<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
รัฐประหารซ้ำซาก (17): "มหากาพย์ยังอีกยืดยาว" = ผลประเมินหลังครบรอบ ๑ ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2550

สรุปความเห็นก่อนอ่านความเห็นของผู้รู้ตามลิงค์ ที่นำมาบันทึกไว้วันนี้ คือว่า
ต่อแต่นี้..ไป

จะผ่านการเลือกตั้งหรือไม่ผ่านเลือกตั้ง แล้วใครฝ่ายใดจะได้กุมอำนาจ ก็ตาม ...
บ้านเมืองจะมีวิกฤติต่อเนื่องไปอีกหลายช่วง เกิดการปรับตัว วิวัฒน์ต่อไปอีก... หลายชุดตำนาน

แต่ไม่ต้องวิตกอะไรมากดอก ท่านทั้งหลาย... สังคมไทย (ก็เป็นมนุษย์กลุ่มหนึ่ง) ก็จะต้องเดินต่อไปอยู่ดี

แล้วก็ดังที่ เจ้าของบล็อกนี้เชื่อ(ผิดหรือถูก ก็ไม่รู้ล่ะ)มาตลอด ... ว่า แล้วในวันข้างหน้าโน้น (สั้น-ยาวเท่าใด ไม่มีใผรู้ดอก) เกมส์แห่งอำนาจนี้ จะเหลือผู้เล่นตัวจริงอยู่จำนวนหนึ่ง... ภายใต้เจ้าของอำนาจที่แท้จริง ...คือ มวลมหาประชาชน

เหมือนดั่ง...เจ้าของป่าไม้ที่แท้จริงคือ...ต้นไม้
เจ้าของทะเล มหาสมุทร ที่แท้จริงคือ...หยดน้ำ
เจ้าของที่แท้จริงของสังคมบ้านเมืองไทย...ก็คือ คนพลเมืองไทย

อย่างอื่น ๆ ที่มองเห็นนั้น ...เพียงแต่เป็นสิ่งที่ต้องไปตามกฏเหล็ก.. 3 ประการ คือ
1. เกิดขึ้น (มีมา มีอยู่ ตามเหตุปัจจัย)
2. (ดิ้นรนให้ตน/พวกตน)ตั้งอยู่ (ตามเหตุปัจจัย)
3. สุดท้ายก็ ดับไป (สูญพันธุ์ไป เสื่อมสภาพ สลายไป ตามเหตุปัจจัย)

...ตามการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย...


สำหรับต่างคน ต่างเรา
ก็ว่า...คิด ทำ กันไป
ตามความรู้ ความเชื่อ
...ในกาลแห่งยุคสมัย...
ของตนของตนเถิด

posted by a_somjai
20 กันยานน 2550





LINKs for 2007-09-20 :
ประชาไท

จาตุรนต์ ฉายแสง : ปาฐกถาอนาคตการเมืองไทย จากนี้ไปคือ "วิกฤต" ที่รออยู่ ปาฐกถาครบรอบ 1 ปีหลังรัฐประหาร เรื่อง “อนาคตการเมืองไทย : วิกฤตที่รออยู่” ณ โรงแรมสยามซิตี้ วันที่ 19 กันยายน 2550 จัดโดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตย


ผมเคยวิจารณ์เกี่ยวกับการครบรอบรัฐประหารมาเกือบทุกเดือนที่ผ่านมา เมื่อมาถึงโอกาสครบรอบ 1 ปี จึงคิดว่าควรจะได้วิพากษ์วิจารณ์ครบรอบ 1 ปีของการรัฐประหาร เหมือนจะเป็นประเพณีก็ได้ แต่ช่วงนี้กำลังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมือง การเมืองกำลังเข้มข้น การแสดงความคิดเห็นในช่วงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจความเป็นไปของบ้านเมือง



สิ่งที่ผมจะแสดงความคิดเห็นในวันนี้ เห็นจะเป็นทั้งการประเมินความสำเร็จ ความล้มเหลว ของคมช.และรัฐบาล รวมทั้งมี ข้อเสนอ ความคิดเห็น ต่อการเมืองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว



ถ้าท่านฟังการประเมินในช่วงนี้ จะมีการพูดว่า สอบได้ สอบตก ดูเหมือนหลายฝ่ายจะมองกันว่า จากนี้ไปการเมืองไทยจะเริ่มคลี่คลาย พ้นจากวิกฤตไปแล้ว เพราะมีรัฐธรรมนูญแล้ว จะมีการเลือกตั้งแล้ว แต่ผมไม่เห็นว่าการเมืองกำลังจะคลี่คลายพ้นจากวิกฤต ผมกลับเห็นว่า เราไม่ได้กำลังก้าวพ้นวิกฤต แต่กำลังก้าวเข้าสู่วิกฤตที่หนักหน่วงยิ่งขึ้น สภาพการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ต่อเนื่องกันมา คงจะทำให้พอคาดการณ์ไปข้างหน้าได้



ในเรื่องการวิเคราะห์อนาคตการเมืองไทย จำเป็นต้องพูดถึงอดีตบ้าง ที่สำคัญคือ เราอธิบาย 19 กันยายน 49 กันอย่างไร และการเมืองไทยก่อนหน้านั้นเป็นอย่างไร



ก่อน 19 กันยา เกิดความไม่พอใจนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 จากความไม่พอใจนั้น ได้มีการพัฒนา เผยแพร่ความคิด ตั้งแต่ความคิดในลักษณะที่เป็นอนาธิปไตย ไม่ต้องยึดถือกฎเกณฑ์กติกาอะไรทั้งนั้น ขอให้ได้สู้กับรัฐบาลไม่ว่ารัฐบาลไหนก็ตาม นี่เป็นความคิดแบบหนึ่ง ความคิดนี้ไม่มีอิทธิพลมากนัก ความคิดที่มีบทบาทมากกว่าคือความคิดแบบ 'คณาธิปไตย' คือหมู่คณะของบุคคลเป็นใหญ่ สะท้อนออกจากความคิดว่า 'เรา' ไม่เชื่อการเลือกตั้ง 'เรา' ไม่เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่จะคิดอะไรได้



'เรา' ในที่นี้หมายถึงกลุ่มคนนั้นสามารถกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองได้ ไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา แก้โดยคนไม่กี่คนก็ได้แล้ว เป็นแนวความคิดที่บางท่าน โดยเฉพาะนักวิชาการจะพูดถึงว่า เป็นความคิดแบบอภิสิทธิ์ชน หมายถึง คณะบุคคลคณะเล็กๆ มีอำนาจตัดสินใจมากกว่าประชาชนทั้งประเทศ มีการตั้งคำถามว่า จะเอาราษฎรอาวุโสท่านนี้ไปเทียบกับหนึ่งเสียงเหมือนประชาชนทั่วไปได้อย่างไร พูดไปพูดมา ความหมายก็คือ ขอให้คนบางคนมีคุณค่า มีความหมายต่อบ้านเมือง มากกว่าประชาชนทั้งประเทศ



ความคิดเหล่านี้ เป็นการปูทางสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบที่นักวิชาการมักเรียกกันว่า 'อำมาตยาธิปไตย' คือพวกทีมีฐานะสูง มีตำแหน่ง มีอำนาจมากๆ ในสังคม เป็นผู้กำหนดความเป็นไปของบ้านเมือง



ก่อน 19 กันยา ซึ่งก็มีผลต่อเนื่องมาด้วย มีปรากฏการณ์ในสังคมการเมืองไทยที่สำคัญและน่าผิดหวัง น่าเสียดายมากคือ การที่พลังประชาธิปไตยในอดีต และโดยเฉพาะปัญญาชนที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ได้ย้ายข้างไปสนับสนุนแนวความคิดแบบคณาธิปไตย อำมาตยาธิปไตย หรือแม้กระทั่งแนวความคิดแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะพูดอยู่ว่า "ไม่เห็นด้วย แต่ก็จำเป็น" แต่ในที่สุดแล้ว ก็คือการย้ายข้างไปสนับสนุนเผด็จการนั่นเอง



การพิจารณาความคิดและการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้ ก็นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และนำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มระบอบรัฐธรรมนูญ ล้มระบอบรัฐสภา ผม หรืออีกหลายท่านคงเคยอธิบายว่า ที่เขาต้องฉีกรัฐธรรมนูญ จริงๆ เขาไม่ได้สนใจเนื้อหาอะไรของรัฐธรรมนูญมากหรอก แต่ว่าเขาจะยึดอำนาจจากรัฐบาล กฎหมายมันไม่ให้ รัฐธรรมนูญก็ไม่ให้ เพราะฉะนั้นก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญ นี่ก็เป็นความจริง



แต่ถ้าเรามองย้อนหลังไป เราจะพบว่ามันไม่ใช่แค่นั้น ที่ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มระบอบรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐสภาไป ไม่ใช่แค่เป็นอุปสรรคต่อการยึดอำนาจรัฐประหาร ก็เลยต้องฉีกแล้วนิรโทษกรรมตัวเอง แต่ว่ามาถึงปัจจุบัน ผมคิดว่า การที่ยึดอำนาจแล้วฉีกรัฐธรรมนูญ โดยรวมๆ แล้วมันเป็นเรื่องที่กลุ่มคณะบุคคลดังที่ได้กล่าวมานั้น ไม่ได้เชื่อถือในระบอบรัฐธรรมนูญ เช่นหมายถึง ปกครองโดยกฎหมายสูงสุด คนต้องเท่าเทียมกัน อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน กำหนดว่าประชาชนจะต้องมาปกครองประเทศได้อย่างมีส่วนร่วมโดยรัฐธรรมนูญ เขาไม่เชื่อในระบอบนี้ ไม่เชื่อถือในระบบรัฐสภา ไม่เชื่อถือการเลือกตั้ง ไม่เชื่อถือเรื่องการที่ประชาชนจะมีผู้แทนของตัวเองมาปกครองประเทศ เพราะเห็นว่าประชาชนยังโง่อยู่ ประชาชนเห็นแก่อามิสสินจ้าง ประชาชนซื้อได้



ที่สำคัญคือ ไม่เห็นด้วย ไม่ยินยอม และไม่ต้องการเห็นการพัฒนาของระบบนักการเมือง ไม่เห็นด้วย รับไม่ได้กับการที่ประชาชนจะรู้จักบอกว่า บ้านเมืองต้องไปทางนี้ ถ้าพรรคการเมืองต้องการได้รับเลือก ต้องมีนโยบายเหล่านี้มาถึงจะเลือก แล้วพอพรรคการเมืองสร้างนโยบายขึ้นมาแล้ว ประชาชนเลือกแล้วเอานโยบายนั้นไปใช้ ยิ่งเป็นเรื่องที่กลุ่มอภิสิทธิ์ชน คณาธิปไตย ทั้งหลายเหล่านี้รับไม่ได้ ยอมไม่ได้



พร้อมๆ กันนั้น การรัฐประหารและสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นทำให้เห็นว่า ในสังคมไทยยังมีผู้มีอำนาจที่ไม่เห็นความสำคัญของหลักนิติรัฐ ไม่เห็นความสำคัญของหลักนิติธรรม และพูดกันไปก็คือ ไม่ได้เห็นความสำคัญและสาระของสิทธิเสรีภาพของประชาชน



ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา หมายถึง 19 กันยาและหลังจากนั้น ความจริงก็คือปัญหาการเมืองไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานั่นเอง คือการที่คณะบุคคลไม่ต้องการให้เกิดพัฒนาการของระบอบรัฐธรรมนูญ ระบบรัฐสภา ไม่ต้องการให้ประชาชนปกครองตัวเอง ต้องการเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองด้วยตนเอง กำลังหลักคือ ใช้ข้าราชการประจำ นำโดยทหาร และนำเอานักธุรกิจ นายทุนบางส่วน ที่ต้องพึ่งพิงเขา



จะมีความแตกต่างจากในอดีตอยู่บ้าง ที่สำคัญก็คือ มีการย้ายข้างของพลังประชาธิปไตยที่เคยเป็นประชาธิปไตยและปัญญาชน มีการดึงเอาฝ่ายตุลาการเข้ามามีบทบาทในการเสริมความเข้มแข็งของระบอบอนาธิปไตย และเกิดพัฒนาการที่ 'สื่อมวลชน' แสดงบทบาทเป็นผู้กำหนดความเป็นไปในบ้านเมืองมากที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมือง โดยมีบทบาทในการค้ำจุนสิ่งที่เป็นอยู่และสิ่งที่เป็นไป



ถ้าถามว่า อะไรสำเร็จ อะไรไม่สำเร็จ ในรอบ 1 ปี รัฐบาลก็ยังไม่ครบ 1 ปีดี ผมคงจะไม่สามารถไปให้คะแนนว่ารัฐบาลสอบตกหรือสอบได้ หนึ่งคือ ผมไม่ใช่อาจารย์ที่ไปคอยให้คะแนนใคร และถึงแม้ใครเป็นอาจารย์ก็ไม่ควรให้คะแนนรัฐบาลนี้ได้ เพราะรัฐบาลนี้ส่งกระดาษเปล่าตลอด จะให้คะแนนสอบตกสอบได้ได้อย่างไร



การเกิดขึ้น การดำรงอยู่ ของรัฐบาลปัจจุบันนี้ เป็นตัวปัญหาเองอยู่แล้ว การมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นปัญหาเองอยู่แล้ว ในการที่ทำให้ประเทศไม่เป็นที่ยอมรับ รัฐบาลนั้นย่อมไม่สนใจว่าประชาชนคิดอย่างไร ต้องการอะไร เป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น รัฐบาลนี้ไม่ได้ช่วยทำอะไรให้สถานการณ์ที่แย่ลงจากการยึดอำนาจเปลี่ยนประเทศเป็นเผด็จการ ให้มันดีขึ้นหรือค่อยยังชั่วหน่อย และไม่มีอะไรที่ต้องไปประเมินมากกว่านี้

ส่วนข้ออ้าง 4 ข้อของคมช. (การทุจริตคอรัปชั่น ความแตกแยกในสังคม การแทรกแซงองค์กรอิสระ การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ผมพูดมาหลายรอบแล้วว่าล้มเหลวหมด คนไม่ค่อยพูดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับคมช. คือ ข้ออ้างสำคัญกว่านั้นของเขา ที่ไม่ใช่ 4 ข้อ ก็คือ การประกาศเหตุผลของการยึดอำนาจ และชื่อของคณะที่ยึดอำนาจ



ชื่อของคณะที่ยึดอำนาจ 'คปค.' (คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) คือการอ้างว่าตัวเองจะเข้ามาปฏิรูปการเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตย ตอนนี้ผ่านมาหนึ่งปี เห็นได้ชัดว่าภารกิจตามชื่อของคปค.นั้น ล้มเหลวสิ้นเชิง เป็นเพียงการตั้งชื่อโก้ๆ ขึ้นมาเพื่อผลทางการเมืองชั่วคราว แล้วก็สลายตัวไป แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ถ้าเราไม่ลืมก็จะพบว่า ภารกิจที่อ้างโดยการตั้งชื่อนั้น จริงๆ มันเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยไปฝากความหวัง คนที่เอาดอกไม้ไปให้ก็บอกว่า ดีนี่ เพราะคุณจะมาปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย



เสร็จแล้ว ภารกิจนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง พูดแต่ล้มเหลวก็ไม่เชิง นักวิชาการบางท่านออกมาบอกว่า รัฐบาลสอบตก คมช.พอสอบผ่าน พูดเพื่อบรรทัดฐานแบบหนึ่ง ผมพูดบรรทัดฐานคนละแบบ มาบอกว่าล้มเหลวอะไรไปบ้างแล้ว ความจริงต้องบอกว่า คมช.เขาทำสำเร็จในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เขาไม่ได้อ้างเป็นตัวหนังสือ ไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจน คมช.ได้ประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องต่อไปนี้



หนึ่ง ได้ทำให้ประชาธิปไตยของประเทศถอยหลังไปหลายสิบปี นี่คือสิ่งที่เขาต้องการจะทำ และเขาทำสำเร็จ ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหายอย่างยับเยินจากการที่ทำให้ประเทศเป็นที่ไม่ยอมรับ ไม่เชื่อถือ และคนไม่มาลงทุน และได้ตั้งรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีประสิทธิผล ไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน



คมช.ได้ยึดอำนาจอธิปไตยไปจากปวงชน ผ่านไปหนึ่งปี ได้คืนอำนาจอธิปไตยเพียงบางส่วน หลายส่วนยังอยู่กับเขา ผู้มีอำนาจ ผู้ที่จะมีอำนาจต่อไปซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มาจากการแต่งตั้ง มันมีสายระโยงระยางกับคณะผู้ยึดอำนาจ คมช.ได้ประสบความสำเร็จในการทำลายความเป็นนิติรัฐของประเทศ นี่ได้ทำลายอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้ก็ยังไม่ฟื้น ประเทศไทยยังคงไม่เป็นนิติรัฐ ไม่มีการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารปกครองประเทศ ได้สร้างและเสริมระบอบอำมาตยาธิปไตยขึ้น โดยมีการดึงเอาฝ่ายตุลาการเข้ามาร่วมด้วย แล้วก็จะทำให้ส่งผลกระเทือนต่อความเป็นกลางและอิสระของฝ่ายตุลาการในที่สุด ความจริงมีบ้างแล้ว และจะมีมากขึ้นต่อไป



นอกจากคมช.จะทำให้เกิดระบบที่พรรคการเมือง ระบบรัฐสภา ไม่มีบทบาทมากแล้ว ยังต้องอาศัยพึ่งพาระบบราชการและคณะบุคคล ที่อาจจะต้องเรียกว่า 'อภิสิทธิ์ชน' ทั้งหลาย ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง



หนึ่งปีมานี้ ยังได้ทำให้ระบบพรรคการเมืองและพรรคการเมืองอ่อนแอโดยทั่วหน้ากัน ระบบพรรคการเมืองถูกทำลายไปอย่างมาก ถูกทำให้สูญเสียศักยภาพ ลดความเข้มแข็งลงไปอย่างมาก ได้ทำให้การที่บ้านเมืองจะถูกกำหนดโดยประชาชนผ่านระบบพรรคการเมืองสูญเสียศักยภาพไปอย่างมาก และคมช.ก็ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการทำลายบุคคล กลุ่มบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เขาเรียกว่า 'กลุ่มอำนาจเก่า'



จริงๆ แล้วนี่คือความสำเร็จที่เขาตั้งใจจะทำ ในส่วนข้ออ้าง 4 ข้อ เป็นเพียงข้ออ้าง แล้วชื่อ คปค. ที่บอกว่าจะปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ก็เป็นเพียงข้อความที่นำมาใช้ประโยชน์ทางการเมืองสั้นๆ เท่านั้น



ถามว่ามีอะไรมารองรับสิ่งที่ผมพูดไป ว่าได้เกิดความสำเร็จเหล่านี้ มีมากมายหลายอย่าง พอพูดโดยสังเขปก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เราก็ได้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของระบอบอำมาตยาธิปไตย อำนาจไม่ได้อยู่ที่ประชาชน เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับพรรคการเมือง ก็คือมีการพยายามแยกสลายพรรคการเมืองบางพรรค มีการห้ามพรคการเมืองทั้งหลายทำกิจกรรม ห้ามสมาชิกพรรคการเมืองเข้าไปร่วมในกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญคือกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ห้ามประชาชนทั้งประเทศตั้งพรรคการเมือง ทั้งๆ ที่บอกว่ากำลังจะมีการเลือกตั้งอยู่ในอีกไม่กี่เดือน มีการยุบพรรคการเมืองบางพรรคไป เป็นพรรคการเมืองที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุด และมีส.ส.มากที่สุดจากการเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ



มาถึงวันนี้ เกิดอะไรกับพรรคการเมือง นอกเหนือจากสิ่งที่ได้พูดไปแล้ว ท่านก็จะเห็นการผลักดันโดยผู้มีอำนาจให้เกิดการจับขั้วทางการเมือง เพื่อเป็นพรรคการเมือง มีการจับขั้วรวมตัวกันอย่างสับสน ไม่รู้ว่ามีนโยบายอะไร ไม่รู้ว่ามีทิศทางทางการเมืองตรงกันหรือไม่อย่างไร ความสับสนนั้นก็สะท้อนออกมาจากผู้ที่กำลังไปรวมตัวกำลังพูดอยู่เอง



ที่บอกว่าประชาธิปไตยเมืองไทยย้อนหลังไปหลาย 10 ปี สิ่งที่แสดงอย่างหนึ่งในช่วงที่เป็นเผด็จการมากๆ คือ ตำแหน่งผบ.ทบ.จะเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นที่สนใจมาก ในอดีตเป็นอย่างนั้น มาในสองเดือนมานี้ เราก็จะเห็นข่าวการตั้งผบ.ทบ.ว่าใครจะเป็นผบ.ทบ.อยู่ตามหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ ข่าวทีวี เต็มไปหมด



เมื่อใดที่ข่าวผบ.ทบ.เป็นเรื่องใหญ่จนกลบข่าวอื่นไปหมด ข่าวความเดือนร้อนของประชาชน ข่าวการเลือกตั้ง ฯลฯ สู้ข่าวผบ.ทบ.ไม่ได้ นั่นแสดงว่ากองทัพยังคงมีบทบาทอยู่มากในทางการเมือง

และเป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ข่าวเรื่องใครจะมาเป็นผบ.ทบ. เขาวิเคราะห์ให้เหตุผลกัน ไม่ได้บอกว่า ใครจะมาพัฒนากองทัพได้ดีกว่ากัน ใครจะเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศได้ดีกว่ากัน แต่มันอยู่ที่ว่า ใครจะมาจัดการในสิ่งที่เรียกว่าเป็นอำนาจเก่าได้ดีกว่า ใครจะทำให้การเมืองนิ่งได้ดีกว่า ใครจะรับมือกับการต่อสู้ของประชาชนได้ดีกว่ากัน นี่เป็นข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งเดือนสองเดือนมานี้



เรื่องการตั้งผบ.ทบ. เป็นการทำลายเกียรติภูมิของกองทัพเป็นอย่างมาก เป็นผลสะสมมาจากการยึดอำนาจรัฐประหาร และการดำเนินการหลังจากนั้น เป็นการทำลายเกียรติภูมิของกองทัพ ทั้งๆ ที่ทหารส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นดีเห็นงามไปด้วยกับการยึดอำนาจรัฐประหาร และการที่จะมีบทบาทในทางการเมืองต่อไป นี่ก็หวังว่าใครที่มาเป็นผบ.ทบ.แล้วจะรู้หน้าที่ของตัวเอง



สิ่งที่รองรับว่าได้เกิดอะไรขึ้น หรือคมช.ประสบความสำเร็จอะไรไปบ้าง ที่บอกว่าทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ ระบบรัฐสภาแย่ลง ก็คือการประโคมข่าวว่าการเลือกตั้งจะเต็มไปด้วยการซื้อเสียง ภาพความชั่วร้ายของพรรคการเมือง นักการเมืองก็จะถูกเสนอมาก ถูกขยายความมากโดยผู้มีอำนาจทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ที่เชื่อมโยงกับการยึดอำนาจ ทั้งๆ ที่ความจริง สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพรรคการเมือง สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้ง เป็นผลของการรัฐประหารและการดำเนินการทางการเมืองของคณะที่ยึดอำนาจทั้งนั้น ที่ต้องการให้เกิดอย่างนี้ ความจริงก็คือเพื่อปูพื้นฐานสร้างความชอบธรรมไว้กับอนาคตข้างหน้า เวลาที่จะยึดอำนาจอีก



ส่วนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น เราก็จะเห็นว่า เขาก็จะพูดถึงเรื่อง การเลือกตั้งนี้จะไม่เป็นกลาง ไม่ยุติธรรม เน้นเรื่องการใช้เงินซื้อเสียง มีการพูดกันแล้วว่าแนวโน้มของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้น ก็จะเป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ ขาดประสิทธิภาพ



โดยรวมๆ แล้ว เรากำลังจะเดินไปเจอกับอะไร จะขอพูดในสองส่วนคือ การเลือกตั้ง และรัฐบาลหลังเลือกตั้ง



แนวโน้มการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น ก่อนการเลือกตั้งคงจะมีความพยายามสกัดกั้นทำลายพรรคการเมืองบางพรรคต่อไปอีก การเลือกตั้งนี้ไม่มีทางจะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรมไปได้เลย นี่เราดูจากการทำประชามติ การใช้บทบาทของกกต. ที่มาพูด มาบอกว่าจะจัดการอยู่แต่กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ผู้ที่เป็นกกต.อยู่ก็เป็นคนร่างรัฐธรรมนูญเอง มีความผูกพันใกล้ชิดไปกับการที่จะทำให้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นแบบนั้น การลงประชามติโดยที่กลไกของรัฐมีบทบาทไม่เป็นกลางอย่างชัดเจนเต็มไปหมด ตั้งแต่คมช. รัฐบาล ทหาร กองทัพ มหาดไทย ไม่เป็นกลาง



จากการลงประชามติอย่างนั้น เรายังไม่เห็นเลยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้อะไรจะดีขึ้นบ้าง กกต.ก็ยังชุดเดิมอยู่ ผู้นำกองทัพบางคนพูดหลังการทำประชามติว่า ภาคนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ขอแก้ตัวอีกสัก 3 เดือน 6 เดือน แก้ตัวอะไร จัดการดูแลประชาชนไม่ได้ ให้ลงประชามติตามที่ต้องการไม่ได้ มีการขอกำลังกอ.รมน.เข้าไปเสริมในหลายพื้นที่เต็มไปหมด การยกเลิกกฎอัยการศึก ทำท่ายกเลิกบางจังหวัด แถมจะเพิ่มบางจังหวัด เราจะมีการเลือกตั้งในขณะที่มีกฎอัยการศึกอยู่ใน 20 กว่าจังหวัด โดยที่จังหวัดส่วนใหญ่ที่กำหนดให้มีกฎอัยการศึก มาจากการดูว่า พื้นที่ไหนเป็นฐานสำคัญทางการเมืองของพรรคการเมืองที่ต้องการจะจัดการ



ในระหว่างนี้ ก็จะมีการสกัดกั้นพรรคการเมืองอย่างที่ได้พูดไปแล้ว การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นจึงไม่มีหลักประกันความน่าเชื่อถืออะไรเลยว่า การเลือกตั้งจะบริสุทธิ์ยุติธรรม



หลังการเลือกตั้ง เราก็จะได้พรรคการเมืองผสมที่อ่อนแอ หรือไม่ก็อาจจะได้พรรคการเมืองที่ได้เสียงมากๆ ไปเลยแล้วก็จะไปเจอปัญหาอีกแบบหนึ่ง ก็คือจะถูกจัดการจากกลุ่มผู้มีอำนาจ พันธมิตรของคมช.ก็จะออกมาโวยวายต่ออีก เรียกร้องให้มีการจัดการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีก เพราะความคิดเรื่องคณาธิปไตย ความคิดเรื่องกลุ่มบุคคลสามารถกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองได้ ไม่ใช่ประชาชน ยังมีอยู่ ถ้าเป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ ขาดประสิทธิภาพ ขาดประสิทธิผล การแก้ไขปัญหาของประเทศก็จะทำไมได้ ผลที่ตามมาก็จะเป็นได้สองทาง ทางหนึ่งคือ ประชาชนก็จะเรียกร้องว่าต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ ให้ประเทศพ้นจากสภาพเหล่านี้ ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยก็จะเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ ให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนทั่วไปก็จะเรียกหาว่าต้องการรัฐบาลที่แก้ปัญหาได้ เพราะปัญหามันมากมายเหลือเกิน



ผลที่ตามมาอีกแบบหนึ่งก็คือ เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ได้ รัฐบาลก็อ่อนแอ พรรคการเมืองก็อ่อนแอ การตรวจสอบทุจริตก็จะล้มเหลว การตรวจสอบทุจริตนี่ต้องล้มเหลวอยู่แล้วเพราะองค์กรที่จะทำหน้าที่นี้ก็มาจากคณะคมช. ไม่มีความเป็นอิสระจริง ไม่เป็นองค์กรอิสระจริง คือ ปปช. เป็นต้น



ผลตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การยึดอำนาจอีกครั้งหนึ่ง เพราะปูพื้นไว้แล้วนี่ พรรคการเมืองก็แย่ การรวมตัวของนักการเมืองก็แย่ มีการซื้อตัวนักการเมือง พรรคการเมือง รวมตัวกันโดยไม่มีหลักการ นโยบาย ทั้งที่ความจริงเรื่องเหล่านี้ การเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง การจะมีรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ คือผลิตผลของการรัฐประหารและการดำเนินการหลังการรัฐประหารทั้งนั้น แต่ก็จะโยนบาปโยนความผิดทั้งหลายไปให้กับการเลือกตั้ง กับพรรคการเมือง นักการเมือง โดยที่ไมได้คิดหรือไม่ยอมพูดว่า ในการเลือกตั้งของทุกประเทศก็ย่อมมีปัญหาเกิดขึ้น แต่ทุกประเทศที่เขาพัฒนาแล้วก็ได้เปิดโอกาสให้ระบบมันพัฒนาตัวเองไป แก้ปัญหาของมันไป ให้ประชาชนได้เรียนรู้



อีกแบบหนึ่งคือ มีรัฐบาลพรรคเดียว ได้เสียงข้างมากไปเลย ผมพูดแบบนี้ไม่ได้พูดแบบเลื่อนลอย นี่ก็ไม่ได้ต้องการมาพูดแบบในฐานะสังกัดพรรคใดพรรคหนึ่ง ไม่ต้องการพูดเพื่อพรรคใดพรรคหนึ่ง ถ้าเป็นพรรคเดียว มีพรรคได้เสียงข้างมากไปเลย การเมืองไทยคงเข้มข้น เกิดการไม่ยอมรับของพันธมิตร ของพวกคมช.เดิม



มีปัญหาว่าคนในสังคมไทยจะยอมรับกติกาไหม ถ้าเลือกตั้งมาแล้วยังบอกว่ายอมไม่ได้อีก ตรงนี้เรายังไม่ได้แก้ความคิดที่ว่า พอเห็นรัฐบาลไม่เป็นที่ถูกใจ ยอมไม่ได้.. อย่างในอังกฤษ เวลาเขาเถียงกันเรื่องจะมีบทบาทอย่างไรในอิรัก ต่างคนต่างเห็นว่าแบบนี้เสียหายต่อประเทศแน่นอน แต่ไม่มีใครบอกว่าอย่างนี้ยอมไม่ได้ ต้องเอาทหารมายึดอำนาจ แต่ของเราจะยังมีปัญหาแบบนี้อยู่



โดยสรุปของเรื่องที่ว่า เราจะเจอรัฐบาลแบบไหน การเมืองแบบไหน จากการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม พรรคการเมืองอ่อนแอ เป็นรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ หรือเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ก็จะเจอปัญหาทางการเมืองอีกแบบหนึ่งนั้น ไม่ว่าแบบไหน รวมความแล้วก็คือ มันจะไม่เกิดสมดุลทางการเมือง สมดุลแบบที่ว่าทุกฝ่ายยอมรับว่าแบบนี้พอเป็นไปได้แล้วก็ให้มันพัฒนาต่อไป แต่มันจะเกิดภาวะที่ไม่สมดุล ไม่ว่าแบบไหนก็จะเกิดความขัดแย้งอยู่ ยังไม่ลงตัวอยู่ ป ระเทศจะยังไม่เกิดศักยภาพในการพัฒนาต่อไป ไม่ว่าจะมองจากคนในประเทศเอง คนวิเคราะห์การเมือง นักธุรกิจ นักลงทุนในประเทศ



แม้แต่ประชาชนทั่วไป ผมคิดว่าเขาจะมองได้ว่า แบบนี้ที่เคยเข้าใจว่าลงประชามติรับรัฐธรรมนูญไปก่อนแล้วทุกอย่างจะคลี่คลายราบรื่น มันจะไม่เป็นอย่างนั้น มองจากต่างประเทศมายิ่งเห็นว่าไม่เป็นอย่างนั้น เขาก็จะมองมาว่า รัฐธรรมนูญเป็นอย่างนี้ มันก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ผู้มีอำนาจก็ยังมีอำนาจกันอยู่ ถ้ายังไม่เป็นประชาธิปไตย ยังมีความล่อแหลม เพราะเราก็เห็นว่า รัฐมนตรีกลาโหมก็พูดว่ารัฐบาลอยู่ได้อย่างมากก็หนึ่งปี แล้วก็ไม่รับประกันว่าจะมีการรัฐประหารหรือไม่ ต่างประเทศมองมาก็แน่นอนว่า แบบนี้ประเทศนี้จะมีศักยภาพได้อย่างไร ไม่มาลงทุน ไม่มาค้าขาย แล้วเขาก็รู้ว่า ถ้าประเทศยังไม่มีประชาธิปไตย การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยก็จะเกิดขึ้น



ซึ่งในส่วนนี้ก็น่าจะประเมินอยู่ด้วยเหมือนกันว่า ในหนึ่งปีมานี้ก็เห็นอยู่เหมือนกันว่า ถึงแม้พลังประชาธิปไตยจำนวนมากจะย้ายข้างไปสนับสนุนเผด็จการเสียแล้ว ปัญญาชนจำวนมากย้ายข้างไปแล้ว แต่ก็มีปัญญาชนส่วนหนึ่งยังยึดมั่นกับประชาธิปไตยอยู่ องค์กรประชาธิปไตย 'บางส่วน' ยังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอยู่



แต่ที่สำคัญคือว่า ประชาชนที่เขาไม่รับเผด็จการ มีมากกว่าที่หลายฝ่ายคิด ดูได้จากการลงประชามติ ซึ่งถูกบิดเบือน ขัดขวาง ถูกสกัดกั้น ใช้กลไกสารพัดแล้ว ยังมีสิบล้านเสียง ในเสียงที่สนับสนุนนั้น 56% ก็ยังมีอีกหลายส่วนที่บอกว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ แต่ให้เลือกตั้งไปก่อน



ผมคิดว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมากสำหรับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราเคยเข้าใจว่า มีแต่คนเอาดอกไม้ไปให้ แล้วก็มีคนไปคัดค้าน อย่างมากก็มีกลุ่มนั้นนี้เล็กๆ น้อยๆ แต่จริงๆ พอลงประชามติออกมา ทั้งๆ ที่เป็นประชามติที่เขาทำสารพัดอย่างให้ผลออกมาเห็นชอบ ผลยังออกมาอย่างนั้น มันมีความหมายมากว่า อย่างนี้ก็มีวิธีที่ทำให้ประชาชนพร้อมใจกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การทำลายพรรคการเมืองไม่สำเร็จอย่างที่ต้องการ จะด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง รวมทั้งความอ่อนหัดของคมช.เอง การตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 111 คนของพรรคไทยรักไทย แล้วทำให้การจะไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ๆ เพื่อดึงคนออกไปจากพรรคไทยรักไทย ล่าช้า ทำไม่ทัน เพราะมุ่งจะทำลายอย่างเดียว พอถึงเวลากลายเป็นเกิดผลเสียกับตัวเอง ต้องการจะทำลายพรรคการเมืองก็ทำลายไม่สนิท

ที่ทำลายไม่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือประสบการณ์การเรียนรู้ของประชาชน ที่เรียนรู้ว่า ระบบรัฐสภา ระบบการเลือกตั้ง เรื่องพรรคการเมือง เรื่องนโยบายพรรค มันมีประโยชน์กับเขา ตรงนี้ยังทำลายไม่ได้ มันสะท้อนออกจากประชามติ และผมเชื่อว่า มันจะสะท้อนออกจากการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย



และในสิ่งเหล่านี้ ในหนึ่งปีมานี้มันก็มีด้านที่ดีๆ ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน แล้วมันจะต่อเนื่องไป ข้อเสนอต่อการเมืองไทย แบ่งเป็นสองส่วน ระยะสั้นกับระยะยาว



ระยะสั้น ในส่วนของพรรคการเมือง ผมก็อยากเสนอว่า ฝ่ายผู้มีอำนาจ คมช. ซึ่งอำนาจก็ชักจะแผ่วลงแล้วด้วย เพราะประธานคมช.ก็กำลังจะพ้นจากตำแหน่งผบ.ทบ. กำลังสำคัญของคมช.ก็ไม่ได้กุมกำลังหลักของกองทัพแล้วด้วย ความจริงก็เป็นเงื่อนไขที่ดีที่คมช. ผู้มีอำนาจทั้งหลาย ควรจะยุติความคิดที่จะสกัดกั้นทำลายล้างพรรคการเมือง หรือไม่สนับสนุนพรรคการเมืองจัดตั้งก็ดี การดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมืองก็ดี เหมือนที่พยายามจะกำหนดว่า พรรคการเมืองใดจะเป็นรัฐบาลล่วงหน้า เรื่องนี้ คมช.และผู้มีอำนาจควรจะยุติความพยายามเหล่านี้



พรรคการเมืองควรจะเสนอนโยบาย ซึ่งวันนี้ ถ้าพูดกับพรรคพลังประชาชน ผมว่าจะเสนอกับเขาด้วยว่าควรจะเร่งหน่อย ในส่วนนี้ยังช้าอยู่ และพรรคการเมืองไม่ควรจะมีแนวความคิด หรือเสนอความคิดในทางคิดบัญชี หรือมีคำขวัญประเภทแค้นต้องชำระ ทุกพรรคควรจะเลิก นี่จะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองไทยในระยะสั้นนี้



ส่วนการเลือกตั้ง ควรจะเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม อันดับแรกคือ กกต. คือ ถ้าไม่ติดปัญหาว่ากกต.ชุดนี้ ออกไปแล้ว ไม่รู้จะหากันใหม่อย่างไร ผมอยากจะเสนอให้กกต.ทั้งหมดออกไปเลย แล้วหาใหม่ แต่หาใหม่ก็เกรงจะไปกระทบการเลือกตั้ง ก็ขอเรียกร้องให้กกต.เป็นกลาง อย่างน้อยที่สุด เป็นกลางมากกว่าตอนทำประชามติ แล้วก็เป็นกลางในการกำหนดใบเหลืองใบแดง ทุกวันนี้พูดกันมากว่า ให้ระวังกกต.จะให้ใบเหลืองใบแดงเฉพาะบางพรรค



อยากจะเรียกร้องให้คมช.เป็นกลางต่อการเลือกตั้ง ถ้าจะให้ดี คมช.ควรจะประกาศว่า ตนเองจะเป็นกลางในการเลือกตั้ง และทำให้ดูเป็นตัวอย่างสักเรื่องก็ยังดีว่า คมช.ควรจะออกมาประกาศยกเลิกคำขอแกมบังคับที่มีต่อสื่อมวลชนในการเสนอข่าว เพราะอย่าลืมว่า คำเรียกร้องนั้นเขาเชิญสื่อมวลชนทุกแขนงมา 50 คนแล้วบอกว่าห้ามเสนอข่าวบุคคลนั้น พรรคการเมืองนั้น เดี๋ยวนี้ก้ยังมีผลอยู่ มีการห้ามเชิญนักการเมืองบางคนไปออกทีวีอยู่ คมช.ควรแสดงความจริงใจออกมาประกาศเสียว่า คำขอนั้นที่เคยให้พลเอกสองคนมาขอสื่อมวลชน เป็นอันยกเลิก



ครม.ควรจะมีมติครม. ถึงแม้กฎหมายเลือกตั้งจะต้องให้ทุกฝ่ายเป็นกลางอยู่แล้ว แต่ครม.ควรจะมีมติครม.ว่า ข้าราชการทุกหน่วย ทุกสังกัดต้องเป็นกลางในการเลือกตั้ง ถ้าไม่เป็นกลางถือว่าผิดวินัย และจะดำเนินการให้ทุกหน่วยลงโทษอย่างจริงจัง ความจริงมันก็ผิดวินัยอยู่แล้ว แต่เห็นตอนลงประชามติก็ทำกันเอิกเกริก มีมติครม.แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรอย่างจริงจัง ครม.ไม่ได้ตามไปลงโทษใครเลย แถมไปพูดให้ท้ายด้วย



กองทัพก็ควรจะออกมาพูดว่า ที่บอกว่าตอนประชามตินั้นพลาดไป ขอแก้ตัวใหม่ หมายถึงจะแก้ตัวในการเลือกตั้ง ก็ต้องพูดใหม่ว่ากองทัพจะเป็นกลาง ผู้นำกองทัพ เมื่อได้รับแต่งตั้งโปรดเกล้าฯแล้ว ก็ควรจะนำบรรดาผู้นำของตัวเองกลับกรมกองให้หมด และต้องประกาศเป็นกลางในการเลือกตั้ง



มหาดไทย นอกจากต้องกำชับว่าเป็นกลาง ไม่ใช่ผู้ว่าฯ พื้นที่สีแดงพื้นที่สีเขียว ใครเป็นสีแดงถูกย้าย ต้องประกาศให้ชัดว่าเป็นกลาง และไม่ว่ากฎหมายจะกำหนดอย่างไร มหาดไทยจะต้องไม่ขนคนไปลงคะแนน ไม่ว่าจะอ้างว่าเพื่ออำนวยความสะดวกอย่างไรก็ตาม ต้องไม่ทำ



ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ควรจะส่งเสริมให้ประชาชนเลือกพรรคการเมือง เลือกนโยบายพรรคการเมือง ให้ความสนใจกับพรรคการเมือง ไม่ใช่ขึ้นคำขวัญแบบเดิม เลือกตั้งทั้งที่ ต้องเอาคนดีเข้าสภา มันไม่พัฒนาไปไหน



ในเรื่องการสังเกตการณ์เลือกตั้ง เราพบว่า ในการลงประชามติ พบว่า ในการลงประชามติ ทุกฝ่ายลืมกันไปหมด พวกผม ผมเสนอเรื่องการสังเกตการณ์การทำประชามติ แต่ก็ช้าไป แล้วสุดท้ายก็ไม่มีการสังเกตการณ์การทำประชามติ หลายหน่วยลงประชามติ คงจะเป็นหมื่นๆ หน่วย กากันเองได้ ตามไปตรวจสอบก็ไม่ได้ ไม่มีคนสังเกตการณ์เลย การเลือกตั้งผู้แทน คงจะมีผู้แทนพรรคการเมืองได้รับสิทธิ์ที่จะไปสังเกตการณ์ แต่นั่นไม่เพียงพอ ข้อเสนอที่ให้องค์กรจากประเทศต่างๆ มาสังเกตการณ์เลือกตั้ง เป็นเรื่องที่ควรทำ ไม่เห็นจะต้องเขินอายอะไรที่จะให้มีคนมาสังเกตการณ์เลือกตั้ง นั่นไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไรเลย ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาก็อนุญาตให้ประเทศอื่นเข้าไปสังเกตการณ์เลือกตั้ง แล้วถ้าการเลือกตั้งของเราบริสุทธิ์ ยุติธรรม จะกลัวอะไร ต้องเปิดโอกาสให้ใครอยากจะมาสังเกตการณ์เลือกตั้ง มาได้ แล้วพูดแบบนี้ ก็ไม่เห็นว่าจะต้องกลัวว่าจะถูกมองว่าเป็นเรื่องชักศึกเข้าบ้านแต่อย่างใด เป็นเรื่องทำให้ประเทศเราป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ



แล้วในเรื่องการเลือกตั้ง เราก็พูดกันไปว่า รัฐธรรมนูญแบบนี้ เลือกตั้งออกมา ประชาชนก็ยังไม่มีอำนาจจริง อันนั้นก็เป็นความจริงอยู่ แต่เมื่อมีการเลือกตั้ง มันก็เหมือนการที่เขาคืนอำนาจบางส่วนให้ประชาชน ก็ควรจะใช้การเลือกตั้งให้เป็นกลไกหนึ่งในการแก้ปัญหาประเทศ



และที่ผมคิดว่าน่าสนใจและมันจะเกิดขึ้นคือ การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการผลักดันให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย โดยผ่านการที่พรรคการเมืองต้องมาเสนอแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร โดยการที่ประชาชนจะไปเลือกให้ความสนใจกับรัฐธรรมนูญก็ดี ให้ความสนใจกับนโยบายพรคการเมืองก็ดี ประชาชนใช้บทเรียนของตัวเองจากการเลือกตั้ง 2 ครั้งในรัฐธรรมนูญปี 2540 ให้เป็นประโยชน์ มันจะเป็นการสื่อสารว่า ประชาชนเห็นดีเห็นงามกับการยึดอำนาจจริงหรือเปล่า ประชาชนต้องการกำหนดว่าใครเป็นรัฐบาล อยากได้นโยบายแบบไหน เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่เหมือนการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งในอดีตซึ่งเป็นเรื่องชอบใครก็เลือกคนนั้น แต่ต่อไปนี้จะเป็นการเลือกนโยบายมากขึ้น การเลือกตั้งแบบเลือกนโยบายยังคงมีนัยยะสำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้



ในส่วนของรัฐธรรมนูญ ผมคิดว่าในระยะสั้นนี้ คิดว่าถ้าเราต้องการประชาธิปไตย เราต้องมุ่งไปที่การแก้รัฐธรรมนูญขนานใหญ่โดยเร็ว ไม่ใช่บอกว่า ก็ให้บริหารไปสัก 4-5 ปีค่อยแก้เถอะ ก็เพิ่งร่างมาจะรีบแก้ทำไม ถ้าพูดแบบนี้ ก็เท่ากับคุณกลับคำพูดสิ ก่อนหน้านี้บอกว่า ยอมรับไปก่อนเถอะ แก้แน่ นักการเมืองฝ่ายที่เห็นด้วยก็๋บอกว่า เอาเถอะ ไม่เห็นด้วยเยอะแต่ก็รับไปก่อน แล้วเราจะแก้แน่ ฝ่ายสนับสนุนก็บอกแก้ ฝ่ายไม่สนับสนุนก็บอกแก้ เพราะฉะนั้นก็ต้องแก้แน่ ดังนั้น จึงไม่เป็นเหตุผลและไม่เป็นเรื่องดีเลยที่จะปล่อยให้ใช้รัฐธรรมนูญไป 4-5 ปีแล้วค่อยแก้ ผมอยากเสนอให้องค์กรประชาธิปไตยจับประเด็นนี้โดยเร็ว เรียกร้องให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายให้ชัดเจน เรียกร้องให้ผู้สมัครส.ว.ต้องระกาศนโยบายให้ชัดเจนว่า จะแก้รัฐธรรมนูญใหม่ แล้วพรรคการเมืองก็ควรเสนอนโยบายให้ชัดเจนว่า จะแก้รัฐธรรมนูญไหมในการเลือกตั้งครั้งนี้ เสนอเสียเลย พอหลังการเลือกตั้ง มีรัฐสภา ก็จัดการแก้มาตราว่าด้วยการแก้รัฐธรรมนูญก่อน ให้เกิดกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญขนานใหญ่ โดยประชาชนมีส่วนร่วม และควรจะให้ความสำคัญ ให้ความสนใจ ในเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งผมก็ยังคิดทางออกได้ไม่ชัดเจน



เรื่องที่ไม่ควรปล่อยให้ยาวไปถึง 4 ปีเป็นอย่างยิ่ง คือ การตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งนี่จะเป็นเรื่องที่กลไกของรัฐธรรมนูญที่สร้างไว้ การตรวจสอบการทุจริตมันทำไม่ได้ องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตมันไม่อิสระจริง มีที่มาของผู้มีอำนาจตั้งไว้ ตรงนี้ปล่อยให้เป็นจนครบเทอมไม่ได้ นี่อาจจะเป็นเรื่องต้องแก้ด่วน ต้องให้เปลี่ยนทันที และเมื่อจะใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ต้องให้เปลี่ยนองค์กรตรวจสอบทุจริตโดยทันที ไม่งั้นจะไม่มีทางตรวจสอบการทุจริตได้ องค์กรพวกนี้มุ่งตรวจสอบกลุ่มบุคคลเดียว คณะเดียว ตอนนี้ แค่รัฐบาลปัจจุบัน คมช. ก็ไม่รู้จะเอาใครมาตรวจสอบแล้ว



ในส่วนของระยะยาว สิ่งที่สำคัญก็คือ เรื่องการสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาความคิด การส่งเสริมให้เกิดปัญญา การสร้างบุคลากร ที่จะมาส่งเสริมทำความเข้าใจในเรื่องง่ายๆ เรื่องทีประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายเขาถือเป็นเรื่องพื้นฐาน เรื่องประชาธิปไตย เรื่องระบบรัฐธรรมนูญ เรื่องระบอบรัฐสภา เรื่องนิติรัฐ เรื่องเสรีภาพ ในระยะยาวต้องช่วยกันส่งเสริมให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ แล้วเข้าไปบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ส่งเสริมให้มีองค์กรประชาธิปไตยที่หลากหลายขึ้น ที่เป็นองค์กรประชาธิปไตยจริง มิใช่เป็นแต่ชื่อ ก็ต้องสร้างองค์กรประชาธิปไตยขึ้นใหม่ สนับสนุนส่งเสริม ผู้รักประชาธิปไตย ผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญของระบอบประชาธิปไตยทั้งหลายให้มีบทบาทมากขึ้น ส่งเสริมประชาธิปไตยทางตรงมากขึ้น



องค์ความรู้ที่ว่านี้ ก็คือการต้องสรุปบทเรียนทางตรงของประเทศไทยเองในช่วงที่ผ่านมา เรียนรู้ความเสียหายที่เกิดจากการปกครองระบอบเผด็จการ หรือประชาธิปไตยครึ่งเสี้ยวครึ่งใบ ขณะเดียวกันคือเรียนรู้จากประเทศอื่นๆ ที่ผมคิดว่าน่าเสียดายมากคือ ประชาธิปไตยย้ายข้างไป ปัญญาชนย้ายข้างไป มันทำให้โอกาสในการที่ประเทศไทยจะเรียนรู้ สรุปบทเรียนจากประเทศอื่น มันทำได้น้อยลง เลยกลายเป็นว่า ต้องให้ประเทศไทยมาเรียนรู้ผลเสียของระบบเผด็จการด้วยตัวเอง ซึ่งมันเสียเวลานาน เกิดความเสียหายมาก ทั้งที่ความรู้เหล่านี้มันมีทั่วโลกไปหมดแล้ว แต่เราไม่มีข้อต่อสำคัญคือ ปัญญาชนที่ฝักใฝ่ประชาธิปไตยยังมีน้อยเกินไป และที่ควรรวบรวมและพัฒนาเอามาเป็นประโยชน์ได้มากคือ ประโยชน์จากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของสังคมไทยเอง



นี่ก็เป็นข้อเสนอระยะยาว ซึ่งบางส่วนอาจจะทับซ้อนกันเอง เช่นเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ การผลักดันความคิดเกี่ยวกับระบอบรัฐธรรมนูญ ผลักดันให้เป็นประชาธิปไตย มันก็จะคาบเกี่ยวกัน แต่ก็เป็นข้อเสนอที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเมืองไทยในช่วงต่อไปนี้ หวังว่าความเห็นที่ได้แสดงความเห็นมาจะเป็นประโยชน์อยู่บ้างในการผลักดันให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยต่อไป








ไชยันต์ รัชชกูล : “อนาคตข้างหน้าอาจจะได้ชันสูตร และพบว่า อาจเป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง สัมภาษณ์โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง


"-------------------------------------------------------

สำหรับการรัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการรัฐประหารส่วนมาก แต่แน่นอนที่แต่ละครั้งก็มีลักษณะเฉพาะของแต่ละครั้งไป ครั้งนี้อยู่ที่เหตุผลที่ใช้ บังเอิญทักษิณเป็นเป้า การต่อสู้ของคนถูกปกครองนั้นสามารถตีกินพื้นที่มาได้เรื่อยๆ มีผลพวงที่ได้จากการต่อสู้ แต่ฝ่ายอำนาจเก่า (ที่สุด) ก็พยายามลิดรอนส่วนแบ่งของราษฎรอยู่เสมอ รัฐธรรมนูญ 2550 ก็พยายามให้เป็นอย่างนั้น ก่อนปี 2516 การเมืองไทยเป็นเรื่องของคนเมืองหลวง แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว จริงอยู่ที่เมืองหลวงคงจะข่มหัวเมืองไปอีกนาน แต่อย่างน้อยก็ยังได้ขึ้นเวทีการเมืองกับเขาบ้าง ขณะที่การเมืองเปลี่ยนไปเช่นนี้ แต่วิธีคิดของฝ่ายพวกผู้ปกครองยังนิยมการพัฒนาแบบประทานพรกันอยู่ จะให้ชาวบ้านรอแต่จะรับประทานแบบบรรเทาทุกข์ เมื่อมีสาธารณภัยหรือ



มีความเห็นของคนที่เห็นรัฐประหารในเมืองไทยมา 18 ครั้ง เขาว่าครั้งนี้อันตรายที่สุด อันตรายไม่ใช่ในแง่ของความรุนแรง หรือมีผู้คนบาดเจ็บล้มตาย แต่ในแง่ที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากปวดร้าว มันบาดลึกลงไปบนแผลที่มีอยู่แล้ว มันบาดความร้าวฉานให้ร้าวลึก ความร้าวฉานนี้คงไม่มีผู้ใดหรือสถาบันใดจะมาเป็นจุดรวมศูนย์ที่ทุกฝ่ายยอมรับอีกต่อไป ความจริงไม่ใช่ว่า สังคมไทยสมัครสมานปรองดองกันมาแต่ไหนแต่ไร แต่ไม่เผชิญหน้ากันเป็นความขัดแย้งอย่างกว้างขวางมากกว่า สภาพและเงื่อนไขทางการเมืองแบบนี้คงเป็นอดีตไปแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้อย่างไร ในเมื่อข่มเหงรังแกกันขนาดนี้ นี่คือสิ่งที่น่าโกรธและน่ากลัว


-------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------


----------------- ผมคิดว่าคนภาคกลางกับกรุงเทพฯค่อนข้างจะอยู่ภายใต้อาณัติทางความคิดของอำนาจเก่า อำนาจเก่าที่แท้จริง



จากนี้เราน่าจะสร้างกระแสรณรงค์ให้แก้ รัฐธรรมนูญ 2550 และผมก็อยากจะฟังกลุ่มคณะที่เคยเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยเรียกร้องว่าให้รับ รัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ไขกันทีหลัง อยากจะดูว่ากลุ่มนี้จะทำอย่างที่พูดหรือไม่ และอยากพูดว่ากลุ่มแกนนำพันธมิตรฯได้สำนึกบ้างหรือไม่จากผลของการกระทำของตัวเอง



การรัฐประหารครั้งนี้มันเป็นพลัง Conservative ซึ่งทำให้ผมได้มองคนกรุงเทพฯด้วยสายตาใหม่ และขอบคุณที่ผมไม่ได้อยู่กรุงเทพฯ (หัวเราะ)



แต่อนาคตข้างหน้าเราอาจจะได้มาชันสูตร และพบว่านี่อาจเป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของพลัง Conservative และพลังของพวกไฮโซ จะเห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ได้หาพรรคพวกหาพันธมิตรกันเต็มที่จึงทำสำเร็จ หากเป็นเมื่อก่อนจะไม่ต้องหาพรรคพวกกันขนาดนี้ คำถามคือใครเป็นเครื่องมือใครกันแน่ ทหารใช้ใครเป็นเครื่องมือ หรือใครใช้ทหารเป็นเครื่องมือ หรือเป็นเอี่ยวกันอยู่มานานแล้ว



สังคมไทยน่าจะพัฒนาทางเศรษฐกิจและการศึกษาไปได้ดีกว่านี้ การที่เรามีกองทัพขนาดใหญ่มันฉุดรั้งสังคมไทย ขอเปรียบเหมือนว่าเรามีบ้านเรายากจนมีบ้านเราโกโรโกโส แต่กลับสร้างรั้วและแถมมีอาวุธไว้ป้องกันบ้านโกโรโกโสนี้เกินพอดี แต่พวกทหารเรียกว่าความมั่นคง ก็อาจจะใช่ ถ้าคือความมั่นคงของทหารเอง นี่คือการถือเสมอตนเป็นชาติ และนี่ก็เป็นเรื่องขำๆ ในประเทศนี้ที่ไม่มีใครหัวเราะ


<<อ่านเนื้อความฉบับเต็มตามลิงค์ และ/หรือ อ่านที่ส่วน comment ที่ 1 ในหน้าบล็อกนี้>>





Create Date : 20 กันยายน 2550
Last Update : 20 กันยายน 2550 14:00:28 น. 2 comments
Counter : 743 Pageviews.

 
ไชยันต์ รัชชกูล : “อนาคตข้างหน้าอาจจะได้ชันสูตร และพบว่า อาจเป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง สัมภาษณ์โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง


ขอย้อนกลับไปช่วงก่อนวันที่ 19 ส.ค.50 ทำไมจึงไปรณรงค์ไม่รับร่างรับธรรมนูญ พ.ศ. 2550

แต่แรกก็ไม่ได้คิดอะไรมาก รู้สึกหดหู่ด้วยซ้ำ ที่ใครๆ เขาก็ว่ากันว่า มันต้องผ่านฉลุยแน่ๆ ที่เชียงใหม่นี้ผมไม่ได้สังกัดองค์กรใด ผิดกับเมื่อสมัยอยู่กรุงเทพฯ ตอนนั้นอยู่ ครป. (สมัยอ.โคทม อารียา) ก็ทำงานร่วมกับพรรคพวกเพื่อนฝูงเป็นกลุ่ม ส่วนที่เราทำมันเป็นส่วนของทั้งหมด แต่ที่นี่ ก็ทำไปแบบแก้กลุ้มของคนหงุดหงิดมากกว่า เรื่องของเรื่องก็คือ มีโปสเตอร์รณรงค์ไม่รับ รัฐธรรมนูญ 2550 ส่งมาแถวภาควิชาฯ เยอะแยะมาก แต่ไม่มีจุดที่รณรงค์ แม้กระทั่งโปสเตอร์ที่ติดอยู่หน้าภาควิชาฯ ตอนแรกก็ยังมีคนเก็บไปด้วยซ้ำ ที่อื่นๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือในเมืองก็เกือบไม่มีการติดเลย ผมเพียงคิดแต่จะเอาไปกระจายเพื่อระบายออกไป ไม่อย่างนั้นจะเสียเปล่า ทีแรกก็นำไปติดในหมู่บ้านผม แต่ก็ติดที่ไหนไม่ได้เลยเช่นกัน เมื่อไปติดที่รั้วบ้านตัวเอง ยังไม่ถึงชั่วโมงก็มีคนดึงไปแล้ว



ที่ติดไม่ได้ก็เพราะมันเหมือนคล้ายกับการยั่วยุต่อทางราชการ พอติดแล้ว เดี๋ยวตำรวจก็มา เดี๋ายวเจ้าหน้าที่อำเภอก็มา แต่เขาก็จะไม่เจาะจงว่าใครเป็นคนทำ จะระบุว่าหมู่บ้านนี้ทำ ตีขลุมไปทั้งหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านจะเดือดร้อนไปด้วย เราต้องเข้าใจเงื่อนไขนี้



ต่อมา ‘เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร’ ส่งใบปลิวเป็นรูปหนังสือขนาดเท่าฝ่ามือมา รูปแบบนี้แจ๋วมากใช้รณรงค์ได้ผลกว่า เพราะเราสามารถนำไปแจกทีละคนได้ เขารับไปแล้ว นำไปอ่าน ก็ไม่ต้องไปประกาศอะไรให้กระโตกกระตาก ผมคิดว่าคนที่อ่อนแอในสังคมไทยก็มีวิธีการสู้ของเขาโดยใช้วิธีไม่โฉ่งฉ่าง



พอเริ่มต้นแจก มีคนรับ ก็ย่ามใจขึ้น เอาติดตัวไปแจกทุกที่ ประชุมผู้ปกครองนักเรียนก็เอาไปแจก ไปร้านอาหารก็แจกทั้งร้าน ไปเชียงรายก็ขนไปด้วย เจอใครแจกได้ก็แจกไป ตอนหลังได้เรียนรู้ว่า จะมีคนไม่ชอบหรือไม่พอใจเพราะเขาจะรับรัฐธรรมนูญ เขาจะไม่รับที่เราไปแจกเลย แต่ในภาพรวมๆแล้วกลุ่มนี้มีไม่มาก ส่วนในทางไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นมีเยอะกว่ามาก แจกไปแจกมาบางทีมีคนขอหลายๆ เล่มนำไปช่วยแจก หรือบางกรณีอย่างครั้งหนึ่งในที่ประชุม อบต. เมื่อนำไปแจก ปรากฎว่าเขาไม่อยากให้ฝ่ายราชการจากอำเภอหรือจังหวัดเห็น เขาก็เอาไปไว้ใต้ผ้าคลุมโต๊ะ ค่อยๆ แอบแจกคนละเล่มสองเล่ม ผมได้กำลังใจเยอะเลย วิธีการแก้กลุ้มของผมก็ไม่เลวนะ



ตอนก่อนจะรู้ผลประชามติ ผมจึงมีโพลตัวเองว่าในจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่จะมีคนไม่รับค่อนข้างมาก แต่แน่นอนที่ “กลุ่มตัวอย่าง” เป็นแบบมวยวัด แม้กระนั้น ผมก็คาดเดาว่า ผลประชามติไม่น่าจะออกมาว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญกันอย่างท่วมท้น อย่างที่โพลหลายๆ โพลว่า





การที่ใน 2 จังหวัดดังกล่าว ผลประชามติออกมาก้ำกึ่งกัน เป็นไปตามโพลส่วนตัวหรือไม่

การคาดการณ์มันผสมปนอยู่กับความปรารถนา ผมหวังว่าฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จะชนะ แต่ในเมื่อทั่วประเทศแล้วมันแพ้ ก็รู้สึกเสียใจที่รัฐธรรมนูญนี้มันผ่าน ผมก็หวังว่าใน 2 จังหวัดนี้จะมีเสียงค้านมากกว่านี้ แต่หากเทียบกับที่มีคนปรามาสเอาไว้ถือว่าดีกว่า คนที่ปรามาสมีทั้งฝ่ายราชการหรือฝ่าย Liberal กลางๆ ซึ่งเกือบจะไม่มีฝ่ายไหนเลยที่เห็นว่าจะมีคนไม่รับมากขนาดนี้ ความคิดว่าไม่ผ่านมีน้อยมาก มีช่วงปลายๆ เท่านั้น โพลส่วนตัวของผมก็ผิดเหมือนกับโพลอื่นๆ แต่มันช่วยให้ผมประเมินเอง ไม่ใช่รับจากข่าว หรือที่เขาว่าๆ กัน





บรรยากาศการปิดกั้นการรณรงค์ของฝ่ายไม่รับมีผลต่อประชามติครั้งนี้หรือไม่

คิดว่ามีผลมาก โดยเฉพาะแก่คนที่ไม่แน่นอนไปในทางใดทางหนึ่ง จึงยังลังเลอยู่ และเมื่อรวมกับเหตุผลอื่นๆ ที่ไม่ใช่บรรยากาศการขวางการณรงค์อย่างเดียว เช่น บางคนขอให้มีการเลือกตั้งก็พอ หรือขออย่าให้บ้านเมืองวุ่นวาย หรือเชื่อว่ารับก่อนแล้วไปแก้ทีหลังได้ รวมกระทั่งด้วยเหตุผลว่า ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เดี๋ยวจะไปได้ฉบับที่แย่กว่านี้อีก อย่างที่พวกคมช.ขู่ไว้ เลยรับๆ ไปเถอะ เมื่อรวมกันเข้าไปทำให้ผลต่อการลงประชามติ



ทำให้มีประเด็นต่อไปว่า ผลที่ต่างกันคือไม่รับ 10 ล้าน กับรับ 14 ล้านนั้น น้ำหนักไม่ถ่วงกันมาก ชนะไม่ขาดลอย ฝ่ายที่รับ ก็รับด้วยเหตุผลนอกเหนือจากตัวบทรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมาก ในบรรดาคนที่ลงคะแนนรับก็ใช่ว่าจะเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ก็ยอมรับไปก่อน ดังนั้นเมื่อคะแนนออกมาแบบนี้มันก็มีเหตุผลหนักแน่นมากเลยที่รัฐธรรมนูญควรจะแก้ไข แต่จะแก้ได้หรือไม่และจะต้องออกแรงกันอีกเท่าไรนั้น เป็นคำถามใหญ่



เหตุผลหนักแน่นที่ต้องการให้แก้ไข เพราะฝ่ายที่รับนั้นถ้าพูดกันจริงๆ แล้ว ก็เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ใช่ว่าจะดี ดังนั้นเมื่อรับไปแล้ว เหตุผลที่กลัวจะวุ่นวายบ้าง อยากให้เลือกตั้งบ้าง ก็ไม่เป็นเหตุผลอีกต่อไป ดังนั้นก็ต้องแก้ไขได้ แม้กระทั่งฝ่ายราชการเองก็เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้วิเศษเลิศเลอ แม้มีข้อดีแต่มันก็มีข้อเสียด้วย ทำไม่ถึงไม่ยอมแก้ข้อเสียเล่า





การรับร่าง รัฐธรรมนูญ 2550 จะส่งผลอย่างไรต่อไป

คำถามนี้ให้เรากำลังพูดถึงเหตุการณ์ไปข้างหน้า มีนักวิชาการที่ผมเคารพบอกว่าจะเกิด Political Tsunami บางคนบอกว่าจะมีการพลิกแผ่นดิน แต่คิดว่าไม่มีศาสตร์ไหนในสังคมศาสตร์ที่สามารถพูดได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า มีสาขาเดียวที่ทำได้คือโหราศาสตร์



ส่วนประวัติศาสตร์นั้นสันทัดเรื่องชันสูตรพลิกศพ แล้วบ่อยๆ จะเห็นว่า เมื่อมองย้อนกลับไปจะพบว่าข้อคิดของคนร่วมสมัยในเวลานั้นมันไม่เป็นไปอย่างที่คิดกัน หรือ ทำนายว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เช่นเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 10 ปี หรือ 100 ปี เมื่อนักประวัติศาสตร์ไปศึกษาจะเห็นว่าคนในสมัยนั้นเมื่อคิดว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น ก็จะพบว่าส่วนมากจะไม่ถูก เพราะการกระทำของมนุษย์มันเป็น Logic ที่ลึกลับ ส่วนหนึ่งที่ประวัติศาสตร์น่าตื่นเต้น เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า วิชาประวัติศาสตร์จะคอย ‘เช็คบิลล์’ ศาสตร์ต่างๆที่ชอบทำ forecast ผมชอบอ่านหนังสือพิมพ์เก่าๆ ประการแรกเพราะไม่ต้องเสียสตางค์ ประการที่สองจะได้รู้ว่าหนังสือพิมพ์ที่ออกมาวันนั้นๆ มันผิดอย่างไร





งั้นขอถามถึงความหมายของตัวเลข 10 ล้านเสียงแทนแล้วกันครับ

ผมเคยทำงานเป็นผู้ประสานงานองค์กรกลางในภาคอีสานตอนบน และไม่มีปัญหาเลยในการหาคนทำงานที่จะมาเป็นผู้ประสานงานและอาสาสมัครองค์กรกลางในจังหวัดเหล่านี้ เขาขันแข็งกันมาก แต่พื้นที่ที่มีปัญหาในการหาอาสาสมัครกลับเป็นในพื้นที่กรุงเทพฯ เขาว่ากันว่า คนที่อยู่เมืองหลวงนั้นเจริญในความสำนึกประชาธิปไตย เป็นประชากรส่วนสำคัญในเชิงพัฒนาประชาธิปไตย แต่ส่วนตัวกลับไม่เห็นอย่างนั้น ทฤษฎีที่ว่าคนไม่มีการศึกษา คนโง่ หรือไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรสงสัยจะเป็นคนกรุงเทพฯ (หัวเราะ)



แล้วถ้าย้อนกลับไปมีครูที่ผมนับถือมากคนหนึ่งเคยตั้งข้อสังเกตว่า ตั้งแต่มีการเลือกตั้งเรื่อยมา ส.ส.ที่มาจากภาคอีสาน โดยรวมๆ แล้วจะเป็น ส.ส. ที่เป็นฝ่ายหัวก้าวหน้าค่อนข้างมาก พรรคที่มีแนวทางเพื่อประชาธิปไตยทางสังคม หรือถึงกับประกาศสังคมนิยม อยู่ในภาคอีสาน เพิ่งมาเปลี่ยนในตอนช่วงหลังๆ นี้ ดังนั้นจึงไม่ประหลาดใจอะไรที่ผลโหวตทางภาคอีสานตอนบนจะเป็นเช่นนั้น จึงอยากจะใช้คำว่าอย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์



ตอนนี้มีคนอธิบายว่าเป็นเพราะอำนาจเก่า เพราะซื้อเสียง เพราะไม่รู้ กันหมดเลย ทำไมจึงไม่พูดอย่างนี้บ้างกับสงขลาที่รับ รัฐธรรมนูญ 2550 ว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพล พล.อ.เปรม (ติณสูลานนท์) หรือทั้งปักษ์ใต้อยู่ใต้อำนาจพรรคประชาธิปัตย์ อำนาจเก่ากว่าอีก ทำไมจึงพูดว่าการไม่รับรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ไม่ปกติ เมื่อคิดอย่างนี้ เลยต้องอธิบายไปว่าชาวบ้านไม่รู้หรอกเป็นแค่หุ่นกระบอกให้เขาเชิด



ขอถามว่าทำไมไม่คิดว่าชาวบ้านคิดเองได้ มีวิจารณญาณเองได้ ประสบการณ์ที่ผมได้จากการแจกใบปลิว ก็คือ ชาวบ้านเขาคิดอยู่แล้วว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เนื้อหา ข้อความในใบปลิวก็เป็นสิ่งที่พอจะรู้ๆกันอยู่แล้ว การรับใบปลิวไปอ่านหรือไปแจกต่อ เป็นการแสดงความสมานฉันท์ว่าเราเป็นพวกเดียวกันมากกว่า ไม่ได้ไปเปลี่ยนหรือปลุกระดมเขาได้



ตอนนี้บ้านเมืองมีอะไรไม่ชอบมาพากลหลายอย่างมาก อันไหนที่เป็นสิ่งที่ผิดทำนองคลองธรรมก็มาพูดให้เป็นเรื่องที่ถูก ทำให้การใช้เหตุผลบิดเบี้ยวไป ตอนนี้ที่เห็นมากคือการใช้เหตุผลแบบลักลั่น ‘Double Standard’ คล้องกับ สำนวน ‘ไม่คงเส้นคงวา’ และ ‘ลักลั่น’ กฎหมายฉบับหนึ่งใช้กับกลุ่มหนึ่งอย่างหนึ่ง ใช้กับอีกกลุ่มหนึ่งอีกอย่างหนึ่ง



ที่ชอบใช้เป็นเหตุผลกันมากก็เช่น คุณบอกว่าไม่ต้องการการปกครองแบบนี้เพราะไม่เหมาะกับสังคมไทย แต่พอคุณจะทำอะไรที่ยังไม่ได้ทำในสังคมไทย คุณก็บอกว่า ต่างประเทศเขายังทำกันแบบนี้เลย เช่น จะออกพ.ร.บ. ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ก็บอกว่าที่อังกฤษ สหรัฐ มาเลเซีย สิงคโปร์ ประเทศที่เจริญแล้วเขาก็มีกัน แต่ทำไมคุณไม่ทำตามประเทศเหล่านี้บ้างที่เขาไม่ทำรัฐประหาร Monarchy แบบไทยๆก็ต่างจากที่อื่นๆ ผมยังไม่เคยได้ยินว่า ให้เราตาม Monarchy แบบอังกฤษ อ้างแบบกลับไปกลับมา เรื่อยเปื่อย คิดว่ามันเป็นปัญหานะ



คำว่าสังคมไทยมันไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขอถามว่าความแตกแยกคืออะไร ความไม่สามัคคีกันคืออะไร คือคุณไม่ได้คิดอย่างผมใช่หรือไม่ เรื่องแบบนี้ไม่ใช่ความคิดที่จะที่เพิ่งคิดกันใหม่ สมัย 14 ตุลา-6 ตุลาฯ ก็ชอบพูดอย่างนี้ มีครูคนหนึ่งเคยบอกว่าถ้าสามัคคีคือการที่ผมต้องไปเป็นพวกคุณ ผมก็ไม่ต้องการความสามัคคี เพราะถ้าเป็นอย่างนั้น ความสามัคคีจะมีค่าอะไร สมัยที่ต่อต้านทักษิณกันหนักๆ ไม่เห็นพวกนี้ออกมาเรียกร้องให้ “รู้รัก สามัคคี”





บทความหนึ่งที่อาจารย์เคยเขียนลง ‘ประชาไท’ พูดถึงระบอบชนชั้นล่างมีส่วนร่วมมาก ว่าหากมีปรากฏการณ์อย่างนี้จะเกิดการขัดแย้งหรือการรัฐประหารตามมาทุกครั้ง จริงหรือ

คงไม่ถึงกับทุกครั้ง ฝ่ายผู้ปกครองขัดแย้งกันเอง จนต้องทำรัฐประหารก็มี เช่น พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ และพล อ. เกรียงศักดิ์ล้มรัฐบาลองคมนตรีธานินทร์ (ไกรวิเชียร) เมื่อ 20 ตุลาคม 2520 แต่หากมองย้อนกลับไปไกลๆ หน่อย มันเป็นแนวโน้มทั่วไปเช่นนั้นที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2476 หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ที่ให้ประชาชนมีส่วนแบ่งในอำนาจมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการพยายามล้มอำนาจของคณะราษฎรใน พ.ศ. 2476 จึงอธิบายได้ในแนวนี้ ส่วนแบ่งของราษฎรขัดกับอำนาจที่ดำรงอยู่ และนี่คือกลุ่มอำนาจเก่าที่แท้จริง ส่วนระบอบทักษิณนั้นเป็นอำนาจใหม่ พรรคไทยรักไทยเพิ่งมีเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง





อำนาจใหม่อย่างทักษิณเข้าไปเพิ่มบทบาทระบอบชนชั้นล่างมีส่วนร่วมมากหรือ

ประเด็นนี้ต้องพูดในเชิงสัมพัทธ์ เปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนๆ และจะยิ่งชัดเมื่อเทียบกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งเกือบจะไม่มีนโยบายทางสังคมเพื่อคนยากคนจนในชนบทเลย ที่โฆษณามากคือเรื่องจริยธรรม เป็นนโยบายของพวกชอบเทศน์ สั่งสอนให้ทำตามโอวาท พุทธโอวาทไม่เพียงพอหรือ รัฐบาลอานันท์ที่เขาว่าเยี่ยมมาก ไม่มีนโยบายอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสำหรับชาวชนบทเลย พอมีคนวิจารณ์ในเรื่องนี้ เขาก็ว่าการพัฒนาชนบทเป็นเรื่องซับซ้อน รัฐบาลเขาไม่มีเวลาพอ ส่วนสมัยทักษิณจะเห็นว่าชาวบ้านมีส่วนในแชร์ในการแบ่งเค้กทางเศรษฐกิจมากขึ้น หรือเรื่องของการก้าวไปของการปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีส่วน แม้ว่าจะยังไม่ดีอย่างที่เราคาดหวังไว้ แต่ว่าแนวโน้มทั่วๆไปดีขึ้น เช่น นโยบายให้ทุนการศึกษาเด็กจากแต่ละอำเภอวิเศษมาก กองทุนหมู่บ้านเป็นการจัดการบริหารงบประมาณโดยชาวบ้าน ดีกว่าสมัยเงินผันสมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ และในแง่นี้ดีกว่าของรัฐบาลทุกสมัย คนกรุงเทพ คนในเมืองไม่สนใจนโยบายนี้ กลับกล่าวหาอย่างสาดเสียเทเสีย คนพวกนี้ได้ประโยชน์อยู่แล้วจากการจัดสรรงบประมาณอย่างที่เป็นอยู่ จึงอยากตั้งคำถามเลยไปด้วยว่า ตอนที่เขาชุมนุมไล่ทักษิณและพูดว่าทักษิณคุกคามสื่อ แต่หนังสือพิมพ์สามารถด่าทักษิณแหลกได้ทุกวัน ไม่ทราบว่าคุกคามตรงไหน นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการที่เรียกร้องเสรีภาพของสื่อในตอนนั้น ตอนนี้หายไปไหน นี่คือสิ่งที่เรียกว่าการใช้เหตุผลแบบไม่คงเส้นคงวา



เรื่องการมีส่วนแบ่งของประชาชนเห็นได้ชัดในช่วง 14 ตุลา – 6 ตุลา ก่อน 14 ตุลา เกือบจะไม่มีสหภาพแรงงานเลย แต่หลังจาก 14 ตุลา ภายในช่วงเวลาไม่กี่เดือน ก็มีการจดเป็นสหภาพแรงงานกว่า 90 สหภาพ และมีแนวโน้มในการจดเป็นสหภาพแรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งมีชุมนุมต่างๆของเกษตรกรอีกเยอะแยะ นี่คือประชาชนมีส่วนร่วมหรือที่สำคัญกว่าคือมีส่วนแบ่งในการปกครองมากขึ้น



สำหรับการรัฐประหารครั้งนี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการรัฐประหารส่วนมาก แต่แน่นอนที่แต่ละครั้งก็มีลักษณะเฉพาะของแต่ละครั้งไป ครั้งนี้อยู่ที่เหตุผลที่ใช้ บังเอิญทักษิณเป็นเป้า การต่อสู้ของคนถูกปกครองนั้นสามารถตีกินพื้นที่มาได้เรื่อยๆ มีผลพวงที่ได้จากการต่อสู้ แต่ฝ่ายอำนาจเก่า (ที่สุด) ก็พยายามลิดรอนส่วนแบ่งของราษฎรอยู่เสมอ รัฐธรรมนูญ 2550 ก็พยายามให้เป็นอย่างนั้น ก่อนปี 2516 การเมืองไทยเป็นเรื่องของคนเมืองหลวง แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว จริงอยู่ที่เมืองหลวงคงจะข่มหัวเมืองไปอีกนาน แต่อย่างน้อยก็ยังได้ขึ้นเวทีการเมืองกับเขาบ้าง ขณะที่การเมืองเปลี่ยนไปเช่นนี้ แต่วิธีคิดของฝ่ายพวกผู้ปกครองยังนิยมการพัฒนาแบบประทานพรกันอยู่ จะให้ชาวบ้านรอแต่จะรับประทานแบบบรรเทาทุกข์ เมื่อมีสาธารณภัยหรือ



มีความเห็นของคนที่เห็นรัฐประหารในเมืองไทยมา 18 ครั้ง เขาว่าครั้งนี้อันตรายที่สุด อันตรายไม่ใช่ในแง่ของความรุนแรง หรือมีผู้คนบาดเจ็บล้มตาย แต่ในแง่ที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากปวดร้าว มันบาดลึกลงไปบนแผลที่มีอยู่แล้ว มันบาดความร้าวฉานให้ร้าวลึก ความร้าวฉานนี้คงไม่มีผู้ใดหรือสถาบันใดจะมาเป็นจุดรวมศูนย์ที่ทุกฝ่ายยอมรับอีกต่อไป ความจริงไม่ใช่ว่า สังคมไทยสมัครสมานปรองดองกันมาแต่ไหนแต่ไร แต่ไม่เผชิญหน้ากันเป็นความขัดแย้งอย่างกว้างขวางมากกว่า สภาพและเงื่อนไขทางการเมืองแบบนี้คงเป็นอดีตไปแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้อย่างไร ในเมื่อข่มเหงรังแกกันขนาดนี้ นี่คือสิ่งที่น่าโกรธและน่ากลัว



เรื่องการกระจายรายได้ที่ไม่อยู่ในวาระของพรรคการเมืองและหน่วยราชการใดเลยนั้น มันคงไม่ใช่เพราะเพียงไม่มีปัญญาจะคิดกัน แต่เป็นเรื่องการรักษาและลิดรอนอำนาจ นี่คือสิ่งที่น่าโกรธและน่ากลัว





มีการพูดถึงพรรคการเมืองนอมินี เราสามารถมองพรรคการเมืองเก่าแก่อย่างประชาธิปัตย์เป็นนอมินีของอะไรบางอย่างได้หรือไม่

คิดว่าคนที่ไม่ต้องสนใจการเมืองอย่างลึกซึ้งก็เห็นปรากฏการณ์นี้ ถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ สมัยชวน (หลีกภัย) เป็นนายกรัฐมนตรี ใครสนับสนุน นี่ไม่ได้เป็นเรื่องลับ คนที่ไม่ต้องถึงกับเป็นคอการเมืองก็รู้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ชอบพอกับองคมนตรีคนสำคัญคนไหน และพรรคนี้ถนัดมากในการเดินหมากการเมืองแบบชุบมือเปิบ การพูดแต่เรื่องนอมินีของคนอื่น ผมว่านอมินีใช้ไม่ได้ หรือถ้าใช้ได้ ก็ต้องใช้กับทุกๆ พรรค ไม่มีพรรคใดตอนนี้ที่มีอิสระและไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ทับซ้อน พวกที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและกิจการรับเหมาคือฐานอำนาจการเมือง นี่ไม่ใช่ประเด็นใหม่อะไรเลย เป็นที่ประจักษ์กันอยู่ การพูดเรื่องนอมินีก็เป็นเหตุผลที่ลักลั่นอีกข้อหนึ่ง ยกตัวอย่างสมัยพรรคประชาธิปัตย์ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน นายชวนชอบว่าพรรคอื่นซื้อเสียง ขายเสียง แต่การบันทึกข้อมูลของอาสาสมัครองค์กรกลางระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ซื้อเสียงมากเป็นอันดับสอง ส่วนพรรคที่ซื้อเสียงมากที่สุดคือพรรคชาติไทย ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะพรรคชาติไทยส่ง ส.ส. เยอะกว่าพรรคประชาธิปัตย์ นายคนนี้ยังชอบพูดว่า ถือหลักการระบบรัฐสภา



นี่เป็นวาทะ (ที่ไม่มีศิลป์) ทางการเมือง ไม่รู้ว่านอกจากคนพูดแล้วคนฟังจะมองเห็นเป็นสาระสำคัญมากแค่ไหน มีตัวละครตัวหนึ่งในนิยายของดอสโตยเยียฟสกี เขาโกหกจนเป็นนิสัย โกหกจนกระทั่งเชื่อในสิ่งที่ตนเองโกหก มันอาจจะใช้ได้กับพรรคการเมืองบางพรรค เพื่อนผมเขาเรียกพวก Democrats นี้ว่า Democrits คมคายนะผมว่า


>>>> มีต่อ >>>>




โดย: a_somjai วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:12:24:55 น.  

 
ไชยันต์ รัชชกูล : “อนาคตข้างหน้าอาจจะได้ชันสูตร และพบว่า อาจเป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง สัมภาษณ์โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง


<<<ต่อจาก "ความ" ในคอมเมนต์ที่ 1>>>

เหตุการณ์ในช่วงสมัยนายปรีดี พนมยงค์ และ ส.ส.ในภาคอีสานเคยมีบทบาทสูงในสังคมไทย กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ มันถูกจัดการด้วยกระบวนวิธีเดียวกันใช่หรือไม่

เห็นด้วยกับประเด็นนี้มาก ถ้าเราไม่มีความจำสั้น เมื่อมองย้อนกลับไป เราจะเห็นว่ามันเป็นแนวโน้มอย่างนั้น กรณีเสรีไทย มีงานวิจัยชิ้นหลังมานี้ที่ทำให้เราเข้าใจว่าคล้ายเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มหนึ่ง แต่ก็น่าสนใจมากว่า มีฝ่ายไหนบ้างที่มีส่วนร่วมในขบวนการเสรีไทย หรือมีพรรคประชาธิปัตย์กี่คนในนั้น และในเวลาที่เขาสู้กันเพื่อประชาธิปไตย บทบาทของประชาธิปัตย์ไปอยู่ที่ไหน



มีพรรคบางพรรคชอบพูดว่า ส.ส.มีหน้าที่ทางนิติบัญญัติเขาจะไม่ยุ่งอย่างอื่น เช่น เรื่องการประท้วงของ ประชาชน เรื่องความเดือดร้อนของประชาชน เรื่องสิทธิประชาชนถูกละเมิด เพราะเขามองว่าหน้าที่ของเขาคือหรือผู้ออกกฎหมาย ซ้ำอ้างว่าเป็นไปตามอังกฤษแม่แบบของประชาธิปไตย



ถ้ายกตัวอย่าง ส.ส.ในอังกฤษ เขาก็ไม่ได้ทำหน้าที่เฉพาะในสภา แต่ทำหน้าที่ดูแลความเดือดร้อนในเขตเลือกตั้งของตนเองด้วย จริงๆแล้วในกรณีของไทยมันยิ่งกว่านั้นอีก เพราะชาวบ้านลำบากมากในการที่จะไปต่อรองหรือกำหนดให้ทางราชการทำอะไร เขาจึงต้องพึ่ง ส.ส. ให้เหมือนเป็นตัวแทนของเขาในเรื่องเดือดร้อนต่างๆ และเมื่อ ส.ส. ลดลงก็ยิ่งตัดทอนส่วนแบ่งส่วนหนึ่งของราษฎร ผมไม่เห็นว่าการมีส.ส. มากเป็นการเปลืองงบประมาณ มีทหารมากซิถึงจะเรียกว่าเปลืองงบประมาณ เรียกว่าการใช้เหตุผลไม่อยู่กับร่องกับรอยมันปรากฏอยู่ทั่วไป ดังนั้นจึงพูดรณรงค์กันมากให้ว่าให้รับ รัฐธรรมนูญ 2550 เพราะว่ามีส่วนดีอะไรบ้าง แต่ส่วนเสียจะเงียบ และเมื่อมีใครไปรณรงค์ให้ไม่รับ รัฐธรรมนูญ 2550 กลับเสมือนว่าเป็นความผิด



รัฐประหารคราวนี้ก็มีเรื่องให้เศร้าใจหลายอย่าง แต่ก็มีอยู่อย่างหนึ่งที่ทั้งเสียใจและน่าภูมิใจมากพร้อมๆกัน คือการที่ประเทศชาติมีคนอย่างคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ซึ่งเป็นคนไทยที่ใจเด็ด ผมยกท่านเป็น 1 ใน 5 บุคคลที่ผมเคารพอย่างสูงสุด ตอนที่คุณลุงนวมทองเอารถแท็กซี่ไปชนรถถังยังมีทหารบอกว่าใครจ้างมา นี่เป็นการดูถูกเหยียดหยามกันสุดๆ วิธีของคุณลุงนวมทองแสดงถึงวิธีการต่อสู้ของราษฎรตัวเล็กๆ เขาต่อสู้ได้ลำบาก คุณลุงนวมทองประณามการรัฐประหารครั้งนี้ด้วยชีวิต เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวด เท่าที่รู้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมนี้ ส่วนที่ได้รับรู้อยู่วันละหลายมื้อ คือปากว่าสละชีพเพื่อชาติ แต่ไม่รู้ว่าการสังเวยด้วยชีวิตของคุณลุงจะรบกวนมโนธรรมสำนึกของพวก คมช. ขนาดไหน หรือว่าพวกนี้มโนธรรมหนา เหมือนกับทหารรับจ้างทั่วไป ในอนาคตถ้าผู้คนที่ต่ำต้อยน้อยหน้าจะมีอำนาจขึ้นในสังคมไทย ชื่อ ‘นวมทอง ไพรวัลย์’ จะเป็นวีรชนคนหนึ่งของเรา



การเดินทางของการต่อสู้มันไปทีละก้าวแล้วก็ถูกโต้กลับ รับและรุกเป็นช่วง ๆ และเนื่องจากว่าเกมนี้มันเป็นเกมที่ไม่จบ แต่จะต่อไปอีกหลายชั่วอายุคน เราเรียกว่ามีแพ้ มีชนะ ครั้งนี้แพ้ไป แต่อยากให้มองเห็นบทเรียนจากที่พลาดนี้ไปว่า อำนาจที่จะลิดรอนประชาธิปไตยนั้นมีอยู่อย่างแข็งแรง บางครั้ง บางช่วงจะหลบๆแอบๆ แต่พร้อมที่จะออกมาแย่งอำนาจส่วนแบ่งของราษฎรอยู่เสมอๆ ผมอยากจะถามคนที่ยังเห็นว่าประเทศไทยเราควรจะรักษาประชาธิปไตยเอาไว้ แม้มันจะมีนักการเมืองและนักโกงเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามาว่า มันคุ้มกันไหมที่การรัฐประหารเป็นทางที่เราใช้ล้มทักษิณ โดยหลายคนอ้างว่าอาจจะเกิดการนองเลือดในวันที่ 20 กันยายน 2549 ซึ่งนั้นเป็นการวิเคราะห์การเมืองแบบใช้แค่วันเดียวหรือใช้เพียงช่วงเวลาที่ทักษิณเป็นรัฐบาลมาเป็นกรอบในการวิเคราะห์





ปรากฏการณ์ 10 ล้านเสียง หลังประชามติ 19 ส.ค. 50 ถือเป็นการเตือนหรือไม่ว่า ไม่ควรทำรัฐประหารอีก และเสียงเตือนนี้จะทำให้การรัฐประหารไม่สามารถเกิดขึ้นอีกได้หรือไม่

แม้ไม่อยากทำตัวเป็นโหรการเมือง แต่ก็อยากจะตอบว่าการรัฐประหารครั้งนี้คงจะไม่ใช่เป็นครั้งสุดท้ายในสังคมไทย และไม่ใช่ว่าพวกที่สามารถทำรัฐประหารได้จะแคร์ว่ามันไม่ดี แต่การตัดสินใจทำรัฐประหาร เขาจะดูว่าชนะหรือไม่ อำนาจของเขาจะข่มฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่ นี่คือปัจจัยของการตัดสินใจทำรัฐประหาร



ตราบใดที่อำนาจมันไม่ทานกัน ไม่ใช่เฉพาะอำนาจทางอาวุธหรือทางทหารเท่านั้น อำนาจทางอื่น เช่น อำนาจทางความคิด ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ การเมือง กฎหมายต่างๆ ถ้ามันไม่ทานกันและห่างกันมาก คนที่มีอำนาจมากกว่าก็จะทำรัฐประหารได้ง่ายมาก ถึงผมจะไม่ชอบการมองเชิงพยากรณ์ แต่ก็คิดว่ามันจะไม่เป็นครั้งสุดท้าย ตราบใดที่อำนาจของราษฎรยังถูกกดอยู่



ตอนนี้มีแนวโน้มที่ฝ่ายขั้วอำนาจเข้ามาก้าวก่ายทางการเมืองไม่ใช่อำนาจทางทหารเท่านั้น แต่อำนาจตุลาการก็เป็นเช่นนั้น ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ที่เป็นข้อน่าสังเกตมาก แต่เกือบไม่มีใครพูด คือ ใน รัฐธรรมนูญ 2550 บทเฉพาะกาล มาตรา 306 มีการขยายอายุราชการของผู้พิพากษาจาก 60 ปีเป็น 70 ปี และใช้กับอัยการด้วย มาตรา 306 นี้ก็ไม่ได้ใส่ไว้ในฉบับรับฟังความคิดเห็น แต่เอามาใส่ทีหลัง มี 2 ประการขอเพิ่มเติมกับอีกหลายประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกันอยู่แล้ว



ประการแรกคือ มันไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โตขนาดจะต้องเอามาบรรจุในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญควรจะเป็นกฎหมายหลักที่จะมอบอำนาจว่าเราทำอะไรได้หรือไม่ได้ และให้ออก กฎหมายต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่เอาละไหนๆรัฐธรรมนูญไทยก็ยังรวมเรื่องวิธีการเลือกตั้งเข้าไปด้วย ก็ไม่ว่าอะไรกัน ทำกันมาจนชินไปแล้ว แต่การทำเช่นนี้เกินกติกาไปมาก แสดงถึงฉวยโอกาสและมัดมือชกอย่างชัดเจน และที่แน่นอนก็คือเป็นกลุ่มพวกพิพากษากลุ่มหนึ่งเองที่ทำการเช่นนี้ เราต่างก็ได้รับการสั่งสอนมาว่าให้เคารพผู้พิพากษา เคารพพระ แต่พระบางรูปเป็นอลัชชีก็มี



ประการที่สองคือ เงินเดือนที่ข้าราชการได้ ประชาชนต้องเป็นคนจ่าย เขาจึงควรถามประชาชนก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่ ยินดีจ่ายหรือไม่ ไม่ใช่คิดเอาแต่ได้กันถึงขนาดนี้ ผมคิดว่ามันไม่ค่อยสุภาพ





อำนาจตุลาการที่เข้ามาในการเมืองครั้งนี้ ทั้งใหม่และแปลก จะทำให้การจัดสรรอำนาจอธิปไตยไทยบิดไปขนาดไหน

ผมชอบความคิดของฝ่ายที่สถาปนาระบบรัฐสภาเมื่อศตวรรษที่ 17 ในอังกฤษที่ถือหลักการว่า อำนาจที่ควรจะสูงสุดคืออำนาจนิติบัญญัติ ส่วนอำนาจบริหารและตุลาการควรจะเป็นไปตามกฎหมาย แต่นักคิดต่อมาเห็นว่าอำนาจมันฉ้อฉลได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการทานกันไว้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะไปพูดถึงแขนงอำนาจในเชิงนามธรรมก็จะละเลย มนุษย์ที่เสวยอำนาจนั้นๆ ในอำนาจแขนงตุลาการก็มีกลุ่มคนที่มาใช้ช่องทางนี้เพื่อประโยชน์ในการมีอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจทางการกำหนดผลประโยชน์ของกลุ่มพรรคที่เอื้อประโยชน์กัน



ปรากฏการณ์ที่อำนาจตุลาการเข้ามาก้าวก่ายหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น มันแสดงให้เห็นว่าอำนาจทางทหารอย่างเดียวมันไม่พอ อันนี้คงต้องคิดถึงคุณูปการของการก่อสร้างประชาธิปไตยมาหลายทศวรรษของเราที่มีส่วนทำให้ความชอบธรรมของทางทหารลดลง เพราะฉะนั้นเขาจึงต้องหาอำนาจความชอบธรรมอื่นๆมาเสริมให้หนักแน่นขึ้น แต่ผมก็หวังว่านักกฎหมายและผู้ศึกษานิติศาสตร์จำนวนมากที่ยึดถือหลักนิติธรรมคงเห็นว่ามันไม่ชอบมาพากล



เดี๋ยวนี้เราต้องยอมรับว่าสื่อสารมวลชนของไทยและการอ่านออกเขียนได้ของคนไทยแพร่ไปทั่วซึ่งหากเทียบกับบางประเทศก็น่าพอใจ คนไทยจึงสามารถรับทราบข่าวสารต่างๆ นานา แม้ว่าอาจจะถูกหลอกบ้าง แต่วิจารณญาณเดิมเขามีอยู่ ถึงเขาเลี้ยงควายแต่เขาไม่ได้กินหญ้าแบบควาย เขาก็กินข้าวเหมือนกับทุกๆ คนในสังคมไทย และกินข้าวเหมือนกับพวก elite ทั่วไป



อาจจะยืนยันความคิดได้จากการศึกษาทางมานุษยวิทยาที่ลงไปศึกษาตามหมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งยังไม่เคยเห็นการศึกษาทางมานุษยวิทยาเล่มใดที่บอกว่าชาวบ้านโง่ และผมก็คิดว่านักมานุษยวิทยาก็คงรู้จักชาวบ้านไม่น้อยไปกว่าพวกสื่อสารมวลชน นักการเมือง และไฮโซทั้งหลาย คนที่เห็นว่าชาวบ้านโง่จะเป็นพวก elite หรือชนชั้นสูงในสังคมไทย และเมื่อเริ่มจากฐานคิดแบบนี้ การอธิบายจึงเป็นไปตามช่องนี้หมดเลยว่า ชาวบ้านไม่มีปัญญาคิดเอง ไม่เข้าใจอธิปไตย ซึ่งเป็นการดิสเครดิต การดิสเครดิตอีกอย่างหนึ่งคือ สมมติว่าถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารหรือไม่เห็นด้วยกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เขาก็จะหาว่าคุณเป็นพวกเดียวกับทักษิณ





แล้วทำไมเวลาดิสเครดิตมักจะต้องไปลงที่คนอีสานทุกที คนภาคอื่นไม่เห็นค่อยโดนบ้าง

เป็นภาพพจน์ที่สั่งสมกันมาตั้งแต่สมัยคนจากส่วนกลางไปตรวจราชการหัวเมืองที่ราชสำนักจากกรุงเทพเรียกว่า ‘กลุ่มหัวเมืองลาว’ มีวิทยานิพนธ์ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ พอจะสรุปสั้นๆได้ว่า ‘ภาพลักษณ์ของความเป็นอีสาน’ กับ ‘ความเป็นอีสานที่แท้จริง’ นี้ไม่จำเป็นต้องตรงกัน ‘ภาพลักษณ์ของความเป็นอีสาน’ เป็นการสร้างขึ้นจาก “ความเข้าใจ” ของผู้ปกครองกรุงเทพฯ ซึ่งมิได้สำรวจ ‘ความเป็นอีสานที่แท้จริง’ อย่างถ้วนทั่ว แต่ได้ข้อมูลจากการบอกเล่าบ้าง จากการไปตรวจราชการพื้นที่บ้าง จากการเปรียบเทียบสถานะที่อื่นๆบ้าง



ผมไปอุบลฯครั้งแรก ผมตกใจเลยที่มันเขียวไปสุดหูสุดตา ไม่ใช่แห้งแล้งอย่างที่บอกเล่ากัน อีกสาเหตุที่คนอีสานถูกให้ร้าย ความยากจนก็มีส่วนอยู่มาก คนรวยชอบดูถูกคนจนเป็นนิสัยอยู่แล้ว ยิ่งคนกรุงที่ระบบคิดแบบศักดินาครอบมานานยิ่งแล้วใหญ่







อย่างนี้แสดงว่าคนภาคอีสานมีอะไรบางอย่างที่ยังไม่กลืนไปกับคนชั้นสูงหรือ

ถ้าพูดโดยรวมๆ ก็เป็นอย่างนั้นได้ และจะชัดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบในเชิงสัมพัทธ์กับคนภาคกลาง จะเห็นว่าคนที่ Conservative (อนุรักษ์นิยม) ไม่ใช่ว่าไม่เข้าใจประชาธิปไตย แต่คนที่ Conservative ที่เห็นจากการรัฐประหารครั้งนี้คือคนกรุงเทพฯ และคนภาคกลาง



ในเชิงสัดส่วนแล้ว คนกรุงเทพฯได้รับผลประโยชน์น้อยจากนโยบาย ‘ประชานิยม’ ของรัฐบาลทักษิณ ด้านที่รัฐบาลทักษิณทำไม่ถูกจึงถูกนำมาไฮไลท์จนเกินสัดส่วน คือไม่ได้ว่าทักษิณไม่ได้ทำสิ่งที่ไม่ชอบมาพากล มันก็อาจจะมีบางส่วนที่มันไม่ชอบมาพากล แต่มันถูกไฮไลท์เกินสัดส่วน ผมคิดว่าคนภาคกลางกับกรุงเทพฯค่อนข้างจะอยู่ภายใต้อาณัติทางความคิดของอำนาจเก่า อำนาจเก่าที่แท้จริง



จากนี้เราน่าจะสร้างกระแสรณรงค์ให้แก้ รัฐธรรมนูญ 2550 และผมก็อยากจะฟังกลุ่มคณะที่เคยเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยเรียกร้องว่าให้รับ รัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อนแล้วค่อยมาแก้ไขกันทีหลัง อยากจะดูว่ากลุ่มนี้จะทำอย่างที่พูดหรือไม่ และอยากพูดว่ากลุ่มแกนนำพันธมิตรฯได้สำนึกบ้างหรือไม่จากผลของการกระทำของตัวเอง



การรัฐประหารครั้งนี้มันเป็นพลัง Conservative ซึ่งทำให้ผมได้มองคนกรุงเทพฯด้วยสายตาใหม่ และขอบคุณที่ผมไม่ได้อยู่กรุงเทพฯ (หัวเราะ)



แต่อนาคตข้างหน้าเราอาจจะได้มาชันสูตร และพบว่านี่อาจเป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของพลัง Conservative และพลังของพวกไฮโซ จะเห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ได้หาพรรคพวกหาพันธมิตรกันเต็มที่จึงทำสำเร็จ หากเป็นเมื่อก่อนจะไม่ต้องหาพรรคพวกกันขนาดนี้ คำถามคือใครเป็นเครื่องมือใครกันแน่ ทหารใช้ใครเป็นเครื่องมือ หรือใครใช้ทหารเป็นเครื่องมือ หรือเป็นเอี่ยวกันอยู่มานานแล้ว



สังคมไทยน่าจะพัฒนาทางเศรษฐกิจและการศึกษาไปได้ดีกว่านี้ การที่เรามีกองทัพขนาดใหญ่มันฉุดรั้งสังคมไทย ขอเปรียบเหมือนว่าเรามีบ้านเรายากจนมีบ้านเราโกโรโกโส แต่กลับสร้างรั้วและแถมมีอาวุธไว้ป้องกันบ้านโกโรโกโสนี้เกินพอดี แต่พวกทหารเรียกว่าความมั่นคง ก็อาจจะใช่ ถ้าคือความมั่นคงของทหารเอง นี่คือการถือเสมอตนเป็นชาติ และนี่ก็เป็นเรื่องขำๆ ในประเทศนี้ที่ไม่มีใครหัวเราะ




โดย: a_somjai วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:12:27:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

a_somjai
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add a_somjai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.