<<< a_somjai a_somjai's blog === อ่านเขียนบล็อก อ่านเขียนโลก <<<== a_somjai อ่านเขียนบล็อก a_somjai a_somjai's blog
Group Blog
 
All Blogs
 
i LINKS f 2006-10-19 : หลบหนีรัฐประหารซ้ำซาก จากพ่อ ถึงลูก (1)

Links for 2006-10-19 :

  • เมื่อ ‘ความดี’ และ ‘คนดี’ ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง: ทรรศนะของ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา |ประชาไท สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย พิณผกา งามสม | 19/10/2549

    ‘ประชาไท’ ไปนั่งคุยกับ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ นักวิชาการด้านปรัชญา แห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งพยายามจะบอกว่า การกล่าวหาผู้นำในระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อหาเรื่องระดับความดี-เลวนั้น คือการเล่นหมากคนละกระดาน เพราะที่สุดแล้ว ความดีกับระบอบประชาธิปไตยมันไม่ใช่เรื่องเดียวกัน และ ขอโทษ....การประนามคนอื่นว่าเลวนั้น ไม่ได้แสดงถึงระดับศีลธรรมที่สูงจัดของผู้กล่าวประณามแต่อย่างใด


    "มันมาจากไหน ทำไมสังคมไทยจึงอยู่กับความดี-เลว ขาว-ดำ"

    "มันมาจากพื้นที่ฐานที่คุณเลือกยืนอยู่บนความดี คือการที่คุณอ้างตัวเองว่าเป็นคนดี คุณสามารถบอกว่าคนเลวเป็นอย่างไร ชัยชนะอันหนึ่งของการเมืองในเชิงของจารีตประเพณีคือชัยชนะที่คุณวางสถานะของตัวเองบนจุดยืนของความดี ดังนั้นเมื่อคุณใช้จุดยืนของความดี คุณบ่งบอกว่าอะไรที่ไม่ดีก็คือสิ่งที่เลวอย่างชัดเจน แล้วมันมีรูปธรรมที่ชัดเจนมาตลอดในสังคมไทยก็คือ ปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ปัญหาเรื่องของการแทรกแซงกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลหรือการไม่กระทำตามกติกาของสังคม

    "แล้วคนที่ออกมาต่อต้านทักษิณก็ออกมาเรียกร้อง แล้วเป็นข้อเรียกร้องที่ง่ายต่อการยอมรับจากสังคม แต่ไม่ได้มองทะลุผ่านไปถึงว่าไอ้ขั้นตอนเหล่านี้ เราจะไปตรวจสอบอย่างไร คือไม่ได้ให้กระบวนการประชาธิปไตยทำงาน

    "ตอนนี้เรากำลังพูดถึงระบอบหรือระบบทั้งระบบ เวลาเราพูดถึงปัญหานี้ มันไม่ใช่ปัญหาเฉพาะตัวบุคคล แต่มันคือปัญหาของระบอบที่จะต้องสร้างรากฐานให้การตรวจสอบนั้นทำงานได้

    "ผมไม่เชื่อว่าคนดีและคนเลวจะมีความแตกต่างกันเมื่อคุณเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งอำนาจ เพราะอย่างที่ผมบอกแล้วอำนาจมันฉ้อฉล การฉ้อฉลของอำนาจก็คือการที่คุณไม่รู้ว่าในการตัดสินใจกระทำการอันใดอันหนึ่ง ผลมันคืออะไร เพราะคุณควบคุมผลที่ออกมาไม่ได้

    "ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องของเจตนาหรือความเป็นคนดีของคุณเพราะคุณธรรมของผู้ปกครองหรือคุณธรรมของผู้นำมันไม่ได้อยู่บนพื้นฐานว่าคุณเป็นคนดีหรือเป็นคนเลว แต่อยู่บนพื้นฐานที่คุณจะจัดการเหตุผลในการดำรงอยู่ของรัฐ หรือจัดการอย่างไรให้รักษาอำนาจและก่อประโยชน์สุขให้สังคมการเมืองได้ดีที่สุด

    "เมคคีเวลลีสอนไว้อย่างนั้นว่า เป้าหมายของผู้นำคือการรักษาอำนาจของตนเองและทำให้สังคมสงบสุข เพราะสังคมสงบสุขนั้นก็คือทุกอย่างอยู่ในความเป็นระเบียบเรียบร้อย ชีวิตทุกคนมีความสุขนั่นคือคุณธรรมของผู้ปกครองซึ่งแตกต่างจากคุณธรรมส่วนบุคคล

    "เวลานี้ การเมืองมันพัฒนาไปสู่การวางพื้นฐานหลักการทางสังคม ครรลองหรือกติกาจะเป็นตัวที่เข้ามากำกับหรือมาตรวจสอบกระบวนการต่างๆ ในทางการเมืองเอง

    "ผมคิดว่าพัฒนาการที่เกิดขึ้นก่อนรัฐประหารนั้น ระบบหรือครรลองประชาธิปไตยกำลังทำงานอยู่ สิ่งที่มันทำได้ดีที่สุดก็คือความเห็นที่แตกต่าง เพราะว่าบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย การที่คุณมีสิทธิเสรีภาพเฉพาะส่วนบุคคล มันหมายถึงว่าคุณสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเองและความเห็นของคุณกับผมก็ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน ไม่ต้องเห็นตรงกัน ความแตกต่างคือสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

    "แต่ปัญหาที่สำคัญของความแตกต่างก็คือการยอมรับความแตกต่าง สังคมไทยไม่ยอมรับความแตกต่าง ผมคิดว่านี่คือปัญหาใหญ่ที่สุด และการไม่ยอมรับความแตกต่างทำให้กติกาหรือครรลองหรือหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยไม่ทำงานอย่างที่ควรจะเป็น และขณะเดียวกันคุณ Abuse ความแตกต่างด้วยเรื่องของความสมานฉันท์ ความสมานฉันท์ของสังคมไทยคือการสมานฉันท์บนพื้นฐานของความมั่นคงของรัฐซึ่งคุณไม่มีสิทธิที่จะเห็นต่าง"


    (...................................................)

    "การมีโลกทัศน์แบบมองขาวดำมีส่วนกลบปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ และภราดรภาพหรือไม่"

    "มันกดทับ พูดง่ายๆ ว่าการเมืองขาวดำมันสร้างลำดับชั้นให้กับสังคม และกดทับสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้ การกดทับก็คือการบอกว่า คนดีนั้นมีความสำคัญมากกว่าคนที่มีความสมารถ เพราะเราอนุมานกันว่า ถ้าคุณเป็นคนดีแล้วทำอะไรก็ดีตามไปหมด นี่คือสิ่งที่น่ากลัว และสิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะบนพื้นฐานของเหตุผลแต่บ่มเพาะบนพื้นฐานของ Sentiment ของสังคม

    "เพราะว่าด้วยการที่อ้างอิงด้วยหลักการของหลักธรรมหรือทศพิธราชธรรม จึงมองความดีมีคุณค่ามากกว่าความสามารถ ปัญหาของสังคมไทย ถ้าพูดในที่ว่าทำอย่างไรที่จะให้คนที่มีความสามารถในการบริหารประเทศมีบทบาทมีศักยภาพในการทำงานร่วมกันได้ และขณะเดียวกันเราสามารถตรวจสอบการทำงานของเขาได้ นี่คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประชาธิปไตยมันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    "ในส่วนของภราดรภาพ ผมเชื่อใน Concept พื้นฐานคือ ภราดรภาพนั้นคือความเป็นพี่เป็นน้องกันอย่างน้อยที่สุดมันสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมให้เกิดขึ้น เวลาที่ผมมองภราดรภาพ ผมไม่ได้มองในแง่ของความเป็นพี่น้องหรือความเป็นครอบครัวเดียวกัน คือผมมองสายสัมพันธ์ของสังคมที่มันเชื่อมต่อกันและเมื่อมีสายสัมพันธ์ทางสังคมแล้ว การสร้างความยอมรับซึ่งกันและกันนั้นมันง่าย และการยอมรับที่สำคัญก็คือการยอมรับความแตกต่าง ไม่ว่าคุณจะแตกต่างจากผม คุณไม่เหมือนผม ไม่ว่าจะด้วยชาติกำเนิด เชื้อชาติศาสนา หรืออะไรต่าง พูดง่ายๆ ว่าเวลาที่คุณเป็นพี่เป็นน้องกัน เมื่อมีอะไรกระทบกระทั่งกันคุณก็ยอมๆ กันได้ แต่ถ้าพูดในระดับของสังคมภราดรภาพของสังคมก็คือการอยู่ร่วมกันของสังคมและยอมรับความแตกต่างระหว่างกันโดยพื้นฐานของ Rule of law ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการยอมรับความหลากหลายอันนั้น นี่คือโจทย์สำคัญ

    "และสุดท้ายเรื่องความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของกฎหมาย เสมอภาคในส่วนนี้ คือทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในการที่จะใช้มัน ไม่ใช่ว่าผมมีสิทธิที่จะพูดมากหรือพูดดังกว่าคุณ ไม่ใช่ ผมคิดว่าเสียงต่างๆ ที่พูดออกไปควรจะให้น้ำหนัก และความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน มันจะผลักดันการเมืองของผู้นำไปสู่การเมืองที่เป็นมีส่วนร่วมของคนมากขึ้น ผมไม่อยากใช้คำว่าการเมืองภาคประชาชน แต่เป็นการเมืองที่คนมีโอกาสหรือว่ามีแนวทางในการแสดงออก ไม่ใช่ใครมาชี้นำ ไม่ใช่ใครเป็นตัวเลือกทางสังคม

    "อาจจะมองว่าเรื่องนี้เป็นอุดมคติจนเกินไป แต่ผมคิดว่าสังคมไทยกำลังเดินไป ผมไม่เคยบอกว่าประชาธิปไตยเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่ผมบอกว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดีกว่าระบอบอื่นๆ เพราะว่าคุณมีสิทธิเสรีภาพที่คุณสามารถใช้กำหนดทิศทางของคุณได้และดีกว่าตรงที่คุณพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน พร้อมที่จะผลักดันให้มันดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องผ่านการสะสมของเวลาและประสบการณ์ของสังคม สังคมต้องยอมรับการเรียนรู้ผิดถูก ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ที่จะเป็นไปในแนวทางนั้นแนวทางนี้ และการเรียนรู้ของสังคมคือสิ่งที่บ่มเพาะเนื้อหาให้กับคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่ผมอยากจะบอก"



    <<อ่าน READ>>







  • คนไทย-สังคมไทยทุกวันนี้ เราตกอยู่ใน “โลกแห่งความยากจนสื่อภาษาเชิงสังคม…ใช่หรือไม่” (๑) | posted by a_somjai | ฉันเห็นและเป็น อยู่ คือ | 16 มีนาคม 2549

    "อยากเจอคนจริงใจ มีไหมแถวนี้
    อยากเจอคนดีดี แถวนี้ มีไหมเอ่ย.
    ถ้ามี ยกมือหน่อย ชูนิ้วก้อยกับนิ้วชี้
    เป็นสัญลักษณ์ ว่ารักเดียวใจดี
    กระดิกนิ้วชี้ อีกด้วยนะเธอ.
    เจอแต่คนใจดำ ชอบทำ ให้ช้ำทรวง
    เจอแต่คนลวง หลอกกันเสมอ
    คนจริงจัง จริงใจ ไม่เคยเจอ.

    ……………………………..
    ……………………………..
    คนรักจริง จากใจ ฉันอยาก เจอ
    ..อยากเจอคนจริงใจ มีไหมแถวนี้
    อยากเจอคนดีดี แถวนี้ มีไหมเอ่ย.
    ..อยากเจอคนจริงใจ มีไหมแถวนี้
    อยากเจอคนดีดี แถวนี้ มีไหม เอ่ย.."


    (คำร้องเพลง “อยากเจอคนจริงใจ” โดย ดวงตา คงทอง)


    เมื่อได้ฟังเพลงนี้ ผมคิดอย่างนี้ครับ...

    คนจริงใจ กับ คนดี ๆ คือใคร

    เขาผู้นั้นหรือคนกลุ่มนั้นต้องมีองค์ประกอบหรือคุณสมบัติเช่นไรบ้างจึงจะได้ชื่อว่า คนจริงใจ หรือ คนดี ๆ

    แล้วที่ว่าใครดีนั้น ใครดีกับใคร

    จริงใจนั้นใครจริงใจกับใคร

    ดีเรื่องอะไร

    จริงใจเรื่องอะไร

    ดีที่ไหน

    จริงใจที่ไหน

    ดีเมื่อใด

    จริงใจเมื่อใด

    ดีอย่างไร

    จริงใจอย่างไร

    และดีทำไม ทำไมจึงจริงใจ


    แล้วยังคิดสงสัยต่อโยงไปถึง
    "การพูดไม่รู้ฟัง พูดกันไม่รู้เรื่อง ของคนในสังคมบ้านเมืองเรา ในห้วงเวลานี้นั้น... มันเป็นเพราะอะไรกันแน่"

    ที่คิดหาเหตุเรื่อยเปื่อยมาได้ก็อย่างเช่น .... ภาษาสื่อความหมายกับคนเราได้ตรงตามสิ่งที่มันพูดถึงหมายถึงอยู่ได้จริงหรือ?

    แล้วอีกอย่างสิ่งที่มันหมายถึงอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแท้จริงกับคนทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ได้จริงหรือ?

    ผมกำลังตั้งคำถามกับ “การสื่อสารกันในสังคมยุคนี้ ครับ”

    <<อ่าน READ>>








  • Links for 2006-10-17 :


    อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์: “นี่คือรัฐบาลเปรม 6″ สัมภาษณ์โดย ปกป้อง จันวิทย์ |onopen.com

    "การเมืองยุคหลังทักษิณเป็นการกลับมาของพลังอำมาตยาธิปไตย เป็นการฟื้นชีพของเทคโนแครต หรือการกลับมาของเปรมาธิปไตยหรือไม่

    "อันนี้เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ แต่หากจะมองในเชิงวิชาการ เราอาจจะต้องดูกันในระยะยาวพอสมควร อย่างสมัยรัฐบาลทักษิณ กว่าผมจะเรียกว่า “ระบอบ” ทักษิณ ก็หลังจากเชื่อว่า มันเกิดโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีลักษณะเฉพาะขึ้นมาแล้ว

    "ในแง่รัฐศาสตร์ ระบอบอำมาตยาธิปไตย (Bureaucratic Polity) ในประเทศไทยมีการพัฒนามานาน และเป็นโครงสร้างใหญ่ เกิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ข้อจำกัดของระบอบอำมาตยาธิปไตยคือ มองไม่เห็นพลังกลุ่มอื่น โดยเฉพาะพลังตลาด (market force) เช่น ภาคธุรกิจเอกชน ดังนั้น ถ้าจะให้สรุปคำนิยามของระบอบอำมาตยาธิปไตยก็คือ เป็นระบอบที่พลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การเมือง สังคมมาจากระบบราชการ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นชนชั้นนำในระบบราชการ ผสมเทคโนแครต

    "แต่สำหรับเปรมาธิปไตยเป็นการผสมผสานระบอบอำมาตยาธิปไตยกับโลกแห่งความเป็นจริง เปรมาธิปไตยไม่ไช่อำมาตยาธิปไตยแบบดั้งเดิมหลัง 2475

    "ผมจะลองทบทวนว่า เปรมาธิปไตยมีลักษณะอย่างไร ประการแรก เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ (Semi-Democracy) มีรัฐธรรมนูญ มีสภา มีการเลือกตั้ง แต่มีนายกรัฐมนตรีที่สัมพันธ์กับกลุ่มทหาร มีการทำงานร่วมกันระหว่างคณะทหารกับคณะรัฐมนตรี มีกฎหมายที่ให้อำนาจทหารแทรกแซงการเมืองได้ ซึ่งถ้าเราจับหลักนี้มาวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองปัจจุบัน อาจมองในแง่บวกได้ว่า คณะทหารเพียงพยายามประคองรัฐบาลชั่วคราว

    "ประการต่อมา เทคโนแครตมีบทบาทสูงในกระบวนการกำหนดนโยบาย มีการใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ใช้เทคโนแครต ซึ่งเป็นนักเรียนนอก มีความรู้ดี ทำหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายอย่างเต็มที่ มีอิสระ เช่น พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ทำหน้าที่ด้านการต่างประเทศ คุณโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ทำหน้าที่ด้านพัฒนาชนบท เป็นต้น นอกจากนั้น มีความพยายามปรับแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง เช่น เพิ่มบทบาทให้กับภาคธุรกิจเอกชน เช่น ตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)

    "หากวิเคราะห์การเมืองในปัจจุบัน ขณะนี้เราอาจจะยังเห็นไม่ชัด ต้องรอดูโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรี (ขณะสัมภาษณ์ ยังไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี) ท้ายที่สุด เราอาจจะบอกว่า นี่คือรัฐบาลเปรม 6 ก็ได้ คือมีคนที่เคยมีบทบาทอยู่ในรัฐบาลเปรม 1 ถึงเปรม 5 อยู่ในรัฐบาลนี้ เช่น คุณโฆษิต นอกจากนี้ อาจจะมีเทคโนแครตเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตปลัดกระทรวง"

    <<อ่าน - READ>>





    สิทธิในการทำรัฐประหาร บทความ/ทรรศนะ โดย เขียน ธีระวิทย์
    |มติชน วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10447

    "รัฐประหารในไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2006 แม้จะทำสำเร็จโดยมิได้สูญเสียเลือดเนื้อ แต่ความสับสนในหมู่คนไทยในด้านความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นยังมีไม่น้อย

    "ผู้เขียนเห็นว่าในรอบสองพันปีเศษที่ผ่านมา มีนักปราชญ์ทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ของโลกตะวันออกและโลกตะวันตกหลายท่านที่พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจ

    "จึงขอนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ พร้อมด้วยข้อวิเคราะห์บางประการเกี่ยวกับความชอบธรรมในการทำรัฐประหารของไทยในคราวนี้ และข้อคิดเห็นอย่างย่อๆ เกี่ยวกับการเอาเรื่องการปฏิวัติ-รัฐประหารไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ"

    (...........................................)

    "ฉะนั้นในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่ดีและใช้ได้คงทนควรมีสาระเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

    (1) ไม่ควรมีข้อห้ามการกระทำที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอาไว้ให้รกรุกรัง เพราะอย่างไรเสียก็ใช้ไม่ได้ (ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 63 และ 65) ถ้าหากรัฐธรรมนูญไม่พูดถึงประเด็นนี้ เมื่อคณะบุคคลใดโค่นล้มรัฐบาลได้สำเร็จก็ไม่ต้องประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปัญหาความต่อเนื่องในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยก็จะไม่มี ความหวังลมๆ แล้งๆ ที่จะใช้รัฐธรรมนูญป้องปรามการปฏิวัติ-รัฐประหารก็ไม่เกิด

    (2) ถ้าเราจะลองทำในทางตรงกันข้ามสักครั้งจะมีผลอย่างไร กล่าวคือ ทำการปฏิวัติ-รัฐประหารให้ชอบด้วยกฎหมาย โดยกำหนดเงื่อนไขที่ทำได้ไว้ดังนี้

    (2.1) ให้จัดตั้งองค์กรอิสระเฉพาะกิจที่ปลอดจากการเมืองขึ้น1-3 คณะ เพื่อทำหน้าที่สำรวจมติมหาชนของคนไทยในยามวิกฤตควบคู่กันไปกับรัฐสภาในประเด็นที่เกี่ยวกับการละเมิดสัญญาประชาคม (ความหมายกว้างกว่ารัฐธรรมนูญ)

    (2.2) ให้องค์กรอิสระตามข้อ (2.1) ตั้งประเด็นคำถามและนับคะแนนจากผู้ตอบเฉพาะผู้ที่รู้ในประเด็นที่ถามเท่านั้น (ไม่นับคะแนนของผู้ที่มีแต่ความเห็นแต่ไม่มีความรู้เลย)

    (2.3) ถ้าผลจากการสำรวจมติฯ ในข้อ (2.2) มีคะแนนตั้งแต่ 50% ขึ้นไปที่เห็นว่ารัฐบาลละเมิดสัญญาประชาคมแล้ว ให้ถือว่ารัฐบาลได้ทำผิดต่อประชาชนอย่าง "ร้ายแรง" ให้โอกาสทำการแก้ไขภายใน 1 เดือน มิเช่นนั้น ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิโค่นล้มรัฐบาลได้โดยสันติวิธี (เช่นข้าราชการหรือธนาคารนัดหยุดงาน) หรือโดยการใช้กำลังก็ได้ (เช่น การทำรัฐประหาร)

    (2.4) ให้มีบทบัญญัติห้ามทหาร-ตำรวจทำรัฐประหารเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเองและพรรคพวก และกำหนดเวลาการคืนอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี

    การมีข้อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยใช้กำลังทหารนั้น หมิ่นเหม่ต่อการที่จะถูกประฌามว่าเราส่งเสริมการใช้กำลัง เพื่อประโยชน์ในการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ จึงไม่ควรทำ นอกจากเรามีความมั่นใจว่าเรามีกลเม็ดดีพอที่จะทำให้คนไทยและสังคมโลกเห็นด้วย ถ้าคิดและกำหนดเงื่อนไขให้รอบคอบ อาจมีผลเป็นการป้องปรามมิให้รัฐบาลทรราชละเมิดสัญญาประชาคม เพราะกลัวการปฏิวัติ-รัฐประหาร หรือการประท้วงตามวิถี "อารยะขัดขืน" ได้ด้วย ข้อควรระวังคือจะต้องวางกรอบให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมน้อยที่สุด"

    "อนึ่ง ผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันที่ละเอียดและระบุเอกสารอ้างอิงด้วย ดูได้จากเว็บไซต์ //www.thaiworld.org หลังวันที่ 20 ตุลาคม 2549"

    <<อ่าน - READ>>




    ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ตอนที่ 2: ประชาชนต้องต่อต้านรัฐประหาร ไม่ใช่ทำตัวเป็นขอทานจากระบอบเผด็จการ | ประชาไท สัมภาษณ์โดย พิณผกา งามสม

    [บทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่ากันด้วยฐานอำนาจและอุดมการณ์ทางการเมืองที่รองรับการรัฐประหารไปแล้ว คราวนี้จะว่ากันด้วยผลที่สืบเนื่องตามมา ทั้งในแง่ของนักวิชาการที่ออกมารองรับการรัฐประหาร และการเสนอตัวเข้าร่วมวงปฏิรูปการเมืองภายใต้คณะรัฐประหารครั้งนี้ และผลสืบเนื่องของการรัฐประหารจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะถูกร่างขึ้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร]

    "ประเด็นที่มีคนพูดถึงมากก็คือคณะทหารจะผูกขาดอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะทหาร จะในนามของคณะมนตรีความมั่นคง หรือในนามของนายกรัฐมนตรีก็ตามแต่ มีอำนาจสิทธิขาดในการตั้งคน 2,000 คน เป็นสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าทหารกำลังจะทำให้การยึดอำนาจแปรสภาพเป็นสถาบันทางการเมือง

    "คำถามทางการเมืองที่สำคัญก็คือ ข้อแรก คน 2,000 คนนี้มีความชอบธรรมที่จะเป็นตัวแทนทางการเมืองในการร่างรัฐธรรมนูญแทนประชาชนทุกคนแค่ไหน

    "ข้อสอง เรามีหลักประกันอย่างไรว่าคน 2,000 คนนี้จะร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างที่ประชาชนต้องการโดยปราศจากการแทรกแซงจากคนที่เสนอชื่อเขาเข้ามา

    "ประเด็นที่ต้องเข้าใจให้ชัดก็คือเราไม่ได้มาเถียงกันว่าทหารจะแต่งตั้งใคร ไม่ได้มาเถียงว่าทหารจะแต่งตั้งคนที่สังคมยอมรับหรือไม่ เพราะแน่นอนว่าทหารต้องแต่งตั้งคนแบบนี้ แต่งตั้งคนอย่างผู้ใหญ่วิบูลย์ คนอย่างคุณรสนา คนอย่างปราชญ์ชาวบ้าน, เอ็นจีโอ, หรือนักวิชาการที่มีภาพดีๆ เพราะเขาต้องการใช้คนเหล่านี้เป็นผงซักฟอกให้สมัชชาของทหารดูสะอาดและเป็นประชาธิปไตย

    "ทหารที่ยึดอำนาจในอดีตก็ทำแบบนี้ แต่งตั้งผู้นำแรงงานอย่างคุณเอกชัย เอกหาญกมล แต่งตั้งอธิการบดีธรรมศาสตร์อย่างอาจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม แต่งตั้งนักรัฐศาสตร์อย่างอาจารย์สุจิต บญบงการแล้วใช้ภาพของคนเหล่านี้มาบอกสังคมว่าทหารฟังเสียงของประชาชน

    "เรื่องที่น่าเสียใจก็คือปัญญาชนและนักกฎหมายจำนวนหนึ่งเข้าไปรับใช้กระบวนการนี้ หาวิธีการให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ดูดี สร้างภาพว่ามีคน 2,000 คนเข้ามาเกี่ยวข้อง บอกว่ากระบวนการคัดเลือกแบบนี้เป็นประชาธิปไตย แต่ความจริงก็คือการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เริ่มต้นจากการรัฐประหาร ผิดกฎหมายอาญา และฉีกรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว

    "อย่าลืมว่าไม่มีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยฉบับไหนเกิดจากการใช้กำลังทหารโค่นล้มสถาบันการเมือง

    "แนวทางการร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นแนวทางแบบ “สภาสนามม้า” ที่เคยใช้ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งคนจำนวนมากเข้ามาประชุมที่สนามม้า แล้วก็ให้คนเหล่านี้คัดเลือกกันเองว่าจะเอาใครไปเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้มีอำนาจและผู้มีบารมีฝ่ายต่างๆ ควบคุมการร่างรัฐธรรมนูญผ่านการคัดเลือกสมาชิกสภาสนามม้ามาตั้งแต่ต้น นอกจากนั้น คนกลุ่มนี้ก็มีอิทธิพลในการล็อบบี้ให้สมาชิกสภา คัดเลือกคนของตัวเองไปทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ

    "เราไม่ควรลืมว่าบุคคลสำคัญของชาติท่านหนึ่งวิจารณ์การร่างรัฐธรรรมนูญแบบนี้ไว้อย่างรุนแรง คนๆ นี้คือ ปรีดี พนมยงค์ แกนนำคนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศให้เป็นประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ซึ่งปรีดีเห็นว่าวิธีการแบบสภาสนามม้านั้น “บิดเบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตย” ของวีรชน 14 ตุลา เพราะลึกๆ แล้ว ทำให้คนเพียงหยิบมือเดียวเป็นคนควบคุมกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญทั้งหมด หลอกลวงประชาชนว่ากระบวนการนี้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเท่ากับว่าวิธีการแบบนี้อาศัยอาภรณ์ประชาธิปไตยไปห่อหุ้มคราบไคลเผด็จการ"

    <<อ่าน - READ>>





    Link for 2006-10-16 : มังกุออกลูกเป็นมังกรหรือ บทความ/ทรรศนะโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ | มติชน วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10446

    "ผมเป็นคนหนึ่งที่ประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาคุณทักษิณด้วยการรัฐประหาร แต่เนื่องจากคณะรัฐประหารไม่ได้มาถามผมก่อนจะลงมือยึดอำนาจ ผมจึงแถลงว่าเราแก้ไขอดีตไม่ได้เสียแล้ว หากภาระหน้าที่ของเราคือการทำให้สังคมที่มีหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพกลับคืนมาโดยเร็ว และอย่างดีกว่าเก่าด้วย

    (...................)

    "ประชาธิปไตยหรือไม่ ทุกสังคมต้องรู้รักสามัคคีทั้งนั้น แต่ความรู้รักสามัคคีไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยเสื้อยืดหรือสปอตทีวี แต่เกิดขึ้นได้จากความเป็นธรรม และความเป็นธรรมเกิดขึ้นได้ในสังคมที่สร้างอำนาจที่ใกล้เคียงกันแก่ประชาชนทุกกลุ่ม ซึ่งไม่มีการรัฐประหารอะไรนำมาให้ได้"

    <<อ่าน - READ>>






    i BLOG f 2006-10-15 : Winners of the "I Look Like My People" Contest posted by a_somjai | The Monday Morning Blogs.

    วันนี้ ขอเชิญชวนหนีบรรยากาศ บ้านเมืองภายใต้รัฐบาลข้าราชการเก่า ในกำกับคณะรัฐประหารโดยขุนทหาร รอบที่ xxth* ของประเทศไทย ไปดู =>>



    Winners of the "I Look Like My Dog" Contest

    ผู้ชนะการประกวดในรายการ
    "ตูก็แลเหมือนหมาของตู"

    (นั่นแหละโว้ย)



























    ที่มา: เวปไซต์ Fly Above All





    อ้อเห็นรูปแล้ว.. นึกเห็นได้ 3 แง่ ดังนี้

    1. คนไทยที่ชอบเลี้ยงหมา จะใช้สรรพนาแทนตัวเองว่า พ่อ, แม่ |, ส่วนสรรพนามแทนหมา, สุนัข ที่ตนเลี้ยงไว้จะใช้ว่า ลูก

    2. ผู้ปกครองประเทศไทย หรือการกล่าววาทะบนฐานคิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองภายใต้ระบบอุปถ้มภ์ของ/แบบไทยไทย จะใช้สรรพนามเรียก ผู้ปกครอง/ผู้ให้การอุมถัมภ์/ผู้เป็นใหญ่/ชนชั้นนำ/ชนชั้นผู้กุมอำนาจ ว่า... พ่อ, แม่ |, แล้วใช้สรรพนามเรียก ผู้ได้รับการอุปถัมภ์/ผู้ใต้ปกครอง/ผู้ถูกปกครอง/ผู้ไร้อำนาจ/ประชาชน ที่ตนเอง(ดูแล)จัดการอยู่ว่า ลูก


    3. แล้วก็เลยเลเพลาดพาดนึกไปถึงข้ออ้างของการยึดอำนาจรัฐทุกครั้ง ของคณะทหารของประเทศนี้ ที่ว่า "ประชาชนยังไม่รู้ ไม่เข้าใจ และยังไม่พร้อมสำหรับ การปกครองระบอบประชาธิปไตย" ...ขึ้นมาได้

    ในทำนองเดียวกัน
    อาจคิดแบบ ขุ่น ๆ ได้ว่า... พวกคุณที่ยึดอำนาจกันนั้น
    ก็คือผู้ชนะในรายการ =>>>

    - Winners of the "I Look Like My people" Contest -

    "ตูก็แลเหมือนลูกของตู"

    นั้นแหละว้า
    ????
    ???
    ??
    ?




    Updated: October 18, 2006.
    * ลำดับที่ของการรัฐประหารซ้ำซากโดยคณะทหารในประเทศไทย อ่าน>> ชินจนชา โดย ปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์ | มติชน วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10448

    "เหตุผลหลักที่คนไทยให้การยอมรับต่อการรัฐประหารในคืนดังกล่าวอาจจะเนื่องจากความรู้สึกเบื่อหน่ายและรับไม่ได้ต่อข่าวฉาวโฉ่สารพัดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

    "แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าจะมีส่วนสัมพันธ์อยู่ไม่น้อยคือความรู้สึกเคยชินต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเราด้วยวิธีการปฏิวัติ รัฐประหาร"

    (............)

    "และหากนำเอาทั้งการก่อกบฏและการก่อรัฐประหารที่เกิดขึ้นนับแต่หลังปี พ.ศ.2475 จนถึงปัจจุบันมารวมกันก็จะได้ถึง 20 ครั้ง หรือเฉลี่ยทุก 3.7 ปีจะต้องมีการใช้อาวุธเข้าล้มล้างรัฐบาลกันครั้งหนึ่ง

    (...........)

    "และถ้าดูจากกงล้อประวัติศาสตร์ที่หมุนเวียนโดยเฉลี่ยทุก 3.7 ปีบวกกับความเชื่อของประชาชนคนส่วนใหญ่ที่ว่ารถถังคือองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของวิถีประชาธิปไตยแบบไทยไทยที่จะขาดเสียมิได้แล้ว

    "การก่อปฏิวัติรัฐประหารน่าจะยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยไปอีกนาน

    "นานจนน่าระบุไว้เป็นมาตราหนึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังจะมีการร่างขึ้นว่า กฎหมายฉบับนี้พร้อมจะสิ้นสุดลงทันทีเมื่อมีการก่อปฏิวัติรัฐประหาร"


    <<อ่านบล็อกนี้, คอมเมนต์, READ>>



    2006-10-13 Father And Son: (1) หลบหนีการรัฐประหาร ซ้ำซาก | (จาก Cat Stevens ถึง Rod Stewart) posted by a_somjai | My Diary

    พ่อผม เกิดมา,
    มีชีวิตอยู่
    และตายไป
    ในประเทศที่มีการรัฐประหารโดยคณะทหาร หลายครั้ง
    หลายครั้ง ๆ

    ตัวผมเองเกิดมา,
    มีชีวิตอยู่
    และคงจะตายไป
    ในประเทศที่มีการรัฐประหารโดยคณะทหาร หลายครั้ง
    หลายครั้ง ๆ
    และคงจะอีกหลาย ๆ ครั้ง

    ลูก ๆ ของผมเกิดมา,
    มีชีวิตอยู่
    และคงจะตายไป
    ในประเทศที่มี……….????
    ????
    ??
    ?




    พวกเรา พ่อ-ลูก-หลาน
    หลบหนี “การรัฐประหารโดยคณะทหาร ในประเทศนี้”
    ไปฟังเพลงกันดีกว่าไหม?
    พร้อมแล้ว
    ได้เลย



    <<อ่าน>><>

    ฟังเพลง ดูมิวสิควีดีโอ >>>

    1. Cat Stevens - Father And Son ที่
    YouTube.com





    Link for 2006-10-13 : Does YouTube Make Google a Big Target For Copyright Suits? ที่ไซต์ WSJ.COm (The Wall Street Journal Online) | October 11, 2006

    ข่าว Google Inc. ซื้อไซต์ video-sharing -> YouTube ด้วยเงินถึง $1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.65 x 1,000 x 1,000,000 x 38 = ? บาท)

    นอกจากจะเป็นเรื่องน่าคิด และชวนให้ติดตามต่อไปว่า Google จะเติบโตเป็นอภิมหายักษ์ระดับนำในวงการตลาด online video ของโลกหรือไม่? อย่างไร? แล้ว

    สิ่งที่ นักเล่นเน็ต โดยเฉพาะ Bloggers ทั้งหลาย ที่ชอบเล่นชอบโพสต์ "เพลงออนไลน์" ต้องสนใจและทำความเข้าใจให้เท่าทันการ/การณ์ ก็คือ เรื่องประเด็นทางกฎหมายลิขสิทธิ์ระหว่าง --- the "copyright" กับ/และ the "fair use"

    ตัวอย่างเช่นความเห็นของ John Palfrey, Professor ด้านกฏหมายแห่ง Harvard University และ ผู้อำนวยการ the Berkman Center for Internet & Society ตอนหนึ่ง ว่าไว้ดังนี้

    "There are two levels on which liability will be assessed by the courts.

    First, a judge will have to consider whether the YouTube user violated someone else's copyright by creating and distributing the video they posted online. That's where the "fair use" analysis comes in. So, let's imagine that a YouTube video creator used a bit of music in the background of one of the videos they created and posted online. Let's assume that user gets sued by the recording company that controls most of the bundle of rights associated with the sound recording used in this video. The YouTube video creator might then respond that their use of the music is protected by the fair use defense. That's a four-factor balancing test that determines whether or not the copying of the sound recording was permissible under the law, despite the fact that someone else holds the copyright in that work. A big question is whether or not we could determine, as a society, what "best practices" or permissible use of others' sound recordings might look like in the context of a video posted to the net. My hope would be that YouTube users are given wide latitude, so long as the market for the work was not adversely affected and so long as the use of the music was creative (and, in the words of the law, perhaps even "transformative.") It's also possible that Google could solve many of these problems in advance through blanket licensing, which would be a great outcome, but isn't necessarily the only way for them to avoid liability here.

    "The second level of analysis is whether YouTube, or its parent company, is liable for secondary copyright infringement. One answer is that a 1998 law, the Digital Millennium Copyright Act, set up a system whereby the Googles of the world have a chance to avail themselves of a safe harbor if they agree to take down infringing works once notified by copyright holders. In my view, this is exactly the kind of situation that this law was created to handle. I suppose it is possible that the case would go further -- that a copyright holder might sue YouTube and its parent for secondary copyright liability -- but I think that Google would have a very strong defense."

    ท่านที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติม>>READ>> การสนทนาออนไลน์กันในเรื่องนี้ ทั้งประเด็นทางกฎหมายและประเด็นทางเศรษฐกิจ/ธุรกิจออนไลน์ ระหว่าง Harvard law professor John Palfrey กํบ Economist Stan Liebowitz ได้ที่ไซต์ WSJ.COm (The Wall Street Journal Online ในรายงานเรื่อง Does YouTube Make Google a Big Target For Copyright Suits?



    Updated: October 23, 2006

    อ่านความเห็นเรื่อง "fake sharing" site vs. “true sharing” site ในบทวิจารณ์/ซ้อนวิจารณ์

    1. Lessig vs. YouTube posted by steven edward streight, 10/21/2006 ที่เวปไซต์ Vaspers the grate

    2. อ้างถึง The Ethics of Web 2.0: YouTube vs. Flickr, Revver, Eyespot, blip.tv, and even Google posted by Lessig on Oct-20-06. แบ่งแยก sharing site เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
    a) Fake Sharing Sites คือ YouTube (video-sharing)
    b) True Sharing Sites ได้แก่ Flickr (photo - immage), blip.tv (videos), EyeSpot (video and audio), Revver (videos), และ Google (content as to download PDFs of public domain books)







    posted by a_somjai






    Create Date : 13 ตุลาคม 2549
    Last Update : 23 ตุลาคม 2549 4:36:18 น. 1 comments
    Counter : 643 Pageviews.

     
    สวัสดีน๊าาา ทักทายจ้า สปาชา sparsha A Moment of Bride เจ้าสาว เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก สลายไขมันด้วยความเย็น ลดเซลลูไลท์ Leg Squeezing ผิวเปลือกส้ม FIS หน้าท้องใหญ่ ตัวเล็กแต่มีพุง Body Contouring ลดสัดส่วนทั้งตัว ลดปีกด้านหลัง เนื้อปลิ้นรักแร้ เนื้อปลิ้น Build Muscle สร้างกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหน้าท้อง สลายไขมันหนา สลายไขมัน ลดไขมัน Lock Shape รักษารูปร่าง สลายไขมัน ลดสัดส่วน Oxy Peel ทำความสะอาดหน้า ทำความสะอาดหน้าแบบล้ำลึก ยกกระชับ Ulthera ปรับรูปหน้า ปัญหาผิวหย่อนคล้อย Beauty Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ลดไขมัน ลดเซลลูไลท์ ผิวเปลือกส้ม สลายไขมันสะโพก กระชับผิว Sexy Mama แม่หลังคลอด รอยแตกลาย ปรับรูปร่าง กำจัดขน Hair Removal กำจัดขนถาวร สลายไขมันเหนียงด้วยความเย็น สลายไขมัน สลายไขมันเหนียง IV Drip ฟื้นฟูร่างกาย เสริมภูมิต้านทาน Bye Bye Panda Eye ลดรอยหมองคล้ำใต้ดวงตา ลดริ้วรอยใต้ตา นวดกระชับหน้าอก หน้าอกกระชับ อกหย่อนคล้อย Beauty Breast Lifting Enlarge Beauty Breast นวดอกเล็กให้ใหญ่ หน้าอกเล็ก ยกกระชับหน้า รักแร้ขาว รักแร้ดำ เลเซอร์รักแร้ขาว ผิวใต้วงแขน Love Fit กระชับช่องคลอด เลเซอร์กระชับช่องคลอด แก้ไขปัสสาวะเล็ด Meso Shine ผลักวิตามิน บำรุงผิว สวยด้วยเลือด รักษาผิว หนวดเครา กำจัดขนหนวด กำจัดขน กำจัดขนเครา เลเซอร์ขน เลเซอร์ขนถาวร กำจัดขนถาวร เลเซอร์เครา เลเซอร์หนวด กำจัดขน ยกกระชับ ร้อยไหม Thread Lift การดูดไขมัน ดูดไขมัน ศัลยกรรมตา 2 ชั้น ตา 2 ชั้น ศัลยกรรมตา สปาน้ำนม เพิ่มความชุ่มชื่น แก้ผิวแห้ง นวดผ่อนคลาย การนวดผ่อนคลาย Rest Time Aroma Massage Aroma Massage Acne Body Mist ลดรอยสิว ลดจุดด่างดำ ลดรอยดำ เลเซอร์ขนรักแร้ถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขนรักแร้ กำจัดขนรักแร้ถาวร Former Lift ยกกระชับผิว ปรับรูปหน้า กำจัดขน บราซิลเลี่ยน กำจัดขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขน กำจัดขนที่ลับ กำจัดขนน้องสาว กำจัดขน เลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์กำจัดขนบิกินี่ กำจัดขนบิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาวถาวร เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนร่องก้น ฆ่าเชื้อสิว Acne Clear ปัญหาสิว เลเซอร์รักษาสิว Supreme White Lucent รักษาฝ้า ฝ้า กระ จุดด่างดำ ด็อกเตอร์ไลฟ์ doctorlife ศัลยกรรมเสริมจมูก ศัลยกรรมจมูก เสริมจมูก Cellulysis สลายไขมัน ulthera ยกกระชับ Acne Clear รักแร้ขาวเนียน เลเซอร์กำจัดขนถาวร กำจัดขน ร้อยไหม Freeze V Lift กำจัดไขมันด้วยความเย็น PRP ผิวหน้า PRP ผมบาง ผมร่วง เลเซอร์กระชับช่องคลอด กระชับช่องคลอด Love Fit สลายไขมันด้วยความเย็น Cell Repair ผิวขาวใส ลดสัดส่วน ปรับรูปร่าง Perfect Shape สลายไขมันแบบเร่งด่วน ฟิลเลอร์ Filler รักษาหลุมสิว Dual Yellow เลเซอร์หน้าใส Love Fit ปัญหาปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะเล็ด Oxy Bright ทำความสะอาดรูขุมขน Bye Bye Fat ลดไขมัน Luminous แสงสีฟ้า รักษาสิว ฆ่าเชื้อสิว ABO Active 3D Toxin IV Drip เพื่อสุขภาพและความงาม ยกกระชับผิว hifu ให้ใจ สุขภาพ


    โดย: สมาชิกหมายเลข 6258618 วันที่: 26 มกราคม 2564 เวลา:14:52:46 น.  

    ชื่อ :
    Comment :
      *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
     

    a_somjai
    Location :
    เชียงใหม่ Thailand

    [Profile ทั้งหมด]

    ฝากข้อความหลังไมค์
    Rss Feed
    Smember
    ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




    Friends' blogs
    [Add a_somjai's blog to your web]
    Links
     

     Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.