<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
โลกอินเทอร์เน็ต เมืองจีน (006/01)

posted by a_somjai | 22 November 2005 @ 09: 59 pm | Chinese Blogosphere | การควบคุม | อินเทอร์เน็ต | เสรีภาพ, สื่อ, สื่อมวลชน, จีน | โลกออนไลน์ | Media, Censorship, China

"ในปี 2005 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Internet users) บนจีนแผ่นดินใหญ่เพิ่มขึ้นเลย 100 ล้านคน ทำให้ในปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้กลายเป็นประเทศที่มีผู้ใช้ Internet เป็นอันดับสองของโลกไปแล้ว โดยตามหลังก็แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น หากอัตราเพิ่มยังคงที่บนฐาน 20% ต่อปีเช่นนี้ จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาไปเป็นผู้นำของโลกภายในสองปีข้างหน้า
"อย่างไรก็ดี เรื่องนี้จีนก็เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก คือ ผู้ใช้เน็ตชาวจีนจำนวนมากเป็นนักเล่นเกมบนเน็ต เป็นผู้กระหายค้นหาข้อมูลข่าวสาร และเป็นนักเล่นแช็ต ในขณะที่จำนวนผู้คนที่ลงมือเขียนอย่างนักเขียนในอินเทอร์เน็ตมีเพียงเศษเสี้ยวของคนเล่นเน็ตท้งหมดเท่านั้น แต่ด้วยส่วนต่างของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งหมดที่ห่อหุ้มสัดส่วนข้างน้อยของนักเขียนบนเน็ตเหล่านี้เอาไว้ ทำให้พวกนักเขียนบนเน็ตดูเหมือนไม่น่าจะมีความสำคัญ หากเมื่อดูกันให้ดี ๆ แล้วผู้ใช้เน็ตฝ่ายข้างน้อยเหล่านี้ก็มีจำนวนเป็นหลายล้านคนทีเดียว ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างคนชอบเขียนสื่อสารผ่านตัวหนังสือด้วยกันแล้ว นักเขียนบนเน็ตก็มีจำนวนมากกว่านักเขียนอภิสิทธิชนที่ยอมรับกันอยู่ในขนบเก่าของจีนเสียอีก"

(เก็บจากปาฐกถาเรื่อง The Freedom and Perils of Internet Writing in China โดย Yu Jie (余杰) แสดงในงาน the 2005 Asia-Pacific Regional Writers' Forum ที่กรุง Melbourne ประเทศ Australia)

บล็อกชีวิตในโลกออนไลน์วันนี้จะยังไม่พูดถึง นักเขียนอภิสิทธิชนที่ยอมรับกันอยู่ในขนบเก่าของสังคมเมืองจีน และพัฒนาการของนักเขียนบนอินเทอร์เน็ตกลุ่ม/ประเภทต่าง ๆ ในจีน (ขอข้ามไปก่อน แล้วจะกล่าวถึงในตอนข้างหน้า โลกนี้มันซับซ้อนซ่อนเงื่อนเข้าไปทุกวัน แปลว่า...คนเขียนบล็อก..ส....ใส่เกือก คิดมากไปเอง หากจะเขียนเรื่องอย่างนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือ เขียนสั้น ๆ ลองเข้าไปดูที blogs ตามเว็ปที่ใช้ภาษาสากล เขามักจะเลี่ยงเขียนเป็น "ข่าว News" แล้วก็ทำ Link ให้ไปอ่านต้นฉบับกันเอาเอง ถ้าทำอย่างนั้นบ้าง คงต้องเขียนเองอ่านเอง เพราะเนื้อหาสำคัญที่เป็นภาษาไทยคนบ้านเรายังบ่นว่าเขียนยาวเลย ก็เขาเล่นเน็ตเป็นเรื่องการพักผ่อนมากกว่าเล่นกันแบบเพื่อพัฒนาความรู้ ...ยกเว้นคนที่สนใจติดตามศึกษาจริง ๆ ...ไม่ได้บ่นนะ แต่มันก็จริง ๆ หรือใครจะเห็นเป็นอย่างอื่น?)

ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงการกลั่นกรองอินเตอร์เน็ดในประเทศจีนกันก่อน (อ่าน Internet Flitering in China in 2004 - 2005: A Coutry Study ลิงค์ ไป//www.(dot)opennetinitiative.net/studies/china/ --เมื่อพิมพ์คำสั่งให้ลบ (dot) ทิ้งไป) เพราะว่าเรื่องที่เมืองจีนถูกกล่าวหากันมากเมื่อพูดถึงโลกไซเปอร์หรือชีวิตออนไลน์ ก็คือ เสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเอง (ด้วยหวังว่าอาจจะได้เป็นพื้นสำหรับทำความเข้าใจแนวคิดและการปฏิบัติพื้นฐานของโครงการทำนอง Green Internet ของรัฐทั่วโลก รวมทั้งบ้านเราด้วย อันจะมีผลกระทบต่อเสรีภาพในการออนไลน์ของประชาชนได้ ดังที่ได้เขียนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในพม่าผ่านมาแล้ว)

"อำนาจรัฐบาลจีนในการกลั่นกรองเนื้อหาที่ประชาชนจะเข้าถึงบนอินเทอร์เน็ต (โดยการอ่านและเขียน เป็นต้น) เป็นสิ่งที่มีแรงผลักดันแข็งกล้าซับซ้อนมากเท่าที่มันจะมีขึ้นได้ในโลก ดูได้จากการเปรียบเทียบกับแรงผลักดันเพื่อการเดียวกันนี้ในประเทศอื่น ๆ
อำนาจในการกลั่นกรองของรัฐจีนเป็นสิ่งที่แผ่ครอบคลุม ซับซ้อน และมีประสิทธิภาพ เพราะว่ามันประกอบไปด้วยอำนาจตามกฏหมายหลากหลายระดับ และหลากหลายเทคนิคในการควบคุม อำนาจการกลั่นกรองของรัฐจีนเกี่ยวข้องกับหน่ายงานของรัฐเป็นจำนวนมาก และเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านสาธารณะรวมทั้งหน่ายงานด้านบุคคลเป็นจำนวนหลายพันหน่วยงาน
ระบบแห่งอำนาจรัฐและหน่วยงานอันหลากหลายซับซ้อนดังกล่าวเหล่านั้น จะดำเนินการ เซ็นเซอร์เนื้อหาที่ส่งออกไปจากแหล่งสื่อสารต่าง ๆ (เช่น ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และการสื่อสารในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น) ด้วยวิธ๊การที่ซับซ้อนมาก งานการกลั่นกรองอันซับซ้อนของรัฐบาลจีนดังกล่าวนี้ ครอบคลุมไปถึง Web pages, Web logs, on-line discussion forums, university bulletin board systems, และ e-mail messages ด้วย
พูดสั้น ๆ ก็คือ งานตรวจสอบเซ็นเซอร์ช่องทางการเข้าถึงเนื้อหาที่อ่อนไหวมีขอบเขตกว้างขวางมาก งานกลั่นกรองข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตของรัฐบาลจีนครอบคลุมเนื้อหาทุกเรื่อง ตั้งแต่ภาพโป๊ลามก (pornography) ไปจนถึงเรื่องแก่นสารทางศาสนา ทัศนคติหรือความคิดเห็นทางการเมืองที่ตรงข้ามกับรัฐ
ดังนั้นพลเมืองจีนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองจีนจะพบว่าตนเองถูกblocked อย่างถี่ถ้วน เมื่อใครก็ตามพยายามเข้าไปสู่เวปไชต์ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อิสระภาพแห่งรัฐของคนไต้หวันและคนทิเบต (Taiwanese and Tibetan independence), กลุ่มความเชื่อทางศาสนา Falun Gong และ the Dalai Lama, โศกนาฏกรรมที่จัตุรัส เทียนอันเหมิน, พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล, หรือ ขบวนการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์รูปแบบต่าง ๆ"



เอาอย่างงี้ดีกว่า นักวิจัย (ที่เราใช้อ้างแหล่งที่มาของเรื่องนี้) บอกว่า.. ความจริงยังมีเรื่องเกี่ยวกับการกลั่นกรอง Internet content ในเมืองจีนอีกมาก แต่เป็นสิ่งยากที่จะนำมาเล่าสู่กันได้อย่างหมดเปลือกได้
แล้วคนเขียนบล็อกเป็นคนไทย อยู่เมืองไทย แล้วก็ยังอ่านรายงานภาษาอังกฤษได้งู ๆ ปลา ๆ หรืออย่างเช่นต้องอ่านเนื้อความจากสำนวนภาษาอังกฤษ ที่แปลจากต้นฉบับ นำเสนอเป็นภาษาจีน เพราะเจ้าของปาฐกถาเป็นคนจีน อีกทีหนึ่งเป็นต้น อย่างนี้จะพูดอะไรได้มากอีกเล่า?

โอ้ย! เห็นหรือยังว่า ปัจจุบันนี้ ความจริง-ความเท็จในโลกออนไลน์ฟองนี้ เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขของที่มาที่ไปของมันแล้ว มันไม่ใช่เรื่องรู้เข้าใจกันได้ง่าย ๆ อย่างแต่ก่อนแล้ว

ด้วยประการะฉะนี้ ฉันจึงเชื่อว่า "ภาษาที่ดี ไม่ใช่ภาษาคำที่สื่อสารกันอย่างในโลกยุคเก่ากันอีกต่อไปแล้ว หากแต่ visual อย่างอื่น เช่น เสียง และ ภาพ เหล่านี่ต่างหาก ที่เป็นช่องท่างและเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันได้ดี เพราะทำให้ต่างก็เข้าถึงหรือใกล้เคียง 'แก่นใจ' ของกันและกันได้ ไม่ว่าใผจะเป็นใผในการปรากฏตัวในโลกออนไลน์แบบว่า...นานารูปัง...นานารจิตตัง ในโลกออนไลน์ก็ตาม "

ฮิ ฮิ ด้วยเหตุดังนี้ บล็อกเกอร์นิยมตูนส์ และบล็อกเกอร์นิยมโพสต์ภาพเรียงสะตอรี่ อาจจะเป็นเพื่อนที่ดี มีการสื่อสารถึงกันได้ดีกว่าบล็อกเรียบเรียงคำก็ได้ ใผจะฮู้กับใผ...ใครจะรู้ดีไปกว่าใคร จริงแมะ!?!

CHINA 107 by janisen78's photostream





UPDATED: October 4, 2006 @ 2:35 AM

Council on Foreign Relations (report)

Media Censorship in China
Author: Carin Zissis, Staff Writer
September 25, 2006

"But in spite of a crackdown under Hu, China’s media is undergoing a process of commercialization, leading to growing competition, diversified content, and an increase in investigative reporting in Chinese news agencies. The government reports more than 2,000 newspapers, over 8,000 magazines, and some 374 television stations now exist in the country. China also has 111 million Internet users and, despite restrictions governing online content, both domestic and international stories that censors would prefer to control slip through the “Great Firewall of China.” Only state agencies can own media in China , but there is some creeping privatization as outlets subcontract administrative operations to the private sector. Northeast Asia media expert Ashley W. Esarey says it is also likely the Internet will play a role in Chinese media reform, because its “absolute control has proven difficult, if not impossible.” "

  • =>> Introduction

  • => What is the current media policy in China?

  • => How free is Chinese media?

  • => What are the primary censoring agencies in China?

  • =>> How does China exert media controls?

  • =>> How does China control the influence of foreign media?

  • =>> How do journalists get around media control measures?




  • Create Date : 22 พฤศจิกายน 2548
    Last Update : 4 ตุลาคม 2549 3:25:55 น. 2 comments
    Counter : 679 Pageviews.

     



    เคยได้ยินข่าวว่า...คนจีนติดเน็ตมากที่สุดในโลกแล้วตอนนี้


    บายดีเหรอยะ....

    ลมหนาวมาแว้ววววว ระวังจะฟุดฟิดด้วยนะ

    อย่าลืมหาไออุ่นๆ มาหนุนด้วยล่ะ



    โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 23 พฤศจิกายน 2548 เวลา:10:15:21 น.  

     



    แวะมาทักจ้า....


    เมื่อไหร่จะ up blog



    โดย: อย่ามาทำหน้าเขียวใส่นะยะ วันที่: 24 พฤศจิกายน 2548 เวลา:9:50:54 น.  

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.