมไม่คืนทุ่ง ป้าลุงถามถึง
หรือเพื่อนกรุงเทพคอยดึง ผู้คนคงทึ่ง สาวทุ่งลานเท

* จากวันเป็นเดือน จากเดือนเคลื่อนไปเป็นปี
ลั่นทมไม่มาซักที พวกพ้องน้องพี่ ทุกคนสนเท่
รถเก๋ง เพลงหวาน ตึกรามโอฬาร สวรรค์ทั้งเพ
สาธุ เจ้าแม่ลานเท อย่าให้ลั่นทม อุ้มท้องคืนทุ่ง

** เสียงเรือโครมครืน ทุกคืนพี่ตรม
คิดถึงลั่นทม โฉมบังอร โอ้หล่อนเพลินกรุง
เราทุ่มรักเก้อ เราเซ่อยอมก้ม ลั่นทมเขาสูง
ถึงกล้าไปเทียบคนกรุง พี่นอนสะดุ้ง เหมือนทุ่งสะเทือน

(ซ้ำ *,**)


หากยากฟังเสียงเพลงที่ว่านี้ในบ้านเพื่อนbloggangของเรา ลองคลิกไปที่ --> บล็อกแก๊งของคุณ nutthed นี้เอง

หรือจะฟังเสียงที่ชัดเจนกว่าและมองเห็นใบหน้าประดับเครางามของ พี่เป้า-สายัณฑ์ สัญญา ด้วย ก็ลองคลิกเข้าไปที่ --> บล็อกของคุณ piss_it ที่ OknationBlog ก็แล้วกันครับ



ที่ขึ้นต้นเกลิ่นเพลงนำมาอย่างนี้ ก็เพราะอยากจะคุยกันว่า
เพลง "ลานเทสะเทือน" นี้ เป็นตัวอย่างของ สุดยอดเพลง "เล่นคำ" ได้ยอดเยี่ยมเพลงหนึ่งของวงการลูกทุ่งไทย
หรือใครจะขัดคอ? (5 5 5)

แล้วผู้ที่แต่งเพลงนี้ ก็เป็นคนเดียวกันกับผู้ที่แต่งคำร้องและทำนองเพลงยอดนิยมตลอดกาล ชื่อว่า “ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” นั้นเอง

ชื่อของท่านผู้ประพันธ์เพลง ลานเทสะเทือน และ ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน คือ วัฒนา พรอนันต์

เพลง ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียนนี้ จากการสืบค้นบนกูเกิ้ล ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 เวลา 10 นาฬิกา ผลการค้นหา พบเว็บหน้าภาษาไทยถึง 10,100 รายการที่มีคำว่า ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน

ตามไปดูตามเว็บต่าง ๆ เท่าที่เจ้าของบล็อกนี้ มีเวลาทำได้ พบว่า มีนักร้องไทย(ชาย)จำนวนมาก ได้นำเอาเพลงนี้ไป่ขับร้องกันทั้งออกอัลบั้มและรวมถึงการแสดงสด ตัวอย่างเช่น ภูมินทร์ อินทรพันธ์, สันติ ดวงสว่าง, ธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด), จักรพรรณ์ อาบครบุรี (ก๊อต), ไท ธนาวุฒิ, สามารถ ทองขาว, และนักร้องวงสติงอื่น ๆ เป็นต้น.

สำหรับการนำเสนอในรูป music VDO นั้น อยากจะพาไปดูชม ฟัง “ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” version ของ จักรพรรณ์ อาบครบุรี (ก๊อต) กัน เพราะเห็นมี(บนโลกอินเตอร์เน็ต)อยู่ม้วนเดียวนี้แหละ อิ อิ ...เรียนเชิญไปชมกันเลยครับ



ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=4qfYCPQ0Q-8
Added: June 20, 2007 by PI3141593


เพลง: ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน
คำร้อง/ทำนอง: วัฒนา พรอนันต์
ขับร้อง: จักรพรรณ์ อาบครบุรี
อัลบั้ม: หัวแก้วหัวแหวน (ชุดที่ ๓)

เนื้อเพลง:

เห็นดาวเคียงเดือน เหมือนเตือนความจำ
โอ้ใจพี่ช้ำ น้ำตามันตกใน
เพราะนางลืมคำ ไม่จำใส่ใจ แม่นางฝันใฝ่ เป็นดารา
ทิ้งรวงทอง น้องลืมนา ลืมคำที่สาบาน

โถใจนวลปราง ทิ้งบางลืมควาย
ถ้านางโชคร้าย หลงไปในหมู่พราน
ครั้นมัวลืมองค์ ก็คงแหลกราญ ต้องโดนเขาปั่น มานอนซม
แม้เจอชายหมายลวงชม อาจตรมจนถึงตาย

* ขี่ เก๋งอย่าลืมเกวียนบ้านนอก
ระวังนะจ๊ะบางกอก จะหลอกพานางเร่ขาย
ไนท์คลับในบาร์ โรงน้ำชาแมงดามากมาย
ล้วนแต่ปีกเงิน ปีกทอง และ ปีกลาย
กว่าจะรู้ตัวก็สาย ไม่พ้นให้ควายต้องเลียน้ำตา

** เหลียวมองดูควาย โถใครดั่งมัน
เมื่อยามดื้อรั้น โถมันยังห่วงนา
น้องควรมองเงา ซิเราเผ่ากา
ไม่ควรหนีป่า จงคืนดอน
หนีเมืองกรุง ซะบังอร วิงวอนด้วยหวังดี

ดนตรี (ซ้ำ *, **)





ความดี เด่น ดังของเพลงนี้ ไม่ได้หยุดยู่แค่ภายในเมืองไทย หรือนิยมร้อง ฟัง เต้น ชม กันในหมู่คนพูดภาษาไทยเท่านั้นดอกครับท่าน
แต่ทว่า “ต้นแบบเพลงขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” โด่งดังไปถึงเมืองลาวเลยเด้อ จะบอกให้ …

กลุ่มบล็อก Lao study วันนี้ a_somjai’s blog ขอเสนอว่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากผลการแลกเปลี่ยนส่งถ่ายวัฒนธรรมในยุค Digital Age ระหว่างคนในบ้านเมืองที่พูดภาษาตระกูลเดียวกัน ที่ควรนำมาบันทึกไว้ศึกษากันต่อไปได้เลยทีเดียวเชียว

สรุปสั้น ๆ ได้ความตามหัวเรื่องเลยครับ ---
จาก “ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” เมืองไทย ถึง “อย่าลืมเมืองลาว”

ขอเรียนว่า การนำเพลงทั้งสองมาลงไว้นี้ ไม่ได้มีเจตนาให้เกิดเป็นเรื่องความขัดแย้งด้านลิขสิทธิ์ทางปัญญา (อันมีจิตใจคับแคบ แบบวัฒนธรรมนักธุรกิจฝรั่ง) แต่ประการใด

เพราะการนำมาเขียนนี้ ก็เพื่อบอกว่า การเผยแผ่-ขยายอออกไปของวัฒนธรรมชาวบ้านอย่างไทย ๆ ลาว ๆ น้อง ๆ พี่ ๆ ในลักษณะแลกเปลี่ยนผลิตซ้ำแบบและความหมายระหว่างกันนั้น หากเป็นไปในทางที่ดี โดยไม่ได้มุ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจมากจนเกินไปแล้ว ก็นับว่าเป็นเรื่องดี อย่างเพลง - จำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปา ที่เมืองไทยก็มีนักร้องไทยนำมาร้องและบันทึกเสียงกัน, และการฟ้อนเพลง- ลาวดวงเดือน อันถือเป้นมรดกวัฒนธรรมร่วมกันของประชาชนสองภาษานี้ก็ว่าได้ ดังที่ได้เขียนถึงไปแล้ว เมื่อสองตอนที่ผ่านมาเป็นต้น

ใช่ ไม่ใช่ พี่น้อง (อ้า... นี่ไม่ได้แซวใครนะครับ ..ท่านนักการเมืองทั้งหลาย)

เอาเป็นว่า...เพื่อประชันกับ โชว์ของคุณก๊อต (จักรพรรณ์) ที่นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ....ขอพาไปดูชมโชว์ของคุณ นาลิน นักร้องหญิงลาว สักหน่อยก็แล้วกัน

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา ไปกันเลยครับ
(คำว่า "เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา" นี้ ..เป็นสำนวนของพิธีกรดำเนินรายการ ที่ไม่รู้จะพูดอะไรดี 5 5 5)



VDO ชุด อย่าลืมเมืองลาว


ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=SXpsqB92elw
(ต้องคลิก Link ที่อ้างอิงนี้ตามเข้าไปดูเองนะครับ เพราะว่า …Embedding disabled by request)

ชื่อเพลง: อย่าลืมเมืองลาว
นักร้อง: นาลิน
ผู้แต่ง: อ.จ. สอ บวระพัน



เนื้อร้อง:
(ถอดตามอักษรวิ่งและยึดตามเสียวร้อง เป็นภาษาไทย)

ไปอยู่ต่างแดน ไปอยู่ต่างถิ่น
อย่าลืมว่าถิ่นดินลาวที่เกิดกาย
อย่าลืมไปเลยว่าเคยอาศัย
อย่ามัวฝันใฝ่ หลงลืมไล
หลงลืมลาวหลงท้องนา ลืมควายที่เขาเล


อาเมริกา ฝรั่งต่างแดน
ได้มีสุขแสน เที่ยวบาร์แที่ยวคาเฟ
ดื่มเบียร์* เย็นเย็น เต้นรำฮาเฮ
กับสาวฝรั่งเท่* อาเมริกัน
สาวเมืองลาว สาวเวียงจันทร์
โอ้อ่าว* คะนิง*แด

มีสุขอย่าลืมไลบ้านเกิด
อย่าลืมถิ่นที่บ้านเกิด
บ้านเกิดนะพ่อดอกแค
เที่ยวคลับเที่ยวบาร์
จ่ายดอลล่าร์ให้คิดฮอดแค่*
ปลาแดกถ้วยเก่า แจ่วบอง อั่ว* ดอกแค
จงคิด จงคิดฮอดแด่….
เสียงแคนแลนแตร ข้าวเหนี่ยวบ้านเฮา

อย่าลืมไปเลย อย่าลืมหน้าเคย
บ่อน* เจ้าไปเชยไปชมแต่ยังเยาว์
พระธาตุภูศรี พระธาตุเมืองเก่า วัดภูของ เฮา
คิดถึงแด่ ธาตุหลวง เฮา วัดเจ้าแม่ศรีเมือง ที่เวียงจันทร์



หมายเหตุของ a_somjai :

* ดื่มเบียร์ คำว่า ดื่ม ภาษาลาวเดิม หมายว่า ก้าวไป, ทำให้มากขึ้น อย่างคนอีสานเดิมเว้าว่า "อย่าดื่ม..เข้าไป/เข้ามา" หมายว่า "อย่าล้ำเส้น...เข้าไป/เข้ามา" หรือ "อย่าล้ำเกินเข้าไปในเขตของ...อีกฝ่าย" เป็นต้น ไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วทางเมืองลาวปัจจุบันใช้เว้า/พูดเช่นเดียวกับภาษาเมืองไทยปัจจุบันนี้ว่า ดื่ม หมายว่า กินของเหลว ไปแล้วหรืออย่างไร?

* เท่ คนร้องออกเสียงพาไปเป็น เช่

* โอ้อ่าว มาจากคำปากว่า โอ้ โอ่ โอ =เสียงดัง, เปิดเผย หรือ โอ่ ที่เป็นคำขั้นต้นคำขับลำหรือเซิ้ง ดังนั้น คนที่สามารถ โอ โอ่ โอ้ ได้จึงนับถือว่าเป็นผู้รู้หรือผู้เก่งกล้าในการพูดการแสดงออก เรียกว่าเว้าได้ไอดังให้คนอื่นเชื่อฟังได้ เป็นผู้นำ เป็นต้นเสียง อย่างว่า ผู้เฒ่าผู้โอ่ เป็นต้น (แม้ในอีกความหมายหนึ่ง โอ่ จะแปลว่า เก่านานจนกลิ่นเหม็นเปรียว เช่นหน่อไม้ดอง ผักดองจนโอ่ เป็นต้น แต่ก็ยังหมายถึง ความเก๋า อยู่ดี),และส่วนคำว่า อ่าว เป็นคำสร้อยต่อท้าย คงหมายถึง อ่าว ลึก กว้าง และยาว ๆ ออกไปในทะเลมหาสมุทร จึงรวมถึงการเป็นคนใจใหญ่ใจกว้าง ถ้าในทางลบก็ว่า หน้าใหญ่ใจโต นั้นแหละ สำหรับในที่นี้คงใช้ให้หมายความอย่างคำเมืองเหนือทางเมืองไทยว่า "เข้าเลิกเข้าเดิก" (ออกเสียงสั้นว่า เลิอก เดิอก หรือ เลอกะ เดอกะ)...เข้าลึก เข้าดึก เข้าป่า เข้าดง เข้ารกเข้าพง(ไพร) หลงระเริงไปกับอารมณ์สนุกสนานจนลืมคิง/ลืมตัว ลึมกลับบ้านช่องอย่างนี้เป็นต้น.

* คะนิง, คะนึง, คำนึง

* แด่ เป็นคำพูด/เว้าต่อท้ายประโยคหมายถึง ด้วย, นะ, ด้วยนะ

* อั่ว คืออาหารที่คนอีสานและคนภาคกลาง โดยทั่วไป ในปัจจุบันนี้ เข้าใจกันว่า หรือเลยเรียกตามไทยภาคกลางที่คงเรียกตามการยัดเครื่องเนื้อสัตว์ลงไปในไส้อย่างอาหารฝรั่งว่า “ไส้กรอก” หรือ “ไส้กรอกอีสาน” นั้นเอง, แต่ความจริงแล้ว แต่เดิมมาคนพูดภาษาลาวเรียกว่า “อั่ว” (ไม่ทราบว่าบางท้องถิ่นยังใช้อยู่หรือไม่), อั่ว เป็นชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ที่เอาเครื่องปรุงยัดเข้าไปในปลอกถุงส่วนใหญ่ใช้ไส้สัตว์ อ้อ..แล้วเครื่องที่ปรุงใส่ลงไปนั้นก็เป็นพวกเนื้อหนังของสัตว์ชนิดนั้นเสียด้วย แล้วเลยเรียกชื่ออาหารตามปลอกถุงไส้สัตว์ชนิดนั้น เช่น อั่วหมู, อั่วงัว หรือเรียกอั่วชิ้น อั่วเนื้อ และหากยัดเครื่องปรุงเข้าท้องกบ เรียก อั่วกบ แต่ในเนื้อร้องเพลงนี้ มีคำว่า อั่ว ต่อท้ายด้วยคำว่า ดอกแค ผู้เขียนจึงไม่ค่อยแน่ใจว่าจะมีอาหารที่ปรุงเครื่องยัดเข้าไปในอะไรที่เกี่ยวข้องกับดอกแคด้วยหรือไม่ แต่น่าจะเป็นคนละชนิดไม่เกี่ยวข้องกัน. อนึ่ง คำ อั่ว หรือ ไส้อั่ว นี้ ทางเมืองเหนือ ล้านนา แถวเมืองเชียงใหม่ ลำพูล เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน เป็นต้น ยังทำอาหารชนิดนี้เป็นหลักอยู่ และใช้คำ “อั่ว, ไส้อั่ว” อย่างนี้เรียกกันอยู่ แต่ เครื่องปรุงผสมเนื้อ ไขมัน เอ็น หนัง นั้นต่างกันกับตำหรับหรือสูตรของทางอีสาน ไม่ทราบว่า “อั่ว” เมืองลาว มีตำหรับเหมือนหรือแตกต่างออกไปอย่างไรบ้างหรือไม่?

* [* อั่ว updated: 31 ตุลาคม 2551 วันนี้เวลาประมาณ บ่าย 2 โมง 45 นาทีถึงก่อนเข้าบ่ายสามโมง ได้ดูรายการสารคดีประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยรายการหนึ่งทางโทรทัศน์ช่อง 5 มีการแนะนำร้านอาหารชื่อดังของจังหวัดนครพนมชื่อ ร้าน River Beach อาหารมีชื่อเสียงเด่นดังของร้านนี้คืออาหารอีสาน/ลาวเดิม ในหลายรายการนั้น มีอาหารแนะนำเกี่ยวกับ อั่ว ชื่อว่า อั่วกบ และ อั่วดอกแค ด้วย, เป็นอันว่าคำร้องว่า อั่วดอกแค ในเพลงนี้ มีจริง เข้าใจว่าเป็นการยัดเครื่องเข้าไปในดอกแค ...วันหน้าหากเจ้าของบล็อกนี้ผ่านไปริมฝั่งน้ำโขงบริเวณเมืองนครพนม จะหาโอกาสแวะไปรับประทานครับ]

ใส้กรอกอีสาน (ปัจจุบันบางคนเรียกว่า ไส้กรอกเปรี้ยว)


อั่ง หรือ ไส้อั่ว ไส้กรอกเมืองเหนือ (มีรสเผ็ดเล็กน้อยและมีกลิ่นเครื่องเทศ)


หม่ำ หรือ ไส้กรอกอีสาน ชนิดที่ทำจากน้ำตับหมู หรือ ตับวัว ผสมกับเนื้อสัตว์นั้น
(ภาพนี้เป็น หม่ำ เมืองลาว ถ่ายภาพโดย/by L-i-n-e )



* บ่อน คำนี้ ก็คือคำที่คำลาวอีสานใช้ทั่วไปนั้นแหละ หมายถึง สถานที่, แหล่ง (ทางไทยกลาง เหลือใช้แต่ทางลบ เหมือนกับคำว่า ซ่อง ..ได้แก่คำว่า บ่อนไก่ บ่อนการพนัน ซ่องโสเภณี ซ่องโจร เป็นต้น)





posted by a_somjai on Tuesday , November 27, 2007 @ 1:49 PM.

LAO STUDY

- ร้องเพลงและฟ้อนรำชุด จำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปา
( 22-11-2007 / 22 พฤศจิกายน 2550)
- ฟ้อนลาวดวงเดือน เมืองไทย-เมืองลาว
(25-11-2007 / 25 พฤศจิกายน 2550)
- จาก“ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” เมืองไทย ถึง “อย่าลืมเมืองลาว”
(27-11-2007 / 27 พฤศจิกายน 2550)


<<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 31 ตุลาคม 2551 15:20:34 น.
Counter : 2840 Pageviews.  

Lao Study: ฟ้อนลาวดวงเดือน เมืองไทย-เมืองลาว

เรื่องของการฟ้อนและเพลงลาวดวงเดือน
ทางเมืองไทย(สยาม) เท่าที่ค้นคว้ามาได้ ตอนนี้
บ้างก็บอกว่า………


1. เว็ปไซต์บ้านรำไทย: ฟ้อนลาวดวงเดือน




“เพลงนี้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงพระนิพนธ์ขึ้นทั้งบทร้อง ทำนองเพลง และทำนองดนตรี เดิมชื่อเพลง ลาวดำเนินเกวียน มีขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 5) ต่อมาในรัชกาลที่ 9 พระเพลงไพเราะ (โสมสุวาทิน) และนายมนตรี (บุญธรรม) ตราโมท ได้แต่งขึ้นเป็นสามชั้นและชั้นเดียว ให้ชื่อใหม่ว่าเพลง โสมส่อง ใช้หน้าทับทองไม้ ส่วนเพลงลาวดวงเดือนใช้หน้าทับลาว ต่อมามีผู้นำเพลงมาใส่ท่ารำ ทำให้เกิดการแสดงชุดนี้ขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เป็นการแสดงที่มีลักษณะการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหนุ่ม หญิงสาว

เนื้อเพลง

โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาแล้ว อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

หอมกลิ่นเกสรเกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ

โอ้ละหนอนวลตาเอย พี่นี้รักแสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกพี่อาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรมเริศร้างเวหา เฝ้าแต่เบิ่งดูฟ้า(ละหนอ)เห็นมืดมน
พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย พี่ทนทุกข์ทุกข์ทนโอ้เจ้าดวงเดือนเอย

เสียงไก่ขันขานเสียงหวานเจื้อยแจ้ว หวานสุดแล้วหวานแจ้วเจื้อยเอย (ซ้ำ)
ถึงจะหวานเสนาะหวานเพราะกระไรเลย บ่แม้นทรามเชยเราละเหนอ (ซ้ำ)



2. บางตำนาน อย่างที่ //www.thaikids.com ก็ว่า....




“เพลงลาวดวงเดือนทำนอง ๒ ชั้น นั้น เดิมชื่อ "ลาวดำเนินเกวียน" เป็นเพลงที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงนิพนธ์ขึ้น เมื่อคราวเสด็จตรวจราชการทางภาคเหนือโดยทางเกวียน สาเหตุที่ทรงนิพนธ์เพลงนี้ขึ้นเนื่องจากโปรดเพลง "ลาวดำเนินทราย ๒ ชั้น" ที่พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ได้แต่งทางดนตรีไว้ตามทางร้องแบบสักวา จึงทรงนิพนธ์เพลงสำเนียงลาวที่มีท่วงทำนองอ่อนหวานไพเราะคล้ายคลึงกับเพลงลาวดำเนินทรายขึ้นอีกเพลงหนึ่งทรงตั้งชื่อว่า "เพลงลาวดำเนินเกวียน" แต่เนื่องจากบทร้องเพลงนี้ขึ้นต้นด้วยคำร้องที่ว่า โอ้ละหนอ...ดวงเดือนเอย.." ซึ่งเป็นคำที่ติดหูผู้ฟังเป็นส่วนใหญ่ จึงมีผู้นิยมเรียกชื่อเพลงนี้ว่า ลาวดวงเดือน มากกว่าชื่อ ลาวดำเนินเกวียน และนิยมเรียกกันเช่นนี้สืบมาจนึงปัจจุบัน”

“เพลงลาวดวงเดือนเป็นเพลงในอัตรา ๒ ชั้น ดำเนินทำนองไพเราะอ่อนหวานน่าฟังนับเป็นเพลงไทยสำเนียงลาวที่มีผู้รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และถือว่าเป็นเพลงไทยอมตะเพลงหนึ่งซึ่งฟังไพเราะเสมอไม่ว่าจะบรรเลงด้วยแนวเพลงอย่างไรหรือบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดก็ตาม”

บทร้องเพลง ลาวดวงเดือน ๒ ชั้น

(ท่อน ๑) โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย พี่มาเว้า รักเจ้าสาว คำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรัก เจ้าดวงเดือนเอย

(ท่อน ๒) ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
จะหาไหน มาเทียม โอ้เจ้าดวงเดือนเอย

(ท่อน ๓) หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย เจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยัง บ่ เลย เนื้อหอมทรามเชย เราละหนอ


ตามไปฟังเพลงบรรเลง ลาวดวงเดือน ๒ ชั้น นี้ได้ที่ -->
//www.thaikids.com/midi/moon/moon.htm

และฟังกรณีศึกษาการบรรเลงเพลงลาวดวงเดือน ด้วยระนาดและเบียอาโน ตัดจากตอนหนึ่งของภาพยนต์ไทยเรื่อง "โหมโรง"

Ranad and Piano (Lao Duang Duon): Beautiful mix and wonderful music from the best movie "The Overture" of the Thailand's history!

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=y1exHUA_grE




แล้วก็อาจสรุปได้เป็นอันขาดว่า....
คนไทยส่วนใหญ่ชอบร้อง ชอบฟัง ชอบเล่นบรรเลงดนตรี เพลงนี้
แล้วยังมีการดัดแปลงเนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน หาฟังได้มากมายหลาย Versions ก็ลองค้นหาดูชม ฟัง กันเอาเองนะครับ

ส่วนเสียงร้องภาษาไทย บล็อกหน้านี้ขอนำเอา ภาพและเสียงการแสดงเพลงลาวดวงเดือนอันจัดได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันของคนไทยทุกชั้นวรรณะ...
มาฝากไว้เป็นกรณีศึกษา...ก็แล้วกันครับ




ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=FcWmVzJmW8c

เพลง: ลาวดวงเดือน
นักร้อง: จักรพรรณ์ อาบครบุรี
อัลบั้ม: เพลงประกอบละคร เธอคือดวงใจ ชุดที่ 1


เนื้อร้อง: (ถอดจากอักษรวิ่ง)

โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย
พี่มาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ว่าดึกแล้วหนอ พี่ขอลาล่วง
อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย

ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม
พี่นี้รักเจ้าหนา ขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม โอ้เจ้าดวงเดือนเอย
หาไหนมาเทียม โอ้เจ้าดวงเดือนเอย.




(ซึ้งบ่ ส่วนข้อยเจ้าของบล็อก เบิ่งแล้ว คึดเถิง(เติง)แม่ละอ่อน...
อ้อลืมไปว่า ...ได้มาอยู่เชียงใหม่ อู้คำเมืองเสียดน
ภาษลาวต้องว่า...แม่เด็กน้อย นั้นแล้ว)




ส่วนทางเมืองลาว
ไปดู VDO ลาวเดิม ชุด ลาวดวงเดือน
ขับร้องโดย ท. บุนลัด พนทองสี
เขาว่ามาอย่างนี้……..



Fon Lao Duang Duean (1 of 2)

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=iiOtNQPEP18


Fon Lao Duang Duean (2 of 2)

ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=sxQLoZ3OxEY


a_somjai ถอดจากเสียงร้อง
เขียนเป็นภาษาไทย ได้เนื้อร้องสำนวนลาว ออกมาอย่างนี้…..

(ชาย): โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย
อ้ายมาเว้า ฮักเจ้าสาว คำดวง
โอ้ว่าเดิกแล้วหนอ อ้ายขอลาก่อน
อกอ้ายอาวรณ์ เพราะฮักเจ้าดวงเดือนเอ้ย

ขอลาแล้ว น้องแก้ว ตาหวาน
เอิง เออ เอ่อ เอย, เอิง เออ …เอ้ย
เอิง เออ เอ่อ เอย, เอิง เออ …เอ้ย
อ้ายนี้ฮักเจ้าหนอ สายตาคม
จะหาใผหนอมาชม มาเด็ดไปดมชมเอ้ย
จะหาใผหนอมาชม มาเด็ดไปดมชมเอ้ย


(ชาย) หอมกลิ่นเกสร
(หญิง) หอมกลิ่นเกสร
(ชาย) เกสรดอกไม้
(หญิง) เกสรดอกไม้
(ชาย) หอมกลิ่นกาย คล้ายเจ้าสูของเฮียมเอย
(ชาย) เสียงไก่ขันขาน
(หญิง) เสียงไก่ขันขาน
(ชาย) เสียงขานเจื้อยแจ้ว
แต่เสียงน้องแก้ว หวานแจ้วจับใจ
เถิงจะหวานปานใด อ้ายบ่ไลลืมเลย
เนื้อหอมแท้เอย เอ๋ยน้องสาวเอ๋ย
เนื้อหอมแท้เอย เอ๋ยน้องสาวเอ๋ย.






วันนี้ a_somjai ยังไม่มีความเห็น
เพราะมีความรู้ไม่พอ และข้อมูลที่คว้าหามาได้..ยังสับสนอยู่มาก
อย่างเช่น….

- เพลงลาวดวงเดือน มีที่มาอย่างไร?: อ่านกระทู้เรื่องเจ้านายฝ่ายเหนือ มีพาดพิงถึงสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 ผู้สร้างตำนานเพลงลาวดวงเดือนนั้น จนบัดนี้ข้าเจ้ายังบ่แน่ใจว่า ตำนานจริงๆนั้นมันเป็นมาอย่างใดแน่ ทางหนึ่งว่าเป็นเรื่องราวของท่านกับเจ้าหญิงเชียงใหม่ แต่ก็ได้ยินอีกทางหนึ่งว่าเรื่องมันเกิดที่มณฑลเขตลาวที่จังหวัดสุรินทร์โน่น โดยแต่เดิมเรียกว่าเพลง " ลาวดำเนินเกวียน " เพราะองค์ผู้พระราชนิพนธ์ท่านประพันธ์เพลงนี้ตอนที่ต้องประทับเกวียนจากสุรินทร์นิวัติสู่พระนครแลทรงเสน่หาอาลัยต่อสตรีที่ทรงรักเป็นที่ยิ่งจึงทรงรจนารำพันเป็นบทเพลงได้ไพเราะงดงามเพียงนี้ อนึ่งก็มีข้อสงสัยบางประการในเนื้อเพลง เช่น เนื้อร้องที่ว่า " พี่มา " เว้า " รักเจ้าสาวคำดวง " คำว่า " เว้า " เนี่ย ล้านนาเราต้องใช้ " อู้ " บ่ใจ้กา- - ความจริงมันชัดเจนอยู่แล้วแหละ ว่าที่มามันเป็นอย่างไร แต่ข้าเจ้าหาหนังสือมาอ้างอิงบ่เจอ ก็ขอเจิญผู้รู้ช่วยกันตอบตวยเน้อเจ้า- - ยิ๊นดีจ้าดนักเจ้า ^_^


- ใครรัก เพลง ลาวดวงเดือน
“เพลง ลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยเพลงหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยนานมาแล้วจนกลายเป็นมรดกตกทอดอยู่ในวงการเพลงไทยมานานนับร้อยปี ผู้ที่แต่งเพลงนี้ คือ เสด็จพระองค์เพ็ญ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงษ์ ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดามรกฎ)

“เพลง ลาวดวงเดือน ได้เกิดขึ้นใน พ.ศ.2446 ในขณะที่ เสด็จพระองค์เพ็ญ ทรงงานในกระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่หลักที่ต้องรับผิดชอบ คือ การปรับปรุงพัฒนาการเลี้ยงไหมไทย ดังนั้น งานส่วนใหญ่ต้องเสด็จหัวเมืองมณฑลต่างๆ ทั้งอีสานและเหนือ ซึ่งการเดินทางไกลในสมัยนั้นมีเพียงการเดินทางทางเรือและเกวียนเท่านั้น

“เมื่อเสด็จพระองค์เพ็ญ ทรงรอนแรมเป็นเวลานานๆ ประกอบกับความเหงาในระหว่างเสด็จทรงงาน ทั้งยังคิดถึงความรักของพระองค์กับเจ้าหญิงชมชื่น (ธิดาของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับเจ้าหญิงคำย่น)

“ซึ่งเป็นความรักที่ไม่สมหวัง เพราะทรงถูกคัดค้านจากพระบรมชนก ทำให้พระองค์ทรงปวดร้าวพระทัยจากสาเหตุนี้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้เกิดเพลง ลาวดวงเดือนขึ้น ในครั้งแรกพระองค์ทรงตั้งชื่อเพลงนี้ว่า เพลงลาวดำเนินเกวียน เพราะทรงนิพนธ์ในระหว่างเดินทางด้วยเกวียน และเป็นเพลงสำเนียงลาว ภายหลังชื่อเพลง ลาวดำเนินเกวียน ถูกเปลี่ยนไปเป็นชื่อ เพลงลาวดวงเดือน เพราะผู้คนไม่ทราบชื่อ และที่มาของเพลง จึงเรียกเอาตามสำเนียงและเนื้อร้องของเพลง ซึ่งในเนื้อร้องจะปรากฎคำว่า ดวงเดือน อยู่หลายครั้ง จึงเรียกเพลงนี้ว่า เพลงลาวดวงเดือน ส่วนทำนองเพลงนี้เสด็จพระองค์เพ็ญ ทรงดัดแปลงมาจากเพลง ลาวดำเนินทราย ซึ่งแต่งโดยพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) อดีตเจ้ากรมพิณพาทย์หลวง

"เนื้อเพลงลาวดวงเดือน หรือเพลงลาวดำเนินเกวียน พรรณนาถึงความปวดร้าวเนื่องจากการพลัดพรากได้อย่างละเมียดละไมมากที่สุดเพลงหนึ่ง ทำให้เพลงนี้ได้รับความนิยมสืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็นเพลงอมตะที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์เป็นมรดกอยู่กับตำนานเพลงไทยตลอดไป"

- หนังสือ ลาวดวงเดือน วังท่าเตียน. ISBN:. 9743236015. ผู้แต่ง :. มนตรี ตราโมท. ครั้งที่/ปีพิมพ์:. 2548.
(หนังสือเล่มนี้ ยังไม่ได้อ่าน เดี๋ยวว่าง ๆ จะลองไปค้นหามาอ่าน เล่าสู่กันฟังละกัน)

และ ฯลฯ



ต่างคนก็ต่างว่าไป….
ส่วนตัวข้อย…..ถ้ารู้เพิ่มว่า..ใผเป็นใผ
(อะไรเอ่ย ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน)
แล้วจะเข้ามา update เพิ่มเติมเนื้อหาไว้หน้าบล็อกนี้
เพื่อการศึกษาหาความรู้กัน สืบต่อไปครับ.




posted by a_somjai on Sunday, November 25, 2007 @ 6:59 AM.

LAO STUDY

- ร้องเพลงและฟ้อนรำชุด จำปาเมืองลาว หรือ ดวงจำปา
( 22-11-2007 / 22 พฤศจิกายน 2550)
- ฟ้อนลาวดวงเดือน เมืองไทย-เมืองลาว
(25-11-2007 / 25 พฤศจิกายน 2550)
- จาก“ขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน” เมืองไทย ถึง “อย่าลืมเมืองลาว”
(27-11-2007 / 27 พฤศจิกายน 2550)


<<กลับหน้าหลัก Lao Study - ลาวศึกษา >>




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 30 พฤษภาคม 2553 12:49:50 น.
Counter : 24287 Pageviews.  

1  2  3  

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.